Workshop : วัดตัวไป...ตัดไป (11)


สุดยอด "คุณลิขิต"

จากตอนที่แล้ว  ผมเกริ่นไว้นิดหนึ่งเรื่อง "คุณลิขิต"   ครั้งนี้ผมได้พบ ปรากฏการณ์ใหม่ของ "คุณลิขิต"   เรื่องมีอยู่ว่าในรอบ Exercise ครั้งที่ 3   ในกลุ่มแก้ไขปัญหาการเจาะบ่อน้ำบาดาล

กลุ่มนี้มีสมาชิกส่วนใหญ่หากเอาตัวเลขอายุมารวมกัน  น่าจะไม่ต่ำกว่า 400 ปี  ถ้าจำไม่ผิดมีเรื่องเล่าประมาณ 7 เรื่อง  มีสมาชิกในกลุ่มเกือบๆ 10 คน   เป็นกลุ่มที่ดูจากเรื่องเล่าแล้วชัดเจนในเรื่องของเนื้อหา  เพราะเป็นเรื่องเทคนิคของการเจาะบ่อน้ำบาดาล   แล้วแต่ละท่านในกลุ่มเรียกได้ว่าเจอมาสารพัดประเภทดิน ประเภทหิน   ทั้งชั้นหินเจาะง่าย  ไปจนชั้นหินแข็ง   

ตั้งแต่เรื่องแรก  พอ "คุณอำนวย"  เปิดโรงนิดหน่อย แล้วปล่อยให้สตาร์ท   การเล่าเรื่องเป็นไปอย่างน่าสนใจ  สมาชิกจ้องตา  ฟังกันอย่างใจจดจ่อ   ผมสันนิฐานเอาเองว่า  เป็นเพราะเจอ"จุดคัน" จริงๆ เข้าแล้ว   สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์ตรงมามาก  พอได้ฟังเรื่องของเพื่อนก็สนใจ  เพราะหลายคนก็เคยเจอปัญหามาเหมือนกัน  หรือไม่ก็วิธีการแก้ไขแปลกไปเลย 

บรรยากาศการแลกเปลี่ยนในกลุ่มยิ่งดีเข้าไปอีก  เมื่อ "คุณลิขิต"  คือ ดร. เกรียงศักดิ์ ภิระไร ตำแหน่งนักธรณีวิทยา  จาก สปบ. (ขออภัยผมไม่แน่ใจว่าเชื่อเต็มว่ากระไรครับ)  ข้อเด่นของ ดร. เกรียงศักดิ์ ก็คือ  พอฟังสมาชิกเล่า  แกก็จะร่างเป็นภาพหน้าตัดของการเจาะบ่อน้ำบาดาล  แทนการเขียนบรรยายด้วยตัวอักษร   และที่น่าสนใจก็คือ  แกจะถามเจ้าของเรื่องที่เล่าในขณะนั้นว่า  ใช่ตรงนี้ไหม?  ใช่แบบนี้ไหม?  อยู่ตลอด  เพื่อเป็นการเช็คว่าสิ่งที่วาด  หรือจุดที่เกิดปัญหาคือ ตรงไหนกันแน่  เท่าที่สังเกตสมาชิกกลุ่มสนใจฟัง  โดยที่ไม่ต้องห่วงกังวลกับการจดบันทึกเลย

   "คุณลิขิต"  ขณะทำหน้าที่

 ผลงาน "คุณลิขต" 1 เรื่องเล่า 1 ภาพวาด

สมาชิกกลุ่มอื่นสนใจมาเรียนรู้กันต่อ

ทุกเรื่องจึงวาดออกมาเป็นภาพทั้งหมด   ขนาดผมซึ่งไม่มีความรู้เรื่องการเจาะบ่อน้ำบาดาลมาก่อนแล้ว  ผมนั่งดูภาพในขณะที่เล่ากันในกลุ่ม   ผมก็สามารถเข้าใจเทคนิคหลายอย่างได้ได้ไม่ยากเลย  

แต่สำคัญมากที่ได้ฟังจากสมาชิกกลุ่ม  คือ ความรู้สึกถึง "คุณค่า" ที่ตนมี  และคนอื่นให้ความสำคัญกับมัน  ผมเชื่อว่าคนในกลุ่มต่างสัมผัสได้ถึงความรู้สึกนั้น   ทำให้หลายคนเริ่มเข้าใจ "ขุมทรัพย์" ในตัวคน

จากที่ผมได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมทราบว่าบุคลากรของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลนั้น  จะมีกลุ่มที่อายุใกล้เกษียณ  กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นส่วนใหญ่  ส่วนคนรุ่นกลางนั้นจะมีน้อย และคนที่มาประชุมในครั้งนี้เป็นคนกลุ่มแรกเป็นส่วนใหญ่   อย่างน้อยผมเชื่อว่าทำให้หลายคนเห็นวิธีการที่จะเรียนรู้ต่อไปว่า เขาจะต้องทำอย่างไรกับมันดี 

 

หมายเลขบันทึก: 167333เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2008 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาดูกิจกรรมกับกรมทรัพฯ
  • เป็นอย่างไรบ้างครับ
  • งายยุ่งไหมครับ

เสียดายที่เพิ่งรู้ ไม่อย่างนั้นจะเอาเทคนิคนี้ไปให้ "คุณลิขิต" ที่อุบลราชธานีใช้บ้าง

ตามอ่านอยู่ครับ ไม่ได้ไปร่วมเวิร์คชอบด้วย แต่คุณธวัชเล่าได้ละเอียดเห็นภาพเลยครับ

ถ้ามีเวลาบันทึก IOCS ให้อ่านหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท