บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ


เสียงจากสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่สะท้อนมาจากบทสัมภาษณ์ของคุณมกุฎ อรดี ในโพสต์ทูเดย์ (วันที่ 6 มิถุนายน 2552 หน้า7)

พี่อุ๊  พี่บรรณารักษ์ในวงการส่งบทความนี้มาให้ดู พบว่าบทความดังกล่าว ตีพิมพ์ในคอลัมน์สยามประเทศไทย ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 16 มิถุนายน 2552 หน้า 21 เป็นอันตาลีตาลานรีบอ่านรายละเอียด มีอะไรเกี่ยวข้องกับตูหว่า (โหลดไฟล์บทความฉบับเต็มอ่านได้จ้า)

 

....เนื้อหาสำคัญดันเป็นเรื่องของระบบ  เช่น การโยกย้าย ทุจริต คอรัปชั่น ในบางวงการที่เกี่ยวข้องกับบรรณารักษ์ ทำให้งบประมาณนั้นไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนห้องสมุด และศักยภาพของบรรณารักษ์ ทำให้บรรณารักษ์ขาดการพัฒนาตนเอง และมีลักษณะที่ไม่ต่างจากภัณฑารักษ์ และนักอนุรักษ์....

 

คุณมกุฎ อรดี กล่าวถึง บรรณารักษ์พันธุ์ใหม่ว่า  ต้องเก่งเรื่องการระบายหนังสือไปสู่คนทั่วไป (หรือผู้ใช้ห้องสมุด) จัดรายการลดแลก แจกแถม ให้คนเข้ามายืมหนังสือเยอะๆ ต้องส่งเสริมการอ่าน เป็น (แหล่ง) ที่พึ่งของคนที่คิดอะไรไม่ออก อยากเข้ามาหาความรู้ในห้องสมุดที่ไม่ใช่คนนั่งเฝ้าหนังสือ หรือคอยขู่คนที่ยืมหนังสือว่าอย่าคุยเสียงดัง อย่าทำหนังสือยับ

 

...อีกเหตุผลหนึ่งที่วิชาชีพบรรณารักษ์ไม่เติบใหญ่ คือ การเรียนการสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ Copy ตะวันตกมาทั้งดุ้น ซึ่งแตกต่างจากสังคมของประเทศไทย ที่เป็นสังคมยากจน ไม่ชอบอ่านหนังสือ....

 

ว่าไปแล้ว แม้บทความในมติชนรายวัน ฉบับนี้ นี้ไม่เกี่ยวกับวิชาชีพเราโดยตรง แต่มีสาระสะท้อนอะไรมากมาย

 

  • ตัวบรรณารักษ์ต้องรักที่จะเรียนรู้ ผู้บริหารห้องสมุดต้องกระตุ้นและให้ขวัญกำลังให้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดมีการเรียนรู้ตลอดเวลา นอกจากองค์ความรู้ในวิชาชีพแล้ว  ข่าวสารบ้านเมือง ภาพยนตร์ เพลง  สังคม Social-Online  เทคโนโลยี  นิตยสาร หนังสือ การท่องเที่ยว จิปาถะ...เรื่องอะไรก็ได้ที่สนใจ สามารถมาประยุกต์ใช้กับเนื้อหาวิชาได้  และหาเวทีให้ผู้รู้แล้วถ่ายทอด...นอกจากสนุกแล้ว ยังเป็นประเด็นได้เรียนรู้ร่วมกัน เช่น การแทรกหมายเลขหน้าในการพิมพ์เอกสาร ที่น้องนารี จุติ แห่ง ม.นเรศวร เอามานำเสนอ...ก็ทำให้ได้รู้เพิ่มขึ้น

 

  • สิริพร ยังสนับสนุนแนวคิดในการเรียนปริญญาที่ 2 หรือ การศึกษาในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง แต่หน่วยงานราชการยังมีระเบียบให้ลาเรียนได้ในระดับที่สูงขึ้นไป หรือตรงกับสาขาวิชาเท่านั้น อ้าวถ้าบรรณารักษ์ใช้ทุนตัวเองเรียนด้านการบริหาร  ด้านพัฒนาสังคม  ด้านคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพียงแต่หน่วยงานสนับสนุนการลาศึกษาต่อ...จะไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และร่วมสร้างบรรณารักษ์แนวใหม่บ้างหรือไร...อย่างน้อยก็จะมีบรรณารักษ์ที่เป็น Subject Special ในสาขานั้นๆ แน่นอน...เพราะบางครั้งในแนวกว้าง...บางสถานการณ์เราอาจไม่จำเป็นต้องใช้บรรณารักษ์ที่จบระดับสูงก็ได้...
  •  หรือการไปเรียนภาษา...มีทุนให้นี่แจ๋วไปเลย...อย่าลืมนะว่า มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ก้าวสู่อินเตอร์แล้ว...แล้วบรรณารักษ์อย่างท่านๆ พูดภาษาอังกฤษได้ในระดับไหน  ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่อยากให้ตัวเองเป็นฮับทางการศึกษาของแถบประเทศเพื่อนบ้าน...ลาว พม่า เวียดนาม จีน กัมพูชา บรรณารักษ์ร้อยละเท่าไหร่ที่สามารถสื่อสาร ทั้งพูดอ่านเขียน ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี...แต่หากยังต้องให่บุคลากรขวนขวายเอง ในขณะที่ปากท้อง ครอบครัวก็เป็นเรื่องสำคัญ...คำตอบก็รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นอย่างไร ผู้บริหารท่านเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร คง Work เรื่องนี้เป็นแน่แท้ แม้ว่าผลจะไม่ปรากฏในวาระ 4 ปี แต่ฐานแน่น แน่นอน
  •  และโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะจิต ตามแนวคิดของคุณมกุฎ อรดี ที่จะให้บรรณารักษ์ลดแลก แจก แถม...ซึ่งจะต้องทำ Promotion เป็น อาจใช้งบมาก น้อย ต่างกัน ทำอย่างไรจะทำ Promotion เป็นหล่ะคะ จัดศึกษาดูงานด้านนี้สิคะ...ด้านการต้อนรับ บริษัท Event
  • และที่สำคัญ ก่อนจะลดอะไรนั้น สำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  บรรณารักษ์ต้องลดอายุ  และลดช่องว่าง ค่ะ....ไม่ใช่แค่การใช้ครีมหน้าเด้ง แต่รู้ว่านักศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเค้าสนใจอะไรอยู่  ถ้าบรรณารักษ์อย่างเราๆ จะอ่านกุลสตรี ก็ไม่ผิดใคร แต่เราควรจะรู้ว่านักศึกษาเค้าอ่าน อะเดย์ กัน...อย่างน้อยก็จะได้รู้รูปแบบภาษา การนำเสนอ และกราฟฟิกที่ใช้...จะได้นำเสนอได้อย่างตรงใจย่างน้อยก็ช่วยได้ในกรณีที่งบประมาณจำกัด...ไม่สามารถจ้างบริษัท Event หรือนักประชาสัมพันธ์

 

อย่างนี้พอจะ Update ตัวเองให้เป็นบรรณารักษ์แนวใหม่ได้หรือเปล่าคะ

แล้วท่านที่แวะมาเยี่ยมชมบันทึก มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

  •  สงวนลิขสิทธิ์โดยสิริพร ทิวะสิงห์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 10 สิงหาคม 2552

คำสำคัญ (Tags): #บรรณารักษ์
หมายเลขบันทึก: 269080เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีครับ กอล์ฟ โชคธำรงค์ จงจอหอ เข้ามาเยี่ยมครับ

ตอนนี้จบด้าน บรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

แต่ดันได้งานเกี่ยวกับ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แทน

ไม่ได้ไปช่วยพัฒนาวิชาชีพเลย

คงไม่ว่ากันนะครับ

แต่ก็เห็นด้วยว่า การ copy มาทั้งด้นเนี่ย อันตรายครับผม

อิอิ ต้องปรับตัว ต้องคิด ต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์มากมาย

จนกว่าจะกลายเป็นปัญญาของเราเพือ่แก้ปัญหาในสภาพสังคมเราเอง

คิดถึงและขอให้มีคววามเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปนะครับ

ยินดีที่คุณ กอล์ฟ P หนุ่มลุ่มน้ำปิง

แวะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

มีประโยชน์มากค่ะ

แล้วแวะมาบ่อยๆนะคะ

มีความสุขทุกวันนะคะ

แบบนี้เขาเรียกโดน ฮ่าๆๆ

อาจารย์เอามานำเสนอให้ศึกษาพอดี เลยหาช่องทางอื่นทางกูเกิ้ลอ่านแล้วเข้ามาเจอในนี้ครับ ^^

ขอนแก่นเป็นบ้านเกิดของชีวิตราชการของผมสอบบรรจุที่ศาลากลาง ขอนแก่นจึงเป็นเหมือนชีวิต รับราชการอยู่ที่ขอนแก่น 2 ปีเศษ  อยากให้หลานม่อน ไปศึกษาที่ ม.ขอนแก่นจัง ฝากท่านอาจารย์ไว้ก่อนนะครับ ขอบพระคุณ โชคดีครับ

1.บทความของท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบทความที่สะท้อนว่าคนอื่นๆ มองเราอย่างไร อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นคำพูดที่รุนแรงอยู่เหมือนกัน

2.แต่ข้อเขียนของคุณสิริพร สรุปประเด็นจากแนวคิด พร้อมแนวทางการพัฒนาให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ส่วนตัวเอง ยังหาแนวคิดมาแลกเปลี่ยนไม่ได้เลยค่ะ

เดี๋ยวคิดได้แล้วมาใหม่อีกที :)

พี่ตุ่นจ๋า..

เตรียมชุดครบเซ็ตยังจ๊ะ..

^^

ก่อนอื่นต้องขอบคุณพี่  สิริพร ทิวะสิงห์ tuk-a-toon สำหรับคำชมน่ะค่ะ ทุกวันนี้บทบาทบรรณารักษ์มีหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าวันๆหนึ่งเราได้ทำอะไรกับบ้าง  และดีใจที่ได้นำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับพี่ๆและเพื่อนๆ

 

ดูรูปจากข้างบน  ท่าทางพี่จะเป็นคนอารมรณ์ดีมากเลยนะคะ  เพลงก็อินเตอร์เพราะด้วยค่ะ  อิอิ

มีคนบอกว่า อิจฉาบรรณารักษ์ที่ได้อยู่กับหนังสือทุกวัน ในขณะที่คนอื่นต้องเดินทางมาเพื่อเข้าห้องสมุด.... อดภูมิใจไม่ได้ เพียงแต่ หลายๆคนกลับรู้สึกว่าบรรณารักษ์สบาย ไม่ค่อยได้ทำงาน...

นานาจิตตังจริงๆค่ะ

ฮั่นแน่ อย่างนี้ ท่าน ผอ. ประจักษ์ P

ก็นับเป็นศิษย์เก่าขอนแก่นนะสิคะ

ได้แวะมาขอนแก่นบ้างหรือเปล่า ไม่รู้ว่าขอนแก่นวันนี้กับวันก่อนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ว่างๆ แล้วท่าอาจารย์เล่าความหวังให้ฟังบ้างสิคะ

ปล. ท่านอาจารย์ประจักษ์

ที่ว่าจะฝากหลานม่อน มาเรียนที่ มข. หน่ะค่ะ

อย่าเปลี่ยนใจนะคะ...

อิ๊บอั๊บแล้ว

ขอบคุณการแวะมาทักทายกันของคุณต๊ะติ๊งโหน่ง  P นะคะ

บทความนี้พอได้อ่าน ก็วาบเหมือนกันค่ะ

สงสารตัวเองจังเลยนะคะ....จะไปต่อยังงัยดีหล่ะเนี๊ยะ

ถ้าว่างแวะมาคุยกันบ่อยๆ นะคะ

น้องทางเดินแห่งรัก P หรือน้องนารีจุติ

พี่ตุ่นได้อะไรๆ จะ blog มากมาย แถมมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อีก เช่น เรื่องการแทรกหน้า การตกแต่งรูปด้วย photospace ใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้อีกด้วย

แต่ก็พึงสังวรณ์ไว้อย่าง หากระบบไม่เอื้อ จะกลายเป็นพี่เล่นเน็ตในเวลางาน และเป็นตัวอย่างไม่ดีแก่เด็กๆ ใน Office หากคิดอย่างนี้แล้ว...บรรณารักษ์ก็คงนึกสภาพตัวเองในอนาคตออก

คุณครูแอ๊วเอ้ย

ตอนนี้มีสิ่งที่ทำได้อยู่ 3 อย่าง คือ

1. เตรียมสไลด์/การสอน สำหรับแนะนำฐานข้อมูลให้นักศึกษษ ซึ่งเปลี่ยนสาขาไปทุก 2-3 วัน

2. ปั่นงานให้พี่จุดหมาย ยังกับว่าเราเป็นพระเอกนางเอกเรื่องคู่กรรม ผมหงอกไปหลายเส้น ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องยาก

3. เคลียร์ผลงานตาหวาน...บางวันถึงกับอารมณ์พุ่งจี๊ดขึ้นถึงดาวอังคาร...หวังว่า หมาที่ซน คือหมาที่ฉลาดนะ

จึงยังไม่ได้ตระเตรียมอะไรเลย เอวังก็มีด้วยประการละฉะนี้

จริงอย่างที่น้องแก่นจัง P บอก

หนังสือที่อ่านน้อยนักนะคะ จะเป็นหนังสือห้องสมุด ส่วนใหญ่จะเป็นของส่วนตัวซะมากกว่า...

แล้วจะเอาที่ไหนไป Update หล่ะ

อย่างนี้สำนักพิมพ์น่าจะให้บรรณารักษ์ซื้อหนังสือไปใช้ส่วนตัวด้วยการลดราคาพิเศษนะคะ...อิอิ...อันนี้ความงกเริ่มมาแล้วค่ะ

อยากทราบเกี่ยวกับบทสัมภาษณ์ของบรรณารักษ์น่ะค่ะ

ทั้งไทยและอังกฤษน่ะค่ะ ช่วยหน่อยน่ะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ยิ่งเยอะยิ่งดี

ไม่ทราบว่า คุณ Nuu pick

จะใช้ข้อมูลบทสัมภาษณ์ไปใช้ในงานอะไร

และบทสัมภาษณ์นั้นมีเนื้อหาด้านใด เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

สำหรับด้านนโยบายห้องสมุด

มีหลายบทความที่จีพิมพ์ในวารสารห้องสมุด

หาก...เป็นสมาชิกห้องสมุดมหาวิทยาลัย สามารถที่จะค้น Fulltext จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย

30 กค.2552

สวัสดีครับ ไม่ได้พบกันนานมากๆ ผมอยู่ไกลมาก บ้านอยู่ห่างจากพรมแดนไทย-พม่าประมาณ 5 กม.อาศัยการศึกษาจาก InterNETs เป็นหลัก จากบทความของมติชนนั้น เป็นบทสท้อนที่ดี เกี่ยวกับบรรณารักษ์ และระบบห้องสมุดในประเทศไทย ที่เกี่ยวกับงบประมาณในการจัดการความรู้เพื่อการบริการการอ่าน งบประมาณค่อนข้างอัตคัด น่าสงสาร ตัวอย่าง แค่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกือบ 95% สอบตกการประเมินเรื่องงบประมาณแทบจะไม่ถึง4% ของยอดรวม มีเพียงไม่กี่แห่งที่รอดตัวมาได้ ด้วยกระบวนการหลอกล่อเรื่องตัวเลข ให้สับสนไปมาจนผ่าน การประเมินแบบเส้นยาแดงผ่าแล้วผ่าอีก นอกจากนั้นห้องสมุดอื่นๆไม่ต้องกล่าวถึง เป็นยิ่งกว่าความน่าสงสารเมื่อเป็นเช่นนี้ จะแสวงหา งานบริการสารสนเทศจากอะไรได้แค่ไหน ห้องสมุดจะมีอะไรให้ผู้คนเข้ามาค้นหา เพราะมาแล้วไม่พบอะไรเลย...การจัดหาจึงกระท่อนกระแท่นไปทุกหนทุกแห่ง

และก็จะกระทบไปถึง การจัดสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ ที่ต้องระหกระเหินไปตามมีตามเกิดและส่วนมากก็จะแสวงหาจากเงินนอกงบประมาณ เท่าที่บรรณารักษ์ จะหามาได้ด้วยกลวิธีต่างๆ, บรรณารักษ์ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ปัจจุบันแทบทุกสถาบันที่ผลิตบรรณารักษ์ ต้องเผชิญอยู่ด้วยความขมขื่น ที่บัณฑิตสาขาบรรณารักษ์ฯ จบแ้ล้วไม่มีงานทำ ไม่มีอัตราแม้แต่ในโรงเรียน ส่วนมากจะไปสมัครเป็นลูกจ้างชั่วคราว1 ปี เพราะตามโรงเรียน ห้องสมุดขาดแคลนบุคคลากรสายอาชีพโดยตรง ส่งผลให้หลายสถาบัน ไม่มีนักศึกษาสมัครเข้าเรียนเลย แล้วจะให้ บรรณารักษ์วิชาชีพรุ่นใหม่ๆ เข้าไปพัฒนาระบบห้องสมุดของประเทศได้อย่างไร....หลักสูตรบรรณารักษ์เป็นอีกกรณีหนึ่ง ที่ต้องหันกลับมาวิเคราะห์กันอย่างหนักมากๆ ถึงอนาคของงานในสาขาวิชาชีพนี้ ผมเคยนำเสนอหลักสูตรวิชาหนึ่งไว้ ว่านอกเหนือจากรายวิชา ปรัชญาบรรณารักษศาสตร์แล้ว โลกปัจจุบันบรรณารักษ์ ต้องเข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของ Social Chaos & globalization,สังคมโลกยุค PostModern ซึ่งวิชานี้จะปรากฎในรายวิชาที่ชื่อ Future Science ถ้าบรรณารักษ์ยุคปัจจุบันไม่เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว เพื่ออนาคตข้างหน้า วิชาชีพนี้จะเป็นเพียงผู้เฝ้าหนังสือและดูแลสารสนเทศให้อยู่บนชั้นเก็บเท่านั้น การเข้ามาของกระบวนการแสวงหาความรู้ของ Wikipedia, You Tube, Google, e-Journals,e-books etc. เป็นตัวแบบของห้องสมุดสมัยใหม่ ที่ทำให้งานของบรรณารักษ์และห้องสมุด จะพัฒนาไปสู่พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุตกสมัย หรือแหล่งเก็บวิทยาการแบบ ประวัติศาสตร์ของความรู้-ประวัติศาสตร์ของวิชาต่างๆ .....งานส่งเสริมการอ่านเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ห้องสมุด และบรรณารักษ์ จะต้องเผชิญกับ กระบวนการเอาหน้าต่างๆของบุคคลต่างๆในปีแห่งการอ่าน ปัญหาที่เกิดขึ้นจะกลับกลายเป็น Paradox problem เรามีสาระความรู้อะไรให้ผู้อ่านสืบค้นหาอ่านบ้าง ทุกวันนี้ หนังสือดีและมีคุณภาพ มีเฉพาะบางกลุ่มวิทยาการเท่านั้น สาขาอื่นนอกจากหายากแล้ว ราคายังแพงอีกด้วย โดยเฉพาะหนังสือได้รับรางวัลราคายิ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็นทวีคูณ หลายๆสิบๆปี ที่ผ่านมาเราจะพบว่า มีสาขาวรรณกรรม นวนิยาย เรื่องสั้นเท่านั้น ที่ได้รับการโปรโมทยกย่อง ให้มีการอ่านค้นคว้าได้ แล้วสาขาอื่นๆละ คำถามที่ว่า ทำไมคนไทยสนใจวิชาวิทยาศาสตร์น้อยลงทุกวัน ก็เป็นเพราะเราไม่เคยมีวรรณกรรมสาขาวิทยาศาสตร์ดีๆมีคุณค่า โปรโมทยกย่องให้ผู้คนรู้จักแสวงหา

มีข้อเสนอ อยู่ว่า ทำไมวรรณกรรมสาขาอื่นๆ ไม่มีรางวัลเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ

ถ้า ผู้อำนวยการ หรือจัดการ จะสร้างกระบวนการส่งเสริมการอ่านด้วยการให้รางวัลและทำราคาให้ถูกลงเพื่อการเผยแพร่ไปทั่วทุกหนทุกแห่งด้วยการ

1. ตั้งราคาวรรณกรรม ที่ได้รับรางวัล 1รางวัลมูลค่า xxx บาท

แล้วแบ่งออกเป็น 3ส่วน คือ

1.1 มอบให้ผู้แต่งผู้ประพันธ์

1.2 มอบให้สำนักพิมพ์ที่เป็นเจ้าของ ที่จะต้องมีข้อกำหนดไว้ ว่าภายในระยะเวลา 1ปี จะพิมพ์ขายได้ในราคาไม่เกินกว่า 25 หรือ 50 บาท และเมื่อหมดปีไปแล้ว มีเล่มที่ได้รางวัลใหม่ปรากฎออกมา สามารถพิมพ์ขายได้ตามอัธยาศัย(เพื่อทำให้ราคาเป็นที่แพร่หลาย ไปทุกหนทุกแห่ง ซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการอื่นๆตรงนี้มากมายตามมา คุณค่าของวรรณกรรม ที่ได้รางวัลจะปรากฎไปทั่ว)

1.3 ซื้อและมอบให้กับห้องสมุดทุกแห่งทั่วประเทศ ตามจำนวนที่กำหนด

2.รางวัลวรรณกรรม จะต้องมีรางวัลเฉพาะในทุกปี จะต้องมีรางวัลวรรณกรรมสาขาฟิสิกส์, รางวัลวรรณกรรมสาขาเคมี,รางวัลวรรรณกรรมสาขาชีววิทยา ฯลฯ อีกหลากหลายสาขาเป็นรางวัลเฉพาะทาง (ไม่ใช่รางวัลมั่วๆแบบทุกวันนี้ ท่านลองใช้สมองคิดง่ายๆว่า ถ้าเอาวรรณกรรมเรื่อง ความสุขของกะทิ ไปเปรียบเทียบกับวรรรณกรรมเรื่อง ชีววิทยาของแมลง แ้ล้วพิจารณาตัดสินให้รางวัลวรรรกรรมที่ดี อีกกี่ร้อยปี วรรณกรรมเรื่อง ชีววิทยาของแมลง จึงจะได้รับรางวัลบ้าง)

3. ใครคือผู้ตัดสิน ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด ในงานการส่งเสริมการอ่าน ก็ ผู้ที่ทำงานวิชาชีพ-บรรณารักษ์และห้องสมุด ทั้งประเทศลงคะแนนโหวต และประกาศผลให้ ตรงนี้ เราจะพบว่านี่ คือ พลังอำนาจที่ทรงคุณค่ายิ่งของ บรรณารักษ์วิชาชีพ ที่จะพึงมีต่อสังคมการอ่านการเรียนรู้

เป็นเพียงข้อเสนอที่ เพ้อฝันไปหน่อย แต่น่าจะทำได้และพวกบรรณารักษ์รุ่นใหม่ๆทั้งหลาย น่าจะขยายวงไปได้มากมายกว่านี้ อย่าเพิ่งง่วงนอนนะครับ ขอจบเท่านี้ก่อนแล้วจะเขียนมาใหม่ครับ

มาเป็นกำลังใจให้บรรณารักษ์ค่ะ..

รักการอ่าน รักหนังสือ และอยากให้ทุกคนรักการอ่าน

แต่ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ค่ะ

จึงมาส่งกำลังใจให้นะคะ

P ศน.อ้วนคะ

  • ขอบคุณกำลังใจที่มอบให้นะคะ
  • แวะมาให้กำลังใจ บรรณารักษ์ บ่อยๆ นะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้ศึกษานิเทศก์เช่นกันค่ะ

คิดถึงคุณ Sc21Mc เหลือเกินค่ะ

ท่านอาจจะยุ่งหรือ...ไม่มีประเด็นที่น่าสนใจในการแลกเปลี่ยน

จริงๆ อยากรู้จักท่านให้มากขึ้น เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างถึงกึ๋น

มีโอกาสเป็นไปได้หรือเปล่าคะ

ขอบคุณสำหรับการมองบทบาทบรรณารักษ์-ห้องสมุดที่มีส่วนในการส่งเสริม-คัดเลือกวรรณกรรม

และมองความเปลี่ยนแปลงของสิ้งแวดล้อม ที่ทำให้ช่องว่างของวิชาชีพกว้างมากขึ้น บรรณารักษ์ต้องมีพลังที่จะก้าวกระโดดข้ามช่องว่างนั้นไปให้ได้

ตรงนี้ก็ต้องพัฒนาตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับองค์กร และระดับชาติ

บางครั้งรู้สึกว่าประเทศไทยเป็นยุคจำลอง

เช่นเดียวกับหลักสูตรบรรณารักษ์และสารนิเทศ...ที่จำลองมาจากประเทศตะวันตก

ที่ระบบ การเรียนรู้ ปัจจัยต่างๆ ต่างกันเยอะ

เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เรื่องราวต่างๆ ในประเทศไทยไปไม่ถึงไหน

และเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบที่ว่า วรรณกรรมในสาขาอื่นๆ ทำไมไม่เกิด

ยังดีนะคะที่ 5 ปีนี้หนังสือเด็กและเยาวชนบูมมาก...แต่ยังราคาแพงอยู่

ประเทศไทยมีหนังสือให้เลือกอ่านเยอะมากขึ้น...แต่เด็กไทยก็ไม่นิยมอ่านหนังสือ

ภาพเด็กๆ ที่หยิบหนังสือติดมือมาอ่าน ที่สมัยก่อนเห็นจนชินตา บัดนี้ห่างหายไปนาน

จะเอาอะไรกับประเทศไทยอีก...

แต่สำหรับเมล็ดพันธุ์ความคิดของคุณ Sc21Mc นั้น ทำให้เกิดประกายความคิดดีนะคะ

แวะมาคุยบ่อยๆ นะคะ...คิดถึง

มีบทความที่เขียนเกี่ยวกับ บทความต้นเรื่องนี้ไว้ ที่เว็บไซต์ libraryhub น่าสนใจ...ซึ่งคุณ Sc21Mc อาจจะรู้จักแล้ว...

http://www.libraryhub.in.th/2009/06/19/review-librarian-new-style-for-sujitwongthes-article/.

และมีบทความที่อยากให้คุณ Sc21Mc แสดงทัศนะ...เผื่อจะได้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง หรือเลือกที่จะเกษียณตัวเองแทน...แต่นั่นคือบริบทของตะวันตก...บางอย่างปรับใช้ได้...บางอย่างกว่าจะได้...ก็ต้องรอ

อาชีพที่ดีที่สุดปี 2009-บรรณารักษ์ http://www.usnews.com/articles/business/best-careers/2008/12/11/best-careers-2009-librarian.html

แร๊ง!!!

นั่งอ่าน Web blog อ่านไปอ่านมา อ่ะ มาป่ะ blog พี่ตุ๋นเฉยเลยยยย อิอิ

น้องออย Ksiriy

เจอพี่ตุ่นใน Blog Link ตื่นเต้นซะไม่มี

ยายป้านี่ มีเรื่องแบบนี้ด้วยเหรอ เห็นแก เหรอๆ ก๊าบๆ ไปวันๆ

ปริญญาใบที่ 2(โท)อยากเรียนในสาขาที่ชอบคือ IT แต่หน่วยงานไม่อนุมัติ

เพราะเรียนแล้วก็ต้องเป็นบร. Cat. เหมือนเดิมไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่เรียน

ก็เลยต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เผื่อจะได้เป็นบร. สมัยใหม่กับเขาบ้าง

คุณ Suree เจ้าขา

  • การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ทำให้คนเราพัฒนาเท่าทันโลกที่หมุนเวียนผ่าน ทำให้ไม่ทดท้อเวลา IT เปลี่ยนแปลงไป
  • ยิ่งถ้าได้การสนับสนุนจากระบบอีก เหมือนได้น้ำมันเครื่องเน๊อะ...เครื่องจะแร๊งซ้า....รับรองได้
  • สำหรับตุ่นโอกาสได้รับการสนับสนุนจากระบบยิ่งไม่มีใหญ่ คนอาไร้อยากจะเรียนประมาณสังคมการพัฒนา เป็นปริญญาที่สอง...

หนูเพิ่มบรรณารักษ์มาค่ะยินดีที่ได้รู้จักพี่บรรณารักษ์ค่ะ

หนูยังไม่ได้ทำงานไม่รู้จะเริ่มที่ไหนดีค่ะ

พี่ช่วยให้คำแนะนำหนูหน่อยว่าหนูจะทำงานอะไรดี

มาเป็นกำลังใจให้บรรณารักษ์ค่ะ..

รักการอ่าน รักหนังสือ และอยากให้ทุกคนรักการอ่าน

ต้องขอโษน้องจันทร์แรมนะคะ

ที่เผลอตกหล่นไม่ได้ติดต่อกลับเลย

ตอนนี้ทำอะไร อยู่ที่ไหนน้อ...ว่างๆแวะมาอีกนะคะ

คงสบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท