สืบสานประเพณี การบวชป่า : บวชต้นไม้


พิธีบวชต้นไม้” มีวิธีคิดและวิธีการปฏิบัติคล้ายคลึงกับ “พิธีสืบชะตาแม่น้ำ หรือ คน” ด้วยการต่ออายุให้เจริญยั่งยืนสืบไป

            งานของผู้เขียน  มีความจำเป็นที่ต้องรวบรวมพิธี ที่ยังคงสืบทอดประเพณีมาถึงปัจจุบัน  ประเพณีอะไรบ้างที่ ในจังหวัดพิษณุโลก  และแล้ว เป็นโอกาสดีผู้เขียนไปเก็บรวบรวมเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก ในวันนี้ (6 ตุลาคม 2550)  ซึ่งจังหวัดพิษณุโลก มีงาน ตลาดนัด คุณธรรม ภาคเหนือ ในส่วนหนึ่งกิจกรรมในงานนี้ มีการประกอบพิธีบวชต้นไม้ ต้นไม้ที่มีอายุยาวนาน หลายปี มาแล้ว ณ สวนชมน่าน รายเรียงเรียบ ริมฝั่งน้ำน่าน ตลอดเส้นทาง  จำนวน 13 ต้น  ด้วยกัน  โดย ท่านรองเจ้าคณะจังหวัด  ประธานในพิธี พระสุทิน สมังคโร จากวังปลาเทโพ  วัดวังมะสระ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เจ้าพิธี  ท่านศิริ  ทิวะพันธ์  คุณเปรม ชมพูนุท นายกเทศมนตรี  ร่วมงาน

 

ภาพพิธีบวชต้นไม้  จังหวัดพิษณุโลก

 

จากมีการบันทึกและการศึกษาค้นคว้า ของผู้เขียน ในด้านกุศโลบาย ในการักษาป่าของชาวบ้าน ความเชื่อว่าป่าเขาล้วนแต่มีผีปกปักรักษา มิให้ใครมารุกล้ำทำลาย พิธีกรรมที่หลากหลาย อาทิ การเลี้ยงผีขุนน้ำ ผีเจ้าป่าเจ้าเขา ปลูกฝังให้คนต้นน้ำไห้มีจิตใจรักษาป่าและน้ำของเขาไว้ พิธีการบวชต้นไม้ หรือบวชป่าก็เป็นเช่นเดียวกัน

พิธีบวชต้นไม้ มีวิธีคิดและวิธีการปฏิบัติคล้ายคลึงกับ พิธีสืบชะตาแม่น้ำ หรือ คน ด้วยการต่ออายุให้เจริญยั่งยืนสืบไปตามคติความเชื่อ  ส่วนที่มาของการ บวชป่า มาจากวิธีการห่มจีวรให้กับต้นไม้เช่นเดียวกับการบวชพระ ส่งผลให้สถานภาพของคนและต้นไม้เปลี่ยนไป นับเป็นการนำความเชื่อทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ

ขั้นตอนและวิธีการบวชต้นไม้  นิยมทำกันเหมือนงานบุญทั่วไป โดยเจ้าพิธีจะใช้สายสิญจน์ล้อมอาณาบริเวณที่จะบวชต้นไม้ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลต่อชาวบ้านและต้นไม้ที่จะทำพิธี

เจ้าพิธีจะจึงนำจีวรมีเตรียมไว้ไปห่มให้กับต้นไม้ เป็นอันเสร็จพิธี

การบวชให้ต้นไม้ใดบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและเจตนาของชุมชนเอง บวชได้ตั้งแต่ต้นไม้ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ แต่ส่วนมากจะเน้นต้นไม้ที่ขนาดใหญ่ มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งต้นไม้ในป่าที่ผ่านการรุกทำลาย เพราะจะสามารถฟื้นคืนสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปี ถ้าไม่ถูกรบกวนอีก

           ชาวบ้านเชื่อว่า ผืนป่าที่ผ่านพิธีบวช เป็นเสมือนดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าผู้ใดก็ไม่อาจเข้าไปทำลายได้ ทำให้ต้นไม้มีโอกาสคืนความชุ่มชื้นแก่แผ่นดินได้เต็มที่ และสายน้ำลำธารที่เกิดจากป่าต้นน้ำดังกล่าว ก็จะฟื้นคืนชีวิตอีกครั้งหนึ่ง

        การบวชป่า ให้ชุมชนที่ร่วมมือกันรักษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติไว้ให้กับลูกหลาน เป็นการเรียกร้องสิทธิ์ของชุมชน  ในการดูแลรักษาป่าและแหล่งต้นน้ำลำธารเองด้วย  พิธีบวชป่าจึงเป็นความปรารถนาที่ดี  ส่งต่อไปสู่คนรุ่นหลัง ท่ามกลางตอไม้นับพันนับหมื่นในอดีตผืนป่าของเมืองไทย เพื่อเป็นป่าที่สมบรูณ์ในอนาคตต่อไป  

          ดังพระราชดำรัส   “...การปลูกป่าสำคัญที่ปล่อยให้เขาขึ้นเองได้ อย่าไปตอแยกับต้นไม้ อย่าไปรังแกต้นไม้ เพียงแต่คุ้มครองเขาหน่อย ขออย่าไปรังแกเท่านั้นเอง ไม่ต้องทำอะไรมาก...” (พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับแนวทางการฟื้นฟูป่าธรรมชาติ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)  (หนังสือรวมพระราชดำรัส )

และก็มีปริศนา ทาย ผู้อ่าน  ท่านใดทายถูก จะพาไปเลี้ยง 1 อิ่ม ค่ะ ทำมาจากกะลามะพร้าว  แล้ว เค้านำไปใช้ทำอะไร  และมีวิธีการใช้อย่างไร ( เก็บตกมาจากเดินชมงาน ตลาดนัดคุณธรรม )       ติ้กต๊อก ๆๆๆๆๆๆๆ

หมายเลขบันทึก: 135507เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2007 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • รังนก เอหรือรังรักของ bird
  • อิอิอิๆๆ
  • นึกไม่ออก
  • เคยดูการบวชต้นไม้ที่น่าน
  • เป็นภูมิปัญญาที่น่าชืนชมมากครับพี่
  • น้องขจิต  ผิดค่ะ อะไรคะ นกอะไรจะเข้าไปรังได้ช่องทางเข้านิดเดียว ยังห่างไกล ราวกับฟ้า และน้ำ
  • อิอิ ให้โอกาส อีกครั้งนะคะ

สวัสดีครับ

ผมเองเคยเข้าร่วมกิจกรรม/พิธีกรรมการบวชป่ามาบ้าง  ชมรมของนิสิตในมหาวิทยาลัยก็เคยจัดกิจกรรมนี้ในทุกปีของช่วงเดือนเมษายน  ...  ส่วนใหญ่ไปจัดในหมู่บ้านต่าง ๆ

สิ่งเหล่านี้เกี่ยวโยงกับความเชื่อ... และถือเป็นกุศโลบายของการอนุรักษ์ป่าที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

ขอบคุณครับ

  • อ.แผ่นดิน หวัดดีค่ะ
  • ค่ะ กุศโลบายที่แยบยล
  • ดีจังเลยเนอะ คนจะได้ไม่กล้าตัดไม้เนี่ย
  • คล้ายๆกันไหมน้า http://gotoknow.org/blog/kann2011/65196
  • น้องแก่นเราต้องช่วยกัน ยิ่งปัจจุบันอากาศนับวันทวีความร้อนมากยิ่งขึ้น จ้ะ
  • ว้า.... กะลา เราไม่มีใครสนใจเลยล่ะ ไม่แปลกเหรอค่ะ

จ้า พ่อครูบา ได้รับเกียรติ อย่างยิ่ง ค่ะ

หนู ขอนำข้อมูล นี้ ไป ทำรายงานน่ะค่ะ ขอขอบคุณ พี่นิดมากๆเลยค่ะ หนู เรียนที่ ราชภัฏกำแพงเพชรค่ะ เราอยู่ใกล้กันเลยค่ะ เอ่อ หนู ไปทำรายงานก่อนค่ะ ที่หนูเลือกทำ เรื่อง นี้ เพราะ หนู ได้ หัว ข้อมาจาก คุณครู ค่ะ หนูไม่เคย รู้เรื่องนี้เลย แต่ หนู เคย เห็น ตาม ต้น ไม้ มี ผ้า สีเหลือง ๆ พันไว้ รอบ ๆ ก็ ยัง เคย คิด ว่า มัน คือ อะไร วันนี้ได้มาอ่าน เเล้ว ได้ รู้ เรื่อง อีก มาก เลยค่ะ เป็นภูมิปัญญา ที่ เยี่ยม มาก เลยค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

^___________^"

 

 

สวัสดีค่ะ

     ดิฉันกำลังทำโครงการบวชป่าเป็นครั้งแรก  ในวันที่  12/10/51 นี้

แต่ไม่ค่อยรู้รายละเอียดกิจกรรม/พิธีการเลยอ่ะค่ะ

ขออนุญาตินำเรื่องนี้ไปเขียนเรียงความนะคะ ขอบคุณเป็นอย่างสูงคะ ได้ความรู้ขึ้นเยอะเลยคะ

สหายไพร คงผ่านไปด้วยดีนะคะ ขออภัยเช้ามาตอบช้า จ้า

ไก้กลม ด้วยความยินดีจ้ะ

บวชป่าน่าจะริเริ่มมาจากพะเยาและน่าน แล้วขยายไปทั่วภาคเหนืออย่างรวดเร็ว

ตื่นตัวสุดขีดก็เมื่อปี 2539 ที่มีการกิจกรรมบวชป่าชุมชน 50 ล้านต้น เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ซึ่งมีชุมชนเข้าร่วมมากกว่า 100 ป่า มีการระดมทุนจัดตั้งเป็นกองทุนให้ชุมชนดูแลรักษาป่าจำนวนมากหลังจากนั้นก็มีการขยายแนวคิดนี้ไปทั่วประเทศ

บวชป่าไม่ได้ทำเฉพาะชาวพุทธ บางแห่งที่ชุมชนมีความหลากหลาย เขาทำพิธีพร้อมกันทั้งพุทธ คริสต์ และเลี้ยงผีด้วยครับ

หวาดดีค่ะพี่นิด น้องชื่อเมย์นะค่ะ ตอนเรียนอยู่ มนค่ะ

คือเมย์สนใจเรื่องการบวชป่าพี่พอจะมีข้อมูลของชุมชนที่ทำกิจกรรมพิธีบวชกับป่าบ้างไหมค่ะ พอดีเมย์จะนำข้อมูลไปศีกษาทำรายงานอาจารย์ค่ะ

ถ้ามีพี่ช่วยส่งให้ด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

มีหนังสือเก่าๆตั้งแต่ปี 39 น่าจะใช้ได้บ้างนะครับ

 

อ่านแล้วคิดถึงต้นไม้ของแม่ค่ะ  แม่เคยเอาพวงมาลัยไปคล้องไว้ที่ใต้ต้นมะไฟ ทำให้พวกเราไม่กล้าปีนขึ้นไปอีกจนมดแดงมาอาศัยอยู่เต็ม

 

เป็นกิจกรรมที่ขอไปขยายผลต่อนะคะ  ขอบคุณค่ะ

อยากได้เบอร์โทรคนที่ทำงานเกี่ยวกะเครือข่ายเรื่องน้ำของจ.พิษณุโลกจังเลยค่ะ มีใครช่วยบ้างได้ไหมค่ะ รบกวนหน่อยค่ะ พอดีมีงานวิจัยเกียวกับการอนุรักษ์ลุ่มน้ำน่าจ.พิษณุโลกนะค่ะ ใครมีแอดเมลล์มานะค่ะ

มีทั้งองค์กรชาวบ้าน NGOs และอาจารย์ใน มน.ครับที่ทำงานเรื่องลุ่มน้ำ

พื้นที่ทำงานมีทั้งลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน-แควน้อย และลุ่มน้ำวังทอง

ขอบคุณทุกความรู้นะคะ ดีที่สุดชอบการเรียนรู้อย่างนี้มากค่ะ

อาตมากำลังจะทำงาน(วิจัย)เกี่ยวกับการบวชป่า บวชต้นไม้ ขออนุญาติโยมนำข้อมูลไปไช้

อ๋อ!!!!

เข้าจัย,,เเระ^^

55+

ขอบคุนผู้หั้ยข้อมูลคร๊ะๆ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากเลยค่ะ

เพราะทางชมรมอนุรักษ์ ม.อ. (หาดใหญ่) กำลังจะจัดพิธีบวชป่าค่ะ

แต่อยากทราบว่า ถ้าต้องการย่นย่อให้พิธีเหลือแค่ 2 ชั่วโมงจะทำยังไงดีคะ

เพราะนับต้นไม้แล้ว บวชประมาณ 20 ต้นค่ะ

แล้วถ้าเราดัดแปลงให้พิธีแบบเดียวกับ การทำบุญทั่วไป จะได้ไหม

ช่วยไขข้อสงสัยให้หน่อยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

คุณกชกรค่ะวันพิธีวันนั้นก็ประมาณ 2 ชั่วโมง ค่ะ ก็เหมือนการทำบุญทั่วไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท