@_@.แนวทางการปฏิบัติธรรม ตอนที่ ๑.@_@


 

                         แถลงการเพื่อเหตุการณ์
   ทุกวันนี้คนเข้าใจการปฏิบัติธรรมแตกต่างกันมากโดยไม่คำนึงถึงกรรมฐาน สติปัฏฐานที่แท้จริงตามหลักพระไตรปิฎกของพระพุทธเจ้า
  แม้แต่ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)ในอาริยมรรคมีองค์ ๘ก็แตกต่างกันไปมากโดยเฉพาะคำที่คนเข้าใจและใช้กันอยู่ทั่วไป เช่นปฏิบัติธรรมแล้วก็บอกว่าไปนั่งสมาธิบ้าง ไปนั่งภาวนาบ้าง เป็นต้น โดยหลักและเหตุผลแล้วในโลกนี้มีศาสดาเป็นบรมครูองค์เดียวกันหมด(แต่มีหลายศาสนา)สำหรับพุทธบริษัทควรจะหันมาสนใจในเรื่องนี้ให้มาก เพราะหลักธรรมทุกๆศาสนาเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยโลกทั้งนั้น แต่ขอให้มองศาสนาพุทธให้ลึกซึ้งละเอียดลงไปกว่านี้ให้ถี่ถ้วนจริงๆ
   คนทั่วโลกต่างก็นับถือศาสนาเว้นเสียแต่บางคน บางพวกบางกลุ่ม อาจจะไม่เชื่อ เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องยาก ไม่มีอิสระ
ไม่ได้ทำตามใจชอบฯลฯ
   สำหรับพุทธบริษัท๔เรามาปรึกษาหารือหรือพูดกันจริงๆว่า การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องได้มรรค-ได้ผลจะทำอย่างไร?     

            


   ก่อนอื่นเรามาพูดถึงการสอนของเกจิอาจารย์ผู้มีพระคุณในสำนักต่างๆกันก่อน บางสำนักสอนให้บริกรรมว่า "พุทโธๆๆ"โดยนั่งหลับตาเป็นหลักซึ่งเป็นแบบของฤาษีโยคีตั้งแต่สมัยก่อนมีพระพุทธเจ้า ถ้าใครเข้าไปเป็นศิษย์ก็ต้องสอนหลักหลับตา สูตรกดข่มอารมณ์ต่างๆแต่ปากก็บอกว่านั่งสมาธิๆความจริงไม่ใช่เป็นการบริกรรม๓ต่างหากหรือการเพ่งกสิณ คือบริกรรมนิมิตร อุคคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตรเท่านั้น


    สมาธิ คำนี้ในนวโกวาทซึ่งถอดออกมาจากพระไตรปิฎกแปลว่า"ความตั้งใจมั่น"ไม่ใช่แปลว่านั่งหลับตา จะทำงานการใดๆอะไรๆก็ตามต้องมีสมาธิประจำใจอยู่ทุกลมหายใจ"อานาปาณสติ"ใช้ได้ทั่วไป บางสำนักก็บริกรรมว่า"พองหนอ ยุบหนอ"และหลับตาเป็นหลักแต่ก็บอกว่านั่งสมาธิอีก คนรู้ภาษาบาลีเก่งอาจจะเพี้ยนก็ได้ บางสำนักก็บริกรรม"สัมมาอรหังๆ" บางสำนักก็ยกไม้ยกมือ เพ่งลูกแก้วลูกกวาด(เพ่งกสิณ)แต่ก็บอกนั่งสมาธิเหมือนกัน บางสำนักก็ให้สำนึกถึงกรรมเก่าแล้วก็ตีอกชกหัว หัวเราะร้องไห้ก็มี สำนักก็มีมากขึ้น ศาสนาก็มีมากขึ้นๆเช่นศาสนาโยเร จนสงสัยลังเลว่าจะเชื่อใคร จะเข้าถือสำนักไหนเป็นต้นพูดถึงการสอนนี้เพี้ยนไปมากแล้วต้องเข้าใจว่าพระสัทธรรมเลอะเลือนแล้วเริ่มเสื่อมแล้ว


    มาวิเคราะห์ตรงเจตนาของเกจิอาจารย์ในสำนักนั้นๆมีเป้าหมายหลักอันเดียวกันคือ "นิพพาน"แต่พอลงมือปฏิบัติและสอนอาจจะเพี้ยนไป เพราะการละกิเลสเป็นของยากแต่การกดข่มบังคับอารมณ์ง่ายกว่า จึงเลือกเอาแบบง่ายตามนิสัยตามยุคกาลของโลกและไปติดอยู่แค่ ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-สุขโลกีย์ ที่มีแต่อามิสสินจ้างเป็นรางวัลเจือปนเลยเข้าไม่ถึงเป้าคือนิพพานที่ตั้งเอาไว้ คนก็เลยหลงเชื่อยึดติดเป็นอุปาทานขันธ์ฝังสมองแน่น จนไม่ยอมเชื่อใครๆทั้งสิ้นทั้งๆที่มีความจริงกว่า ถูกกว่า

              
    

  ผู้จะถึงนิพพานต้องมีสัมมาทิฏฐิตามทางอาริยมรรคมีองค์๘ตัวเดียวกันจนไปสู่อู่ใหญ่หรือก้นบึ้งมหาสมุทรคือโพธิปักขิยธรรม๓๗จริงๆจึงจะครบสูตรซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
  ความจริงแล้วการปฏิบัติธรรมก็คือการมีสติรู้กรรมคือการกระทำต่อสิ่งนั้นๆคือตัวสติปัฏฐานหรือกรรมฐานที่มีสัมมาอาริยมรรคมีองค์๘เป็นทางได้แก่ปฏิบัติธรรม(สัมมากัมมันตะ)คือการทำงานต่างๆตามหน้าที่ไปพร้อมกันละอบายมุขต่างๆไปพร้อมกัน

                       

  คำว่าสมาธินี้ มีผู้สนใจและทำมามากแล้วความจริงแล้ว พุทโธๆพองหนอ ยุบหนอ หรือบริกรรมอะไรที่ต่างๆกันนั้นก็คือสาขาของสติปัฏฐาน๔สัมมาอาริยมรรคมีองค์๘นี่เองเหมือนกับตาบอดคลำช้าง คนที่คลำถูกหูก็ว่าเหมือนกระด้ง คลำถูกหางก็ว่าเหมือนไม้กวาดเป็นต้น ถ้าสมมุติว่าคนทั่วโลกปฏิบัติธรรมนั่งหลับตาเหมือนกันหมดจะได้กินอะไร
   คำว่า การงานของผู้ปฏิบัติธรรมมี๒อย่าง คือทางคดีโลกและคดีธรรมจึงสรุปได้ว่าคนทั้งหมดในโลกนี้ต้องทำงาน เมื่อคนทำงานมีอะไรๆที่ไหนก็เรียกได้ว่าคนนั้นได้ปฏิบัติธรรมตามหน้าที่นั้นๆแล้ว กรุณาทำความเข้าใจใหม่ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นในหนังสือสวดมนต์ที่ว่า


   อาทิกัลยาณัง    งามในเบื้องต้นคือ ศีล
   มัชเฌกัลยาณัง  งามในท่ามกลางคือ สมาธิ
   ปริโยสาณกัลยาณัง งามในที่สุดคือ ปัญญา (ญาณทัสนะ)
 ผู้ที่นั่งหลับตาเพื่อให้เกิดสมาธิก็เอากลางเป็นต้น เอาต้นเป็นกลางไม่เรียงลำดับตามหลักศีล-สมาธิ-ปัญญา เหตุนั้นศีล๕จึงเป็นสัมมากัมมันตะของโลกอย่างถูกต้องที่สุด
    เมื่อเว้นบาป๕ข้อได้ ธรรม๕ข้อก็เกิดขึ้นคือ
           เมตตา            คู่กับ    ศีล ๕ ข้อ ๑

          สัมมาอาชีวะ    คู่กับ    ศีล๕ ข้อ ๒
          สังวรในกาม    คู่กับ    ศีล๕ ข้อ ๓
          สัจจะ              คู่กับ    ศีล๕  ข้อ๔
        สติสัมปชัญญะ คู่กับ   ศีล   ข้อ๕

              
   ธรรม ๕เกิด สัมมากัมมันตะ(การงานชอบ)ก็เกิดขึ้นแล้วจึงเกิดสมาธิมั่นในการกระทำจริงๆแล้วปัญญา(ญาณ)ความรอบรู้เหตุผลก็จะตามมา 
   คนที่ไปนั่งภาวนาก็เอาปลายเป็นต้นอีก ภาวนาคือการทำความดีทุกระดับให้เกิดขึ้นแล้วเจริญๆอยู่ตลอดไม่เสื่อมถอย หลักภาวนามีอยู่ ๗ ข้อคือ
๑.ทัสสนา       (การเห็น)
๒.สังวรา        (การสังวร-ระวัง)
๓.ปฏิเสวนา    (การปฏิบัติ) 
๔.อธิวาสนา    (ความอดกลั้น)

๕.ปริวัชชนา    (การเว้นรอบ)
๖.วิโนทนา       ( ความบรรเทา)
๗.ภาวนา         (การอบรมให้มีให้เป็น)


ไม่ใช่จะตีกินกันง่ายๆต้องประกอบด้วยอิทธิบาท ๔เป็นต้น การปฏิบัติจึงต้องเริ่มจากศีล สมาธิ ปัญญา ตามลำดับให้สมดุลย์รังสรรค์กันและกัน ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาเพื่อทำสมาธิเป็นวันๆคืนๆจนกลายเป็นเหมือนกับตอไม้แข็งทื่อ หรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตไป..(หมายเหตุยังมีต่อ..อนุโมทนาสาธุ)

                

 

      

หมายเลขบันทึก: 201933เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นมัสการครับ

   ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติธรรมของผมครับ

    เมื่อก่อน ก่อนที่จะศึกษาธรรมะ  ผมมีข้อสงสัยอยู่ 2 ข้อครับ

    1. ผีมีจริงหรือไม่   2. ทำไมต้องไปวัดทำบุญ

    ผมก็เริ่มหาหนังสือมาอ่านเพื่อหาคำตอบ   พออ่านไปอ่านไป  ก็เริ่มชักสนุกครับ เริ่มชอบศึกษาธรรมะ  เพราะดูแล้วธรรมะ ก็คือชีวิตประจำวันเรานี่เอง

    ผมอ่านของท่านโพธิรักษ์   ท่านพุทธทาสภิกขุ   ท่าน ป.อ.ปยุตโต

    อ่านแล้วก็เริ่มนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เวลามีปัญหา ก็รู้สึกว่าสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาชีวิตได้ครับ ก็เลยหาหนังสือมาอ่านเพิ่ใข้นเรื่อยๆ

    ล่าสุด  ผมศึกษาการใช้ "สติ" ควบคุม "จิต" ไม่ให้ "จิตเกิด"  ก็สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้  โดยจะเน้นการควบคุมอารมณ์เป็นหลัก

    แต่การปฏิบัติธรรมที่ไม่ถูกกับ "จริต" ของผมเลย คือ การนั่งสมาธิ ครับ(รวมทั้งการเดินจงกรม)  ผมเคยไปปฏิบัติธรรมอย่างเป็นทางการหลายครั้ง   แต่บอกตามตรงว่าไม่ค่อยคืบหน้าเท่าไร

    การปฏิบัติธรรมที่มีผลจริงๆสำหรับผมจะมาจากการศึกษาเองครับ  โดยผมเริ่มต้นที่ "ความเชื่อ" ก่อน  เชื่อท่านพุทธทาส  เชื่อท่านโพธิรักษ์  เชื่อท่าน ปอ.ปยุตโต   เชื่อและเริ่มนำมาปฏิบัติ  ดูผลจากการปฏิบัติ   เมื่อเกิดผลดีก็ปรับปรุงและปฏิบัติต่อไป

    เป็นประสบการณ์ส่วนตัว นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

   

   

P

เจริญพรนะโยม ผอ.
เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่า

อนุโทนากับการแบ่งปัน

บุญรักษา 

นมัสการพระคุณเจ้า

มีประโยชน์อย่างยิ่งครับ จะพยายามปฏิบัติตามศักยภาพ และทำความเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์ครับ หากนึกหาข้อสงสัยจะนำมาเรียนถามท่านครับ

โปรดชี้ทางสว่างให้แก่สัตว์โลกผู้มากกิเลส ตัณหาอย่างกระผมด้วยครับ

สมาธิ   นำมาซึ่งปัญญา

นมัสการมาด้วยความเคารพค่ะ

P

ธรรมะสวัสดีนะโยมคุณครูสายธาร

ให้มีความสุขจิตมั่นคงในความดีเสมอๆ

อนุโมทนาสาธุ

บุญรักษา

P

อนุโมทนาสาธุกับโยม ผอ.ประจักษ์

ให้มีความสุขมีสุขภาพแข็งแรง

บุญรักษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท