ตำนานพระศรีอาริย์กลางศาสนา ๑


 

ศรีอาริยวงศ์กลางศาสนา

เมื่อพระศรีอาริย์มาปรากฏเป็นพระบรมจักรพัตราธิราช ในท่ามกลางพระพุทธศาสนานี้

พระอิศวรผู้เป็นเจ้าประกาศิตให้เทวดาลงมารักษาพระราชวังถึง 50,000 องค์ ยักษ์อีก 50,000 ตน นาคและครุฑก็จะเป็นมิตรกัน และจะมารักษาปราสาทราชวังด้วยเป็นจำนวนมาก

เชื้อพระวงศ์ของพระศรีอาริย์ จะอุปถัมภ์ยกยอพระพุทธศาสนาสืบๆ ต่อกันไปจนอีก 1309 ปี คือลุ พ.ศ. 3850 ปีเศษ จึงสิ้นเชื้อสายพระศรีอาริย์คนสุดท้ายมีนามว่า เสารรัญญาหรือ พยาเสารราช”   [ ศรีอาริยวงศ์ 1000 ปี ในเล่มนี้ ไปตรงกับแผ่นดินของพระเจ้า ซึ่งพระเยซูจะกลับมาปกครองโลกอยู่ 1000 ปีเหมือนกัน เรียกว่า Millennium ภาษาอังกฤษเรียกว่า ศรีอารยะ (Sriaraya) ภาษาบาลีเรียกว่าสิริอริยะ (Siriariya)]  แม้กระนั้นก็มีเทวดา, นาค, ครุฑ เฝ้าปราสาทราชมณเฑียรอยู่มาก

เมื่อพ้นจากพญาเสารราชไปแล้ว พระเสื้อเมืองทรงเมืองทั้งหลาย ก็ละทิ้งบ้านเมืองหลบหนีเข้าป่าไปหมดสิ้น ดังเช่นในยุคปัจจุบันนี้ เพราะอธรรมทั้ง 3 และ อคติทั้ง 4 เข้าครอบงำสันดานประมุขและรัฐบุรุษ จนบ้านเรือนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า มหาภัย 10 ประการ ก็คุกคามประชาชนพลเมืองอยู่ทั่วไป

ครั้นแล้วก็จะบังเกิดพญาธรรมิกราชองค์ที่ 4 มายอยกพระพุทธศาสนาอีก และจะเกิดที่นครศรีอยุธยา (กรุงเก่า) จะทรงเกียรติขนาดพระเจ้าอโศกมหาราช หาใช่บรมจักรพัตราธิราชดั่งเช่น พระศรีอาริย์ในท่ามกลางพุทธศาสนานี้ไม่

ในตำนานมันดาเลของพม่านั้น กล่าวว่า

พระราชวังของพระศรีอาริย์ธรรมิกราชนั้นจะมีประตู 80 ประตู จะมีฝูงเทวดาและยักษ์รักษาแน่นขนัด จะเข้าออกได้แต่มนุษย์ที่มีศีลธรรมอันดีงามเท่านั้น ปราสาทราชวังนั้นจะสว่างรุ่งโรจน์ด้วยแสงแก้วมณีโชติ กลางคืนจะกลับกลายเป็นกลางวัน จะผิดกันก็แต่ว่า ความสว่างของแสงแก้วนั้นจะเย็นตาเย็นกาย ไม่ร้อนระอุเหมือนแสงอาทิตย์ในเวลากลางวันอย่างธรรมดา

พิษณุเทพบุตร จะไปนำเอาผลมะม่วงกาซอ (ผลไม้โรทันตี) จากสวรรค์มาถวายพระศรีอาริย์ธรรมิกราช เมื่อเสวยแล้วรูปร่างก็กลับกลายเป็นหนุ่มเหมือนอายุ 20 เศษ

จะมีพระมหาเถระ 24 รูป เดินทางมาจากทิศต่างๆ เพื่อชมบารมีพระศรีอาริย์ธรรมิกราช พระศรีอาริย์ธรรมิกราชจึงเอามะม่วงกาซอ (มะม่วงลอกคราบ) เข้าถวายพระผู้เฒ่าทั้ง 24 รูป พระผู้เฒ่าทั้งหมดเมื่อฉันแล้วก็ง่วงนอน และหลับไปด้วยความสบาย ครั้นตื่นขึ้นแล้วผิวพรรณก็กลับกลายเป็นหนุ่มไปหมดทั้ง 24 รูป รู้สึกว่ากระปี้กระเปร่าแข็งแรงขึ้นอย่างผิดธรรมดา

พระศรีอาริย์จึงเอาเมล็ดมะม่วงลอกคราบนั้นปลูกลงในดินริมปราสาท ก็พลันงอกงามเป็นต้นเป็นลำและแตกกิ่งก้านสาขาขึ้นในทันที ประกอบด้วยช่อและดอกออกผลเต็มไปหมด โดยไม่ต้องรอเวลาหรือฤดูกาลใดๆ เลย

ฝูงมนุษย์ก็จะไหลมาเทมาเพื่อบริโภคมะม่วงลอกคราบอันวิเศษนั้น ครั้นแล้วคนแก่ก็จะกลายเป็นหนุ่ม คนที่มีผิวพรรณไม่งามก็จะงาม คนอ่อนแอก็จะแข็งแรงไปทั่วทุกรูปทุกนาม โลกจะถึงความเป็นสวรรค์ทั้งในด้านผิวพรรณและโภคทรัพย์ ฯลฯ และ
จะมีต้นไม้กาลปพฤกษ์ทิพย์ถึง 1,600 ต้น (โรงทาน) ทั่วทั้งโลก
อนึ่ง
พระมหานครอันบรมสุข จะได้ถูกก่อสร้างตึกรามขึ้น 36,000,000 หลัง จะเป็นที่อยู่ของพลเมืองที่เป็นสัมมาทิฏฐิทั้งสิ้น และว่าในยุคนั้น จะมีผู้หญิงมากผู้ชายน้อย เพราะผู้ชายไปตายในกองทัพถึง 3 ใน 4 ส่วน ผลสุดท้ายผู้ชายคนเดียวจะมีภรรยา 9 คน 10 คน ผู้หญิงจึงหาสามีที่โสดๆไม่ได้ง่ายนัก จริงเท็จอยู่กับตำรา (แจ้งอยู่ในใบลาน 3-4 ผูก)

พระนครผู้มีบุญและสัตตรัตนะ

ในคริสต์ศาสนา ความในพระคัมภีร์วิวรณ์บอกว่า

เมื่อคริสต์ศักราชครบ 2,000 ปีแล้ว พระเยซูคริสต์เจ้าจะเสด็จลงมาปกครองโลก โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่นครเยรูซาเลม และการปกครองของพระเยซูในครั้งนี้จะกินเวลารวมทั้งสิ้น 1,000 ปี

ในคติทางพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน ได้มีความเชื่อในหมู่ของชาวพุทธแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะชาวพุทธของเมืองไทยว่า ภาคเหนือของไทยจะถูกสถาปนาขึ้นเป็นมหาอาณาจักรสัมมาทิฏฐิ

พระอิศวรเป็นเจ้า หรืออินทราธิราช จึงนำเอาปราสาท 3 หลังขึ้นมาตั้งไว้บนแผ่นดิน คือ ปราสาทแก้ว ปราสาททอง ปราสาทเงิน กว้างหลังละ 4 กิโลเมตรเท่ากันทั้ง 3 หลัง แล้วเนรมิตกำแพงแก้วล้อมปราสาททั้ง 3 หลัง กว้างยาวเท่ากันด้านละ16 กิโลเมตร เอาแก้วมณีโชติมาติดไว้บนยอดธาตุ รัศมีของแก้วนั้นจะสว่างแจ้งไปโดยรอบถึง 4 กิโลเมตร กลางคืนจะสว่างเหมือนกลางวัน

พระนครที่อินทราธิราชสร้างนั้นจะสว่างเหมือนกลางวัน พระนครที่อินทราธิราชสร้างนั้นจะได้นามว่า อินทราอุปการนครจะมีต้นกาลพฤกษ์ทิพย์ 4 ต้น เกิดขึ้นทั้ง 4 ด้านกำแพงเมือง (ต้นกาลพฤกษ์นี้น่าจะได้แก่ ศูนย์รวมของสิ่งต่างๆ ทำนองเดียวกับศูนย์การค้าหรือช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน)

เมื่อพระศรีอาริย์ดำรงตำแหน่งบรมจักรประมุขโลกแล้ว ก็จะขนเอาเงินที่เกิดขึ้นด้วยบุญบารมีทั้งหลายมาให้โรงกษาปณ์สร้างเหรียญเงินและเหรียญทอง เหลือที่จะประมาณแล้วก็กว้านซื้อเอาสรรพวัตถุสินค้าทั้งหลาย เป็นต้นว่า เครื่องยนต์กลไกต่างๆ เสื้อผ้าต่างๆ เครื่องสำอางต่างๆ ฯลฯ จากโรงงานทั้งหลายทั่วโลกมารวมไว้ในโรงทาน (เทียบได้กับศูนย์การค้าในปัจจุบัน)

เมื่อผู้ใดปรารถนาอันใด ก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยเซ็นจ่ายให้ตามความปรารถนา เช่น รถยนต์ จักรเย็บผ้า นาฬิกา เสื้อผ้า ฯลฯ จะไม่ลำเอียงและเอาเงินเอาทองใครเลย เพราะพระศรีอาริย์ไม่ใช่พ่อค้าการเงิน แต่เป็นพ่อค้าการบุญ จึงเรียกอีกนามหนึ่งว่าผู้มีบุญหรือ บุญฤทธิ์หาใช่ อิทธิฤทธิ์ซึ่ง บีบคนลงเป็นทาสหรือ เหยียบคนลงเป็นขี้ข้าดังเช่นในทุกวันนี้

(หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก หนังสือพระศรีอาริย์เจ้าโลก โดยรหัสยญาณ สำนักพิมพ์ลานอโศกเพรสกรุ๊ป โรงพิมพ์สหธรรมิก
)

 

 

หมายเลขบันทึก: 154058เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
คนรักพระศรีอาริย์

เขามาแล้วจริง ๆ บุคคลที่โลกกล่าวถึง ถ้าท่านทั้งหลายต้องการทราบว่า เขาเป็นบุคคลที่โลกรอคอยจริงหรือไม่ ท่านทั้งหลายลองเข้าไปดูที่ http://mahavihan951.com ที่นั้นมีข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการปั้นพระพุทธรูปของพระศรีอาริย์อย่างปาฏิหาริย์ฝีมือคนเลี้ยงโคนม ที่หันหน้ามาปฏิบัติธรรม และเลิกกิจการ พร้อมทั้งมีภาพแปลก ๆ ให้ชม ตลอดทั้งคาดว่าเจ้าของโครงการที่ประกาศรักษาโรคอย่างมหัศจรรย์รอคอยท่านทั้งหลายได้ศึกษาในเวบดังกล่าว และเขายังบอกว่าช้าที่สุดไม่เกินเดือนตุลาคม 2551 จะเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ในบ้านเมืองเรา โดยเฉพาะที่ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคอีสาน ส่วนทางภาคเหนือจะมีอากาศหนาวจัด ถึงขั้นหิมะตกโดยเฉพาะที่ เชียงราย กับ เชียงใหม่ท่านทั้งหลายที่รอคอยพระศรีอาริย์อย่าลิมถือศีลห้าเป็นอย่างต่ำ ไม่นานเชื่อว่าผู้ที่ชี้แนวทางธรรม ที่พวกเรารอคอย จะทำให้พวกเราดวงตาเห็นธรรมกันอย่างแน่นอนครับ......สำหรับคืนนี้... ดึกแล้ว ราตรีสวัสดิ์

ขอกุศลแห่งการเผยแพร่ข่าวอันเป็นมงคล จงส่งผลให้ท่านได้สนทนาธรรมกับ วนิพกหนุ่มธัมมิกโดยเร็ว โลกจะได้ รู้จักคำว่า มหาเมตตา เมื่อรู้ว่าพระเจ้าประสงค์ดำรงชีพอย่างคนจน เพื่อรอเวลาปลดปล่อยพวกเขา ถึงแม้จะถูกเขาดูถูกเหยียดหยาม ด้วยความหลงในอำนาจวัตถุนิยมของพวกเขา ในโลกของเงินตรา พระเจ้า ไม่มีค่าหรอก เพราะพระเจ้าไม่มีเงิน ดำรงชีพตามประสาชาวป่าชาวไร่

สื่อจากพระศรีอารย์

ขอบารมีพระองค์มาช่วยโลกโดยเร็วพลันด้วยเทอญคนทั้งโลกทุกศาสนาทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์รอคอยพระองค์อยู่

สื่อจากพระศรีอารย์

มวลมนุษย์สามารถรวยความสุขได้ทุกคนเป็นความสุขที่ถาวรแท้จริงหรือพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิงไม่ใช่ความสุขดดยทั่วไปที่เราๆๆยึดติด แต่เป็นความสุขจากความอิสระไม่ยึดติดสิ่งใดๆๆบนโลกแม้ว่าจะได้ยินเห็นสัมผัสด้วยกายหรือจิตใจก็ตาม ทำได้โดยการคิดปฎิบัติเข้าถึงได้ด้วยใจ ซึ่งไม่สามารถอธิบายเป็นลายอักษรหรือบอกกล่าวเป็นคำพูดได้ เป็นความรู้เฉพาะบุคคลที่เข้าถึงได้ด้วยใจจริงๆๆซึ่งทุกคนทำได้คิดได้มองเห็นได้ทุกคนทุกชาติทุกศาสนาขอเพียงให้มีสติสัมปชัญญะเท่านั้น ท่านก็จะมองโลกเปลี่ยนไปสิ่งที่เข้ามากระทบจิตใจเรื่องใดท่านก็จะสงบร่มเย็นแม้ความตายมารออยู่ต่อหน้า จิตใจก็เปี่ยมด้วยความสุขเย็นซึ่งไม่แตกต่างอะไรจากการเข้าห้องอบตัวซ่าวน่าเลย ภายนอกร้อนจนเหงื่อไหลแต่จิตใจนั่งได้นานไม่ร้อนตามไปด้วย ซึ่งไม่ต่างอะไรกับกายและจิตใจที่โดนกระทบแต่เรื่องร้อนแต่ไม่กระทบต่อจิตใจที่จะทำให้กระวนกระวายร้อนใจไปด้วยหรือใจสงบร่มเย็นเป็นนิพพานนั่นเอง ดังนั้นท่านลองฝึกคิดว่าถ้าเราไม่ต้องการอะไรบนโลกใบนี้แล้วชีวิตที่เหลือขอมีแต่ความสุขที่ละเอียดของจิตใจตลอดไปทุกลมหายใจที่เหลือก็จะอยู่แบบคนไร้ทุกข์ ข้าพเจ้าขอเลือกเป็นคนรวยความสุขที่สุดในโลกดีกว่าเป็นคนรวยที่สุดในมหาจักรวาลทุกๆๆจักรวาลซึ่งทุกๆๆคนบนโลกก็รวยได้เท่าๆๆกันซึ่งก็หมายถึงคนที่ไม่มีความทุกข์เลยนั่นเอง เพราะคนที่รวยทรัพย์ที่สุดบนโลกหรือเป็นมหาจักรพรรดิ์ครอบครองโลกทั้งโลกก็หาพ้นจากความทุกข์ใจไม่ถ้าจิตใจยังมีความต้องการอยู่รำไปก็ต้องทุรนทุรายอยากได้ครอบครองดวงจันทร หรือดาวหรือจักวาลอื่นอีกไม่มีที่สิ้นสุด แต่คนที่มึความสุขแท้จริงไม่มีอะไรเหลือเลยก็ยังมีความสุขตลอดไปเพราะยังเหลือชีวิตที่จะช่วยเพื่อนชาวโลกด้วยกันให้พ้นจากความทุกข์ แม้ความตายมารอตรงหน้าก็ไม่ทุกข์เพราะทุกคนเกิดมาก็ต้องตายแต่การตายครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายไม่กลับมาเกิดอีกหรืออย่างน้อยก็ไม่เกิน 7 ครั้งก็เท่านั้นเอง แต่บารมีไม่ถึงต้องกลับมาเกิดอีกก็ขอช่วยขนผู้คนบนโลกให้ทุกคนมองโลกปรับความคิดที่จิตใจให้พ้นจากความทุกข็ได้ทุกคนทุกชนชั้นวรรณะไม่ว่ายากดีมีจนเข้าถึงความรู้สึกนี้ได้เท่าเทียมกัน เพราะการอยู่บนโลกใบนี้โดยไม่มีความทุกข์เลยเข้าถีงได้ทุกคนไม่เกี่ยวกับความจนความรวย ข้าพเจ้าขออธิฐานจิตว่าขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆๆพระองค์ตลอดจนพระศาสดาของทุกๆๆศาลนาที่สอนมนุษย์โลกให้ป็นคนดีมีธรรมมะครอบครองในจิตใจ ข้าพเจ้าขอช่วยผู้คนบนโลกด้วยวิธีใดก็ตามไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในทางที่ดีเพือให้ท่านเล่านั้นได้มีจิตใจที่พ้นจากความทุกข์ อยู่บนโลกอย่างร่มเย็นเป็นสุขข้าพเจ้าก็จะทำโดยไม่หวังบุญเปลือกนอกเพราะไม่อยากเกิดบนสรวงสวรรค์ให้เสียเวลา ขอเพียงบุญกุศลนี้ให้ดวงจิตของข้าพเจ้าได้พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงไม่กลับมาเกิดเลยหรืออาจมาอีกก็ชาติเป็นสุดท้ายก็พอ

คนรักพระศรีอาริย์

บุรุษที่โลกกล่าวถึงเขาเปิดเผยตัวเองแล้ว รักษาโรคกรรม สั่งสอนธรรมมะทางโทรศัพท์ ที่แน่ ๆ พลังธรรมสูงส่ง ใครอยากทราบความเคลื่อนไหวของคนผู้นี้ลองไปติดตามที่ เวป พลังจิต ดูใน google ในหัวข้ออาจารย์ธนะสิทธิ์ผู้มีตาทิพย์ และสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย์กับช่วงกึ่งพุทธกาลพระโคดม เพราะขณะนี้ถือว่าเป็นประเด็นร้อนมาแรง ทั้งสองห้องในเวปพลังจิต ชนิดที่ว่าพลาดไม่ได้สักวันเลยทีเดียวเพราะในเวปกล่าวถึงประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ได้สัมผัสกับท่านผู้นี้จนสามารถกล่าวได้เลยว่า เขาคือพระยาธรรมิกราชโพธิญาณตัวจริง หรือสมเด็จพระศรีอริยเมตไตรย์องค์จริงที่มาปรากฏกายในยุคนี้ตามที่สมเด้จพระพุทธองค์สมณโคดมได้พุทธพยากรณ์ และนอสตราดามุสได้ทำนาย เขาสามารถส่งพลังจิตทางโทรศัพท์เพิ่มบารมีให้กับผู้ปฏิบัติธรรมทางโทรศัพท์ให้มีสภาวะธรรมที่สูงขึ้นจริงหรือไม่ และสามารถรักษาคนผ่านทางไกลได้จริงหรือลองติดตามไปดูบางทีท่านผู้นี้อาจจะเป็นศาสดาองใหม่ที่พวกเรารอคอยก็ได้

ว่าง ๆ จะไปขอฟังธรรม คำว่า นิพพาน.....ศรีอาร์ย

ข้อความถึง : พุทธศาสนิกชนทุกท่าน

นิพพาน นั้น คืออะไร

"ผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นมีอยู่ ผู้นั้นย่อมไปได้ไม่ถึงนิพพาน

แต่หากผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นไม่มีอยู่ ก็จะหาทางเข้าสู่นิพพานไม่ได้

นิพพานนั้นไม่มี เราสมมุติชือมันว่า...นิพพาน"

"ทำดีอย่ายึดติดผลของความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด (หมายถึงชั้นพรหมและเทวดา)

ไม่ทำความชั่ว ก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ หนทางนี้แล..ดับขันธ์..นิพพาน"

ประกาศเตือน : 2552

โลกกำลังวุ่นวาย จงอยู่กันอย่างสงบ

รักษาศีล 5 ให้มั่น แล้วรอวันฟ้าใส

เราจะพาพวกเจ้าข้ามกาลียุค และมหันตภัย

ก้าวสู่อารยธรรมใหม่ ในโลกของ....ศรีอารย์

ศึกษา มรรค์มีองค์ 8 ให้ดี แล้วรอคำบอกกล่าวจากข้า

เจ้าจักบรรลุ... อรหัตตผล ในพริบตา

"ผลของบุญ.. ก็คือ บาปที่ยังไม่ได้ทำ

ผลของกรรม.. สิ่งที่ยังไม่ได้ทำคือ (อภัย) ทาน"

การกลับมาของข้า.....เอหิภิกขุอุปสัมปทา

พุทธะ เรียกข้าว่า....อริยะ...เมตไตย

ธรรมรักษา..ทุกท่่านทุกคนเทอญ

(อชิตะเถระ ....พระนารายณ์)

เรียน พุทธศาสนิกชนทุกท่าน

เรื่อง ติดต่อขอรับหนังสือ

ขอเชิญพุทธศาสนานิกชนทุกท่าน ติดต่อขอรับหนังสือ พุทธศาสนา

( พระศรีอริยเมตไตย ) เพื่อใช้เป็นหลักในการปฎิบัติธรรม อริยสัจ ๔

มรรคมีองค์ ๘ เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางเข้าสู่นิพพาน

และหลักการที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา

ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ คุณจิ๋ม หมาบเลขโทรศัพท์ 086-9705523

และร่วมบริจาคเพื่อเป็นค่าจัดทำหนังสือเพื่อแจกจ่ายให้แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาประตูน้ำพระอินทร์

เลขที่บัญชี 146 – 2 – 87888 – 1

และร่วมอนุโมทนาความดีนี้ได้ที่ [email protected] (เราจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว)

จงอดโทษให้เขา ก่อนเราจะร่วมมือ

จงเป็นผู้ให้ ก่อนจะให้คำว่า ยืม

จงเป็นคนไม่ลืม จะได้เลิกแสวงหา

ท่านทั้งหลายจะได้รู้จักใจที่เป็น อนัตตา

ที่ท่านชอบพูดว่า....... ไม่มีตัวตน

ธรรมรักษาทุกท่าน ทุกคนเทอญ

ศรีอารย์

ปล. อยากเจอเรา จงอย่าตามหาเรา ผู้ใดเห็นธรรม......ผู้นั้นย่อมได้เห็นเรา

ขอจงมาเถิด

บุคคลผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวด ๑

ไม่มีมายา ๑

เป็นคนซื่อตรง ๑

ขอจงมาเถิด เราจะบอกกล่าว เราจะแสดงธรรม

เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราบอกแล้ว

ไม่นานก็จะรู้เอง จะเห็นเอง

จะหลุดพ้นจากเครื่องผูก คือ อวิชชาไปได้

อวิชชา หมายถึง “ความหลงไม่รู้จริง” “ภาวะที่ปราศจากความรู้”

ความรู้ในที่นี้หมายถึงความรู้จริงความรู้ถูกต้อง

ปกติสัตว์ทั้งหลายจะอยู่โดยไม่มีความรู้อะไรเลยนั้นเป็นไปไม่ได้

แต่ถ้าความรู้นั้นเป็นความรู้ที่ผิดก็มีค่าเท่ากับไม่รู้

เป้าหมายของการประพฤติพรหมจรรย์

“.....บัณฑิตทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ....

มิใช่ ! เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ

มิใช่ ! เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร

มิใช่ ! เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ

มิใช่ ! เพื่ออานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใด ให้ล้มไป

และมิใช่ ! เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่าเราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้นก็หามิได้

บัณฑิตทั้งหลาย!....ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสำรวมเพื่อละเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์สนิท....”

อริยะ....เมตไตย

ประกาศเตือน : 2553

โลกกำลังว่าย จงอยู่กันอย่างสงบ

รักษาศีล 5 ให้มั่น แล้วรอวันฟ้าใส

เราจะพาพวกเจ้าข้ามกาลียุคและมหันตภัย

เข้าสู่อารยธรรมใหม่ในโลกของ...ศรีอารย์

โอวาทปาฎิโมกข์

การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การเป็นคนดี มีศีลธรรม

การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การเป็นตัวอย่างที่ดี และสอนคนเป็นคนดี

การชำระจิตชองตนให้ขาวรอบ คือ การมองโลกในแง่ดี

ธรรม 3 อย่างนี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

“เพราะฉะนั้น จงคิดดี พูดดี ทำดี มองโลกในแง่ดี

และที่สำคัญ ทำแต่พอดี นี่แหล่ะที่มาของ มรรคมีองค์ 8 หรือทางสายกลาง

“ทำความดีอย่ายึดติดผลของความดี

ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด (หมายถึง ชั้นเทวดาและชั้นพรหม)

ไม่ทำความชั่วก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ

หนทางนี้แล ดับขันธ์นิพพาน”

“ไม่ว่าจะแต่งกายแบบใด

เป็นผู้มีความสำรวม กาย วาจา ใจ

ซื่อสัตย์ ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร

รักษาสัจจะ ผู้นั่นเป็น ภิกษุ เป็น สมณะ”

แด่ผู้ไม่รู้ทั้งหลาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะกลายเป็นเรื่องธรรมดา

ความโศรกเศร้าเป็นโมฆะ เพราะธรรมมะสอนคนได้

ความร่ำไรจางหาย เพราะได้สวดมนต์คู่ลูกชาย

ความไม่สบายกายสูญหาย เพราะลูกได้ผ้าเหลืองห่มกาย

ความไม่สบายใจสละสิ้น เพราะมีลูกเป็นครูสอนศาสนา

ทุกข์เบื้องนี้ไม่มีอีกแล้ว เพราะได้ชุบเลี้ยงสาวกของศาสดา

ทุกข์เบื่องหน้าไม่รอ เพราะมีพระอรหันต็เดินนำหน้า

ธรรม..จะนำพา พ่อแม่เจ้าเข้านิพพาน

" ไม่มีสิ่งใดที่พ่อแม่จะหมดทุกข์ได้แล้วเท่ากับการที่ท่านได้เลี้ยงลูกคนหนึ่งให้เป็นคนดี

และไม่มีอะไรที่ดีไปกว่า การที่ลูก้ป็นคนดีและสอนคนอื่นให้เป็นคนดีตามไปด้วย "

“รู้จักที่จะมองโลกในแง่ดี และมีไมตรีต่อผู้อื่น”

"ต่ออายุให้โลกใหม่ ด้วยการใส่ใจสิ่งแวดล้อม"

ธรรมมะรักษาทุกท่านทุกคนเทอญ

การกลับมาของข้า...เอหิภิกขุอุปสัมปทา

พุทธะ..เรียกข้าว่า....อริยะเมตไตย

ขอจงมาเถิด

บุคคลผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวด ๑

ไม่มีมายา ๑

เป็นคนซื่อตรง ๑

ขอจงมาเถิด เราจะบอกกล่าว เราจะแสดงธรรม

เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราบอกแล้ว

ไม่นานก็จะรู้เอง จะเห็นเอง

จะหลุดพ้นจากเครื่องผูก คือ อวิชชาไปได้

อวิชชา หมายถึง “ความหลงไม่รู้จริง” “ภาวะที่ปราศจากความรู้” ความรู้ในที่นี้หมายถึงความรู้จริงความรู้ถูกต้อง ปกติสัตว์ทั้งหลายจะอยู่โดยไม่มีความรู้อะไรเลยนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าความรู้นั้นเป็นความรู้ที่ผิดก็มีค่าเท่ากับไม่รู้

เป้าหมายของการประพฤติพรหมจรรย์

“.....บัณฑิตทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ....

มิใช่ ! เพื่อหลอกลวงคนให้นับถือ

มิใช่ ! เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร

มิใช่ ! เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ

มิใช่ ! เพื่ออานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อค้านลัทธิอื่นใด ให้ล้มไป

และมิใช่ ! เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่าเราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้นก็หามิได้

บัณฑิตทั้งหลาย!....ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ เพื่อสำรวม เพื่อละ

เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์สนิท....”

อริยสัจ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ)

๑. ทุกข์ ...ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่

สบายใจต่าง ๆ เพราะเป็นของทนได้ยาก

๒. ทุกขสมุทัย ...สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

ได้แก่ตัณหาความทะยานอยาก

๓. ทุกขนิโรธ ..นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่

ดับตัณหาได้หมดสิ้น

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา ... มรรค คือ ข้อปฎิบัติให้ถึงความ

ดับทุกข์ ได้แก่มรรค์มีองค์ ๘

ความทะยานอยาก หมกมุ่นในกามคุณ ๑

การปฏิบัติเพื่อทรมาณหรือเบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่นให้เดือนร้อน ๑

...การกระทำทั้งสองอย่างนี้ ...มิใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์

“บุคคลผู้มีสติ ยังไม่พ้นเวร การควบคุมสติเพื่อให้เกิดปัญญารู้ชัดตามสภาวะ

ธรรมที่แท้จริง จึงได้ชื่อว่า ผู้พ้นบ่วงแห่งมาร”

“ม้าพันธุ์ดี..โดนแส้เพียงแค่ครั้งเดียว ย่อมวิ่งแล่นไปถึงเส้นชัย

บุคคลผู้รู้การเกิดนี่เป็นทุกข์เพียงแค่ครั้งเดียว ย่อมเข้าถึง..นิพพาน”

โลกุตระธรรม ทั้ง ๙

นิพพาน นั้นคืออะไร

ผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นมีอยู่ ผู้นั้นย่อมไปได้ไม่ถึงนิพพาน

แต่หากผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นไม่มีอยู่ ก็จะหาหนทางเข้าสู่นิพพานไม่ได้

นิพพานนั้นไม่มี เราสมมุติชื่อมันว่า นิพพาน

นิพพาน นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

ธรรมทาน วิญญาณธาตุ พรหมโลก

อามิสทาน อากาศธาตุ เทวโลก

อภัยทาน ธาตุดิน มนุษย์

ธาตุน้ำ อบายภูมิ

ธาตุลม

ธาตุไฟ

ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ คือ ร่างกายเรา

อากาศธาตุ คือ อากาศรอบตัวเรา

วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้

ธรรมทาน นั้นมีอานิสงส์สูงสุด เวลาตัวเราแสดงธรรม (ตัวเรา หมายถึง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ)

ธาตุที่ออกจากกายเรานั้นคือ ธาตุลม เมื่อธาตุลม ออกมาจากร่าง ก็สลายตัวออกไปกับอากาศธาตุ ธรรมนั้นก็กลายเป็นอนัตตา นั้นหมายความว่า สภาวะโลกกับสภาวธรรมนั้นย่อมไปในทางเดียวกัน ท้าวเวชสุวรรณมีสมุดบันทึกบัญชีอยู่เล่มหนึ่ง ด้านหนึ่งบันทึกความดี อีกด้านหนึ่งบันทึกความชั่วของคนๆ หนึ่งไว้ เมื่อธรรมกลายเป็นอนัตตา หรือสลายตัวไปในบรรยากาศโลก วิญญาณที่เป็นตัวรู้ก็ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังสมุดบันทึกบัญชีของท้าวเวชสุวรรณได้ เมื่อตัวเราตายไป ก็สลายตัวกลับสู่สภาวะโลก (คือการสลายตัว ของธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) เมื่อวิญญาณไม่มีธาตุตัวรู้ที่จะไปเกิดยังภพภูมิต่างๆ วิญญาณนั้นก็ดับลง เมื่อวิญญาณดับลง จิตก็ดับตาม นี่คือวิธีการที่พระพุทธเจ้าใช้ในการเข้าสู่นิพพาน คือ การใช้จิตที่บริสุทธิ์และวิธีการสั่งสอนคนเพื่อให้เป็นคนดีนั่นเอง เป็นการส่งต่อระหว่างขันธ์ต่อขันธ์ เพราะสุดท้ายทุกคนย่อมตายเหมือนกัน

นี่คือวิธีการที่ลบรูปลบนาม ดับสนิทไม่มีส่วนเหลืออย่างแท้จริง

ดท้ายก็กลายเป็นการหลับสนิท ไม่ตื่นขึ้นมาพบกับความทุกข์อีก

เปรียบเหมือนเวลาที่เราอยู่เฉยๆ โดยไม่ได้ทำอะไร เมื่อเราไม่ทำความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้เราไปเกิด (หมายถึง ภูมิของชั้นเทวดาและชั้นพรหม) หากเราไม่ทำความชั่ว ก็ไม่ตกไปยังอบายภูมิ แต่จะทำอย่างไรเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าก็เลยให้เราอยู่โดยการเดินทางตามมรรคมีองค์ ๘ ก็คือทางแห่งการพ้นทุกข์

๑. ความเห็นถูกต้องที่จะเดินตามอริยสัจ ๔ (มรรคมีองค์ ๘)

๒. ความดำริชอบ

* ในการออกจากกาม

* ในการไม่มุ่งร้าย

* ในการไม่เบียดเบียน ปัญญาเห็นชอบ

๓. การพูดจาชอบ ความดำริชอบ

* ไม่พูดเท็จ ความพูดจาชอบ

* ไม่พูดคำหยาบ การทำการงานชอบ

* ไม่พูดส่อเสียด การเลี้ยงชีวิตชอบ

* ไม่พูดเพ้อเจ้อ ความพากเพียรชอบ

๔. การทำการงานชอบ ความระลึกชอบ

* เว้นจากการฆ่าสัตว์ ความตั้งใจมั่นชอบ

* เว้นจากการลักทรัพย์

* เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๕. การเลี้ยงชีวิตชอบ

* ความซื่อสัตย์สุจริต

๖. ความพากเพียรชอบ

* ความเพียรที่จะเผากิเลส

๗. ความระลึกชอบ

* ความรู้ที่มีสิ่งกระทบ แล้วถอนความพอใจและไม่พอใจออกเสีย

๘. ความตั้งใจมั่นชอบ

* นั่นคือ สมาธิ

ในอริยมรรค ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ นั้นทำความเข้าใจง่าย (ก็คือศีลมาตรฐาน หรือ ศีล ๕ และสติปัฎฐาน ๔ ) ส่วน อริยมรรค ๖ ๗ และ ๘ ที่จะอธิบายต่อไปนี้ ก็คือ มหาสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ ระหว่างสติปัฏฐาน ๔ กับมหาสติปัฏฐาน ๔ก่อน ว่ามันต่างกันอย่างไร

สติปัฏฐาน ๔ คือ การรู้ว่าตัวเรารู้สึกอย่างไร

มหาสติปัฏฐาน ๔ คือ สิ่งใดที่เข้ามากระทบกับตัวเราแล้วทำให้เรารู้สึกสุขหรือทุกข์

สติปัฏฐาน ๔ มหาสติปัฏฐาน ๔

กาย สุข หรือ ทุกข์ อุเบกขา กายในกาย เป็นการจับคู่ของอายตนะภายนอกทั้ง ๖

เวทนา สุข หรือ ทุกข์ อุเบกขา เวทนาในเวทนา (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ซึ่งส่งต่อมายัง

จิต กุศลหรืออกุศล อุเบกขา จิตในจิต ความรู้สึกภายในของอายตนะภายใน

ธรรม กุศลหรืออกุศล อุเบกขา ธรรมในธรรม (อาการ ๑๒) แล้วจำแนกเป็นรูปและนาม

อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้เห็นทั้งจิตที่เป็นกุศล

และเป็นอกุศลธรรม

อายตนะ ๑๒ คือ

ตา สิ่งที่มากระทบคือ รูป

หู สิ่งที่มากระทบคือ เสียง

จมูก สิ่งที่มากระทบคือ กลิ่น

ลิ้น สิ่งที่มากระทบคือ รส

กาย สิ่งที่มากระทบคือ สัมผัส

ใจ สิ่งที่มากระทบคือ อารมณ์

มหาสติปัฏฐาน ๔ จะเปรียบเทียบถึงอาหารจานหนึ่งให้ฟัง

รูปไม่สวยแต่อาหารอร่อย รูปสวยแต่อาหารไมอร่อย

รูปสวยและอาหารอร่อย รูปไม่สวยและอาหารก็ไม่อร่อย

จะเปรียบเทียบ ในสูตรของรูปไม่สวยแต่อาหารอร่อยให้พิจารณา

เมื่อเราเข้าไปร้านอาหารร้านหนึ่ง เมื่ออาหารมาอยู่ตรงหน้า กับมองเห็นรูปที่ไม่สวย (หมายถึงทำไม่น่ากิน) เกิดสัมผัสแรกคือทางตา ทำให้จิตเราคิดไปว่า ทำไม่น่ากินคงจะไม่อร่อย แต่เมื่อเราลองกินเข้าไปแล้ว อาหารกับอร่อย ซึ่งไม่เหมือนกับความรู้สึกแรก นั่นคือการที่เราไปปรุงแต่งรูป ทำให้เกิดทุกข์ แต่เมื่อเรากินข้าวไปแล้ว ลิ้นเมื่อลองรสแล้วรู้สึกอร่อย ก็เปลี่ยนเป็นความรู้สึกทางด้านความสุข เพราะฉะนั้นเราจะเห็นการพิจารณากายในกาย ก็คือ ตาทำหน้าที่ปรุงแต่งด้านทุกข์ ส่วนลิ้นทำหน้าที่รับความสุข สุขและทุกข์นั้นแหละ คือเวทนาในเวทนา จิตสองตัวก็จะทำหน้าที่สลับกัน คือสุข ก็คือกุศล และทุกข์ ก็คืออกุศล จิตที่เป็นกุศลและอกุศลนั้นแหละก็คือ ธรรมในธรรมและนี่คือ มรรค ๗ (ความระลึกชอบ) ก็คือ ฝ่ายหนึ่งคือความพอใจ อีกฝ่ายหนึ่ง คือความไม่พอใจ เราจึงถอนความพอใจ และความไม่พอใจออกพร้อมกันในคราวเดียว ชี้ให้เห็นว่าการที่เราเอาจิตไปสัมผัสอะไรสักอย่าง มันจะต้องมีทั้งสุขและทุกข์ คือเราจะรู้สึกทุกข์และเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (ซึ่งเราเป็นผู้ปรุงแต่งมันทั้งสิ้น)

* แต่เมื่อเรา เจอทั้งรูปสวยและอาหารอร่อย ก็คือ เป็นกุศลทั้งสองฝั่ง เราควรพอกพูนอาการนั้นไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นยากในโลกใบนี้

* แต่เมื่อเรา เจอรูปไม่สวยแต่อาหารอร่อย ก็คือ ฝึกให้เราไม่ปรุงแต่งทางตา เพราะเอตักตา หรือตัวรู้นั้นมีให้รู้ว่า เนื้อแท้ของสิ่งๆ นั้นคืออะไร คือคุณค่าที่แท้จริงของอาหาร คือ ความอร่อยและประโยชน์ที่ได้รับ

* แต่เมื่อเรา เจอรูปสวยแต่อาหารไม่อร่อย (โดยจิตปกติของมนุษย์จะคิดว่า เมื่อรูปสวยอาหารต้องอร่อยแน่ นั่นแหล่ะ ! ที่เราเรียกว่าการยึดมั่นถือมั่นในรูป) แต่เพียงแค่เราเข้าไปลองชิมครั้งเดียว เราก็ไม่อยากเข้าอีก (แต่ก็ยังคงมีคนหลงในรูปเข้าไปกิน แต่ไม่นานร้านนี้ก็จะถูกปิด)

* แต่เมื่อเรา เจอทั้งรูปไม่สวยและอาหารไม่อร่อย ร้านนั้นจะถูกปิดในไม่ช้า นั้นหมายถึง เป็นอกุศลทั้งรูปและนามและนี่คือ มรรค ๖ (ความเพียรชอบ) ที่จะละอกุศลธรรมที่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น และประคองกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นหลักพุทธศาสนาที่ถูกก็คือ ให้เราอยู่กับสิ่งดี แล้วหลีกเลี่ยงในสิ่งที่ไม่ดี ดั่งปรากฏในมงคล ๓๘ ว่า

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ บูชาคนที่ควรบูชา ๑

อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ๑ ทำความดีไว้ให้พร้อม ๑ ตั้งตนไว้ในที่ชอบ ๑

เล่าเรียนศึกษามาก ๑ มีความชำนาญในวิชาชีพของตน ๑ มีระเบียบวินัย ๑ รู้จักใช้วาจาให้ได้ผลดี ๑

บำรุงบิดามารดา ๑ สงเคราะห์บุตร ๑ สงเคราะห์ภรรยา ๑ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ๑

บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์ ๑ ดำรงอยู่ในศีลธรรม ๑ สงเคราะห์ญาติ ๑ อาชีพสุจริต

กิจกรรมที่มีประโยชน์ ๑

เว้นจากความชั่ว ๑ เว้นจากสิ่งเสพติด ๑ ไม่ประมาทในธรรม ๑ รู้จักคุณค่าบุคคลและสิ่งของ ๑ ความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ๑ ความสันโดษพึงพอใจในผลสำเร็จและปัจจัยที่หามาได้ด้วยความพยายามของตนเองโดยชอบธรรม ๑ มีความกตัญญู ๑ หาโอกาสฟังธรรมแสวงหาหลักความจริง ๑

มีความอดทน ๑ เป็นผู้ว่านอนสอนง่ายฟังเหตุผล ๑ พบเห็นสมณะเข้าเยี่ยมเยียน ๑ สนทนาธรรมตามกาลเวลา ๑

รู้จักควบคุมตนเอง ๑ ประพฤติพรหมจรรย์ ๑ รู้แจ้งอริยสัจสี่ ๑ ทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑

ถูกโลกธรรมจิตไม่หวั่นไหว ๑ จิตไร้เศร้า ๑ จิตปราศจากธุลี ๑ จิตเกษม ๑

นี่เป็นมงคลอันอุดม เทวมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นนี้แล้วย่อมเป็นผู้ไม่ปราชัยในทุกสถาน ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง นี้คืออุดมมงคลของเทวมนุษย์เหล่านั้น

เหมือนกับการที่ท่านให้เราเพ่งน้ำ เพื่อให้เกิดสมาธิ แต่หลายคนเพ่งก็อยากมีอิทธิฤทธิ์ แต่แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าให้เราฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน ซึ่งจะยกตัวเองขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐานต่อไป คือเมื่อเรามองดูน้ำแล้ว ก็ให้เรารู้ว่าประโยชน์ของน้ำนั้นใช้ดื่มกิน พระพุทธองค์ไม่ให้เราเอาเศษขยะและถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงในแม่น้ำลำคลอง เพราะจะทำให้น้ำสกปรก พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เราใช้เครื่องกรองน้ำ เพื่อกรองเอาสิ่งสกปรกออกจากน้ำให้เราดื่มกิน นั่นหมายถึงท่านให้เรานำสิ่งที่ดีเข้าตัว แล้วกรองนำสิ่งที่ชั่วออกไป พระพุทธองค์ไม่เอาสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศลให้ปนเปื้อนกัน และการแยกแยะเหล่านี้แหล่ะคือที่มาของศีล

เพราะแท้จริงแล้ว การรักษาศีลหรือพรหมจรรย์ คือความปกติที่ดีของชีวิต โดยมีหิริโอตตัปปะ (ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป) เป็นตัวสติ (ความระลึกรู้) เพื่อไม่ให้เราละเมิดศีล ซึ่งเปรียบเหมือนรั้วกั้นไม่ให้เราไม่ตกไปในที่ชั่ว (อบายภูมิ)

“ศีล เป็นเยี่ยมที่สุดในโลก”

อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ๑

อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้ ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยเดาเอาเอง ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยคาดคะเน ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยความตรึกตามอาการ ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยชอบใจว่าต้องกับทิฐิของตัว ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยความนับถือว่าสมณะนี้คือครูของเรา ๑

เมื่อใด พึงรู้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษเป็นต้นแล้ว

จึงควรละหรือเข้าถึงธรรมนั้น

ต่อไปเราจะใช้อริยมรรค ๖ และ ๗ ทำให้เกิดอริยมรรค ๘ นั่นคือฌานทั้ง ๔ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖ กรรมฐาน

ฌาน ๑ ปฐมฌาน วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข ๑. รู้จำแนกรูปนาม

ฌาน ๒ ทุติยฌาน ปิติ สุข ๒. รู้เหตุปัจจัยของรูปนาม

ฌาน ๓ ตติยฌาน วางเฉย สติ ปกติ ๓.พิจารณารูปนามโดยความเป็นไตลักษณ์

แสวงสุขด้วย นามกาย (ความสุขใจ) ๔. ตามเห็นความเกิดดับของสังขาร

ฌาน ๔ จตุตถฌาน เพราะละสุข ละทุกข์เสียได้ ๕. ตามเห็นความดับสลายของสังขาร

เพราะรู้ว่าธรรมชาติเป็นอย่างนั้น ๖. เห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว

ประโยชน์ของมันคือสิ่งๆ นั้น ๗. เห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นทุกข์

กุศลธรรมในตัวมันคือสิ่งนั้น ๘. เกิดความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด

๙. ปรารถนาจะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้นเสีย

๑๐.พิจารณามองหาอุบายออกจากทุกข์

(การมองโลกในแง่ดี)

๑๑. พิจารณาความวางเฉยโดยความเป็นกลาง

๑๒. หยั่งรู้ความวางเฉยความเป็นไตรลักษณ์

๑๓.ข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยะบุคคล

๑๔. ความหยั่งรู้ความสำเร็จของบุคคลในแต่ละขั้นน ๑๕.ความหยั่งรู้ความสำเร็จของพระอริยะบุคลในแต่ละขั้นนั้น

๑๖. พิจารณาทบทวนกิเลสที่ละได้และกิเลส ที่เหลือ

ย้อนกลับไปในเรื่องการพิจารณาในเรื่องของอาหาร เราจะเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน ทั้งการปรุงแต่งทั้งรูปและนาม นั่นก็คือการจำแนกรูปและนามอย่างชัดเจน หรือฌาน ๑ ก็คือ วิตก วิจารณ์ การปรุงแต่งทางตา และการปรุงแต่งทางลิ้น การบรรลุธรรมนั้น ไวยิ่งกว่าแมลงกระพือปลีก เมื่อเราใช้การนำเอากุศลมาซ้อนทับอกุศลไม่ให้เกิด ก็คือให้พิจารณา ถึงแม้รูปจะไม่สวย แต่อาหารก็อร่อย นั้นคือตัวรู้ของประโยชน์ในสิ่งนั้นอย่างแท้จริง จะไม่สนใจในรูปเพราะเราเข้าใจธรรมชาติของมัน แล้วก็ละตัวรู้นั้น (เหมือนเมื่อเรากินอาหารเข้าไปแล้ว ในคำแรก รู้ว่ารสชาติมันอร่อย คำต่อไปก็ไม่ต้องพิจารณาอีก) ดั่งที่กล่าวมาข้างต้น ฌาน ๑ ถึง ๔ จะทำงานโดยอัตโนมัติ พร้อมกับวิปัสสนาฌานตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๖ ก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ เช่นกันกล่าวง่ายๆ ก็คือว่า การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ก็คือการมองโลกในแง่ดี อริยะอยู่ที่ใจ (มิใช่ที่ผ้า มันเป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น)

การไม่ทำบาปทั้งปวง ก็คือ การเป็นคนดี

การทำกุศลให้ถึงพร้อม ก็คือ เป็นตัวอย่างที่ดี และสอนคนเป็นคนดี

การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ก็คือ การมองโลกในแง่ดี

ธรรม ๓ อย่างนี้ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติคือความอดกลั้น, เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

ผู้รู้ทั้งหลาย, กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง,

ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,

การสำรวมในปาติโมกข์,

ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในการบริโภค,

การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,

ความหมั่นประกอบ ในการทำจิตให้ยิ่ง,

ธรรม ๖ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

นั่นคือโลกุตรธรรม ๘

ส่วนโลกุตรธรรม ๙ ก็คือ การที่เราเจอสิ่งที่ดีเป็นเรื่องปกติ และไม่ทำชั่วเป็นเรื่องปกติ ให้สิ่งที่ดีเป็นสิ่งปกติในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตของเรา จนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะรู้แจ้งแล้วว่ามีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีซ่อนอยู่ในตัวมัน ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัด จงทำความดีแต่พอดี ก็จะไม่ยึดติดผลของความดี อย่าทำจนกลายเป็นแข่งดี เสร็จแล้ว ก็มาทะเลาะกันว่าเราดีกว่า กลายเป็นพูดส่อเสียด ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอีก การที่ทำคนดีให้แตกแยกกันนั้น ถือว่าเป็นกรรมหนัก ตามหลักพุทธศาสนา ห้ามสวรรค์และนิพพาน จะเห็นได้ว่า แม้ความดีที่มนุษย์พากเพียรทำ ก็ยังเป็นกิเลสตัวสำคัญของมนุษย์

คิดดี พูดดี ทำดี มองโลกในแง่ดี ที่สำคัญทำแต่พอดี นั่นแหล่ะที่เราเรียกกันว่า ทางสายกลาง

โสดาบัน นั้นหมายถึง คนทำผิดและยอมรับผิด (ย่อมปิดอบายภูมิ)

สกิทาคามี นั่นหมายถึง เริ่มเลิกทำผิด แต่ยังพลาดไปบ้างเพราะยังขาดสมาธิในการควบคุมสติ

อนาคามี นั่นหมายถึง คนที่ดีแล้วแต่สอนคนอื่นไม่ได้ เทียบกับสมาธิค่อนข้างดี แต่ยังขาดปัญญา

ในการนำพาผู้อื่น

อรหันต์ นั่นหมายถึง คนดีที่สอนคนอื่นได้ เทียบกับสมาธิที่ดีเยี่ยม ประกอบกับปัญญา นำพาคน

หลุดพ้นข้ามอวิชชาไปได้

เมื่อคนที่ทำผิดแล้วยอมรับผิด ไม่นานเขาก็มีความละอายและความสำนึก สิ่งๆ นี้ เขาจึงต้องรู้จักควบคุมตัวเองและมีสมาธิที่ดีขึ้น และสุดท้ายเขาก็จะกลายเป็นอรหันต์ได้ในไม่ช้า

บุคคลละธรรม ๑๐ อย่างได้ควรเป็นอรหันต์

ความกำหนัดยินดี ๑ ความคิดประทุษร้าย ๑

ความหลง ๑ ความโกรธ ๑

ความผูกโกรธ ๑ ความลบหลู่บุญคุณท่าน ๑

ความตีเสมอ ๑ ความริษยา ๑

ความตระหนี่ ๑ ความถือตัว ๑

“ผมหงอก พรรษามาก ไม่ได้ทำให้เป็นพระเถระเพราะเพียงอายุมากอาจเรียกได้ว่า คนแก่เปล่า

ผู้ใดมีสัจจะ มีคุณธรรม อันมลทินครอบงำมิได้ จึงเป็น พระเถระ”

“ความดีเป็นเรื่องง่ายของ บัณฑิต แต่เป็นเรื่องยากของ คนพาล

คนพาลรู้ตัวว่าเป็นคนพาล ย่อมกลายเป็นบัณฑิตได้ เพราะเหตุนั้น

แต่ คนพาลที่คิดว่าตัวเองเป็นบัณฑิต เป็นคนโง่ โดยแท้ เพราะเหตุนั้น”

อริยะ..เมตไตย

แก่นแท้ของการประพฤติพรหมจรรย์

“.....บัณฑิตทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ....

มิใช่ ! มีลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเป็นอานิสงส์ เพราะ เปรียบเท่ากับกิ่งและใบของต้นไม้

มิใช่ ! มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับสะเก็ดของต้นไม้

มิใช่ ! มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับเปลือกของต้นไม้

มิใช่ ! ความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะ (ปัญญา) เป็นอานิสงส์เพราะเปรียบเท่ากับกระพี้ของต้นไม้

บัณฑิตทั้งหลาย !....การประพฤติพรหมจรรย์นี้มี เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิตนั้นนั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย เป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ เพราะเปรียบเท่ากับแก่นของต้นไม้.

วิธีการนั่งสมาธิ

การเริ่มต้นนั่งสมาธิ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือคำสมาทาน เพื่อเสริมกำลังสมาธิ และเป็นการตั้งสัจจะวาจา

คำสมาทาน ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความจริงแห่งอริยสัจ ๔ ไตรลักษณ์ทั้ง ๓ และภพภูมิทั้ง ๓๑ จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้ามี ศีล สมาธิ ปัญญา ฌาน และอภิญญา เพื่อความรู้ธรรม เพื่อความเห็นธรรมและเพื่อการพิจารณาธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป

ลำดับต่อไปก็จะเริ่มต้นการทำสมาธิ

จริงๆ แล้วการทำสมาธิ จะนั่งท่าไหนก็ได้ หรือจะใช้ท่านอนก็ได้ หลักการง่ายๆ ทั่วไปในเบื้องต้น

๑. การภาวนา (ใช้เฉพาะผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการดูลมหายใจ)

๒. การดูลมหายใจเข้า-ออก ( อานาปานสติ )

๓. สายตา

เมื่อเริ่มต้นนั่งให้ดูลมหายใจ แล้วภาวนาตามลมหายใจเข้า-ออก (ให้ใช้ลมหายใจกำหนดการภาวนาอย่าใช้การภาวนากำหนดลมหายใจ) ต่อจากนั้นเมื่อหลับตา ให้กำหนดการมองไปข้างหน้าประมาณ ๑ ฟุต กำหนดจุดขึ้นมา ๑ จุดแล้วเพ่งอยู่อย่างนั้น สักพักก็ถอนคำภาวนา แล้วดูลมหายใจ จนลมหายใจละเอียดจนเหมือนตัวเองไม่ได้หายใจ ก็อย่าตกใจ สิ่งสำคัญคือสายตา ห้ามละจากจุดทีกำหนดไว้ เพราะเมื่อเราเพ่งอยู่อย่างนั้น เป็นการฝึกกสิณไปในตัว (เป็นหลักเบื้องต้น ของสมาบัติ ๘) หากมีการตึงบริเวณอยู่ตรงกลางหน้าผาก ให้ลืมตา มานิดหนึ่งประมาณ ๑ ส่วน ๔ ของการหลับตา นี่คือการฝึกสมาธิเบื้องต้น ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน

ต่อไปก็พัฒนา เพื่อพิจารณา สติปัฏฐาน ๔ (ก็คือ กาย เวทนา จิต ธรรม)

๑. การพิจารณากาย

ก. อานาปานสติ (การดูลมหายใจเข้า - ออก เพราะมนุษย์อยู่ได้เพราะมีลมหายใจ)

ข. อิริยาบถ (กำหนดรู้เท่าทันอิริยาบถใหญ่ของกาย คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และอิริยาบถย่อย เช่น คู้ งอ เหยียด มีสติตัวรู้ ตามอิริยาบถดังกล่าวข้างต้น เพื่อรักษามารยาทในขณะที่เราอยู่ในสังคมต่างๆ อันเป็นมารยาทที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ในหมวดของศีล เพื่อฝึกบุคลิกภาพ)

ค. สัมปชัญญะ(กำหนดรู้เท่าทัน ผลของการเกิดจากอิริยาบถของกาย ยืน เดิน นั่ง นอนอย่างไรให้มีสติ หลักการพิจารณา มีสติ ตัวรู้ ระมัดระวัง เช่น การเดิน มิให้เดินไปในทางที่มีอันตราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้าย การนั่งและการนอนอย่างมีสติ ก็คือ ให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น สถานที่ที่มีที่มุงบัง ปราศจากยุง เหลือบ ลิ้น ไร สถานที่ใดเป็นที่ปลอดภัย สถานที่นั้นไร้ซึ่งความทุกข์

ง. ปฏิกูลมนสิการ(พิจารณาให้เห็นความไม่สะอาดที่เกิดจากเหตุปัจจัยภายในและภายนอก)

จ. ธาตุมนสิการ(พิจารณาเห็นกายโดยการเป็นธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม)

ฉ. นวัสวถิกา (พิจารณาซากศพในสภาพต่าง ๆ เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา สังขาร ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้)

ไม่ว่าจะเป็น ท่านั่งหรือท่านอน ให้กำหนดร่างกายของเราว่ามันเป็นของเที่ยง แต่เมื่อเรานั่งไปนานๆ ก็จะเกิดอาการเมื่อยล้า จะทำให้เราเข้าใจว่าแท้จริงแล้วมันไม่เที่ยง เมื่อเราเกิดอาการเมื่อยล้า จะทำให้เรามองเห็นทุกข์ นั่นคือความไม่เที่ยง เมื่อเราขยับเพื่อเปลี่ยนท่านั่ง เพื่อให้พ้นทุกข์ ก็จะทำให้เห็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะเราไปปรุงแต่งว่ามันเป็นของเที่ยง และเมื่อเราอยู่ในสมาธิ ความสงบนั้น นำมาพิจารณาร่างกาย เพราะเมื่อเราสงบ เราจะรู้ได้ว่า ร่างกายนั้นมีอาการเจ็บป่วยที่ตรงไหน เป็นวิธีเอ็กซเรย์โดยธรรมชาติ เมื่อลมหายใจเป็นปกติ ก็จะทำให้ความดันเลือดอยู่ในระดับปกติ เป็นการรักษาโดยธรรมชาติอีกวิธีหนึ่ง นี่คือประโยชน์ของการนั่งสมาธิ และเมื่อเราพิจารณาข้ามไปยังโลกุตรธรรม เราจะเห็นตัวธรรมในร่างกายของเรา ก็คือเมื่อเราทานอาหารเข้าไปก็จะเห็นได้ว่า แม้ร่างกายตัวเองมันยังแยกแยะกุศลธรรมและอกุศลธรรมในตัวมันคือ มันเอาสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย และขับถ่ายของเสียออกมา

๒. การพิจารณาเวทนา จิต ธรรม

ก็คือว่า ร่างกายมันเป็นสุขหรือทุกข์ จิตมันเป็นสุขหรือทุกข์ ธรรมอันเป็นกุศลหรืออกุศล โดยเอา (มหาสติปัฏฐาน ๔) ที่กล่าวมาทีแรกเข้ามาเป็นตัวช่วยหากจิตมันเป็นอกุศล แต่ระวังว่าเราจะไปเข้าข้างกิเลสโดยไม่รู้ตัว ต้องเอาศีลมาเป็นตัวควบคุม ถ้าทำตามขั้นตอนดังกล่าว จิตก็จะสงบ ระงับเองโดยธรรมชาติ

ต่อมา เพื่อเป็นการเรียนรู้ธรรม ก็คือ อนุสสติ (ธรรมควรระลึก ๑๐ อย่าง) มาพิจารณา

๑. พุทธานุสติ ก็คือการถึงบุญคุณของพระพุทธเจ้า มันจะเกี่ยวกับพุทธประวัติ (หาศึกษาได้ทั่วไป) ก็จะมองเห็นความเพียรพยายามของพระพุทธองค์ ในการตรัสรู้ ก็จะเกิดศรัทธา และปิติ

๒. ธัมมานุสติ ก็คือการถึงบุญคุณของพระธรรม ที่ทำให้เราได้พ้นทุกข์ ก็จะเข้าสู่หมวดการเลือกเฟ้นธรรม

๓. สังฆานุสติ ก็คือการถึงบุญคุณของพระอริยสงฆ์ ที่ท่านได้ทุ่มเทเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา

๔. สีลานุสติ ก็คือการถึงคุณของศีล ที่นำเราไปสู่นิพพาน หนทางแห่งการพ้นทุกข์

๕. จาคานุสติ ก็คือการระลึกถึงทานที่ตัวเองได้บริจาค ก็จะเกิด ปิติ

๖. เทวตานุสติ ก็คือเอาหมวด ๑ ถึง ๕ มาเป็นการกำหนด เมื่อปฏิบัติตามแล้ว ขั้นต่ำแล้วก็เกิดมาเป็นเทวดา

๗. มรณสติ ก็คือระลึกความตายที่จะมีแก่ตน จะได้มีชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท (โดยมีสติเป็นตัวควบคุม)

๘. กายคตาสติ ก็คือเห็นว่าร่างกายนี้มันเป็นของไม่งาม ในข้อนี้จะข้ามไปถึง หมวดพิจารณาซากศพ ๑๐ อย่าง เพื่อให้เห็นว่าสังขารทั้งหลายมีการเสื่อมไปเป็นธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น การพิจารณาเส้นผม เมื่อเราแต่งทรงผมแล้ว มันไม่สามารถทรงตัวอยู่ในสภาพนั้นได้ คือมันต้องยาว และก็น่าเกลียดพะรุงพะรัง ฟันเมื่อเราแปรงแล้วก็จะสะอาด แต่พอเมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ก็จะเกิดกลิ่นปาก ก็จะมองเห็นความไม่งาม ความน่าเกลียด ทำให้ถอดถอนการยึดมั่นถือมั่นได้ หรือในหมวดของเครื่องแต่งกาย เมื่อเราหยิบมันใส่ทีแรกมันก็ยังใหม่ แต่ใส่ไปสักพัก ก็จะสกปรก ทั้งผลกระทบภายนอกและภายใน เมื่อเราใส่ไปร่างกายก็จะมีเหงื่อไคล ทำให้เสื้อนั้นเหม็นสกปรก จะทำให้เราเห็นว่ามันใส่เพื่อปกปิดร่างกายเท่านั้น เพราะไม่ว่าราคาแพงแค่ไหน ใส่แล้วก็ยังคงต้องไปซักอยู่ดี ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของมัน ว่าจริงแล้วมันใช้ประโยชน์อะไร กุศลธรรมมันคืออะไร เพราะไม่ว่าจะเป็นหมวดไหนก็ใช้การพิจารณาแบบเดียวกัน (รวมทั้งการเดินจงกลมด้วย)

๙. กำหนดลมหายใจ อานาปานสติ ดูลมหายใจเข้า-ออก พิจารณาให้เห็นชัดคือ เมื่อเรายังมีลมหายใจอยู่ จะมัวนั่งหายใจทิ้งอยู่ทำไม ควรทำประโยชน์อะไรให้กับสังคมบ้าง

๑๐. อุปสมานุสติ ก็คือระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ซึ่งทำให้เราได้พ้นจากกองทุกข์นั้นเอง

“ผู้ใดที่นั่งสมาธิแล้วไม่ยกตัวเองขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน มองเห็นการเกิดดับต่างๆ ของสังขาร ตาม

กฎของไตรลักษณ์(สามัญลักษณะ ๓ อย่าง) ความไม่เที่ยง ๑ ความเป็นทุกข์ ๑ ความยึดมั่นในตัวตน ๑

ก็เท่ากับว่า ผู้นั้นได้แต่นั่งรอพระอาทิตย์…ขึ้นทางทิศตะวันตก”

เมื่อเราใช้หลักพิจารณาแบบนี้แล้ว ก็จะสมบูรณ์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และเป็นการละ

นิวรณ์ ๕ ไปในตัวคือ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ ๑ การปองร้ายผู้อื่น ๑ จิตหดหู่และเซื่องซึม ๑

ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ ๑ ความลังเลสงสัย ๑

(ธรรมเป็นเครื่องเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้) ก็คือ

สติปัฏฐาน ๔ (ที่มาของสติ) สัมมัปปธาน ๔ (ความเพียรชอบ)

การพิจารณากาย ๑ ความเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๑

การพิจารณาเวทนา ๑ เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๑

การพิจารณาจิต ๑ เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๑

การพิจารณาธรรม ๑ เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ๑

อิทธิบาท ๔ (องค์ประกอบที่ทำให้สำเร็จสมปรารถนา)

พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น, ในธรรม ๑

พากเพียรประกอบสิ่งนั้น, เพียรเจริญธรรม ๑

เอาใจฝักใฝ่ไม่ท้อถอย ๑

หมั่นติตรองพิจารณาทบทวนเหตุผลนั้น ๑

อินทรีย์ ๕ (ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน)

พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง)

ความเชื่อ ๑ ความตั้งใจมั่น ๑

ความเพียร ๑ ความรู้ทั่วถึงในสิ่งที่ควรรู้ ๑

ความระลึกได้ ๑

โพชฌงค์ ๗ (อริยทรัพย์ ๗ อย่าง) (ธรรมะที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) มรรคมีองค์ ๘

ความระลึกได้ ๑ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑

ความเลือกเฟ้นธรรม ๑ ความดำริชอบ ๑

ความเพียร ๑ วาจาชอบ ๑

ความอิ่มใจ ๑ การกระทำชอบ ๑

ความสงบใจและอารมณ์ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑

ความมีใจตั้งมั่น ๑ ความเพียรชอบ ๑

ความมีใจเป็นกลางวางเฉยอย่างมีสติกำกับ ๑ ความระลึกชอบ ๑

ความตั้งใจมั่นชอบ ๑

โพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ นำผู้ปฏิบัติให้บรรลุมรรคผล

และนิพพาน

อภิญญา ๖ และ วิชชา ๘ ( ความรู้ยิ่ง )

ทิพพจักขุ ๑ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์) หมายถึงการที่เรามีความสามารถในการที่มองเข้าไปเห็นจิตใจของผู้อื่นได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราอยู่บนรถโดยสาร มีผู้โดยสารคนหนึ่ง ลุกจากที่นั่งเพื่อลงจากรถ ในขณะที่นั่งนั้นว่าง ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งกำลังที่จะเดินไปนั่ง แต่ผู้ชายคนหนึ่งกับไปแย่งที่นั่งของผู้หญิงคนนั้น ทำให้เราได้เห็น ความเห็นแก่ตัวของคนๆ นั้น

ทิพพโสต ๑ (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์) หมายถึงหากเราได้ยินคนๆ หนึ่งกำลังนินทาใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ทำให้รู้ว่าเขามีความอิจฉาริษยาผู้อื่น

เจโตปริยญาณ ๑ (ฌานที่กำหนดรู้ใจคนอื่นได้) หมายถึงสิ่งที่เราเห็นและเราได้ยิน สามารถรับรู้ว่าบุ

https://drive.google.com/drive/folders/1t2GhfSg_DDfW_DEyXvSfzQhnTCEN9Bvr?usp=sharing

——พระธรรมิกราช พรรคพิทักษ์ไทย สหชาติธรรมิกราช,มาจากไหน มาจาก พุทธพยากรณ์ของพระศาสดา และ พยากรณ์ถิ่นกาขาว –นารีขี่ม้าขาว ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ที่ได้แสดงอย่างชัดเจน รับรอง กลุ่มสหชาติธรรมิกราชทำงานในนาม พระธรรมิกราช (ในรอบพุทธศาสนา5,000ปี มีการรับรองพียงครั้งเดียวในโลกและโอกาสเดียวเท่านั้น ที่พุทธบริษัท จะมีข้ออ้างในการ สังคายนาและปฏิรูปพุทธศาสนาให้ถูกต้อง(ธรรมตามกาล )และปกป้องศาสนาจากศัตรูต่างๆได้ หากพุทธบริษัท4 พลาดโอกาสนี้ ที่พระศาสดาและพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์รับรองไปแล้ว พุทธศาสนาจะไม่มีข้ออ้างไดรวมศาสนา และปฏิรูปสังคายนาให้ถูกต้องอีกเลย ////(หลักการพุทธศาสนาแท้จริง คือทุกข์ สมุทัย นิโรท มรรค – ให้ยึดถือการวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อปล่อยวางจิตให้เป็นกลาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน และสิ่งได ดังนั้นทุกสถานธรรม เช่นวัด ต้องมีสถานที่วิปัสสนากรรมฐานเป็นหลัก และรับ ผู้เดินทางมาเยื่ยมเยือน ทุกนิกายเพื่อแนะแนวทางวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนการปกครอง ให้เป็นไปตาม ระบบการปกครองประเทศ และผู้มีอำนาจในถิ่นๆนั้นกำหนด พระภิกขุสงฆ์ คือประชาชนผู้ร่วมปกครองจึงสามารถยุ่งการเมืองได้ย่อมมีสิทธิ์เสรีภาพในการเลือกผู้นำประเทศ หรือเลือกตั่งได้ นี่คือธรรมตามกาล)//// ที่พระพุทธองค์เจตนา ให้ปฏิบัติในกึ่งพุทธกาลนี้ โดยพระศาสดาและพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ยุ่งการเมืองได้ )////หากไม่ทำตามพระพุทธองค์ศาสนาจะถึงกาลอวสานไม่นานโดยศัตรูทางศาสนาจะเข้ามาทำลายหมดสิ้นเพราะชาวพุทธจะปกป้องตัวเองไม่ได้ และการเข้าใจผิดหลักการพุทธบริษัททำให้ศาสนาพุทธสลายไป—สมาชิก สหชาติธรรมิกราช หน้าที่คือแก้ไข ปฏิรูป สังคายนา เพื่อปกป้องพระศาสนาและประชาชนสำหรับประเทศไทย (ส่วนที่อื่นๆธรรมตามกาล ตามดุลพินิจ ของผู้นำในแต่พื้นที่แต่ละประเทศแต่ละกลุ่มซึ่งแตกต่างกันไป แต่ต้องรักษาหลักการพุทธศาสนาไว้ )การรับรองพระธรรมิกราช พุทธศาสนาคือศาสนาจริงพระผู้มีพระภาคเจ้ามีตัวตนและอิทธิฤทธิ์ต่างๆจริง (แต่พระอรหันได้เข้านิพพานไปแล้วไม่มายุ่งทางโลกอีกเลย ดังนั้นหน้าที่ปกป้องพระศาสนาจึงเป็นของคนที่มีกิเลสทำงานคือพุทธบริษัท พระโพธิสัตว์และพระอริยะ) อนาคตพุทธศาสนาจะเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งโลก ด้วยหลักฐานพุทธพยากรณ์ รับรองนี้ ผู้คนจะยกย่องบูชาพระพุทธเจ้ามานับถือพุทธมากยิ่งขึ้น ดังนั้นบุคคลที่ต่อต้าน คำบอกสอนของพระศาสดาคือมาร แท้จริง ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครและชาวพุทธต้องต่อต้าน—-วิธีเข้าร่วมและการเป็นสมาชิก สหชาติธรรมิกราช คือการร่วมกระจายข่าวสารทั่วโลก เข้าร่วมขบวนการขี่ม้าขาว ร่วมฟ้องคดีกบฏโจรกาขาว ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ และไทยเพื่อปกป้องพระศาสนา ประชาชนและประเทศ นิรโทษกรรมทางการเมืองโดยใช้ข้อมูลฟ้องของผม ธานนท์ คนขยัน ซึ่งแปลแล้วตรงกับคำพยากรณ์พระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ในนาม สหชาติธรรมิกราช คนหนึ่ง (แกนนำและที่ปรึกษาพิเศษของ ขบวนการขี่ม้าขาว ซึ่งจะตรงกัน ตามคำพยากรณ์ พระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ พยากรณ์ถิ่นกาขาว นารีขี่ม้าขาว (สมเด็จพุทธาจารย์โต -หลวงพ่อฤษีลิงดำ และ อีกองค์ไม่แสดงชื่อ) ซึ่งปรากฏเป็นผู้ร่วมพยากรณ์นารีขี่ม้าขาว เป็นหลักฐานยืนยัน ตัวตนพระธรรมิกราชโพธิญาณ คือกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมือง (หนึ่งนารีขี่ม้าขาว)–หน้าที่ของสมาชิก สหชาติธรรมิกราช (ปกป้องศาสนาและประชาชน แก้ไขกฎหมายการเมืองประเทศ ปฏิรูปพุทธศาสนา สังคายนาพระไตยปิฏก(ธรรมตามกาล) ร่วมจัดตั่งพรรค พิทักษ์ไทย สหชาติธรรมิกราช และสมาชิกท่านไดมีความพร้อมสามารถจัดตั่งพรรคได้เลยทันทีไม่ต้องปรึกษาผม และปฏิบัติงานในนาม พระธรรมิกราช ได้ต่อไปตามนโยบายพรรคและหลักการพุทธศาสนา—การช่วยเหลือประชาชนปกป้องพระสงฆ์ ประเทศชาติ ให้พ้นภัย โดยการประชาสำพันธ์ความจริงคดี กบฏกาขาว ย่อมได้กุศลมหาศาล-สหชาติธรรมิกราช ปกป้องพระศาสนา มารจะทำลายพระศาสนาไม่ได้ วัดได ต้องคดี กลุ่มการเมืองได มีภัยเพราะกบฏรัฐอิสลาม พวกกาขาว แค่เอาข้อความแผ่นพลับ (หนึ่งนารีขี่ม้าขาว) ไปแจก รอบวัด ให้คนข้างวัดรับรู้ให้ทั่วถึง ให้นักการเมืองรู้ข่าว ความศรัทธา ต่อพระสงฆ์ และพระพุทธศาสนา ความสามัคคีของประชาชนในชาติจะกลับคืนมาทันที ศัตรูทางศาสนาจะไม่สามารถแตะต้องได้ นี่คือจุดประสงค์ ของพระศาสดา และ พระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท