เงาะป่า-ซาไก บนเทือกเขาบรรทัด


การทำความรู้จักวิถีชีวิตคนเมืองของเงาะป่าคงเป็นเรื่องใหญ่และลำบากมากสำหรับการปรับตัวของพวกเขา ในวันนี้เงาะป่าที่เป็นเหมือนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก็บซ่อนตัวอย่างมิดชิดในป่าลึกโลกของพวกเขาถูกเปิดให้คนภายนอกเข้ามามากขึ้น การปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ก็เริ่มขึ้นด้วย

เวลาที่จากไปไหนไกลๆสิ่งที่เราโหยหาที่สุดก็คือบ้าน

"บ้าน" คือสถานที่ที่ปลอดภัย อบอุ่น  หากเราไม่สบายใจสถานที่เราคิดถึงเป็นสถานที่แรกๆคือบ้านเรา ว่ากันว่า “ป่า” คือบ้านของสรรพสัตว์ และ ป่าแถบนี้เป็นบ้านของคนป่าที่เรียกตัวเองว่า “เงาะป่า ซาไก” บ้านที่อบอุ่นของพวกเขาเป็นบ้านที่อุดมสมบูรณ์ นายหัวบุญเลิศให้สัญญาว่าจะพาพวกเราไปพบเงาะป่าที่อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาบรรทัดแห่งนี้

IMG_3837 by picstation.

ในทริปเดินป่าเขาเจ็ดยอด เวลาที่ผ่านไปสามวันสองคืน แม้ว่าร่างกายของผมอ่อนล้าอย่างเห็นได้ชัด รองเท้ายางที่ซื้อมาด้วยราคาไม่กี่บาท แลกกับรองเท้านุ่มราคาแพงที่บังวอญ่าบอกว่า ไม่ควรนำมาเดินป่าเพราะเราต้องลุยน้ำ ขึ้นบก เป็นแบบนี้ตลอดเวลาในช่วงเดินทาง รองเท้ายางที่ตลาดแม่ขรี ราคา ๘๐ บาทจึงถูกแทนที่รองเท้าที่ติดตัวมา สิ่งนี้หละที่ทำให้ผมเดินกระโผลกกระเผลก คราขาเดินกลับลงมาจากเทือกเขาบรรทัดอันอุดม

Img_3882

ต้นไม้ยักษ์ ที่เทือกเขาเจ็ดยอด

เป็นความเจ็บปวดที่พอทนได้ หนังอ่อนๆของเท้าเสียดสีกับขอบรองเท้ายางอย่างจงใจ แม้ว่าสวมถุงเท้าที่หนาพอสมควรก็รู้สึกว่าผิวหนังตรงบริเวณนั้นถลอกไปหมดแล้ว การเดินเขย่งเท้าเพื่อลดการเสียดสี ก็ทำให้ผมปวดข้อเท้าเป็นอย่างมาก เป็นการเดินที่ผิดธรรมชาติเพราะเขย่งเท้าตลอดเวลา

Img_3899

เดินผ่านน้ำ บ่อยๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนรองเท้า

 

ผมดีใจที่นายหัวบุญเลิศบอกว่าอีกไม่ถึงครึ่งชั่วโมงคณะของเราจะเดินทะลุป่า ออกทาง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง  และที่นี่เองเราจะได้พบกับ “คนป่า” (นายหัวบุญเลิศบอกว่า เขาพอใจที่อยากให้เรียกเขาแบบนั้น)  คนป่าในที่นี้คือ “เงาะป่า”นั่นเอง ผมคิดว่าหลายท่านคงคุ้นเคยกับวรรณคดีเรื่อง “เงาะป่า” เป็นวรรณคดีไทยประเภทร้อยกรอง พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐกาลที่ ๕  ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในระหว่างทรงฟักฟื้นหลังทรงพระประชวร ผมตื่นเต้นพอๆกับเพื่อนร่วมทริปที่ตื่นเต้นที่เราจะได้ไปพบ ไปเรียนรู้วิถีชีวิตของ เงาะป่า (ซาไก)  ซึ่งนายหัวบุญเลิศเองมีความสัมพันธ์กับเงาะซาไก กลุ่มนี้เป็นอย่างดี ว่ากันว่า เงาะซาไกกลุ่มนี้ยอมรับและไว้ใจนายหัวของเรามาก ยอมที่จะให้พวกเราไปพบด้วย เงาะซาไกหรือ "มันนิ" ซึ่งแปลว่า “พวกเรา” อาศัยอยู่ตามแนวทิวเขาบรรทัดในเขต ตำบลลิพังและตำบลปะเหลียน ทั้งหมดมีอยู่ประมาณ ๓๐ – ๓๕ คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทั้งหมด ๔  กลุ่ม มันนิใส่เสื้อผ้าแบบสมัยใหม่ที่ชาวบ้านบริเวณนั้นบริจาคให้ พูดภาษาถาษาใต้ได้บ้าง แต่ยังชอบอยู่ในป่า มันนิถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เข้าใจวิถีทางธรรมชาติในป่ามากที่สุดเผ่าพันธุ์หนึ่ง

นายหัวบุญเลิศได้พาผมและเพื่อร่วมทริป เดินลัดเลาะเข้าบริเวณป่าเล็กท้ายหมู่บ้าน เดินลึกเข้าไปในสวนยางพารา และผมสังเกตว่าเดินลึกเข้าไปทุกที ในขณะที่เวลาที่ค่ำลงแสงเริ่มจะหมดคนถ่ายภาพ (มือสมัครเล่น) แบบผมที่กลัวก็กลัวแสงหมดเท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาการถ่ายภาพมาก แต่ไม่น่าเชื่อเพียงอึดใจ เราก็เห็นควันไฟที่เจือจางกับราวป่า เป็นที่สังเกตว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ ตรงนี้เองน่าจะเป็นหมู่บ้านของ เงาะซาไก จุดหมายปลายทางที่เราจะไปพบ

Img_3968

คำว่าหมู่บ้าน ก็ไม่น่าจะถูกนะครับ เพราะเป็นเพียง "กลุ่มบ้าน" ที่ผมนับดูเป็นเพิงง่ายๆอยู่เป็นครอบครัว ประมาณ ๑๐ เพิงพัก เป็นลักษณะเพิงหมาแหงน สร้างด้วยไม่ใผ่มัดด้วยเชือกตอก ใช้ใบเหรงซึ่งมีลักษณะคล้ายใบตาล บุเป็นผนัง กันฝนสาด ภายในไร้ทรัพย์สินของมีค่าใดๆ  บริเวณพื้นเป็นดินเรียบโล่ง รองพื้นด้วยไม้ใผ่ตัดเป็นท่อนลำเล็กๆเรียงกันเป็นพื้นที่สำหรับนั่ง นอน อีกมุมหนึ่งของเพิงก็เป็นที่ก่อไฟเล็กๆ ไว้สำหรับปิ้งหัวมัน กลอย และมะละกอ สัตว์ป่า จับสัตว์น้ำด้วยมือเปล่า หรือเบ็ด สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของซาไกก็คือ "บอกตุด" อาวุธของพวกเขา

Saki6

Saki8

Img_3920

Img_3941

 

เงาะป่าจะมีอาวุธที่สำคัญเรียกว่า “บอกตุด” ซึ่งเป็นอาวุธชนิดเดียวที่ใช้สำหรับล่าสัตว์เป็นอาหาร บอกตุดมีลักษณะเป็นไม้ไผ่ยาว ตรงกลางกลวง ปลายกระบอกติดลูกดอกเล็กๆ อาบยางน่อง ซึ่งถือเป็นยาพิษร้ายแรง ทำให้สัตว์ที่ถูกเป่า หรือตุด ต้องถึงแก่ความตายได้ ผู้ชายทุกคนในเผ่าเมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่มจะต้องใช้บอกตุดเป็นอาวุธประจำกาย เพื่อล่าสัตว์มาเป็นอาหารสำหรับทุกคนในเผ่า ซึ่งพวกเขาจะได้รับการถ่ายทอดวิชาเหล่านี้จากผู้เป็นพ่อและแม่ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ถึงแม้ชาวป่าจะมีอาวุธที่ร้ายแรง พวกเขาก็มีกฎในการล่า มีกฏในการใช้อาวุธซึ่งสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น พวกเขาจะล่าเพียงสัตว์เล็กๆ มาเป็นอาหารเท่านั้นไม่มีการล่าเพื่อการสะสมอาหาร เมื่ออาหารหมดถึงจะออกล่าสัตว์ กฎข้อสำคัญ คือห้ามตุดหรือเป่าใส่คน ห้ามใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กันเด็ดขาด ส่วนผู้หญิงและเด็กก็ห้ามแตะต้องกระบอกใส่ลูกดอก เพราะพิษร้ายแรงอาจทำให้เกิดอันตราย (ข้อมูล “บอกตุด” นี้ นำมาจาก : http://www.tvburabha.com)

Img_3972

นายหัวเดินตรงเข้าไปในลานกลางของเพิงพักทั้งหมดที่หันหน้าเข้ากัน เป็นลานเล็กๆที่มองเห็นที่พักได้ทุกหลัง เพราะความคุ้นเคยของนายหัวกับคนเงาะซาไก ซึ่งพวกเขาร้องอย่างดีใจเมื่อนายหัวเดินเข้าไปถึง พวกเราเดินตามนายหัวเข้าไปติดๆ พร้อมยกมือทักทายซาไกทุกคนที่อยู่ตรงนั้น มีเพียงแต่สายตาจ้องมอง คนแปลกหน้า และผมยังดีใจที่แอบเห็นรอยยิ้มจางๆจากซาไกหลายคนที่แอบมองพวกเราอยู่...คือมิตรภาพที่คนแปลกหน้ามีให้กัน

Img_3913

ผมมีขนมมาฝากเด็กๆ รวมไปถึงอาหารแห้งที่เราเอาติดตัวเพื่อเดินป่า ซึ่งก็เหลือเป็นจำนวนพอสมควร เราแวะร้านค้าเล็กๆที่ปะเหลียนซื้อขนม อาหารแห้งเพิ่มเติม นำมาเป็นของฝากให้เงาะซาไกทั้งหมด

Saki

Img_3958

ปัจจุบันชาวเงาะป่าซาไก มีการติดต่อสัมพันธ์กับคนเมืองมากขึ้น พื้นที่ป่าที่ถูกรุกรานอย่างหนักจากคนพื้นราบ การให้ข้อเสนอเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกับเงาะซาไกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิการรักษาพยาบาล การศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความหวังดีของคนเมือง นั่นหมายถึงว่าพื้นที่ส่วนตัวของพวกเขาลดน้อยลงเรื่อยๆ การทำความรู้จักวิถีชีวิตคนเมืองของเงาะป่าคงเป็นเรื่องใหญ่และลำบากมากสำหรับการปรับตัวของพวกเขา ในวันนี้เงาะป่าที่เป็นเหมือนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก็บซ่อนตัวอย่างมิดชิดในป่าลึก โลกของพวกเขาถูกเปิดให้คนภายนอกเข้ามามากขึ้น การปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ก็เริ่มขึ้นด้วย

Img_3950 Img_3952
เด็กน้อยชาวซาไก  

ก่อนพระอาทิตย์จะอำลา แสงน้อยลงทุกขณะ ผมรัวชัตเตอร์ถ่ายในทุกมุม วิถีของเงาะป่า เพื่อให้เป็นความทรงจำว่า ครั้งหนึ่งผมมาเยือนพวกเขา เด็กๆยังคงความเป็นเด็กไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไหน เขาพึงพอใจกับขนมที่พวกเรานำเอามาให้ กอดไว้แนบอก ค่อยๆแกะมากินอย่างเอร็ดอร่อย พร้อมด้วยรอยยิ้มที่เจือด้วยมิตรไมตรี แม้ว่าเราสื่อสารกันไม่ได้ด้วยคำพูด แต่ก็รู้สึกอบอุ่นด้วยมิตรภาพ

ผมถ่ายรูปอย่างเพลิดเพลิน พร้อมกับเอียงกล้องให้เด็กๆดูภาพ ในจอแอลซีดี ซึ่งเป็นรูปของพวกเขาเองที่อยู่ในอิริยาบถต่างๆ พวกเขาหัวเราะร่าอย่างอารมณ์ดี

 


จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๓ มค.๕๓

 

ข้อมูลจำเพาะ

ซาไก (มาเลย์ : Orang Asli ; โอรังอัสลี) เป็นมนุษย์โบราณอาจจะที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ประมาณ 1,500– 10,000 ปีมาแล้ว รูปร่างเตี้ยมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ ชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเนกริโต ตระกูลออสโตร-เอเชียติก อยู่กระจายกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว 7-60 คน ในรัฐเกดะห์ มาเลเซีย ในส่วนลึกของนิวกินี ฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอันดามัน เรียกตนเองว่า “มันนิ” ส่วนผู้อื่นเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาแก หรือ โอรัง อัสลี (Orang Asli)

จาก : วิกิพีเดีย ซาไก

หมายเลขบันทึก: 324715เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2010 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)
  • โอ! น่าสนใจมากๆครับ ทั้งเรื่องและภาพ เท่าที่ได้ติดตาม พอรู้บ้างว่าไปพบซาไก แต่เพิ่งรู้ละเอียดๆในบันทึกคุณเอกนี้เอง
  • เด็กก็คือเด็ก ไม่ว่าจะที่ไหนๆ เมื่อเห็นภาพตัวเองในกล้อง หัวเราะร่า อารมณ์ดี เห็นภาพชัดเจนเลยครับ เพราะเคยประสบมาบ้าง
  • แต่ก่อนเห็นภาพคุณเอกครั้งใด ก็จะเห็นแต่แต่งตัวเท่ห์ๆ ดูพิถีพิถัน คิดว่าคงเป็นหนุ่มสำอางๆ ธรรมดาๆ แต่พอฟังเรื่องราวการเดินป่าครั้งนี้จากหลายๆคนแล้ว ภาพที่นึกไว้เปลี่ยนไปเลยครับ..น่าจะบู๊และลุยมากๆคนหนึ่ง
  • ขอบคุณเรื่องราวความรู้ดีๆเกี่ยวกับซาไกครับ

สะท้อนมุมหนึ่งของสังคมได้ดีค่ะ

อ่านถึงช่วงกลางที่เห็นภาพเด็กน้อย ยังคิดอยู่ว่า เอ..แล้วเขาจะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลหรือไม่ เด็ก ๆ จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรครึเปล่า ...อ่านต่อมาจึงเห็นคุณเอกเล่าถึง การได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลหรือการศึกษา

สังคมควรจะเหลียวแลกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้นนะคะ

เพราะเขาก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนเหมือนกันเนาะ...

ขอให้มีความสุขมาก ๆ ในวันปีใหม่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ...^_^

ไปให้กำลังใจกันหน่อยนะ เดี๋ยวหนีกลับบ้านเด้อ..!!!...55 5

 

เรียนคุณจจตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร

ผมอ่านเขียนคุณที่ไร ทำให้มองเห็นภาพ เหมือนอยู่ในบรรยากาศจริงทุกที

ผมคิดตามประสาของผมนะครับ ว่าความเป็นอยู่ของคนป่าเขาอยู่แบบพึงพิงภูมิปัญญา เขาเรียนรู้ เจนจัด

ในเรื่องป่า ผมไม่อยากเห็นสังคมเอาเขามาเป็นสินค้าเชิงธุรกิจการท่องเที่ยว แล้วเปลี่ยนวิถีชีวิตของเขา

เรื่องน่าห่วงคือคนเมืองกำลังไล่ที่คนป่า (ผมคิดมากไปไหมนี่)

โอกาสนี้มาเรียนเชิญท่านร่วมเป็นวิทยากรค่ายจิตอาสาที่ไทยรัฐวิทยา 63 ยโสธร ครับผม

ตอนแรกพี่ก็คิดว่า น้องเอกจะเป็นหนุ่มที่ชอบเดินเล่น

รับแอร์เย็นๆแถวสยามพารากอน ไม่นึกว่าจะสะพายเป้

ลุยป่ากะเขาได้  เพิ่งรู้นะว่า เงาะปา - ซาไก มีตัวตนจริงๆ

สวัสดีปีใหม่ 2553 อีกครั้งนะคะ มาติดตามสารคดีที่นำเสนอได้สาระมากๆค่ะ.. มีความเข้าใจในการดำรงชีวิตของชาวซาไก..และขอชื่นชมนักเดินทางป่าทุกท่านที่มีความอึดกันทุกท่านค่ะ

สวัสดีค่ะคุณจตุพร

....ได้ความรู้เพิ่มค่ะ...โอ้ ว้าว...เงาะสวมกางเกงยีนส์ แล้วนะเนี่ย....

....พัฒนาไปเยอะ แต่ที่อยู่อาศัย ยังเป็นเหมือนในภาพเหรอค่ะ หรือ มีบ้านที่ถาวรกว่านี้...

น่ารัก ไร้เดียงสา ธรรมชาติมากๆค่ะ พี่เอก...

ชอบน้องคนนี้จัง

Saki6

ภาพสวย ได้ความรู้ด้วยครับ

เป็นทริปที่ดีเยี่ยมและน่าจดจำมากๆครับ

ถ้ามีโอกาสอยากไปบ้าง

ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

  • โอ! น่าสนใจมากๆครับ ทั้งเรื่องและภาพ เท่าที่ได้ติดตาม พอรู้บ้างว่าไปพบซาไก แต่เพิ่งรู้ละเอียดๆในบันทึกคุณเอกนี้เอง
  • เด็กก็คือเด็ก ไม่ว่าจะที่ไหนๆ เมื่อเห็นภาพตัวเองในกล้อง หัวเราะร่า อารมณ์ดี เห็นภาพชัดเจนเลยครับ เพราะเคยประสบมาบ้าง
  •  บางทีไม่เฉพาะเด็กนะครับ ผู้ใหญ่หลายท่านที่เห็นภาพตัวเองที่ถูกบันทึกไว้ เขาก็ยิ้มเเบบมีความสุข สื่อนี้เป็นสื่อที่ทำให้เรากับเขา ใกล้ชิดกันมากขึ้น

    ผมเองไม่ค่อยมีความรู้เรื่องของ "ซาไก" เท่าไหร่ เพียงเเต่เคยอ่าน หนังสือนอกเวลา "คนังเงาะน้อย"  ดีใจและตื่นเต้นครับที่มีโอกาสมาเรียนรู้วิถีชีวิตคนป่าถึงที่บ้านเขาเลย สิ่งที่ผมสามารถนำไปเผยเเพร่ได้ ก็คือ ความรู้สึกที่สื่อจากรูปภาพครับ :) 

  • แต่ก่อนเห็นภาพคุณเอกครั้งใด ก็จะเห็นแต่แต่งตัวเท่ห์ๆ ดูพิถีพิถัน คิดว่าคงเป็นหนุ่มสำอางๆ ธรรมดาๆ แต่พอฟังเรื่องราวการเดินป่าครั้งนี้จากหลายๆคนแล้ว ภาพที่นึกไว้เปลี่ยนไปเลยครับ..น่าจะบู๊และลุยมากๆคนหนึ่ง
  • ขอบคุณเรื่องราวความรู้ดีๆเกี่ยวกับซาไกครับ
  • เป็นแบบนี้เลยครับ หลายคนก็จินตนาการว่าผมค่อนข้างจะดูพิถีพิถันหน่อย เป็นหนุ่มที่สำอาง หนุ่มเมืองกรุง(บ้านนอกเข้ากรุงและใจเเตก :) ) เลยมองไม่ออกว่าผมจะลุยอย่างไร? แต่ผมเป็นเด็กหลังเขา บนดอยครับ เรียกว่า เด็กดอยตัวจริงเสียงจริง เลย ที่เมืองปายเเม่ฮ่องสอน บ้านของผม เราก็อยู่กันกับป่านี่หละครับ "โผ้ เอา เเค เร้าะ มา ฝาก "

    เมื่อถึงเวลาหนึ่งผมก็อำลา ชีวิตเมืองกรุง ที่วุ่นวายเต็มทน อีกไม่นานเเล้ว กลับไปเชียงใหม่ถิ่นเดิมครับ :)

    ขอบคุณมากครับ ครูธนิตย์ ครูเพื่อศิษย์ที่ควรยกย่อง

    สวัสดีค่ะ

    • รออ่านตั้งนาน
    • พิมพ์ออกไปแจกเด้ก ๆ อ่านด้วย
    • ขอขอบคุณค่ะ

     

    อ่านถึงช่วงกลางที่เห็นภาพเด็กน้อย ยังคิดอยู่ว่า เอ..แล้วเขาจะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลหรือไม่ เด็ก ๆ จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรครึเปล่า ...อ่านต่อมาจึงเห็นคุณเอกเล่าถึง การได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลหรือการศึกษา

    พี่สีตะวันครับ เป็นมุมมองของบุคลากรสาธารณสุขเลยนะครับ ที่จะคิดในเเง่มุมนี้ก่อนอื่นเลย:) ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง กระเเสโลกาภิวัฒน์ที่เเรงเร็ว ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งซาไกในป่าลึก

    ผมอ่านเขียนคุณที่ไร ทำให้มองเห็นภาพ เหมือนอยู่ในบรรยากาศจริงทุกที

    ผมคิดตามประสาของผมนะครับ ว่าความเป็นอยู่ของคนป่าเขาอยู่แบบพึงพิงภูมิปัญญา เขาเรียนรู้ เจนจัด

    ในเรื่องป่า ผมไม่อยากเห็นสังคมเอาเขามาเป็นสินค้าเชิงธุรกิจการท่องเที่ยว แล้วเปลี่ยนวิถีชีวิตของเขา

    เรื่องน่าห่วงคือคนเมืองกำลังไล่ที่คนป่า (ผมคิดมากไปไหมนี่)

    โอกาสนี้มาเรียนเชิญท่านร่วมเป็นวิทยากรค่ายจิตอาสาที่ไทยรัฐวิทยา 63 ยโสธร ครับผม

    ผอ.พรชัยครับ  ผมจะได้เจอพี่เกียรติศักดิ์ ไม่กี่วันนี้คงได้คุยเรื่องนี้กัน(ค่ายที่ รร.ไทยรัฐ ๖๓)  ผมจะหาเวลาไปร่วมนะครับ แต่ต้องดูช่วงเวลาก่อนครับ เราคาดว่า งานชิ้นใหญ่ที่ทำให้ สรพ.คงเสร็จเเล้ว (หนังสือที่ผมเขียนร่วมกับพี่เกียรติศักดิ์)  ขอบคุณท่าน ผอ.มากครับ ...ผมก็อยากไปครับ ไปสัมผัสวิถีวัฒนธรรมคนอีสาน รวมถึงไปทำกิจกรรมดีๆ กิจกรรมจิตอาสา

    ตอนแรกพี่ก็คิดว่า น้องเอกจะเป็นหนุ่มที่ชอบเดินเล่น

    รับแอร์เย็นๆแถวสยามพารากอน ไม่นึกว่าจะสะพายเป้

    ลุยป่ากะเขาได้  เพิ่งรู้นะว่า เงาะปา - ซาไก มีตัวตนจริงๆ

    ครู ป.๑

    ปีใหม่นี้ครูยังไม่ได้เลื่อนชั้นเหรอครับ??

    เป็นธรรมดาครับ หลายท่านมองว่าผมเป็นหนุ่มเมืองกรุง สำอาง เอ...แล้วจะลุยๆได้หรือ เหตุผลเดียวที่ผมบอกให้ ครูธนิตย์ครับ ผมเด็กดอยตัวจริง เสียงจริง

    สวัสดีปีใหม่ 2553 อีกครั้งนะคะ มาติดตามสารคดีที่นำเสนอได้สาระมากๆค่ะ.. มีความเข้าใจในการดำรงชีวิตของชาวซาไก..และขอชื่นชมนักเดินทางป่าทุกท่านที่มีความอึดกันทุกท่านค่ะ

    ครูรินดา ครับ

    ขอบคุณ การ์ดสวยๆ ดอกลิลลี่งามๆครับ ขอให้พรดีๆนั้นย้อนกลับไปยังครูรินดาด้วยเช่นกันครับผม

    สวัสดีค่ะคุณจตุพร

    ....ได้ความรู้เพิ่มค่ะ...โอ้ ว้าว...เงาะสวมกางเกงยีนส์ แล้วนะเนี่ย....

    ....พัฒนาไปเยอะ แต่ที่อยู่อาศัย ยังเป็นเหมือนในภาพเหรอค่ะ หรือ มีบ้านที่ถาวรกว่านี้...

    คุณปิ่นธิดา ครับ

    เป็นเสื้อผ้าที่คนเมืองบริจาคให้คนป่า "เงาะป่า" ได้สวมใส่ครับ ชาวซาไกกลุ่มนี้อยู่ใกล้ชิดกับคนเมืองพอสมควร อย่างที่ผมบอกว่า เขากำลังปรับตัวครั้งใหญ่ครับ

    น่ารัก ไร้เดียงสา ธรรมชาติมากๆค่ะ พี่เอก...

    ชอบน้องคนนี้จัง

    น้องพอลล่าครับ เด็กๆไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไหน ก็ยังคงความเดียงสา น่าเอ็นดูครับ

    ภาพสวย ได้ความรู้ด้วยครับ

    เป็นทริปที่ดีเยี่ยมและน่าจดจำมากๆครับ

    ถ้ามีโอกาสอยากไปบ้าง

    น้องคาปูฯ ครับ

    เป็นทริปที่ผมประจำใจ ยกให้เป็นทริปแห่งปีเลยครับผม

    สวัสดีค่ะ

    • รออ่านตั้งนาน
    • พิมพ์ออกไปแจกเด้ก ๆ อ่านด้วย
    • ขอขอบคุณค่ะ

    ขอบคุณมากครับครูคิม...คงต้องให้เด็กไปค้นคว้าต่อนะครับ รายละเอียดที่เขียนลงไปไม่เยอะเท่าไหร่ครับ

    สวัสดีค่ะ แวะมาชมชนเผ่าซาไกค่ะ..ธรรมชาติจัง

    ขอให้ปีใหม่คิดดี ทำดี และพบเจอแต่สิ่งดี ๆ

    ตำรวจเป็นมิตร  ใกล้ชิดประชาชน

    • เห็นแล้วคิดถึงลำหับชมป่า...
    • ตัวจริงหน้าตาเขาเหมือนกันไหมคะ..
    • อยากไปเดินป่าบ้างจัง..เยี่ยมมากๆค่ะคุณเอก

    พี่นุชnussa-udon ครับ

    เป็นเรื่องราวเดียวกับ "ลำหับชมป่า" นั่นละครับ  ซาไกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีรูปร่าง รูปร่างเตี้ยมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ (แต่เท่าที่เห็นก็มีหลายคนสูง ใหญ่ ผิวเหลืองนะครับ)

    มีโอกาสก็ไปเดินป่าครับ มีทริปแบบเดินสบายๆ ไม่กี่ชั่วโมง จนถึง นอนค้างคืน(แบบลุยๆหน่อย) เป็นการพักผ่อนอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจครับ

     

    เอาเรื่องราวของ นางลำหับ มาให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้ร่วมด้วย

     

    สาระสำคัญของเรื่องเงาะป่า  เป็นเรื่องความรักสามเส้าระหว่างชายสองหญิงหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นคือความทุกข์ ความเดือดร้อนวุ่นวายของคนทั้งสาม จนกระทั่งพาไปสู่ความตายที่ก่อให้เกิดความสลดใจแก่ผู้อยู่เบื้องหลัง

    เนื้อเรื่องกล่าวถึงลำหับ เงาะสาวแสนสวยประจำหมู่บ้าน ความงามของลำหับทำให้ฮเนา หนุ่มรูปงามคนหนึ่งในหมู่เงาะหลงรัก จึงได้ให้พ่อแม่มาสู่ขอ ในขณะเดียวกันก็มีเงาะหนุ่มอีกคนหนึ่งคือ ซมพลา ได้แอบหลงรักลำหับอยู่เช่นกัน ซมพลาหาทางตีสนิทกับไม้ไผ่น้องชายของลำหับ แล้วให้ไม่ไผ่เป็นสื่อนำดอกไม้และเล็บเสือซึ่งแฝงความหมายบอกรักไปให้ลำหับ

    ลำหับทราบเรื่องจากไม้ไผ่ ก็เกรงว่าเรื่องจะลุกลามใหญ่โตจึงนิ่งเสีย ไม้ไผ่ออกอุบายชวนลำหับไปเก็บดอกไม้ในป่า โดยแอบนัดแนะกับคนังเพื่อนของตนเพื่อให้ไปบอกซมพลาให้มาพบลำหับ ขณะที่ลำหับกำลังเที่ยวชมและเก็บดอกไม้อย่างเพลิดเพลินนั้น งูตัวหนึ่งซึ่งอยู่ที่กิ่งไม้ก็รัดพันแขนของลำหับ ทำให้ลำหับตกใจจนหมดสติ ซมพลาจึงเข้าช่วยเหลือ โดยฆ่างูตัวนั้นเสีย ครั้นลำหับได้สติฟื้นขึ้นก็เกิดปฏิพัทธ์ต่อซมพลา ด้วยเห็นว่าได้ถูกเนื้อต้องตัวนางแล้ว ซพลาบอกรักนางและมอบพวงนาคพตให้นางสวมไว้ป้องกันงู และขอกำไลมะกล่ำที่นางสวมไว้ดูต่างหน้า แล้วชวนกันเดินชมดอกไม้ในป่าอย่างมีความสุข

    แต่ความรักของคนทั้งสองต้องมีอุปสรรคเพราะลำหับนั้นได้หมั้นหมายกับ  ฮเนาแล้ว ในวันแต่งงานของฮเนากับลำหับ ซมพลาได้ตัดสินใจจะพานางหนีไปอยู่ในถ้ำ หลังเข้าพิธีแต่งงานแล้วลำหับอยู่กับฮเนาตามลำพัง ฮเนาเห็นลำหับโศกเศร้าจึงเข้าปลอบประโลม แต่ลำหับกรีดร้องมิให้ฮเนาถูกเนื้อต้องตัว

    ฝ่ายเงาะแคซึ่งซุ่มดูอยู่กับซมพลาก็ได้ดำเนินการตามแผนโดยปาก้อนหินไปที่ ฮเนาเพื่อยั่วให้ฮเนาโกรธและไล่ตามไป ปล่อยให้ลำหับอยู่ตามลำพัง ซมพลาจึงเข้าไปพาลำหับหนี ฮเนานึกเอะใจ กลับมาที่เดิมอีกครั้งปรากฏว่าไม่พบลำหับเสียแล้ว ทำให้รู้สึกคลั่งแค้นมาก ซมพลาพาลำหับมาอยู่ด้วยกันในถ้ำอย่างมีความสุข

    ฮเนาได้ออกติดตามหานางลำหับจนพบ  ซมพลากับฮเนาได้ต่อสู้กัน  แล้วรำแก้วซึ่งเป็นพี่ชายของฮเนาได้ใช้ลูกดอกอาบยาพิษเป่าไปถูกซมพลาได้รับบาดเจ็บ  นางลำหับไม่เห็นซมพลากลับมาจึงไปตาม  และพบซมพลาถูกลูกดอกอาบยาพิษถึงแก่ความตาย  นางลำหับรักซมพลามากจึงได้ใช้มีดฆ่าตัวเองตายตามซมพลา  ส่วนฮเนาเมื่อได้รู้ว่านางลำหับกับซมพลารักกัน  และตนเป็นต้นเหตุให้ทั้งสองตายจึงได้ฆ่าตัวตายตามไปด้วย

     

    อ้างอิงจาก : วรรณคดีเรื่องเงาะป่า

    สวัสดีค่ะ

    • น่าประทับใจและทรงคุณค่าอย่างยิ่งทั้งภาพและบทความ ถ้าได้สัมผัสด้วยตัวเองคงจะประทับใจแบบไม่รู้ลืมแน่ๆ
    • ขอบคุณมากค่ะที่นำมาเผยแพร่

    ศิริวรรณค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    • น่าประทับใจและทรงคุณค่าอย่างยิ่งทั้งภาพและบทความ ถ้าได้สัมผัสด้วยตัวเองคงจะประทับใจแบบไม่รู้ลืมแน่ๆ
    • ขอบคุณมากค่ะที่นำมาเผยแพร่

    ศิริวรรณค่ะ

    ขอบคุณมากครับ พี่ศิริวรรณ

    อย่างที่บอกในบันทึกก่อนว่า ทริปเดินป่าเขาเจ็ดยอด ผมยกให้เป็นทริปแห่งปีของผมเลยทีเดียว การเดินป่าแถบภาคใต้มีเรื่องที่ท้าทายมากมาย อย่างหนึ่งก็คือ ความชื้นที่สูง แต่ตรงนี้เองครับ ความชื้นสูงก็ทำให้เราได้เห็นต้นไม้แปลกๆ สัตว์ป่าที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ที่สำคัญผจณภัยกับน้ำป่าเป็นเรื่องตื่นเต้นดี เป็นทริปที่เดินนานมากรวมเวลา ๓ วัน

    ส่วน "เงาะป่า" นั้น เป็นครั้งเเรกในชีวิตที่ผมได้สัมผัส เรียนรู้วิถีชีวิตของพวกเขา  ถือว่าเป็นต้นทุนทางประสบการณ์ของผมที่มีคุณค่าอย่างยิ่งครับ

    จตุพร-เอก

    • โลกทั้งผองพี่น้องกันครับคุณเอก ไม่ใช่เขา ไม่ใช่อื่น แต่คือเรา คือ สัตว์โลก
    • อ่านบันทึกนี้แล้ว นึกถึงพี่น้องมลาบรีที่น่านครับ

    สวัสดีปีใหม่

    สุข สดชื่น สมหวัง

    สุขภาพแข็งแรง รำรวย เฮงๆๆๆ ตลอดไป

    เห็นรูปเด็กๆแล้ว สงสาร ..อยากให้เด็กๆเหล่านั้นมาอยู่ในเมือง

    อ่านเรื่องเงาะป่า...คิดถึงสมัยเรียน

    มีความสุขมากๆนะคะ

  • โลกทั้งผองพี่น้องกันครับคุณเอก ไม่ใช่เขา ไม่ใช่อื่น แต่คือเรา คือ สัตว์โลก
  • อ่านบันทึกนี้แล้ว นึกถึงพี่น้องมลาบรีที่น่านครับ
  • พ่อน้องซอมพอ พี่ถนัดครับ :

    เพื่อนร่วมทุกข์ของเราทั้งนั้น ไม่มีเขา ไม่มีเรา ...ใช่เลยครับ เห็นภาพ สคส.ของ น้องซอมพอ แล้วทำให้เช้าวันนี้สว่างไสวเลยครับ

    ขอบคุณมากครับ

     

    พี่ครูโบตั๋น

    หากคิดอีกมุมการมาอยู่ในเมืองของซาไก อาจสร้างทุกข์มากมายให้พวกเขาก็ได้  การช่วยเหลือและส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนป่า คงต้องใช้ความละเอียดอ่อนรวมไปถึงไม่ให้บริบทเปลี่ยนไปมากนะครับ ...แต่เห็นเด็กๆ เราก็อดสงสารไม่ได้นะครับ

    ขอบคุณสำหรับพรปีใหม่ครับ พี่ครูโบตั๋น

    อีกวันสองวันผมเดินทางไปพิจิตรครับ มีโอกาสคงได้เลยไปพิษณุโลก

    วรรณคดีเรื่องเงาะป่า...เป็นวรรณคดีในดวงใจของผมโดยแท้  ท่องจำมาหลายบท  แต่ไม่กล้าเขียนลงในบันทึกนัก เพราะเกรงคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะท่อนของการสอนหญิงสู่การเป็นแม่ศรีเรือนนั้นทรงคุณค่ายิ่งนัก  ...

    ...

    บันทึกนี้ยืนยันได้ว่า  ทุกๆ ที่มีเรื่องเล่า..
    และเรื่องเล่าก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต..
    ชีวิต อยู่ได้ด้วยเรื่องเล่า
    เรื่องเล่า เป็นประหนึ่งอาหารของชีวิต...

    ...

    แวะมาสวัสดีปีใหม่...
    ของให้เต็มไปด้วยความรัก ความฝัน และความหวัง
    มีพลังเฉกเช่นที่ผ่านมา

    ปีใหม่ปีนี้..ผมยังต้องเดินทาง
    แต่สุขกว่าทุกปี เพราะได้อยู่กับคนที่เรารัก...
    เสียดายก็แต่การอยู่ที่ว่านั้น เป็นการนอนทรุดให้ไข้ลามเลียชีวิตแบบสองคืนสามวันเลยทีเดียว...

    ....

    โชคดีครับ..
    ได้รับหนังสือที่ส่งไปให้ หรือยัง...

    สวัสดีค่ะคุณจตุพร

    • ความจริงพี่นะอยู่ใกล้  แต่ไม่เคยเห็นเลย
    • เพราะไม่เคยเดินป่า   (แต่เผ่าพันธุ์ น่าจะใกล้เคียง  ผิวดำ ผมหยิก อิๆๆ)
    • วันก่อนดูในโทรทัศน์ พิธีแต่งงานของเงาะซาไก  ที่พัทลุง ยังตื้นเต้นเลย
    • แต่ว่าเด็กๆของเขาได้เรียนหนังสือหรือเปล่า
    • เพิงพักก็ไม่มั่นคงเลย  ฝนตกหนัก เขาอยู่ได้หรือ
    • แต่เด็กๆไร้เดียงสาจัง  น่ารักจริงๆ
    • ขอชื่นชมน้องเอก   เก่งมากๆ

     

    สวัสดีครับ...คุณพนัส : แผ่นดิน

    ก็ไม่คิดเหมือนกันนะครับว่าจะมีโอกาสไปศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตคนป่า "เงาะซาไก" หลังจากที่เราเห็นในสื่อบ้าง ในหนังสือเรียนบ้าง

    จริงๆมีเรื่องเล่ามุมเล็กมุมน้อยมากมายครับสำหรับการเดินทางครั้งนี้ เป็นความประทับใจของผมเอง

    สวัสดีปีใหม่ครับ ๒๕๕๓ ครับ ขอให้คุณพนัสเเละครอบครัวมีความสุข ความเจริญ ครับ และฝากความระลึกถึงไปยังหลานชายทั้งสองด้วยครับ

    เมื่อวานผมได้รับหนังสือ ๖ เล่มแล้วผมชอบมาก ต้องหาเวลานั่งอ่านครับ

    ขอบคุณมากครับ เป็นของขวัญที่มีคุณค่ามากสำหรับปีใหม่ของผมครับ

    พี่ ดาวเรือง

    สวัสดีครับ

    สิ่งบแรกที่คิดเมื่อเห็นที่อยู่ของพวกเขา ก็เป็นห่วงเรื่องความมั่นคงของที่พักครับ เวลาฝนตกหนัก ฝนสาด จะทำอย่างไร

    ภาพเด็กจะเเสดงความไร้เดียงสา ไม่ว่าเด็กนั้นเขาจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไหน.. มีเวลาไปเดินป่า จะเห็นโลกอีกมุมที่น่าสนใจครับ :)

    ขอบคุณมากครับผม

    สวัสดีครับ น้องเอก ผมก็ยังจะบันทึกการเดินทางเป็นตอนสุดท้าย ตอนส่งแขกครับ

    แต่ยังไม่ได้ลงครับ

    ป้าเหมียวเข้ามาเล่นโกทูโนว์ใหม่ๆ เคยจะใช้นามว่า "ลำหับ"....ชอบเรื่องราว และภาพถ่ายฝีมือคุณเอก..ที่มักถ่อมตัวว่า ช่างภาพสมัครเล่น..

    ป้าเหมียวเข้ามาเล่นโกทูโนว์ใหม่ๆ เคยจะใช้นามว่า "ลำหับ"....ชอบเรื่องราว และภาพถ่ายฝีมือคุณเอก..ที่มักถ่อมตัวว่า ช่างภาพสมัครเล่น..

    ป้าลำหับ เอ้ย ป้าเหมียว

    ขอบคุณมากครับป้าเหมียวครับ เรื่องถ่ายรูปผมห่างชั้นช่างภาพมืออาชีพมากเลยครับ ผมเพียงถ่ายบำบัดความอยาก ถ่ายเพื่อนำมาเขียนเรื่องเท่านั้นเองครับ

    ทริปนี้ เป็นทริปที่ผมประทับใจมากๆครับ :)

    ดี ได้ความรู้มาเลยค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท