Citation searching และรางวัลจากเวที KKU Show&Share


วิสัยทัศน์ของผู้บริหารและการผลักดัน Citation searching สู่เวที KKU Show&Share ครั้งที่ 3

การสืบค้นรายการอ้างอิง (Citation) จากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มีบทบาทอย่างมาก ณ ปัจจุบัน เพราะเป็นแหล่งให้ข้อมูลดัชนีชี้วัดคุณภาพของการเรียนการสอน และการวิจัย ว่าบทความที่เผยแพร่ในวารสารระดับสากลนั้น มีผู้นำไปอ้างอิงเท่าไหร่

  • ห้องสมุดไหนไม่มีฐานข้อมูลประเภทนี้ให้บริการ ก็ต้องมองกันใหม่แล้ว
  • ฐานข้อมูลประเภทนี้ที่ขึ้นชื่อเลย คือ SCOPUS เห็นว่าปีการศึกษา 2553 สมศ. กำหนดให้ใช้ข้อมูลอ้างอิงบทความจากฐาน SCOPUS เพียงฐานเดียว
  • แต่จริงๆ แล้วฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์นั้นเกือบทุกฐานสามารถค้นรายการอ้างอิงได้ เพียงแต่ว่าจะเป็นฟังก์ชั่นที่เด่นหรือไม่ อีกฐานที่เด่นๆ ก็คือ ISI Web of Science
  • สำหรับแหล่งบริการข้อมูลฟรีบนอินเตอร์เน็ตนั้น คงคุ้นเคยกันกับ Google Scholar  นอกจากนั้นยังมี Asian Science Citations Index (ASCI) และฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (เฉพาะวารสารของประเทศไทย-ซึ่งอยากให้สมบูรณ์เร็วๆ จังค่ะ)

  

  •  จับพลัดจับผลูอีกแล้วที่ผู้บริหารจับให้เป็น 1 ในคณะกรรมการ นำเสนอข้อมูลการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในงาน KKU Show&Share ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2552 ณ อาคารเพียรวิจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์  ไม่อยากคุยเลยว่า เพราะวิสัยทัศน์ผู้บริหาร ทำให้สำนักวิทยบริการ มข. คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มาได้ (งานนี้ประเภท Good Practice มีรางวัล 2 ประเภท คือ 1. รางวัลชมเชย 1 รางวัล 2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 4 รางวัล)

 

 แล้วอะไรเป็น Good Practice ของงานนี้

ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราได้นำเสนอว่า กระบวนงานการสืบค้นรายการอ้างอิง (Citation) จากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์เป็น Good Practice  เพราะ "การถ่ายทอดความรู้"

เราเน้นถึง การศึกษาฐานข้อมูล วิธีใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และมีการถ่ายทอดให้บรรณารักษ์ทุกคน ทุกห้องสมุด สามารถที่จะสืบค้นข้อมูล Citation จากฐานข้อมูลต่างๆ ได้ สามารถให้บริการและรายงานตัวชี้วัดต่อมหาวิทยาลัยได้

ที่สำคัญกว่านั้น เรามุ่งเน้นการถ่ายทอดสู่ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนที่ต้องใช้ข้อมูลนี้ในการดำเนินงาน

                       เรามุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ใช้บริการที่สนใจรายบุคคล โดยเฉพาะอาจารย์ และนักวิจัย ให้สามารถสืบค้นรายการอ้างอิงได้เหมือนบรรณารักษ์ค้นให้กับมือ

                       ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ใช้คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การสาธิต การจัดทำประชาสัมพันธ์เผยแพร่ทั้งสิ่งพิมพ์และบนเว็บ ตลอดจนมีบรรณารักษ์คอยให้คำแนะนำในการค้นคว้า

 

ใครได้ประโยชน์จาก Good Practice นี้

 

-  มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อ การจัดลำดับมหาวิทยาลัย  การเข้าสู่มหาวิทยาลัยวิจัย  และรายงานข้อมูลตัวชี้วัด  ร้อยละบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง

- สำนักวิทยบริการ ใช้เพื่อ และหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานบริหารการวิจัย  คณะวิชา เป็นต้น ใช้เพื่อรายงานข้อมูลตัวชี้วัด ร้อยละบทความที่ได้รับการอ้างอิง และสนับสนุนพันธกิจด้านการวิย ทำให้ทราบแนวโน้มการวิจัยสาขาต่างๆ เป้นต้น

- อาจารย์/นักวิจัย  ใช้เพื่อ รวบรวมผลงานวิชาการ แสดงการอ้างอิงบทความในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นข้อมูลขอรับค่าตอบแทน ในกรณีที่บางคณะจัดสรรให้

  

 

 

  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 300111เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

นำสื่อดีๆ ที่เห็นมิติของบุญกุศล
และองค์ความรู้ที่จะนำไปปฎิบัติในการเรียนการสอนมาฝากคุณครูครับ


 

ฐานข้อมูล Scopus เคยแต่ได้ยินค่ะ ไม่เคยได้ใช้ ตอนนั้นมีโอกาสได้อบรม ก็ได้ประโยชน์มากเหมือนกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ ไม่ค่อยได้ทักทาย สบายดีนะคะ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ที่คุณ Man In Flame นำมาฝากกันนะคะ

เรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องสำคัญ เพาะเป็นสิ่งที่สร้างความสุข สร้างแรงผลัก

และเป็นปัจจัยที่กำหนด จุด ที่เราควรจะเป็น

ขอชื่นชมผู้รับผิดชอบ และศูนย์คุณธรรม, บ.จินตนาการ ที่จัดโครงการดีๆ เหล่านี้ให้เยาวชนไทย

พี่สบายดีค่ะ น้องทางเดินแห่งรัก

พิษณุโลก อากาศคงเริ่มเย็นแล้ว ...

สำหรับ SCOPUS ก็คล้ายๆ ISI แหละค่ะต่างกันที่ขอบเขตเนื้อหาวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท