ความประทับใจไม่รู้ลืม...


คุณค่าไม่ได้อยู่ที่ราคา..แต่คุณค่าอยู่ที่จิตใจ

       เมื่อวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา   ศูนย์การเรียนรู้อำเภอปักธงชัย  ไปลงพื้นที่ในวิชาภูมิปัญญากันที่หมู่บ้านพระบึง  ตำบลบ่อปลาทอง  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา  ซึ่งทางคณะนักศึกษาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีทั้งขาไป(ข้าวเที่ยงที่แสนอร่อย)   และขากลับ(ละมุดกับกล้วยของฝาก)  จากกำนันสุรพล   เจ้าของสถานที่    และสิ่งหนึ่งที่รู้สึกประทับใจมาก (จากในหลายๆ สิ่ง)  คือได้รู้จักกับชาวญัฮกุร  หรือชาวบน  ชาวดง   ซึ่งในปัจจุบันนี้ชาวญัฮกุร  มีอยู่เพียง 3 จังหวัดเท่านั้น  คือ  จังหวัดชัยภูมิ   จังหวัดราชบุรี   และที่อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมานี่เอง    ได้เรียนรู้วิถีชีวิตและภาษาที่ชาวญัฮกุรใช้   ซึ่งถูกฟื้นฟูขึ้นมาด้วยเกรงว่าจะถูกกลืนและสูญหายไปตามกาลเวลา 

       สิ่งที่ประทับใจม๊าก มาก  คือความมีน้ำใจและเป็นกันเองของชาวบ้าน  ซึ่งวันนั้นได้รับความรู้ต่างๆ  มากมายเกี่ยวกับภูมิปัญญาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่   การประกอบอาชีพหาเลี้ยงตน  มีทั้งการปลูกละมุด ( หวานกรอบ อร่อย... เชลล์ไม่ชวนก็ชิมแน่นอน! )   การทำนา  การปลูกหอม  ผักชี 

       ในวันนั้นได้รู้จักกับคุณยายบัว  แอบครบุรี   ซึ่งท่านน่ารักมากๆ  ให้ข้อมูลทุกอย่างที่อยากรู้   หาน้ำเย็นๆ  มาต้อนรับ พุดคุยกับเราเหมือนเราเป็นลูกหลานของแกคนหนึ่ง    พาเดินชมสวน  มีสารพัดต้น  ทั้งกล้วย  ต้นบุก  ต้นไพร  กระชาย  ชะอม  มะละกอ  โอ๊ย...สารพัน  ถ้ามาอยู่นี่คงกินกันจนพุงเขียวเลยก็ว่าได้    ที่ชอบมากๆ  ก็เห็นจะเป็นยุ้งเก็บข้าวเก่าๆ  ข้างบ้าน  พอเปิดเข้าไปด้านในมีทั้งข้าวเปลือก   หอม  กระเทียม แขวนเรียงรายอยู่เต็มไปหมด  สอบถามได้ความว่าเก็บไว้ทำพันธุ์และเก็บไว้กินตลอดปี 

       ที่สะดุดตาอีกอย่างเห็นจะเป็น หน่อไม้ลวกปอกเปือกใส่ถุงพลาสติก 2 ชั้นมัดด้วยเชือกแขวนเรียงอยู่ด้วย  คุณยายบอกว่าเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง   นี่แหละชีวิตชาวชนบทอยู่แบบพอเพียงจริงๆ  ไม่เหมือนเราชาวในเมือง  อยากกินอะไรก็ต้องซื้อ  ซื้อ  และซื้อเท่านั้น

     สิ่งที่ประทับใจสุดๆ  ก็ตอนลากลับนี่แหละค่ะ   ทั้งถั่วพลู  หน่อไม้  ยกลงมาฝากพวกเราเพียบ   บอกว่าไม่รับก็ยังคะยั้นคะยอให้เอาไปชิมให้ได้   ให้ความรู้ยังไม่พอ  ยังให้ของกินติดไม้ติดมือกับบ้านอีก  ประทับใจริง  จริ๊ง...   

     "ขอบอกว่า หน่อไม้ที่ได้กลับบ้านมาคราวนั้น  ต้มจิ้มกับน้ำพริกปลาทู  แซบอีหลีเด้อ ค้าเด้อ..."

                                                              Phuti.

หมายเลขบันทึก: 136313เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2007 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แผนที่ภาษาชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ภาพรวมของภาษาที่หลากหลาย

นายกรเพชร มรภ.เชียงใหม่

http://gotoknow.org/blog/phetroong/133744

ญัฮกุร(ชาวบน) Nyah Kur

ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก Austroasiatic language family ตระกูลเดียวกับภาษามอญ Mon

ภาษาประมาณ 14 ภาษา ใกล้สูญ เช่น ญัฮกุร โซ่(ทะวึง) ชอง กะชอง ซัมเร ฯ เป็นต้น

วิถีชีวิตชาว "ญัฮกุร" ซึ่งเป็นมอญโบราณ ที่ถูกกลืนวัฒนธรรม จนใกล้จะสูญหายไปจากโลก แต่จังหวัดได้อนุรักษ์ไว้และนำมาแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา นักวิชาการทางนิรุกติศาสตร์บางคนเรียกชนชาตินี้ว่า"ชาวบน"อยู่ในพื้นที่เชิง เขาอ.เทพสถิต และอ.บำเหน็จณรงค์ มีวิถีชีวิตและภาษาที่เป็นของตนเอง แต่กำลังถูกสังคมเมืองสมัยใหม่ครอบงำและกำลังจะหายไป

มะขาม เรียก ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา)

มะม่วง เรียก โตร้ก(ชาวบน-นครราชสีมา)

กลุ่ม รักความรู้

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิต อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

http://gotoknow.org/blog/love-learning1/136313?class=yuimenuitemlabel

เมื่อวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา ศูนย์การเรียนรู้อำเภอปักธงชัย ไปลงพื้นที่ในวิชาภูมิปัญญากันที่หมู่บ้านพระบึง ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทางคณะนักศึกษาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีทั้งขาไป(ข้าวเที่ยงที่แสนอร่อย) และขากลับ(ละมุดกับกล้วยของฝาก) จากกำนันสุรพล เจตนาดี เจ้าของสถานที่ และสิ่งหนึ่งที่รู้สึกประทับใจมาก (จากในหลายๆ สิ่ง) คือได้รู้จักกับชาวญัฮกุร หรือชาวบน ชาวดง ซึ่งในปัจจุบันนี้ชาวญัฮกุร มีอยู่เพียง 3 จังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดราชบุรี และที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมานี่เอง ได้เรียนรู้วิถีชีวิตและภาษาที่ชาวญัฮกุรใช้ ซึ่งถูกฟื้นฟูขึ้นมาด้วยเกรงว่าจะถูกกลืนและสูญหายไปตามกาลเวลา

กรกฎ บุญลพ

สำนักวิจัย

เผยแพร่ในเว็บศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ประชากรพื้นเมืองปัจจุบันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ชาวบน ชาวชองและชาวลาวโซ่ง โดยเฉพาะกลุ่มชาวบนนั้น เป็นกลุ่มที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตที่ราบสูงโคราชบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล ตอนต้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าชาวบนอาจสืบเชื้อสายมาจากประชากรสมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเดียวกันมาก่อน

กลุ่มชาติพันธุ์ในนครราชสีมา

จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยประชากรหลายกลุ่มชาติพันธุ์ บางกลุ่มก็เป็นเจ้าของถิ่นเดิม เช่น กลุ่มชาวบน กลุ่มไทยโคราช บางกลุ่มก็อพยพโยกย้ายเข้ามาภายหลัง ด้วยสาเหตุทั้งทางด้านการเมือง การสงคราม และอพยพมาเพื่อหาแหล่งที่ทำกินใหม่ เช่นกลุ่มไทย ลาว เ ขมร มอญ กวย(ส่วย) จีน แขก เป็นต้น ซึ่งล้วนมีลักษณะวัฒนธรรม เช่นภาษา ประเพณี ความเชื่อ ฯลฯ เป็นของตนเอง

2 พฤศจิกายน 2551

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท