Maryland Public Television (MPT) สถานีโทรทัศน์ที่ Owned and Operated by Viewers Like You


ในบันทึกนี้ผมอยากจะขอเล่าในสิ่งที่ผมประทับใจในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ที่อเมริกาหนึ่งเรื่องครับ

ชีวิตผมในช่วงที่อยู่อเมริกามีทั้งเรื่องที่น่าประทับใจและเรื่องที่ไม่อยากจำ ปะปนกันไป เรื่องทั้งสองแบบที่จริงแล้วควรนำมาเล่า เพราะเป็นทั้งบทเรียนและเป็นอุทาหรณ์สอนใจครับ

แต่เรื่องที่ผมจะเล่าในบันทึกนี้ เป็นเรื่องด้านบวก เป็นเรื่องที่ผมประทับใจมาก และวาดฝันว่าอยากเห็นสิ่งเหล่านี้ในประเทศไทยของเราครับ

ในช่วงแรกที่ผมอยู่ที่ (ชาน) เมือง Baltimore (Baltimore County) รัฐ Maryland นั้น ผมยังไม่ได้ต่อเคเบิลทีวีเพราะมันแพง ดังนั้นสถานีโทรทัศน์ที่ผมอาศัยเปิดอยู่ตลดเวลาก็คือสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นที่ออกอากาศผ่าน "อากาศ" จริงๆ ครับ ดูกันไป พอไหวพอทน

มาถึงวันนี้ที่ผมเรียนจบกลับมาแล้วห้าปี ด้วยความสามารถในการจำที่แสนสั้นของผม ตอนนี้ผมลืมไปหมดแล้วว่าสถานีโทรทัศน์ที่ Maryland มีอะไรบ้าง

แต่มีอยู่ช่องเดียวที่ผมจำได้ไม่ลืม และไม่คิดว่าจะลืมได้ง่ายๆ เพราะผมประทับใจเหลือเกิน นั่นคือช่อง Maryland Public Television (MPT) ครับ

MPT เป็นสถานีโทรทัศน์ในเครือ Public Broadcasting Service (PBS) ซึ่งเป็นเครือข่ายของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการเช่นเดียวกับ MPT ที่มีอยู่ทั่วอเมริกา

เรื่องราวความเป็นมาของ PBS สามารถอ่านได้ในบทความที่ Wikipedia บทความนี้ ครับ ส่วนของ MPT นั้นสามารถอ่านได้ที่ บทความนี้ ครับ

สำหรับคนที่ไม่ได้ต่อเคเบิลทีวีอย่างผม MPT นำเสนอรายการที่ผมหาดูไม่ได้ในช่องอื่นๆ โดย MPT มีรายการทั้งมีสาระที่ลึกซึ้ง และรายการบันเทิงที่แฝงความรู้ เป็นช่องที่ทำให้ผมรู้จักอเมริกาที่แท้จริงมากขึ้น รวมทั้งให้ผมรู้จัก Maryland ในฐานะรัฐหนึ่งที่สำคัญมากต่อประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจของอเมริกาในตลอดช่วงอายุของประเทศนี้

รัฐ Maryland ที่มีอเมริกันที่ด้อยโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ไม่น้อย MPT จึงเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์มหาศาลต่อการให้ความรู้อย่างยั่งยืนตลอดชีวิตแก่พลเมืองครับ

คำขวัญ (หรือ "motto") ของ MPT สมัยที่ผมยังอยู่คือ "This station is owned and operated by viewers like you."

MPT เป็นช่องโทรทัศน์ที่ไม่รับโฆษณา MPT จึงมีอิสระในการเลือกและนำเสนอรายการที่มีประโยชน์ต่อผู้ชมจริงๆ โดย MPT อยู่ได้ด้วย contributions จากผู้ชมเท่านั้น

contributions ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องเงินทุนอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อให้ MPT อยู่ได้และนำเสนอรายการที่มีประโยชน์ที่แตกต่างจากช่องสถานีโทรทัศน์อื่นๆ ดูจาก ประกาศรับสมัคร volunteers ของ MPT เราจะเห็นว่ารับตั้งแต่ผู้ประกาศจนไปถึงพนักงานรับโทรศัพท์ทีเดียว

ตลอดช่วงเวลาที่ผมรับชม MPT อยู่ วิธีการดำเนินงานและการนำเสนอของ MPT เป็นสมดังคำขวัญของ MPT ที่ว่า "owned and operated by viewers like you" จริงๆ ครับ

ผมชื่นชม MPT มากและตลอดช่วงเวลาที่ผมรับชม MPT แม้ผมจะมาจากประเทศไทย แต่ผมรู้สึกว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของ MPT ไปด้วยครับ ไม่ได้รู้สึกถึงความแบ่งแยกและแตกต่างเลย

ประเทศอเมริกาใช้ระบบทุนนิยมในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เราคนไทยจะรู้สึกเสมอว่าถ้านึกถึง "ทุนนิยม" จะนึกถึงอเมริกา แต่ในความเป็นจริงแล้ว อเมริกายังมีมุมด้านสังคมที่น่าสนใจในหลายๆ เรื่องแทรกอยู่ที่ไม่ค่อยมีใครนำมากบอกเล่ากับคนไทยนัก จะเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งถ้าเรามองข้ามในเรื่องเหล่านั้นไปครับ

ผมเชื่อว่าสื่อมวลชนอิสระที่ใช้เครื่องมือในการสื่อสารประเภทต่างๆ รวมทั้งทีวีอย่าง MPT ซึ่งมีแทรกอยู่ในชุมชนทุกระดับในอเมริกาคือเครื่องมือทางสังคมที่ทำให้ประเทศอเมริกาเป็นมหาอำนาจทางความคิดอย่างเช่นปัจจุบันนี้ครับ

ผมอยากเห็นสื่อวลชนเช่นนี้บ้างในประเทศไทยของเรา ประเทศไทยมีแต่สื่อมวลชนภาครัฐและสื่อมวลชนของนายทุนเอกชน "สื่อ" ที่เป็น "ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" นั้น เรากลับไม่มี

หากมอง "สื่อ" ว่าเป็นเครื่องพัฒนาปัญญาของคนในชาติแล้ว ผมเชื่ออย่างยิ่งว่าสื่อที่ไม่ถูกอิทธิพลการเมืองและอิทธิพลนายทุนครอบงำเช่น MPT เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติให้เป็น "สังคมแห่งการเรียนรู้" ครับ

หมายเลขบันทึก: 136222เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2007 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นเรื่องเล่า  ที่เข้ากับสมัยปัจจุบัน G2K เลยครับ   ผมว่าอาจารย์มีเรื่องเล่าทำนองนี้หลายเรื่อง  เช่นวันก่อน  อาจารย์เปรยให้ฟัง เรื่อง web ที่ชื่อ pixel  อะไรทำนองนี้  ที่มีไอเดีย บริจาคปนๆกับซื้อหุ้น  น่าสนใจครับ   ถ้าอาจารย์เอาไอเดียแบบนี้มา input เรื่อยๆ  อาจจะช่วยให้ bloggers   เกิดไอเดียใหม่ๆ  มาเสนอแนะ G2K  ได้นะครับ

ผมมีเรื่อง 1 เรื่องเหมือนกันครับ

เมื่อสมัยทำงานพัฒนาชน  ที่อำเภอจักราช   โคราชตอนนั้นชาวบ้านเริ่มรู้จักเทคโนโลยีตัวใหม่ คือ  การผลิตและก่อสร้างบ้านด้วยอิฐดินซิเมนต์     หลังจากที่คุยกันในหมู่บ้าน    หลายคนเริ่มเห็นช่องทางว่าจะนำมาเป็นธุรกิจของชุมชน    แต่ตอนที่คุยกันยังไม่มีอะไรเลย   มีแต่ตัวคน   จนในที่สุดชุมชนก็สรุปประเด็นที่สำคัญว่า  ถ้าจะเริ่มต้น   ชุมชนต้องเริ่มก่อน  เพราะนั่นคือ การแสดงถึง  ความตั้งใจ  และการเป็นเจ้าของ   ชุมชนก็เริ่มกำหนดรับเงินบริจาค  โดยกำหนดจำนวนเงินต่อหุ้นในขั้นต่ำสุดที่คิดว่าสมาชิกในหมู่บ้านที่ยากจนที่สุดสามารถร่วมได้

ในที่สุดก็ได้เงินมาก้อนหนึ่งไม่กี่หมื่นบาท  เป็นเงินทุนเริ่มต้น  แต่ยังขาดอีกหลายอย่าง   มีสมาชิกบางคนอนุญาตให้ใช้ที่ดินของเขาซึ่งอยู่ติดถนนเป็นที่ตั้งในการผลิตอิฐ     และสมาชิกก็ก่อตัวกันเป็นกลุ่ม  มีประธาน  คนดูแลการเงิน  คนควบคุมงานผลิต  พอดีช่วงนั้น  เราทราบถึงเรื่องงบประมาณช่วยเหลือจากภาคธุรกิจเพื่อสังคม    ชุมชนก็เขียนโครงการดังกล่าวร่วมเสนอโครงการ    และในที่สุด บริษัท แห่งหนึ่งก็บริจาคเงินทุนให้ก้อนหนึ่ง   โดยชาวบ้านให้สัญญาว่าจะไม่นำเงินก้อนดังกล่าวมาจัดสรร  แต่จะใช้ในการลงทุน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนก้อนหนึ่ง   

ต่อมาภายหลัง "สหกรณ์"  เกิดชอบธุรกิจดังกล่าว  และเห็นว่าสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่ก็เป็นสมาชิกสหกรณ์อยู่แล้ว  และ จึงเสนอซื้อกิจการดังกล่าวมาดำเนินการแทน

สวัสดีค่ะอาจารย์คะ

เรื่องที่อาจารย์เล่าน่าประทับใจมากค่ะ เข้าไปตามลิงค์แล้ว เขาก็มีกิจกรรมอื่นๆอีกด้วย นอกเหนือจากการบริจาคนะคะ

มีweb siteหลายแห่งในอเมริกา ที่มีคนทำงานเป็นอาสาสมัคร และมีคนdonate เข้าไปมากมาย ดิฉันว่า เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนอเมริกันในด้านดี ที่เขาชอบบริจาคค่ะ ถ้าเขามีส่วนร่วมอะไรในcommunityหนึ่งๆ เขาจะบริจาคกันค่ะ

ขอยกตัวอย่างที่ แสดงถึงว่า ไ  อยู่ได้ด้วยการบริจาคและการจัดกิจกรรมเสริม ไม่มีอะไรเหมือน g2k แค่ ยกตัวอย่าง ว่า การบริจาคจากผู้สนับสนุน อยู่ได้อยู่แล้ว 

มีหลายweb หลายแบบ  ที่คนไทยบางกลุ่มชอบ  และก็ไปบริจาคกับเขาด้วย  เช่น   http://www.thepurists.com/

เป็นพวกแฟนพันธ์แท้ของด้านlife styles ต่างๆ ที่นี่รับบริจาคอย่างเดียวเลย ก่อตั้งโดยDr. Thomas Mao

ThePuristS' Patrons Program - click here)

Dear PuristS' Patrons,

Thank you sincerely for your support, it is very much appreciated.  Up to this point, ThePuristS has been completely funded by one individual, me.  All of our administrators and moderators are, up to this point, volunteers and receive no monetary or other consideration for their hard work and long hours, other than the satisfaction of a job well done.  This is truly a labour of love, first and foremost

G2K ดีกว่าอย่างมากมาย  ให้ประโยชน์แก่ส่วนรวมมากกว่า สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศเรา ต้องได้รับการสนับสนุนอยู่แล้วแน่นอนค่ะ

ดิฉันว่า คุณสมบัติ ของการมีจิตสาธารณะ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับโลกยุคปัจจุบันนี้ค่ะ

 

ขอโทษค่ะ พิมพ์ผิด มือไปกดเร็วไป...

  มีweb หลายแห่ง ที่เป็นที่นิยม  อยู่ได้ด้วยการบริจาคและการจัดกิจกรรมเสริม  

หมายเหตุ ตัวอย่างที่ยกนี้ ไม่ดีเหมือนเราเลย

แต่ อยากจะชี้ ให้เห็นว่า เขาก็อยู่ได้สบายค่ะ

แวะมาขอบคุณครับ...

  • อยากเห็นเมืองไทยมีโทรทัศน์ดีๆ เช่นกันครับ จะออกอากาศแบบ TV หรือจะออกอากาศออนไลน์ก็ได้
  • ถ้าไม่มีข่าว TV + อินเตอร์เน็ต... เราจะไม่รู้เลยว่า ทหารพม่าโหดขนาดไหน
  • ผมเชื่อว่า เร็วๆ นี้อาจจะมีภัยพิบัติในย่างกุ้ง หรือเนปีดอว์ เพราะโหดแบบนี้ไม่ธรรมดา
  • อาจารย์คะ ขอความรู้นิดนึงค่ะ
  • ในอนาคตจะมีทีวีที่เปิดโอกาสให้คนทางบ้าน (สารคดีน่าสนใจจากคนทางบ้าน)นำเรื่องที่ตัวเองทำมานำเสนอ (คล้ายๆ การนำเสนอแนวคิดผ่านบันทึกในสังคมg2k) บ้างไหมคะ หรือตอนนี้มีแล้ว
  • เคยเห็นของลูกชายท่านมุ้ยใน www.fukduk.com แต่อันนั้นก็น่าจะใช้ค่าใช้จ่ายสูงในเรื่องช่องทางส่ง แต่ก็น่าสนใจ / แต่เครื่องรับ(คอม) ก็ต้องเร็วและใหญ่พอควร
มีโอกาสแน่นอนครับ ในตอนนี้มีความพยายามอยู่หลายที่ที่จะให้เกิดทีวีลักษณะนั้นเกิดขึ้นครับ

มาตอบคุณดอกไม้น้อยครับ

 

fukduk.tv นั้นใช้ค่าใช้จ่ายน้อยมากๆครับ .... ลงทุนเริ่มต้้นถ้าไม่เน้น Production Value ที่สุงแล้วใครๆก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียวครั

 

แต่ถ้าจะเพิ่ม Production Value ขึ้นมามากขึ้นนั้นจะต้องลงทุนเพิ่มขึ้นตามครับ ... ยิ่งลงทุนกับอุปกรณ์ ทีมงานที่มีประสบการณ์ Server ของตัวเอง และค่าใช้จ่ายในการออกกองเพิ่มเนื้อหาที่ดีขึ้นแล้วจะต้องลงทุนมากขึ้นครั

 

ส่วนเรื่องเครื่องรับต้องสูงนั้นไม่จริงครับ ... อยู่ที่การ Balance ระหว่างคุณภาพ/ความเร็ว (Speed/Quality) มากกว่าครับ ... ซึ่งผมเองที่ยืนกรานจะให้ภาพมันออกมาสวยและดูดีแต่จะโหลดช้ากว่าหน่อยครับ แต่ถ้าจะทำให้มันดูเร็วและคุณภาพดีก็สามารถทำได้ครับ ... ไม่ยากขนาดนั้นครับ ( ตอนนี้กำลังปรับปรุงระบบอยู่ครับ ... ใช้ MP4 เล่นใน Flash จะทำให้ดูได้เร็วกว่าและชัดกว่าครับ ) แต่สรุปแล้วคือว่าไม่จำเป็นว่าเครื่องรับต้องยอดเยี่ยม Speed เน็ตต้องดีเลิศถึงดูได้ครับ .... 

 

แต่ปัจจุบัน (หลังจากลงทุนอุปกรณ์ทั้งหมดแล้วนะครับ) จะตกอยู่ที่ประมาณ 4500 - 7000 บาทต่อตอนซึ่งถ้านับตามหลักของวงการโทรทัศน์แล้วถือว่าถูกที่สุดแล้วครับผม

 

 

ส่วนเรื่อง PBS นั้นคงจะมีปัญหาในแง่ของกฏหมายและภาครัฐที่ไม่สนับสนุนตรงนี้อย่างจริงจังครับ ... เนื่องจากการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจของคนไปในทางไม่ดีหรืออะไรก็ตามแต่ ... ดังนั้นเค้าจึงต้องป้องกันแบบเหวี่ยงแหคือไม่ยอมรับเลย

 

ปัจจุบันนี้ Internet TV จึงเป็น PBS ได้ง่ายกว่าอย่างที่ทาง กทช เรียกว่า "สูญญากาศของวงการสื่อ" เพราะยังไม่มีกฏหมายที่เข้ามาควบคุมและยับยั้งการสร้างครับ

 

 

ส่วนเรื่องของการ Volunteer นั้นผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควรครับ ... เพราะว่าคนทุกคนมีระยะเวลาของการ Contribute อยู่ครับ .... และจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ... อยากจะยกตัวอย่างเช่น Wikipedia ที่จะต้องหาเงินและการ Contribute ความรู้แทบจะทุกไตรมาสเพื่อต่อยอดงานของตนอย่างสม่ำเสมอ

 

ดังนั้นงานที่ Contribute แล้วไม่เกี่ยวข้องกับชีวิต ( เช่นสภากาชาด หรือ แำพทย์ไร้พรมแดน หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคน ) นั้นจะไม่ค่อยได้รับความสนใจครับ

 

ตีได้ว่า จำนวนแต่ละอย่างอาจจะลาหลั่นไปเป็น % ของคนที่รับรู้

 

กาชาดอาจจะ 4 ในร้อยคนที่จะบริจาคเลือด

มูลนิธิช้างอาจจะมีเพียง 1 คนในร้อยที่จะบริจาคอาหาร

PBS อาจจะอยู่ที่ 0.25 ของร้อยคนที่จะเข้ามาทำงาน

 

 

ดังนั้นก็ต้องกะ Scale ของ Production ให้ต่ำมากๆถึงมากที่สุด แล้วก็ทำให้เกิดการรับรู้เพิ่มดึงผู้สนใจเข้ามา Contribute ได้มากที่สุด

 

ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดคงไม่พ้น บ้านนอก TV ซึ่งเป็นทีวีชุมชนของชาวอาข่าที่ปัจจุบันไม่มีอาสาสมัครมาทำงานแล้วเหลือเพียงแต่ที่ถ่ายวิดิโอทำสื่อการเรียนการสอนให้ชาวอาข่า 2 คน

 

ดังนั้นต้องถามตัวเองว่าเรามีทิศทางเช่นไรในการทำ PBS ครับต้องมีการ Manage อย่างระมัดระวังยิ่งกว่า TV ทั่วไปอีกพอสมควรนะครับแล้วก็ต้องเป็นผู้มีความสามารถที่เข้ามาช่วยบริหารงานตรงนี้เพื่อใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าที่สด ... ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่หาได้ยากในเมืองไทยเพราะความที่คนไทยนั้นยังมองไม่เห็นคุณค่าตรงนี้ครับ

 

 

ปล1. เว็บไซต์ Sukiflix.com อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ PBS นะครับ

ปล2. TPBS นั้นไม่น่าจะนับเ้ป็น PBS หรอกครับ ... เส้นกันกระจายเลยครับช่องนี้ ... ฮาๆ : )

 

 

adamy เจ้าของ fukduk.tv

 

 

ขอบคุณครับ   สวัสดีครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท