CoP กับ บล็อก (ภาคสอง)


จากบันทึกที่ผ่านมาได้เล่าแนวคิดถึงการนำบล็อกมาใช้เป็นเครื่องมือในการส ร้าง CoP กันไปหนึ่งวิธีการแล้ว บันทึกนี้จึงขอเล่าถึงวิธีการที่ สองและสามต่อกันเลยนะค่ะ

เกริ่นนำ

จากบันทึกที่ผ่านมาได้เล่าแนวคิดถึงการนำบล็อกมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้าง CoP กันไปหนึ่งวิธีการแล้ว ในบันทึก CoP กับบล็อก(ภาคแรก) ใครที่ยังไม่ได้อ่าน แนะนำให้ไปอ่านยังบันทึกนี้ก่อนค่ะ เพราะเรื่องราวเกี่ยวเนื่องต่อกัน

สำหรับบันทึกนี้จึงขอเล่าถึงวิธีการที่ สองและสามต่อกันเลยนะค่ะ

วิธีการสร้าง CoP โดยใช้บล็อก (ต่อ)

วิธีการที่ 2

คล้ายกับวิธีการที่ 1  แตกต่างที่วิธีการเพียงเล็กน้อย และยังแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 CoP จากการรวมกลุ่มของคนในองค์กร

    1. รวมกลุ่มสมาชิกองค์กรเดียวกัน จัดตั้ง CoP นำร่อง มีวัตถุประสงค์ชัดเจน เช่น เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
    2. แสวงหาเทคโนโลยี เลือกใช้บล็อก
    3. สมาชิกเปิดบล็อก เขียนบันทึกกระจายข่าวการจัดตั้ง CoP โดยมีคำสำคัญเป็นคำหลักที่เชื่อมถึงกัน อย่างน้อยหนึ่งคำ เช่น โรคเบาหวาน หรือ ชื่อองค์กร
    4. เปิดแพลนเน็ตเพื่อเก็บรวบรวมบันทึกของสมาชิก
    5. สมาชิกเขียนบันทึกเกี่ยวกับประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานเป็นประจำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และต่อยอดความรู้ ระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกท่านอื่นๆ นอกกลุ่ม กระชับความสัมพันธ์ และขยาย CoP ให้โตขึ้น
    6. อาจจะมีการจัดกิจกรรมตลาดนัดความรู้ นัดพบปะสังสรรค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มขึ้น และยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากขึ้น

เพิ่มเติม กรณีที่มีการกำหนดประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะนั้น ควรกำหนดให้มีคุณลิขิต เพื่อจด หรือสรุปประเด็นสำคัญจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และนำมาบันทึกลงในบล็อกกลาง

ดังนั้นจึงควรกำหนดคุณลิขิตและสร้างบล็อกกลาง หรือบล็อกใดบล็อกหนึ่งที่สมาชิกทุกคนทราบกันดีว่าเป็นบล็อกสร้างขึ้นเพื่อใช้รวบรวมข้อสรุปที่ได้จากสมาชิกในกลุ่ม และจะต้องทำการลิงค์กลับไปยังบันทึกของสมาชิกแต่ละคนด้วย (ขอขอบคุณคำแนะนำจาก อาจารย์หมอเต็มศักดิ์ค่ะ)

เพิ่มเติม คำอธิบายถึงคุณลิขิตตามคำแนะนำของอาจารย์ Wasawat Deemarn ค่ะ คุณลิขิต คือ คุณที่มาช่วยจดบันทึกค่ะ สำหรับสี่แล้วทุกคนเป็นคุณลิขิตหรือคุณจดบันทึกได้หมดค่ะ แต่ควรกำหนดไว้สักหนึ่งคนเพื่อที่สมาชิกจะได้ทราบว่าหากต้องการข้อมูลสรุปทั้งหมดนั้นควรจะไปหาอ่านจากบันทึกของใครค่ะ คล้ายๆ คุณเลขาเลยนะค่ะ :) (ขอขอบคุณคำแนะนำจากอาจารย์ Wasawat Deemarn ค่ะ)

เพิ่มเติมครั้งที่ 2 การเชื่อมโยงสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม สามารถใช้คำสำคัญมาเป็นคำหลักในการเชื่อมโยงสมาชิกทุกคน เช่น ทีมงาน usablelabs หรือ อาจารย์คณิตศาสตร์โรงเรียน... เป็นต้น (ขอขอบคุณคำแนะนำจากอาจารย์วิบุลค่ะ)

ประเภทที่ 2 CoP จากบุคคลต่างองค์กร

  1.  
    1. ขั้นตอนและการดำเนินคล้ายกันกับประเภทแรก แต่บุคคลที่มารวมกลุ่มกันนั้นอาจจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่ได้อยู่องค์กรเดียวกัน แต่อาจจะมีความสนใจเรื่องเดียวกัน และเขียนเรื่องที่สนใจเป็นประจำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลที่เขียนเรื่องราวแนวเดียวกันเป็นประจำ จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ติดต่อสื่อสารกันเป็นประจำ
    2. มีการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อจัดตั้ง CoP นำร่องขึ้นมา จากผู้สนใจเรื่องเดียวกัน
    3. มีการกระจายข่าวของการจัดตั้ง CoP
    4. สมาชิกเปิดบล็อก เขียนบันทึกกระจายข่าวการจัดตั้ง CoP โดยมีคำสำคัญเป็นคำหลักที่เชื่อมถึงกัน อย่างน้อยหนึ่งคำ เช่น โรคเบาหวาน หรือ แม่และเด็ก หรือ งานพับกระดาษ เป็นต้น
    5. เปิดแพลนเน็ตเพื่อเก็บรวบรวมบันทึกของสมาชิก
    6. บันทึกความรู้ ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง เติมเต็มในกันและกัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องที่สนใจให้มากขึ้น
    7. อาจจะมีการพบปะกันในบางครั้งเมื่อโอกาสอำนวย เป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้มากขึ้น

หมายเหตุ สมาชิกในกลุ่มควรมีการเชื่อมโยงกันด้วยคำสำคัญหลักอย่างน้อยหนึ่งคำ และหากมีการต่อยอดความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรลิงค์กลับไปยังต้นฉบับด้วย เพื่อเชื่อมโยงความรู้ ให้เกียรติเจ้าของบันทึกและความสะดวกในการติดตามอ่านของผู้อ่านท่านอื่นๆ (ขอขอบคุณคำแนะนำจากอาจารย์วิบุลค่ะ)

แม้ประเภทที่ 1 และ 2 นั้นกระบวนการอาจจะเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็เป็นการจัดตั้ง CoP อย่างง่ายๆ

วิธีการที่ 3

  1. เปิดบล็อก กำหนดวัตถุประสงค์ของบล็อกอย่างชัดเจนว่าต้องการเขียนเกี่ยวกับเรื่องใด เช่น เรื่องการปลูกกล้วยไม้ บันทึกทั้งหมดในบล็อกก็ต้องมีเรื่องของกล้วยไม้เป็นหลัก แต่มีเรื่องอื่นๆ แทรกมาได้ไม่ผิด เช่น แทรกด้วยปรัชญา แทรกด้วยเรื่องของการจัดดอกไม้ เป็นต้น
  2. กำหนดคำสำคัญของทุกบันทึกเป็นคำเดียวกัน อย่างน้อยหนึ่งคำ เช่น กล้วยไม้ เพื่อที่เมื่อมีการค้นหาจากคำสำคัญจะพบบันทึกของคุณปรากฎออกมา
  3. แสวงหาผู้เขียนเรื่องกล้วยไม้ โดยใช้คำสำคัญ เช่น กล้วยไม้ เป็นต้น ขั้นตอนนี้อาจจะเสียเวลานิดหน่อยในการติดตามว่ามีใครที่เขียนบันทึกเกี่ยว กับเรื่องนี้เป็นประจำบ้าง แต่หากทุกคนทำอย่างเดียวกัน จะช่วยให้ลดเวลาในขั้นตอนนี้ลงได้
  4. สร้างแพลนเน็ตที่เกี่ยวข้อง เช่น แหล่งรวมผู้สนใจกล้วยไม้ เป็นต้น เพื่อรวบรวมบันทึกของคุณและผู้ที่เขียนเรื่องเดียวกันเอาไว้
  5. เริ่มกระบวนการแนะนำตนเอง และนำตนเองเข้าไปแลกเปลี่ยนในวงของผู้เขียนเรื่องนี้เป็นประจำ เพราะโดยปกติแล้วหากมีใครไปเยี่ยมเยียนบันทึกของคุณ คุณก็มักจะกลับมาเยียมเยี่ยนกลับคืนเช่นกัน  ขั้นตอนนี้อาจจะต้องอาศัยระยะเวลาอยู่บ้างกว่าจะเกิดความรู้สึกมีไมตรีต่อ กัน จนเกิด CoP ขึ้นมา ซึ่งจะเป็น CoP แบบหลวมๆ หรือแบบเหนี่ยวแน่นนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนนั่นเอง

วิธีการนี้อาจจะเหมาะกับผู้ที่ชอบแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบสบายๆ ไม่ยึดติดมากนัก คิด เขียน สนใจในเรื่องเดียวกัน ก็มาแลกเปลี่ยนกัน เน้นความสัมพันธ์แห่งมิตรไมตรีเป็นหลัก แต่ก็ยังมีเป้าหมายแห่งการเรียนรู้เช่นกัน

ปล.ขอเสริมคำแนะนำจากอาจารย์หมอเต็มศักดิ์ค่ะ อาจารย์หมอค่ะขออนุญาตนำมาใช้นะค่ะ

"หากท่านเขียนต่อยอดความรู้เรื่องราวจากใครคนใดคนหนึ่ง ควรที่จะต้องใส่ลิงค์ โยงกลับไปหาเจ้าของบันทึกต้นทางด้วยค่ะ"

สุดท้ายและท้ายสุด

ทั้งสามวิธีการเ็ป็นกระบวนการสร้าง CoP อย่างง่ายๆ ที่อาศัยเพียงเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน อาจจะไม่สะดวกรวดเร็วมากนัก และอาจจะต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก ที่สำคัญอาจจะเป็น CoP ที่ไม่ชัดเจนมากนัก แต่ที่ได้มาแน่นอนคือความสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าอาจจะไม่เกิด CoP อย่างที่คุณหวังก็ตาม

แต่ในอนาคตทางทีมงาน จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการสร้าง CoP อย่างแน่นอน

ท้ายสุดจริงค่ะ

ทั้งหมดทั้งมวลที่คิดเป็นเพียงความคิด จากเด็กเริ่มเรียนรู้ที่ยังต้องเรียนรู้อีกมาก เพราะฉะนั้นเรื่องราวทั้งหมดนี้ยังรอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทุกๆ ท่านค่ะ

มาร่วมแลกเปลี่ยนกันสิค่ะว่า CoP ในความหมายของคุณคืออะไร ???

กระบวนการที่คุณหวังไว้ให้ทีมงาน Usablelabs พัฒนาต่อไปเพื่อให้เกิด CoP ใน GotoKnow.org นั้นเป็นอย่างไรบ้าง

มาสิค่ะมาคุยกัน หนูจำไมรอยู่นะค่ะ ^_^

ขอบคุณค่ะ

อ้างอิง

หนังสือผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะ ฉบับนักปฏิบัติ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

หนังสือการจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

หนังสือ KM วันละคำ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

และขอบคุณบันทึกของสมาชิกชาว GotoKnow.org ทุกๆ บันทึกค่ะ

หมายเลขบันทึก: 255392เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2009 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ขอบคุณน้องสี่ที่เขียนบันทึกนี้วันนี้ เพราะคืนนี้ดูข่าวแล้วของขึ้น นอนไม่หลับ เอาเวลามาเขียนบันทึกดีกว่า

CoP

ผมคิดถึงคนทำงาน ที่อยู่ตรงหน้างาน วิธีที่ดีที่สุดคือ คุยกันหน้างานแบบ F2F


แต่ถ้าเกิดเป็นต่างองค์กร โดยเฉพาะอยู่ไกลกันมากๆ เทคโนโลยีก็จะเข้ามาช่วยผ่าน blog ที่เอื้อให้คนหน้างานสามารถเข้าถึงได้ง่าย


ปัญหา คือ คนหน้างานเหล่านั้นจะเข้าถึง blog ง่ายๆได้อย่างไร แบบนี้จะเป็น digital divide หรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ


การจะเปลี่ยนพฤติกรรมคน เช่น ให้หันมาเขียนบันทึกและอ่านบันทึกคนอื่น อยากเทียบเคียงกับรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ

  • นอกจากขึ้นกับปัจจัยส่วนบุคคลแล้ว ยังขึ้นกับพฤติกรรมหรือประสบการณ์เรื่องนั้นของเขา..เคยเข้า blog หรือไม่
  • การรับรู้ รับรู้ถึงประโยชน์ของการปฏิบัติ..เข้า blog แล้วได้คำตอบที่ต้องการ รับรู้ถึงอุปสรรคในการปฏิบัติ..พิมพ์ดีดช้า ไม่มีเครื่องคอมพ์ใช้ รับรู้ในความสามารถตนเอง..เขียนบันทึกแล้วมีคนอ่าน ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม..เขียนบันทึกแล้วได้รู้สึกมีเพื่อน
  • อิทธิพลจากบุคคลหรือสถานการณ์รอบข้าง.. เจ้านายสนับสนุนให้เขียนบันทึก ลูกหาว่าเชยถ้าไม่เคยเข้า blog

ความหวังจาก Usablelabs

 ตอนนี้เจ้าของ blog จะมี email มาแจ้งเวลาบันทึกของตนเองมีคนมาให้ความเห็น แต่ถ้าเป็นรูปแบบ CoP คนที่ไม่ใช่เจ้าของ blog ก็น่าจะอยากรู้ว่ามีบันทึกเพิ่มเติมหรือยัง ถ้ามี email มาแจ้งว่าบันทึกนั้นมีความเห็นเพิ่มเติมก็จะดีครับ เพราะอาจจะไม่ได้เข้ามา check G2K ทุกวัน

 

  • ประเภทที่สอง ถ้าใช้ประโยชน์จากคำหลักได้ ก็จะดีครับ
  • ระยะยาว น่าจะมีการเกาะกลุ่ม CoP ผ่าน keyword และ equivalent keyword จาก corpus ได้ เช่น ผู้เขียนบล็อก อาจคลิกปุ่ม ค้นหา CoP ที่เกี่ยวข้อง
  • รอกล้าทำ thesis ครับ

สวัสดี เจ้าหนูจำไม :)

วิธีที่ 3 ... ดูได้รับความนิยม ณ ปัจจุบัน สำหรับ Gotoknow ครับ

เออ ... ใครคือคุณ "ลิขิต" ... ลิขิต พระเอกหนังหรือเปล่า :)

ปัญหาของการจัดการความรู้ หรือ KM ในปัจจุบัน ... จะมีผู้เข้าใจศัพท์เฉพาะในเรื่องนี้ เฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน หรือมีโอกาสศึกษา

ทำอย่างไรดีครับ เจ้าหนูจำไม ... จึงจะทำให้คนเดินดินกินข้าวแกงเข้าใจเหมือนกัน :)

ฝากไว้ให้ช่วยคิดหน่อยครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอเต็มศักดิ์

ขอบคุณค่ะที่แวะมาแนะนำค่ะ

การมีโอกาสเข้าถึงบล็อกไม่เท่ากัน เป็น digital divide รึเปล่า สี่ว่าน่าจะเป็นนะค่ะ เพราะถ้าวันนี้สี่ไม่ได้เข้ามาที่บล็อกสี่ก็ไม่มีโอกาสดีๆ ได้รับคำแนะนำเหล่านี้ค่ะ :)

น่านำมาคุยกันใน GotoKnow Forum นะค่ะ (แอบโฆษณา)

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หมอสำหรับคำแนะนำ สี่จะเก็บรวบรวมไปฝากทีมงานให้ค่ะ

ฝากความคิดถึงแม่โซดากับหนูน้อยยกล้อด้วยนะค่ะ บอกว่าพี่สี่คิดถึงจังค่ะ ^__^

สวัสดีค่ะอาจารย์วิบุล(wwibul)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ สี่ได้เขียนเพิ่มเติมไว้แล้วค่ะ สี่เขียนเรื่องนี้นานมากค่ะ อ่านไป อ่านมาเริ่มมึนค่ะ ตกๆ หล่นๆ ไปหมด ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ^__^

สำหรับคำแนะนำระยะยาวนั้นสี่จะเก็บไปบอกกล้าให้นะค่ะ ^_^

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

ใช่แล้วค่ะ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุดในขณะนี้ค่ะ แต่เป็น CoP แบบหลวมๆ อาจจะไม่เหมาะกับคนที่ต้องการสร้าง CoP แบบแข็งแกร่งค่ะ แต่สี่ก็ชอบแบบนี้นะค่ะ ไม่ยุ่งยากมาก และไม่เคร่งเครียดจนเกินไปเหมาะสำหรับคนที่อยากได้ความรู้แบบสบายๆ และได้มิตรภาพมากมายมาพร้อมๆ กันค่ะ

สี่แก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วนะค่ะสำหรับคุณลิขิต เอกมงคล :) พระเอกหนังสมัยสี่เด็กๆ เลยค่ะ

ปัญหาเรื่องคำศัพท์บัญญัติมากมายนี้ อาจจะเกินกำลังของเจ้าหนูจำไมนะค่ะ แต่นี่คือเรื่องที่น่าสนใจว่าเราเองเป็นผู้สร้างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้อยู่รึเปล่า

ศัพท์สวยๆ แต่ไม่เข้าใจความหมาย มีค่าเท่ากับศัพท์แสลงของวัยรุ่นรึเปล่า ??

หาเรื่องตั้งประเด็นอีกแล้วค่ะ  ^_^

ไปดีกว่า ก่อนที่จะอดใจไม่ไหวคลอดบันทึกใหม่ออกมา

ลิขิต เอกมงคล พระเอกหนัง ... ที่เคยไปสักหนังตามาตอนหลังแล้วหน้าตาเปลี่ยนไป :)

ประเด็น : เราเองเป็นผู้สร้างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้อยู่รึเปล่า ?

ใช้สีแดงคาดโทษไว้ เพราะเป็นคำถามเชิงลบครับ .. ห้ามตอบว่า มองมุมกว้างแบบภาพรวมอะไรอย่างนั้น นะครับ

เราเอง หมายถึง ... คน

คน ๆ ไหนบอกว่า ... คำทับศัพท์ที่นักวิชาการนำมาจากตำราภาษาอังกฤษ หรือ เมืองนอกเมืองนานั้น เข้าใจยาก น่าจะมีคำที่ง่าย ๆ กว่านี้ หรืออธิบายให้เข้าใจได้ง่ายกว่านี้

ยกเว้น นักวิชาการท่านนั้นไม่สนใจสภาพแวดล้อมและบริบทรอบตัว อยากคุยเฉพาะกลุ่ม นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ยิ่งไปบอกว่า "ความเหลื่อมล้ำ" เกิดจาก "คน" เป็นต้นเหตุสำคัญ ก็แสดงว่า "คน" มีปัญหาในการเปิดรับคำศัพท์ หรือ คำทับศัพท์ที่อยู่นอกเหนือความสนใจ วิชาชีพ หรือ การงาน

"คนรับคำทับศัพท์" อยากได้คำที่เข้าใจง่าย และง่ายต่อความเข้าใจ

"คนให้คำทับศัพท์" คิดว่า คำที่ให้ไปง่ายสำหรับตัวเอง และง่ายต่อผู้อื่นแล้ว ทั้ง ๆ ที่ระดับการศึกษา ความสนใจ ต่างไม่เหมือนกัน เป็นทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคลในจิตวิทยาการศึกษา

ส่วนเทคนิคการสอนคน สอนนักเรียน มีหลักการง่าย ๆ ว่า

"สอนจาก ยาก ให้ ง่าย"

คนสอนคนนั้นจะได้รับการยกย่องว่า สอนเก่ง สอนดี เพราะทำสิ่งที่ยากเป็นสิ่งที่ง่าย เช่นเดียวกับคำทับศัพท์นั่นแหละ

แล้วถ้าหาก "ผู้รับคำทับศัพท์" ไปแล้วกลับไม่มีความพร้อมในการรับ คำยาก จนปิดหู ปิดตา ปิดปาก ... เดินหนีออกไป แบบนี้ถือว่า เป็นความสำเร็จของ "ผู้ให้คำทับศัพท์" หรือเปล่าครับ

เหมือนเวลาเด็กทำข้อสอบ เด็กยิ่งตกเยอะ ๆ แสดงว่า ครูสอนเก่ง เด็กทำไม่ได้เอง เป็นอย่างนั้นหรือเปล่าครับ ก็ไม่ใช่ ...

ดังนั้น "ผู้ให้คำทับศัพท์" ควรทำความรู้จัก "ผู้รับคำทับศัพท์" หรือนั่นก็คือ "กลุ่มเป้าหมาย" ที่ "ผู้ให้คำทับศัพท์" สนใจจะให้เขาก่อน เพื่อคิดหาหนทางว่า ควรใช้คำอย่างไร อธิบายอย่างไร กลุ่มเป้าหมายทุกคนเข้าใจพร้อม ๆ กัน จึงถือว่า ประสบความสำเร็จในการส่งสารความรู้ใช่หรือไม่ครับ

อย่าไปโทษว่า "ผู้รับคำทับศัพท์" ฉลาดไม่พอ ไม่พร้อมที่จะรับเอง

ต้องรู้จักหาวิธีการใดก็ได้ที่จะละลายกำแพงความไม่รู้ และทำให้เขายินดีพร้อมรับความรู้จากเรา

ทั้งหมดเป็นมุมมองของส่วนตัว ครับ ... ใครจะว่าก็ไม่สนใจ ... ท่านใดถูกใจ ขอให้ลองไปต่อยอดดูนะครับ :)

น้องสี่ครับ

  • ตอนนี้ผมอยู่ปัตตานี ก็คิดถึงไอ้เจ้าสองตัวเหมือนกัน

CoP

ควรมีคนทำแบบนี้

  • สรุปเรื่องที่มีคนเขียนบันทึกคล้ายๆกัน โยงถึงบันทึกเดิม เช่น บันทึกนี้
  • แนะนำคนสนใจเรื่องคล้ายๆกัน เช่น ผมรู้จัก พี่มาโนช จาก หมอปา เป็นต้น

จะให้ดี ผมเองคิดว่า

  • CoP มักเป็นคนที่สนใจ พื้นฐานใกล้เคียงกัน มีความเสี่ยงที่จะคิดเหมือนกันเกินไป
  • ต้องมีและต้องเคารพในความเห็นที่แตกต่างกันมากๆได้ ความรู้ถึงจะพวยพุ่ง ประเภทเห็นดีเห็นงาม เออออห่อหมก ความรู้จะวนอยู่กับที่ ผมยังคิดว่า G2K ค่อนข้างจะมีคำหวานมากไปหน่อย อยากให้คิดต่างแต่เคารพ
  • ความคิดต่าง น่าจะเกิดจากพื้นฐานที่ต่างกัน อาจารย์สอนคณิตศาสตร์น่าจะแวะเวียนมาให้ความเห็นเรื่องคนไข้ใกล้ตายบ้าง เป็นต้น
  • ความเป็นนักวิชาการ ผู้รู้ อาจทำให้คนอื่นไม่กล้าให้ความเห็นที่แตกต่าง

 

สวัสดีค่ะ

 ตอนนี้กำลังทำ CoP มะเร็งเด็ก

 กำลังจะเข้าที่เข้าทาง

 มาอ่านและจะลองไปปรับใช้นะคะ

 ขอบคุณที่บอกเทคนิคดีๆ

 ขอให้มีความสุขในวันสงกรานต์นะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

สี่ขอสรุปที่อาจารย์เขียนนิดนะค่ะ เพื่อทวนความเข้าใจของตนเอง

  • อาจารย์บอกว่าการที่ผู้ส่งและผู้รับคำศัพท์ ไม่สามารถเข้าใจกันได้นั้น อาจจะเกิดจากความแตกต่างกันระหว่างบุคคล
  •  ผู้ให้ก็เจตนาจะบัญญัติศัพท์ให้ง่ายที่สุดแล้วตามพื้นฐานความรู้ ตามปัจจัยสิ่งแวดล้อม
  • ส่วนผู้รับก็พยายามรับให้ได้มากที่สุดแล้ว แต่จะรับได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละคนเช่นกัน
  • เพราะฉะนั้นถ้ามีเจตนาที่ดีทั้งคู่แล้ว ปัญหาย่อมไม่ได้เกิดจากส่วนนี้
  • พิจารณาถึงส่วนต่อไป คือ เทคนิคการสื่อสารหรือเทคนิคการสอนที่จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องทั้งผู้รับและผู้ให้
  • ซึ่งควรสอนด้วยเทคนิคสอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
  • ผู้ให้ควรหาวิธีการที่สามารถละลายกำแพงแห่งความต่างออกไป เพื่อที่ศัพท์หรือทฤษฎีต่างๆ ที่สร้างขึ้นจะสามารถนำไปปรับใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
  • ผู้รับก็ควรเปิดใจค่อยๆ ยอมรับฟัง อย่าพยายามมองว่าคนที่สอนนั้นมีความแตกต่างกับตัวเองมากนัก จนอคติว่าจะสอนไม่รู้เรื่อง สอนเรื่องยากเกินไป
  • สี่สรุปได้ดังนี้ ถูกต้องตามที่อาจารย์สื่อสารมาหรือไม่ค่ะ

สำหรับสี่นั้น สี่ว่าบางครั้งการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ มารองรับสักคำนั้นคนและคำอธิบายเป็นเรื่องสำคัญ

คนต้องใช้ใจทำ เปิดใจรับด้วย

และต้องมีคำอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน สามารถปรับใช้ได้เรื่อยๆ เมื่อได้ยินอีกครั้งก็นึกออก อาจจะไม่ได้นึกคำศัพท์ออก แต่นึกความหมายได้ และคำศัพท์ก็ไม่ควรหรูมากนักเพราะจำชื่อยาก

แต่ถ้าไม่หรู ก็จะดูไม่ดีอีกรึเปล่า??

เรื่องนี้ออกจะจนปัญญาเจ้าหนูจำไมอยู่ค่ะ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์นะค่ะ

สำหรับสี่ช่วงหนึ่งที่เป็นครูสอนพิเศษนั้น สี่จะพยายามสอนพื้นฐานให้แน่นก่อน และสอนแบบพื้นๆ ไม่อัศจรรย์พันลึกมาก สอนแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอด เช่น สอนหลักการแปลภาษาอังกฤษให้เด็ก สี่ก็พยายามสอนตั้งแต่พื้นฐานเลย สอนหลายๆ ครั้ง จนกระทั่งเด็กเริ่มจำและเข้าใจ ว่าควรแปลอย่างไร ต่อไปเด็กก็จะสามารถอ่านและแปลได้ แม้ไม่ถูกต้อง แต่ก็ใกล้เคียงค่ะ

ไม่รู้ว่าถูกไหม แต่ได้ผลพอสมควร

สี่เชื่อว่าถ้าพื้นฐานแน่น การต่อยอดต่อไปก็น่าจะง่ายขึ้นแล้วค่ะ

เพราะฉะนั้นสำหรับสี่แล้ว คนสำคัญค่ะ ผู้ให้ต้องคิดก่อนว่าอะไรเข้าใจง่ายที่สุด และพยายามสอนให้ง่ายเข้าไว้

ส่วนผู้รับต้องเปิดใจรับก่อน อย่าอคติก่อนรับ เพราะไม่แน่ว่า คนเก่งสักคนอาจจะสามารถสื่อสารออกมาให้เราเข้าใจง่ายกว่าที่คิดก็ได้ค่ะ

แล้วเมื่อนั้นเรื่องยากๆ จะกลายเป็นเรื่องง่าย และรู้สึกสนุกไปกับการเรียนรู้ค่ะ

ร่ายมาซะยาวเลย ความคิดเห็นแตกต่างแต่ไม่แตกแยกค่ะ ^____^

ขอบคุณค่ะ  :)

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอเต็มศักดิ์

ขอบคุณมากค่ะ

ชอบวิธีของอาจารย์หมอจังค่ะ แต่น่าจะใช้พลังมากเอาการนะค่ะ

สี่กลับไปอ่านความคิดเห็นของอาจารย์หลายรอบค่ะ และเห็นด้วยกับ

"แต่ถ้าเป็นรูปแบบ CoP คนที่ไม่ใช่เจ้าของ blog ก็น่าจะอยากรู้ว่ามีบันทึกเพิ่มเติมหรือยัง ถ้ามี email มาแจ้งว่าบันทึกนั้นมีความเห็นเพิ่มเติมก็จะดีครับ เพราะอาจจะไม่ได้เข้ามา check G2K ทุกวัน"

และ คิดว่าถ้า G2K สามารถมีระบบส่งข้อมูลของบันทึกตามความสนใจที่สมาชิกได้ระบุไว้ตอนลงทะเบียนก็น่าจะดี อาจจะส่งมาแค่ลิงค์ก็ได้ สมาชิกจะได้ตามกลับไปอ่านได้ ไม่เหนื่อยมาก :)

สำหรับคำหวานใน G2K นั้นสี่ก็ชอบนะค่ะ (บ้ายอเหมือนกันค่ะ) แต่ก็ชอบสิ่งที่แตกต่างเช่นกัน เพราะช่วยให้สมองได้คิดตลอดเวลาค่ะ แต่ถ้าไม่สุภาพมาอาจจะเกินใจรับไหวค่ะ

สี่เห็นด้วยค่ะเรื่อง นักวิชาการ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนน้อย

ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นสี่ว่าวัยวุฒิ คุณวุฒิ เป็นเรื่องสำคัญมากค่ะในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะพอมีเรื่องดังกล่าวมาเกี่ยวข้อง มักจะเกิดความเกรงใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

แต่ถ้าลดวุฒิดังกล่าวลงมาหน่อย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อันหลากหลายกลับเพิ่มมากขึ้น อยางบันทึกนี้ของสี่ค่ะ

อันนี้หนูจำไมหมดปัญญาแก้ไขเช่นกันค่ะ เพราะความเกรงใจเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเกรงใจมากเกินไปการต่อยอดความรู้ก็จะหดหายเช่นกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^__^

สวัสดีค่ะพี่แดง

ขออนุญาตเรียกพี่นะค่ะ

ยินดีค่ะ หากบันทึกนี้จะพอนำประโยชน์ให้กับ CoP มะเร็งเด็ก ได้บ้าง

ขอบคุณค่ะ

  • คุณสี่ๆๆ
  • CoP ของครูสอนภาษาอังกฤษครับ
  • เราแลกเปลี่ยนกันในเรื่องการสอนภาษา
  • เรื่องงานวิจัย  เรื่องการทำผลงานวิชาการ เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในแบบใหม่ๆๆครับ
  • ที่นี่ครับ
  • http://gotoknow.org/planet/englishteacher2008
  • ในระยะเริ่มแรกยังไม่รู้จักกัน
  • ตอนนี้รู้จักกันเกือบหมดแล้ว
  • หลายท่านได้พบกันและทำงานการพัฒนาครูด้วยกันครับ
  • ขอบคุณครับ

สรุปอย่างง่าย ๆ ว่า คำทับศัพท์น่ะใช้ได้ครับ แต่ต้องอธิบายให้ผู้คนทุกระดับโดยเฉพาะหากกลุ่มเป้าหมายเราคือทุก ๆ คน ใน G2K เข้าใจไปด้วย ยกเว้น คำทับศัพท์นั้น จะสื่อให้เฉพาะคนบางกลุ่ม บางอาชีพเท่านั้น แบบนั้นใช้คำทับศัพท์ได้ตามสบาย ไม่ต้องสนใจกลุ่มอื่น ๆ ไงครับ

การสร้างพื้นฐานแน่นก่อนแล้วต่อยอด ... เป็นวิธีคิดและวิธีสอนแบบหนึ่งเท่านั้นครับ สายวิชาชีพที่ชัดที่สุดมักจะเป็นวิทย์-คณิต เพราะมองเห็นการเรียนรู้พื้นฐานแล้วนำมาต่อยอดที่ชัดเจน

หากเลือกใช้คำยากในความเข้าใจของคนทุกกลุ่ม ต้องอธิบายตามมาให้เข้าใจด้วย แค่นั้นเองครับ

คนทุกกลุ่ม คือ มวลชน

ที่เขาเรียก สื่อมวลชน นั่นแหละครับ ส่งสารไปยังผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้ดู ทุกระดับ

หาก G2K คือ สื่อมวลชนแขนงใหม่ที่ผู้ทำหน้าที่หลัก คือ ทีมงาน แล้ว ก็ควรคำนึงถึง ผู้ใช้ G2K ทุก ๆ คน ใช่ไหมเอ่ย

หากไม่จริง ก็เขียนเล่าให้ทุก ๆ คนทราบได้เลยนะครับว่า ไม่จำเป็นต้องอธิบายคำเฉพาะคำยาก เพราะทุกคนหาอ่านได้เอง ใครไม่สนใจก็ไม่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ใครสนใจก็เข้ามาค้นคว้ากันเลย ดีไหมครับ

ซึ่งเป็นมุมมองที่ร้ายกาจ ... แต่เชื่อว่า ไม่น่าคิดแบบนี้ครับ

เพราะการทำงานร่วมกันทางด้านความรู้ ก็อยากให้ใคร ๆ โดยเฉพาะคนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันทั้งนั้น

ใช่หรือเปล่าครับ น้อง  สี่ซี่ ...

เขียนทุกอย่างมานี่ วัตถุประสงค์หลัก คือ อยากให้ทุกคนใน G2K มีความเข้าใจทุกคำทุกอย่างร่วมกัน พร้อมกัน

คงพอแล้วล่ะ ไม่ต่อยอดแล้วครับ ... นี่เป็นแค่ความคิดเห็นเดียวที่ทีมงานสามารถมองผ่านและมองข้ามไปได้เลย หรือคิดว่า เป็นแค่ความคิดเห็นที่ขวางทางขวางโลก ก็คงไม่ผิด ...

ให้อภัย ปล่อยวาง และหยุดคิด ครับ

ขอบคุณมากครับที่เปิดเวทีให้คิด

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต ฝอยทอง

ขอบคุณค่ะ

เป็น CoP ที่มีการเติบโตที่งดงามค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

ขอบคุณค่ะอาจารย์

คุยกันไปมาตั้งนาน เพราะสี่มัวหลงประเด็นนั่นเอง :)

สี่คิดไปจนถึงคนตั้งคำศัพท์เลยค่ะ ไปไกลมากเลย

เลยมองข้ามว่าอาจารย์เพียงแต่ต้องการเตือนการนำเสนอของสี่เท่านั้น ว่าควรนำเสนอให้คนทุกกลุ่มเข้าใจได้ง่ายที่สุด

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ^__^

เป็นคนคิดลึกนั่นเอง เจ้าหนูจำไม :)

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

ใช่แล้วค่ะ หนูจำไมชอบคิด บางทีก็ไปไกลออกสักหน่อยค่ะ

แต่เพราะชอบคิด แล้วหาคำตอบไม่เจอนี่แหละค่ะ

จึงชอบตั้งคำถาม และกลายเป็นเจ้าหนูจำไม ในที่สุด

ขำจังค่ะ โต้แย้งตั้งนาน แต่กลายเป็นคนละเรื่อง เดียวกันไปได้

แต่ก็ดีนะค่ะ สมองได้ทำงานเต็มที่จังเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท