พุทธวิธีคิดเชิงปัญญา


พุทธวิธีคิดเชิงปัญญา

วิธีคิดตามหลักพุทธธรรมหรือโยนิโสมนสิการของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ กำจัดอวิชชาโดยตรง และมุ่งบรรเทาตัณหา มีอยู่ 10 วิธีดังนี้ วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คิดแยกแยะส่วนประกอบ คิดสามัญลักษณ์ คิดแก้ปัญหา คิดอรรถธรรมสัมพันธ์ คิดเห็นคุณโทษและทางออก คิดรู้คุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม คิดเร้าคุณธรรม คิดอยู่กับปัจจุบัน และคิดวิภัชชวาท

                การดำเนินชีวิตที่ดีทั้งในงานและชีวิต จะต้องต่อสู้ให้อยู่รอด ล่วงพ้นสิ่งบีบคั้นติดขัดคับข้อง ให้อยู่ดีให้ใคร หลักใหญ่ๆ ก็คือต้องแก้ปัญหาเป็น จึงจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิต การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้นจะต้องรู้จักคิดเป็น พูดเป็น (การสื่อสารทุกรูปแบบ) และทำเป็น (ผลิตเป็น ปฏิบัติเป็น)

ดังนั้นการคิดเป็นจึงเป็นหนึ่งในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามในวันหนึ่งๆ จะมีสิ่งที่เรารับรู้ และการเสวยอารมณ์จากสิ่งที่เรารับรู้ ที่ผ่านเข้ามาทาง อายตนะ 6 มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือจากการดู ฟัง ดม ชิมลิ้ม สัมผัสต้อง และคิดหมาย การรับรู้ด้วยความชอบชัง ก็จะเกิดวัฎจักรปัญหาอยู่เรื่อยๆ ไม่จบสิ้นแต่ถ้าการรับรู้ด้วยข้อมูล และเห็นตามความจริงหรือมองตามเหตุปัจจัยแล้วก็จะเกิดวงจรแห่งปัญญา และการแก้ปัญหาก็จะเกิดขึ้นสิ่งที่เข้ามาสู่ตัวเราทางอายตนะ 6 นั้น มีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี เราจึงควรรู้จักเลือกดู รู้จักเลือกฟัง รู้จักเลือกดม รู้จักเลือกลิ้ม รู้จักเลือกสัมผัส รู้จักเลือกคิด หรือดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ชิมเป็น สัมผัสเป็น และคิดเป็นในการทำงานก็มีข้อมูลข่าวสารสิ่งรับรู้ที่เข้ามาสู่ตัวเราอย่างมากมาย เช่นภาพประกอบ ตัวอักษรทั้งที่มาจากกระดาษและอีเมล์ (ทางตา) เสียงเครื่องจักร เสียงระเบิด เสียงจากเพลง เสียงจากวิทยุตามสาย (ทางหู) กลิ่นนี้ลอยมากลิ่นในห้องน้ำ ห้องสุขา กลิ่นสารเคมี กลิ่นที่ติดมากับกระดาษสิ่งตีพิมพ์ กลิ่นจากการเผาไหม้ กลิ่นน้ำมัน (ทางจมูก) รสชาดของอาหาร กาแฟ ขนม ที่มาบริการช่วงเวลาหยุดพักระหว่างการ อบรมหรือประชุม หรืออาหารเที่ยง หรืออาหารที่ใช้ในการจัดกิจกรรม กลางคืนของบริษัท (ทางลิ้น) การที่เราต้องสัมผัสความร้อนหนาวเย็นจากเครื่องปรับอากาศในห้องทำงาน การแผ่ความร้อนจากหม้อเผา เตาอุ่น จากชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ขัดสีลูกกลิ้งกับแบริ่ง ความรู้สึกระคายเคืองตาจากการสัมผัสฝุ่น (ทางกายสัมผัส) และการรับรู้อารมณ์จากนายต่อว่าหรือกล่าวชม ถูกเพื่อนร่วมงานมองในแง่ร้าย ความรู้สึกไม่พอใจต่อการบริหารงานของบริษัท (ทางใจ) สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นข่าวสารข้อมูลที่เข้ามาสู่ตัวเรา ที่มีภาครับรู้และภาคการเสวยข่าวสารข้อมูลนั้น ๆ เทคโนโลยีการสื่อสารที่เป็นยอดฮิตอยู่ในขณะนี้จะเน้นไปในเรื่องของทางตา และทางหู เป็นส่วนใหญ่

การพัฒนาปัญญาด้วยการคิดเป็นนั้น จะต้องเริ่มจากความเห็นถูกต้องและคิดเป็น
ความเห็นที่ถูกต้องมี 2 ระดับคือ
                       (1) ระดับแนวคิดทฤษฎีค่านิยมเห็นชอบตามคลองธรรม
                       (2) ระดับมองไปตามเหตุปัจจัยโดยปราศจากอคติ

แหล่งที่มาของความเห็นที่ถูกต้อง มี 2 ทางคือ
                       (1) จากปัจจัยภายนอก (ปรโตโฆสะ) มาจากคนอื่นได้แก่ พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เพื่อน (กัลยาณมิตร) หนังสือ สื่อมวลชน
                       (2) จากปัจจัยภายใน (โยนิโสมนสิการ) โดยการทำในใจให้แยบคาย หรือการคิดถูกวิธี หรือคิดเป็น อันเป็นเรื่องหลักในบทความนี้
                       จากแหล่งที่มาของความเห็นที่ถูกต้อง 2 ทาง จากนั้นก็สู่กระบวนการศึกษาตามหลัก ไตรสิกขา ดังนี้คือ
                       (1) ทางกาย (ศีล) ได้แก่การประพฤติ ระเบียบวินัย ความสุจริตในแง่มุมของพูดดี ทำดี เลี้ยงชีพดี ศีลแปลว่า หัว, หิน, เย็น, ปกติ, ข้อห้าม, ข้อเว้น, ปกปิด (เปลือกป้องกัน)
                       (2) ทางใจ (สมาธิ) ได้แก่คุณธรรม คุณภาพชีวิต คุณภาพงาน และสุขภาพจิต ในแง่มุมของหมั่นเพียร สติและตั้งใจมั่น
                       (3) ทางปัญญา (ปัญญา) ได้แก่ความรู้ความเข้าใจตามความจริง และตามเหตุปัจจัยในแนวเหตุและผล รู้เท่าทันโลกและชีวิตตลอดจนจิตผ่องใส ใจเบิกบาน มีสุขภาพปัญญาดี

ขอขอบคุณ

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต) สรุปย่อโดย สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์ . (2545). พุทธวิธีคิดเชิงปัญญา.

                   สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม2551 จาก           http://www.budmgt.com/budman/bm02/yonisomanasikan.html

หมายเลขบันทึก: 218985เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2008 01:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ ช่วยขยายความ 10 วิธีคิดได้ไม๊ค่ะ ขอตัวอย่างด้วย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท