กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน


Supply Chain Strategies

การ ใช้กลยุทธ์เดิมๆ คือ การเร่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความโดดเด่นและใช้กลยุทธ์ด้าน ราคาด้วยการลดต้นทุนและตัดค่าใช้จ่ายลง แต่องค์กรทุกองค์กรต่างใช้กลยุทธ์ที่ไม่แตกต่างกันจนกระทั่งไม่ได้เกิดความ ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากนัก แต่ในปัจจุบันมีแนวความคิดที่กำลังได้รับความสนใจและให้ความสำคัญกันมากคือ การบริหารซัพพลายเชน    (Supply Chain Management : SCM)

ก่อนคือ คงต้องอธิบายก่อนว่า

Supply chain management คือ ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อ ส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและ ความต้องการ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการบริหารห่วงโซ่อุปทาน คือ

1.ลดการเก็บสินค้าคงคลัง

2.ลดต้นทุน

3.Higher productivity

4.ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ (มีความรวดเร็วในการส่งของให้ถึงมือลูกค้า fast operations)

5. ลด Lead Time (เวลานำในการส่งของ)

6.เพิ่มกำไร

7.ทำให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อผลิตภัณฑ์ของเรามากขึ้น

แล้วก็คงเกิดคำถามว่า แล้วจะทำยังไงละ

สิ่งที่สำคัญในการจัดการห่วงโซ่อุปทานก็คือ การแชร์ข้อมูลกันระหว่าง suppliers, manufacturers, distributors, customers ดังนั้น เราต้องให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เพื่อการประสานกันได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว

เช่น บริษัท ผลิตยางรถยนต์ มีการใช้ Integrated Supply Chain เมื่อทางบริษัทต้องการผลิตยางเท่าไรก็จะ Keyข้อมูลความต้องการวัสดุลงในโปรแกรมที่เรียกว่า ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกรรมประจำวัน  

-          ในด้านการให้ suppliers เข้าถึงข้อมูลได้ จะทำให้ suppliers รู้ได้ตลอดเวลาว่าจะต้องผลิตเท่าไรจึงเพียงพอต่อความต้องการของ บริษัท ผลิตยางรถยนต์ พอรู้ข้อมูลที่ถูกต้องก็ผลิตของมาส่งที่โรงงานได้เลยโดยไม่ต้องรอให้มีใบสั่งจากโรงงาน ช่วยสะดวกรวดเร็วขึ้น และ ลดต้นทุนการMake to Stockของ suppliers อีกด้วย

-          ในด้านการให้หน่วยงานต่างๆในโรงงานของ บริษัท ผลิตยางรถยนต์ จะทำให้รู้ข้อมูลได้ตลอดเวลาว่า จะต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบเท่าไร มีการผลิตเท่าไร ต้องเปิดOTหรือไม่ จะจัดเก็บสินค้าเท่าไร ช่วยให้ประหยัดเวลาในการสั่งซื้อ จัดเก็บ ลดค่าจ้างแรงงานแบบล่วงเวลา เนื่องจากไม่ต้องเร่งผลิตให้ทันต่อความต้องการลูกค้ามากนัก

-          ในด้านของลูกค้า เข้าถึงข้อมูลได้ว่า บริษัท ยางรถยนต์ มีการของอยู่ในStockเท่าไร สั่งตอนนี้จะได้ของเลยเท่าไร ช่วยให้ลูกค้าสามารถวางแผนการสั่งซื้อได้อย่างถูกต้อง

 

เมื่อทราบกันแล้วว่าการแชร์ข้อมูลการผลิตให้แก่บริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของเราเข้าถึงข้อมูลได้นั้นดีอย่างไร ก็มาดูกันว่า ปัจจุบันนี้ เขามี กลยุทธ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานกันอย่างไรบ้าง

Supply Chain Strategies

1.Many Suppliers Strategies

-เป็นกลยุทธ์ที่จะต่อรองกับหลายๆ suppliers

-สั่งของทีละมากๆ เอามาเก็บไว้ในInventory

-จะไม่สร้างความสัมพันธ์กับ suppliers มากนัก

*เหมาะกับการผลิตแบบ Make to Stock

2.Few Suppliers Strategies

-กลยุทธ์นี้จะติดต่อซื้อขายกับ suppliersในระยะยาว ต่างจาก Many Suppliers Strategies

-มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ระหว่างโรงงาน และ suppliers

-จะสั่งของจาก suppliers ทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เข้ากับหลักการของJust in Time

*กลยุทธ์เหมาะกับการผลิตแบบ Make to Order พอสมควรทีเดียว

3.Keiretsu Network Strategies

กลยุทธ์นี้เน้นการเป็นพันธมิตรกันระหว่าง suppliers, manufacturers, distributors อาจจะถือหุ้นร่วมกัน ข้อดีก็คือ เมื่อเป็นพันธมิตรกันอะไรก็ง่าย ซื้อก็ง่าย ขายก็คล่อง ข้อมูลก็เข้าถึงได้แบบทะลุปุโปร่ง ต้นทุนที่ต้องไปติดต่อเพื่อขายหรือซื้อ ก็ไม่ต้องมี ส่งสินค้าก็รวดเร็วกว่า

4.Vertical Integration Strategies

กลยุทธ์นี้เน้นการทำเองหมดทุกอย่าง ข้าเป็นเจ้าของทุกอย่างตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำจนปลายน้ำ

ก็เห็นชัดๆอยู่แล้วว่าต้นทุนในการจ้าง suppliersมันไม่มีเลย แถมยังมีการเข้าถึงข้อมูลกันได้ทั้งหมด เพราะเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ก็ต้องลงทุนเริ่มค่อนข้างสูง ความต้องการสินค้าที่ผลิตต้องสูง และ มีอยู่ตลอด จึงจะเหมาะกับ กลยุทธ์นี้นะครับ

5.กลยุทธ์ที่ใช้แต่ Outsourcing อย่างเดียว

                เป็นกลยุทธ์ที่ไม่ต้องลงทุนพวกFix Costใดๆเลย ความเสี่ยงต่ำ ถ้าของขายไม่ออกก็ไม่เจ็บตัวมากนัก พูดง่ายๆคือ จ้างเขาผลิตทั้งหมด จ้างเขากระจายสินค้า ด้วย แต่ก็ต้องแลกด้วยต้นทุนในการจ้าง Outsource ถ้าคุณคิดว่า Outsourceคิดค่าจ้างผลิตไม่แพง การสื่อสารทำได้ง่าย ของสามารถขายได้ และ คุ้มกับการลงทุน ก็นับว่า น่าลอง

 

ถ้าท่านใดสนใจ กลยุทธ์เชิญเอาไปใช้ได้ตามสมควรแล้วกันนะครับ เผื่อว่าจะมีใครอยากทำธุรกิจเป็นของตนเอง

 

ขอบคุณครับ

อภิชิต มณีงาม

หมายเลขบันทึก: 405067เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 03:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2024 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

อุปสงค์ อุปทาน ทิ้งเรื่องเหล่านี้ไปกว่ายี่สิบปีแล้วนะคะนี่

(แสดงว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่ทันสมัยแล้ว)

ขออัพเกรดความรู้ตัวเองจากบันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณ

สวัสดีครับ คุณ ณัฐรดา

ยินดีที่ได้แบ่งบันความรู้ครับ

ผิดพลาดประการใด แนะนำได้เลยนะครับ ^.^

ยอดเยี่ยมมากครับ ท่านจอมยุทธ์

พี่ครับผมอยากได้โคร้งสร้างห่วงโซ่ของบริษัทไปส่งอาจารย์แต่ผมหาไม่ได้เลยคับ พี่พอจะมีข้อโครงสร้างของห่วงโซ่มั๊ยคับ

คือต้องทำรายงานคะ  แต่แบบว่าหาเรื่องเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ค่อยได้เลยคะ  พอจะมีเนื้อหาหรือข้อมูลบ้างไหมคะ  ขอบคุณคะ

ขอรบกวนสอบถามว่ากลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทาน นี้ มีที่มาจากไหนครับ
แหล่งอ้างอิง พอดีต้องการข้อมูลเพิ่มเติมครับ ว่ามีนอกเหนือ จาก 5 ข้อนี้หรือไม่
ใครเป็นคนกำหนดไว้ ครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท