เพลงพื้นบ้าน จากการปฏิบัติจริง 14 (เพลงแหล่)


คิดหาคำมาร้องให้ได้ โดยยังไม่ต้องห่วงสัมผัสกลอน

 

เพลงพื้นบ้าน

จากการปฏิบัติจริง (14)

เพลงแหล่   ตอนที่ 4

แหล่ด้นสดแบบกลอนหัวเดียว  

            ในตอนที่แล้วผมได้เล่าถึงการถ่ายทอดความสามารถเพลงแหล่ให้กับลูกศิษย์ มีลูกศิษย์ที่ฝึกหัดอยู่ 3 คน แต่ว่าที่โดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ คือ อิม-หทัยกาญจน์  เมืองมูล เมื่อตอนที่ผมฝึกหัดให้เขาร้องแหล่ใหม่ ๆ ต้องขอตัวจากคุณแม่ของเขา มาฝึกที่บ้าน จะได้มีเวลามากหน่อย เด็กจะได้อย่ากับเราตลอดทั้งวัน เพลงแหล่ นิยมใช้เนื้อร้อง  2 แบบ คือ แบบกลอนแปด กับแบบกลอนหัวเดียว (กลอนที่มีคำลงบังคับสระตัวเดิมตลอดทั้งบท) นักเพลงรุ่นครูเขาเรียกว่า     กลอนไล  กลอนลี กลอนลา  คือ ลงแรกด้วยสระอะไรเอาไว้ คำลงในวรรคหลังครั้งต่อไปก็ต้องลงด้วยสระตัวนั้นตลอด 

                      

                         ทำไมจึงนิยมร้องกลอนไล  ครูเพลงอย่างแม่บัวผัน จันทร์ศรี พี่ขวัญจิต  ศรีประจันต์ และสุจินต์  ศรีประจันต์กล่าวว่า ที่ลงเพลงด้วยสระไอ ก็เพราะว่า  หาคำมาร้องในตอนลงเพลงได้ง่ายกว่าคำอื่น  กล่าวคือ มีคำให้นำเอามาใช้มากกว่านั่นเอง ส่วนใครจะร้องด้วยกลอนใดสุดแล้วแต่ความถนัด ความสามารถของแต่ละท่าน ครับ 

             เพลงแหล่ที่ใช้กลอนหัวเดียวมีหลายเพลง เช่น เพลงกำเนิดของคน  เพลงให้พี่บวชเสียก่อน  เพลงแม่แตงเถาตาย เพลงมาลัยดอกรัก เพลงแฟนประจำ เป็นต้น เมื่อได้ฟังเพลงแหล่ประเภทนี้ ให้นึกถึง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ  และ ชาย เมืองสิงห์  2 ศิลปินแห่งชาติผู้ยืนยง ท่านทั้ง 2 มีเพลงแหล่ ที่ผ่านการบันทึกเสียงมามากหลายร้อยหรือเป็นพันเพลง 

             แหล่ด้นกลอดสด เป็นการร้องโดยไม่มีการเตรียมบทร้องเอาไว้ก่อน เนื้อหาที่นำเอามาร้องอาจจะมาจาก การกำหนดของผู้ที่มีความประสงค์ จัดเอามา หรือ เนื้อหาที่จะร้องอาจมาจากหัวข้อที่เขาได้จัดเตรียมเอาไว้แล้วนำเอามาเปิดให้ผู้ร้องเห็น แล้วใส่เนื้อร้องสด ๆ ตามๆปในทันทีทันใดกันเลยก็มี สำการร้องแหล่ด้นสด จริง ๆ นั้น ถ้าพูดถึงความไพเราะเพราะพริ้งของบทเพลง  คงจะสู้บทเพลงที่ประพันธ์มาก่อนไม่ได้  แต่จะได้ในแง่ของความไม่คาดคิด  ความมีไหวพริบในการหยิบเอาข้อมูลมาร้องได้อย่างฉับไวมากกว่า 

                        ในการฝึกหัดร้องแหล่ด้นสด กลอนหัวเดียวก็จะคล้าย ๆ กันกับการฝึกหัดร้องเพลงแหล่ด้นกลอนแปด เพียงแต่กลอนหัวเดียว ต้องจัดระยะใน 1 วรรค ควรแบ่งคำร้องออกเป็น  2 วรรคย่อย  เพื่อที่จะได้เว้นวรรคคำร้องง่ายขึ้น ทั้งวรรคหน้าและวรรคหลัง ทำให้ 1 บท มี 4 วรรค (วรรคหน้า 2 วรรค และวรรคหลัง 2 วรรค) เพลงแหล่ จะมีลูกเอื้อนสอดแทรกได้ในช่องว่างระหว่างวรรค  

                         ในวันที่ผมฝึกหัดร้องเพลงแหล่ด้นกลอดสด โดยใช้กลอนหัวเดียว ผมยังพอจำได้ว่า ผมร้องเพลง มาลัยดอกรัก ของชาย เมืองสิงห์ และเมื่อร้องมาได้ครึ่งเพลง ถึงคำว่า รักน้องดอกนะงามขำ  กลัวน้องจะช้ำ  เมื่อหลงทางไป ...แล้วผมก็ร้องแยกไปตามเนื้อเพลงที่ผมคิดได้ บอกเรื่องราวที่คิดได้ แล้ววกกลับมาเข้าเนื้อเดิม ต่อไปจนจบเพลง   จนมาถึงปี พ.ศ. 2547  ผมฝึกหัดนักเรียนร้องเพลงแหล่ คือ อิม-หทัยกาญจน์  เมืองมูล โดยใช้กลอนหัวเดียวมีชุดฝึกตามแนวทางที่ผมประสบความสำเร็จมาแล้ว ดังนี้ ครับ 

                       

                         1.      ร้องเพลงแหล่ให้ อิมฟัง  ใช้เนื้อเพลงกำเนิดของคน   ของไวพจน์ เพชรสุพรรณ

                2.      ผมร้องเพลงแหล่ด้นกลอนสด ด้วยกลอนหัวเดียว กลอนที่มีคำลงสระเดียวให้ฟัง

                3.     ผมจัดทำผังคำกลอนมาให้ อิม สังเกตคำที่สัมผัส ด้วยการบังคับสระตัวเดียวกัน

                4.       ทดลองให้เขาร้องตามเรา และร้องตามเนื้อเพลงในผังกลอนหัวเดียว

                5.     ให้อิม เขาหาคำร้องขึ้นมาเอง โดยครูขึ้นนำ อิมหาคำร้องมาต่อครูจนในที่สุดเขาทำได้

 

หมายเลขบันทึก: 113295เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2007 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท