12 เรื่องเล่าจาก อสม.ออนใต้ ตอนที่ 2..บทบาทของโค้ช


“ตัวเองทำหน้าที่เหมือนโค้ช แต่ผู้เล่นจริง คือ อสม.”

          คุณสุรพันธ์  พัฒนพงษ์   หรือ  “อ้ายอ๊อด” หัวหน้าสถานีอนามัย ต.ออนใต้  อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่  บอกว่า  “ตัวเองทำหน้าที่เหมือนโค้ช  แต่ผู้เล่นจริง คือ อสม.”  บันทึกนี้จึงขอเริ่มที่โค้ชก่อน  ว่ามีการวางแผนการเล่นอย่างไร   ทำให้ผู้เล่นเป็นทีมที่เข้มแข็ง  และเล่นไปทิศทางเดียวกัน 

คุณสุรพันธ์  โค้ช ของ อสม.ตำบลออนใต้

         อ้ายอ๊อด  บอกว่า  ปัจจัยหลักในการทำทีมเพื่อให้เล่นแล้วชนะ  คือ

1.  ปรับแนวคิดใหม่  ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพให้มองที่ “สุขภาวะ  แทน สุขภาพ”  ซึ่งจะชัดและง่ายกว่า

2. ปรับกระบวนการทำงานใหม่แบบสร้างสรรค์   ให้คิดว่า  …

2.1    เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มาทำงานในพื้นที่  เป็น พวกเวียนว่าย   ทำงานแล้วก็จากไป  ชาวบ้านเราเป็น พวกตายเกิด   เพราะเราเกิดที่นี่  อยู่ที่นี่  ฉะนั้นคนที่จะทำเรื่องการส่งเสริมสุขภาพให้ชาวบ้านที่ดีที่สุด  คือ ชาวบ้าน  หรือ อสม.นั่นเอง   และเจ้าหน้าที่ก็ควรปรับบทบาทตัวเองใหม่ จากการเป็นผู้เล่น  ควรมาเป็นโค้ช  ที่คอยให้คำแนะนำและสนับสนุน

2.2    ปรับสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน  เพื่อสร้างการยอมรับ เข้าถึง  ศรัทธา   เชื่อใจกันและกัน  เริ่มด้วยวัฒนธรรมเรียบง่าย  คือ การไหว้  เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกดีๆทั้งผู้ไหว้และผู้ถูกไหว้  เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการที่จะทำงานร่วมกัน

2.3    การหาผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งต้องเป็นผู้ที่เปิดใจ  คิดบวก  แล้วจึงแบ่งหน้าที่ตามถนัด  เพราะแต่ละคนมีต้นทุนของความรู้  ความคิดไม่เหมือนกัน  โดยการ...

  • พยายามทำให้เขาเหล่านั้น  เป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน  เป็นคนเก่งเป็นแชมป์ 

  • และที่สำคัญ คือ ต้องสร้างคนเก่งสร้างแชมป์ขึ้นมาให้มากๆ  เพื่อให้ช่วยกันลดแรงต้านในสังคม

  • ต้องเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้ลงมือทำงานให้มากๆ    เพื่อให้เกิดความชำนาญ  สุดท้ายเมื่อมองหาผลลัพธ์  ทำๆ  เล่นๆ บ่อยๆ  เดี๋ยวก็เก่ง  ได้ผลจริง

3.  ต้องยึดหลัก  Win  Win Win

  • Win ตัวที่ 1  เจ้าของงาน /โครงการ ต้องได้

  • Win ตัวที่ 2  ทุกงาน /โครงการประชาชนต้องได้ประโยชน์

  • Win ตัวที่ 3 ทำอย่างไรให้ผู้เล่น  คือ อสม.ได้รับสิ่งตอบแทนบ้าง

 

       อ้ายอ๊อด... บอกว่าทุกทฤษฏีที่สอนการทำงานเป็นทีมล้วนดีหมด   แต่ที่ดีที่สุด  คือ ทำอย่างไรให้คนเราหันมาพูดจากันดีๆ  พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์  สร้างสรรค์  เพราะคิดว่าหัวใจของการเรียนรู้  อยู่ที่การเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนั่นเอง

        นั่นหมายถึงว่า  ในการเล่นกีฬา/ทำงาน  บางครั้งการที่โค้ชวางแผนไว้แล้ว  ว่าผู้เล่นต้องเล่นอย่างนั้น  อย่างนี้  เพื่อให้ได้ชัยชนะ   แต่เมื่อเวลาลงสนามจริงกลับไม่สามารถเล่นไปตามแผนที่วางไว้   จึงจำเป็นที่โค้ชต้องขอเวลานอกเพื่อปรับแผนการเล่นไหม   และที่สำคัญ คือต้องเชิญผู้เล่นมาร่วม ลปรร.ร่วมกัน  เพราะอย่าลืมว่า  ชัยชนะทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนใดคนหนึ่ง   แต่เป็นเรื่อง ของการทำงานเป็นทีมต่างหาก

         ท่านผู้อ่านเห็นด้วยกับ "อ้ายอ๊อด"ไหมคะ ??

"ทุกคนมีคุณค่า...

เพียงแต่มีโอกาสแสดงคุณค่าไม่เท่ากัน"

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 364829เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2010 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)
  • สวัสดีค่ะ
  • ด้วยด้วยกับคำกล่าวของ "อ้ายอ๊อต" จริง ๆ ค่ะคุณมนัญญา "และชอบบทสรุปที่ว่า "ทุกคนมีคุณค่า...เพียงแต่มีโอกาสแสดงคุณค่าไม่เท่ากัน"
  • บุษราได้นำภาพน่ารัก ๆ มาฝากเช่นกันค่ะ

                  

สวัสดีเจ้า....

หันตวยพัน  %   เพราะมันเป็นการแข่งกีฬาประเภททีม  ไม่ใช่เดี่ยวหรือผสม

เพราะฉะนั้นหากนักกีฬาคนไหนหรือทั้งทีมเล่นดีและเก่งตามที่โค้ชสอน  ชัยชนะก็อยู่แค่เอื้อม   แต่หากมีคนเกิดนอกคอกอยากดีอยากเด่นคนเดียว   โดยไม่เอาทีมก็ควรจะให้เขาพักบ้างแล้วเปลี่ยนคนอื่นลงเล่นแทน....เหมาะมาก

.....กำกึ้ดสุดยอด!!!!  แท็คทีมกั๋นหื้อดีๆเน้อ....เอาใจ๋จ้วยตวย......

มีความสุขกับการทำงานนะคะ    

                                 

อ้ายอ๊อด... บอกว่าทุกทฤษฏีที่สอนการทำงานเป็นทีมล้วนดีหมด   แต่ที่ดีที่สุด  คือ ทำอย่างไรให้คนเราหันมาพูดจากันดีๆ  พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์  สร้างสรรค์  เพราะคิดว่าหัวใจของการเรียนรู้  อยู่ที่การเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนั่นเอง

 

ขอบคุณครับอาจารย์....

 

เพียงแค่มองจุดดี เห็นศักยภาพที่มีในตัวอสม.และชุมชน นำมายกระดับการเรียนรู้ขยายผลต่อ งานชุมชนก็เดินได้ไกลครับ

มาชม

เห็นคมในคำบันทึกนี้นะครับ

คิดเปลี่ยน ชีวิตหมุนตามนะครับ...

สวัสดีค่ะคุณหมอเขี้ยว

 

ชอบๆ ค่ะ  ได้คำคมกลับไปด้วย "ต้องยึดหลัก  Win  Win Win"

 

คือ ทำอย่างไรให้คนเราหันมาพูดจากันดีๆ  พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์  สร้างสรรค์  เพราะคิดว่าหัวใจของการเรียนรู้  อยู่ที่การเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนั่นเอง

 

* เมื่อคืนอุตรดิตถ์ฝนตกค่ะ  ลีลาวดีเลยยิ้มแฉ่ง..นำมาฝากค่ะ

* สุขกายสบายใจนะนะ

 

     

 

ขอบคุณค่ะ..เห็นด้วยอย่างยิ่ง..การให้ต้องใช้สติปัญญา..ไม่ยัดเยียด.. แต่ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้รับ..เพื่อให้สมประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยว หันโตยขนาดนักว่า"ทุกคนมีคุณค่า... เพียงแต่มีโอกาสแสดงคุณค่าไม่เท่ากัน"

สวัสดีค่ะ

แวะมาขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยม

และมาอ่านบันทึกดีดีค่ะ

พี่สบายดีนะคะ

ขอให้สุขภาพแข็งแรง และมีความสุขมากมากนะคะพี่

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พี่สุอ่านแล้วก็กลับมาทำความเข้าใจอีก  คำว่าสุขภาวะ ตามที่พี่สุเข้าใจ นั่นคือการพัฒนาดูและสุขภาพ ภาวะ ตามสภาพที่จำเป็น ที่ควรต้องระวัง เพราะทุกพื้นที่ ย่อมมีโรค หรือสิ่งบันทอนสุขภาพไม่เท่ากัน ต้องดูแลบริการต่างกัน

  ฉะนั้น  เมื่อโครงวางแผนงาน ตามสุขภาวะแล้ว  ทีมงานที่อยู่ในแต่ละชุมชน ถ้าหาก ตั้งใจดูแล ชาวบ้าน และทำตามคำแนะนำของโคช คือหมอสาธารณะสุข หรือหัวหน้าอนามัย  ตามโรคระบาด หรือโรคที่มาตามฤดูกาล ที่พอมองเห็นและมองออก ก็คงจะได้ทีมที่เข้มแข็ง และได้ผลงานที่ดี เพราะใคร ก็ต้องการให้ชุมชนตนเองปลอดจากโรค ระบาด หรือโรคตามฤดูกาล ตามท้องถิ่น  ฉะนั้น  จะต้องหาคนรักท้องถิ่นตนจริงจัง

-         และที่เรียกว่า  พวกเวียนว่าย ก็คือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขของรัฐ  ที่มาอบรมตามโครงการ ตามกำหนดเวลา พอเสร็จโครงการแล้ว ก็ละหนีไปเลย ปล่อยให้ อสม. สานต่อ แบบ งูๆปลาๆ ใช่ไหมคะ สบายเขาละซิ ใช่ไหม มี อสม.มาช่วยแบ่งเบาภาระ เหมือนเป็นผู้เล่น ไม่ยอมเป็นโคช

-เห็นด้วยนะคะ ในแต่ละกิจกรรม ถ้ามีผู้นำ ท้องถิ่นนั้นและคัดเลือกได้จากท้องถิ่นนั้น มาก และเข้าใจกันไม่เกี่ยงกัน ชุมชนแถวนั้นคงอยู่ดี กินอิ่มนอนอุ่น ไร้โรคาพยาธิ กันทั่วหน้า

-และต้องฝึกเขามากๆๆ เรื่องฝึกมากๆนั้น ก็น่าเห็นใจ  บรรดาพี่น้อง อสม. ก็เป็นเพียงหมออาสา ชาวบ้าน เงินเดือนก็ไม่มี   รายได้ก็ได้จากการทำการเกษตร  ส่วนมากจะเป็นแม่บ้าน เขาก็รับภาระครอบครัวมากมาย อันจะให้เขาทำบ่อยๆๆ หนะ เขาจะเอาเวลาไหนทำมาหากิน ถ้าจะใช้หนักๆ ตั้งเงินเดือนให้เขาด้วยคะ สวัสดิการด้วย

-และขอชื่นชม กิจกรรมนี้ ที่ทำให้โคช  หัวหน้าทีมอนามัย ได้มีข้อคิดที่ทันสมัยขึ้นบ้าง และจงเป็นโคชที่ดี ให้ตลอด เพราะ มีผู้ตามที่เป็น อสม. ตามชุมชน ต่าง พร้อมที่จะลุย และส่วนมาก นอกจะเป็น อสม.แม่บ้าน ที่ความรู้ไม่มาก ก็คงต้องฝึกบ่อยๆๆ ฉีดยาหมาบ้า ฉีดยาคุมหมาแมว โรยทรายอเบทกันยุง  และยามเย็น พาชาวบ้านออกกำลัง พ่นยาฆ่ายุง ก็ อสม.ทั้งนั้น   ควรจะให้และส่งเสริมความรู้ ส่งเขาเรียน กศน.เพื่อความเชื่อมั่น และศรัทธาของชาวบ้านบ้าง

-เอาเป็นว่าทุกอย่างเห็นด้วยกับคุณอ๊อดคะ แต่เสริมเติม ให้เห็นข้อเท็จจริง

-มองๆๆ อสม.อยู่เหมือนกัน  ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง เพราะถือว่ามีเกียรติ

-และเห็นด้วย ทุกคนมีคุณค่า เพียงแต่มีเวลาโอกาสแสดงคุณค่าไม่เท่ากัน

win win win

ในความหมายของคนส่วนใหญ่คือตัวเองจะได้อะไร น่าเศร้าค่ะ

P

ยิ๋นดีจั๊ดนักเจ้า

.....กำกึ้ดสุดยอด!!!!  แท็คทีมกั๋นหื้อดีๆเน้อ....เอาใจ๋จ้วยตวย......

P

เรื่องจริงเจ้าค่ะ

ทุก ทบ.ในโลกหล้า

ล้วนรู้หมด  เหลือแต่ไม่เริ่มลงมือซะที  อิอิ

P

อสม.เปรียบเหมือนเฟืองตัวเล็กๆ

ถ้าหักสักตัว  เครือ่งจักรใหญ่ๆ

ต่อให้แรงมหาศาล ก็ไปไม่ได้ค่ะ

P

ขอบคุณอาจารย์

อากาศเปลี่ยน คนเปลี่ยนด้วยนะคะ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

P

ขอบคุณค่ะ

เชียงใหม่ช่วงนี้ฝนก็ตกบ้าง

ตอนนี้มีแต่ใจมาฝากค่ะ

P

ขอบพระคุณพี่ใหญ่

สำหรับคำแนะนำค่ะ

P

แต่บางคนมีโอกาส  เปิ้นยังบ่เอา

จะว่าจะไดดีเจ้า

P

อากาศช่วงนี้สบาย

ฝุ่นไม่มีท้องฟ้าสดใส

เลยสบายทั้งกายและใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P

อ่านเม้นยาวๆพี่สุทุกตัวอักษรอย่างตั้งใจ (ทุกครั้ง)

ให้มีความรู้สึกเหมือนได้นั่งคุยกัน

แล้วก้เข้าใจด้วยว่า

พี่เข้าใจงาน อสม.จริงๆ

P

ใช่แล้วค่ะ

win ตัวแรก  เขามักนึกถึงตัวเองก่อน

แต่ อสม.ที่นี่ไม่ค่ะ

  • ช่วงนี้กำลังสนใจเรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง
  • มาเยี่ยมฟังเรื่องเล่าด้วยคนครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท