พ่อคำเดื่อง ภาษี


การปฏิรูปการศึกษานั้นไม่ใช่เพียงแค่ปรับกระบวนการเรียนรู้และปฏิรูปครูเท่านั้น แต่ต้องแก้ไขระบบการศึกษาที่อยู่ในกรอบคิดแบบเก่า (ทุนนิยม) ที่ยังเอาเงินเป็นตัวตั้ง

พ่อคำเดื่อง ภาษี

ปราชญ์ชาวบ้าน ต.หัวฝาย อ.แคนดง

จ.บุรีรัมย์ ที่จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา และทำงานเป็นเกษตรกรมาตลอดชีวิต

แต่ด้วยความที่มีแนวคิดสวนกระแสคนอื่น ชอบศึกษาค้นคว้า สังเกต ตั้งคำถาม และแสวงหาคำตอบให้ตัวเอง โดยการปฏิบัติและเรียนรู้จากธรรมชาติ จนกลายมาเป็นที่ยอมรับของสังคมในปัจจุบัน เป็นเจ้าของรางวัลคนดีศรีสังคม ปี 2535 และครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 เมื่อปี 2544

จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนั้น  พ่อคำเดื่องเห็นว่าต้นเหตุของปัญหา คือ การมุ่งเอาเงินเป็นตัวตั้ง ผลิตทุกอย่างเพื่อขาย เมื่อเข้าสู่ยุคการพัฒนาตั้งแต่ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 คนก็เลยพากันบุกเบิกพื้นที่ป่าให้เป็นที่ทำกิน ปลูกปอ ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และพืชเศรษฐกิจอีกหลายชนิด แต่การผลิตนั้นไม่มีการจัดการและวางแผนที่ดี มีแต่คนบอกว่าปลูกอันนั้นดี ปลูกอันนี้ดี จะมีเงินทองทำให้ร่ำรวย และมีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดป่าก็เสื่อมโทรม สิ่งแวดล้อมก็เสื่อมโทรม

คิดและทำตามหลักอริยสัจ 4

พ่อคำเดื่องและเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน จึงเสนอแนวคิดการทำเกษตรประณีตหนึ่งไร่ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยปลูกพืชที่กินได้เป็นยาได้ ปลูกไม้ไว้สร้างบ้านเรือนในอนาคต ขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำทุกอย่างในพื้นที่ 1 ไร่โดยไม่ใช้สารเคมี ทั้งนี้ การทำเกษตรประณีตให้ประสบความสำเร็จต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 ประการ คือ การกำหนดเป้าหมายที่ต้องอาศัยการคิด การคำนวณ และการคิดถูกทำถูก การรวมพลัง ซึ่งหมายถึง การรวมพลังคนในบ้าน คนในชุมชนมาช่วยกัน การตั้งมั่น คือต้องรู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น และรู้จักสิ่งแวดล้อ ส่วนสุดท้ายคือต้องตั้งใจ…ตั้งใจทำมาหากิน

ต้นไม้ต้นแรกที่พ่อคำเดื่องปลูกในที่แปลงนี้

อยากกินอะไรก็ปลูกเอง

พันธุ์กล้าไม้ต่างๆก็พึ่งตนเองได้

เมื่อหันพูดคุยเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พ่อคำเดื่องซึ่งประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าไม่เชื่อมั่นกับการศึกษาในระบบ และให้ลูกทั้ง 3 คนออกจากโรงเรียน เพื่อมาเรียนรู้แนวทางการพึ่งตนเองตามที่ตัวเองได้วางรากฐานไว้ให้แล้วนั้น เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษานั้นไม่ใช่เพียงแค่ปรับกระบวนการเรียนรู้และปฏิรูปครูเท่านั้น แต่ต้องแก้ไขระบบการศึกษาที่อยู่ในกรอบคิดแบบเก่า (ทุนนิยม) ที่ยังเอาเงินเป็นตัวตั้ง  อยากให้นำหลักอริยสัจ 4  มาประยุกต์ใช้กับการศึกษา โดยใช้การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้คิดและหาคำตอบเอง  คิดบนหลักของความยั่งยืน  เข้าใจธรรมชาติ  เข้าใจระบบนิเวศ  ทำให้เห็นการปฏิบัติจริง  อย่าเพิ่งเชื่อตำรา  ต้องพิสูจน์ก่อน จึงจะเชื่อได้

ถ้าเข้าใจธรรมชาติก็จัดการได้โดยไม่ต้องเหนื่อยมาก

ธรรมชาติมีการปรับตัวและเกื้อกูลกัน

“การที่จะให้นักเรียนทำอะไร ผู้บริหารและครูจะต้องเข้าใจก่อน ส่วนใหญ่การทำตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่โรงเรียนทำกันเป็นเพียงรูปแบบ แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนวิธีคิด ต้องปรับวิธีคิด ตอนนี้เขายังไม่เชื่อว่าวิถีที่เราเดินตามฝรั่งได้หมดอายุขัยแล้ว โลกตอนนี้เหมือนเล่นไพ่จนหมดแต้มแล้ว แต่ไม่ยอมเลิกเล่น เหมือนกับที่มีคนทักท้วงว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะไม่ได้ผล ก็มีคนบอกว่าทั่วโลกเขาก็ทำแบบนี้ ทั้งที่ประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกที่เคยใช้วิธีการแบบเดียวกันนี้ล้วนแต่ล้มพังพาบอย่างไม่เป็นท่าอยู่ในปัจจุบัน”

ไหน?ที่บอกว่ารากพืชแย่งอาหารกันมันเป็นยังไง

ทุกข์ของเราเป็นแบบนี้หรือเปล่า

“คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงคนส่วนใหญ่ยังมองเป็นเพียงเรื่องของการทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียวอยู่ ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงยังรวมถึงการดำเนินชีวิตอื่นๆด้วย คือการใช้ชีวิตอย่างพอดีและคิดค้นหาวิธีการที่จะคืนความสมดุลให้กับโลก ไม่ใช่คิดแต่จะเอาและทำลายอย่างเดียว เหมือนเศรษฐกิจทุนนิยมที่มุ่งแข่งขันกันรวย แต่เศรษฐกิจพอเพียงคือการทำอย่างไรให้เหลือเก็บและคืนให้กับโลกให้มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมจะต้องรักษาไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานมีใช้อย่างเพียงพอ”

ปลูกต้นไม้ นอกจากได้กำไรหลายร้อยเท่าแล้วยังช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย

(ต้นนี้ 12 ปี)

อาณาจักรเขียวหมื่นปีที่เตรียมส่งต่อให้ลูกหลาน

ชีวิตเราจะต้องการอะไรไปมากกว่านี้

หมายเลขบันทึก: 270889เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอให้แนวคิดนี้ตรึงในหัวใจคนไทยให้ทั่วถึงค่ะ เพื่อนประเทศไทยของเรา

ได้มีโอกาสไปฟังคุณพ่อคำเดือง ถึงท่บ้าน ยอมรับว่าทึ่งในหลักคิดที่แหลมคม มองทะลุอนาคที่เป็นปัญหา และเตรียมแก้ปัญหา เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณตัวจริง ของให้อุดมการณ์ของพ่อคำเดื่อง ได้รับการสานต่อแนวคิดนี้จากคนทั้งโลก เพื่อพิทักษ์โลกของเราตลอดไป

คำพูดทุกคำที่พ่อพูด ฟังง่ายได้สาระน่านำไปใช้ แนวการปฏิบัติแบบนี้อยากนำไปใช้แต่ไม่รู้ว่าจะทำได้แค่ไหน ถ้าเราทำได้คงมีความสุขมากพึ่งพาตนเองได้ รักษาโลกด้วย อยากไปดูที่บ้านพ่อจังเลยแต่ไม่รู้จะไปอย่างไง

ถ้านิสิต นักศึกษา นำหลักการและความรู้ไปปฏิบัติ หลังจบการศึกษา เกษตรกรก็จะยั่งยืนได้

และถ้าบุตรเกษตรกรไม่เป็นเกษตรกร ในอนาคตก็คงจะไม่มีเกษตรกรแล้วสังคมจะอยู่ได้อย่าไร

การสอนดีมาก พูดก็ตลกฟังไม่เบื่อ

เพิ่งมีโอกาสได้ชมเวทีชาวบ้าน ได้รู้จักพ่อคำเดื่อง จากรายการ ทึ่ง ศรัทธา จะหาโอกาสทำตาม ตอนนี้ขอรับราชการรับใช้ชาติจะลงมือทำตามแนวคิดพ่อคำเดื่อง พอเกษียณก็ขึ้นสวรรค์พอดี ยังไม่ใจถึงพอที่จะลาออก เพราะหน้าที่ต้องดูแลคนอื่นอีกมาก

ได้ชมรายการเวทีชาวบ้านเช่นกัน ทำให้อยากไปขอศึกษา และลงมือทำบ้าง จะเริ่มต้นอย่างไรดี

อยากไปหาพ่อคำเดื่องเพื่อเรียนรู้เพิ่มขึ้น

ความรู้ที่ได้จาก คุณพ่อคำเดื่อง ภาษี

เรียนรู้พืชที่สามารถทำให้อยู่ได้อย่างพอเพียง

เรื่องที่อยู่ใกล้ตัว ที่มองไม่เห็นค่าของพืชเหล่านี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท