ประวัติและผลงานของนักเพลงพื้นบ้าน (ตอนที่ 3) รุ่นบรมครู


นักเพลงรุ่นบรมครู ที่กำลังจะหมดไป

 

 

ประวัติและผลงานที่ต้องบันทึกไว้

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal">ของนักเพลงพื้นบ้าน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal">รุ่นบรมครูที่กำลังจะหมดไป</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>ในจังหวัดสุพรรณบุรี (ตอนที่ 3) </p><p>           วิถีชีวิตชาวบ้าน คือการดำเนินชีวิตของคนในชนบทซึ่งอาศัยอยู่ตามท้องทุ่งนาป่า เขามีอาชีพ ด้านเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันต่อๆ มาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สังคมในชนบทอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกไปมีครอบครัวก็อยู่บ้านเดียวกันกับพ่อแม่ เมื่อคนรุ่นหลานไปมีครอบครัวก็ยังอยู่บ้านเดียวกันกับพ่อแม่จึงทำให้ครอบครัวขยายโตขึ้น  ด้วยลักษณะเช่นนี้จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมการเคารพผู้ใหญ่  ยกย่องคนรุ่นปู่ย่าตายาย มีผู้ใหญ่คอยให้การอบรมสั่งสอน วิถีชีวิตชาวบ้านกับเพลงพื้นบ้าน นักเพลงรุ่นเก่า ๆ อย่างแม่บัวผัน จันทร์ศรี กล่าวว่า ในยุคนั้นแม่เป็นหัวหน้าเกี่ยวข้าวมือถือเคียวเกี่ยวข้าวไปด้วยร้องเพลงเกี่ยวข้าวไปด้วยโดยแม่บัวผัน เป็นต้นเสียงร้องให้แขกทั้งหมดร้องรับเป็นลูกคู่สนุกสนานทำงานไปร้องเพลงกันไปทำให้ไม่เหนื่อย จะเห็นได้ว่า คนในสมัยนั้นได้นำเอาชีวิตความเป็นอยู่ อาชีพเกษตรกรรม ทำนาทำไร่มาเป็นบทเพลงร้องเล่นร่วมกับการทำงานและในงานเทศกาลสำคัญ เช่น เพลงเช่านา เพลงตีหมากผัว เพลงเกี้ยวสาว เพลงตับปืน เพลงตับตอ เพลงลอยกระทง เพลงเรื่องเผาศพ ฯลฯ</p><p>            เพลงอีแซวเป็นเพลงพื้นบ้านที่มีวิวัฒนาการติดต่อกันมา จากการละเล่นพื้นบ้านในงานเทศกาลไปสู่การแสดงที่เป็นมหรสพและยึดเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถหารายได้พอเลี้ยงครอบครัว  เวลาที่ผ่านเลยมาไม่น้อยกว่า  65 ปี  บ่งบอกถึงจุดเริ่มต้นของเพลงอีแซวที่มีจุดกำเนิดจากงานประเพณี  เทศกาลสำคัญของศาสนา คนตามชนบทมีความผูกพันอยู่กับวัดอย่างแน่นเหนียว เมื่อถึงวันพระจะพาลูกหลานไปทำบุญตักบาตรถวายอาหารพระ และเมื่อถึงเทศกาลกฐิน ผ้าป่า คนมักจะมารวมกันเพื่อร่วมบุญกุศล เมื่อคนมารวมกันมาก ๆ ก็มักจะมีคนที่มีความสามารถพิเศษแสดงออกด้วยการเล่นต่าง ๆ สำหรับที่จังหวัดสุพรรณบุรีนั้นโดยเฉพาะที่วัดป่าเลไลยก์มีการเล่นเพลงอีแซว โดยการร้องด้นเพลงและมีการแต่งเนื้อเอาไว้ล่วงหน้าบทเพลงเหล่านี้มีความไพเราะเกาะกินใจผู้ฟังเป็นการนำเอาชีวิตจริง ๆ ของชาวบ้านมาขับขานผ่านการร้องการเล่นในรูปแบบของเพลงอีแซว </p><p>             นายไสว วงษ์งาม  หรือนายไสว สุวรรณประทีป  เกิดเมื่อ  ปีจอ  .. 2465 (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) บ้านเลขที่ 202  หมู่ที่ 3 ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ข้างวัดปู่เจ้าซึ่งก็ไม่ไกลกัน พ่อและแม่ไม่ได้เล่นเพลง ตัวนายไสว สุวรรณประทีป มีความรู้พออ่านออกเขียนได้ หัดเพลงอีแซวครั้งแรกจากนายเกลียว ช้างเผือก ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ ๆ กัน ต่อมาได้เพลงจากป้าพวง อยู่ที่ดอนประดู่ และนายหลาบ บ้านห้วยเจริญ  อำเภอศรีประจันต์ จากนั้นนายไสว  วงษ์งาม  ได้ไปหัดเพลงกับครูเพลงท่านหนึ่งชื่อ ครูเคลิ้ม ปักษี แห่งบ้านดอนเจดีย์ ในยุคนั้นเป็นที่ยอมรับว่า ครูเคลิ้ม เป็นครูเพลงที่มีเพลงมากคนหนึ่ง ใคร ๆ ก็ต้องไปขอเพลงที่ครูเคลิ้ม นายไสว วงษ์งาม  เป็นชื่อที่ตั้งขึ้น  สำหรับการแสดงเพลงอีแซว   นายไสว เป็นพ่อเพลงที่รู้เพลงมาก ฝึกหัดเพลงมาตั้งแต่เด็กๆ และจดจำเพลงเก่า ๆ เอาไว้เป็นทุน เมื่อแสดงหน้าเวทีจึงยืนเล่นได้ทั้งคืน ว่าเพลงไม่มีวันหมดและเป็นศิลปินเพลงอีแซวจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต (บัวผัน จันทร์ศรี, 2539) จากผลงานที่ได้สร้างไว้ทำให้นายไสว  วงษ์งาม ได้รับโล่เกียรติยศ    ยกเชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้าน (สาขาเพลงพื้นบ้านภาคกลาง) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อปี พ.. 2525  </p><p>    </p><p>             นางบัวผัน  จันทร์ศรี เกิดเมื่อปีวอก พ.. 2463 พื้นเพเดิมเป็นคนวิเศษชัยชาญ  อ่างทอง  อยู่บ้านเลขที่ 202 หมู่ที่ 3  ตำบลวังน้ำซับ  อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นน้องสาวนายบัวเผื่อน โพธิ์พักตร์  เป็นพ่อเพลงชื่อดังของจังหวัดอ่างทอง  แม่บัวผันหัดเพลงมาตั้งแต่เด็ก ๆ ติดตามดูเขาเล่นเพลงที่ต่าง ๆ ในละแวกบ้านบางครั้งต้องหนีบิดา มารดาไปดูเพลง เกรงว่าท่านจะไม่อนุญาตให้ไป ในที่สุดก็มาฝึกหัดเพลงจากบิดามารดาและอา อายุราว 15 ปี มีความสามารถในการประชันเพลงกับพ่อเพลงรุ่นใหญ่ ด้วยการที่ท่านเป็นคนนอบน้อมให้ความเคารพรุ่นพี่ จึงทำให้ได้มีโอกาสโต้เพลงกับนักเพลงเก่ง ๆ มากมาย ด้วยเพราะเป็นคนชอบร้องเพลง เมื่อเข้ามาหัดเพลงจึงจดจำเพลงไว้ได้มาก แม่บัวผัน สามารถร้องเพลงพื้นบ้านได้มากกว่า 80 อย่าง และรับเล่นเพลงเป็นอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัวมาจนถึงปัจจุบัน เป็นครูเพลงคนแรก ของขวัญจิต ศรีประจันต์,   ขวัญใจ ศรีประจันต์, สุจินต์ ศรีประจันต์, บุญโชค  ชนะโชติ   แม่บัวผัน จันทร์ศรี เป็นแม่เพลงคนสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี มีผลงานที่ฝากไว้กับคนรุ่นหลังมากมายทั้งในวงการเพลงอีแซวและสังคม จึงได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ (สาขาเพลงพื้นบ้านภาคกลาง) ปี พ.. 2533  (บัวผัน จันทร์ศรี, 2539) แม่บัวผันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 </p><p>            </p><p>            นางอ้น จันทร์สว่าง  ปัจจุบันอายุ 77 ปี (.. 2540) บ้านข้างวัดหนองแขม ตำบลทะเลบก  อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สามีชื่อนายศรีนวล  จันทร์สว่าง เป็นนักเพลงชื่อดังคนหนึ่งในสมัยนั้น (เสียชีวิต) มีบุตรด้วยกันทั้งหมด  11 คน ป้าอ้นฝึกหัดเล่นเพลงมาจากครูเติมตั้งแต่รุ่นสาว โดยใช้เวลาในตอนเย็นจนถึงค่ำ ฝึกหัดเพลง ฝึกหัดอยู่ได้หนึ่งเดือนก็ออกเล่นได้ ทั้งที่ตนเองอ่านหนังสือไม่ออกเลย แต่ว่าเป็นคนที่รู้จักที่ต่ำที่สูง รู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่ จนเป็นที่รักของครู (ครูเติม) เวลาไปเล่นงานครูจะให้เงินค่าตัวมากกว่าคนอื่น  เช่น คนอื่นได้ค่าตัว 2 บาท แต่ป้าอ้นได้ค่าตัว 2.50 บาทและเป็นนักเพลงผู้หนึ่งที่เคยร่วมเล่นเพลงอีแซวในเทศกาลสำคัญที่วัดป่าเลไลยก์  เมื่อ  60 ปีล่วงมาแล้วและรับแสดงเพลงอีแซวมาโดยตลอด บางครั้งร่วมแสดงรับเชิญไปกับนักเพลงรุ่นหลังๆ  ป้าอ้นเป็นแม่เพลงอีแซวยุคเก่าผู้หนึ่งที่ยังคงยึดอาชีพการแสดงมาจนถึงทุกวันนี้ (อ้น จันทร์สว่าง, 2540)  เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2550  </p><p>                 นางทรัพย์  อุบล  ปัจจุบันอายุ 77 ปี (.. 2540)  อยู่บ้านเลขที่ 149   หมู่ที่ 7   ตำบลหนองหญ้าไซ  อำเภอหนองหญ้าไซ  จังหวัดสุพรรณบุรี มีบุตร 11 คน เริ่มหัดเพลงอีแซวเมื่ออายุ 15 ปี กับน้าสาว ที่บ้านบางโกรก ทั้งที่อ่านหนังสือไม่ออกเลย แต่มีความสามารถในการจำเพลงได้เป็นเลิศ เมื่อตอนเริ่มฝึกจะจำเนื้อเพลงเป็นคำ ๆ ทีละคำสองคำ บางทีจำได้เป็นสิบ ๆ คำ ก็เริ่มสนุก ในการฝึกเริ่มฝึกพร้อม ๆ กันหลายคน เมื่อได้เพลงมากขึ้นก็มีงานเล่นมาก เคยไปเล่นเพลงที่งานประจำปีวัดป่าเลไลยก์ โดยการเดินเท้าจากบ้านหนองหญ้าไซ (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนองหญ้าไซ) ไปยังวัดป่าเลไลยก์ เล่นเพลงกับคนชุมเดียวกัน (วงเดียวกัน) จนตะวันขึ้น และเคยร่วมเล่นเพลงร่วมกับพ่อไสว วงษ์งาม แม่บัวผัน จันทร์ศรี  ปัจจุบันนี้ แม่ทรัพย์  อุบล ยังร้องเพลงอีแซวได้ไพเราะเพราะพริ้งน่าฟังยิ่งนัก จำเพลงเก่า ๆ เอาไว้ได้มาก ร้องเพลงอีแซวได้ทุกตับที่เคยเล่น เช่น ตับเช่านา ตับตอ ตับหมานิล ตับประจาน (ทรัพย์ อุบล. 2540) เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2550</p><p>            นายบท วงษ์สุวรรณ เกิดปีชวด  เดือน 10  อายุ 77 ปี  (.. 2540) ภรรยาชื่อ นางจวน วงษ์สุวรรณ มีบุตร 7 คน อยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 1 ตำบลทะเลบก อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มหัดเพลงเมื่ออายุ 13-14 ปี กับครูสุก หนองเพียรโดยที่ตนเองอ่านหนังสือไม่ออกเลย แต่ใช้ความจำของตนจำเนื้อเพลงตับต่าง ๆ เก็บเอาไว้ได้มาก เล่นเพลงอยู่กับคณะครูพรได้ค่าตัวงานละ 5-10 สตางค์ ก็นับว่ามากแล้วในยุคนั้น เมื่อมีความสามารถมากขึ้น ครูก็แบ่งค่าตัวเพิ่มให้เป็นคืนละ 50 สตางค์ จนถึง  2 บาท บางครั้งจะต้องไปเล่นเพลงกับคณะอื่นที่ไม่เคยเล่นด้วยกัน เป็นการประชันเพลง ว่ากันแบบคำต่อคำ ว่ากันไปว่ากันมาแบบยืนโต้ตอบกัน โดยเฉพาะที่งานปิดทองไหว้พระประจำปีวัดป่าเลไลยก์เคยเดินเท้าจากบ้านทะเลบก โดยออกเดินทางในตอนเช้าตรู่มุ่งหน้าไปยังวัดป่าเลไลยก์เพื่อที่จะไปไหว้ขอพรจากหลวงพ่อโต พอตกกลางคืนก็มีเพลงเล่นกันไม่รู้ว่ากี่วงจะเล่นกันตามโคนต้นโพธิ์คนดูก็มามุงเต็มไปหมด ปัจจุบันลุงบทยังร้องเพลงอีแซวได้ดี จำเพลงเก่า ๆ ได้มาก (บท วงษ์สุวรรณ, 2540) </p><p>  </p><p>                                                                                                                                                                                                                               </p><p>           นายหนุน  กรุชวงศ์  อายุ  74 ปี (.. 2540) มีบุตร 8 คน เป็นชาย 6 คน หญิง 2 คน  อยู่บ้านเลขที่ 36  หมู่ที่ 2 ตำบลทะเลบก  อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี  พื้นเพเดิมเป็นคนบ้านไร่  อำเภอศรีประจันต์  หัดเพลงอายุ 15-16 ปี กับครูเติม ในยุคนั้นมีครูเพลงดัง ๆ อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรีหลายคน เช่น ครูเคลิ้ม ปักษี  แรงจูงใจในการหัดเพลง พวกๆ เพื่อนชายเขาหัดเพลง เขาเป็นเพลงกันมากจึงชวนไปหัดเพลงด้วย  แต่หัดมาจากหลายครู หัดเพลงในสมัยนั้นฝีกหัดร้องตอนกลางวัน เมื่อนำควายไปเลี้ยง พอถึงร่มไม้ก็ฝึกร้องกับครูเพลง ครูร้องนำให้เราร้องตามหัดกันคำต่อคำร้องตามครูจนครูพอใจให้ผ่านได้ก็ไปหัดทำท่าทางและร่วมแสดงในวง การเล่นเพลงในสมัยนั้นแรก ๆ ก็ไม่มีการหา ไม่มีค่าตัว เล่นกันแบบสนุกๆ ในงานเทศกาล ไม่เหมือนปัจจุบันต้องมีการว่าจ้างนักเพลงไปเล่นปัจจุบันนี้ ลุงหนุนยังร้องเพลงอีแซวได้ดีจำเพลงเก่าๆ เอาไว้ได้มาก เสียงก็ไพเราะน่าฟัง  (หนุน กรุชวงษ์, 2540)</p><p>           </p><p>           นางปาน  เสือสกุล  เกิดวันที่ 5  พฤศจิกายน พ.. 2469 (ปีขาล)  อายุ 72 ปี (.. 2541) บ้านเดิมอยู่ที่ข้างวัดน้อยชมพู่  อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี  สมรสกับนายดำริ  เสือสกุล (เสียชีวิตแล้ว) มีบุตร  5 คน ชาย 2 คน หญิง 3 คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 756  หมู่ที่ 3  ตำบลดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี  ป้าปานเริ่มหัดเพลงอีแซวเมื่ออายุประมาณ 14 ปี กับครูอินทร์  บ้านอยู่ข้างประตูน้ำโพธิ์พระยา  อำเภอศรีประจันต์ เดินจากบ้านไปหัดเพลงที่บ้านครูอินทร์โดยจะหัดกันตอนกลางคืน  วิธีการหัดเพลงในยุคนั้น  ป้าปานบอกว่าครูสอนให้ว่า แล้วเราก็ว่าตามแบบคำต่อคำ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการร้องก็มีกรับมีฉิ่ง ส่วนใหญ่ใช้ปรบมือหรือเคาะจังหวะกับพื้น ส่วนเพลงฉ่า หรือเพลงทรงเครื่องจึงจะมีเครื่องดนตรี ระนาดเครื่องห้าประกอบ ส่วนป้าจะหัดแต่เพลงอีแซวเป็นหลัก เพลงอื่นๆ ก็หัดบ้างอาศัยลักจำรุ่นพี่ๆ เขาเล่นเรามีโอกาสได้ตามไปเป็นลูกคู่ที่ถนัดมาก ได้แก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ  เพลงพวงมาลัย ในตอนแรก ๆ เขายังไม่ให้ว่า จนกระทั่งพอจำเพลงได้มากก็ได้ว่าแก้เพลงกับผู้ชายในยุคนั้นเคยเดินจากบ้านไปเล่นเพลงอีแซวที่วัดป่าเลไลยก์ เข้าไปเล่นกับเขาได้ทุกวง ไม่มีการว่าจ้าง ยุคนั้นเขาเล่นกันสนุก ๆ เล่นกันจนสว่างคาตา  (ปาน  เสือสกุล. 2541)</p><p></p><p>(ชำเลือง มณีวงษ์ : 2550.  พบกันตอนที่ 4  นักเพลงพื้นบ้านรุ่นปัจจุบันที่ทำการแสดง ในงานปิดทองหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์) </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 130501เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2007 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีประโยชน์มากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท