อยู่กับคนอื่น ให้แลกเปลี่ยนความคิด อยู่กับตนเองให้บอกให้สอน


การจัดกระบวนการความรู้ แท้จริงแล้วไม่ยาก

 ดิฉันนั่งใส่แว่นอยู่กลางนักศึกษาหญิงเสื้อชมพูกับเสื้อแดง

 สวัสดีคะ ทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียน กลุ่มว่าที่บัณฑิต  ดิฉันนางสุมาลี มุงคุณคำชาว เลขประจำตัว  83 กลุ่มนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิต  อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น  วันนี้จะขอพอพูดเรื่อง รูปแบบการจัดความรู้อย่างง่ายๆ  ที่พอสรุปได้จากการที่ได้ค้นคว้ามา และได้ฟังบรรยายเพิ่มเติม ถึงได้เข้าใจขึ้นไปอีกว่า  การจัดการความรู้ คือเอาประสบการณ์จากการค้นคว้า  ประสบการณ์จากการได้ฟังผู้อื่นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากการได้รู้ได้เห็น ประสบการณ์จากการได้สัมผัส  ที่มีอยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นคน  หรือสิ่งของ  ความรู้ในอดีตรากเหง้า  มาผสมผสานกับความรู้สากล แม้แต่การมีชีวิตประจำวันของเรา ก็เป็นความรู้เช่นกัน และความรู้ทุกอย่างถ้าเราเข้าถึง รู้ลึกซึ้งจริงๆ  จึงจะจัดการได้  เข้าใจแล้ว ที่กล่าวว่า ทำความรู้ ให้สุก  จึงหมายถึงว่า นำความรู้จากภายนอก ไม่ว่า จากตำราด้วย จากสื่อวิทยุโทรทัศน์  หรืออินเตอร์เน็ท มาพัฒนาการที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นเป็นระบบมากขึ้นสามารถแยกแยะได้  จึงได้เกิดวิชาการจัดความรู้ขึ้นมา ดังที่นักศึกษากำลังเรียนอยู่นี้  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ดิฉันเข้าใจถูกหรือเปล่า  ผู้ที่มาเยี่ยมเยียนสามารถให้ความรู้เสริมเพิ่มเติมได้   เพราะชีวิตความ  เป็นอยู่ของคนเราไม่ว่าการทำงาน  จะมีประสิทธิภาพดีขึ้น จะต้องนำความรู้มาจัดการใหม่ให้เป็นระบบ ระเบียบ เพราะบางอย่างสามารถเชื่อมต่อกันได้ ถ้ารู้แล้ว เราก็นำไปปฏิบัติ เราก็เกิดความสามารถ ไม่จำเป็นจะต้องพึ่งผู้อื่นอยู่รำไป ถ้าพึ่งก็ต้องมีเหตุผลในการพึ่ง หรือพึ่งเพื่อให้ดีขึ้น  

  หัวใจของการจัดการความรู้คือ   สุ จิ ปุ ลิ ตามที่ดิฉันเข้าใจ  ดิฉันเข้าใจว่า  การจัดการความรู้ได้  เราจะต้อง  หาความรู้  แล้วก็คิด  แล้วก็ถาม  แล้วก็จด  ที่อาจารย์กำลังให้เราทำอยู่นี่  ก็เป็นการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง  เป็นการจัดความรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของความรู้ ซึ่งความรู้นี้  นำไปสู่การรอบรู้ แล้วแต่ใครจะได้ความรู้มาในรูปแบบไหน วิธีคิด วิธีทำ  วิธีจัดการ  และความรู้นี้ ขอให้อยู่ในเงื่อนไข คุณธรรม  เพราะบางคนมีความรู้มากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  แล้วนำความรู้มาใช้ในทางที่ผิด จัดการในทางที่ผิด  เชื่อไหมว่า  ทุกวัน ทุกนาที เขาบอกว่าเราจัดความรู้อยู่ตลอดเวลา  เพื่อสัมพันธ์กันกับสิ่งที่อยู่รอบข้าง ไม่ว่าสิ่งแวดล้อม สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว จะมีทั้งดีและเลว  มีปัญหาแล้วเราก็นำมาแก้ไข โดยการจัดการความรู้ใหม่ เพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น  เขาบอกว่าบางคน  มีความรู้มากมาย ไม่ลงมือทำ ไม่แก้ไข  จะมีประโยชน์นอันใด เพราะความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ คือต้องลงมือทำด้วยอย่างจริงจัง และจริงใจ   รูปแบบของการจัดการความรู้อย่างง่ายๆ  ไม่จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือที่หรูหราหรือยุ่งยาก ห้องให้ความรู้ก็ไม่จำเป็นต้องไปเช่าโรงแรมหรูๆ  ที่ไหนก็ได้  เริ่มจากกิจกรรมดีๆ โดยมีผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น มาเป็นผู้ช่วยกระตุ้น ช่วยตั้งคำถาม เพื่อให้กลุ่มเหล่านั้นนำเสนอกิจกรรมของตนอย่างมีชีวิตชีวา และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทรงพลัง  ดังตัวอย่างคำถามดังต่อไปนี้

1.มีใครหรือเหตุการณืใดที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางาน จนเกิด พัฒนาการใหม่อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  ในช่วงของการพัฒนาดังกล่าวมีใครบ้างเข้ามามีส่วนร่วม  ร่วมอย่างไร  เกิดกระบวนการอะไรบ้างที่นำไปสู่ความสำเร็จ  ความยากลำบากที่ต้องเผชิญคืออะไรบ้างเอาชนะอุปสรรคนั้นได้อย่างไร2.ใช้ความรู้อะไรบ้างในกิจกรรมดังกล่าว  เอาความรู้เหล่านั้นมาจากไหน

3.มีแผนที่จะทำให้ดีขึ้นอย่างไร  ต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง

4.คิดว่าหน่วยงานใดบ้างที่น่าจะเรียนรู้จากกิจกรรมของกลุ่มท่านได้

5.มีความรูอะไรบ้างที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานอื่นในองค์กรหรือในกลุ่มนักศึกษา         โมเดลของการจัดการเรียนรู้อย่างง่ายที่สุด ได้มาจากหนังสือ  learmimg    to   fly    ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า  ก่อนที่จะทำกิจกรรม หรือทำงานใดๆ  จะต้องเรียนรู้  3  ประการนี้ก่อนคือ    เรียนรู้ก่อนทำงาน มีเทคนิค-เรียนรู้ระหว่างทำงาน ก็ต้องมีเทคนิค-เรียนรู้หลังทำงานก็ต้องมีเทคนิค  แล้วนำมาจัดการเรียนรู้สู่การพัฒนา ยกระดับขึ้นไป    ความรู้นี้ได้ผสมผสานมาจาก  วันที่อาจารย์บรรยายเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 50 ซึ่งเป็นอาจารย์ มาจากมหาสารคาม ถ้าจำไม่ผิด ชื่อว่า อาจารย์ศักดิ์พงศ์  หอมหวน  ร่วมกับการค้นคว้าจาก เวบ gogle ผสมผสานกับการจัดการความรู้  จากเวบโกโตโน ที่กำลังหาประสบการณ์จากการปฏิบัติแล้ว เขียนเรื่องราวอยู่นี้  เพราะเขาบอกว่า  มีความรู้แล้วไม่นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง จะมีประโยชน์อื่นอันใด

                                           บ่อได้อักเด้อ  ซิบอกให่

หมายเลขบันทึก: 118294เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ยินดี ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้กับทุกท่าน 
  • ดีใจ  ในสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดประโยชน์ต่อทุกคน 
  • คิดถึงพวกเราทุกคน 
ณ  วันนี้ กลุ่มกระผม  ข้าผู้น้อย..จากศูนย์การเรียนรู้อำเภอกระนวน  จังหวัดขอนแก่น  ขอคาราวะ...ท่านอาจารย์ครับ.(ท่านเม็กดำ 1 ).ที่ท่านได้ให้เกียรติแก่กลุ่ม ว่าที่บัณฑิต  ของศูนย์การเรียนรู้อำเภอกระนวน...ถ้าท่านมีโอกาส...แวะเวียน..ผ่านมาทางกระนวน....พวกกระผม..ในนามของศูนย์การเรียนรู้อำเภอกระนวน  ...ยินดีต้อนรับ..และพร้อมขอรับคำแนะนำจากท่าน  ครู บา อาจารย์ ทุกท่านนะครับ
เพื่อรักนักศึกษาทุกท่าน  เรื่องที่ดิฉันเขียนเล่ามาในบทนี้  เป็นเรื่องจากประสบการณ์ที่ได้รับ  จากการเรียนวิชา การจัดกระบวนการเรียนรู้  อยากขอให้เพื่อนเข้าไปอ่านแล้ว  แสดงความคิดเห็นให้ด้วย  แล้วจะตามไปเยี่ยมบล็อคของทุกคน  เพราะเข้าใจแล้ว การเข้าไปเยี่ยม 1 ครั้งคือ  1 คะแนน  ตัวดฺแนเองก็คงจะไม่เข้าเยี่ยมแสดงความคิดเห็นจากบล็อคตนเอง  อยากได้จากคนอื่น  เพราะอยากรู้เหมือนกันว่า  ใครเข้ามาเยียมบ้าง

ยินดีกับคุณเล็กด้วยครับ  ที่ขณะนี้อาจารย์เม็กดำ 1  มาเยี่ยมมาเยียน   ถือว่าประสพความสำเร็จแล้วจ้า /

   และขอแสดงความดีใจด้วยที่สอบภาษาอังกฤษ  ได้  A

ผมไม่ได้เป็นนักศึกษา แต่แวะเข้ามาแสดงความคิดเห็นครับ

ผมได้ยินเรื่องการจัดการความรู้มาเป็นเวลาสัก 4-5 ปีแล้วครับ แล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี มีประโยชน์ เพราะทำให้ คนหนึ่งกับคนอื่นๆ สามารถถ่ายทอด สืบสานองค์ความรู้ และกระตุ้นให้เกิดการคิดต่อยอดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาได้อีก

แต่ในตอนปฏิบัติให้เกิดผลจริงๆ นี่ยากไม่เบานะครับ

ในฝั่งผู้ถ่ายทอดความรู้ ก็ต้องมีนิสัยในการจดบันทึก สรุปเรื่องราวความรู้ที่ตัวเองได้เรียนรู้มา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพราะตอนที่บันทึก เท่ากับเป็นการสรุปตกผลึกความรู้ของตัวเอง เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้ทบทวนและใคร่ครวญ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็จะทำให้ความรู้เราแตกฉานยิ่งขึ้น

ในฝั่งผู้รับความรู้ ก็ต้องมีนิสัยในการใฝ่เรียน เวลามีปัญหาอะไร ก็รู้จักขวนขวายเสาะแสวงหาความรู้

แล้วถ้าผู้ถ่ายทอดความรู้และผู้รับความรู้เป็นกลุ่มเป็นก้อน ก็จะยิ่งเสริมกันนะครับ เพราะผู้ถ่ายทอดก็รู้ว่าความรู้ที่เราบันทึกจะเป็นประโยชน์ จะมีคนอื่นมาดูแล้วมาใช้ความรู้ของเรา เราก็จะมีกำลังใจ หมั่นจดบันทึกความรู้และคัดสรรสิ่งดีๆ มาเสนอมากขึ้น ส่วนผู้รับความรู้ก็รู้ว่า จะมีความรู้ดีๆ มาเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ก็จะแสวงหาความรู้มากขึ้น   แล้วก็เกิดความรู้ใหม่ ผู้รับความรู้ก็กลายเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ได้ และผู้ถ่ายทอดความรู้ก็มาดู รับความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อีก   เกิดเป็นสังคมแห่งปัญญา ที่เอาความรู้ดีๆ มาแบ่งปันกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันสังเคราะห์

แล้วที่ยากเพราะอะไรครับ ก็เพราะมันต้องเป็นนิสัยยังไงล่ะครับ ถ้าผู้มีความรู้ไม่มีนิสัยที่จะจดบันทึกและแบ่งปัน ถ้าผู้ต้องการหาความรู้ไม่มีนิสัยที่จะเสาะแสวงหาความรู้   การจัดการความรู้ก็จะไม่เกิด ระบบสารสนเทศหรือ IT จะดีอย่างไร ก็ช่วยได้ไม่เต็มที่

ผมเข้ามาใน Gotoknow แล้ว ก็หวังว่าสังคมแห่งการเรียนรู้ที่นี่จะเติบโตเบ่งบานครับ

ขอบคุณ คุณวชิระชัยมากนะคะ  ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนรู้ ในบล็อคนี้  คุณให้ความคิดเห็นดีมากเลย และเป็นจริงด้วย ขอบคุณนะคะ  ทำการบานอยู่ ถ้าไม่ดึกจะไปอ่านเรื่องของท่านอีกคะ

ราตรีสวัสนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท