พระราชวังจันทน์พิษณุโลก ณ เดือนพฤศจิกายน 2552


กว่า "พระราชวังจันทน์" เมืองพิษณุโลก จะมีสภาพดั่งที่เห็น ได้ใช้เวลาค่อนข้างนานครับ

บันทึกเรื่องนี้ใช้ภาพประกอบค่อนข้างเยอะนะครับ  เพราะต้องการให้หลาย ๆ ท่านที่ไม่มีโอกาสมาแวะชมด้วยตนเอง  ได้เห็น ได้รู้ถึงพัฒนาการของการบูรณะสถานที่สำคัญของเมืองพิษณุโลกแห่งนี้

หลายปีมาแล้วที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองพิษณุโลก เป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม  (ร.ร.ชายประจำจังหวัด)  และต่อมาจึงมีการย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนออกไปอยู่บริเวณถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย เพราะกรมศิลปากรมีโครงการบูรณะสถานที่แห่งนี้ในชื่อ "โครงการบูรณะพระราชวังจันทน์"

หลังการย้ายโรงเรียนออกไป  ค่อยมีความคืบหน้าของการบูรณะ ฯ จนกระทั่งประมาณปลายเดือนตุลาคม ต่อเนื่องถึงเดือนพฤศจิกายน 2552  สังเกตเห็นว่ารั้วของโรงเรียนที่เคยมีถูกรื้อถอนออกไปทำให้เห็นสภาพภายในของสถานที่แห่งนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

(มุมมองจากฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำน่าน)

ภาพที่ zoom เข้าไป (แนวด้านหน้าพระราชวังจันทน์)

นี่คือป้าย "พระราชวังจันทน์"  อ.เมือง พิษณุโลก  ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครับ

ภาพด้านหน้าซ้ายของ ศาลสมเด็จพระนเรศวร ฯ

ภาพด้านหน้าขวา ศาลสมเด็จพระนเรศวร ฯ

และต่อไปนี้คือองค์พระรูปของสมเด็จพระนเรศวร ที่ประดิษฐานในศาลแห่งนี้

ผู้คนที่ศรัทธาในพระองค์ท่าน  ที่ได้ไปถวายสักการะด้วยตนเอง  บางคนได้นำรูปปั้นไก่ชนมาถวาย ฯ และวางไว้โดยรอบของศาล ฯ แห่งนี้

ภาพด้านบนจะเป็นรูปปั้นไก่ชนในขนาดต่าง ๆ ครับ

หากเดินออกไปทางด้านหลังของศาล ฯ จะพบกับป้าย "พระราชประวัติ" ของพระองค์ที่มีผู้สรุปข้อมูลติดไว้ ครับ

และหากท่านใดอธิษฐานตามเจตนาเรียบร้อยแล้ว  จะสวดพระคาถาบูชาพระองค์ท่าน มีผู้ทำป้ายหินอ่อนนี้ไว้ให้ได้อ่านเพื่อบูชาด้วย

และภาพที่จะแสดงต่อไปนี้คือแนวพระราชวังจันทน์ชั้นใน ชั้นกลาง ชั้นนอก ที่กรมศิลปากรกำลังบูรณะ  เพื่อให้เห็นร่องรอยของประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองพิษณุโลก

หลาย ๆ ท่าน สงสัยเช่นเดียวกับผมหรือไม่ครับ ?  ว่าก่อนหน้านี้ทำไมกระทรวงศึกษาธิการจึงก่อสร้างโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อยู่บนแนวพระราชวังจันทน์แห่งนี้  โดยที่ไม่มีใครพบเห็นซากสิ่งก่อสร้างของพระราชวังจันทน์ และหรือทักท้วงใด ๆ

ผลของการบูรณะพระราชวังจันทน์ ณ ปัจจุบัน  ทำให้มองเห็นเค้าโครงของพระราชวังจันทน์ ตามภาพที่แสดงไปแล้ว  และเมื่อทางการได้จ่ายเงินชดเชยเพื่ออพยพบ้านเรือนที่อยู่ในแนวของโครงการ ฯ ออกไป ทำให้เกิดทัศนียภาพที่ดี และสวยงามมากครับ

ภาพด้านบนเป็นอาณาเขตของ "วัดพระศรีสุคต" เดิม  ที่ก่อนหน้านี้ถูกบดบังโดยบ้านพักของทางราชการ และหน่วยงานราชการบางหน่วย  เมื่อรื้อถอนและโยกย้ายออกไปจึงเห็นโบราณสถานแห่งนี้ขณะที่สัญจรไปมาบนถนน

สำหรับภาพนี้ ผมยืนอยู่บริเวณด้านหลังของ "ศาลสมเด็จพระนเรศวร" และมองย้อนไปทางทิศใต้ จะเห็นอาณาบริเวณของ "วัดวิหารทอง"  ใกล้ ๆ ศาลาประชาคมจังหวัดพิษณุโลก ครับ  

กว่า "พระราชวังจันทน์" เมืองพิษณุโลก จะมีสภาพดั่งที่เห็น  ได้ใช้เวลาค่อนข้างนานครับ  แต่จะนานพอเพียงที่จะทำให้ "คนไทย" ทุกคนมีจิตสำนึก "รักชาติ รักแผ่นดินไทย" โดยไม่หวังกอบโกยผลประโยชน์ทุกเรื่องเข้าตนเองหรือไม่ ใครจะให้คำตอบได้ครับ  กับสถานการณ์เมืองไทยปัจจุบันที่อดีตนายทหารบางคน บอกเล่าผ่านสื่อว่า "ไทยในปัจจุบันยังรบสู้โจรใต้ไม่ได้  ยังคิดจะรบกับเขมรอีก  ดีที่  ..... ช่วยเคลียร์แล้ว"   (เฮ้อ...คิดได้อย่างไรนะ ท่านคงจะลืมคำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อในหลวง ต่อธงชัยเฉลิมพลที่เคยเปล่งออกจากปากตนเอง  ในขณะที่รับราชการ)   

หมายเลขบันทึก: 313474เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เก็บรายละเอียดได้ดีมากค่ะท่าน ติดตามอ่านความคืบหน้าต่อค่ะ

พิษณุโลกเป็นเมืองที่รักและเคารพในองค์สมเด็จพระนเรศวรเหมือนสุพรรณบุรี

                

 

พระองค์เป็นที่เคารพ สักการะของปวงชนชาวไทย ตลอดมา

แม้กระทั่งในหลวงองค์ปัจจุบัน หลายคนบอกว่าเคารพ

แต่กลับมีพฤติกรรมตรงกันข้าม น่าจะช่วยกันทำหน้าที่ของตน

ไม่ว่าตำแหน่งใด ๆ หรือเป็นประชาชนทั่วไปนะครับ

ประเทศชาติเรา คงจะสงบสุข ร่มเย็น ร่ำรวยกว่านี้

นี่ยังเข้าใจ เรื่องสงครามยุทธหัตถี ผิดอีกแล้ว นะ

เขารบกันที่ลำน้ำทวน ตำบลตระพังตรุ ปัจจุบันคืออำเภอพนมทวน กาญจนบุรี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท