เก็บดาวดวงเดียวกัน (ตอน 2 ค้นหาประเด็นงาน)


การส่งเสริมกลุ่ม เป็นภารกิจงานที่นักส่งเสริมการเกษตรทำการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จึงมิใช่เรื่องใหม่.....

[ตอน 1]  [ตอน 3]

     องค์ประกอบหลักของ “การจัดการความรู้ (KM)” ก็คือ 1)  มีเป้าหมายความรู้ที่ชัดเจน  2)  มีเวทีหรือช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และ 3)  มีการจัดเก็บองค์ความรู้ ที่นำไปใช้ต่อได้อย่างสะดวกและ
เข้าถึงง่าย 

     ส่วนผลงานของ KM  ที่เกิดขึ้นก็คือ 
       1)  KM  สามารถนำไปช่วยแก้ปัญหาการจัดเก็บหลักฐานในการทำงานส่งเสริมการเกษตร  ที่ได้เขียนไว้ในรูปแบบของเอกสาร/สิ่งพิมพ์, Internet, Web-Blog, VCD, เทปเสียง  และอื่น ๆ
       2)  KM  ช่วยพัฒนาเจ้าหน้าที่และเกษตรกรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันจากตัวอย่างที่ทำแล้วได้ผล 
       3)  เนื้อหาสาระที่ได้ผลได้มีการจัดเก็บและจัดทำเป็น “ชุดความรู้จากประสบการณ์”  อาทิเช่น  เรื่องหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง,  เรื่องวิสาหกิจชุมชน,  เรื่องวิทยากรกระบวนการ  และเรื่องอื่น ๆ

     งานตามภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรกระจายอยู่ทั่วทุกทิศ ที่มีการทำอาชีพการเกษตรและมีเกษตรกรอาศัยอยู่  บทบาทหน้าที่ที่นักส่งเสริมการเกษตรต้องรับผิดชอบ ก็คือ  การให้คำปรึกษาแนะนำ,  การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร,  การพัฒนาอาชีพการเกษตร  และอื่น ๆ  โดยมุ่งสู่การทำอาชีพการเกษตรของทุกกลุ่มเป้าหมายให้บรรลุผล  ภายใต้วิธีการทำงานที่ปฏิบัติ คือ การส่งเสริมรายคน  กลุ่ม  และมวลชน 

     แต่การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเกษตรต่าง ๆ อาจจะถูกจำกัดด้วยทรัพยากร  กำลังคน  งบประมาณ  และความพร้อมที่มีอยู่  ดังนั้น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จึงใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร
โดยผ่าน “กลุ่ม”  เป็นหลัก
  นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงกิจกรรมและความรู้ระหว่างกลุ่มด้วยกันเป็นลักษณะของ “เครือข่าย” ตามความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นที่สามารถพึ่งพาช่วยเหลือและร่วมกันดำเนินการได้ ได้แก่  เครือข่ายการผลิต  เครือข่ายการแปรรูป  เครือข่ายผลิตภัณฑ์การเกษตร  เครือข่ายการตลาด  และอื่น ๆ

     “องค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และเครือข่ายการเกษตร”  จึงเป็นแนวทางการการดำเนินงานที่สามารถนำเครื่องมือ “การจัดการความรู้ (KM)”  เข้าไปช่วยเสริมหนุนการปฏิบัติงาน ที่กำลังเกิดขึ้นให้สามารถเดินไปสู่เป้าหมายของกลุ่มและเป้าหมายของงานส่งเสริมการเกษตรได้  ทั้งในรูปแบบของการพัฒนากิจกรรม  การพัฒนาความรู้ความสามารถ  การพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม  การจัดเก็บความรู้ของกลุ่ม  และอื่น ๆ  เพื่อให้กลุ่มมีแนวทางและแผนปฏิบัติงานที่มาจากตนเองและเป็นของตนเอง  มีการบริหารจัดการกิจกรรมตามศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่  และสามารถดูแลผลงานของตนเองได้ตลอดรอดฝั่ง  โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่หนุนเสริมตามสภาพปัญหาความต้องการของแต่ละกลุ่มกิจกรรม

     ผลสุดท้ายของการชี้วัดผลงานที่เกิดขึ้นกับ “การจัดการความรู้ (KM)”  ที่ได้นำไปใช้นั้นย่อมจะต้อง
       1)  มองหาภารกิจงานและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน 
       2)  มีการกำหนดหลักการที่เข้าใจตรงกัน 
       3)  มีกระบวนการปฏิบัติที่เชื่อมโยงเป็นแนวทางเดียวกัน
       4)  มองเห็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม 

     ดังนั้น  งานที่จะนำมาใช้เพื่อชี้วัดผลการดำเนินงาน KM  ในปีงบประมาณ 2551 ก็คือ  การจัดการความรู้ขององค์กรเกษตรกร  วิสาหกิจชุมชน  และเครือข่ายในงานส่งเสริมการเกษตร  ซึ่งได้มาจากการค้นหาและการวิเคราะห์ถึงกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่กรมส่งเสริมการเกษตรต้องดูแล  และงานส่งเสริมการเกษตรที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายและยุทธศาสตร์ให้เกิดขึ้น  จึงเป็นความลงตัวที่จะมาร่วมมือกันทำและนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดผลงานให้กับองค์กรได้ก็คือ  เรื่ององค์กรเกษตรกร  วิสาหกิจชุมชน  และเครือข่ายในงานส่งเสริมการเกษตร.

หมายเลขบันทึก: 169154เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2008 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าหากว่าเรามีคนทำงานอยู่หลายระดับ เราจะต้องดูไหมว่า เราทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด มองไปในทิศทางเดียวกันหรือเปล่า มองเห็นเหมือนกันหรือเปล่า

เรียน คุณ Newwave1

1) ถ้าผ่านประสบการณ์การปฏิบัติ การทำความเข้าใจก็จะง่ายและรวดเร็ว

2) ความยากของการสื่อสาร และการเปิดรับ

3) ผลที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากการคุยกันหลายครั้ง

4) ถ้า70-80 % มีมุมมองเดียวกัน งานขั้นต่อไปก็จะง่าย

5) แต่เราต้องทบทวรเป้าหมายร่วมกันบ่อย ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท