เดินไปหาทางตัน ทั้งที่ทางไม่ตัน (ตอนที่ 2) ศรัทธาในความสามารถ


นี่คือ ตัวอย่างของครูผู้หญิงหนึ่ง ที่มีใจรักในเพลงพื้นบ้านอย่างแท้จริง เมื่อเธอมาถึงทางตัน คิดไม่ออก เธอมองหาทางเดินเส้นใหม่ เมื่อได้พบแนวทางจึงเดินไปในทางที่ตนเองมีความมั่นใจ

 

เดินไปหาทางตัน

ทั้งที่ทางไม่ตัน 

(ตอนที่ 2) ศรัทธาในความสามารถ  

ชำเลือง มณีวงษ์  

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน 

           บนเส้นทางที่ทำเอาไว้ให้คนเดินอาจจะมีเฉพาะทางและมีหลากหลายให้เลือกอย่างมาก มาย สุดแล้วแต่ว่าใครจะเลือกเดินสายใดจะแยกออกไปทางไหนตามความต้องการ ตามความ สามารถ ตามความถนัด มนุษย์มีความสามารถพิเศษ โดยสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมารองรับความต้องการของตนเองและช่วยพยุงสังคมให้อยู่รอดได้ เป็นความห่วงหาอาธรที่แสดงถึงความมีน้ำใจอย่างสูงส่ง ภาพเหล่านี้อาจมองหายากมากขึ้นในสังคมยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะมนุษย์เราต้องช่วงชิงไหวพริบ ความได้เปรียบย่อมที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้นั้นได้เป็นอย่างมาก

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">          เรื่องเล่าในตอนที่ 2 (ศรัทธาในความสามารถ) นี้ ผมได้นำเอาความรู้ ประสบการณ์ที่ได้พบเห็นมาอธิบายในรายละเอียดให้ท่านผู้อ่านที่มีความสนใจหรือกำลังทำงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างผม ได้มองเห็นในมุมมืดและสว่าง ทั้งด้านบวกและลบ เพื่อที่จะได้เป็นเกราะกำบัง ป้องกันคนรุ่นใหม่ ๆ ที่เพิ่งจะเข้ามาสู่วงการเพลงพื้นบ้าน เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงทรงเครื่อง เพลงแหล่ เพลงพวงมาลัย และอีกหลาย ๆ ประเภทได้มีข้อมูลในการหาทางออก หรือหลบหลีกทางที่จะทำให้เกิดความท้อถอยขึ้นมาได้ จริงอยู่ว่า มนุษย์คงไม่มีใครเห็นว่าคนอื่นดีกว่าตนเอง  แต่สังคมโลก สังคมไทย ท้องถิ่นทุกท้องถิ่นยังต้องการความมีน้ำใจ ให้การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสอยู่ตลอดเวลา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">           </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">           เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2550 ผมได้ต้อนรับนักเรียนตัวน้อย ๆ จำนวน 7 คน (จำนวนอาจจะไม่ตรง ความจำของคนแก่) คุณครูและนักวิชาการรวม 2 ท่าน ซึ่งท่านโทร.มาบอกล่วงหน้าว่าจะมาขอพบผมและเด็ก ๆ ในวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ สักครั้งเพื่อที่จะได้เห็นวิธีการ ในการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และที่สำคัญ คือ การนำวงไปแสดงในงานต่าง ๆ ได้อย่างไร เวลาประมาณ 9.40 น. คณะของครูสายัณห์ โพธิ์ศรีทอง และ คุณศุภภัทร์ สาดา และเด็ก ๆ นักเพลงจำนวน 7 คน จากโรงเรียนเลาขวัญราษฎร์บำรุง อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีก็มาถึงห้อง 512 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 (เป็นการมาศึกษาดูงานอย่างไม่เป็นทางการ) คุณครูสายัณห์ต้องจัดการเองทั้งหมดทั้งค่าเดินทาง เลี้ยงดูเด็ก ๆ แต่ก็เป็นหน้าที่ ที่ผมเองก็ทำแบบนี้มานาน  นานกว่าครูสายัณห์เสียอีก</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">          ในบทสนทนาพอสรุปใจความสำคัญได้ ดังนี้ คุณครูเขาต้องการที่จะได้เห็นลักษณะที่โดดเด่นของการแสดงว่า ทำอย่างไรจึงมีงานเล่นตลอดมายาวนานและมีงานอย่างต่อเนื่อง ฝึกกันอย่างไร กระบวนการเรียนรู้ในเวลาเรียนจัดอย่างไร การฝึกหัดเพลงนอกเวลาเรียนใช้เวลาในช่วงไหน มีจำนวนคนในวงมีกี่คน การจัดกิจกรรมการแสดงอย่างมีระบบทำอย่างไร โดยภาพรวมคือ คุณครูสายัณห์อยากเรียนรู้เรื่องของการแสดงที่เป็นมืออาชีพ ว่ามีเส้นทางเดินมาอย่างไรจากจุดเริ่มต้นจนมาถึง ณ วันนี้ ผมจะขอนำเอารายละเอียดในเรื่องนี้ยกไปเล่าในตอนที่ 3 ครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">             </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">           คำตอบที่จะบอกทางเดินให้กับแขกที่มาเยือนห้องศูนย์การเรียนเพลงพื้นบ้านของผมในวันนี้ ผมมอบหมายให้ รัตนา ผัดแสน หัวหน้าวง ตอบคำถามครูสายัณห์ทั้งหมด และมอบให้ธีระพงษ์ พูลเกิด กับ ภาธิณี นาคกลิ่นกุล  2 นักร้องนำในวงเป็นผู้ให้ความกระจ่างในเรื่องที่เด็ก ๆ 7 คน จากเลาขวัญราษฎร์บำรุงอยากรู้ได้ทราบ  เด็ก ๆ เขาคุยกันน่ารักมาก ผู้ให้ก็เล่าเรื่องที่ตนรู้ ผู้ฟังก็นั่งฟังและส่งคำถามมาเป็นระยะ ส่วนรัตนา ผัดแสน (ยุ้ย) หัวหน้าวงก็พูดได้ไม่มาก บอกครูผู้มาเยือนได้ในฐานะคนที่ถูกฝึกหัดมาจนเป็นนักร้องนำ แล้วก็หันมาหาผม อาจารย์อธิบายต่อเถิดค่ะ </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">           ครูสายัณห์ เป็นครูบรรจุใหม่ ที่เพิ่งจะเริ่มจับงานด้านเพลงพื้นบ้าน ได้ทราบว่าทำวงเพลงอีแซวมาได้ 1 ปีกว่า แต่ลูกศิษย์ของท่านร้องเก่งทุกคน เสียงดี จำเพลงได้มาก และในจำนวนเพลงที่ร้องให้ผมฟัง มีหลายบทเป็นเพลงที่ผมเป็นคนแต่งขึ้นมาเอง พอเด็กแกร้อง เด็กของผมก็ร้องได้เลย มีข้อที่ผมเสนอแนะไปให้เพียงเล็กน้อยคือ เด็กเขายังนิ่ง เวลาร้อง เล่น ไม่เคลื่อนไหว ลีลาที่แสดง ออกมายังเป็นการนิ่ง ไม่พลิ้วไหว ให้ดูอ่อนหวาน เพิ่มในส่วนนี้เข้าไปก็จะสมบูรณ์มากขึ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">          </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">           แล้วก็ถึงเวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผมให้เด็ก ๆ ทั้ง 2 วงจับคู่กัน นักเพลงพื้นบ้านวงบรรหารฯ 1 ปะกบกับนักเพลงจากเลาขวัญ ฝ่ายหนึ่งร้อง อีกฝ่ายหนึ่งดู สลับกันให้ฝ่ายที่ดูร้องบ้าง ฝ่ายที่ร้องเป็นคนดูบ้าง และเมื่อจบจากการเรียนรู้ก็มาถึงตอนที่ต่างฝ่ายต่างแสดงความสามารถ ผมให้เด็ก ๆจากเลาขวัญแสดงก่อน โดยใช้เวทีในห้อง 512 เล่นเพลงกันเลย และตามด้วยเด็ก ๆ ของผมก็แสดงกันชุดละประมาณ 10-15 นาที และสุดท้ายผมก็ขอให้เด็ก ๆ แสดงความรู้สึกที่มีต่องานเพลงที่ได้รับความรู้ ครูสายัณห์เขียนเอาไว้ในกระดาษ เอ.4 อ่านแล้วซาบซึ้งใจมากครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">           </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%">           นี่คือ ตัวอย่างของครูผู้หญิงหนึ่ง ที่มีใจรักในเพลงพื้นบ้านอย่างแท้จริง เมื่อเธอมาถึงทางตัน คิดไม่ออก เธอมองหาทางเดินเส้นใหม่ เมื่อได้พบแนวทางจึงเดินไปในทางที่ตนเองมีความมั่นใจ เพราะทางเลือกใหม่ เป็นทางที่มีคนได้เดินมานาน และมีประสบการณ์มากกว่า จึงมิใช่เรื่องที่น่าจะต้องอาย หรืออะไรเลย ผมกลับชื่นชมน้องเขาอย่างมากที่นำเอาความรู้ ความสามารถของเด็ก ๆ อีกจังหวัดหนึ่ง มาถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้ผมได้เห็น เป็นยาใจต่ออายุต่อลมหายใจให้คนแก่ ๆ ที่ทำเพลงพื้นบ้านมานานได้ยิ้ม ได้หัวเราะ ได้มีความสุขกับภาพที่เห็นตรงหน้า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 110%"></p><p>            ในทางตันที่มองไม่เห็นทาง ความจริงยังมีทางออก มีทางเดินที่สามารถแยกไปตามทางที่มีผู้รู้ ผู้ที่มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จกรุยทางเอาไว้ให้อยู่แล้ว เราสามารถที่จะดินตามและเก็บเกี่ยว นำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ให้เหมาะสมกับเด็กของเรา แต่ถ้าหากยังพยายามที่จะเดินเข้าไปหาทางตันและยังไม่ถอยกลับหรือหาทางแยก สิ่งที่จะได้พบในเร็ววันคือ ความล้าหลัง ไม่สามารถที่จะพัฒนาไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริงบนถนนสายอาชีพนักแสดงที่ได้มาตรฐานอย่างพ่อครู แม่ครูรุ่นเก่า ๆ ได้เลย</p><p>           </p><p>           ขอขอบคุณครูสายัณห์ โพธิ์ศรีทอง คุณุศุภภัทร์ สาดา และเด็ก ๆ นักเพลงจำนวน 7 คน จากเลาขวัญราษฎร์บำรุง เป็นอย่างมาก ที่ให้เกียรติครูเก่า ๆ อย่างผม ขอให้หนู ๆ คนเก่งของครูทุกคน จงมีความสามารถที่โดดเด่น เป็นนักเพลงพื้นบ้านที่ดี เป็นต้นแบบให้กับเพื่อน ๆ และรุ่นน้อง ๆ เป็นเพชรเม็ดงามของเมืองกาญจนบุรีอีกหลายดวงต่อไปนะครับ </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 156470เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2007 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท