การสอนงานมือใหม่ เดือนมกราคม 2549 (4)


กระบวนการจัดการความรู้หากเราเข้าใจและปรับใช้ให้เหมาะสม สามารถสนับสนุนการทำงานของเราได้จริง หากเรารวมพลังกันแล้ว จะสามารถนำพางานส่งเสริมการเกษตรของเราเดินไปสู่ KV ของกรมส่งเสริมฯ ได้

          AAR สอนงานมือใหม่ 13 มกราคม  2549  (ลิงค์ ตอนที่ 1 / ตอนที่ 2 / ตอนที่ 3)

          เนื่องจากมีเวลาจำกัด หลังสิ้นสุดกระบวนการที่วางไว้ ก็มาถึงช่วงของการเรียนรู้หลังกระบวนการในวันนี้  ผมใช้คำถาม 2 คำถาม แล้วใช้การเสนอความคิดเห็นทีละคน ผลเป็นดังนี้ครับ


            ที่มาในวันนี้ได้เรียนรู้ในเรื่องอะไร..
            1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกองทุนศูนย์ฯและการบริหารกองทุน
            2.  เรียนรู้วิธีการหาเงินเพื่อมาสนับสนุนการทำงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
            3.  ได้เรียนรู้ และเห็นความตั้งใจจริงในการทำงานของนักส่งเสริมรุ่นพี่ๆ
            4.  การปรับตัว  และการส่งเสริมการเกษตรให้เหมาะสมกับศักยภาพและความพร้อมของพื้นที่
            5.  การเขียนแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
            6.  ได้แนวทางในการเริ่มต้นในการทำงานในศูนย์ฯ เช่น แนวทางการเข้าสู่ชุมชน
            7.  กลยุทธ์ในการทำงาน จะไม่มองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น การพูด เป็นต้น
            8.  ได้เห็นกระบวนการให้บทเรียนที่ดี เริ่มต้นเรียนรู้ และศึกษาตัวอย่างที่ดีก่อน  เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ได้
            9.  ได้ทำความรู้จักกับพวกพี่ๆ ได้สนิทมากขึ้น
          10.  หลักการทำงาน ต้องหนักแน่น ไม่ไข้วเขว
          11.  การทำงานให้ได้ดี ต้องสร้างจิตสำนึกของตนเองก่อน  มีกฎระเบียบ เป็นแนวทางในการทำงาน
          12.  ทำแต่สิ่งดีๆ ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
          13.  รู้จักการคิดเชิงบวก มีกลยุทธ์ในการทำงาน (win-win)
          14.  ได้ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ เพิ่มขึ้นอีก 2 ท่าน

         ท่านจะนำความรู้เรื่องอะไรไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
           1.  จะไปรวมกองทุนในพื้นที่ให้เป็นกองทุนศูนย์ถ่ายทอดฯ
           2.  จะกลับไปแนะนำตัว และเข้าชุมชน
           3.  จะกลับไปวางแผนการทำงาน
           4.  จะจัดทำแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
           5.  จะประสานงานกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ และหน่วยงานต่างๆ


          มือเก่า ก็ได้มีโอกาสเรียนรู้ เช่น การจัดทำแฟ้มสะสมงาน และการเขียน/บันทึกผลการปฏิบัติงาน ซึ่งทุกคนต่างก็ยอมรับในจุดอ่อนนี้ของนักส่งเสริมฯ รุ่นก่อนๆ และต่างก็ยอมรับในความสามารถในการเขียนบันทึกของน้องๆ ว่าเขียนได้ดี ในอนาคตอาจนำพางานส่งเสริมการเกษตรให้เป็นที่ยอมรับในสังคมวงกว้างต่อไปได้
ทีมงาน ได้เรียนรู้ในหลายๆ ประเด็น โดยเฉพาะของประเด็นที่เป็นการเรียนรู้ของทีม และถือไดว่าเป็นองค์ความรู้ขององค์กรได้ เช่น

  • คนฟัง การใช้กระบวนการเล่าเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์นั้น ได้ประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งคนรับ คือคนฟัง ได้เรียนลัด สามารถนำความรู้กลับไปประยุกต์และต่อยอดความรู้ในหารทำงานส่งเสริมได้เลย
  • คนเล่า เกิดความภาคภูมิใจเพราะเป็นเรื่องที่เป็นประสบการณ์ตรง รู้จริง มีกำลังใจในการเล่าและกำลังใจในการทำงานเพื่อสร้างสรรค์ต่อไป
  • ทีมงาน ได้เรียนรู้เครื่องมือในการสกัดความรู้ อีกทั้งเป็นการให้ความรู้และซึมซับในกระบวนการ KM ให้แก่ทุกคนอย่างลึกซึ้งแบบไม่รู้ตัว (เราไม่ได้พูดคำว่า KM หรือการจัดการความรู้ในกระบวนการนี้เลย..แต่เรากำลังทำอยู่)
  • เป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างทีมงานและขยายเครือข่ายในการทำงานเพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรโดยใช้เครื่องมือของ KM
  • ได้เรียนรู้ว่า พวกเรานักส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ สามารถสร้างความรู้ และมีองค์ความรู้ที่มากพอที่จะขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรของพื้นที่ได้เอง หากเรามีองค์ประกอบหรือมีการจัดส่วนผสมในการทำงานที่ลงตัวและเหมาะสม
  • ได้บทเรียนที่สำคัญ ถึงวิธีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ โดยการใช้งานหรือลูกค้าของเราคือเกษตรกรเป็นตัวตั้ง  พัฒนาคนทำงานโดยคนในระดับเดียวกัน (พัฒนาจากคนใน) ให้มีขีดความสารมารถในการทำงานตอบสนองลูกค้าได้จริงๆ  (รอไม่ได้แล้วครับ)
  • ได้เรียนรู้ว่า กระบวนการจัดการความรู้หากเราเข้าใจและปรับใช้ให้เหมาะสม สามารถสนับสนุนการทำงานของเราได้จริง หากเรารวมพลังกันแล้ว จะสามารถนำพางานส่งเสริมการเกษตรของเราเดินไปสู่ KV ของกรมส่งเสริมฯ ได้สบายๆ และอย่างก้าวกระโดดได้ด้วย  ไม่ได้เขียนเพื่อเอาใจใครนะครับ  เพราะผมให้คุณให้โทษใครไม่ได้อยู่แล้ว (ใครไม่ทำเราก็จะทำครับ)

วีรยุทธ  สมป่าสัก 14 / 01 / 49

หมายเลขบันทึก: 12345เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2006 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท