ส่งพยาบาลไปเรียนหมอ


ต้องเลือกคนที่ไม่เปลี่ยนสีแล้วไปเรียน

ที่หล่มสักตอนนี้ทุก รพ ตำบลมีพยาบาลวิชาชีพอยู่ครบแล้วทั้ง 31 แห่ง และบางแห่งก็มีมากกว่า 1 คน ทราบว่าคุณหมอพงศ์พิชญ์ เทบุคลากรที่อยากไปทำงานใกล้บ้านให้กับ รพ ตำบลเมื่อปีแรกๆที่เริ่มเพิ่มความเข้มแข็งให้กับสถานีอนามัย

คราวนี้คุณหมอบอกว่า อยากส่งพยาบาลบางคนไปเรียนหมอ และถามผมว่าเป็นไปได้หรือเปล่า ให้ผมช่วยดูให้ด้วย

คุณหมอพงศ์พิชญ์ เล่าให้ฟังว่าทางท้องถิ่นเขาอยากลองส่งคนในพื้นที่ไปเรียน เพราะแน่ใจว่าจะเป็นวิธีการทำให้ได้หมอมาอยู่ในพื้นที่ได้นานๆ ไม่ต้องไปห่วงเรื่องทำงานหมดใช้ทุนแล้วจะหนีไปอยู่เมืองใหญ่ หรือไปอยู่ภาคเอกชน

ผมเองแม้จะไม่เห็นด้วยว่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ทำได้ทั่วไป และไม่มีหลักประกันว่าจะเป็นอย่างที่คุณหมอว่า แต่ก็เห็นด้วยว่าน่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่น่าจะเอามาลองใช้ดู

เงื่อนไขสำคัญคงอยู่ที่ต้องเลือกให้ได้คนที่ไม่เปลี่ยนสีแล้วไปเรียน และคงไม่ง่ายที่จะเลือกได้ แต่ถ้าเลือกจากคนที่ทำงานอยู่ และดูจากประวัติการทำงานและภูมิหลังก็น่าจะทำให้เกิดความมั่นใจได้มากกว่าตอนเลือกนักศึกษาจากพื้นที่ให้ไปเรียน

เรื่องเลือกคนที่ "โต" แล้วมาเรียนหมอมีริเริ่มมานานแล้ว ผมเองก็เคนไปดูงานที่แคนาดา เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ได้คุยกับนักศึกษาคนหนึ่งที่ไปทำงานในองค์กรนานาชาติมาแล้ว หันมาเรียนแพทย์ทั้งที่ตัวเองจบมาด้านสังคมศาสตร์ เขาก็ดูมั่นใจดี และดูจะเข้าใจวิชาชีพได้ดี น่าจะเป็นหมอที่ดีได้

ที่จุฬามีหลักสูตรพิเศษทำนองเดียวกันเรียน 5 ปี เข้าใจว่ายังมีอยู่จนถึงขณะนี้ มีกระบวนการเลือกนักศึกษาที่ทำขึ้นใหม่เป็นพิเศษ

ตอนแรกที่เกิดหลักสูตรทำท่าจะมีหลายแห่งที่จะทำตาม แต่ก็เห็นเงียบไปคงปล่อยทางจุฬาทำอยู่คนเดียว

ถ้าจะหันมาลองร่วมมือกับท้องถิ่นที่ดีๆ และอยากลองก็น่าจะดีนะครับ อย่างน้อยก็น่าจะได้คนที่ทำงานและมั่นใจว่าเข้าใจในวิชาชีพมาเรียนเป็นหมอ แล้วดูว่าจะช่วยให้การคงอยู่ในพื้นที่มันยืนยาวขึ้น และที่สำคัญทำงานเป็นประโยชน์กับชาวบ้านในพื้นที่ได้มากขึ้นอย่างไร

ตอนนี้ยังไม่มีหมอ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะดูเหมือนที่หล่มสักจะพิสูจน์แล้วว่า พยาบาลก็ทำประโยชน์ได้มากมาย

ไม่แน่ว่าคนที่ได้เรียนหมอกลับไปอยู่อาจจะกดดันมาก เพราะต้องทำให้เห็นว่า ทำประโยชน์ได้มากกว่า

หมายเลขบันทึก: 179331เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2008 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เห็นด้วยที่จะคัดพยาบาล ที่มีคุณสมบัติพิเศษ มาเรียนหมอ
  • เพราะเป็นคำตอบ และทางเลือกหนึ่ง ที่น่าพิจารณา
  • ติดปัญหาที่วัฒนธรรมราชการ ถเผ่อนปรน ผ่อนคลาย ทะเป็นกรณีพิเศษ เป็นรายๆไป ตามความเหมาะสมและศักยภาพชุมชน เปิดโอกาสให้องค์กรส่วนภูมิภาคร่วมเป็นเจ้าภาพ
  • แต่ก็ควรมีมาตรฐานกลางไว้
  • เรายังไม่มีวิธีคัดใจคนที่มีประสิทธิภาพสูง
  • แต่ก็ใช้เครื่องมือ มิติ ทางสังคมได้
  • ให้เจ้าภาพร่วม มานั่งพิจารณาคัดเลือกด้วยกัน
  • งานนี้ละเอียดอ่อน ถ้าให้องคฺกรชุมชนหรือฝ่ายประสานงานคัด เราจะได้นักศึกษาที่ยังไม่พร้อมเท่าที่ควร มาเรียนแล้วไปไม่ไหว
  • หัวใจจึงอยู่ที่การคัด และอธิบายว่าให้เข้าใจตรงกันว่า..โครงการนี้พิเศษกว่าปกตินะ คำว่าพิเศษ จะถอดรหัสออกมาคุยกันให้รับปฎิบัติได้อย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งยากมาก ระหว่างเงิน -ความรู้-ความสุข-สังคม-ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคม
  • ทำยากแต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ ..
  • ไม่อย่างนั้นรัฐบาลก็ผลิตหมอป้อนเอกชน ที่นั่งเฉยๆไม่ลงทุนอะไรเลย ตั้งโรงพยาบาลไม่กี่บาทหรอก ถ้าไม่ต้องรับผิดชอบผลิตหมอด้วยตัวเอง
  • พูดไปพูดมา หมอจะยืนอย่างข้างไหนในภาคส่วนสังคม
  • ก็คงมีหมอไปบ้าง อยู่บ้าง แต่มันก็ยังสรุปให้กระจ่างไม่ได้
  • เห็นใจ เข้าใจ รอเอาใจช่วย สม่ำเสมอ
  • เห็นด้วยครับ
  • ถ้าทำได้จะเกิดประโยชน์มากๆๆ
  • คุณหมอประเวศ วะสี พูดเรื่องนี้ไว้นานแล้ว
  • ตั้งแต่สมัยที่โดนว่า โป้ยเซียนด้วย ท่านอาจารย์หมอเสม พริ้งพวงแก้วเป็นรัฐมนตรี
  • ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นเลขาฯ
  • คนที่อยู่ในชุมชน มีจิตใจสาธารณะ จะได้กลับไปที่ทำงานที่บ้านตนเอง
  • ถ้าทำได้ขออนุโมทนาด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตที่เป็นข้าราชการของกระทรวงสาธารณสุขมาเรียน มีทั้งพยาบาล เภสัช เทคนิคการแพทย์และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ที่จบปริญญาตรีมาเรียนแล้ว ผมได้มีโอกาสสอนนิสิตเหล่านี้ที่จังหวัดตาก ตอนนี้รุ่นแรกเพิ่งจบไป น่าลองติดตามดูว่าแพทย์กลุ่มนี้มีความแตกต่างจากกลุ่มที่จบมอหกมาเรียนหรือไม่

จากที่ผมได้สัมผัส ความรับผิดชอบในการเรียน ความรุความเข้าใจในชุมชนอยุ่ในขั้นดีมากครับ

-เดือนเมษายน.ที่ผ่านมา..สาหัสเหลือเกินกับการจัดสรรแพทย์ไม่มีให้จัดสรร

-การคัดเลือกพยาบาลจากชุมชนไปเรียน ตอนนี้หล่มสัก 30 คน ใน 5 ปี (หากผอ.รอไม่คิดตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว..คงได้รับจัดสรรไม่กิน5คน)

-ถ้าแพทย์แนวใหม่คัดจากพยาบาลของตัวเอง..จบมาแก้ปัญหาพื้นที่ตัวเอง.น่าจะตรงประเด็น ถึงแม้เปิดโอกาสให้เรียนหลากหลายอาชีพ แต่กลับมาส่งไปไหนไม่รู้ หรือปลายเปิดไปไหนก็ได้..ก็เข้า tract เดิมอีก.

-เริ่มทำเรื่องใหม่ๆนี่ช่างต้องต่อสู้เหลือเกินคะอาจารย์..โดยเฉพาะต่อสู้กับกรอบ

นพ.พงศ์พิชญ์ วงศ์มณี

ขอบคุณอาจารย์สมศักดิ์มากครับที่ยกเรื่องพยาบาลเป็นหมอ การได้ทำงานอยู่ชนบทและคลุกคลีกับปัญหาสาธารณสุข โดยเฉพาะประเด็นขาดแคลนบุคลากรทางสาธารณสุขและทางการก็ใช้วิธีการแก้ไขแบบเดิมมาตลอด 20+ ปี ปัญหาก็ได้เคยแก้ได้ Demono มักคิดแนว Lateral thinking แนะอย่าขุดหลุมเดียว ทั้งที่ไม่ได้ผล ควรขุดหลายหลุม ก็จะมีโอกาสได้ผลสูง เหมือนทางพุทธ เหตุปัจจัยเดิมก็ส่งผลเดิมตลอด

จากประสบการณ์การขาดแคลนพยาบาลในระดับตำบล (สถานีอนามัยเดิม) และพยาบาลไม่มี, ถึงมีก็ไม่กล้าไปอยู่ ทางทีมสุขภาพ อ.หล่มสัก ช่วยกันแก้ปัญหา โดยกล้าที่จะคิดใหม่ ทำใหม่ จุดประกายความฝัน และอุดมการณ์ให้ทีมสุขภาพและประชาชนและผู้นำ ให้เกิดการบริการที่ดีและสมบูรณ์แบบที่ระดับตำบล และได้ฉันทามติเป็นโรงพยาบาลตำบล ที่ดูแล primary care แก้ปัญหาการขาดแคลน โดยให้ชุมชนและ อบต.มีส่วนร่วม ขอโควค้าพิเศษ จากวิทยาลัย 37 แห่ง เพื่อสร้างความฝันร่วมกันที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพระดับตำบล นักเรียนในชุมชนที่อยู่ในเกณฑ์เงื่อนไข ก็ถูกคัดเลือกอย่างโปร่งใสและส่งไปเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วมและเขาเหล่านั้น เป็นความหวังที่ชุมชน นักเรียน และผู้ปกครองรู้ โดยมีเงื่อนไขปลายปิดที่จบแล้วต้องกลับมารับใช้บ้านเกิด ขณะเรียนมีกิจกรรมกระตุ้นให้มีเข็มมุ่งมั่นที่จะกลับมารับใช้ ขณะนี้จบมาเกือบ 30 ทุนแล้ว และกระจายไปอยู่ในตำบลของตนเอง ที่แก้ปัญหาขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพได้เป็นอย่างดี

ประเด็นที่สำคัญ

•เกิดอุปสงค์อย่างมากที่ต้องการ ( เป็นที่รับรู้ของชุมชน )

•เด็ก น.ร รู้ดีว่า ถ้าไม่มีโครงการนี้ จะไม่สามารถมีโอกาสเป็นนางฟ้า (พยาบาล) ได้

•สำนึกรักบ้านเกิด มีกิจกรรมกระตุ้นต่อเนื่อง

•ทุกคนได้รับเกียรติจากชุมชนมาก จากดินสู่ดาว คุณหมอคะ ขา

•มีเงื่อนไขปลายปิด ต้องชดใช้ทุน

จากประสบการณ์นี้สามารถมาสร้างหมอพันธุ์ใหม่ ต้องได้จากคนที่โรงพยาบาลแน่ใจ ( ชุมชน รพ. ) ว่าจบแล้วจะมาอยู่จริง โดยดูจากประวัติ+ กิจกรรมที่ระหว่างรับราชการ คนประเภทหนึ่ง คือ คุณพยาบาลที่มีดี ๆ เต็มไปหมดในทุก รพ.ของรัฐ เป็นพยาบาลมานาน มีประสบการณ์เรื่องสุขภาพทุกมติ ยอมไปเรียนแพทยศาสตร์ด้วย มุมมองกว้างกว่า นร.มัธยมปลายมาก และมีความฉลาดพอที่จะเรียนสำเร็จ อีกทั้งเป็นข้าราชการก็สามารถลาเรียนได้ เหมือนแพทย์ลาเรียน Specialist มีเงินเดือนใช้ไม่เดือดร้อนมากนัก ชุมชน (คน รพ.) จะช่วยกันสนับสนุนผลักดันให้เขาจากดินสู่ดาว

(พยาบาล -หมอ ) เจริญก้าวหน้าพอสมควร มีเงื่อนไขปลายปิด ต้องการให้เป็นหมอสาขาขาดแคลนเท่านั้น เช่น จบมาแล้วชดใช้ทุน 2 เท่าของเวลาเรียนของเวลาเรียน (ห้ามใช้ทุนด้วยการลาออก จะถูกสังคมลงโทษมาก) และถ้าอยากเรียนต่อได้เฉพาะสาขาที่ รพ.ขาดแคลน เช่น GP, Preventive medicine, Family medicine, Psychitist เป็นต้น

เชื่อแน่ว่า ถ้าเริ่มมีโควต้าพิเศษ เข้าเรียนชั้นปีที่ 3 ( เพราะ Basic science ไม่ต้องเรียนแล้ว ) 3-4 ปี ก็จะมีแพทย์ GP ที่รับใช้บ้านเกิดได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องผวาทุกเดือน เม.ย ที่แพทย์ลาออกมุ่งสู่สถาบันมหาวิทยาลัยไม่เกิน 10 ปี แพทย์ GP เต็ม รพ.อำเภอ

ผมอยากให้มีการเปิดรับสมัครพยาบาลตามหน่วยงานอบต.เพื่อที่จะไปเรียนต่อด้านแพทย์ครับเพราะผมอยากจะไปสมัครด้วยใจรักทางด้านนี้คนหนึ่งเลยครับเพราะพยาบาลวิชาชีพทุกคนมีใจรักที่จะให้การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจแบบองค์รวมและพร้อมที่จะกลับมาดูแลผู้ป่วยใกล้บ้านตนเองเสมอครับถ้ามีหน่วยงานของอบต.ใช้งบประมาณแผ่นดินส่งไปเรียนแพทย์ผมจะไปสมัครและจะตั้งใจเรียนแพทย์เพื่อที่พร้อมจะกลับมาเป็นคุณหมอที่ดีให้กับประชาชนในหมู่บ้านที่ตนได้รับทุนไปเรียนต่อเลยครับและยินดีทีจะช่วยเหลือประชาชนใหมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงด้วยครับอยากให้มีการเปิดรับสมัครให้พยาบาลไปเรียนต่อแพทย์มากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท