จาก Facilitator ไปเป็น Mediator


กระบวนการ ที่เน้นการปรึกษาหารือ (Deliberation) และการสานเสวนา (Dialogue) น่าจะเป็นเพียงจุดเริ่ม และจุดประกายดึงคนเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ลักษณะ Win – Win มากกว่าการแตกหัก ขัดแย้งรุนแรง

 

 

หน้าที่ของ Fa. หรือ ผู้อำนวยความสะดวก Facilitation ในเวทีสนทนา ผมคิดว่าเหมาะกับประเด็นเย็น มากกว่าประเด็นร้อน หากเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (Deliberation and Peaceful Conflict Resolution) น่าจะใช้รูปแบบ Mediator มากกว่า การเป็น Facilitator

 

ไม่กี่วันที่โคราชผมมีโอกาสได้ร่วมเป็นทีมผู้นำการสนทนาที่จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า เพื่อระดมความคิดในการจัดการความขัดแย้งในส่วนของ โรงงานเกลือ กับผลกระทบต่อชาวบ้านที่โคราช ข้อกล่าวหาว่าโรงงานเกลือทำให้ส่งผลกระทบต่อการเกิดดินเค็ม ปลูกพืชไม่ได้ ปัญหานี้ยืดเยื้อมานาน และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ  ในการสนทนาในครั้งนี้กลุ่มที่นั่งล้อมวงจึง ประกอบไปด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(All Stakeholders)  ได้แก่ ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ  พร้อมอารมณ์ที่กรุ่นๆกับการระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา เพราะแต่ละคนมีรอยแผลที่อยู่ในใจกันอยู่แล้ว

 

ผมยอมรับว่าไม่เคยเป็น Fa. ในกลุ่มที่มีการขัดแย้งเช่นกลุ่มที่ว่านี้ ดังนั้นผมสูญเสียความมั่นใจเมื่อมีการถกเถียงกันรุนแรงมากขึ้น และผมเกือบจะ จัดการสถานการณ์นั้นไม่ได้  ในที่สุดเราก็ได้ความคิดเห็นร่วม เป็นทางออกที่มองเห็นร่วมกันในการแก้ไขปัญหา แต่ยังใม่สนิทใจมากนัก เพราะอารมณ์ที่กรุ่นนั้นยังคงมีอยู่ แต่ผมได้ชิงปิดเวทีพร้อมกับมีข้อเสนอ กลางๆ ออกมาก่อน

 

คิดว่าเมื่อเหตุการณ์ออกมาแบบนี้ เราเองในส่วนของผู้ดำเนินการประชาเสวนา ต้องมานั่งถอดบทเรียนกันว่า กระบวนการที่เหมาะสม เราควรต้องทำอย่างไร?

 

ผมเดินทางกลับมาที่กรุงเทพ ผมยังครุ่นคิดเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ว่าผมผิดพลาดประเด็นไหนบ้าง ถึงแม้เวทีจบแต่ผมก็ไม่พึงพอใจมากนัก และอีกวันสองวันต้องไปทำหน้าที่ดังกล่าวนี้อีกแล้ว เพียงแต่เปลี่ยนประเด็นปัญหา (Issues) จาก โรงงานเกลือ  เป็น เหมืองโพแทช  หากไม่ได้ถอดบทเรียนตัวเอง บทเรียนของคณะทำงาน การผิดพลาดก็จะเกิดซ้ำเดิมอีก...ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งสำหรับคนทำงานที่จะ พลาดถึงสองครั้งในการทำกระบวนการที่คล้ายกัน

 

เช้าวันนี้ ได้นั่งคุยกับ คุณเมธัส อนุวัตรอุดม  คนนี้จบมาจากอเมริกาด้าน Conflict management โดยตรง ช่วยเติมมุมมองผมให้กระจ่างมากขึ้น น่าสนใจ จึงนำประเด็นที่คุยกันมาแลกเปลี่ยนในบันทึกของผม

 

ถอดบทเรียนในมุมของคณะทำงาน

-           ผมมองว่าเราขาดการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลสถานการณ์ ซึ่งผมไม่ได้ทราบรายละเอียดเลย อาศัยเก็บรายละเอียดจากการบอกเล่าสถานการณ์ในวันแรกของการจัดเวทีเสวนา

-           การเตรียมทีมที่ยังไม่ได้เตรียมในส่วนของกระบวนการ ประเด็น ที่คมชัด ทำให้ผลที่ได้ ออกมาต่างกัน ไม่สอดคล้องกับความคาดหวัง

-           เรา (ทีมทำงาน รวมถึงผม) อาจติดเครื่องมือ กระบวนการสำเร็จรูปมากเกินไปรวมถึงประสบการณ์ที่ยังไม่เจนเวทีพอ  ขาดความเป็นธรรมชาติ อาจทำให้ผลการระดมความคิดดูแข็งมากเกินไป

-           การนำกลุ่มเป้าหมายที่สุ่มเสี่ยงต่อการทะเลาะ ขัดแย้งมารวมกันเพื่อคุยหาทางออก ต้องควบคุมสถานการณ์ให้ดีพอ และแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่างให้ดี Fa. ต้องทำหน้าที่เป็น mediator ด้วย ซึ่งยากในความรู้สึกผม

-           ประเด็นร้อนแบบนี้ จะทำหน้าที่ Fa. ไม่น่าจะเหมาะสม ต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น Mediator  ที่ดีและมีปฎิภาณ ไหวพริบที่ดี

 

 

เราจะทำยังไงดี? ผมคิดว่า ในอีกสองวันที่จะไปทำหน้าที่เดียวกัน  AAR.ครั้งนี้เพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในครั้งต่ออาจฉุกละหุกบ้าง ผมก็คิดว่ายังดีกว่าเราไม่ได้ทำอะไรเลย  กระบวนการที่ผมคิดไว้

-           เตรียมข้อมูลสถานการณ์เพื่อนำเสนอพูดคุยกับทีมงานให้เข้าใจ และรับทราบข้อมูลพื้นฐานเพียงพอในการทำกระบวนการกลุ่ม

-           ไม่ควรนำกลุ่มเป้าหมายไปคละกัน เพราะอาจสุ่มเสี่ยงต่อการทะเลาะกันรุนแรง นำไปสู่การควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ แยก กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มผู้ประกอบการ ชาวบ้าน ทำกระบวนการกลุ่มว่าแต่ละกลุ่มคิดอย่างไร? และหาทางออกในการแก้ไขปัญหาอย่างไรในกรณีเดียวกัน? แล้วนำข้อคิดเห็นที่เป็นจุดร่วมมานั่งคุยกันในกลุ่มรวม น่าจะเป็นทางออกที่ได้รับฉันทามิติร่วมกัน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาไม่ยากนัก

-           การใช้กระบวนการ เทคนิควิธี ให้ดูบริบทของคนเข้าร่วม และสถานการณ์ ไม่ควรยึดติดเครื่องมือ เพราะจะทำให้แข็งเกินไป ไม่เป็นธรรมชาติ ส่วนบรรยากาศในการทำกลุ่ม ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำกระบวนการกลุ่ม

 

กระบวนการ ที่เน้นการปรึกษาหารือ (Deliberation) และการสานเสวนา (Dialogue) น่าจะเป็นเพียงจุดเริ่ม และจุดประกายดึงคนเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ลักษณะ Win – Win มากกว่าการแตกหัก ขัดแย้งรุนแรง

Pom2

 

ผมถือว่าได้มีโอกาสที่ดีในการเรียนรู้ ท่ามกลางความหลากหลายและความขัดแย้งอันเป็นเรื่อง ธรรมดา ในการอยู่ร่วมกัน รวมไปถึงการแสวงหาทางออกที่มีลักษณะของสันติวิธี สิ่งที่ได้เรียนรู้เหล่านี้ นอกจากจะเติมเต็มในการเรียนรู้ของผมแล้ว ยังทำให้ผมสามารถเผชิญกับความขัดแย้งไม่ว่าปัญหาใด ด้วยใจที่มีสติ มีกระบวนการที่จัดการอย่างมีขั้นตอนมากขึ้น และรับรู้ว่า การแก้ไขปัญหานั้นต้องใช้เวลาและเปิดใจ ที่สำคัญ ทางเลือกในการแก้ไขปัญหานั้น ไม่ได้มีแค่ทางเลือกเดียว

 

         อ้างอิงภาพจาก   http://photo.lannaphotoclub.com/
หมายเลขบันทึก: 185732เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2008 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

โพแทช เรื่องหนัก และใหญ่มาก ในภาคอีสาน กัลยา เจอมาแล้ว ที่คุรเอกเจออาจจะน้อยมาก เมื่อเทียบกับสิ่งที่กัลยาเจอ แต่สุดท้ายเราก็ทำอะไรมากไม่ได้

ผมคงต้อง หาข้อมูลจาก ดร.กัลยา มาเพิ่มเติมแล้วครับ..

สวัสดีครับ น้องเอก

ว่าด้วยขบวนการแก้ปัญหา เป็นขบวนการที่เราต้องศึกษาแก่นแท้ของปัญหาให้ได้  บางปัญหามันเกิดเร็วและแก้ได้เร็ว แต่บางปัญหาเราก็ต้องใช้เวลายาวนานมาก

เรื่องของปัญหาความขัดแย้งในท้องถิ่น คงต้องแก้กันในท้องถิ่น

คู่ของความขัดแย้งต้องหาให้พบ  สถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพียงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

ความขัดแย้งมันเกิดจากสองฝ่ายคือ โรงงานเกลือ และชาวบ้าน

มูลเหตุตัวการคือทำให้ดินเค็มชาวบ้านทำเกษตรไม่ได้

ถ้าโรงงานเกลือไม่ทำให้ดินเค็ม ชาวบ้านก็อยู่ได้

ถ้าชาวบ้านอยู่กับดินเค็มแล้วยังทำผลประโยชน์ได้โรงงานก็อยู่ได้

ขณะเดียวกัน ต้องดูฐานขัดแย้งทั้งสองฝ่ายมีคุณภาพขนาดไหน

ถ้าโรงงานเกลือมีอิทธิพลหนุนหลังอยู่  ชาวบ้านก็เป็นกลุ่มใหญ่ อันนี้ก็ลำบากมากครับ

ต้องทำให้สองกลุ่มมีฐานเท่าเทียมกัน  ความสมดุลย์ก็จะสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

สาเหตุดินเค็มควรแก้ไปทางไหน ให้หายเค็มหรืออยู่ได้ในคุณภาพเค็ม

จับคู่ความขัดแย้งให้ได้ครับ  แล้วจะง่ายต่อการแก้ปัญหา

ขอบคุณมากครับ

 

ขอให้กำลังใจน้องเอกที่ช่วยทำงานเพื่อสังคมยังไงๆ ดูแลตนเองด้วยนะ

พี่ไปเชียงใหม่มาได้โทรหาดร.นิ่มอนงค์ด้ว ยไปให้กำลังใจลูกสาวนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ใหม่

พี่เอก พี่ไปทำไรที่ไหน บอกผมหน่อยดิพี่ ถ้าเกิดผมไปได้ ผมก็อยากจะไปด้วยครับ (แต่ไปต้องไปถ่ายรายการนะ สนใจกิจกรรมนะครับ) จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และซึมซับกระบวนการต่างๆ จากพี่ด้วยครับ

ประมาณว่าช่วงนี้ออกจากมหาวิทยาลัยมาแล้ว แม้จะเรียนปริญญาโท แต่ก็ยังต้องแสวงหาประสบการณ์ แสวงหาครูบาอาจารย์เพิ่มเติมอยู่ครับ

ขอบคุณครับ

พี่มาเก็บความรู้ครับน้องเอก

ผลประโยชน์ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในกลุ่มคน

ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป 

เป็นกำลังใจในการทำงานค่ะ

@  ขอให้จิตใจ  ปลอดโปร่ง  แจ่มใส  แก้ปัญหาทุกอย่างได้ด้วยดี  นะคะ @

....................................Take care...............................

                       

เรื่องนี้เข้ากับสถานการณ์ความขัดแย้งของคนไทยในช่วงนี้ พี่ก็ได้แต่คิดว่า เราจะจัดการความขัดแย้งในคนไทยได้อย่างไร

พี่เคยคุยกับคนที่มีความคิดเห็นเรื่อง  การเมืองต่างกัน ปรากฏว่าคุยกันไม่ได้  เพราะแต่ละคนใช้เหตุผลต่างกัน  ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน

คุยกันระหว่างนั่งในรถยนต์ จนถึงที่หมาย คุยกันก็ยังไม่จบ

ตอนหลัง..พอเริ่มจะคุยกันเรื่องนี้อีก เราบอกว่า..เราจะไม่คุยกันเพราะเราจะหาบทสรุปไม่ได้

ดังนั้น..เราจะไม่เริ่มคุยเรื่องนี้อีกต่อไป

ผมยังบไม่เคยเข้าไปแก้ปัญหาความขัดแย้งกลุ่มใหญ่ แต่ใช้วิธีการประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านกลุ่มย่อย แต่จะใช้วิธีแยกกันทำความเข้าใจในความต้องการและขอทราบแนวทางที่สามารถตกลงกันได้ก่อน แล้วเจรจากับอีกกลุ่มหนึ่งโดยใช้วิธีเดียวกัน ก่อนจะประชุมกลุ่มรวมต้องได้จุดถอยของทั้งสองฝ่ายก่อน แล้วค่อยปรับเข้าหากันอีกครั้ง แต่เนื่องจากที่ผ่านมามันเป็นปัญหาย่อยเลยมักประสบความสำเร็จ

แต่ที่น้องเอกเล่ามาเป็นปัญหากลุ่มใหญ่ น่าสนใจมากครับ จึงอยากตามเรียนรู้ด้วยครับ

เย็นนี้ได้มีโอกาสทานข้าว กับ Prof.Dr.Jay แห่ง RRU. Canada 

บทสนทนาในระหว่างทานอาหารน่าสนใจ Dr.Jay ท่านเป็นคนต้นคิด Citizen Dialogue ท่านได้บอกว่า ประชาเสวนา เหมาะสมกับ ประเด็นเย็นมากกว่า เช่น ประเด็น Health เราสามารถใช้ Dialogue ได้ แต่หากเป็นประเด็น Conflict  resolution ไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม เราใช้ จะใช้ ลักษณะของ  Third Party Consultants  แทน Citizen Dialogue ซึ่งผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่

แต่ที่ทราบ Third Party Consultants  ยังไม่มีการนำมาใช้ในเมืองไทย

Dr.Jay ท่านได้บอกว่าThird Party Consultants  น่าจะเป็นทางเลือกในบทบาทของ Mediator ที่จัดการความขัดเเย้งที่เกิดขึ้น

 

 

เป็นเรื่องที่ท้าทายค่ะ เอกต้องทำได้

หวัดดีค่ะ...

แวะมาทักทาย...สบายดีไม๊ค่ะ ?

        

เป็นกำลังใจค่ะ... ^_^

สวัสดีค่ะคุณเอก...

ขอนำเสนอในมุมมองของคนด้านจิตวิทยาให้คำปรึกษา(Psychology of Counseling)นะคะ... ซึ่งอาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมดที่เป็นสูตรสำเร็จ แต่เป็นมองในมุมที่มองเรื่องของ"คน"เป็นฐานสำคัญ

ทำไม...คนเราถึงมีความขัดแย้ง?

ภายใต้ความคิดที่ขัดแย้งกันนั้น...คนเราต้องการอะไร?

พฤติกรรมและการกระทำเป็นเพียงภาษาที่เป็นตัวแทนของ "จิตใจ" เพราะจิตใจไม่สามารถสื่อออกมาให้ใครเห็น ใครทราบได้ ดังนั้น จิตใจจะสื่อออกมาได้ ก็ต้องอาศัยพฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมนี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ท่าทางเท่านั้น ยังรวมไปถึงคำพูดด้วย... หรืออาจเรียกได้ว่าทุกสิ่งที่สื่อออกมาเป็นรูปธรรมนั้นเป็นเครื่องหมายแทน "จิตใจ"

บางคนอาจสื่อออกมาได้สอดคล้องกันระหว่างพฤติกรรมและจิตใจ เช่น โกรธ ก็แสดงพฤติกรรม ท่าทาง คำพูดออกมาได้ชัดเจน แต่ในบางคนโกรธ กรแสดงออกอาจตรงกันข้าม เช่นเขาอาจจะยิ้มก็ได้ แต่หากพิจารณาภาษากายก็จะพบสิ่งแสดงออกถึงความโกรธนั้นได้ (ซึ่งต้องอาศัยความละเอียดมากขึ้น)...

ภายใต้การแสดงออก และคำพูดนั้น...ทุกอย่างมีความหมาย

เมื่อเราต้อง...จัดการเรื่องความขัดแย้ง เราควรมองให้ลึกลงไปมากกว่าเนื้อหาว่าขัดแย้งเรื่องอะไร ... ลึกๆ แล้วแต่ละฝ่ายต้องการอะไรสิ่งที่คนเราต้องการนั้นมันมากกว่ารูปธรรมที่เขาสื่อออกมา หาให้เจอนะคะคุณเอก ไม่อยากหรอกค่ะ

อย่าติดทฤษฎีของความเป็น Fa มาก กะปุ๋มจะเน้นการใช้ใจออกมาสื่อสัมผัสมากกว่า ... ซึ่งก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรมากเกินกว่าที่เราคาดไว้เสียอีกค่ะ ...

ถอดใจเราออกมาช่วยเหลือเขา ใช้ใจมองเข้าไปในปัญหาแห่งความขัดแย้งนั้น..

(^____^)

เอาใจช่วยนะคะ

.................................

หากมีประเด็นเพิ่มเติมค่อยมาต่อกันใหม่แล้วกันนะคะ

 

ผมลอง search ดูตามประเด็น เห็นว่าน่าสนใจ จึงนำมาฝากครับ

----------------------------------------------------

From Conflict to Collaboration

What happens when talented people lock horns? The business loses.

As business change accelerates, disputes over resources and roles will increase. Conflict is a natural byproduct of a rapidly changing

 

environment in which workers experience more interpersonal friction. We are counting on these people to work together using the best combination of their talents to solve problems, make decisions, lead the organization, and meet customer needs.

We all know people who have great individual talent, but in certain situations or with specific people, they just can’t seem to work effectively together. Oftentimes the individual with the Conflict and those around them cannot figure out the causes of the Conflict  nor find appropriate remedies, except to eliminate the Conflict by organizationally separating the individuals.

More and more managers are frustrated when their talented people lock horns. In those cases when a manager’s involvement is not enough to move the situation quickly from Conflict  to collaboration, then the involvement of a Third- party consultant  can often make the necessary shift.

Pat Ruzich works closely with managers who have identified  Conflict situations in which the talents of individuals need to be released from the horns of Conflict in order to serve the business needs again.

Shifting from  Conflict to Collaboration

Symptoms of Conflict

Symptoms of Collaboration

Win-lose battles

Workable agreements

Undercutting

Open disagreement

Fighting

Dialogue

Gossip

Issues on the table

Picking at weaknesses

Building on strengths

Fear

Courage to address issues

Distrust

Cautious optimism

Anger and frustration

Optimism and hope

Focusing on what is wrong

Focusing on what is possible

Conflict  Management Interventions

Pat has a track record of quickly getting to the root of most conflicts. She works with the players individually and together to surface the “real” issues and help them invent desirable options while examining how they can support the changes they want. Maintaining the players’ future relationship is always one of the goals.

อ้างอิง : http://www.patruzich.com/conflict_management_coaching.htm

ประเด็นน่าสนใจในความเข้าใจของคนทำงานบางคนเข้าใจว่าคนที่เป็น Fa คนที่เป็น Mod. คนที่เป็น Mediator ทั้ง 3 คน น่าจะต่างกัน และใช้บทบาทหน้าที่ในลักษณะที่ต่างกัน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาพี่ทำเวทีเสวนาปัฐหาสุขภาพ โดยเรื่มจาก พรบ.สุขภาพ เสร็จแล้วจึงจึงหยิบประเด็น กฎหมายบุหรี่ ปัญหาไข้เลือดออก ปัญหาอุบัติเหตุในพื้นที่ ปรากฎว่า ทั้งเรื่องบุหรี่และอุบัติเหตุได้ข้อเสนอ ประเด็นต่าง ๆการแสดงความคิดเห็นหลากหลาย นอกกรอบสาธารณสุขมากมาย แต่ปัญหาไข้เลือดออกกลับได้แนวคิดแบบเดิม ๆ ในกรอบและแนวคิดของสาธารณสุขล้วน ๆ จึง AAR กันดู จึงพบว่า Mod. ทำผิดหน้าที่

ปัญหานี้ดูเหมือนใหญ่  ไม่มีทางแก้ไข  ไร้ทางออก  แต่ลุงเอกดูแล้ว มีทางแก้ไข มีทางออก  แต่ต้องใช้เวลา  กระบวนการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่น  เป็นสิ่งสำคัญ  ที่ว่าไม่ใหญ่เพราะสมัยหนุ่มๆของลุงเอกเขาใช้ปืนไล่ยิงกันเพื่อแก้ปัญหาครับ

กระบวนการ Facilitation ในเวทีสนทนา ก็ใช้ได้ส่วนหนึ่งแต่ใช้ไม่ได้ตลอดเวลา  จะเย็นหรือร้อนก็ใช้ได้  เพียงแต่สถานการณ์ร้อนต้องใช้เย็น  สถานการณ์เย็นต้องใช้ร้อนครับ  กระตุ้นสุดๆ

การจะเป็น Mediator นั้นทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับก่อน  แต่เราเป็นใคร  ในการประณีประนอมที่ศาลนักประนีประนอมอาสาสมัครก็ต้องอิงศาล  แล้วเราอิงใคร  สถาบันพระปกเกล้าครับเราเป็นกลางในทุกเวทีที่ไหนก็รู้

ข้อสำคัญประสบการ์ณชาวบ้านที่ผ่านมามีหลายคณะไปสร้างปัญหาและจุดไฟขึ้นมา  เปิดเวทีให้ทั้งสองฝ่ายโจมตีกันเรียกว่าเอามันนั่นแหละ  แต่เราจะปล่อยเช่นนั้นไม่ได้  กฏกติกาเราต้องชัด  เราต้องย้ำเวลาเริ่มเบี่ยงเบน  ซึ่งต้องสร้างการยอมรับของกฏได้ตั้งแต่เริ่มต้น

การระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา  โดยเอาทั้งฝ่ายมาแก้ปัญหานั้นยาก  เพราะเขาไม่ยอมรับกันมาช้านานแล้ว   แต่ละคนมีรอยแผลจริงๆแต่เป็นแผลที่เกิดแต่ครั้งเวทีก่อนๆ 

ระหว่างที่มีการขัดแย้งเกิดขึ้น  ต้องมีสติอย่าปล่อยให้เตลิดเถิดเทิง  อย่าเพลินฟัง  ลุงเอกสังเกตุเห็นแล้ว  แต่จะไปแทรกไม่เป็นการดี  เพียงแต่เขาพูดโต้ตอบกันข้ามกติกาแต่เราไม่เตือนเขา  เมื่อไรห่างไกลกติกาให้เขาหันกลับมาดูข้อที่หนึ่งใหม่  สติจะได้กลับมา  

ลักษณะสังคมไทยนั้นไม่ค่อยเชื่อมั่นและไว้ใจใครตามปกติอยู่แล้ว  จะเห็นว่าช่วงแรกตอนเช้าอาจารย์มาจุดไฟเสียลุก  ถ้าลุงเอกตู้ๆแบบอาจารย์บางคนก็จะสอนแต่ที่ตัวเองเตรียมมา  แต่ลุงเอกกระโดเข้าไปเอาน้ำเย็นราดเขา  วันท้ายได้ใจ  คนที่มีปัญหาตอนเช้าเข้ามาหาลุงเอกเอาปัญหาอื่นๆที่มีมาปรึกษากันหลายคนเลย  ข้อสำคัญรับปากอะไรเขาแล้วอย่าทิ้งต้อง  ให้เขาได้พบสิ่งที่เขาหวัง

 

 

ปัญหา โรงงานเกลือ กับ เหมืองโพแทช ไม่เหมือนกันปัญหาโรงเกลือนั้นเกิดแล้วกำลังลุก  แต่ปัญหาโปแตสยังไม่เกิดแต่มีแล้วในพื้นที่อื่นๆ  จึงต้องหนักไปในเรื่องเชิงป้องกัน  

 

สิ่งสำคัญต้องเข้าใจ"มนุษย์" ปกติที่นี่จะมีความพร้อมต้องค้นหาข้อมูลกันเองเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนพูดคุย  อย่าหวังไปตายเอาดาบหน้า  อย่ายึดรูปแบบจนเกินไปอยากให้ใช้ ทฤษฎีตามสถานการณ์   ระหว่างทำกระบวนการต้องดูอาการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา   สถานที่วันนั้นไม่เหมาะที่จะทำกิจกรรมแบบนี้   

การเริ่มต้นที่"ความคาดหวัง"เป็นสิ่งถูกต้องแต่   คือสิ่งที่อยากให้เป็น  การมี"ความกลัว"  ก็คือสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้น  เพียงแต่ว่าต้องเอาสิ่งที่คาดหวังเป็นตัวตั้งในการทำวงเล็กต่อไปว่าทำอย่างไรจะให้ไปถึง  อุปสรรคจากความกลัวจะแก้อย่างไร

อย่าไปกังวลต่อสิ่งที่เกิด  ทำทุกอย่างให้เป็นธรรมชาติ  พูดคุยตกลงกับทีมงานให้ชัดเจนถึงกระบวนการขั้นตอน  มีข้อมูลอะไรมาแบ่งปันกัน  การแยก กลุ่มเป้าหมาย  เจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มผู้ประกอบการ ชาวบ้าน ทำกระบวนการกลุ่มแต่ละกลุ่ม  ไม่ใช่หาทางออกในการแก้ไขปัญหา  แต่เป็นการหนีปัญหาเลยทีเดียวไม่ควรกระทำ

คติของลุงเอกทุกปัญหามีทางออก  ปัญหาไว้คิดตอนสุดท้าย  ถ้าคิดตั้งแต่เริ่มต้น  จะไม่ไปไหนไร้ทางออกครับ

คุณ. กัลยา

กรณี "เหมืองโพแทช" หากมีข้อมูล รบกวนส่งให้ผมด้วยครับ ทางอีเมล์ก็ได้ครับ

 

พี่ สิทธิรักษ์

ต้องขอบคุณมากครับ สำหรับข้อเสนอแนะ ที่ผ่านจากประสบการณ์ของพี่ครับ

การจัดการความขัดเเย้งผมมองว่า จะง่ายก็ง่าย และหากจะยากก็ยากเกินเยียวยาได้ หากเรามีกระบวนการที่ไม่ดีพอ ทำให้อารมณ์ปะทะกัน

ผมเองยังประสบการณ์น้อย ได้เรียนรู้จากท่านวิทยากร นพ.วันชัย และ พลเอกเอกชัย ท่านมีมรรควิธีที่น่าสนใจ ลดความรุนแรงในกลุ่มลงด้วยกระบวนการง่ายๆ...

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อคิดเห็นดีๆครับผม

ขอบคุณพี่ ท้องฟ้า  มากครับ

ฝากความระลึกถึง ดร.นิ่มอนงค์ด้วย ผมเองไม่ได้ติดต่อถึงท่านมานานแล้ว หลังจากที่ครั้งล่าสุดที่ผมไปสอน นศ.ป.โท ที่ มช.

งานผมค่อนข้างเยอะ และเป็นงานต่อเนื่องหากมีโอกาสดีๆ คงได้กลับไปเยี่ยมพี่ท้องฟ้า และอาจารย์ครับ

 

สวัสดีค่ะ น้องเอก

  • ท่าทางน้องเอกคงต้องสวมบทบาทเป็นนักเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อลดความขัดแย้งมากกว่าผู้ประสานซะแล้ว (หาWIN -WIN Situationให้ได้)
  • .....วิกฤติท้าทายฝีมือคนเก่ง(อย่างน้องเอก)เสมอ.....
  • ขอให้ผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดีค่ะ  และ ขอเป็นกำลังใจช่วยน้องค่ะ

"เชื่อว่าคุณเอกทำได้ ค่ะ.."

ความมุ่งมั่น และสติ จะทำให้เราทำทุกอย่างได้ดี..

เป็นกำลังใจให้นะคะ^^

มาเยี่ยมค่ะ ไม่ได้มาบ้านคุณเอกนานแล้ว

มาเป็นกำลังใจ สู้ๆค่ะ

น้องปืน บีเวอร์ ครับ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ แล้วพี่จะเเจ้งไปนะครับ กิจกรรม และ ประเด็นที่พี่ไปทำนั้นมีหลายครั้งที่น่าสนใจ  คิดว่าหากได้สื่อสารสาธารณะออกไปก็น่าจะเป็นประโยชน์ได้

พี่ดีใจครับที่ปืนมีความสุข เชื่อแน่ว่า "พลัง" และ "ความสามารถ" ของปืนจะสร้างสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นได้ในสังคมไทย ในเงื่อนไขของเราที่ คิดดี ทำดี พูดดี

ผมมีงานเชิงประเด็น

  • Health Public Policy  ใน อบต.ทั่วประเทศ
  • Humanized Health care  ผมรับ ภาคใต้ ของไทย

ทั้งสองประเด็นเป็นการถอดบทเรียน ใช้กระบวนการ KM ทั่วประเทศ เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก มีเรื่องเล็กเรื่องน้อยที่เป็นสิ่งดีๆ สามารถทำ สกู้ปนำเสนอได้แล้ว ผมจะส่งข่าวไปเป็นระยะๆนะครับ

ศรัทธาในความเป็นปืนเสมอครับ

*** ในโอกาสว่างๆ ทานข้าวกันครับ

พี่บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

เพียงหยดน้ำน้อยหนึ่งในมหาสมุทรมากเลยครับ  ผมเองทำงานประเด็นอื่น แต่งานที่ทำหลากหลายเพราะเกี่ยวข้องต้องมาช่วยกัน จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดี และผมจึงนำเรื่องราวเล็กน้อยมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อนำไปสู่การ ลปรร.กันครับ

หากพี่มีสิ่งใดจะแลกเปลี่ยนในโอกาสต่อไป

ขอเรียนเชิญครับ

ขอบคุณมากครับ

พี่นกNU 11

ผมอ่านหนังสือ และ ถอดบทเรียนกับตัวเอง ก็ทราบว่า "ความขัดเเย้ง" นั้นเป็นเรื่องที่แสนธรรมดา แต่ที่ท้าทายคือ เราจะมีกระบวนการจัดการความขัดเเย้งได้อย่างไรให้เป็นแบบสันติวิธี

ความขัดเเย้งเป็นพลังในการขับเคลื่อนเรา องค์กร รวมถึงสังคม ประเด็นนี้น่าสนใจครับ

ขอบคุณครับพี่นก สำหรับประเด็นที่มาเติมเต็ม ย้ำชัดในพลังของความต่างที่เป็นความขัดเเย้ง...

ให้กำลังใจพี่เช่นเดียวกันครับ :)

ใช่เลยครับคุณสายธาร การที่เราจะจัดการความขัดเเย้งอื่นๆต้องหันมามองตัวเราเองก่อนครับ ว่าเราจัดการความขัดเเย้งในตัวตนได้หรือยัง...ตามที่คุณครู@..สายธาร..@ บอกครับ ต้องมีจิตใจที่สดชื่น เบิกบาน มีพลังเต็มที่

ขอบคุณมากครับ ...

ให้กำลังใจคุณครูเช่นเดียวกันครับ

พี่ แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช
หลายๆเรื่องเปราะบางสุ่มเสี่ยงต่อความขัดเเย้งได้ง่าย ดังนั้นเรื่อง ศาสนา การเมือง และประไหนก็ตามที่ผูกติดความเชื่อ การสนทนาอาจต้องระมัดระวัง

เห็นข่าวมาเยอะว่าขัดเเย้งกัน ถึงขั้นลงไม้ลงมือ เสียหายทั้งสองฝ่าย

ในกระบวนการจัดการความขัดเเย้ง หลักที่ผมพอจับมาได้คือ การเปิดใจ และพูดคุยแบบสันติวิธี รับฟัง เปิดใจ ใคร่ครวญ ...

-----------------

ขอบคุณครับพี่แก้วที่มาช่วยเติมเต็มบันทึก แม้ประเด็นดูหนัก แต่มิตรก็มาเยี่ยมเยียนกันอุ่นหนา ฝาคั่งเหมือนเดิม

ขอบคุณมากๆครับ

ประสบการณ์ที่ พี่บัณฑูร อัยการชาวเกาะ  เล่ามาน่าสนใจมากครับ เรา(ผมกับทีมงาน)ก็นั่งถอดบทเรียนกันนะครับว่า การที่เอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาประจัญหน้ากันตรงๆ หากจัดกระบวนการไม่ดี ก็รุนแรงมากขึ้น ควบคุมไม่ได้ก็อันตราย เพราะเป็นการปะทะอารมณ์ ...

ผมคิดว่า การแยกกลุ่ม นำมาคุยประเด็นเดียวกัน แล้วได้ข้อตกลงแต่ละกลุ่ม ก่อนที่จะรวมกัน

นำความเห็นร่วม ที่สอดคล้องกัน นำมาเสนอ ผมคิดว่าอาจจะใช้เวลามากขึ้น แต่ ผลที่ได้น่าจะคุ้ม เพราะเกิดจากฉันทามติทั้งสองฝ่าย

ประเด็นนี้เมื่อคืนก็คุยกับ prof.Dr.Jay เช่นเดียวกันครับ

ผมเองก็อ่อนด้อยประสบการณ์ครับ แต่เอาเรื่องราวที่ตัวเองเข้าไปเกี่ยวในกระบวนการหยิบออกมาเล่าสู่กันฟัง อาศัยการ ลปรร.นี่หละครับช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ของประเด็น

พี่บัณฑูรสบายดีนะครับ ฝากความระลึกถึงพี่แอ๊วด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

เพิ่มเติม: ผมเห็นใบสมัครหลักสูตรสังคมสันติสุข ของพี่ อัยการชาวเกาะ  ดีจังเลยครับ หากท่านมีโอกาสได้เข้ามาในเวทีตรงนี้ จะช่วยสร้างประโยชน์โดยรวมของสังคมได้มากทีเดียว

 

ป้าแดงpa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ] ครับ ผมทำได้อยู่แล้วครับ เพราะ"ต้องทำ" แต่จะดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย ผมเองก็ทำไปเรียนรู้ไปครับ พลาดมั้ง ดีมั้ง สลับกันไป สุดท้ายผมก็ได้เรียนรู้...

เป็นโอกาสครับ

ขอบคุณครับป้าแดง

 

สวัสดีครับ คุณ windy

ผมสบายดีครับ ...งานเยอะแต่มีความสุขที่ได้ทำ ได้เรียนรู้ครับ ฝากส่งกำลังใจให้ด้วยนะครับ ขอให้ทำงานอย่างมีความสุข รวมถึงดูแลสุขภาพด้วย

ขอบคุณครับที่เข้ามาให้กำลังใจไม่ขาดสาย... (แค่มาเยี่ยมก็อุ่นใจแล้วครับ)  :)

 

ต้องขอบคุณกัลยาณมิตรที่ดีงามครับ คุณ ดร.กะปุ๋มKa-Poom

ผมเองไม่ค่อยมีศาสตร์ด้าน จิตวิทยา หรือว่ามีและใช้ไม่รู้ตัวก็เป็นได้ แต่ใช้รูปแบบของการเข้าใจชีวิต เข้าใจพื้นฐานความต้องการของคน

ต้องขอบคุณมากครับ ผมชอบครับที่คุณปุ๋มบอกว่า ต้องมองให้ลึกไปกว่า โรงงานเกลือ และ โพแทช ลึกไปกว่าความขัดเเย้งที่เกิด ว่าเขาต้องการอะไร...

การเป็น Fa. ผมเองก็ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆครับ แน่นอนว่า เหตุการณ์แบบที่ผมเล่ามานี้ ไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ น่าจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยนมากกว่า ในความเป็นจริงในเวทีผมก็ทำหน้าที่สลับกับในบทบาท

เป็นความท้าทาย เป็นความสนุกครับ...

สุดท้ายแล้ว ทางร่วมที่ทุกคนต้องเดินไปด้วยกัน มันมีอยู่ เพียงแต่จะตะล่อมแบบไหน...ก็เป็นเรื่องยาก

ต้องรบกวนปรึกษาเรื่อยๆนะครับ ทั้งทางโทรศัพท์ ทางอีเมลล์ นอกจากได้ความรู้ มุมมองที่ต่างออกไป ยังได้มิตรภาพมาเติมเต็มอีก...คุ้มจังครับ

ขอบคุณและให้กำลังใจในการทำงานคุณกะปุ๋มด้วยนะครับ

***จากที่สนทนา MSN นั้นก็เป็นประโยชน์มากครับ

พี่หมอรอนMr. Kraton Pai

ยินดี และดีใจที่ได้ทราบข่าวจากทาง ปายเรื่อยๆ โดยใช้ Blog เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน คลายคิดถึงบ้านไปบ้าง ปายมีคนเก่ง คนดี มีความสามารถมากมายและสร้างสรรค์การพัฒนาเมืองมากมาย ต้องขอบคุณทุกท่านครับ

หากมีอะไรให้ผมได้แลกเปลี่ยนในกระบวนการ หรือ ต้องทำในสิ่งใด แจ้งมาได้ครับยินดีเสมอ

คิดถึงเมืองปาย

สวัสดีครับ

แวะมาทักทาย และให้กำลังใจครับ

กราบขอบพระคุณลุงเอกมากครับ ที่เข้ามาเติมเต็ม บันทึกได้อย่างสมบูรณ์...

ผมได้นั่งสังเกตการณ์การ Monitor กลุ่มใหญ่ของลุงเอกแล้ว ได้เรียนรู้กลวิธี เทคนิคดีๆ ง่ายๆที่เราอาจไม่ได้นึกถึง เห็นแล้วดีมากเลยครับ

ผมเองก็ด้อยประสบการณ์แบบที่บอก เมื่อได้ร่วมทำ ได้ร่วมเรียนรู้ ก็ได้เข้าใจ ครับ

ในระหว่างที่ผมทำกลุ่ม ลุงเอกก็มานั่งให้กำลังใจด้วย ก็ได้เห็นว่า การควบคุมมันลำบาก และ กฏกติกาของกลุ่มก็ถูกเพิกเฉย แต่ก็จบด้วยดีครับ..

กลุ่มคนอีสานน่ารักนะครับ..ถึงแม้ขัดเเย้งกันแต่ก็ไม่รุนแรงมาก มีเหตุผลและมีคำพูดที่ให้เกียรติกันเสมอ..

บทที่ ๑ ผ่านไปแล้ว บทที่ ๒ กำลังจะมาถึง

ผมกำลังเตรียมตัวไปโคราชอีกในวันนี้ครับ

ขอบคุณลุงเอกมากครับ

ใช่เลยครับพี่ติ๋ว นาง กฤษณา สำเร็จ ผมเองสวมบทบาทของ Mediator มากกว่า Fa. เสียเเล้ว แต่เป็นการเรียนรู้ที่ดีมากของผมในเวทีลักษณะนี้

การแก้ไขปัญหาฉับพลันในเวทีนั้นเป็น Tacit หนึ่ง ที่น่าสนใจ ไว้ผมจะนำมาเขียนนะครับ

ขอบคุณพี่ติ๋วมากครับ

สวัสดีครับคุณครูคนสวยทั้งสองท่าน

Pครูแอ๊ว คนสวย

Pครูเอ คนงาม

เป็นกำลังใจที่ดีในวันทำงาน ครับ ก็เป็นผลผลิตของงานนำมาเขียน เป็นการแลกเปลี่ยนกันเพื่อหาทางเลือก วิธีการที่น่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสม ตามประสบการณ์ท่านอื่นๆที่เคยทำเวทีลักษณะนี้มา

ขอบคุณครูทั้งสองท่านครับ ที่แวะมาให้กำลังใจผมตลอดเวลา เช่นกันครับขอส่งความรู้สึกดีๆนี้กลับไปยังทั้งสองท่านด้วยครับ

 

 

สวัสดีครับ พี่ธ.วั ช ชั ย

ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ แค่เห็นพี่มาเยี่ยมก็อิ่มใจแล้วครับ...ไม่มีโอกาสพบเจอกันสักทีนะครับ

ว่างๆมาจิบกาแฟ สนทนาภาษาคนคอเดียวกันนะครับ

ขอบคุณครับP

*** เพิ่งสังเกตว่าตอนนี้พี่ หน้ากลมดิ้ก เลยนะครับ

ส่วนใหญ่เอกสารโพแทสในมือ ที่มีอยู่เป็น รูปเล่มรายงานนคะ

ไม่มีเป็นไฟล์ค่ะ (ออกจากที่ทำงานเดิมมาก็เลยไม่เอางานเก่ามาด้วย)

และข้อมูลที่ประสบพบเจอจากเหตุการณ์จริงเนื่องจากการลงพื้นที่ ที่ โพแทช อุดร และโพแทช ชัยภูมินะคะ

สวัสดีค่ะคุณจตุพร ทำไมเขาไม่ฟังเหตุผลซึ่งกันและกันเลยล่ะคะ คนเดือดร้อนย่อมโวยเป็นธรรมดาค่ะ

สวัสดีครับ คุณเอก :)

ผมเข้ามาบันทึกคุณเอกช้าเสมอ .... :)

ผมคงเป็น Fa ไม่ได้แน่ ๆ ... ผมคงเครียดตายก่อนที่เขาจะตีหัวกัน 555

แต่ประโยชน์ที่ผมมองเห็นก็คือ การแบใจมาคุยกัน หากแต่ต้องมี Fa อีกนั่นแหละ คือ ผู้ประสานใจ เปิดมุมมองให้กับคนทุกฝ่าย การทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นภาพรวมที่เกิดขึ้นร่วมกัน

ประเทศไทยจะสงบสุข ครับ ...

ปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ปัญหาที่ประเทศไทยแทบจะแก้ปัญหากันไม่ได้มาก

รัฐจะเอา นายทุนเอาด้วย ข้าราชการลงมือ ส่วนประชาชนที่เป็นรากหญ้าได้แต่เดินถอยหนีเข้าสู่ความเสื่อมโทรมของชีวิต

ปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ปัญหาที่คนไทยไม่ว่าจะมีปัญญา หรือ เรียนสูงแค่ไหน จะเบือนหน้าหนี ไม่รู้ ไม่ฟัง ไม่เข้าใจ แม้กระทั่งในชุมชนแห่งนี้ก็เช่นกัน

เห็นควรต้องอัปเปหิหัวตัวเองออกไปจากที่นี่ได้เลย

มนุษย์ต่างดาวควรจะกลับดวงดาวของตัวเองได้

ขอบคุณครับคุณเอก :)

กาเหว่า...

ขอบคุณในรายละเอียดที่เพิ่มเติม คิดว่าอีกไม่นานจะมีเวทีใหญ่ที่ โคราช อีกครั้ง ถึงเวลานั้น คงได้แลกเปลี่ยนอีกครั้งในส่วนข้อมูลครับ

ขอบคุณมากครับ

ที่นครพนมเป็นยังไงบ้าง??

สวัสดีครับ คุณ amp

สาเหตุหลักของความขัดเเย้งไม่ว่าเรื่องใดๆก็คือ ต่างคนก็มีเหตุผลเป็นของตัวเอง และสร้างเหตุผลที่สร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง ทำให้พูดกันไม่รู้เรื่อง

เราไม่ได้คุยกัน...และเราไม่ได้เปิดใจซึ่งกันและกัน  ความขัดเเย้งก็ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

สวัสดีครับ อ.Wasawat Deemarn

มาช้ายังดีกว่าไม่มาครับ :) อาจารย์เป็นเพื่อนที่ดีของผมเสมอ ยินดีครับ  ด้วยมิตรภาพที่ดี ที่มีให้

ผมเองปกติเป็นคนค่อนข้างใจร้อน เมื่อเรามาอยู่ตรงนี้ เป็นตัวกลางในการรับฟัง ประสานงาน และ ติดต่อคนมากมายหลายกลุ่ม ผมก็พบว่าตัวเองใจเย็นและนิ่งมากขึ้นอาจเป็นเพราะเราได้เรียนรู้ผ่านปัญหาของคนหลากหลาย รู้เหตุ และ เข้าใจผลที่เกิดขึ้น..

เรื่อง ของผลประโยชน์ บางครั้งที่ขัดเเย้งเพราะ "ไม่ลงตัว" ก็เลยเกิดปัญหา หากลงตัวก็ปลอดปัญหา (กรณีทั่วไปนะครับ)

แต่กรณีโรงงานเกลือ ที่เป็นกรณีตัวอย่าง ผมกำลังมองว่า ขาดการสื่อสารที่ดี และมีกระบวนการบางอย่างที่ต้องมีข้อตกลงร่วมกัน ในการป้องกัน รวมถึงแก้ไขปัญหา

----------

สำหรับชุมชนแห่งนี้ หลากหลายจริงๆครับ สิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่ใช่ทั้งหมด หากเราใช้วิธีจิตวิเคราะห์ เราก็จะเห็นผมหลายๆปมที่มีอยู่ ดังนั้สิ่งที่แสดงออกมา เราก็จะเข้าใจ ว่าเพราะเหตุนี้เอง...

ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่สังคมที่นี่ขัดเเย้งกันบ้างในการปะทะทางความคิด

ขอให้อาจารย์ยึดมั่น และมีความสุขในสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่ครับ ผมให้กำลังใจอาจารย์เสมอ

มนุษย์ต่างดาว อาจต้องอดทนเพื่อที่จะอยู่กับโลกใหม่ เพื่อการเรียนรู้

ให้กำลังใจและมิตรภาพครับ

 

 

สวัสดีค่ะ น้องเอก

พี่อ่านข้างบนหมดแล้ว มันท้าทายดีนะ

ความขัดแย้งถ้ามีหลักการบริหารให้ดีเราจะได้ผลงานที่งดงาม

เหมือนเช่นผืนผ้าผืนหนึ่ง ย่อมต้องมีการขัดกันของเส้นด้าย

หรือเส้นไหมตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไปแต่ต้องขัดกันในลักษณะ

ที่เป็นรูปแบบของการถักทอผ้าตามภูมิปัญญาที่ได้รับถ่ายทอดกันมา

ถ้าเราไม่ทำตามขั้นตอนรูปแบบที่ถูกต้องมันจะไม่เป็นผืนผ้าที่มีลวดลายงดงาม

แต่มันจะพันกันยุ่งไปหมด เหมือนกับการที่เราไม่สามารถบริหารความขัดแย้ง

ให้ได้ลงตัว เป็นที่พอใจ ไม่รู้พี่จะเข้าใจผิดหรือไม่

พี่ก็งานเยอะเช่นกัน เพราะต้องติดตามสถานการณ์บ้านเมืองค่ะ

ขอให้น้องมีความสุขกับการทำงานและเดินทางปลอดภัยค่ะ

 

พี่ไหมแก้ว

กระผมต้องขอบคุณพี่มากครับ ที่ทำงานหนักแล้วยังหาโอกาสแว้บมาให้กำลังใจ พร้อมให้ข้อเสนอแนะเติมเต็ม ชอบข้อคิดเห็นของพี่มากครับ เห็นภาพเปรียบเทียบได้ชัดเจน

จริงๆการจัดเเย้งเป็นเรื่องปกติครับ หากความขัดเเย้งนั้นมีกระบวนการแก้ไขที่ถูกต้อง จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการขับเคลื่อนงานต่อไป  เรียกตามที่พี่เขียนว่า "การบริหารจัดการความขัดเเย้ง"

ที่สถาบันพระปกเกล้ากำลังจะมีหลักสูตรที่จัดขึ้นมาเพื่อส่งเสริมสังคมสันติสุข น่าสนใจมากครับ รุ่นนี้เป็นรุ่นที่หนึ่ง เป็นนิมิตรหมายอันดีว่า มีผู้ประสงค์สมัครเข้าเรียนเยอะครับ แต่ต้องคัดออกเพราะรับจำนวนจำกัด เท่าที่ดูรายชื่อเป็นผู้หลัก ผู้ใหญ่ ระดับประเทศทั้งนั้นเลย

 

ขอบคุณมากครับ เอกสารที่ส่งมาให้ผมได้รับครบครับ

ขอบคุณ อ.นายประจักษ์  ครับ

เชิญชวนแลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ กันครับ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท