คณิตศาสตร์ กับ การผวนคำ


สวัสดีครับทุกท่าน

คุณเคยหัดผวนคำกันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ ในชีวิต

ยกตัวอย่างเช่น สวัสดี ผวนเป็น สะ หวี ดัด 

ฝึกหัดคำแบบนี้ก็สนุกดีนะครับ มึนดีครับ

ผมสังเกตว่า การผวนคำเป็นการบริหารของสมองทั้งสองซีก โดยซีกซ้ายทำหน้าที่ผวน และซีกขวาทำหน้าที่ตกแต่งคำตามภาษาศิลป์

มองๆ แล้วก็เหมือนกับ การ เอ็นโค๊ด ดีโค๊ด ในการเข้าและถอดรหัสลับนะครับ

ยกตัวอย่างเช่น  นายสมพร

เข้ารหัสไปเรื่อยๆ เช่น

  • นายสมพร  เป็น นอนสมพาย

  • นอนสมพาย เป็น นอนสายพม

  • นอนสายพม เป็น นมสายพอน

  • นมสายพอน เป็น นมสอนพาย

  • นมสอนพาย เป็น นายสอนพม

  • นายสอนพม เป็น นายสมพร

เห็นไหมครับ นี่คือความงามของภาษาแบบครบวงจรนะครับ สามารถเขียนได้ตามหลักและสูตรของการเรียงสับเปลี่ยน ว่าด้วย วรรณคำผวน

คุณเห็นไหมครับ ว่า นั่นจากคำสามพยางค์ เรามองได้โดยการสลับที่เป็น 6 กรณี

ใน 6 กรณีนั้น จะเข้าสู่ระบบหลักทางคณิตศาสตร์ว่า สามารถเรียงสับเปลี่ยนกันได้ 3! (สามแฟกตอเรียล) กรณีที่ไม่มีสระซ้ำครับ

ซึ่ง 3! = 1x2x3 = 6 กรณีครับ

แล้วเช่น  โกทูโนว หล่ะครับ ผวนได้ กี่วิธีครับ

เห็นไหมครับ ว่า คณิตศาสตร์ อยู่ทางซ้ายซ้าย ภาษาอยู่ด้านขวาของสมอง

สรุปคือ การผวนคำเป็นการบริหารสมองทั้งสองซีกของคุณอย่างสมบูรณ์ครับ

คุณเห็นอย่างไร ผมเห็นแบบนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 114617เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • โจทย์น่าสนใจดีครับ
  • เด็ก ๆ คงสนุก และเป็นกรณีศึกษาที่ดีมาก ๆ ครับ
  • แต่ผมดูแล้ว ขอถอย
  • "เกี่ยวแล้.."
  • สวัสดีค่ะ  คุณเม้ง ..

ทฤษฎีน่าสนใจ  แต่ขอ..บาย..อีกคนล่ะกัน  แฮ่ะ ๆ ๆ

ก็คิดไม่ค่อยทันค่ะ   สมองทั้งสองซีกไม่ค่อยแข็งแรงค่า

 

P
wwibul  

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • กราบขอบพระคุณมากครับ
  • ไว้ค่อยเอาไปพูดคุยสนุกๆ กับเด็กๆ ครับ
  • ทำให้คณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวครับผม
  • ผมว่าไม่เกี่ยวกับ เกี่ยวแล้ มั้งครับ ผมว่า
  • แย่กิ่ง ยิ่งมัน ครับผม
  • ขอบพระคุณมากครับ

 

P

สวัสดีครับคุณเนปาลี

  • ขอบคุณมากครับ อิๆๆ ว้า ไม่มีคนเล่นร่วมด้วยเลยครับ
  • สมองแข็งแรงอยู่แล้วนะครับ เพียงแค่ฝึกความชำนาญแค่นั้นเองครับผม ซึ่งคุณเนปาลีก็ไม่ธรรมดานะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • คุณเม้งงงงงงง ..

ไม่ธรรมดา มีความหมายเดียวกับ  ผิดปกติ หรือเปล่าคะ?    TT_TT

 

คุณเม้งหล่อ  -   ค่อเม้งลุน

ค่อเม้งลุน  -  ค่อมุนเล้ง

ค่อมุนเล้ง -  เค้งมุนล่อ

เค้งมุนล่อ - เค้งม่อลุน

เค้งม่อลุน  -  คุณม่อเล้ง

คุณม่อเล้ง  -  คุณเม้งหล่อ

 

(( ยกแขนปาดเหงื่อ  พร้อมกลืนน้ำลายเอื้อกกกกกกก!! ))

อ่ะ   ต้อมสะกดผิดด้วยล่ะ  

งั้นเอาแค่เสียงก็พอ ได้ป่ะคะ?  

 

P

สวัสดีครับคุณเนปาลี

  • โห ยอดเยี่ยมมากครับ เก่งมากครับ
  • คิดว่าจะ ยกตัวอย่าง ชื่อคุณ เนปาลี  ก็ง่ายและพื้นฐานดีสำหรับคำผวนตามหลักการนี้ครับ
  • แต่คราวนี้คุณเนปาลี ดันยกตัวอย่าง อุน เอ้ง อ่อ ไปแล้ว ซึ่งยากกว่าตั้งเยอะครับ
  • สรุปว่ายอดเยี่ยมมากครับผม
  • ลองฝึกกรณีที่มีสระซ้ำดูครับ จำนวนที่เป็นไปได้จะลดลงครับ
  • เช่น แทนจะเป็น เนปาลี  ก็ทำเป็น  นาปาลี  กรณีที่ได้จะลดลงครับ แทนจะเป็น หกกรณี ก็เหลือไม่ถึงครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับผม
  • คุณเม้ง คะ ..

ขอยกมือปาดเหงื่อแค่รอบเดียวค่ะ  โฮ่ะ ๆ ๆ  แหม  ทำไปได้นะ   แต่ก็ทำไปแล้ว  แฮ่ะ ๆ ๆ

 

ก้มหน้าก้มตาปั่นงานต่อแร่ะ   ..  ขอบคุณนะคะ  วันนี้สนุกมากค่ะ

สวัสดีครับ

เห็นไหมครับ หากเราฝึกเราก็ทำได้ครับ ฝึกสมองตัวเองก็เหมือนลับมีด ลับบ่อยๆ ก็ชำนาญมากขึ้นครับ ผมว่าเด็กๆ ชั้นประถมในโรงเรียนเค้ามีศักยภาพมากครับ หากเราให้เค้าเดินในทางที่เค้าชอบและรับรู้ว่าเค้าชอบในด้านไหนแล้วสนับสนุนให้ถูกทาง

เด็กวัยรุ่นก็เช่นกันนะครับ

สู้ๆ นะครับ ผมก็ต้องลุยงานต่อเหมือนกันครับ

สวัสดีครับ

เริ่มกันที่ 2 พยางค์ก่อน
"คำผวน" ก็เป็น "ควนผำ" อย่างนี้ง่าย, และมีกรณีเดียวเท่านั้นเอง
ผวนเป็นอย่างอื่น ไม่น่าจะได้
ถ้าเป็น ผวนคำ ก็ไม่เรียก "คำผวน" เพราะแค่สลับตำแหน่ง


"คำผวน" คือ ไขว้หรือสับเสียงกัน เป็นการเข้ารหัสใหม่
เขียนด้วยโรมัน จะดูง่ายหน่อย
khAm1 / phUAN5
แต่ละคำ มี 3 ตัวแปร คือ
ก.เสียงพยัญชนะต้น ได้แก่ kh และ ph
ข.เสียงสระ+วรรณยุกต์ ได้แก่ A1 และ UAN5
ค.เสียงตัวสะกด ได้แก่ m และ n
การสลับแบบผวน จะคงตำแหน่งพยัญชนะต้นและเสียงสระ+วรรณยุกต์ไว้ที่เดิม
kh_1 / ph_5 อย่างนี้
แต่สลับเฉพาะสระ คือ จากเดิม A, UAN เป็น UAN
kham1 / phuan5 ก็กลายเป็น khuan1/ pham5
คำ / ผวน => ควน / ผำ

X คำ /ผวน => ขวน / พำ ? (ดึงวรรณยุกต์มากับสระ, มีไหมแบบนี้ , ไม่แน่ใจ)


ถ้าสามพยางค์มักเลือกคงพยางค์ใดหนึ่งไว้ แล้วผวนพยางค์ที่เหลือ

อร่อยจัง => อะหรั่งจอย (คง อะ ไว้, ผวนสองพยางค์, บางคนอาจผวนเป็น อะรังจ่อย)

สี่พยางค์ :

จันทบุรี จันทะบุรี => จีทะบุรัน (คง "ทะบุ" ไว้)

นครปฐม
นะคอนปะถม => นะคมปะถอน (คง นะ, ปะ ไว้)

เพราะฉะนั้น โอกาสความเป็นไปได้ จะน้อยกว่าที่คุณเม้งบอก เพราะว่าเขาไม่ได้สลับทุกตำแหน่งที่เป็นไปได้ แต่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้างจำกัดครับ

แต่ถ้าสลับโดยไม่กำหนดเงื่อนไข ก็จะได้เสียงใหม่ที่หลากหลายอย่างที่บอกครับ

สนุกดีครับ ขี้เกียจเขียนแล้ว ;)

สวัสดีครัีบคุณธ.วั ช ชั ย

    สุดยอดเลยครัีบ อิๆๆ  สบายดีนะครับ บอกกระบวนการผวนเรียบร้อย อธิบายตลอดการนำไปเขียนโปรแกรมผวนคำได้ด้วยครับ  น่าสนใจที่บริบทของคำผวนนะครับสนุกดีครับ มีคนบอกว่าไม่ใช่ทุกคนจะผวนได้ครับ ต้องฝึกครับ แต่บางคนเหมือนได้พรเรื่องนี้มาแล้วครับ

ขอบคุณมากๆ เลยครับ จะนำเอาไปคิดต่อนะครับผม

สวัสดีครับพี่เม้ง

พอพูดถุงคำผวนก็ต้องพูดถึงตำราว่าด้วยคำผวนอย่าง สรรพลี้หวน นะครับ ตำนานกล่าวไว้ว่า "หนังสือสรรพลี้หวนนี้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ผู้แต่งจะเป็นใครอยู่ที่ไหน ยังหาหลักฐานไม่แน่ชัด แต่ที่เล่าสืบกันมาทราบเพียงว่า ผู้แต่งเป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราช และคงแต่งระหว่าง พ.ศ.2425-2439 หรือประมาณ 80-90 ปี มาแล้ว และมีเรื่องเล่าพิสดารออกไปอีกว่า เมื่อแต่งเสร็จแล้ว (หรือไม่ทันเสร็จ) ผู้แต่งได้รากเลือดตาย เท็จจริงอย่างไรไม่ขอยืนยัน

 

สวัสดีครับน้อง กวิน

    บายดีนะครับ อิๆๆๆ เรื่องนี้เคยเห็นเพื่อนตอน ป.ตรี ถือๆ อยู่เล่มหนีึ่ง เพื่อนหวงมากๆ ครัีบ ทราบแต่ว่าเล่มนั้นคนแต่คือ

นุนเบิดลาย   ลองผวนดูนะครับ ว่า  นุนเบิดลาย คือใครครัีบ?

อิๆๆๆ ขอบคุณมากครัีบ

สวัสดีครับพี่เม้ง ในหนังสือประวัติสุนทรภู่ มีการกล่าวถึงโคลงผวน ด้วยนะครับ เรื่องมันมีอยู่ว่า

สุนทรภู่ ถูกสบประมาทจากศิษย์ (บางตำนานว่าเป็น นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) ) ว่าแต่งได้แต่กลอนแต่งโคลงไม่เป็น สุนทรภู่ จึงตอบเป็น “โคลงสี่สุภาพ” ว่า

เฉน็งไอ จึ่งเว้า                วู่กา
รูกับกาว เมิงแต่ยา           มู่ไร้
ปิดเซ็น จะมู่ซา                เคราทู่
เดะพ่อเตี๋ยว หิ้นใด้           มอดม้วย มังรณอฯ

นอกจากสุนทรภู่จะตอบเป็นโคลงสี่สุภาพแล้วโคลงที่ตอบยังเลือกใช้เป็น โคลงคำผวน อีกด้วย

อยากได้หัวข้อที่จะทำสัมมนาค่ะ เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ พอจะมีมั๊ยคะ

สวัสดีค่ะ

* เวี่ยมมาแยะ  วันสงกรานต์ค่ะ

*  สุขกายสุขใจนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท