Basic Real-time PCR (1): PCR คืออะไร


ฉบับภาษาไทยง่ายๆ ด้วยภาษาธรรมดาๆ

ยังคงคิดถึงบล็อกนี้อยู่และอยากจะอุทิศเวลาบางส่วนในการถ่ายทอดความรู้เรื่องนี้เอาไว้ คิดว่าเอกสารที่ทำเพื่อประกอบ การอบรมเชิงปฏิบัติการ Realtime PCR and its applications เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งตั้งใจเขียนให้อ่านง่าย เข้าใจง่ายแบบที่ตัวเองเคยอยากให้มีสมัยทำงานกับเทคนิคพวกนี้ใหม่ๆนั้น น่าจะเอามาเผยแพร่ไว้ใน GotoKnow ด้วย ก็เลยจะเอามาค่อยๆใส่เก็บไว้ และหากนึกอะไรได้ที่เกี่ยวข้องก็จะได้ใส่เพิ่มเติมไว้ด้วยนะคะ


PCR คืออะไร

Polymerase Chain Reaction
Polymerase คือเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการต่อสาย DNA หรือ RNA จากสายที่มีอยู่แล้ว
Chain reaction คือ ปฏิกิริยาลูกโซ่ นั่นคือต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ

PCR ก็คือปฏิกิริยาที่มีการสร้างสาย nucleotide ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ถือได้ว่าเป็นเทคนิค ที่มีผลกระทบอย่างมากต่องานทาง molecular ตั้งแต่ปี 1985 ที่ Kary Mullis คิดค้นขึ้นมา เพราะทำให้เราสามารถเพิ่มจำนวน DNA ได้มหาศาลจากจำนวนเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยภายในเวลาไม่นาน ด้วยหลักการง่ายๆ

ส่วนประกอบของ PCR

1. template คือต้นฉบับของ DNA ที่เราต้องการจะเพิ่มจำนวน
2. primers คือสาย DNA ที่เป็น single strand ที่จับคู่ได้กับปลายของ template ทั้งสองด้าน โดยจะมีด้าน 3’ เป็น hydroxyl group ที่จะสามารถต่อกับ nucleotides อื่นได้
3.
polymerase คือเอนไซม์ที่จะใช้เพื่อการต่อสายของ DNA
4. nucleotides ทั้ง 4 ตัว (A-adenine, C-cytosine, G- guanine, T-thymine) ที่เอาไว้ต่อกันเป็น DNA สายใหม่
5. PCR machine คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนอุณหภูมิไปมา


หัวข้ออื่นๆต่อๆไป


จะมาทำลิงค์ไว้กับบันทึกนี้เรื่อยๆไปค่ะ ในการเขียนบทความนี้ในรูปแบบนี้เพื่องานอบรมฯ ได้ใช้เวลาพอสมควรจึงไม่อยากให้ถูกเก็บเข้ากรุไปเสียก่อนค่ะ ใครที่เข้ามาอ่านแล้วอยากแลกเปลี่ยนอะไรในหัวข้อข้างบนก็ยินดีนะคะ ปริญญาเอกที่ได้มาก็เพราะทำเรื่องพวกนี้แหละค่ะ ยังอยากให้ได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆให้คุ้มกับแรงกำลังที่ลงไปในงานพวกนี้และภาษีของพวกเราชาวไทยที่ใช้ในการเรียนจนจบมาค่ะ

ดาวน์โหลดเอกสารทั้งฉบับได้ตรงนี้เลยค่ะ Basic RealTime PCR

คำสำคัญ (Tags): #basic#real-time pcr#basic real-time pcr
หมายเลขบันทึก: 94753เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2007 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2016 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

P 

ได้ความรู้มากค่ะ

อยากจะถามเรื่องวิธีการตรวจวิเคราะห์คุณโอ๋ เรื่องหนึ่ง แต่ไม่กล้าถามที่นี่

การตรวจอะไรๆ อาจมีหลบผลลัพท์ ที่ไม่อยากได้ก็ได้ ใช่ไหมคะ

ตามไปให้ถามแล้วนะคะ คุณ sasinanda

ที่มอ.มีทำในกรณีไหนบ้างคะ จะได้ใช้ประโยชน์เวลาเจอคนไข้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ตอบคุณ browniris แบบคร่าวๆก่อนนะคะ ถ้าหมายถึง PCR technique นั้นเรามีใช้ในหลายๆหน่วยค่ะ ตรวจดูรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ แต่ที่หน่วยเคมีคลินิกของเรายังไม่มีอะไรที่ทำในระดับ Molecular ค่ะ

ขอบคุนมากคับ

กำลัง หา อยู่เลยว่ามันคืออะไร

มาอ่านค่ะ เดี๋ยวคงมีคำถามไปหลังไมค์ ;P

คุณหมอเล็กคะ มีฉบับเต็มๆอยู่ที่นี่ค่ะ http://gotoknow.org/blog/moleculartechnology/129105

ยินดีตอบคำถามนะคะ ดีใจที่ได้เขียนบล็อกนี้ เพราะได้ตอบคำถามหลังไมค์เยอะมากๆต่อเนื่องกันมาตลอดเลยค่ะ ตั้งแต่เขียนบันทึกชุดนี้ไป ทำให้รู้สึกว่าความรู้ที่มีไม่สูญเปล่า สงสัยอยู่เหมือนกันค่ะว่า ที่เขาสอนๆกันอยู่นั้น เขาทำให้มันยากไปหรือเปล่า มีนักศึกษาสงสัยไม่เข้าใจกันเยอะจังค่ะ

หวัดดีค่ะคุณโอ๋ ชื่นชมบล็อกนี้มากค่ะ ให้ความรู้ molecular technique ดีค่ะ ตอนนี้กำลัง research molecular อยู่ อยากให้คุณโอ๋อธิบายเรื่อง reverse transcriptase PCR ค่ะ เท่าที่อ่านมา คือใช้วิธีเหมือน PCR แต่ต้องมีขั้นตอนเปลี่ยน mRNA ให้เป็น cDNA ก่อน อยากถามว่า RT-PCR เราสามารถวัดผลเป็น quantitiative ได้ไหมคะ ขอคำตอบทาง e-mail ก็ได้ค้ะ กำลังรอคำตอบนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ..หนูเรียนเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 3 แล้วอ่ะค่ะ เทอมนี้มีเรียนวิชาเทคนิคพื้นฐานทางอณูชีววิทยา ซึ่งวิชานี้เป็นอะไรที่ไม่เข้าหัวเลย..อาจารย์สอนให้ยากรึว่าหนูงงเองก็ไม่รู้นะคะ วันนี้เรียนเรื่อง DNA Synthesis ,RNA Synthesis ,Protein Synthesis หนูอยากให้พี่ช่วยอธิบายเรื่องที่เรียนวันนี้ให้หนูหน่อยนะคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าอย่างสูงเลยค่ะ

ปล.หนูไม่เข้าใจเรื่องนี้จริงๆ หนักใจมากเลยค่ะ จะอ่านหนังสือเองก็ไม่ได้เพราะไม่เข้าใจ TT^TT

หายไปเสียนานไม่ได้ตอบคุณ doctorda [IP: 58.8.82.246] เลยสงสัยจบ research ที่ว่าไปแล้ว อธิบายง่ายๆสำหรับ reverse transcriptase PCR ก็คืออย่างที่คุณ doctorda เข้าใจแหละค่ะ คือเปลี่ยน mRNA เป็น cDNA ด้วยเอนไซม์ reverse transcriptase แล้วก็ตอบคำถามขั้นต่อไปว่า วัดผลเป็น quantitative ได้เพราะเราสามารถวัดปริมาณ cDNA ที่ได้ทั้งจากการวัดด้วยเครื่องโดยตรง หรือจากวิธีดั้งเดิมของเราที่วัด OD แล้วคิดออกมาเป็นปริมาณได้ ทำให้เราสร้างเป็น standard curve โดยใช้ serial dilution ของ cDNA ที่เรารู้ปริมาณเป็นตัวเทียบกับ unknown ที่เอามา run ใน real-time PCR พร้อมๆกัน (เพื่อควบคุม condition ให้เปรียบเทียบกันได้)

สำหรับหนู ออมสินอย่าเพิ่งท้อใจค่ะ เรื่องนี้พอเข้าใจแล้วไม่ยากเลย เอาเป็นว่าลองเข้าไปหาดูคลิปของทั้ง 3 ขั้นตอนใน Youtube หรือจะใช้วิธีพิมพ์ทั้ง 3 คำนี้ (DNA Synthesis ,RNA Synthesis ,Protein Synthesis) ใส่เข้าไปใน Google นั่งดูนั่งฟังสัก 2-3 ชิ้น แล้วกลับไปอ่านสิ่งที่อาจารย์สอนวันนี้อีกที รับรองหนูน่าจะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นแน่ๆค่ะ เดี๋ยวนี้การเรียนรู้ด้วยวิทยาการหลายๆรูปแบบทำได้ง่ายขึ้น หาวิธีทำความเข้าใจเรื่องยากๆได้หลายวิธีค่ะ

 

Real-time PCR Chemistries เป็นต้นไป link ไม่ได้คะ

มีฉบับเต็มๆอยู่ที่นี่ค่ะ http://gotoknow.org/blog/moleculartechnology/129105 

ก็เลยไม่ได้ทำเป็นตอนย่อยๆอีกค่ะ โหลดทั้งฉบับไปอ่านทีเดียวเลยสะดวกกว่านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท