ลีซู...ราชินีแห่งขุนเขา : เริ่มแรกงานวิจัยในหมู่บ้าน


ผมอยากจะถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้รับรู้ชีวิตของพวกเขาบ้าง...เพื่อจำได้รู้จัก และเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง ที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย

 

แสงอาทิตย์ยามค่ำเริ่มเลือนลับขอบฟ้าฟากทางตะวันตกของหมู่บ้าน พี่น้องชาวลีซูต่างพากันกลับ หลังจากที่ไปทำไร่กันเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน

หากเราอยู่จุดสูงๆของภูเขา จะเห็นคนลีซูจูงม้าซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้แรงงานในไร่ เดินลัดเลาะขึ้นหมู่บ้าน


หมู่บ้านกึ้ดสามสิบ หมู่บ้านที่ผมศึกษาวิจัยบนดอยสูง         

ลมพัดกลางคืนเย็นสบาย หลังจากที่สนทนากับผู้เฒ่าลีซูแล้วผมมักได้ยินเสียงฟู่ลู่เครื่องดนตรีชนเผ่าลีซูที่ลอยดังมาทางบ้านเชิงเขาฟากโน้นเสมอ ผมนอนฟังอยู่ทุกคืน...นี่เป็นสัญญาณว่าอีกไม่นาน จะมีพิธีปีใหม่ลีซูที่ทุกคนตั้งหน้ารอคอยแล้ว

 

 สาวๆลีซูกับชุดแต่งกายอันสวยงามในวันขึ้นปีใหม่ของพวกเขา

          ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่ง เป็นวิถีชีวิตที่ผมคุ้นเคย เมื่อผมอยู่บนดอย

          ผมทำงานศึกษาวิจัยกับพี่น้องชนเผ่าลีซูที่แม่ฮ่องสอนมาหลายปี ...นับจาก ทำ Thesis และต่อมาได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

 

          ผมทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในประเด็น การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นทางด้านสุขภาพ   ในกระบวนการศึกษา วิจัยมีทั้งงานด้านวิชาการ และงานพัฒนา

กระบวนการทำงานเราได้เรียนรู้วิถีชีวิตคน วิถีภูมิปัญญา ...และรู้สึกถึง ความยิ่งใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู


 

          มารู้จักกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูกันนะครับ

ลีซูเรียกตนเองว่า "ลีซู" เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ต้นน้ำสาละวินและ แม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศทิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนานในประเทศจีน เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีเชื้อสายมองโกลอยด์ ได้อพยพลงมาทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันกับชนเผ่าอื่นนับเวลาหลายศตวรรษ ลีซูได้ร่นถอยเรื่อยลงมาจนในที่สุดก็แตกกระจายกันอยู่ในเมียนมาร์ จีน อินเดีย และประเทศไทย

 

         

 

   สาวน้อยลีซูในวันขึ้นปีใหม่

 

 

                                                                                                                                                    

 

สำหรับการอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรก อพยพจากพม่าเข้ามาอยู่ในประเทศไทยประมาณ ปี พ.. 2467 ลีซูที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย มีภาษาและวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน ภาษาลีซูมีเฉพาะภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน คำพูดที่ใช้ร้อยละ 30 ยืมมาจากภาษายูนนาน หากแบ่งตามหลักภาษาศาสตร์     ชาวลีซูจะอยู่ในตระกูลภาษาจีน ทิเบต (Sino – tibetan) กลุ่มย่อย ธิเบต- พม่า(Tibeto – burman) หรือ Lolish 

          กลุ่มชาติพันธุ์ลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆตามลักษณะเครื่องแต่งกาย คือ ลีซูดำ (ผู้หญิงใช้ผ้าสีดำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม) และลีซูลาย (เครื่องนุ่มห่มของผู้หญิงใช้ผ้าหลากสีสรรมาตัดเย็บ) ลีซูดำเกือบทั้งหมดตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตประเทศเมียนมาร์ ส่วนชาวลีซูในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นลีซูลาย มีกลุ่มลีซูดำอยู่บ้าง เช่น ลีซูที่บ้าน   น้ำบ่อสะเป่ อำเภอปางมะผ้า   จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มนี้เคลื่อนย้ายจากเขตประเทศพม่าอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ แต่ในปัจจุบันได้ใส่เสื้อผ้าเช่นเดียวกับลีซูลายไปหมดแล้ว คงมีแต่เพียงภาษาพูดบางคำที่แตกต่างกันออกไปบ้าง อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มย่อยนี้สามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี

          ในประเทศไทยชาวลีซูตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินอยู่บนภูเขาและพื้นที่สูงชาว ลีซูประมาณร้อยละ 43 อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 31 อยู่ในจังหวัดเชียงราย ร้อยละ16 อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 5 อยู่ในจังหวัดตาก ที่เหลือนอกจากนั้นกระจายอยู่ในจังหวัด เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พะเยา ลำปาง สุโขทัยและแพร่ จากข้อมูลประชากรชาวเขาในพื้นที่สูง 20 จังหวัดในประเทศไทยสำรวจเมื่อปี 2540 มีประชากรชาวลีซูประมาณ 33,365 คน


 

วงเต้นรำวันปีใหม่ลีซูที่บ้านกึ้ดสามสิบ แม่ฮ่องสอน         

วิถีชีวิตคนลีซู ยังมีอะไรดีๆ   ให้เราเรียนรู้อีกมาก ...แง่มุมงามๆจากการศึกษา วิจัยในหมู่บ้านที่ผมได้เคยสัมผัส

ผมอยากจะถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้รับรู้ชีวิตของพวกเขาบ้าง...เพื่อจำได้รู้จัก และเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง ที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย

          คนลีซูเรียกผมว่า อะตะผะ ครับ (เป็นชื่อลีซูของผม หมายถึงลูกชายคนโต ของครอบครัว)

หมายเลขบันทึก: 44625เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2006 07:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (112)
  • ขอบคุณคุณอะตะผะมากครับ
  • ดีใจที่ได้อ่านเรื่องดีๆแต่เช้า ประพณีปีใหม่ชาวลีซูทำอะไรบ้างครับ

ขอบคุณ อ.ดร.ขจิต

มาเยี่ยมตั้งแต่แรกบันทึก....

ประเพณีลีซู มีที่น่าสนใจมากมายเลยครับ...รับรองว่าสนุกสนาน แล้วผมจะนำมาเขียนบันทึกเป็นระยะๆนะครับ

โดยเฉพาะ "ปีใหม่ลีซู" เราเต้นรำกันทั้งวันและคืน

เลยครับ 

วันนี้ได้รู้จัก ลีซู (หลังจากที่รู้จักแต่ ลีซอ  มานาน)
.
สังเกตว่า   การแต่งกายของชาวเขา  ส่วนใหญ่มี  สีสันสะดุดตา    เลยสงสัยว่าเค้าแต่งกายแบบนี้กันทั้งปี  (คงไม่ใช่..)  หรือเฉพาะช่วงเทศกาล     อีกอย่างผ้าที่ใช้ผัดเย็บเป็นผ้าที่ทอเอง   หรือว่าเป็นผ้าจากในเมือง...คะ
.
แล้วคุณ อะตะผะ  แต่งตัวยังไง    น่าจะมีรูปมาให้ดูนะ
อยากดูๆๆๆๆๆๆ

 

พี่อะซาผะ บอกผมในวันใกล้ขึ้นปีใหม่ว่า

"พี่สาวตัดกางเกง ให้แล้วนะ ให้ไปเอาที่บ้านได้เลย"

คำว่า "พี่สาว" คือ ภรรยาของพี่อะซา นั่นเอง ทุกปีใกล้วันสำคัญแบบนี้ ชาวบ้านจะได้เสื้อผ้าชุดใหม่..แม้แต่ผมก็ได้กับเขาด้วย 

ทุกปีผมก็จะได้กางเกงลีซูตัวใหม่ๆ(ตอนนี้มี ๔ ตัว)

ผมก็เหมือนเด็กหนุ่มสาวและทุกคนทั่วไปในหมู่บ้าน ที่ตั้งหน้าตั้งตารอคอยวันขึ้นปีใหม่ เราจะได้เต้นรำ ตามจังหวะซือบือและฟู่ลู่ เครื่องดนตรีชนเผ่า มีทั้งจังหวะอ้อยสร้อย และจังหวะเร้าใจ...

การแต่งกาย ลีซู ส่วนใหญ่ก็จะชอบใช้สีสดใส ตามนิสัยชนเผ่าที่ชอบอะไรที่ตื่นเต้น แปลกใหม่ คนลีซูมักชอบใส่ชุดชนเผ่าตลอดเวลาครับ แต่เครื่องประดับเงินเท่านั้นครับ...ที่จะเก็บไว้ประดับช่วงปีใหม่

 ปีใหม่ลีซูมีทุกปี ตรงกับตรุษจีนของคนจีนครับ จากนั้น ๗ วัน ๗ คืนที่เราเฉลิมฉลองหลังจากเหน็ดเหนื่อยกับงานในไร่ทั้งปีครับ

 

ภาพที่ให้ดูเป็นภาพที่ถ่ายไว้นานแล้วครับที่บ้านกึ้ดสามสิบ อ.ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

 

ขอบคุณค่ะที่เขียนเรื่องดีๆ ให้อ่านค่ะ

แต่ส่วนที่อยากอ่านไปอยู่ภาพน่ะค่ะ อ่านไม่ชัด

อยากถามว่า พบว่า มีลีซูกลุ่มที่เข้ามาก่อน ปี พ.. 2467 ไหมคะ

ขอบคุณ archanwell มากครับ

อาจารย์ครับ กลุ่มลีซู เป็นกลุ่มที่เข้ามาก่อน ในราวๆปี ๒๔๖๗ ครับ...นี่ผมอ้างอิงจากงานวิจัยของผมเอง

จากการสอบถามผู้อาวุโสลีซู บอกว่าพวกเขาอพยพมาจากพม่า และค่อยๆเข้ามาทาง เชียงราย เชียงใหม่ และบางกลุ่มก็เข้ามาทางแม่ฮ่องสอน

กลุ่มที่เข้ามาทางแม่ฮ่องสอน จะพบว่าเป็นลีซูดำเป็นส่วนใหญ่

ตอนนี้ทราบว่าเป็น ชุมชนเดียว คือที่บ้านน้ำบ่อสะเป่ อ.ปางมะผ้า เครื่องแต่งกายอาจไม่ฉูดฉาดเท่าลีซูลาย ประเพณีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันกับลีซูลายที่เราเห็นทั่วไป

หลังๆลีซูดำ ก็จะปรับตัวคล้ายลีซูลายไปทุกที

ลีซูดำที่ปางมะผ้า ไม่มีบัตรประชาชนครับ มีบัตรสีฟ้า กลุ่มนี้ละครับ อาจารย์ที่เขาถูกเอาเปรียบมากที่สุด จะเดินทางออกจากหมู่บ้านที หรือ จะไปทำธุระอะไรต่างๆ  ก็มักจะถูก คนอื่น รังแกเป็นประจำ

ที่น้ำบ่อสะเป่ มีประมาณ ๑๐๐ กว่าหลังคาเรือน ตอนนี้ถือบัตรประชาชนบนพื้นที่สูง (บัตรสีฟ้า) ครับ

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ... 

 

 

ขอบคุณมากครับ  ได้อ่านเรื่องดี ๆ เพิ่งรู้จักเผ่า ลีซู จากบันทึกนี้ครับ 

โดยหลักฎหมาย เด็กในหมู่บ้านนี้ ถ้าเกิดในประเทศไทยจากพ่อแม่ที่เกิดในไทย ก็จะมีสัญชาติไทย "โดยการเกิด" แล้วล่ะค่ะ เฉพาะแต่รุ่นที่เกิดในไทยจากพ่อแม่ที่เกิดนอกไทยเท่านั้นที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งอาจเพราะถูกถอนสัญชาติไทยในปี ๒๕๑๕ (ค่อนข้างซับซ้อน)

แต่ตอบแบบง่ายๆ ว่า โดยรวม เขาน่าจะมีสัญชาติไทยได้แล้วทั้งหมด ส่วนใหญ่ที่ไปดูมา ปัญหา ก็คือ เจ้าตัวเองก็ไม่รู้กฎหมาย อำเภอเองก็ไม่ทำอะไร ถ้าไม่มีแรงผลัก เอนจีโอก็ท้อที่จะเรียนกฎหมาย มาม่าซองนั้นอาจมีขายทั่วไป แม้บนดอย... สูตรสำเร็จทางกฎหมาย ก็มีค่ะ แต่ก็ไม่ง่ายนัก

ในหมู่บ้านที่เยาวชนได้เรียนหนังสือ และเริ่มต้นคิดแบบคนสมัยใหม่ได้ กระบวนการก็จะเคลื่อนได้เร็วขึ้น แต่บางที อุปสรรค ก็จะมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตายายของเขาที่ "ยังกลัวราชการอยู่มาก"

เรียน archanwell ที่เคารพ

ปรากฏการณ์ที่อาจารย์เขียน เป็นเรื่องจริงมากทีเดียวครับ สิ่งนี้เองที่ผมได้คลุกคลีกับคนชายขอบเหล่านี้ ทำให้ผมคิดอยากเรียนกฏหมาย เคยมีความใฝ่ฝันอยากเรียนรู้เรื่อง สิทธิมนุษยชน มากขึ้น

เอ็นจีโอที่ทำงานที่แม่ฮ่องสอนมีมากครับ แต่ยังแตะเรื่องนี้น้อย หรือ ไม่มี อาจเป็นเพราะ เป็นเรื่องใหญ่...

มีภาคประชาสังคมเคลื่อนเรื่อง "สิทธิ" อยู่พักหนึ่ง เข้าใจว่า ติดอะไรบางอย่าง ก็หายๆไป

อุปสรรค อันหลังเรื่อง "กลัวราชการ" นี่ฝังลึกจริงๆ เพราะราชการชี้ให้เขาทำอะไรก็ได้ ในฐานะพลเมืองคนพลัดถิ่น

ลูกหลานเกิดในเมืองไทย แต่ไร้สัญชาติเช่นเดิมครับ

คืนที่ผ่านมา ผมได้อ่านเอกสารของ IMPECT(สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย) เกี่ยวกับเรื่องของ "ลีซู" เอามาฝากอาจารย์อีกนิดครับ กะว่าจะมาเพิ่มในบันทึกอยู่ เรื่องของการเข้ามาของลีซูในไทย 

......

ในปี พ.ศ.๑๔๓๕ มีการอพยพของลีซูลายเข้ามาแล้วครับ โดยหนีภัยสงครามทางการเมืองจากจีน (สัมภาษณ์ ผู้เฒ่ายี่นาเดอะ ฉั่วจา บ้านน้ำบ่อใหม่ อ.เวียงแหง เชียงใหม่) 

.......

อีกแหล่ง(เอกสาร)หนึ่ง แจ้งว่าคนลีซู เข้ามาราวปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๕๖ ครับ  เกิดชุมชนแห่งแรกในราชอาณาจักรไทย ชื่อ ชุมชนห้วยหมาก ตำบลแม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง เชียงราย ครับ

ผมเอามาฝากอาจารย์เพิ่มเติมครับ 

คุณชาญวิทย์ ครับ

เรื่องราวของลีซู หากเป็นคนทางภาคเหนือจะคุ้นเคยดีกับ"ลีซู" แต่ภาคอื่น จะรู้จัก กลุ่มชาติพันธุ์ อื่นๆ เช่น กระเหรี่ยง อาข่า หลายๆท่านไม่รู้จักลีซู

ลีซู กับ คนจีน มีวัฒนธรรมคล้ายคลึง เช่นเดียวกับคนม้งครับ มีตรุษจีน สารทจีน เหมือนกันแต่เรียกชื่อต่างกัน

บุคลิก หน้าตา ก็คล้ายกับคนจีน ครับ

ที่สำคัญที่สุด คือภูมิปัญญา ของพวกเขา ไม่แพ้กลุ่มชาติพันธุ์ใดๆครับ 

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมผม 

มาชมรูป  คุณอะตะผะ
เสียดายจัง   รูปเล็กไปหน่อย...เลยไม่รู้ว่าถ้าเทียบกับชุดคนเมืองแล้ว   แบบไหนหล่อกว่ากัน     แต่ดูแล้วกลมกลื๊น...กลมกลืน

กำลังคิดว่าช่วงตรุษจีน   น่าจะเป็นอีกช่วงที่น่าไปเที่ยว     แต่...อากาศร้อนหรือเปล่า ? 

พี่ Nidnoi

ช่วงตรุษจีนที่บนดอยหนาวมาก ประมาณต้องก่อไฟผิงด้วยครับ จำได้ว่าหากมีปีใหม่ลีซูเมื่อไหร่ อากาศจะหนาวเย็นครับ

จริงๆตั้งใจให้ดูรูปเล็ก เพราะรูปใหญ่แล้ว อะตะผะเขิน อิอิ

ขวัญใจสาวๆชาวดอยครับ...คิดดู

 

ดีจังเลย  รู้สึกดีใจมากที่เข้ามาอ่านเรื่องนี้  เพราะกำลังหาตัวอย่างพอดีกับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา  ดิฉันก็เดินทางไปศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งห่างจากกรุงเทพฯ 200 กว่ากิโล

แต่ไม่มีเหตุการณ์ที่น่าประทับใจเท่าไร

ขอให้ประสบกับความสำเร็จในการทำวิจัยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ สนุกครับอาจารย์ เราได้เรียนรู้ชีวิตของผู้คน ซึ่งพอศึกษา เรียนรู้ลึกๆลงไป ทำให้เราทราบ เห็นอะไร เกี่ยวกับชีวิตเยอะเลยครับ

เราได้ประเด็นที่แหลมคม และ วิธีคิดแบบปราชญ์ชาวบ้านมาก็เยอะ

ขอให้อาจารย์ใช้โอกาสของการทำงานวิจัยเรียนรู้และแลกเปลี่ยนอย่างเต็มที่ครับ

ให้กำลังใจอาจารย์สิริพรครับ 

ขอโทษนะค่ะ มีเรื่องค้องใจอ่ะค่ะอยากจะหาคำตอบมากๆๆๆๆ

อยากทราบว่า คนแซ่ลี้ มีส่วนเกี่ยวค้องกับคนเผ่าลีซูรึเปล่าค่ะ

แล้วถ้าใช่แล้วเค้าได้อพยพมาจากประเทศจีนรึเปล่าแล้วอพยพมาทำไม แล้วเค้ามีราชวงค์รึเปล่าค่ะช่วยหาคำตอบหน่อยค่ะ  กรุณาตอบกลับด้วยนะค่ะ

 

เท่าที่ผมทราบ...

ลีซูไม่มีตระกูล "แซ่ลี้"

เข้าใจว่าแซ่ลี้ อาจจะเป็น "แข่ลีซอ" หรือ ลีซูที่มีเชื้อสายจีน หรือไม่ก็เป็นจีนฮ่อไป

แต่ ผมเคยรู้จักคนจีนฮ่อหลายๆท่านที่ใช้ "แซ่ลี้"

คนจีนฮ่อ อพยพมาจากจีน - พม่า ครับ  ด้วยเหตุผล สงครามกลางเมือง สงครามแย่งชิงต่างๆ ในขณะนั้น

ส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์หรือไม่นั้น...ข้อนี้ผมไม่ทราบครับ

 

  • สวีสดีครับอะตะผะ
  • ก่อนเข้านอน  วกกลับมาดูบล็อกคุณเอกอีกครั้ง.. (วันนี้ทำงานทั้งวัน)  และก็ได้อ่านเรื่องดี ๆ ก่อนนอน
  • คุณเอกกลายเป็นผู้นำสารจากคนชายขอบทางตอนเหนือของไทยอย่างมีพลัง  แต่ในบล็อกผมพยายามค้นหาเรื่องราวคนพื้นถิ่นเผ่าต่าง ๆ ในแถบอีสาน  แต่กลับไม่ค่อยพบเจอว่ามีคนเขียนถึงเท่าใดนัก...(หรือผมหาไม่เจอก็ไม่รู้)
  • เสียดายวิถีการงานผมไม่อาจพาตนเองไปสู่ชุมชนเหล่านั้น  ไม่งั้นก็คงนำมาสื่อสารต่อชาวบล็อกเฉกเช่นที่คุณเอกได้กระทำเช่นกัน
  • ฯลฯ
  • ทำงานต่อไปอย่างมีพลัง  นะครับ

สวัสดีค่ะ ดูเวบมาเรื่อยๆจนมาถึงเวบนี้แล้วรู้สึกอยากเข้ามาแวะดูพี่น้องลีซู รูปภาพสวยๆเยอะเลยนะพี่อะตะผะ ไม่ทราบว่าตอนนี้อยู่ที่ไหนค่ะ

อะเหอ... ใครว่าละคร้าบว่า แซ่ลี้ไม่เกี่ยวกะคนลีซอ เคยมีนะครับ เพื่อนผมเองสมัยเด็ก บ้านข้างๆบ้านผมเอง เรียนมาด้วยกันด้วยครับ แต่ที่ไม่ค่อยมีคนใช้ตอนนี้ เนื่องจากอาจจะเปลี่ยนนามสกุลไปแล้วกได เพื่อนผมที่เขาเปลี่ยนนามสกุลไปตอนนั้นก็ เปลี่ยนเป็น "ค้อกำพล" แล้วละครับ เชื่อเถอะว่ามีคนลีซอแซ่นี้จริงๆ สาบาน

คุณ  

ไม่มีรูป
*-*

อย่างที่เขียนไว้ครับ

ลีซูเคยเห็นครับว่ามี "แซ่ลี้" แต่เป็นลีซูที่มาจากการสืบเชื้อสายจีน ในลีซูผมมักจะเห็นตระกูล  "แข่ลีซอ"

ซึ่ง "แข่" ก็คือ จีน หรือ จีนฮ่อ ที่รู้จักกัน

นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันได้ครับ จะยินดีมาก หากคุณคือกลุ่มชาติพันธุ์ องค์ความรู้เรายังไม่ชัดเจน เพื่อเป็นการอ้อางอิง และการเรียนรู้ที่ต่อยอด เพิ่มเติมประเด็นได้เต็มที่

อะ คื้อ โป โหมะ ครับ

- - - - -

น้องอาซามะ

ผมก็วนเวียนแถว เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอนครับ

 

กระผมคนนึงครับที่เกิดจากเชื้อสายลีซอโดยแท้ครับ  สงสัยอยู่หน่อยนึงนะครับ  ลีซอมีการแบ่ง  ขาว-ดำ  ด้วยเหรอครับ  ผมคิดว่าไม่นะครับ  ในความคิดผมที่เกิดมาตั้งกะเด็ก  ไม่เคยได้ยินครับ  แค่ถามนะครับ *-*  เห็นมีแต่  ม้ง ครับ ที่มีการแบ่ง ดำ-แดง-ขาว-เขียว  -------------------------------

และยินดีอย่างยิ่งครับหากการสงสัยของผมเป็นตัวกระตุ้นให้คุณและองค์กรณ์ของคุณได้เกิดการกระตุ้นให้ค้นหา  

 ตอบครับ

ลีซอแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มครับ

กลุ่มลีซอลาย กลุ่มนี้พบได้ส่วนใหญ่ของลีซอในไทย

ส่วน ลีซอดำ มีที่ บ . น้ำบ่อสะเป่  อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

วิถี วัฒนธรรมไม่ต่างกันมาก ต่างตรงที่เครื่องแต่งกายไม่สดเท่าลีซูลาย และการเต้นปีใหม่ ก็เต้นคล้ายๆลาหู่ ครับ ใช้ซือบือ และ ฟู่ลู่เป็นเครื่องดนตรีเช่นกัน

รายละเอียดหาอ่านได้ทั้งในหนังสือและในเวปครับ

 

ทุกวันนี้เรื่องสะเทือนใจหลายอย่างที่มีมาตลอดให้ใด้เห็นกันในหมู่บ้านตนเอง จากอดีตกาลมาจนปจจุบัน วันนี้ชาวลีซอชนเขาเผ่าหนึ่งที่รักสันโดษ ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม จากแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ นั่นยังไม่น่าตกใจ เทียบกับเรื่องบางเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงถึงขนาดนี้ ความก้าวร้าวของเด็กหนุ่มที่เกิดมาใหม่พร้อมกับการนำมาของความวิกฤติ เข้ามาสู่หมู่บ้านตนเองโดยไม่รู้ตัวเลย อีกทั้งศีลธรรมที่เด็กหญิงไม่เคยประพฤติมาก่อน ดูแล้วน่าหดหู่สำหรับชีวิตบนดอยตอนนี้
วัฒนธรรมอีกอย่าง เช่นที่ท่านได้เขียนใว้ ทุกวันนี้ประเพณีปีใหม่ก็เช่นกัน มันไม่เหมือนเดิม จากเคยเต้นรำสนุกสนานกันชั่ววันข้ามคืน มาวันนี้ผมไม่เห็นอย่างแต่ก่อน มันเปลี่ยนไปมากจริงๆ ผมเกรงว่าสักวันข้างหน้า ชนเผ่าอย่างเราๆจะไม่เหลือเค้าโคลงเดิมอีกแล้ว เราจะไม่เห็นดำเนินวิถีชีวิตเดิมๆอีกแล้ว ทิ้งใว้แค่รูปถ่ายเก่าๆที่เด็กชนเผ่ารุ่นหน้าจะมีใว้ดู หากท่านผู้แก่รุ่นนี้จากไปจนหมดผมเชื่ออย่างนั้นจริงๆ จะไม่มีการสืบทอดการเป่าแคน เล่นกีต้าของพวกเราอีก มันจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องเสียงที่มีลูกเล่นต่างๆนาๆด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สักวันข้างหน้านี้เราจะเห็นแต่คนใส่กางเกงยีนส์เสื้อยืดเท่ห์ๆเดินไปมาในหมู่บ้านที่เปลี่ยนจากหลังคามุงหญ้ามาเป็นดาดฟ้าที่มีความแข็งแกร่งจากชนชาติตะวันตกที่ไม่เหลือแม้เศษฟางหญ้าที่เราเคยตัดมาทำหลังคาบ้านอีก ทุกอย่างจะถูกกลืนกินด้วยคอนกรีต ถนนหนทางจะใม่มีดินแดงๆให้เห็นอีก จะไม่มีควันไฟโขมงจากเตาที่เราเคยหุงข้าว ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงไป..เปลี่ยนแปลงไปมาก..มากจริงๆ
หมู่บ้านหนึ่งในพะเยาว์ที่ผมเคยไปมา หมู่บ้านนั้นเดี๋ยวนี้ไม่มีการให้คนมาเป่าแคนดีดกีต้าเต้นกันแล้ว พวกเล่นยกเครื่องเสียงแล้วนำเทปที่อัดเสียงแคนเสียงกีต้าที่เคยดีดเก็บใว้มาเปิดแล้วเต้นกัน ขนาดนั้นแลวนะครับท่านๆชาวลีซอทั้งหลาย ช่วยกันหน่อยครับ สำนึกรักบ้านเกิดกันบ้าง ผมเข้าใจว่ามันจำเป็นในเรื่องบางเรื่องที่ท่านต้องเข้าเมืองเพื่อไปทำงาน แต่ขแอย่าลืมบ้านเกิดตัวเองกันเลย ผมคนหนึ่งที่เกิดมาเป็นลีซอโดยแท้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมเคยเห็นมาสมัยเด็กๆไม่มีให้เห็นอีกแล้ว เพราะงี้ผมถึงได้ระบายอะไรนิดๆให้ใด้กระเตื้องต่อมลีซอหน่อย บาย..*****************************************

 

คุณคิดว่าจริงอย่างว่าใหม....

 

ผมว่าใช่  เป็นคำตอบสุดท้าย  100%

ดีใจที่คุณเห็นปรากฏการณ์แบบนั้น

เป็นประเด็นที่ต้องคิดต่อ ผมเป็นคนนอกที่เป็นนักวิจัย ผมก็รู้สึกห่วงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคุณครับ

ทำอย่างไร - จะพัฒนาอย่างไร ผมคิดว่าต้องคุยกันยาว ทำกันจริงจัง

อย่าคิดครับว่าเป็นปาฏิหาริ  มันไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะนะครับ  มันเข้าไปฝังในใจทุกคนที่เกิดมาแล้วตอนนี้  ไม่มีทีวีอยู่ไม่ได้  ไปไร่ไปนาไม่มีรถก็ไม่ไปกันแล้ว

 

 

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป
- -

เฝ้าดูการเเลกเปลี่ยนและได้มุมมองผมต่อการแลกเปลี่ยนของคุณ... ดังนี้

  1. ผมเข้าใจว่าคุณเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ "ลีซอ"
  2. เป็นคนรุ่นใหม่ รักและเป็นห่วงต่อการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชาติพันธุ์

หากการอนุมานสองข้อผมข้างต้นถูกต้อง ก็คุยกันต่อว่า

  1. การนำเสนอบันทึกผมเป็นองค์ความรู้จากงานวิจัย และการ reviewเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  2. เนื้อหาเป็นปรากฏการณ์ที่แทรกอยู่กับเนื้อหาที่ได้จากการศึกษาเพิ่มเติม
  3. เป็นมุมมองของคนนอก (outsider) ที่มองปรากฏการณ์กลุ่มชาติพันธุ์อย่างรักและห่วงใย

การพัฒนา และการแก้ไขปัญหา เรื่อง/ประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาใหม่ ปัญหาใหม่ และท้าทาย แนวทางจึงต้องให้คนที่เป็นเจ้าของปัญหาลุกขึ้นมาจัดการปัญหามากกว่าพูดอย่างเดียว และไม่ทำ การนำเสนอและโต้ตอบก็ต้องอ้างอิงฐานของความรู้ และหาก "คิดว่า" และใช้ในการแลกเปลี่ยนมากเกินไปเป็นความเห็นเพียงอย่างเดียว ไม่ค่อยเกิดพลังในการเรียนรู้เท่าไหร่

ทุกอย่างไม่ใช่ปาฏิหารย์อย่างที่คุณบอกมาครับ ดังนั้นแล้วการลุกขึ้นมาเพื่อจัดการกับปัญหาโดยใช้กระบวนการทางปัญญา กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา เป็นทางออกที่ควรจะเป็น มากกว่าเป็น วาทกรรมฉาบฉวยที่โต้ตอบไปมาและข้อมูลเบาหวิว

 - - - - - - -

หากคุณเป็นคนรุ่นใหม่ และเป็นพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ต้องคิดทำอะไรที่จะช่วยกันฉุดรั้งกระแสแบบนี้ หรือไม่ก็หาเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาครับ

 

ทุกอย่างที่เขียนไปให้ท่านๆได้อ่านนั้นกระผมคิดว่าเนื้อหานั้นไม่ได้ว่าหรือกระทบองการณ์หรือองค์กรณ์ใดๆ  แต่เพียงสื่อและขยายเท่านั้น ถึงวิถีที่ท่านๆน่าจะรู้ดีกว่าผมด้วยซ้ำ  ซึ่งกระนั้น ในความเป็นจริงแล้วกระผมแทบจะไม่มีโอกาศที่จะได้กระทำการในสิ่งที่ผมอยากจะทำนั้นด้วยซ้ำ อย่างที่ท่านว่า ข้อมูล กับการกระทำ มันต่างกันแน่ครับ และข้อมูลผมมันอาจไม่ชัดเจน ผมได้บอกบางอย่างที่ผมรู้เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ผมรู้หมดทุกเรื่อง บางเรื่องท่านก็ท้วงมาเพื่อให้ผมได้กระจ่างแล้ว  ตอนนี้และเวลานี้กระผมทำได้อย่างเดียวคือ แลกเปลี่ยนความเข้าใจที่อาจจะผิดๆของผมกับข้อมูลที่แน่ชัดของท่าน มันน่าจะดีมากด้วยซ้ำสำหรับผม  แต่มันจะดีในองค์กรณ์ท่านใหมนั้น  ผมชักจะไม่แน่ใจแล้ว

 

จริงอยู่ที่ผมเป็นชาติพันธุ์เดียวกับเขาเหล่านั้น  แต่ผมไม่สามารถทำตัวให้พร้อม เพื่อการ ฉุด หรือ รั้งเหตุ/พฤติกรรมแบบนั้นได้ ผม..จะร่วมมือกับใคร เวลาใหน  สิ่งที่ผมทำอยู่ตอนนี้คือ สอนลูกหลานเท่านั้นว่า  การกระทำแบบนั้นมันเป็นเช่นไร ผมคุมได้ในวงแคบๆครับ ก็น่าจะดีแล้วสำหรับผม นี่คือความสามารถของผม ถึงแม้ไม่ได้ก่อตั้งเป็นองค์กร แต่ผมก็หวังใว้อย่างยิ่งว่าคงมีองค์กรหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่พึงระวังดูแลห่วงใยกับการเปลี่ยนแปลงของชนเผ่าเรา และผมดีใจที่วันหนึ่ง จน วันนี้  ผมได้รู้จักและสัมผัสกับการทำงานของท่าน   ถึงแม้จะไม่ได้ร่วมงานใกล้ชิดกันก็ตาม  อย่างน้อยก็ยังดีที่ท่านยังมองเห็นปัญหาของเขาเฉกเช่นผมคนนี้

 

ทุกวันนี้ผมทำงานแล้ว หากผมย้อนเวลาได้ กระผมอยากจะย้อนไปเพื่อเลือกทางเดินที่ตรงกับท่านๆดีกว่า  ไม่คิดว่าจะเลวร้ายได้ขนาดนี้  ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง  แต่..กาลเวลาไม่ผันแปร  สายน้ำไม่ไหลกลับ ผมเสียใจครับ ว่ากว่าจะรู้ตัวว่าถึงกาลเวลาที่เปลี่ยนแล้ว ผม  ชาวลีซอคนหนึ่งคนนี้ไม่สามารถกระทำการใดๆ หรือ  ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงของชนเผ่าตนเองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สมควร   ผมเสียใจจริงๆครับ

 

 

 

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป
- -

ยินดีครับ ที่ได้แลกเปลี่ยน ไป - มา เชื่อและแน่ใจว่าคุณเป็นกลุ่มชาติพันธุ์

ผมคุยกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์หลายท่านก็เป็นห่วงครับ เรามานั่งคุยกันดีกว่าครับ ว่าจะทำอย่างไร

เท่าที่ผ่านมามีเครือข่ายลีซู แต่กระบวนการไม่ค่อยเอื้อต่อการพัฒนาพี่น้องลีซูเท่าไหร่ เพราะมีการเมืองแทรกอยู่ครับ

ดังนั้นที่ทำได้คือ เราพัฒนาระดับตัวบุคคลไปก่อนก็ได้ครับ หากเราได้คนรุ่นใหม่ๆ ก็ลองนั่งคิดและคุยกันดู

ยังมีหวังหากเราทำกันจริงจังนะครับ

ให้กำลังใจ

คุณ

สวัสดีครับ- - - อีกครั้ง

ไม่มีรูป
- -

ผมได้อีเมลล์คุณที่ส่งตรงถึงผมแล้วครับ

อย่าได้ห่วงเลยครับ ไม่มีกฏเกณฑ์ที่ต้องกังวลหรอกครับ สามารถเขียนความเห็นได้ตลอดเวลา และส่งอีเมลล์โดยตรงถึงกระผมได้ตลอดเวลาเช่นกัน

ผมชอบความกระจ่าง เพราะข้อมูลชัด เราทำงานกันได้

มันเป็นประสบการณ์เล็กๆของผมครับเรื่อง ข้อมูลที่เราต้องใช้ หากไม่ชัดก็ทำงานยาก

ดังนั้นไม่มีปัญหา - ยินดีแลกเปลี่ยน

 

 เอาใจแลกกันดีกว่า

 

อะคือโปโหม๊ะ

     สวัสดีครับ  ...แวะมาเยี่ยมครับ

  • น่าไปเที่ยวเมื่อตอนฤดูหนาวจังเลยนะครับ
  • ชอบรูปแรกมาเลยครับ  ดูเป็นธรรมชาติมาก
  • คุณ จตุพร คงได้ไปท่องเที่ยวหลายที่เลยนะครับ อิจฉาจัง ...อิอิอิ

   

หลังตรุษจีน  ผมจะมาเล่าความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของชาวลีซูให้ท่านฟังกัน แล้วมาคิดกันว่าควรทำอย่างไร

สวัสดีครับคุณ

P

ช่วงหนาวน่าเที่ยวมากเลยครับ และช่วงนั้นเช่นกันที่ดอกไม้บาน ประเพณีต่างๆของชาวบ้านก็เริ่มต้นด้วย

มีอะไรให้ศึกษาเยอะครับ เรียนรู้ผ่าน blog ไปก่อนนะครับ หากมีเวลาว่างพอก็ไปเที่ยวได้นะครับผม

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป
- -

ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนำมาเล่าสู่กันฟังครับ ผมเองก็ห่างมาจากกลุ่มชาติพันธุ์มากครับช่วงหลัง หากมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใดๆ นำมาแลกเปลี่ยนได้เลย

ขอบคุณมากครับ

น่าชื่นชมกับลีซูที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า

มีชุดที่มีสีสันสวยงาม  ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม

เรียน คุณจตุพร

ผมรู้สึกประทับใจ คุณจตุพร จริง ๆ  ที่เป็นคนจริงที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชีวิตและคุณค่าความเป็นลีซูดีมาก ๆ เลย  ผมเองเกิดมาเป็นลูกหลานลีซูแท้ ๆ (โดยสายเลือด)  แต่ยังไม่ค่อยได้ศึกษาชีวิตตัวเองเท่าที่ควรเลย ทั้ง ๆ ที่ผมทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนของชนเผ่าพื้นเมืองมานานเกือบ 20 ปี  หากมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์กับตัวผม หรือชาวลีซูโดยทั่วไป  ยินดีน้อมรับข้อมูลเสมอ  

หากเป็นไปได้อีกเดือนเศษ ในระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2551 ขอเชิญมาร่วมงาน "มหกรรมสืบสานวัฒนธรรมลีซูแห่งประเทศไทย ประจำปี 2551" ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่บ้านใหม่สหสัมพันธ์ (บ้านลีซูน้ำฮู) อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน  ผมเองพยายามจัดเตรียมตัวไปร่วมงานนี้อยู่ครับ

พบกัน นะครับ

คุณ sweets   ช่วงนี้มีประเพณีปีใหม่ลีซูครับผม มีเวลามาเที่ยวได้ (ตรุษจีน)

-----------------

คุณศักดิ์ดา

ผมผู้กพันกับลีซูเหมือนพี่เหมือนน้องครับ และตอนปริญญาโทผมก็ทำเรื่องราวเกี่ยวกับพี่น้องลีซูด้วย

ด้วยความเป็นห่วงครับ ตอนนร้อะไรๆก็เปลี่ยนแปลง บริบทที่เปลี่ยน ผลที่เกิดขึ้นพี่คงทราบดีนะครับ แต่การคิดแก้ปัญหากันอย่างจริงจัง ยังไม่มีการคิดที่เป็นรูปธรรม ไม่มีแกนนำชัดเจน

ผมติดตามการทำงานของคุณศักดิ์ดามานานแล้วครับ ผ่าน อิมเปค ครับ ก็รู้สึกชื่นชม ในความเสียสละของคุณศักดิ์ดา ...ช่วยกันครับ ผมไม่อยากเห็นคำว่า "ล่มสลาย" เกิดขึ้นกับสิ่งดีๆที่บรรพบุรุษลีซูได้สั่งสมมา

ช่วงปีใหม่(ตรุษจีน) อยู่ไหนครับ ผมมีเพื่อนจาก ตจว.มาศึกษาวิถีชีวิตีซู  ผมคงอยู่ที่แถวน้ำฮู หากมาแถบนี้ติดต่อกันได้ครับ ติดต่อผ่าน อ้ายสาม(วินัย)   เลายี่ปา ก็ได้ครับผม

 น้องดีใจที่ได้เห็นผลงานของพี่เอกและชื่นชมในตัวพี่มาก น้องติดต่อผลงานตลอด ไม่ว่างานวิจัยหรืองานอื่นๆ น้องชอบเข้าไปดูเวบของพี่ ความจริงน้องเป็นลีซูแท้ๆ แต่น้องยังไม่ได้ทำผลประโยชน์ให้กับพี่น้องลีซูเลย น้องอยากทำหลายๆอย่างเพื่อพี่น้องลีซู แต่น้องก็ทำไม่ได้ อยากจะเก่งเหมือนพี่เอกและพี่ศักดิ์ดา

พี่มีอะไรที่จะให้ช่วยบอกได้นะ และมีอะไรจะแนะนำหรือแลกเปลี่ยนบอกได้นะค่ะ ยินดีค่ะ

สวัสดีครับ อาซา(มะ)

ชื่นชมน้องอาซาเช่นกันที่เป็นลีซูรุ่นใหม่ ทำสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นกับพี่น้องลีซูเหมือนพี่ศักดิ์ดา

วันที่ ๒๒ - ๒๔ กพ.นี้ ผมต้องเดินทางไปโครงการหลวงดอยวาวีเชียงรายครับ อาจจะไม่ได้ร่วม มหกรรมภูมิปัญญาลีซู ที่บ้านน้ำฮู เมืองปาย

แต่ผมมีภาพสวยๆที่บ้านน้ำฮูมาฝากที่นี่ครับ

d d d
d Thumbnail d
d d d
http://picstation.multiply.com/photos/album/10/Lisu_Thailand_-_Hilltribe_Pai
29 Photos, 3 comments

ปีใหม่ลีซูน้ำฮู

อะคึโปโหม๊ะครับ

ขอบคุณมากครับคุณจตุพร คุณมีความรู้ลึกซึ้งกว้างขวางมาก ผมขออนุญาตนำไปใช้ประโยชน์ในการสอนนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน

หวังว่าคงอนุญาตนะครับ

ลุงเก

ยินดีมากๆครับผม  อาจารย์เก  หากมีสิ่งใดให้ผมรับใช้ โปรดบอกครับผม

 

สวัสดีครับ หลังตรุษจีน

ผมได้กลับบ้านเกิดของตัวเองมาครับ ปลื้มใจใหม ผมถามตัวเอง

ผมปลื้มใจครับ ที่ กลับบ้านตัวเอง และสูดดมอากาศที่แสนจะสะอาดกับบรรยากาศอากาศที่ไม่มีสารอันตราย เป็นเวลา 12 วันครับที่ผมได้อยู่กับบ้านตัวเอง มันแสนอบอุ่นเหลือเกิน

สังเกตุใหมครับว่าผม..จะบอกเล่าแต่เรื่องราวที่ไม่น่าจะดีนักของเราชาวเผ่าเท่านั้น..

นั่นเพื่อเราจะได้รู้ปัญหาครับ..ดีๆนั้นก็มีเยอะครับ แถมยังเยอะกว่าเสียมากมาย

แต่ผมขอสื่ออกมาแค่เรื่องที่เราพบปัญหากันดีกว่า..เพื่อรับรู้และแก้ไข

ฝู่หลู,เครื่องดนตรีของเรา กลับไปบ้านวันแรกได้ยินเสียงของมัน รู้สึกดีครับ

เพื่อนผมหลายคนที่รำ่เรียนมาด้วยกัน ตอนนี้กลับมาพบกัน ไม่น่าเขื่อเขาเหล่านั้น เป่าแคน ฝู่หลู ของเราได้กันเกือบหมดแล้ว

เหลือดฃเพียงผมที่เป่าไม่เป็น ผมฝึกครับ ฝึกจนสำเร็จ[5วัน] นี่ถือว่าผมประสบผลสำเร็จไปอีก หนึ่ง ขั้น ว่าใหมครับ

-----------------------------------------------

คุณ comment ที่ 41

ดีใจกับ "อาหวู่ลีซู"ครับ

มาแลกเปลี่ยนกันอีกนะครับ

ผม

ก็เคยไป

เที่ยวมา

อยู่

จนได้เมีย

เป็น

ลีซอเลย

อิอิอิอิอิออ

ครับผม

เงียบเลยนะ ไปไหนกันหมดแล้วค่ะ เข้ามาคุยกับอาซาด้วยนะ อยากมีเพื่อนอยากมีพี่น้อง

ลีซูจัง อาซาเป็นลีซูนะแต่ไม่ค่อยมีเพื่อนลีซูค่ะ

สวัสดีค่ะพี่เอกเป็นไงบ้างค่ะสบายดีไหม น้องก็สบายดีค่ะ พี่เอกช่วงนี้พี่ได้ทำงานวิจัยอยู่

หรือเปล่าค่ะ

เออ ลืมตอบให่พี่เอกเลย อาซาก้ดีใจนะที่พี่เอกช่วยพี่น้องลีซูถ้ามีโอกาสคงจะได้ร่วมงานเน้อ อาซาก็ติดตามผลงานพี่ตลอดเลยค่ะ อาซาดีใจมากๆเลยที่ได้รู้จักพี่เอกค่ะ

สวัสดีครับ พี่น้องเราชาวลีซู ผมบอกตรงๆนะครับว่าตอนนี้ผมเป็นห่วงคุณ จตุพรเหลือเกิน เศรฐกิจแบบนี้ การเมืองแบบนี้ ถามหน่อยครับมีผลกระทบกับคุณจตุพรมากแค่ใหน ผมคิดว่าทุกคนโดนพิษจากสิ่งเหล่านี้ทุกคน บางคนอาจคิดว่าไม่น่าหนักใจ แต่ที่น่าจะโดนหนักๆก็คือ คนระดับผู้นำกลุ่มหรือผู้นำองกรฬหญ่ๆ ไล่ไต่ลงมาจนถึงระดับรากหญ้า ล้วนเจอะกับพิษการเมืองและเศรฐกิจแบบนี้ทุกคน ไหวไหมครับ คุณ จตุพรและทีมงาน

ขอสิ่งศักสิทธิ์ดลบันดาลทั้งทีมงานของท่านทำงานสำเร็จลุล่วงด้วยทุกสิ่ง เป็นกำลังใจให้ครับเพื่อชนเผ่าเรา

คุณแมน ครับ...ดีใจด้วยครับ

--------------------------------------

อาซามะ ครับ

พี่เอกสบายดีครับ ตอนนี้อยู่เมืองใหญ่ และ ก็เดินทางไปมาก็เรื่องงานทั้งหมดครับ

อาซาคงสบายดีนะครับ

อา คึ โป โหมะ  อาหวู่ ลี ซู  ทุกท่านครับ

คุณ ข้อเสนอแนะ ที่ ๔๖

ทุกคนก็ได้รับผลกระทบตามที่ได้พบ ได้เจอกันครับ อ่วมกันทั้งนั้น แต่ก็ดีครับเรามาท่องคำว่า ศก.พอเพียง และทำให้เกิดผลทางรูปธรรมมากขึ้น

ให้กำลังใจทุกท่านครับ

 

---

จตุพร

บางสิ่งบางอย่างก็ไม่ใช้อย่างที่คิดและอย่างที่เขียน

เรียน คุณจตุพรและทุกท่านที่ร่วมในกระดานนี้

ผมมาอยู่บ้านใหม่สหสัมพันธ์ได้ 3 ปี รู้สึกชื่นชมยินดีกับคุณจตุพรที่ ลงทุนทำวิจัยเรื่องราวของชนเผ่าลีซู ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน ในส่วนตัวผมไม่ได้ศึกษาในเชิงลึกเพียงแค่แลกเปลี่ยนความรู้เล็กๆน้อยๆที่จะเป็นข้อมูลประกอบการทำงานเท่านั้นเอง อ.เก เป็นคนในแวดวงเดียวกัน ท่านเป็น "ไต" โดยสายเลือด ผมเป็น "ไต"น้ำผ่า ถึงอย่างไรเราก็เป็นคนดอยในสายตาของคนเมืองกอกเหมือนกัน ที่แอดมาก็เพื่อที่จะทำความรู้จักกับคุณจตุพร โดยเรื่องหลักก็คือผมมีแนวคิดที่จะ "อนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าลีซู" โดยเฉพาะภูมิปัญญา(ผญ๋า)ของชนเผ่า ในหลายๆรื่องนับวันกระแสโลกาภิวัฒน์จะครอบงำไปหมด วัตถุนิยมบริโภคกำลังเป็นวิถีชีวิตที่ได้รับการยอมรับไปแล้ว ลีซูทุกวันนี้ดีดพิณไม่เป็น จักตอกไม่เป็น ไม่รู้จักครกมองตำข้าว ฯลฯ เหล่านี้เป็นเรื่อที่น่าเป็นห่วง ก็คงไม่ใช่เฉพาะชนเผ่าลีซูอย่างเดียว แต่ในฐานะที่เราสัมผัสอยู่กับชนเผ่าตลอดก็อยากจับประเด็นตรงนี้มา หารือกับคุณจตุพร หรือคุณ ศักดา ก็ได้ เรามาช่วยกันถ่ายทอดภูมิปัญญาเหล่านั้นให้ลูกหลานไว้สืบสานต่อไปดีกว่า

ขอบคุณที่มีหน้านี้

ป.ล.เมลมาตามที่อยู่เลยนะครับ

คุ้นๆชื่อคุณสุเทพ ใจแปง

สวัสดีครับ

ยินดีเสมอครับ จริงๆทางคุณศักดาก็ได้ดำเนินการเรื่องนี้อยู่ ในชนลีซู การพัฒนาต้องใช้ความอดทนสูงพอสมควรครับ เพราะมีลักษณะเฉพาะ แต่ด้วยเครือญาติที่เข้มแข็ง เราจับตรงนั้นได้ ก็เป็นเรื่องที่ดี

ทำผ่านเด็กก็ดีนะครับ อย่างน้อยถือว่าเป็นการจัดการความรู้ จากผู้ใหญ่ สู่คนรุ่นใหม่ได้ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ครับ

มีเรื่องราวดีๆหลายเรื่องที่เรายังไม่ได้เก็บไว้ และรอวันเลือนหายไป

ผมยินดีที่จะร่วมด้วย ช่วยคิดครับ อีเมลถึงผมตามที่อยู่ครับ

ขอบคุณครับ

เรียนคุณหมอเอก

ตอนแรกกะว่าจะแอดไปที่เมลส่วนตัวแต่อยากจะใช้กระดานนี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรี่ยนรู้กันไปก่อน สาเหตุก็เพราะว่าไปเจอกระทู้ของคุณหมอที่ห้องกะเหรี่ยงอีก ในฐานะที่ตัวเองก็อยู่กับกะเหรี่ยงมาสิบกว่าปีเลยเปลี่ยนใจขอใช้เวทีนี้ไปก่อนมีหลายเรื่องราวที่อยากจะศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผมไม่แน่ใจว่ารู้จักเป็นการส่วนตัวกับหมอเอกหรือเปล่า ถ้าเป็นหมอที่เมืองปายทั้ง รพ.ปาย และ สาธารณสุข ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกันดี อาทิตย์ก่อนผมได้พุดคุยกับ สุวิชาญ นักดนตรีหนุ่ม คนปกากะญอ ตอนแรกตั้งใจจะขอบคุณเขาที่ได้ไปร่วมงานคอนเสิร์ตกับคุณฮักกี้ ไอเคิ้ลมานน์ ที่หอประชุมจุฬา (ตุลา 50) เพื่อหาเงินสมทบทุนปรับปรุงห้องสมุดไอทีของโรงเรียนบ้านใหม่ฯคุยกันไปคุยกันมาทำให้ทราบว่าตัวคุณสุวิชาญเองปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ (WISDOM OF ETHNIC FOUNDATION.) อยู่ ประกอบกับคุณหมอก็สนใจในเรื่องของชนเผ่า ผมคิดว่าเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนหรือสังคมอย่างแม่ฮ่องสอนเราไม่มากก็น้อยนะครับ ผมเกริ่นนำมายาวก็เพื่อที่จะปูฐานสักเล็กน้อยในตัวตนของคนเมืองปายโดยสายเลือด อ.เก ท่านก็ไปของท่านในตัวตนของ "ไต" คุณศักดาก็ในบทบาทของ"ลีซู" คุณสุวิชาญก็ใช้"เตหน่า"เป็นสื่อเล่าเรื่องราวของคนปกากะญอ เหล่านี้น่าจะหลากหลายนะครับ หลายปีก่อนผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดกับ พะตี่ จอนิ โอ่โดเชา ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์คนดอย เท่าที่รับฟังแนวคิดของท่านก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ หลายอย่างเป็นเรื่องที่เรากำลังศึกษาและวิจัยกันอยู่ แต่พะตี่จอนิ สรุปบทวิจัยของท่านแล้ว

ผมขอเริ่มเรื่องเพียงเท่านี้ก่อนนะครับใครมีประเด็นใดอยากจะเพิ่มเติมก็เชิญครับ

สวัสดีค่ะคุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

มาติดตามอ่าน เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจ

ได้รับสิ่งที่ไม่รู้อีกมากมาย  พิมพ์ออกมาอ่านเป็นพิเศษ

น่าอิจฉาคุณจัตุพร นะคะที่มีโอกาสดี ๆ เก็บเกี่ยวประสบการณ์

ทั้งการศึกษาและชีวิต

ขอขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ อะตะผะ อิอิ..ขำๆๆ

แล้วพอลล่า จะชื่อว่ารัยคะพี่..... ตั้งให้หน่อยค่ะอยากมีชื่อลีซู บ้างจังค่ะพี่

 

ตรุษจีนตรงกับวันอะไรครับ ... สวัสดีครับชาวลีซูของเรา ไม่ใช่ชาวเสื้อแดง และ ไม่ใช่ชาวเสื้อเหลืองด้วยครับ จบไปแล้ว[หรือว่ายังหว่า]สำหรับ การเมือง ที่เรียกกได้ว่าอาจจะเน่าเฟะสำหรับใครหลายๆคนที่คอยติดตาม มาดูกันครับ ปัญหาไม่ได้เกิดกับเราเพียงคนเดียวเลย เพราะฉะนั้น เรารักกันไว้ดีกว่า อย่าได้เหมือน เสื้อแดง-เหลือง เขาเลย อยากรู้จังเลยครับว่า มีใครบ้างใหมหนอที่อุตริไปแจมกับเขา เราชาวลีซูรักกันไว้นะครับ

 

  อย่าแบ่งพวกพ้องตัวเองให้เป็น 2 ฝ่าย  ไปใหนไปด้วยกัน

 

สวัสดีปีใหม่กันครับ

อาซามะ ตาหมี่ (อิ้ม)

สวัสดีค่ะ

ดีใจค่ะที่ได้มีคนสนใจในกล่มชนเผ่าลีซู พอดีหาข้อมูลจะทำโครงการปีใหม่ลีซูในโรงเรียนค่ะเลยเจอข้อมูลและกลุ่มคนที่สนใจลีซูมากมายเลย ขอร่วมแวะทักทายด้วยคนนะค่ะ เป็นกำลังใจให้กับการทำงานเพื่อชนกลุ่มลีซูค่ะ

พยายามหาเว็บบอรด์ลีซอมานานแล้วก็เพิ่งมาเจอน่ะ

ดีมัก ๆได้รู้อะไรหลายอย่างทีเดียว ได้เจอเว็บนี้เนื่องจากพยายามหาข้อมูลต้องพรีเซ็นต์เกี่ยวกับเผ่าตัวเองใน บีไอที. วันพฤหัสฯนี้เลยเข้ามาพบได้รับสิงดีเยอะจริง ๆ ขอบคุณพี่อะตะผะมากคับ ผมเชื่อว่าไม่ง่ายจะกว่าจะได้ถึงขนาดนี้ผมชื่นชมพี่อย่างยิ่งจริง ๆ อยากให้กำลังใจคับว่าอย่าเมื่อล้าในการทำดีเพราะไม่ท้อใจแล้วจะเกี่ยวเก็บในเวลาอันสมควร ..

 

อะคื๊อโบโม

เด็กดอยบ้านแปกแซมขอรายงานตัวครับ

ไม่ทราบว่าพี่เอกเป็นคนที่ไหนครับ

ใช่ลีซูป่าย อิอิ

ยังไงก็รบกวนตอบให้ด้วยนะครับ

บ๊าย บาย

ตรูษจีนปีนี้เป็นไงบ้างครับพี่น้อง

 

ขอเสียงพี่น้องแปกแซมหน่อย

 

แล้วพี่เอกตรูษจีนปีนี้ไปบ้านไหนครับ

 

 

สวัสดีครับ ครูสุเทพ ใจเเปง

นานแล้วครับที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวของลีซูผ่านบันทึกนี้

 

บุคคลที่ครูได้เกริ่นมาผมเองก็ได้เรียนรู็ผ่านท่านเหล่านั้นอยู่บ้างครับ ล่าสุดผมเจอคุณวิวัฒน์ ตามี่ ที่เชียงราย ผมไปทำงานเชิงประเด็น (วิจัย) เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขความขัดเเย้งในกลุ่มชาติพันธุ์ ในที่สุดผมก็ได้มาทำงานที่คลุกคลีกับกลุ่มชาติพันธุ์อีกครั้ง

ผมไปในบทบาทที่ปรึกษาโครงการนี้ครับ ความขัดเเย้ง ??? ในกลุ่มชาติพันธุ์ อาข่า , ลีซู

มีโอกาสดีๆคงได้แลกเปลี่ยนกันข้างนอก โดยการพูดคุยกันนะครับ

 

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ..ครูคิม

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านบันทึกนะครับ

สวัสดีครับ ♥.·° ♥paula ที่ปรึกษา~natadee·° ..✿

ระบบการตั้งชื่อของลีซู เรียงตามลำดับการเกิดครับ แต่ผู้หญิงจะมี "มะ" อยู่ข้างท้ายชื่อ ในขณะที่ชายมีคำว่า "ผะ" ท้ายชื่อ

การเรียกชื่อในชีวิตประจำวันนั้นเป็นชื่อภาษาลีซูจะเรียกตามลำดับการเกิด

 การเรียกชื่อของผู้ชายลีซู  การเรียกชื่อของผู้หญิงลีซู
  1. อาเบ้ผะ
  2. อาเลผะ
  3. อาซาผะ
  4. อาซึ่ผะ
  5. อาหวู่ผะ
  6. อาหลูผะ
  7. อาซือผะ
  8. อาป่าผะ
  1. อามี่ม๊ะ
  2. อาเลม๊ะ
  3. อาซาม๊ะ
  4. อาซึ่ม๊ะ
  5. หวู่ม๊ะ
  6. อาหลูม๊ะ
  7. อาซือม๊ะ

ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติม

 

ผมเองในฐานะลูกชายคนโตของครอบครัว ใช้ อาเบ้ผะ  หรือ อะตะผะ   ก็ได้ครับ ความหมายนัยเดียวกันคือ ลูกชายคนที่ ๑

สวัสดีครับ คุณ comment 56. - -

สวัสดีตรุษจีนลีซูด้วยครับ..

 

น้อง อะซา  อาซามะ ตาหมี่ (อิ้ม)

กลุ่มชนเผ่าลีซู มีเรื่องดีๆมากมายครับ  ลองสืบค้นจาก โชวโหม่ว โชวตี แล้วนำเรียบเรียงไปนำเสนอคุณครูก็น่าสนใจนะครับ น้องอิ้ม

 

น้องอะเล อะเลผะ ตามิ

อะคื้อโปโหม๊ะ อะเล  เช่นกันครับ

 

ยินดีที่ได้รู้จักbasboy121 
เด็กปากเเซมครับ

ตรุษจีนลีซู ปีนี้ไม่ได้ไปไหนเลยครับ ...เพราะงานรัดตัว

พี่จตุพรเคยไปแปกแซมป่าวครับ

และจะติดต่อพี่ได้ทางไหนบ้างครับ

ถ้าพี่ไม่ถืออยากได้เมล์พี่ครับ

ยังไงก็ขอบคุณล่วงหน้านะครับ

เว็บนี้ใครเป็นคนเขียนครับ

มีสาระมากๆ ๆ

เข้ามาดูทุกวันครับ

ชอบๆ ๆ ๆ

อยากมีเพือนลีซูด้วยกันครับ

[email protected]

เงียบเหงา โดดเดี่ยวในเมืองใหญ่

อยากมีเพือนลีซอสักคนไว้คุยแก้

เหงาก็ไม่มี ปิดเทอมก็ต้องฝึกงาน

อีกแล้วเพือนปิดเทอมกันหรือยัง

เข้ามาดูทุกวันเลยครับ

ติดตามผลงานพี่จตุพร

เป็นกำลังใจให้พี่จตุพร

ครับ

เหมือนเดิมทุกวัน

สวัสดี ครับพี่จตุพร

สบายไหม จำผมได้ไหมครับ

สว่าง เลายี่ป๋า ที่ทำงานอยู่ IMPECT ไง เคยร่วมงานกับมูลนิธิรักษ์เด็กปางมะผ้า

ไงก็ส่งข่าวมาทางเมลนี้แล้วกันนะ

สว่าง ผู้รักเผ่าลีซู

สวัสดีค่ะทุก ๆ คนที่อ่านกระทู้นี้  ขออนุญาตเป็นส่วนหนึ่งของกระทู้นี้นะคะ  ดีใจจังเลยนะคะที่มีโอกาสอ่านเจอบทความเกี่ยวกับชนเผ่าลีซูของเรา ขอให้ประเพณีที่มีมาแต่โบราณนั้นอยู่คู่กับชนลูกหลานสืบต่อไปนะคะ

ลีซูมา

 basboy121 
 ติดต่อผมทางอีเมลล์ได้เลยครับ

ธีรนร นพรส  ขอบคุณอ๋องมาก ที่มาเยี่ยม

 อาเบ  ใครอยากติดต่อหนุ่มลีซู อาเบ ติดต่อเมลล์นี้ครับ [email protected]


สว่าง  ผมจำได้ครับ ดีใจมากที่เจอสว่างในนี้ ผมไปเจอพี่วิวัฒน์มาที่เชียงราย ยังคุยถึงเลยครับ ตอนนี้เป็นที่ปรึกษางานวิจัยชิ้นหนึ่งของ พระปกเกล้าอยู่ ประเด็น กลุ่มชาติพันธุ์ครับ

มีโอกาสผมจะได้ปรึกษาสว่างบ้าง

น้องสาว ตระกูลตามิ

ยินดีที่เข้ามาเเลกเปลี่ยน วิถีลีซูงดงามมาก ช่วยกันรักษาไว้นะครับ อาหวู่ลีซูทุกท่าน

 

อะคึโปโม๊ะ ครับ

ขอบคุณพี่จตุพรมากนะครับ

วันนี้พี่เป็นสื่อกลาง หาเพื่อนให้ อาเบผะ นะ..

:)

พูดถึงแปกแซม ที่อะเบอยู่ พี่คิดถึง "คนไร้รัฐ" หรือ กลุ่มคนต่างถิ่นที่อพยพเข้ามาที่ยังไม่มีบัตรประชาชนครับ  พรุ่งนี้พี่จะเข้าร่วมเสวนาวิชาการประเด็นนี้ด้วยครับ :)

แต่มีเรียนซัมเมอร์

ยังไงสงกรานต์จะ

กลับไปเล่นที่บ้านนะครับ

ใครว่างก็ไปด้วยกันนะครับ

พี่สว่าง พี่จตุพร

และเพื่อนๆทุกคนครับ

อะเบ...ไปเล่นสงกรานต์ที่บ้าน จะมีน้ำเหรอครับ (บนดอย)  เล่นที่ตัวเชียงใหม่สิครับ(คูเมือง)

แล้วพี่จตุพรอ่ะครับ

ไปเล่นไหนอ่ะครับ

ชื่อจริงจตุพรหรอค่ะเคยเรียกแต่หมอเอกสบายดีนะค่ะภาพสวยมากเลยแต่สียดายไม่มีรูปหนูเนื่อหาน่าสนใจนะ

ฉันก็เป็นลีซอเหมือนกันดีใจมากเลยที่เปิดเจอเวบนี้ขอบคุณ คุณจตุพรมากเลยนะค่ะที่เผยแพร่วัฒนธรรมลีซอให้ชาวโลกได้รู้จักลีซอกันขอให้ชาวลีซอจงรักษาวัฒนธรรมที่มีแต่โบราณอย่าหลงสังคมนิยมจงเป็นตัวของตัวเอง

 

คิดถึงทุกๆคนนะครับ

 

แวะมาทักทายพี่จตุพรด้วย

 

และคนน่ารักด้วยนะ

ลูกสาวใครเนี้ย?  น่าร๊ากกก น่ารัก  อิอิ

งัว เรียนอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ปีนี้จบละ ดีใจนะที่ได้มาเจอกระทู้ นี้ งัว ไม่รู้ว่า พี่จตุพรเป็นใคร แต่งัวก็อยากรู้จักด้วย งัวเป็นลีซอ ป่าแป๋(ไม่รู้ว่าทุกคนรู้จักหรือป่าว ที่ใกล้ ๆ ป่าขุม)ถ้ามีเวลาว่าง ๆ งัวจะมาเปิดทุกวัน

อะเบผะ

อีกไม่กี่วันผมจะไปเชียงใหม่ คาดว่าจะไปเยี่ยมหมู่บ้านลีซูแถบๆแม่แตงครับ...(เก็บข้อมูลงานวิจัย)

น้องคนน่ารัก

คนน่ารักต้องเป็นสาวลีซู (ซามู่เเระ) ที่บ้านกึ้ดสามสิบแน่ๆเลยครับ ใครๆก็รู้ว่าสาวที่นี่ "อาคึเปี้ยะ"

อะหมี่มะ

ยินดีครับที่ได้รู้จักอะหมี่ ดีใจที่อาหมี่ มีโอกาสมาเรียนที่เชียงใหม่ ขอให้อาหมี่ตั้งใจเรียนและกลับไปพัฒนาหมู่บ้านของอาหมี่เอง

ให้กำลังใจครับ

 

อาคึโบโหม๊ะ  !!!

 

งัว- - อาตะผะ

 

 

ผมก้อลีซูเหมือนกันคราบชอบมากๆครับ

จริงๆ ชีวิตผมรับราชการ อยู่ทั้งในกรุงเทพ และเดินทางมาทุกภาคของประเทศ

แต่มาแพ้ใจ สาว "ลีซู" คนปางมะผ้า

ผมจะรู้จักน้องเขาในเชียงใหม่

หลังจาก ที่คบเป็นแฟนแล้ว ถึงได้รู้ว่า น้องเขา เป็น ลีซู

ผมพยายามศึกษา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ อะไรอีกมายมาย เกี่ยวกับ ลีซู

แต่ ไม่รู้จะหา จากที่ไหน ?

ถึงแม้ น้องเขาจะเล่าให้ฟังบ้าง ก็ยังไม่ละเอียด

ถ้าเราจะไปเป็นลูกเขยเขา ก็ต้องศึกษาไว้บ้าง

อีกอย่างแฟนผม คงกลับไปทำงานแถวๆบ้านเขาอีก นี่สิ

แฟนผมมีชื่อที่บ้าน "อาเม๊ะ"(อาเลม๊ะ)

คุณเดี่ยว

อีเมลมาคุยกับผมได้ครับ ผมทำงานกับลีซู มานานกว่า ๙ ปี

ขอให้สมหวังในความรักนะครับ

ตอนนี้ผมอยู่ที่ กทม.นี่หละครับ

ขอบคุณ ครับ

ตอนนี้ ผมย้ายมาอยู่เชียงใหม่ แล้ว

สาว ลีซู ที่ผมรู้จัก เป็นคน ตำบลสบป่อง

เธอเป็นคนสู้ชีวิต หนีความยากจน ด้วยการศึกษา

และเธอเป็นคนที่ทำให้ผม คิดถึงการมีครอบครัว

หลังจากใช้ชีวิต PlayBoy มานาน

ผมอาจรู้จักเธอก็ได้ สาวลีซู พื้นที่สบป่องผมน่าจะรู้จักนะครับ

เท่าที่รู้ ช่วงที่เธอเรียนมัธยมปางมะผ้าพิทยาสรรพ์ เธอพักอยู่ในตัวอำเภอตลอด

ตอนนี้ เธออยู่ที่เชียงใหม่ ครับ

ดูเหมือน ต้นเดือนนี้ ผม "อาจจะ" ได้ไปบ้านเธอ ที่ปางมะผ้า นะ

"ลีซู...ราชินีแห่งขุนเขา"

คำนี้ หมายความ ว่า อย่างไร ครับ ?

ช่วย อธิบาย หน่อย

กลับมาอีกครั้งหลังห่างหายไปนาน หลังตรุษจีนผมมีรูปจากเพชรดำ อ.เขาค้อมาฝากให้ได้ติชมกันครับ

http://rubino.seesod.com

เข้าติชมกันได้ครับ จะพยายามอัพโหลดให้ได้ชมกันครับ

ผมชาวลีซู

บ้านห้วยเกี๋ยงซาง

ขอแสดงความนับถือ

จาก

ทหารอากาศโยธิน

สวัดดีค่ะ

พี่เก่งจังเลยน่ะขอชมจากใจเลย

น้องเครียดๆกำลังทำวิจัยวัฒนธรรมอาหารของชนเผ่าลีซู อดีตถึงปัจจุบัน

แต่ก็ยังไม่รู้เริ่มไหน ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารเลย

อิอิ

หวัดดี

เราก็เป็นลีซูค่ะอยู่บ้านปางไม้แดง

ผ่านมาก็เลยแวะมาทักทาย

สวัสดีค่ะ ดิฉันก็เป็น ลีซอ เหมือนกันเรียนอยู่ที่เชียงใหม่

ตอนนี้อยู่ ปวช.ปี 3 แล้วค่ะ

อีกไม่นานก็จะจบแล้วค่ะ

แต่ตอนนี้ดิฉันต้องทำโครงการเกี่ยวกับชนเผ่าลีซอ

หาข้อมูลจากเน็ตค่ะ

พี่เก่งมากเลยนะค่ะชมจากใจเลยนะคะ

บ๊าย บายค่ะ

เราก้อเปณลีซอเหมือนกันเราอยู่พร้าวไม่รู้ว่าจะรู้จักหรือเปล่า

เพิ่งรู้ว่าลีซูมี2กลุ่ม อยากดูรูปของลีซูดำค่ะ (คือหนูก็เป็นลีซูค่ะแต่ไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับเผ่าของตัวเองค่ะ)

อาซือผะ เชียงใหม่

ผมเป็นลีซูคนหนึ่งครับที่ภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลีซู ผมมีภรรยาเป็นลีซู (ลีซูพม่า) ผมชอบลีซู ชอบทั้งชุดการแต่งกาย ใบหน้าที่สวยอ่อนหวาน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมมองความแตกต่างระหว่างสาวลีซอไทยกับสาวลีซอพม่า คือหลังแต่งงานแล้วสาวลีซอไทยมักปล่อยเนื้อตัว ไม่ค่อยแต่งหน้าแต่งตา ปล่อยตัวไม่เหมือนตอนเป็นสาว ทำให้ดูหมดเสน่ห์ไป คงมีหลายคนที่มองเหมือนผม เพราะผมสังเกตมาตั้งแต่เด็ก อยากให้สาวลีซูไทยเปลี่ยนแปลงในจุดนี้บ้างก็จะดูดีนะครับ

สวัสดีค่ะ "อะดะผะ"

ชื่นชมสิ่งที่ทำอยู่นะคะ

สวยจังลีซูผู้น่ารัก

สวัสดีครับ พี่ ผม ทัช เป็น คน ลีซอ เหมือน กัน คับ คน พร้าว คับ

พี่เก่งมากๆๆเลย ครับ

ตอนนี้ผมเรียน อยู่ ที่ญี่ปุ่นคับ

ยินดีที่ดั้ยรู้จักคับ พี่

มีเพื่อนเป็นลีซูหลายคน เท่าที่ได้สังเกตุดูลักษณะบุคลิกแตกกันไปทั้งเชียงดาว และบ้านน้ำบ่อสะเป่(เรียนโรงเรียนศูนย์) ผมสนใจความเป็นไปของชีวิตของพวกเธอโดยเฉพาะลีซูที่บ้านน้ำบ่อสะเป่ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูลและบทความ รวมถึงหลายๆความคิดเห็นที่เข้ามา ได้รับทราบอะไรใหม่ๆเพิ่มขึ้น หากมีโอกาสอยากจะเข้าไปสัมผัสชิวิตความเป็นอยู่จริงๆของพวกเขา จากที่ได้อ่านมาตั้งแต่ต้นจนถึงความเห็นล่าสุดเกิดความประทับใจมาก รู้สึกดีมาก พิศวง..ผมเรียนและทำงานกับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ พอได้รับรู้เรื่องวัฒธรรมเรียบง่าย น่ารักๆแบบนี้ทึ่งมากๆ จะพยายามหาเวลาว่างไปเยี่ยมเยียน น้ำบ่อสะเป่ ต.บ้านไร่ อ.ปางมะผ้า...(สักช่วงเวลานึง) เมื่อโอกาสมาถึง...

เป็นลีซูเหมือนกันค่ะ

บ้านอยู่เชียงดาว

แต่ตอนนี้ทำงานอยู่ลำพูน

ทำเกี่ยวกับบัญชีค่ะ

เห็นด้วยที่ว่าหญิงลีซอไปทำงานเป็นหมอนวดเยอะมากค่ะ

แม้แต่เพื่อนๆ ของอามิเองก็ไปเหมือนกันค่ะ

จะห้ามเขาก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิส่วนตัวน่ะค่ะ

สวัสดีคุณอามิปาปา ผมป๊อบ (POP) Postเมื่อวันที่ 6 ส.ค 2554

น่าตกใจ!!! จากคิดเห็นของคุณ

เพื่อนๆลีซูไม่มีทางออกอื่นๆ เค้าใช้ชีวิตตามท้องถิ่นไม่ได้แล้วหรือครับ

สามารถตอบที่นี่ หรือ Email : [email protected] ที่ทำงานของผมได้นะครับ /

กรณีศึกษาเชิงลึกจะช่วยกันได้อย่างไร (ยากเกินไปหรือไม่รู้)

ลีซูเรามีค่ายนะค่ะสนใจแวะเข้าดูได้ที่ face ของค่าย [email protected] หรือ lisu youth camp

ในนามชื่อของค่าย "ค่ายอนุชนลีซอแห่งประเทศไทย" มีมา 25 ครั้งแล้วค่ะ จัดขึ้นทุกปีในช่วงต้นเดือนเมษา เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของลีซูในหลายๆด้าน ถ้าใครอยากมีส่วนร่วมก็ยินดีนะค่ะ

สวัสดีคะมลก็เป็นลีซูคนหนึ่งที่พ่อแม่ย้ายมาจากพม่าแต่มลเกิดที่ประเทศไทยเลยไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรมลีซูเท่าไหร่

มลอยากทราบว่าที่ี่พี่อะตะผะบอกว่าลีซูไม่มีภาษาเขียนนี่ยังไงคะปัจจุบันมลก็เห็นว่าลีซูก็มีภาษาเขียนอยู่นี่นามันคร้ายภาษาอังกฤษ

แต่แค่กลับหัวบางตัวแต่มันก็เป็นอัษรของลีซูหรือมลเข้าใจผิดคะพี่อะตาผะช่วยอธิบายให้หน่อยได้มั้ยคะ

สวัสดีค่ะ...พี่จตุพร

น้องขอขอบคุณพี่มากนะค่ะที่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ของชนเผ่าลีซู ให้พวกเราได้ศึกษาเพื่อนำไปวางแผนการ

พัฒนาทิศทางและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อยากให้พี่น้องลีซูมีการสร้างเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นและมีความเข้มแข็ง มีแกนนำที่ทำงานอย่างจริงจัง เพื่อไปพัฒนาองค์ความรู้ และให้คำปรึกษาให้พี่น้องลีซูอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดการที่ดี จะเห็นว่าในปัจจุบันลีซูต่างคนต่างอยู่ มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น น่าเป็นห่วงสถานการณ์ของลีซูตอนนี้ จากการสังเกตมีเด็กและเยาวชนที่ไม่เรียนหนังสือมีมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก อยากให้ผู้มีความรู้และมีความเกี่ยวข้องลุกขึ้นมาช่วยกันหน่อย อย่าคิดว่าไม่ใช่ลูกหลานของตัวเอง แต่มันเป็นภาพลักษณ์ของลีซูนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท