ตำนานพระศรีอาริย์กลางศาสนา ๒


 

มูลแหตุที่พระศรีอาริย์จุติ

พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ต้องจุติ หรืออวตารลงมาปรากฏตัวในรูปของมนุษย์ ในระหว่างจะเข้าสู่ท่ามกลางพระพุทธศาสนานี้ (นารายณ์ปางที่ 10 ) ก็เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ

1. เหตุด้วยกรรมวิบากที่พระศรีศากยมุนีโคดม กับพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ได้สร้างบารมีผูกเวรกันมาในอดีตชาติ
2. เหตุด้วยจะสนธิศาสนาพระโคดม กับพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าให้สัมพันธ์สืบต่อไปในอนาคต
3. เหตุด้วยจะเปิดเผยบารมีทั้งหลาย มีทานบารมีและศีลบารมี เป็นต้นให้ปรากฏแก่โลก เพื่อประวัติศาสตร์และตัวอย่างแก่มนุษย์ในเรื่องพุทธภูมิ เหมือนดังพระเวสสันดรโพธิสัตว์ได้กระทำไปแล้ว
4. เหตุด้วยจะบำราบปราบอธรรม คือคนชั่วร้าย ให้กลับตัวและวางศีลธรรมอันวิเศษให้แก่โลกใหม่ ในทำนอง กฤตยุคซึ่งบริบูรณ์ด้วยศีลธรรมโพ้น
5. เหตุด้วยจะสงเคราะห์ฝูงมนุษย์ที่ยากไร้อนาถา ด้วยสมบัติบรมจักร เพื่อให้มนุษย์สมบูรณ์พูนสุข ด้วยเครื่องอุปโภค บริโภคสม่ำเสมอกัน
6. เหตุจะชำระสะสางความมัวหมองของบรรดาพุทธบริษัท ซึ่งกำลังเสื่อมชำรุดหรือกิ่วคอดเหมือนคอสากอยู่นี้ให้เจริญถาวรสืบต่อไปจนสิ้นสุดพระพุทธศาสนา
7. มูลเหตุกรรมวิบาก ซึ่งได้ผูกเวรสืบกันมาในอดีตชาตินั้น ปรากฏชัดในตำนาน อธิษฐานดอกบัวกล่าวไว้ดังนี้

องค์พระเมตไตรยต้องบุรพกรรม


สมัยหนึ่ง ที่องค์พระเมตไตรยต้องบุรพกรรม มาเกิดเป็นนางยักษ์ รูปร่างร้ายอยู่ในป่า องค์พระ โคตมะกำลังบำเพ็ญบารมีอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเอราวดี ด้วยสัพพัญญุตญาณทราบว่า นางยักษ์นี้ได้ก่อสร้างบารมี 30 ทัศมามากมาย แต่เพราะผลกรรมที่กระทำกาเมสุมิจฉาจารกับภรรยาผู้อื่น จึงมาเกิดเป็นนางยักษ์ชาตินี้ พระองค์จึงเสด็จมาโปรด นางยักษ์แลเห็นลักษณะอันประเสริฐ จิตเลื่อมใสก้มลงกราบ เมื่อองค์พระโคตมะตรัสเทศนาพระธรรม นางยักษ์ปลงใจเด็ดขาด ตัดเอาเต้านมทั้งสองถวายเป็นพุทธบูชา อานิสงส์นางยักษ์ตัดเต้านมทั้งสองมากระทำสักการบูชาพระตถาคตครั้งนั้น ส่งผลให้นางยักษ์พ้นจากอิตถีเพศ คือ ท่านจะเกิดเป็นหญิงแต่เพียงชาติเดียวเท่านั้น นางยักษ์นี้ได้สร้างพุทธวิริยบารมีมาถึง 80 อสงไขยกัป คือ ปรารถนาอยู่ในใจถึง 36 อสงไขยกัป ลั่นวาจาว่า จะเป็นพระพุทธเจ้าอีก 28 กัป

และในกาลก่อน พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า "
มหุตชินสีห์" ได้ทรงพยากรณ์ว่า "ท่านจะเวียนว่ายตายเกิดสืบต่อไปอีก 16 อสงไขยกัป ก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย ในอนาคตกาล" และในท่ามกลางพระพุทธศาสนาของพระพุทธโคดม ท่านจะมาช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองไปจนตลอด 5,000 ปี

กาลต่อมา ในชาติหนึ่งที่พระเมตไตรยมาเกิดเป็นมนุษย์ชาวไร่ กระทำไร่เลี้ยงชีวิตอยู่ริมภูเขา ตักกคีรี ซึ่งเป็นภูเขาเดียวกับที่ฝูงลิงถ่ายอุจจาระใส่ผ้าอาบของพระพุทธเจ้านั้นเอง ขณะที่เมตไตรยกระทาชายวิ่งไล่ขับฝูงลิงที่ลงมากินแตงโมในไร่นั้น
ก็เลยวิ่งเลยถลำ ไปเหยียบเอาพระฉาย คือ เงาของพระพุทธเจ้าโดยไม่ทันสังเกต เมื่อเหลียวมาพบพระโคตมะ จิตเลื่อมใสศรัทธา จึงนำเอาแตงโมมาถวาย 7 ลูก แต่มีลูกหนึ่งที่รอยหนูกัดเป็นโพรง กุศลผลทานครั้งนั้น จะส่งท่านมาเกิดเป็นพระยาจักรพัตราธิราชอันประเสริฐ ในท่ามกลางศาสนาของพระตถาคต และจะช่วยสังคายนา ชำระสะสางพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป ศาสนาของพระพุทธโคดมจะปกแผ่ไปทั่วทั้งเมืองคนขาว เมืองคนเทา ปกแผ่ไปทั่วโลก ส่วนวิบากกรรมที่ท่านได้เหยียบเงาพระตถาคตนั้น เมื่อท่านได้มาเกิดเป็นมนุษย์จะมีรูปร่างหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ บนศรีษะก็จะมีรอยแผลเป็น ดุจดังรอยหนูเจาะแตงโม แต่ในภายหลัง ท่านจะมีผิวพรรณวรรณะ สวยสดงดงามดั่งเทพบนสวรรค์ เพราะได้บริโภคของทิพย์ ของพระอิศวรเทพเจ้า

ตามบุรพกรรมสัญญาที่มาระหว่างองค์พุทธที่ 4 และองค์พุทธที่ 5 ทำให้องค์พระเมตไตรยโพธิสัตว์ จะต้องมาช่วยสืบอายุพุทธศาสนาของพระพุทธโคดม จวบจนครบพุทธกาลดั่งนี้แล และในระหว่างกาลแห่งการรักษาศาสนจักร อาณาจักรแห่งองค์พุทธที่ 4 จะอยู่ในนามว่า "ภายใต้รังสีพระศรีอาริยเมตไตรย" เพราะอำนาจสิทธิแห่งวงศ์ศาสนจักรยังเป็นขององค์พุทธที่ 4 แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น
อดีตกรรม


เอกัง สะมะยัง ในสมัยหนึ่งพระพุทธโคดมได้เสด็จเลียบมาถึงแม่น้ำสายหนึ่ง ในแคว้นสุวัณณภูมิ ซึ่งไหลผ่าน ภูเขาตักกคีรี พระองค์ลงสรงน้ำเรียบร้อยแล้ว ก็เอาผ้าอาบตากไว้บนฝั่งแม่น้ำ จึงเสด็จขึ้นประทับอยู่บนภูเขาลูกนั้น มีลิงแม่ลูกอ่อนฝูงหนึ่งอุ้มลูกออกจากชายป่า พลันก็ถ่ายอุจจาระของมันลงบนผ้าอาบของพระองค์ ซ้ำเอาหว่านเล่นเสียเลอะเทอะ คงเหลืออยู่ชายเดียว ณ บัดนั้นก็ได้มีนกยางปอน (นกยางขาว) ตัวหนึ่งบินมาจับลงที่ศรีษะของแม่ลิงตัวหนึ่ง แล้วก็เหลียวหน้ามองไปโดยรอบทั่วทุกทิศ ในทันใดรัศมี ซึ่งเป็นสีต่าง ๆ ได้พุ่งปราดออกจากพระเขี้ยวทั้งสี่ของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ผู้อุปัฏฐาก จึงทูลถามเหตุการณ์อันประหลาดนั้น พระองค์ทรงตรัสพยากรณ์ว่า:-

"ดูก่อนอานนท์ ผ้าอาบของตถาคต ได้แก่ ศาสนาที่ตถาคตวางไว้ ลิงแม่ลูกอ่อนที่มาถ่ายมูลเลอะเทอะหมดถึง 3 ชายนั้น ได้แก่ กองทัพ ซึ่งจะมารบราฆ่าฟันกันตาย เหลือที่จะคณานับ ศาสนาของตถาคตจะเสื่อมทรุดไปถึง 3 ใน 4 ส่วน คงค้างอยู่แต่เพียงส่วนเดียวและนกยางขาวที่บินมาจับหัวแม่ลิงนั้น คือ พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ จะมาปราบอธรรม และช่วยสืบอายุศาสนาของตถาคต เริ่มตั้งแต่ 2,500 ปีขึ้นไป จนครบ 5,000 ปี"


พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์กับตถาคต ได้สร้างกรรมกันไว้ในอดีตชาติพระองค์ทรงบรรยายต่อ ในชาติอันหนึ่งเราทั้งสองเป็นสหายกัน ได้เอาดอกบัวคนละดอกเข้าไปอธิษฐานกันในวิหาร ถ้าใครจะได้เป็นพระพุทธเจ้าก่อน ก็ขอให้ดอกบัวของผู้นั้นบานก่อนในวันรุ่งขึ้นพระตถาคตได้เข้าไปดูดอกบัวนั้นแต่ยังไม่ทันสว่างแจ้งเห็นดอกบัวพระเมตไตรยบานก่อน ด้วยความที่อยากเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพระเมตไตรย จึงลักเปลี่ยนดอกบัวของพระเมตไตรยมาไว้ที่พระตถาคต สับเปลี่ยนกันเสีย เมื่อพระเมตไตรยเข้าไปดูภายหลัง เห็นพระตถาคตลักเปลี่ยนเช่นนั้นจึงทำนายว่า โอ! สหาย ท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าก่อนเราจริง แต่ทว่าฝูงมนุษย์ในยุคนั้นจะเป็นคนขี้ลักขี้ล่ายและใช้เงินดำ เงินแดง เงินกระดาษ กันอย่างพร่ำเพรื่อ มนุษย์จะไม่ซื่อสัตว์ต่อกัน จะทุจริตคิดมิชอบนานาประการ ฯลฯ เพราะกรรมที่ท่านได้สับเปลี่ยนดอกบัวของเราในครั้งนี้

พระพุทธเจ้าทรงเล่าอดีตนิทานจบแล้ว จึงพยากรณ์เหตุการณ์สืบต่อไปอีก

เมื่อพระเมตไตรยโพธิสัตว์จะมายกย่องศาสนาของพระตถาคตนั้น จะมีสรรพวัตถุทั้งหลายบังเกิดขึ้นแก่โลก อย่างแปลกประหลาดเหลือจะคณานับ ทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์นานาชนิด ก็จะไม่ได้ปั่นและทอด้วยมือเหมือนดังในศาสนาของตถาคต จะมีแต่ผ้าเนื้อบริสุทธิ์ ฝูงมนุษย์เขาจะไม่ติเตียนว่าป็นขี้หูขี้ตาเขาเท่าจะวัดวา (วัดหลาและเมตร) ก็จะมีในยามนั้น แม่หญิงจะนุ่งซิ่นเสื้อลายเหมือนหนังแย้ จะนุ่งเสื้อผ้าแขนกุดขาก้อม หญิงชายจะนุ่งผ้าเป็นอย่างเดียวกัน จะว่าชายก็บ่จริง จะว่าหญิงก็บ่แม่น แม่หญิงจะหวีผมปกหน้า จะใส่ต่างหูยาวง้ำหน้า พ่อชายจะใส่หมวกหุ้มหน้า (หมวกทำนองคาวบอย) สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็จะได้รู้ สิ่งที่ไม่เคยเห็นก็จะได้เห็น พร้อมด้วยบุรพนิมิตอันชั่วร้ายต่างๆ ก็จะบังเกิดแก่โลกมากมายยิ่งนักดังนี้

1. ราชภัย, ท้าวพระยาจะบังคับเบียดเบียนพลเมือง
2. โจรภัย, จะบังเกิดโจรผู้ร้ายปล้นสะดมทั่วไป
3. อัคคีภัย, ไฟจะไหม้บ้านเมืองไม่ขาดสาย
4. อสุนีบาต, ฟ้าจะผ่าสัตว์และคนล้มตายบ่อยๆ
5. เมทนีภัย, แผ่นดินจะไหวสะท้านไม่ขาดสาย
6. วาตภัย, จะเกิดลมร้ายพัดบ้านเมืองพินาศ
7. อุทกภัย, น้ำท่วมบ้านเมืองและเรือกสวนไร่นา
8. ทุพภิกขภัย, จะเกิดข้าวยากหมากแพงและอดอาหาร
9. พยาธิภัย, จะเกิดโรคระบาดคนและสัตว์ล้มตาย
10. สัตถภัย, จะรบราฆ่าฟันกันล้มตายร้ายแรง

ในขั้นสุดท้าย แผ่นดินจะไหวเดือนละหลายครั้ง จะมีสุริยคราสหรือจันทรคราสบ่อยครั้ง จะเห็นผีพุ่งไต้บ่อยๆ ดาวหางและแสงประหลาดจะบังเกิดให้เห็นไม่ขาดระยะ จะได้ยินเสียงดังในอากาศคล้ายระเบิดและปืนใหญ่ แร้งกาจะลงบินเกาะบ้านเมืองอย่างผิดธรรมดา ฝูงมนุษย์จะเดือดร้อนและขวักไขว่กันไปมา จะบังเกิดสงครามฆ่าฟันกันตายเหมือนใบไม้ร่วงไปทุกหนทุกแห่ง

ครั้นแล้ว จะมีคนหัวขาวหนวดยาว ขี่ม้าขาวเหาะลอยลงมายังท่ามกลางนครเชียงใหม่ นั่นคือองค์พระเมตไตรยโพธิสัตว์มาปรากฏเป็นที่พึ่งแก่โลกแล้ว
 

 

หมายเลขบันทึก: 154059เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มีที่ยาวกว่านี้มั้ยอ่ะคะ

เเบบว่าต้องทำรายงานอ่ะค่ะ

มีมั่ยพอเรย ย

ทำอย่างไรถึงจะได้ไปเกิดใน ยุค ของพระศรีอริยะเมตไตรย

อยากฟังธรรม จากท่าน อยากบรรลุธรรม

เกิดชาติหน้าฉันใดขอให้ได้พบพระศรีอริยะเมตไตรย ไม่จะเกิดเป็นไร ก็ตาม เป้นมนุษย์ สัตว์ หรือ อะไรก็ตาม ขอเราได้พบพระบรมโพธิสัว์ พระศรีอริยะเมไตรด้วยเถิด !

ข้อความถึง : พุทธศาสนิกชนทุกท่าน

นิพพาน นั้น คืออะไร

"ผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นมีอยู่ ผู้นั้นย่อมไปได้ไม่ถึงนิพพาน

แต่หากผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นไม่มีอยู่ ก็จะหาทางเข้าสู่นิพพานไม่ได้

นิพพานนั้นไม่มี เราสมมุติชือมันว่า...นิพพาน"

"ทำดีอย่ายึดติดผลของความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด (หมายถึงชั้นพรหมและเทวดา)

ไม่ทำความชั่ว ก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ หนทางนี้แล..ดับขันธ์..นิพพาน"

ประกาศเตือน : 2552

โลกกำลังวุ่นวาย จงอยู่กันอย่างสงบ

รักษาศีล 5 ให้มั่น แล้วรอวันฟ้าใส

เราจะพาพวกเจ้าข้ามกาลียุค และมหันตภัย

ก้าวสู่อารยธรรมใหม่ ในโลกของ....ศรีอารย์

ศึกษา มรรค์มีองค์ 8 ให้ดี แล้วรอคำบอกกล่าวจากข้า

เจ้าจักบรรลุ... อรหัตตผล ในพริบตา

"ผลของบุญ.. ก็คือ บาปที่ยังไม่ได้ทำ

ผลของกรรม.. สิ่งที่ยังไม่ได้ทำคือ (อภัย) ทาน"

การกลับมาของข้า.....เอหิภิกขุอุปสัมปทา

พุทธะ เรียกข้าว่า....อริยะ...เมตไตย

ธรรมรักษา..ทุกท่่านทุกคนเทอญ

(อชิตะเถระ ....พระนารายณ์)

เรียน พุทธศาสนิกชนทุกท่าน

เรื่อง ติดต่อขอรับหนังสือ

ขอเชิญพุทธศาสนานิกชนทุกท่าน ติดต่อขอรับหนังสือ พุทธศาสนา

( พระศรีอริยเมตไตย ) เพื่อใช้เป็นหลักในการปฎิบัติธรรม อริยสัจ ๔

มรรคมีองค์ ๘ เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางเข้าสู่นิพพาน

และหลักการที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา

ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ คุณจิ๋ม หมายเลขโทรศัพท์ 086-9705523

หลัง 18.00 น

และร่วมบริจาคเพื่อเป็นค่าจัดทำหนังสือเพื่อแจกจ่ายให้แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาประตูน้ำพระอินทร์

เลขที่บัญชี 146 – 2 – 87888 – 1

และร่วมอนุโมทนาความดีนี้ได้ที่ [email protected] (เราจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว)

จงอดโทษให้เขา ก่อนเราจะร่วมมือ

จงเป็นผู้ให้ ก่อนจะถูกใช้คำว่า ยืม

จงเป็นคนไม่ลืม จะได้เลิกแสวงหา

ท่านทั้งหลายจะได้รู้จักใจที่เป็น อนัตตา

ที่ท่านชอบพูดว่า....... ไม่มีตัวตน

ธรรมรักษาทุกท่าน ทุกคนเทอญ

ศรีอารย์

ปล. อยากเจอเรา จงอย่าตามหาเรา ผู้ใดเห็นธรรม......ผู้นั้นย่อมได้เห็นเรา

ประกาศเตือน : 2553

โลกกำลังวุ่นว่าย จงอยู่กันอย่างสงบ

รักษาศีล 5 ให้มั่น แล้วรอวันฟ้าใส

เราจะพาพวกเจ้าข้ามกาลียุคและมหันตภัย

เข้าสู่อารยธรรมใหม่ในโลกของศรีอารย์

โอวาทปาฎิโมกข์

การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การเป็นคนดี มีศีลธรรม

การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การเป็นตัวอย่างที่ดี และสอนคนเป็นคนดี

การชำระจิตชองตนให้ขาวรอบ คือ การมองโลกในแง่ดี

ธรรม 3 อย่างนี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

“เพราะฉะนั้น จงคิดดี พูดดี ทำดี มองโลกในแง่ดี

และที่สำคัญ ทำแต่พอดี นี่แหล่ะ มรรคมีองค์ 8 หรือ ทางสายกลาง

“ทำความดีอย่ายึดติดผลของความดี

ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด (หมายถึง ชั้นเทวดาและชั้นพรหม)

ไม่ทำความชั่วก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ

หนทางนี้แล ดับขันธ์นิพพาน”

“ไม่ว่าจะแต่งกายแบบใดเป็นผู้มีความสำรวม กาย วาจา ใจ

ซื่อสัตย์ ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร

รักษาสัจจะ ผู้นั่นเป็น ภิกษุ เป็น สมณะ”

แด่ผู้ไม่รู้ทั้งหลาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย จะกลายเป็นเรื่องธรรมดา

ความโศกเศร้าเป็นโมฆะ เพราะธรรมมะสอนคนได้

ความร่ำไรจางหาย เพราะได้สวดมนต์คู่ลูกชาย

ความไม่สบายใจสูญหาย เพราะลูกได้ผ้าเหลืองห่มกาย

ความไม่สบายใจสละสิ้น เพราะมีลูกเป็นครูสอนศาสนา

ทุกข์เบื้องนี้ไม่มีอีกแล้ว เพราะได้ชุบเลี้ยงสาวกของศาสดา

ทุกข์เบื้องหน้าไม่รอ เพราะมีพระอรหันต์เดินนำหน้า

ธรรม...จะนำพา พ่อแม่เจ้าเข้านิพพาน

“ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้พ่อแม่หมดทุกข์ได้แล้ว เท่ากับการที่ท่านได้เลี้ยงลูกคนหนึ่งให้เป็นคนดี

และไม่มีอะไรที่ดีกว่า เท่ากับ การที่ลูกเป็นคนดีและสอนคนอื่นให้เป็นคนดีตามไปด้วย”

“รู้จักที่จะมองโลกในแง่ดี และมีไมตรีต่อผู้อื่น”

“ต่ออายุให้โลกใหม่ ด้วยการใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

ธรรมะรักษาทุกท่านทุกคนเทอญ

การกลับมาของข้า....เอหิภิกขุอุปสัมปทา

พุทธะ...เรียกข้าว่า....อริยะ..เมตไตย

( นารายณ์... ผู้รักษา)

อริยสัจ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ)

๑. ทุกข์ ...ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่

สบายใจต่าง ๆ เพราะเป็นของทนได้ยาก

๒. ทุกขสมุทัย ..สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ได้แก่ตัณหาความทะยานอยาก

๓. ทุกขนิโรธ ..นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหาได้หมดสิ้น

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา... มรรค คือ ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่มรรค์มีองค์ ๘

ความทะยานอยาก หมกมุ่นในกามคุณ ๑

การปฏิบัติเพื่อทรมาณหรือเบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่นให้เดือนร้อน ๑

...การกระทำทั้งสองอย่างนี้ ...มิใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์

“บุคคลผู้มีสติ ยังไม่พ้นเวร การควบคุมสติเพื่อให้เกิดปัญญารู้ชัดตามสภาวะ

ธรรมที่แท้จริง จึงได้ชื่อว่า ผู้พ้นบ่วงแห่งมาร”

“ม้าพันธุ์ดี..โดนแส้เพียงแค่ครั้งเดียว ย่อมวิ่งแล่นไปถึงเส้นชัย

บุคคลผู้รู้การเกิดนี่เป็นทุกข์เพียงแค่ครั้งเดียว ย่อมเข้าถึง..นิพพาน”

โลกุตระธรรม ทั้ง ๙

นิพพาน นั้นคืออะไร

ผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นมีอยู่ ผู้นั้นย่อมไปได้ไม่ถึงนิพพาน

แต่หากผู้ใดกล่าวว่านิพพานนั้นไม่มีอยู่ ก็จะหาหนทางเข้าสู่นิพพานไม่ได้

นิพพานนั้นไม่มี เราสมมุติชื่อมันว่า นิพพาน

นิพพาน นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

ธรรมทาน อามิสทาน อภัยทาน

ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ

พรหมโลก เทวโลก มนุษย์ อบายภูมิ

ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ คือ ร่างกายเรา

อากาศธาตุ คือ อากาศรอบตัวเรา

วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้

ธรรมทาน นั้นมีอานิสงส์สูงสุด เวลาตัวเราแสดงธรรม (ตัวเรา หมายถึง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ)

ธาตุที่ออกจากกายเรานั้นคือ ธาตุลม เมื่อธาตุลม ออกมาจากร่าง ก็สลายตัวออกไปกับอากาศธาตุ ธรรมนั้นก็กลายเป็นอนัตตา นั้นหมายความว่า สภาวะโลกกับสภาวธรรมนั้นย่อมไปในทางเดียวกัน ท้าวเวชสุวรรณมีสมุดบันทึกบัญชีอยู่เล่มหนึ่ง ด้านหนึ่งบันทึกความดี อีกด้านหนึ่งบันทึกความชั่วของคนๆ หนึ่งไว้ เมื่อธรรมกลายเป็นอนัตตา หรือสลายตัวไปในบรรยากาศโลก วิญญาณที่เป็นตัวรู้ก็ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังสมุดบันทึกบัญชีของท้าวเวชสุวรรณได้ เมื่อตัวเราตายไป ก็สลายตัวกลับสู่สภาวะโลก (คือการสลายตัว ของธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) เมื่อวิญญาณไม่มีธาตุตัวรู้ที่จะไปเกิดยังภพภูมิต่างๆ วิญญาณนั้นก็ดับลง เมื่อวิญญาณดับลง จิตก็ดับตาม นี่คือวิธีการที่พระพุทธเจ้าใช้ในการเข้าสู่นิพพาน คือ การใช้จิตที่บริสุทธิ์และวิธีการสั่งสอนคนเพื่อให้เป็นคนดีนั่นเอง เป็นการส่งต่อระหว่างขันธ์ต่อขันธ์ เพราะสุดท้ายทุกคนย่อมตายเหมือนกัน

นี่คือวิธีการที่ลบรูปลบนาม ดับสนิทไม่มีส่วนเหลืออย่างแท้จริง

สุดท้ายก็กลายเป็นการหลับสนิท ไม่ตื่นขึ้นมาพบกับความทุกข์อีก

เปรียบเหมือนเวลาที่เราอยู่เฉยๆ โดยไม่ได้ทำอะไร เมื่อเราไม่ทำความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้เราไปเกิด (หมายถึง ภูมิของชั้นเทวดาและชั้นพรหม) หากเราไม่ทำความชั่ว ก็ไม่ตกไปยังอบายภูมิ แต่จะทำอย่างไรเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าก็เลยให้เราอยู่โดยการเดินทางตามมรรคมีองค์ ๘ ก็คือทางแห่งการพ้นทุกข์

๑. ความเห็นถูกต้องที่จะเดินตามอริยสัจ ๔ (มรรคมีองค์ ๘)

๒. ความดำริชอบ

* ในการออกจากกาม

* ในการไม่มุ่งร้าย

* ในการไม่เบียดเบียน

๓.การพูดจาชอบ

* ไม่พูดเท็จ

* ไม่พูดคำหยาบ

* ไม่พูดส่อเสียด

* ไม่พูดเพ้อเจ้อ

๔. การทำการงานชอบ

* เว้นจากการฆ่าสัตว์

* เว้นจากการลักทรัพย์

* เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๕. การเลี้ยงชีวิตชอบ

* ความซื่อสัตย์สุจริต

๖. ความพากเพียรชอบ

* ความเพียรที่จะเผากิเลส

๗. ความระลึกชอบ

* ความรู้ที่มีสิ่งกระทบ แล้วถอนความพอใจและไม่พอใจออกเสีย

๘. ความตั้งใจมั่นชอบ

* นั่นคือ สมาธิ

ในอริยมรรค ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ นั้นทำความเข้าใจง่าย (ก็คือศีลมาตรฐาน หรือ ศีล ๕ และสติปัฎฐาน ๔ ) ส่วน อริยมรรค ๖ ๗ และ ๘ ที่จะอธิบายต่อไปนี้ ก็คือ มหาสติปัฏฐานสูตร นั่นเอง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ ระหว่างสติปัฏฐาน ๔ กับมหาสติปัฏฐานสูตรก่อน ว่ามันต่างกันอย่างไร

สติปัฏฐาน ๔ คือ การรู้ว่าตัวเรารู้สึกอย่างไร

มหาสติปัฏฐานสูตร คือ สิ่งใดที่เข้ามากระทบกับตัวเราแล้วทำให้เรารู้สึกสุขหรือทุกข์

สติปัฏฐาน ๔

กาย สุข หรือ ทุกข์ อุเบกขา

เวทนา สุข หรือ ทุกข์ อุเบกขา

จิต กุศลหรืออกุศล อุเบกขา

ธรรม กุศลหรืออกุศล อุเบกขา

มหาสติปัฎฐานสูตร

กายในกาย

เวทนาในเวทนา

จิตในจิต

ธรรมในธรรม

เป็นการจับคู่ของอายตนะภายนอกซึ่งส่งต่อมายังอายตนะภายใน (อาการ 12) ซึ่งทำให้เราเห็นจิตที่เป็นกุศลและอกุศลอย่างชัดเจน

อายตนะ ๑๒ คือ

ตา สิ่งที่มากระทบคือ รูป

หู สิ่งที่มากระทบคือ เสียง

จมูก สิ่งที่มากระทบคือ กลิ่น

ลิ้น สิ่งที่มากระทบคือ รส

กาย สิ่งที่มากระทบคือ สัมผัส

ใจ สิ่งที่มากระทบคือ อารมณ์

มหาสติปัฏฐาน ๔ จะเปรียบเทียบถึงอาหารจานหนึ่งให้ฟัง

รูปไม่สวยแต่อาหารอร่อย รูปสวยแต่อาหารไม่อร่อย

รูปไม่สวยอาหารก็ไม่อร่อย รูปสวยอาหารก็อร่อย

จะเปรียบเทียบ ในสูตรของรูปไม่สวยแต่อาหารอร่อยให้พิจารณา

เมื่อเราเข้าไปร้านอาหารร้านหนึ่ง เมื่ออาหารมาอยู่ตรงหน้า กับมองเห็นรูปที่ไม่สวย (หมายถึงทำไม่น่ากิน) เกิดสัมผัสแรกคือทางตา ทำให้จิตเราคิดไปว่า ทำไม่น่ากินคงจะไม่อร่อย แต่เมื่อเราลองกินเข้าไปแล้ว อาหารกับอร่อย ซึ่งไม่เหมือนกับ ความรู้สึกแรก นั่นคือการที่เราไปปรุงแต่งรูป ทำให้เกิดทุกข์ แต่เมื่อเรากินข้าวไปแล้ว ลิ้นเมื่อลองรสแล้วรู้สึกอร่อย ก็เปลี่ยนเป็นความรู้สึกทางด้านความสุข เพราะฉะนั้นเราจะเห็นการพิจารณากายในกาย ก็คือ ตาทำหน้าที่ปรุง

แต่งด้านทุกข์ ส่วนลิ้นทำหน้าที่รับความสุข สุขและทุกข์นั้นแหละ คือเวทนาในเวทนา จิตสองตัวก็จะทำหน้าที่สลับกัน คือสุข ก็คือกุศล และทุกข์ ก็คืออกุศล จิตที่เป็นกุศลและอกุศลนั้นแหละก็คือ ธรรมในธรรมและนี่คือ มรรค ๗ (ความระลึกชอบ) ก็คือ ฝ่ายหนึ่งคือความพอใจ อีกฝ่ายหนึ่ง คือความไม่พอใจ เราจึงถอนความพอใจ และความไม่พอใจออกพร้อมกันในคราวเดียว ชี้ให้เห็นว่าการที่เราเอาจิตไปสัมผัสอะไรสักอย่าง มันจะต้องมีทั้งสุขและทุกข์ คือเราจะรู้สึกทุกข์และเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (ซึ่งเราเป็นผู้ปรุงแต่งมันทั้งสิ้น)

* แต่เมื่อเรา เจอทั้งรูปสวยและอาหารอร่อย ก็คือ เป็นกุศลทั้งสองฝั่ง เราควรพอกพูนอาการนั้นไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นยากในโลกใบนี้

* แต่เมื่อเรา เจอรูปไม่สวยแต่อาหารอร่อย ก็คือ ฝึกให้เราไม่ปรุงแต่งทางตา เพราะเอตักตา หรือตัวรู้นั้นมีให้รู้ว่า เนื้อแท้ของสิ่งๆ นั้นคืออะไร คือคุณค่าที่แท้จริงของอาหาร คือ ความอร่อยและประโยชน์ที่ได้รับ

* แต่เมื่อเรา เจอรูปสวยแต่อาหารไม่อร่อย (โดยจิตปกติของมนุษย์จะคิดว่า เมื่อรูปสวยอาหารต้องอร่อยแน่ นั่นแหล่ะ ! ที่เราเรียกว่าการยึดมั่นถือมั่นในรูป) แต่เพียงแค่เราเข้าไปลองชิมครั้งเดียว เราก็ไม่อยากเข้าอีก (แต่ก็ยังคงมีคนหลงในรูปเข้าไปกิน แต่ไม่นานร้านนี้ก็จะถูกปิด)

* แต่เมื่อเรา เจอทั้งรูปไม่สวยและอาหารไม่อร่อย ร้านนั้นจะถูกปิดในไม่ช้า นั้นหมายถึง เป็นอกุศลทั้งรูปและนามและนี่คือ มรรค ๖ (ความเพียรชอบ) ที่จะละอกุศลธรรมที่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น และประคองกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นหลักพุทธศาสนาที่ถูกก็คือ ให้เราอยู่กับสิ่งดี แล้วหลีกเลี่ยงในสิ่งที่ไม่ดี ดั่งปรากฏในมงคล ๓๘ ว่า

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ บูชาคนที่ควรบูชา ๑

อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ๑ ทำความดีไว้ให้พร้อม ๑ ตั้งตนไว้ในที่ชอบ ๑

เล่าเรียนศึกษามาก ๑ มีความชำนาญในวิชาชีพของตน ๑ มีระเบียบวินัย ๑ รู้จักใช้วาจาให้ได้ผลดี ๑

บำรุงบิดามารดา ๑ สงเคราะห์บุตร ๑ สงเคราะห์ภรรยา ๑ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ๑

บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์ ๑ ดำรงอยู่ในศีลธรรม ๑ สงเคราะห์ญาติ ๑ อาชีพสุจริต

กิจกรรมที่มีประโยชน์ ๑

เว้นจากความชั่ว ๑ เว้นจากสิ่งเสพติด ๑ ไม่ประมาทในธรรม ๑ รู้จักคุณค่าบุคคลและสิ่งของ ๑ ความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ๑ ความสันโดษพึงพอใจในผลสำเร็จและปัจจัยที่หามาได้ด้วยความพยายามของตนเองโดยชอบธรรม ๑ มีความกตัญญู ๑ หาโอกาสฟังธรรมแสวงหาหลักความจริง ๑

มีความอดทน ๑ เป็นผู้ว่านอนสอนง่ายฟังเหตุผล ๑ พบเห็นสมณะเข้าเยี่ยมเยียน ๑ สนทนาธรรมตามกาลเวลา ๑

รู้จักควบคุมตนเอง ๑ ประพฤติพรหมจรรย์ ๑ รู้แจ้งอริยสัจสี่ ๑ ทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑

ถูกโลกธรรมจิตไม่หวั่นไหว ๑ จิตไร้เศร้า ๑ จิตปราศจากธุลี ๑ จิตเกษม ๑

นี่เป็นมงคลอันอุดม เทวมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นนี้แล้วย่อมเป็นผู้ไม่ปราชัยในทุกสถาน ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง นี้คืออุดมมงคลของเทวมนุษย์เหล่านั้น

เหมือนกับการที่ท่านให้เราเพ่งน้ำ เพื่อให้เกิดสมาธิ แต่หลายคนเพ่งก็อยากมีอิทธิฤทธิ์ แต่แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าให้เราฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน ซึ่งจะยกตัวเองขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐานต่อไป คือเมื่อเรามองดูน้ำแล้ว ก็ให้เรารู้ว่าประโยชน์ของน้ำนั้นใช้ดื่มกิน พระพุทธองค์ไม่ให้เราเอาเศษขยะและถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงในแม่น้ำลำคลอง เพราะจะทำให้น้ำสกปรก พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เราใช้เครื่องกรองน้ำ เพื่อกรองเอาสิ่งสกปรกออกจากน้ำให้เราดื่มกิน นั่นหมายถึงท่านให้เรานำสิ่งที่ดีเข้าตัว แล้วกรองนำสิ่งที่ชั่วออกไป พระพุทธองค์ไม่เอาสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศลให้ปนเปื้อนกัน และการแยกแยะเหล่านี้แหล่ะคือที่มาของศีล

เพราะแท้จริงแล้ว การรักษาศีลหรือพรหมจรรย์ คือความปกติที่ดีของชีวิต โดยมีหิริโอตตัปปะ (ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป) เป็นตัวสติ (ความระลึกรู้) เพื่อไม่ให้เราละเมิดศีล ซึ่งเปรียบเหมือนรั้วกั้นไม่ให้เราไม่ตกไปในที่ชั่ว (อบายภูมิ)

“ศีล เป็นเยี่ยมที่สุดในโลก”

อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ๑

อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้ ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยเดาเอาเอง ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยคาดคะเน ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยความตรึกตามอาการ ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยชอบใจว่าต้องกับทิฐิของตัว ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ๑

อย่าได้เชื่อถือ โดยความนับถือว่าสมณะนี้คือครูของเรา ๑

เมื่อใด พึงรู้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษเป็นต้นแล้ว

จึงควรละหรือเข้าถึงธรรมนั้น

ต่อไปเราจะใช้อริยมรรค ๖ และ ๗ ทำให้เกิดอริยมรรค ๘ นั่นคือฌานทั้ง ๔ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖ กรรมฐาน

ฌาน ๑ ปฐมฌาน วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข

ฌาน ๒ ทุติยฌาน ปิติ สุข

ฌาน ๓ ตติยฌาน วางเฉย สติ ปกติ แสวงสุขด้วย นามกาย (ความสุขใจ)

ฌาน ๔ จตุตถฌาน เพราะละสุข ละทุกข์เสียได้

เพราะรู้ว่าธรรมชาติเป็นอย่างนั้น ประโยชน์ของมันคือสิ่งๆ นั้นกุศลธรรมในตัวมันคือสิ่งนั้น

๑.รู้จำแนกรูปและนาม

๒. รู้เหตุปัจจัยของรูปนาม

๓. พิจารณารูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์

๔. ตามเห็นความเกิดดับของสังขาร

๕. ตามเห็นความดับหลายของสังขาร

๖. เห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว

๗. เห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นทุกข์

๘. เกิดความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด

๙. ปรารถนาจะพ้นไปเสียจากสังขาร เหล่านั้น

๑๐. พิจารณามองหาอุบายออกจากทุกข์ (การมองโลกในแง่ดี)

๑๑. พิจารณาความวางเฉยโดยความเป็นกลาง

๑๒. หยั่งรู้ความวางเฉยความเป็นไตรลักษณ์

๑๓.ข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยะบุคคล ๑๔.ความหยั่งรู้ความสำเร็จของบุคคลในแต่ละขั้น

๑๕. ความหยั่งรู่ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยะบุคคลในขั้นนั้น . ๑๖. พิจารณาทบทวนกิเลสที่ละได้และกิเลส ที่เหลือ

ย้อนกลับไปในเรื่องการพิจารณาในเรื่องของอาหาร เราจะเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน ทั้งการปรุงแต่งทั้งรูปและนาม นั่นก็คือการจำแนกรูปและนามอย่างชัดเจน หรือฌาน ๑ ก็คือ วิตก วิจารณ์ การปรุงแต่งทางตา และการปรุงแต่งทางลิ้น การบรรลุธรรมนั้น ไวยิ่งกว่าแมลงกระพือปลีก เมื่อเราใช้การนำเอากุศลมาซ้อนทับอกุศลไม่ให้เกิด ก็คือให้พิจารณา ถึงแม้รูปจะไม่สวย แต่อาหารก็อร่อย นั้นคือตัวรู้ของประโยชน์ในสิ่งนั้นอย่างแท้จริง จะไม่สนใจในรูปเพราะเราเข้าใจธรรมชาติของมัน แล้วก็ละตัวรู้นั้น (เหมือนเมื่อเรากินอาหารเข้าไปแล้ว ในคำแรก รู้ว่ารสชาติมันอร่อย คำต่อไปก็ไม่ต้องพิจารณาอีก) ดั่งที่กล่าวมาข้างต้น ฌาน ๑ ถึง ๔ จะทำงานโดยอัตโนมัติ พร้อมกับวิปัสสนาฌานตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๖ ก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ เช่นกันกล่าวง่ายๆ ก็คือว่า การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ

ก็คือการมองโลกในแง่ดี อริยะอยู่ที่ใจ (มิใช่ที่ผ้า มันเป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น)

การไม่ทำบาปทั้งปวง ก็คือ การเป็นคนดี

การทำกุศลให้ถึงพร้อม ก็คือ เป็นตัวอย่างที่ดี และสอนคนเป็นคนดี

การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ก็คือ การมองโลกในแง่ดี

ธรรม ๓ อย่างนี้ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติคือความอดกลั้น, เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

ผู้รู้ทั้งหลาย, กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง,

ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,

การสำรวมในปาติโมกข์,

ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในการบริโภค,

การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,

ความหมั่นประกอบ ในการทำจิตให้ยิ่ง,

ธรรม ๖ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

นั่นคือโลกุตรธรรม ๘

ส่วนโลกุตรธรรม ๙ ก็คือ การที่เราเจอสิ่งที่ดีเป็นเรื่องปกติ และไม่ทำชั่วเป็นเรื่องปกติ ให้สิ่งที่ดีเป็นสิ่งปกติในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตของเรา จนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะรู้แจ้งแล้วว่ามีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีซ่อนอยู่ในตัวมัน ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัด จงทำความดีแต่พอดี ก็จะไม่ยึดติดผลของความดี อย่าทำจนกลายเป็นแข่งดี เสร็จแล้ว ก็มาทะเลาะกันว่าเราดีกว่า กลายเป็นพูดส่อเสียด ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอีก การที่ทำคนดีให้แตกแยกกันนั้น ถือว่าเป็นกรรมหนัก ตามหลักพุทธศาสนา ห้ามสวรรค์และนิพพาน จะเห็นได้ว่า แม้ความดีที่มนุษย์พากเพียรทำ ก็ยังเป็นกิเลสตัวสำคัญของมนุษย์

คิดดี พูดดี ทำดี มองโลกในแง่ดี ที่สำคัญทำแต่พอดี นั่นแหล่ะที่เราเรียกกันว่า ทางสายกลาง

โสดาบัน นั้นหมายถึง คนทำผิดและยอมรับผิด (ย่อมปิดอบายภูมิ)

สกิทาคามี นั่นหมายถึง เริ่มเลิกทำผิด แต่ยังพลาดไปบ้างเพราะยังขาดสมาธิในการควบคุมสติ

อนาคามี นั่นหมายถึง คนที่ดีแล้วแต่สอนคนอื่นไม่ได้ เทียบกับสมาธิค่อนข้างดี แต่ยังขาดปัญญา

ในการนำพาผู้อื่น

อรหันต์ นั่นหมายถึง คนดีที่สอนคนอื่นได้ เทียบกับสมาธิที่ดีเยี่ยม ประกอบกับปัญญา นำพาคน

หลุดพ้นข้ามอวิชชาไปได้

เมื่อคนที่ทำผิดแล้วยอมรับผิด ไม่นานเขาก็มีความละอายและความสำนึก สิ่งๆ นี้ เขาจึงต้องรู้จักควบคุมตัวเองและมีสมาธิที่ดีขึ้น และสุดท้ายเขาก็จะกลายเป็นอรหันต์ได้ในไม่ช้า

บุคคลละธรรม ๑๐ อย่างได้ควรเป็นอรหันต์

ความกำหนัดยินดี ๑ ความคิดประทุษร้าย ๑

ความหลง ๑ ความโกรธ ๑

ความผูกโกรธ ๑ ความลบหลู่บุญคุณท่าน ๑

ความตีเสมอ ๑ ความริษยา ๑

ความตระหนี่ ๑ ความถือตัว ๑

“ผมหงอก พรรษามาก ไม่ได้ทำให้เป็นพระเถระเพราะเพียงอายุมากอาจเรียกได้ว่า คนแก่เปล่า

ผู้ใดมีสัจจะ มีคุณธรรม อันมลทินครอบงำมิได้ จึงเป็น พระเถระ”

“ความดีเป็นเรื่องง่ายของ บัณฑิต แต่เป็นเรื่องยากของ คนพาล

คนพาลรู้ตัวว่าเป็นคนพาล ย่อมกลายเป็นบัณฑิตได้ เพราะเหตุนั้น

แต่ คนพาลที่คิดว่าตัวเองเป็นบัณฑิต เป็นคนโง่ โดยแท้ เพราะเหตุนั้น”

บรรดาทางทั้งหลาย...

มรรคมีองค์แปด ประเสริฐที่สุด

บรรดาบททั้งหลาย...

บทที่สี่ คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด

บรรดาธรรมทั้งหลาย…..

วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดี ประเสริฐที่สุด

บรรดาสัตว์สองเท้า…..

พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐที่สุด

มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์หาใช่ทางอื่นไม่

เธอทั้งหลายจงเดินไปตามมรรคมีองค์แปดนี้

อันเป็นทางที่ทำมารให้หลง ติดตามมิได้

เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฎิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป

“การให้ทานนั้นถือเป็นสิ่งที่ประเสริฐ แม้..บัณฑิต เทวดา พรหม พึงสรรเสริญบุคคลผู้ให้ทาน แต่มีสิ่งที่ประเสริฐกว่า นั้นคือ พระนิพพาน เพราะเป็นบรมธรรมอันสูงสุด การแสดงธรรมมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้บรรลุไปถึงจุดหมาย คือ นิพพาน ซึ่งเป็นไปเพื่อหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง”

“ ทำความดีอย่ายึดติด ผลของความดี ภูมิที่ดีก็ไม่มีให้ไปเกิด หมายถึง (ชั้นเทวดาและ

ชั้นพรหม) ไม่ทำความชั่วก็ไม่ตกลงสู่อบายภูมิ หนทางนี้แล....ดับขันธ์นิพพาน”

ศรีอารย์......

อภิญญา ๖ และ วิชชา ๘ ( ความรู้ยิ่ง )

ทิพพจักขุ ๑ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์) หมายถึงการที่เรามีความสามารถในการที่มองเข้าไปเห็นจิตใจของผู้อื่นได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราอยู่บนรถโดยสาร มีผู้โดยสารคนหนึ่ง ลุกจากที่นั่งเพื่อลงจากรถ ในขณะที่นั่งนั้นว่าง ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งกำลังที่จะเดินไปนั่ง แต่ผู้ชายคนหนึ่งกับไปแย่งที่นั่งของผู้หญิงคนนั้น ทำให้เราได้เห็น ความเห็นแก่ตัวของคนๆ นั้น

ทิพพโสต ๑ (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์) หมายถึงหากเราได้ยินคนๆ หนึ่งกำลังนินทาใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ทำให้รู้ว่าเขามีความอิจฉาริษยาผู้อื่น

เจโตปริยญาณ ๑ (ฌานที่กำหนดรู้ใจคนอื่นได้) หมายถึงสิ่งที่เราเห็นและเราได้ยิน สามารถรับรู้ว่าบุคคลคนนั้นมีนิสัยใจคออย่างไร โดยอาศัยการวิเคราะห์จากมลทิน ๙ อย่างคือ

( โกรธ ๑ หลบหลู่ ๑ ริษยา ๑ ตระหนี่ ๑ มายา ๑ โอ้อวด ๑ พูดปด ๑ มักมาก ๑ หลงไม่รู้ ๑ )

อิทธิวิธี ๑ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้) มี ๒ วิธี

๑. การเข้าโดยอาศัยสมถกรรมฐาน (สมาบัติ ๘)

ตาทิพย์ สามารถมองเห็นกายทิพย์ของภูมิต่าง ๆ ได้

หูทิพย์ สามารถได้ยินเสียงสนทนาของภูมิต่าง ๆ ได้

เหตุเกิดจากผู้ที่รักษาความยาวนานของสมาธิ เท่ากับสามารถรักษาจิตตัวเอง โดยการกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งจนเกิดความเคยชิน ผลของการที่ไม่เคลื่อนไหว ก็ได้รับอานิสงส์ของการรักษาศีลไปในตัว

๒. การเข้าโดยผ่านวิปัสสนากรรมฐาน ฌานทัศนะ

อย่างที่เข้าใจว่า การนั่งสมาธิจะใช้หลักวิปัสสนาสลับกับสมถกรรมฐาน คืออธิบายง่ายๆ เมื่อไม่มีอะไรที่จะต้องพิจารณา จิตก็สงบ ความสงบของสมณะผุ้สำเร็จอรหันต์ เหล่าเทวดาก็ต่างชื่นชม

และเมื่อได้ยินคำเทศนาธรรมของท่านเหล่านั้น ก็รู้สึกเลื่อมใส ก็จะเฝ้าคอยอารักขา เพราะฉะนั้นอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ไม่มีในตัวเรา เกิดจากเหล่าบรรดาเทพผู้เลื่อมใสคอยปกป้องคุ้มครอง และส่วนใหญ่

ก็จะถูก รับเชิญไปท่องในภูมิต่าง ๆ หรือที่เราเรียกกันว่า ฌานทัศนะ (การถอดจิตวิญญาณ)

ปุพเพนิวาสานุสสติ ๑ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้) โดยปกติผู้ที่หมั่นรักษาจิตเป็นประจำ ย่อม

มีฌานตัวนี้อยู่

อาสวักขยญาณ ๑ ( ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป ) เป็นการหยั่งรู้ว่าสัตว์ที่ตายแล้วไปเกิดอยู่ภพภูมิไหน

๕ ข้อแรก เป็น โลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็น โลกุตตรอภิญญา

ขันธ์ ๕

การยึดมั่นถือมั่นในรูป ๑ สิ่งที่เห็น,กระทบ

การยึดมั่นถือมั่นในเวทนา ๑ ความรู้สึก

การยึดมั่นถือมั่นในสัญญา ๑ ความจดจำ

การยึดมั่นถือมั่นในสังขาร ๑ ปรุงแต่งจิต

การยึดมั่นถือมั่นในวิญญาณ ๑ การรับรู้

ขันธ์ ๕ เป็นอุปทานตัวรู้อารมณ์ทำให้เกิดกองทุกข์....

อุปทาน เป็นได้ทั้งกุศลธรรมและอกุศลธรรม

ไตรลักษณ์ ( สามัญลักษณะ 3 อย่าง )

ความไม่เที่ยง ๑

ความทุกข์ ๑

ความยึดมั่นถือมั่น ๑

อธิบายลักษณะการทำงานของขันธ์ ๕

การทำงานของขันธ์ ๕ นั้น มีลักษณะการเชื่อมต่อของอารมณ์ เปรียบเหมือนหลอดไฟ ๕ ดวง ที่มีสวิทปิดเปิดเพียงอันเดียว เมื่อขันธ์ใดขันธ์หนึ่งทำงาน หลอดไฟก็จะติดขึ้นพร้อมกันทั้งหมด

จะอธิบายลักษณะของการทำงานของขันธ์ ๕ โดยยกเอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ในสมัยก่อนมีชายหญิงคู่หนึ่ง เป็นแม่ลูกกัน ทั้งสองมีอาชีพทำนา ลูกชายมีหน้าที่ทำนา ส่วนแม่มีหน้าที่หุงหาอาหาร ไปส่งให้ลูกชาย ทุกอย่างเป็นไปตามปกติ จนกระทั่งวันหนึ่ง ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ เมื่อถึงเวลาพักกลางวัน ซึ่งได้เวลารับประทานอาหาร ผู้เป็นแม่มาช้าผิดปกติ ทำให้ลูกชายที่ทำงานอย่างหนัก ทั้งทำนา ตากแดด เกิดอาการหิวเมื่อถึงเวลาทานอาหารแล้วไม่ได้ทาน เวทนาเกิดแรงกล้า เพราะทั้งเหนื่อยและหิว พอแม่เดินมาถึง มองเห็นกล่องข้าวที่แม่ถือมาให้ เมื่อตาไปกระทบรูป ทำให้จิตคิดปรุงแต่งไปว่า กล่องข้าวแค่นี้คงไม่ทำให้เราอิ่มแน่ จากความทุกข์ที่มีความหิวเป็นทุนเดิม บวกกับเมื่อตาไปกระทบรูป ทำให้จิตปรุงแต่งไปว่า คงไม่ทำให้เวทนาที่มีอยู่คลายลงไปได้ สัญญาที่มีอยู่ไม่ทำหน้าที่จดจำ (จดจำหมายถึง อาหารเพียงแค่นี้เพียงพอที่เคยทาน) ส่งผลให้สติไม่ควบคุมวิญญาณตัวรู้ เมื่อสติตามอารมณ์ไม่ทัน ความจำที่มีอยู่ว่า บุคคลนี้เป็นผู้ให้กำเหนิด เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู สัญญาหยุดทำงานอีกครั้ง เมื่อการปรุงแต่งเวทนาดำเนินต่อ ทำให้เกิด โลภะ คืออยากได้มากกว่าเดิม เกิดโทสะเพราะความหิว เกิดโมหะคือ ความหลงควบคุมสติไม่ได้ จึงใช้ไม้ที่มีอยู่ข้างตัวฟาดไปที่ศรีษะของบุพการี เพียงแค่อยากระบายโทสะ เสร็จแล้ว เมื่อได้มานั่งทานอาหาร เมื่อท้องอิ่มแต่กลับปรากฏว่า ทานข้าวในกล่องนี้ไม่หมด นี่คือผลของการไปปรุงแต่รูปทำให้เกิดทุกข์ สำนึกผิดรีบเข้าไปหาเพื่อหวังที่จะขอโทษบุพการี แต่อนิจจา มันสายเกินไปเสียแล้ว ด้วยสติที่หลงอารมณ์ไปเพียงชั่วขณะได้ทำกรรมหนักไปเสียแล้วกล่าวคือ มาตาปิตุฆาต ฆ่าได้แม้กระทั่ง ผู้เป็นมารดา วิญญาณและสัญญาที่เป็นตัวรู้ผลการกระทำของอารมณ์หรือตัวจดจำเรื่องราวต่าง ๆ เริ่มทำงาน การกระทำในครั้งนี้ เมื่อตายไปท้าวเวชสุวรรณไม่รอช้า ตัดสินให้ตกลงสู่นรกอเวจีโดยไม่มีข้อต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น มิอาจกลับคืนมาได้อีก รอจนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นการยากยิ่ง

กรรมหนัก ๕ อย่าง ซึ่งให้ผลทันที ก็คือ

การฆ่าบิดา ๑

การฆ่ามารดา ๑

การฆ่าพระอรหันต์ ๑

การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงโลหิตห้อขึ้นไป ๑

การยังสงฆ์ให้แตกแยกกัน (กรณีบุคคล คือการทำคนดีให้แตกแยกกัน) ๑

กรรมกิเลส ๔ ข้อเสื่อมเสีย

การตัดรอนชีวิต ๑

การถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ , ลักขโมย ๑

การประพฤติผิดในกาม ๑

การพูดเท็จ ๑

ผลของกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำซึ่งเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล ยกตัวอย่าง เช่น ขณะที่เรานั่งฟังธรรมอยู่บนศาลา มองไปเห็นชายคนหนึ่งนั่งตกปลาอยู่ที่ท่าน้ำใกล้ศาลา จิตกับคิดไปว่าถ้าเราไม่ได้ฟังธรรม วันนี้เราคงได้ไปนั่งตกปลาเพื่อเอาไปทำกับข้าวเป็นแน่แท้ แต่ฝั่งตรงกันข้ามคนซึ่งกำลังตกปลาอยู่ มองเห็นคนนั่งฟังธรรมอยู่บนศาลา จิตกับคิดไปว่าถ้าวันนี้เราตกปลาได้ พรุ่งนี้ เราจะทำอาหารไปใส่บาตรถวายพระ จะเห็นได้ว่าในเวลาเดียวกัน การกระทำที่ต่างกัน กลับให้ผลตรงกันข้าม คือ ผู้ที่นั่งฝั่งธรรมกลับมีจิตโน้มเอียงไปทางอกุศลธรรม ส่วนผู้ที่กำลังตกปลากับมีจิตที่เป็นกุศลธรรม

เพราะหลักของพุทธศาสนาว่าด้วยเจตนาของผู้กระทำ ว่าทำไปด้วยจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศล และด้วยเหตุผลนี้ มิได้ทำให้ส่งผลไปเกิดยังภพภูมิต่าง ๆ แม้มี โลภะโทสะ โมหะ มากเพียงใดแต่ยังไม่มีการกระทำเกิดขึ้นยังถือว่าไม่เป็นความผิด เพราะมีขันติเข้ามาแทรก เพียงแค่เป็นความทุกข์ในใจ เช่น หากโกรธใครสักคน เราอยากจะฆ่าเขาให้ตาย แต่ยังไม่ได้ลงมือ ถือว่าไม่เป็นความผิด ไม่ส่งผลให้ตกลงสู่อบายภูมิ แต่ส่งผลเป็นความทุกข์ทางใจ ถึงได้มีการฝึกอบรมจิต ก็คือสมาธิ เมื่อสมาธิควบคู่ไปกับสติ ก็จะทำให้เกิดปัญญาหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นความทุกข์ทางใจได้

กายภาวนา ก็คือ การอบรม ตัวเองให้อยู่ในอาการสำรวมทางกาย

ศีลภาวนา ก็คือ การอบรม กาย วาจา โดยมีศีลเป็นตัวคุม

จิตภาวนา ก็คือ การอบรมจิต โดยการใช้ชีวิตตาม มรรคมีองค์ ๘

ปัญญาภาวนา ก็คือ การหลุดพ้นความคิดจากอกุศล จนถึงขั้น นิพพาน

กถาวัตถุ ๑๐ (เรื่องที่ควรพูด)

ให้มักน้อย ปรารถนาน้อย ๑

ให้สันโดษ ยินดีในปัจจัยตามมีตามได้ ๑

ให้สงัดจากกิเลศ สงัดกาย สงัดใจ ๑

ให้สงัดจากกิเลศ ไม่หมกมุ่นเป็นหมู่คณะ ๑

ให้ปรารภความเพียร ๑

ให้บริสุทธิ์ในศีล ๑

ให้จิตตั่งมั่นในสมาธิ ให้ทำใจให้สงบ ๑

ให้เกิดปัญญา ๑

ให้ทำใจให้พ้นจากเครื่องเศร้าหมอง ๑

ให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลศ ๑

“ธรรมมะก็เหมือนยารักษาแผล เมื่อเราเป็นทุกข์ ก็ใช้ธรรมะรักษา

เมื่อเราเป็นแผลก็ใช้ยารักษา แต่แผลนั้นก็ยังไม่ยอมหาย

แต่จะกลายเป็นแค่แผลเป็นที่ทำให้เรา........ไม่เจ็บปวดอีกต่อไป”

ศรีอารย์...

ประกาศเตือน : 2555

“ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ”

อริยะสัจจ์ ๔

ทุกข์ การชาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย

สาเหตุ ผู้คนขาดจิตใต้สำนึก

การดับปัญหา รู้จักใช้สติปัญญาหาทางเอาตัวรอด

การป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิด กลับตัวเป็นคนดี อย่างน้อย

ถ้ำไม่สามารถเอาตัวรอดได้ ตายไปยังได้ไปจุติในสวรรค์

หรือดับขันธ์นิพพาน

ปกติ ในตัวเรา

"ปกติคนเรามีความรู้ดี รู้ชั่ว อยู่ในตัวเอง โดยไม่ต้องให้ใครมาสั่งสอน

มีความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว

บางครั้งไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรมาก

ไม่จำเป็นต้องไปนั่งดูจิตดูใจตัวเองด้วยซ้ำ

แค่เราทำตัวดีไปวัน ๆ ไม่ไปสร้างความเดือนร้อนให้ใครก็พอ

เราก็ได้ชื่อว่าคนรักษาศีล รักษาธรรม

คิดอะไรก่อนทำ ถ้าดีแล้วทำ จิตใจก็ผ่องใส

บางทีการที่เราได้ยิ้มให้คนอื่นบ้าง

มีค่ามากกว่าล้านคำพูดเป็นไหน ๆ

ไม่ต้องคิดว่าจะต้องทำใหดังให้เด่นเหนือใคร

เป็นคนดี ที่ธรรมดา ๆ ก็พอ"

"ทำดี...ละชั่ว และละดี...อีกที ไม่มี...ที่เกิด ดับขันธ์..นิพพาน, จบ"

ทำชั่วได้..ความทุกข์ ทำดีได้..ความสุข ละดี..ได้ความสงบ อยู่จบพรหมจรรย์

นิพพาน คือ ความสงบ คือ สันติ คือการไม่คิดร้าย ไม่ทำร้ายใคร"

พระศรีอริยะเมตไตย

(นารายณ์ ผู้รักษา)

“รู้จักที่จะมองโลกในแง่ดี และมีไมตรีต่อผู้อื่น

ช่วยกันต่ออายุให้โลกใบใหม่ ด้วยการเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม”

ติดต่อขอรับหนังสือ “ศาสนาพระศรีอริยะเมตไตย”

ได้ที่ 089-0762433 ทุกวัน เวลา 12.00 – 21.00

ถ้ารู้ว่าล้วนไม่มีอะไร ไม่ต้องอ่านครับ

ทุกสิ่งมีอะตอม ซึ่งมีนิวเคลียสตรงกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบๆเสมอ(Niels Bohr) อะตอม ณ จุดอิเล็กตรอนอยู่ล่าสุด ก็มีคุณลักษณะไม่เหมือนกับ ณ จุดอิเล็กตรอนอยู่ก่อนหน้านี้ หรือทุกการวิ่งวนคุณลักษณะอะตอมและทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอด สื่อถึงการไม่มีตัวตนหรือมีก็ชั่วครู่สั้นมากๆแสดงออกซึ่งไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา จิตเดิมแท้(เว่ยหล่าง) ทุกสิ่งปรากฎได้เนื่องจากความไม่มีตัวตน

ร่างคน มีระบบอวัยวะ อวัยวะ เนื้อเยื่อ เซล โมเลกุล เล็กสุดคืออะตอมทั้งหลาย ด้วยคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปรากฏการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การย่อยสลาย หากคงที่ มีตัว แล้วเด็กทารกเกิดมาได้ยังงัย สภาพทารกตอนนี้หายไปใหน สภาพในอนาคตก็ไม่เหมือนกับที่ผ่านมา

ด้านจิตใจ มีร่างกายเป็นภาครับสรรพสิ่ง มีจิตใจ(สมอง)เป็นภาคคิดจำคำนวณพิจารณา จิตใจร่างกายเป็นภาคแสดง ล้วนเปลี่ยนแปลงเสมอ มีทั้ง โกรธ ขัดเคือง ชัง ชอบ เศร้า รัก ฯ เปลี่ยนทุกครั้งที่ร่างกายทวารต่างๆสัมผัสสรรพสิ่ง

สรรพสิ่ง ร่างกาย จิตใจ เปลี่ยนแปลงเป็นนิจ เปลี่ยนอยู่เสมอ เปลี่ยนตลอดเวลา ...เปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยนเปลี่ยน...มีแต่การเปลี่ยนเท่านั้น เป็นอยู่อย่างนั้น เป็นของบริสุทธิดั้งเดิมไม่อยู่ภายใต้อำนาจของอะไร เป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจความต้องเป็นอยู่หรือภายใต้ความดับสูญอย่างอิสระแท้จริง เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเองอย่างสมบูรณ์แท้จริงเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการปลี่ยนแปลงอย่างนอกเหนือแท้จริง อันคือ

สภาวะถาวร อมตะ อนันต์ นิรันดร ว่าง เหมือนมีแต่ไม่มีตัว พระพุทธเจ้า พระเจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท