เทคนิคการแปล


ทำความเข้าใจและนำเสนอออกไปอย่างที่เข้าใจ

 

สวัสดีครับ

เมื่อวานได้ประชุมแผนการทำงานกัน

เลยฉุกคิดประเด็นการแปลขึ้นมาครับ

 

ที่เขียนบันทึกนี้ไม่ได้จะมาเล่าเทคนิคการแปลนะครับ

แต่จะมาขอคำแนะนำซะมากกว่า

 

จากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว เวลาแปลงานต่างๆ ถ้าไม่ต้องนำเสนอต่อ เราจะเข้าใจเองในแบบของเรา

แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ต้องนำเสนอต่อคนอื่น

นั่นล่ะครับ จะทำอย่างไรถึงจะให้คนอื่นเข้าใจเหมือนที่เราเข้าใจ

 

เวลาทุกครั้ง ผมจะพยายามอ่านให้จบย่อหน้า แต่ถ้าเยอะไปก็อ่านทีละประโยค

แล้วเขียนที่เราแปล ตรงๆ ตัวนั่นไว้ก่อน

เมื่อได้ครบทั้งย่อหน้าแล้ว ค่อยมาสรุปใจความอีก

แบบนี้อาจจะเสียเวลาสักหน่อย แต่เราจะสามารถสรุป และนำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่ายครับ

 

แล้วเทคนิคของท่านอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้างครับ

คำสำคัญ (Tags): #เทคนิคการแปล
หมายเลขบันทึก: 234928เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2009 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ใช้อ่านทั้งหมดก่อน
  • หลังจากนั้นก็สรุปใจความสำคัญ
  • แต่เป็นล่าม แปลยากกว่า
  • เคยช่วยพระเป็นล่ามท่านเทศนาเป้นบาลี
  • เราแปลเป็นภาษาอังกฤษ
  • อยากตาย.......
  • อ่านทั้งหมดก่อนแล้วค่อยมา สรุปอีกทีใช่มั้ย
  • ผมคงต้องอ่านหลายรอบแน่ๆเลย
  • แต่ อ.แปลจากบาลี เป็นอังกฤษนี่ ขั้นเทพจริงๆครับ

เพราะภาษาอังกฤษ กับภาษาไทย มีหลักภาษาไม่เหมือนกันมั้งครับ เวลาแปล มันจะฟังดูแปลกๆ ในหนแรก ต้องนำมาเกลาอีกรอบ ก็จะฟังดูรื่นหูขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ ชอบมี passive voice แต่ภาษาไทย ไม่ค่อยมี :)

  •  สวัสดีครับคุณ kit20m
  • ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
  • เรื่อง passive voice นี่ พลาดหลายครั้งเหมือนกันครับ
  • ผมใช้วิธี อ่านให้เข้าใจแตกทั้งประโยค แล้วมาดูว่า จะเรียบเรียงเป็นภาษาไทยว่าอะไร เสมือนหนึ่งเขียนใหม่ คำแนะนำคือ ถ้าประโยคยาว ก็หั่นลงซะก่อนแปล
  • หลีกเลี่ยงการแปล passive voice แบบคำต่อคำ มันแสลงกับภาษาไทย คนที่แปล passive voice ให้อ่านแล้วไม่รู้สึกขนลุกขนพอง ผมยังนึกไม่ออก (ยกเว้นพวกแปล DVD ซับไตเติ้ล แปลแล้วทำให้หัวเราะท้องแข็ง ไม่ทันขนลุกขนพอง ! ลองหาดูที่ พี่ชิว หรือ คุณหุย เคยเขียนถึงไว้มาดูเป็นตัวอย่างก็ได้)
  • ถ้าทำแบบนี้ได้ ภาษาจะดูเนียนขึ้น อย่าน้อยไม่สร้างความครันคร้ามให้ผู้อ่านว่าตรูเจอเรื่องสยองขวัญเข้าให้แล้ว แต่จะแปลได้ดีแค่ไหน ขึ้นกับความลึกซึ้งของภาษาว่ามีทุนรอนสั่งสมมาแค่ไหน
  • และถ้าแปลเอางานเอาการ ก็ต้องขยันเปิดอ้างอิงกันหน่อย
  • ผมเองเวลาแปล ถนัดแปล DVD ซับฯ ซะมากกว่า ^ ^

 

  •  ขอบคุณครับ อ.วิบุล
  • แนวทางของ อ. คล้ายๆกับของพี่ kit20m ใช่มั้ยครับ
  • อ่านให้หมดค่อยมาเรียบเรียงเขียนใหม่
  • เอ๊ะ อ.ครับ ถ้าผมฝึกภาษาโดยการดูหนังเสียงอังกฤษ แล้วเปิดซับอังกฤษไปด้วย นี่น่าจะพอช่วยได้มั้ยครับ

 

สวัสดีครับ

โดยมากแปลเสร็จแล้ว จะพักไว้ก่อน แล้วค่อยมาอ่าน

เพราะบางทีเราติดกับสำนวนภาษาอังกฤษ

เราอ่านที่เราแปลเองเข้าใจ แต่คนอื่นไม่เข้าใจ อิๆ

ถ้างานวรรณกรรม บางทีต้องอาศัยจุดแบ่งประโยคตามเขา

  • ดูหนังช่วยได้มากครับ แนะนำ แนะนำ
  •  ขอบคุณครับพี่ ธ.วั.ช.ชั.ย
  • จุดแบ่งของประโยคที่เป็นยังไงครับ

 

  • หลังๆที่ดูนี่ อ่านอย่างเดียวเลยครับ ดูภาพไม่ทันเลยครับ

 

พวก full stop, comma นะครับ

  •  ขอบคุณครับพี่ ธ.วั.ช.ชั.ย
  • ที่ทำอยู่ก็ประมาณนี้ แต่รุ้สึกว่าเริ่มช้าครับ
  • เลยว่าจะลองใช้เทคนิคอ่านเป็นย่อหน้าดูก่อนรอบนึงแล้วค่อยมาสรุปอีกทีครับ

ตัวเองใช้วิธีอ่านทั้งหมดแล้วทำความเข้าใจให้ได้ทั้งหมดก่อน

พบศัพท์เฉพาะเทคนิคนี่..ต้องขยันหน่อยเลยล่ะ ขยันถามผู้รู้ในสาขาวิชานั้น เพราะเปิดดิกบางทีเราอาจเลือกความหมายอันที่ ข้าง ๆ หรือ เบี่ยง ๆ ไปนิดหน่อย

จริง ๆ ถ้าถึงกับต้องถอดความแบบ"แปล"ไม่เชี่ยวค่ะ

อ่าน--> ทำความเข้าใจ

แล้วเขียนเองใหม่ด้วยภาษาเรา..พอทำได้ค่ะ

  •  ขอบคุณครับ พี่ภูสุภา
  • ยังไงการอ่านทั้งหมด แล้วมาสรุปเป็นภาษาเราก็ยังคงเป็นเทคนิคที่หลายๆ่ท่านใช้กัน แล้วใช้ได้ดีด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ

การแปลของหนู

จะใช้แบบอ่านทั้งหมดแล้วเรียบเรียงเป็นความคิดของตัวเองก่อนค่ะ

แล้วจึงค่อยๆแปลทีละประโยค

แต่ถ้าให้อ่านแล้วแปลเลยไม่สันทัดค่ะ

สวัสดีค่ะ

  •  สวัสดีครับน้องนุช
  • สรุปได้ว่า ควรจะอ่านทั้งหมดแล้วเรียบเรียงอีกครั้ง น่าจะดีครับ :)

อ่านให้จบ เข้าใจ แล้วค่อยมาเรียบเรียง นะคะ บางคำแปลออกมา ถ้าเป็นภาษาทางการแพทย์ แล้วแปลตามประโยคจะเพี้ยนนะคะ แต่ส่วนมากจะอ่านเองเข้าใจเอง มากกว่า

  • ผมคงต้องฝึกอีกเยอะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท