แบบจำลองสภาพการไหลของน้ำในทะเลสาบสงขลา ตอนที่ 1


แบบจำลอง

แบบจำลองนี้เป็นแบบจำลองที่ผมพัฒนาขึ้นโดยใช้ code ที่พัฒนาโดย คุณบรรเจิด จิระนานนท์ มาพัฒนาต่อยอด และปรับแก้ Algorithm ในการคำนวณและเพิ่มความสามารถในการ จำลองสภาพการกระจายตัวของ ดัชนีคุณภาพน้ำเช่นความเค็ม BOD, DO พร้อมเพิ่มระบบการแสดงผลแบบ graphic animation ของผลการไหล

แผนที่ทะเลสาบสงขลา

ข้อมูลแผนที่ทะเลสาบสงขลา (ทิศเหนือ คือด้านขวามือของรูป)

ตัวอย่างผลการแก้สมการและผลที่แสดงผลในรูปของภาพกระแสน้ำหลังการแก้สมการแต่ละ time step

 

แบบจำลองนี้ พัฒนาขึ้น จากสมการควบคุมปรากฏการการไหล ของกระแสน้ำ ที่ประกอบด้วย สมการความต่อเนื่อง 2 มิติ + สมาการโมเมนตั้ม 2 มิติ ที่ใช้สำหรับ แบบจำลองการไหล และในส่วนของแบบจำลองคุณภาพน้ำ ใช้สมาการอนุรักษ์มวลเป็นสามการควบคุมปรากฎการ + สมาการการเปลี่ยนแปลงภายในของแต่ละดัชนีคุณภาพน้ำ

สมาการทั้งหมด จะเขียนในรูปความสัมพันธ์ที่เรียกว่าสมการอนุพันธ์ การแก้สมการดังกล่าว ต้องใช้กำลังมากเชียวล่ะ หากจะแก้ด้วยความรู้แคนคูลัสเพียงอย่างเดียว

แล้วจะเขียนต่อครับ

หมายเลขบันทึก: 144684เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2007 01:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีครับคุณเกษม

        ขอบคุณมากๆ เลยครับ สนใจมากๆ เลยนะครับ

น่าสนใจมากครับผม ไม่ทราบว่ามีตัว Thesis ให้ดาวโหลดไหมครับ หากมีรบกวนขอเอามาอ่านได้ไหมครับ คุณยังทำปัญหานี้ต่ออยู่ไหมครับ เป็นสิ่งที่ดีและต่อไปสามารถต่อยอดเพิ่มเข้าไปเพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ตลอดถึงแนวทางของการกัดเซาะหรือการสะสมของมลพิษหรือกากตะกอน และอื่นๆ น่าสนใจมากครับ

ขอบคุณมากนะครับผม

เม้งครับ 

สวัสดีครับคุณเกษม

        พอดีหลังจากที่เขียนความเห็นแรก เลยตามไปดูประวัติและผลงานต่อนะครับ เจอผลงานที่น่าประทับใจมากครับผม มีประโยชน์กับประเทศไทยด้วยครับ ด้วยความชื่นชมครับผม

        เขียนบทความไว้เรื่อยๆ นะครับ จะแวะเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆ ครับผม

ขอบคุณมากครับ

เม้งครับ 

ขอบคุณมากครับ คุณ เม้ง ผมได้ยินชื่อคุณมานาน แล้วครับ คือผมเคยทำงานในทีมเดียวกับพี่วัฒนา ครับ ผมขอเวลาหา code ก่อนนะครับ เพิ่งเปลี่ยนเครื่อง เลยหาอะไรไม่ค่อยเจอ ครับ

สวัสดีครับพี่เกษม

        ดีใจมากครับผม ผมเข้าไปอ่านหลายๆ บทความที่น่าสนใจในเว็บของพี่นะครับ คงได้ร่วมงานกันนะครับ ดีใจที่มีงานหลายๆ ส่วนแบ่งงานกันทำ จะทำให้ภาพรวมชัดเจนขึ้นมากครับ น่าสนใจมากครับ

ขอบคุณมากๆ เลยครับ 

แบบจำลองนี้ จะไม่เหมาะ กับ การศึกษา เรื่องการกัดเซาะชายฝั่งครับ เพราะ สภาพการไหลของกระแสน้ำได้จากแบบจำลอง จะเกิดขึ้นจาก long wave (Tide) มี period ยาวเป็นชั่วโมงๆ แต่ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแรงที่กระทำหลังจะเป็น Wave ที่มี period สั้นๆ 4-8 วินาที คับ

สังเกตุได้จาก เวลาเราไปเล่นนำทะเล เรายืนอยู่กับที่ จะสังเกตได้โดยการที่ เมื่อน้ำจะขึ้นลงสูงสุดให้เอานิ้วชิ้ตำแหน่งเอาไว้ และ อีกไม่กีวินาทีน้ำลงให้เอามือ อีกข้าง จิ้มไว้ เราจะเห็นความสูงคลื่น ของลูกที่เพิ่งผ่านเราไประยะเวลาตั้งแต่ ยอดลูกแรก คลื่นมาทักทาย จนกระทั่ง มีคลื่นลูกใหม่เข้าหยอกล้อเรา จะใช้เวลา ไม่กี่วินาทีคับ คลื่นตัวนี้แหละ ที่มีผลโดยตรงกับการกัดเซาะชายฝั่ง

เอ แล้วถ้าถามต่อว่ามันกัดเซาะได้อย่างไร?

ผมจะลองอธิบายสาเหตุการกัดเซาะสักสาเหตุหนึ่งให้ดูคับ 

ก็คงต้องอธิบายด้วยพฤติกรรมของคลื่นเพิ่มอีกนิด ว่า คลื่นไม่ว่าจะเขาสู่ ฝั่งในทิศทางได เมื่อมันอยู่ใกล้ๆ หรือสิ่งที่ขวางกัน มันจะพยายามที่ละเลี้ยวเบน จนตั้งฉากกับฝั่ง แรงที่ เหลือ จาการแตกแรง จะทำให้ตะกอนทรายชายฝั่ง เคลื่อนตัวไปตามทิศทางของแรงที่เหลื่อ ดังกล่าว

เอ! คือผมเขียนไม่เก่ง อธิบายงัยก็ไม่ถึงการกัดเซาะซะที

ต่ออีกนิดละกัน ตะกอนทราย ที่เคลื่อนไปตามแนวชายฝั่ง จะคล้ายๆ คนงานก่อสร้างที่ส่งต่อถังปูนกันเป็นแถว ที่เรามักเห็นในงานก่อสร้างอาคาร กันบ่อยๆ คือเวลาจะเทปูน คนงานเขาจะไม่หิ้วปูนกันคนละกระป๋องไปเท แต่เขาจะต่อแถวกันยาวตั้งแต่ กะบะปูน ไปถึงที่เทปูนแล้วส่งถังต่อๆกันไป

แรงที่เหลือจากการหักเห ก็จะทำหน้าที่ คล้ายๆกัน

การกัดเซาะ คงไม่เกิด ขึ้น ถ้าการเคลื่อนตัวนั้น เท่ากันตลอดแนวชายฝั่ง

อิอิ ที่เหลือ เดาละกันว่ามันกัดเพราะอะไรคับ

ส่วน model ที่ผมพัฒนาจะทำได้ในอีกลักษณะครับแล้วเมื่อผมหา code+input data เจอ จะส่งไปให้คับ

 

สวัสดีครับพี่เกษม

    ขอบคุณมากๆ เลยครับ ได้ความรู้เพิ่มเติมครับผม ผมเคยคุยกับพี่วัฒนาเรื่องนี้เหมือนกันครับ แต่นานสักระยะหนึ่งแล้วครับ ดูเพิ่มเติมได้ที่

เก็บมาฝาก การกัดเซาะตามแนวชายฝั่งเกิดขึ้นได้อย่างไร โดย ดร.วัฒนา กันบัว

    ขอบคุณมากครับ สำหรับ code + data ครับ ดีมากๆ เลยครับ เริ่มเห็นความเป็นไปได้ชัดเจนขึ้นครับ

ขอบคุณมากครับ 

 

น้องอุ๊ยมีเรื่องจะถามค่ะ โปรดถามหน่อยนะค่ะ

น้องอุ๊นต้องทำรายงานเรื่องการกัดเซาะของหาดชลาทัต แต่ไม่สามารถได้ ขอพี่ที่อ่านเม้นฉบับนี้ได้โปรดช่วยน้องหน่อยนะค่ะ

น้องต้องการความช่วยเหลือจริงๆน้องอยู่โรงเรียนมหาวชิราวุธจังหวัดสงขลา เป็นโครงงานวิชาชีวะ น้องต้องการรูปแผ่นที่ปัจจุบันและอดีตของสงขลาว่าเป็นเปลี่ยนอย่างไร ช่วยหน่อยนะค่ะ ส่งมาทางmail เลยนะค่ะ พี่เกษม ปิ่นทอง

สวัสดีคับคุณ อุ๊ย

ผมมีเพื่อนเป็นรุ่นพี่คุณ เขาอยู่หาดใหญ่ และเรียนจบจาก AIT ด้านวิศวกรรมชายฝั่ง และทำวิจัยเรื่องนี้ด้วย น่าจะมีข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศหรือการสำรวจหยั่งน้ำ หลายช่วงปีครับ ยังงัยคุณอุ๊ย ติดต่อผมมาอีกทีละกันนะครับ แล้วผมจะประสานให้ครับ

อีกนานมั้ยค่ะ เพราะต้องการภายในอาทิตนี้แล้ว เป็นเรื่องด่วนมาก

ขอบคุณค่ะ

ใช่คะพี่ช่วยรีบส่งข้อมูลมาให้ด่วนหน่อยนึงได้ป่าวคะพอดีเป็นงานด่วนคะ

** ต้องขออภัยในความไม่สะดวกด้วยนะคะ**

 

ขอบคุนค่า^^

น้องส่งเบอร์โทร มาหน่อยครับ ที่ [email protected]

ขอโทษที่เม้นก่อนหน้าไม่ได้ login เข้าระบบ

น้องส่งเบอร์โทรมาที่เมล [email protected] แล้วพี่จะโทรกลับครับ

ข้อมูลแผนที่พวกนี้มันขนาด file ใหญ่ มากๆคับ คุณต้องระบุว่าต้องการตรงไหน ผมถึงจะหาดูก่อนว่ามีหรือไม่ แล้วถึงจะหาวิธีส่งให้คุณคับ

ต้องการตรงบริเวณหาดชลาทัศน์ หลังทหารเรือ แผนที่การเปลี่ยนแปลงบริเวณ จากอดีตถึงปัจจุบันเท่าที่หาได้ ก่อนวันศุกนี้

-การกัดเซาะของชายหาดบริเวณนี้ วิธีการแก้ไข ผลกระทบ

-ภาพถ่ายตั่งแต่อดีตที่หาได้

-ติดต่อน้องอุ๊ยคนสวยได้ที่ 0896571306

แผนที่ภาพถ่ายส่วนใหญ่มันไม่ได้เป็น ดิจิตอลไฟล์ หรือถ้าเป็นก็ใหญ่มากๆครับ

ขอบคุณมากค่ะ ตอนนี้ได้เรื่องที่ทำรายงานแล้ว ไว้โอกาสหน้าถ้าน้องมีเรื่องที่ขอความช่วยเหลือน้องจะขอความช่วยเหลือจากพี่อีกนะค่ะ *-*-*-*

 พี่ค่ะ
มีเรื่องอีกแล้ว
ไม่ทราบว่าพี่รู้เรื่องเกี่ยวกับผักบุ้งทะเลมั้ย
น้องคิดว่าจะเปลี่ยนเป็นทำรายงานเรื่องนี้แทนเรื่องการกัดเซาะหาดชลาทัศน์
น้องหาในเน็ตแล้วแต่มีน้อยมาก ไม่พอสำหรับการทำรายงาน
พี่ช่วยแนะนำหน่อยได้มั้ยค่ะ ว่าสมควรจะไปหาข้อมูลจากที่ไหนดี


วันนี้น้องมีเรื่องรบกวนแค่นี้แหละค่ะ*-*-*-*
 ไม่ทราบรายละเอียดเกียวกับผักบุ้งทะเล เลยคับ พี่ลองค้นหาจาก net ก็เจอเพียบ.. เลยนะ
ใช้คำว่า "ผักบุ้งทะเล" ค้นหาธรรมดานี่เหละคับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท