18 กว่าจะเปลี่ยนงานประจำ มาเป็น R2R


และอีกข้อที่ผู้เขียนเห็นว่าสำคัญไม่แพ้ข้ออื่นๆ คือ ความเข้าใจ กำลังใจ ของครอบครัวค่ะ

       เป็นที่น่ายินดียิ่ง  ที่ช่วงนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  มีผลงานวิจัยออกมาหลายเรื่อง    พี่น้อย (คุณพรรนี  พิณตานนท์)   ผู้รับผิดชอบงาน HRD ของโรงพยาบาลบอกว่ารู้สึกปลื้มมากๆ  เพราะผู้ที่เป็นเจ้าของผลงานล้วนแต่เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานวิจัยมาเลย    จึงอยากเอาความสำเร็จที่ว่านี้มาเล่าในเวทีนี้ 

       พี่น้อยจัดทีมมาเล่าว่า  “กว่าจะเปลี่ยนงานประจำให้เป็นงานวิจัยได้สำเร็จ”  นั้นเขาเหล่านั้นมีเส้นทางเดินอย่างไร   ทุกคนเล่าถึงความยุ่งยาก  ปัญหา  อุปสรรค และความสุขที่ได้จากการทำวิจัย ลองอ่านดูนะคะ

พี่น้อย (คุณพรรณี  พิณตานนท์)

       เริ่มเล่าเรื่องโดยพี่น้อยก่อน   พี่บอกว่าเพราะตัวเองต้องรับผิดชอบงาน HRD ของโรงพยาบาลและต้องอ่าน ผลงานวิชาการของน้องๆบ่อยๆ  จึงอยากเรียนรู้  อยากทำวิจัยให้ได้สักเรื่อง   เพราะที่ผ่านมาเคยผ่านการอบรมการทำวิจัยมาหลายครั้งแต่ไม่เคยได้ผลงานสำเร็จสักครั้ง   อยากทำวิจัย R2R  ที่เอางานประจำมาพัฒนาด้วยการทำวิจัย   ได้รับคำแนะนำจาก ดร.ขจิต  ฝอยทอง ที่กรุณาเอาตัวอย่าง การทำ R2R  ของ อ.นพ.วิจารณ์  พานิช และของโรงพยาบาลศิริราช  มาให้ดู และเป็นที่มาของการสมัครเป็นสมาชิก  Web blog  gotoknow ครั้งแรกตั้งใจจะเชิญ อ.ขจิต มาเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาให้ชาว รพ.  แต่ทีม กพว. (กลุมพัฒนางานวิชาการ) ของศูนย์เกรงว่าจะไม่สะดวกเพราะอาจารย์อยู่ไกล  จึงแนะนำ รศ.ดร.ร.อ. นพ.ชยันตร์ธร   ปทุมานนท์ ซึ่งอยู่งานระบาดวิทยาของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แทน  พี่น้อยบอกว่า งานวิจัยชิ้นแรก ทำให้เกิด

  • ความภาคภูมิใจ

  • ความรู้

  • ความสุข

  • การนำไปใช้ประโยชน์

น้องแป๋ว ( คุณชุมพร  แพรศิลป์)

         ส่วนน้องแป๋ว   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ   ก็เล่าอย่าอารมณ์ดีว่า.. 

       ก้าวแรก   หลังได้รับหนังสือเวียนให้แต่ละแผนกส่งรายชื่อเข้า รับการอบรม R2R   ตัวเองถูกส่งรายชื่อเข้ารับการอบรม  ซึ่งก็เคยเข้าอบรมหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ   เริ่มกังวลว่าจะทำเรื่องอะไรดี

      ก้าวที่ 2    เริ่มเข้าอบรม  รับความรู้  Routine to Research

     ก้าวที่  3   ฝึกเขียนโครงการ  ร่วมกับทีมงานในแผนกช่วยกันคิด    ค้นหาข้อมูลใน  Internet  ซึ่งช่วยได้มาก   ต้องกล้าเข้าพบอาจารย์ และยอมรับข้อวิพากษ์   นำปรับปรุงแก้ไข   แล้วนำกลับไปเสนอใหม่

      ก้าวที่ 4  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเอง    ด้วยความรู้สึกว่าสนุกมาก ไม่ได้น่ากลัว   แปรผลเอง (ทุกตัวแปร)   เขียนบทคัดย่อ  และฝึกนำเสนองานให้อาจารย์และเพื่อนๆที่เข้าอบรมฟัง

      ก้าวสู่เวทีนำเสนอ      เวทีแรกที่โรงพยาบาลนครพิงค์  นับเป็นก้าวแรกที่ออกไปเสนอผลงานนอกพื้นที่   แต่ได้รับการเสริมแรงและเติมกำลังใจจากอาจารย์และเพื่อนๆมาเต็มที่อย่างดี  จึงกล้านำเสนออย่างมั่นใจ (แม้ขาจะสั่นบ้าง)   น้องแป๋วบอกว่าสิ่งที่ได้รับจากการทำงานวิจัยครั้งแรก

  • ความภาคภูมิใจ   เพราะเป็นงานวิจัยครั้งแรกในชีวิตราชการ  เพราะที่ผ่านมาช่วยเก็บข้อมูล/Key ข้อมูลเท่านั้น

  • ได้รับความรู้/ปฏิบัติ ทำเองกับมือ

  • การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

  • ความห่วงใยจากเพื่อนๆ

  • เรียนรู้ไปกับทีม

  • ที่สำคัญ  คือดีใจมากๆและมีความสุข ที่ทำได้สำเร็จ

 ทักทายๆสบายดีนะ        ทักทายๆสบายดีนะ

        จากเรื่องเล่าข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวอย่าง  ซึ่งวันนั้นมีคนหมุนเวียนมาเล่าหลายคนมาก    เช่น มุ่ย(พรรณฤมิตร  ชาติตระกูล) , น้องต้อม (นงคราญ  ศรีสง่า)  ,น้องฉาย (จันทร์ฉาย สิงห์นนท์ ),น้องสายพิณ (สายพิณ  ทิตย์สีแสง)   ขาดแต่น้องศรัญญา กันทอง ที่ไม่ได้มาเล่า เพราะติดงานราชการ 

ทีมผู้เล่าเรื่อง

ผู้บันทึก

 ( หมายเหตุ  ขออภัย พิมพ์ note ในภาพผิดค่ะ )

       ซึ่งแต่ละคนก็เล่าประสบการณ์การทำงานวิจัย   ด้วยความรู้สึกที่คล้ายๆกัน    คือ  รู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก  ไม่เคยทำมาก่อน  แล้วใครจะมาช่วยบ้าง  จะทำได้สำเร็จหรือไม่   นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดความเครียด  ซึ่งส่งผลกระทบให้กับผู้คนรอบข้าง  เช่น คนในครอบครัว  เพื่อนร่วมงาน  แต่สุดท้ายทุกคนก็ผ่านพ้นและได้ผลงานออกมาอย่างน่าภาคภูมิใจ    7 คน 7  เรื่อง ...

  • พี่น้อยทำวิจัย เรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด  ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ”

  • มุ่ยทำวิจัย  เรื่อง “ความสำเร็จของการให้คำปรึกษาแบบคู่ในสามีภรรยาที่ผลการติดเชื้อเอชไอวีต่างกัน”

  • น้องรัญ  ทำวิจัยเรื่อง “ผลการสนับสนุนให้หญิงรอคลอดทำกิจกรรมอาบน้ำในระยะactive ต่อการเปิดขยายของปากมดลูกในระยะที่ 1 ของการคลอด”

  • น้องต้อม  ทำวิจัยเรื่อง  "ผลของการทำ Early Bonding กับบิดาในทารกที่คลอดโดยการผ่าตัด  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่"

  • น้องแป๋ว   ทำวิจัยเรื่อง  " การดูแลทันตสุขภาพโดยผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก  ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มารับบริการที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่"

  • น้องสายพิณ   ทำวิจัยเรื่อง  " ความถูกต้องของการคัดกรองโรคธาลัสซีเมียด้วย RBC  indiciesเปรียบเทียบ OF Test ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่"

  • น้องจันทร์ฉาย  ทำวิจัยเรื่อง  " สถานการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะเครียดในมารดาที่ดุแลทารกตัวเหลือง  ที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ"           

       ผู้เขียนได้ร่วมฟังเรื่องเล่าตั้งแต่ต้น   พอจับประเด็นแห่งความสำเร็จของผู้เล่าเหล่านี้  คือ

1.  ใจต้องมาก่อน  ใจต้องพร้อม 

2.   มีความอดทน  มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ

3.   มีเป้าหมาย  ที่จะทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ

4.   ทำความเข้าใจขั้นตอนและเรียงลำดับกิจกรรมที่จะทำ

5.   มีผู้ที่มีประการณ์เคยทำงานวิจัยเป็นผู้ร่วมงานวิจัยด้วยความ เข้มแข็ง 

6.   ผู้บริหารและผู้ร่วมงานสนับสนุน 

7.   และข้อนี้ซึ่งถือว่าสำคัญ คือ  เพื่อนๆที่ทำวิจัยในรุ่นเดียวกัน  ที่ต่างก็เข้าใจ   และให้กำลังใจกันและกันตลอด

8.   และที่สำคัญที่สุด  คือความสม่ำเสมอ  ต่อเนื่อง ของอาจารย์ที่เป็นผู้สอน   ที่พยายามทั้งผลัก ทั้งดัน ให้เกิดงานวิจัยเพื่อพัฒนางานค่ะ

         วันนี้ทุกคนที่มาเล่ามีใบหน้าแห่งความปิติ  ที่สามารถชนะเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายได้   และอีกปัจจัยที่ผู้เขียนเห็นว่าสำคัญไม่แพ้ข้ออื่นๆ  คือ ความเข้าใจ  กำลังใจ  ของครอบครัวค่ะ

ขอบคุณค่ะ  

 

 

หมายเลขบันทึก: 376912เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • สวัสดีค่ะ พี่เขี้ยว
  • เยี่ยมจริงๆค่ะ
  • ใจต้องมาก่อน พรุ่งนี้ลองทำใจก่อนค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • อิอิ ... ใจไปเมืองเจียงใหม่แล้วเจ้า
  • แวะมาชมมาเชียร์บรรยากาศเรื่องเล่าเร้าพลังค่ะ ^
  • ตอนนี้ลำปางฝนตกอยู่ค่ะ
  • เชียงใหม่คงตกเหมือนกันนะคะ
  • รักษาสุขภาพค่ะ ^^

 

สวัสดีค่ะพี่มนัญญา

ชื่นชมทุกท่านค่ะ ยินดีกับความสำเร็จค่ะ

อ่านแล้วมีแรงบันดาลใจให้อยากทำR2R ต่อค่ะ ที่ศรีนครินทร์มีพี่แก้ว (พี่อุบล จ๋วงพานิช)และทีมงานคอยช่วยเหลือไม่ห่าง

ขอบคุณค่ะ

P

เตรียมรับ site visit  เต็มที่เจ้า

และยืนยันว่าวันนั้น  คืนที่ 22 นี้ ไว้พุงแน่นอน  อิอิ

2.

  • เตรียมตัวไว้แล้วจ้า ... ของโปรด
  • จะเอากล้องไปถ่ายทำรายการด้วย อิอิ ขึ้นอีกหลายโล
  • ขอแสดงความยินดีกับทุกๆๆท่านด้วยครับ
  • น่าชื่นชมมาก
  • ต้องขอบคุณพี่เขี้ยวที่เล่าให้ฟังและส่งเสริมทีมที่ทำงาน
  • รออ่านอีกครับ
  • เยี่ยมจริงๆๆพี่เรา

P

ขอบคุณป้าแดง

หลังจากทำใจแล้ว

คงได้งานวิจัยอีกหลายเรื่อง

P

ขอบคุณน้องสาวที่มาเยี่ยม

เมื่อไดจะปิ๊กเจียงใหม่เจ้า

P

เรื่องบางเรื่องต้องการ

การชื่นชม

เพราะเป็นการเสริมแรงอีกทางค่ะ

P

งั้นพี่ช่วยเป็นกำลังใจให้อีกคนนะคะ

P

วันที่ 22 นี้

แม่หมอของน้องชายจะมา site visit ที่เชียงใหม่เจ้า

P

คิดถึงและยังรอจะตัดสินเช่นเดิมค่ะ

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยว อิอิ ตื่นเช้าค่ะวันนี้อากาศดี้ดี..ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปันทำให้เกิดแนวคิดในการทำงานและชื่นชมในกิจกรรมนะคะ

วันนี้ก้อากาศดี

ดูท่าจะหลับไปแล้ว  อิอิ

สวัสดีค่ะ

ตามรอยบันทึกวันนี้ได้การเลยค่ะ

เจอยาขมของคนไม่เคย

คนเคยแล้วกลับชอบ

จึงอยากให้ทุกคนได้ลองแบบนี้

เรียกว่ารสชาติของการทำงานอย่างมีคุณภาพเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ยังไม่เคยทำการวิจัยเลยสักเรื่องค่ะ แต่กำลังเริ้มก้าวค่ะ ยังไม่สำเร็จ อยากขอคำปรึกษาจากทีมงานค่ะ ช่วยหน่อยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ตอบความเห็นที่ 18

ยินดีประสานทีมงานให้ค่ะ

ขอ Email ด้วยนะคะ

ขอเชิญส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (๋JPR2R)
เปิดรับบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารปีที่ 4 ฉบับเดือนสิงหาคม 2560

โดยเปิดรับบทความตั้งแต่บัดนี้ ถึง พฤษภาคม 2560
ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ โดยวารสารอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI

วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เป็นวารสารสำหรับเผยแพร่บทความ/ผลงานวิชาการของบุคคลทั่วไป
โดยเผยแพร่บทความออนไลน์และมีการควบคุมคุณภาพของบทความ (Journal Quality Evaluation)
โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินบทความก่อนรับรองให้เผยแพร่

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดวารสาร หรือ ส่งบทความผ่านระบบ Submission Online ได้ที่
http://www.en.mahidol.ac.th/jpr2r

หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0 2441 5000 ต่อ 2114

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท