ดูฝนฟ้า พายุ รอบตัว ในเฟรมใหญ่ ภาพล่าสุด...


สวัสดีครัีบทุกท่าน

    มีภาพดาวเทียมเฟรมใหญ่มาฝากนะครัีบ

    ภาพจาก... http://cimss.ssec.wisc.edu/tropic/real-time/indian/images/xxirmet5bbm.jpg

ดูภาพเคลื่อนไหวได้จาก...

    ดูได้กว้างขึ้นกว่าเดิม... จะได้ไม่ต้องอึดอัดมากครัีบ

แต่ที่เก่าก็ีมีประโยชน์นะครัีบ (ภาพดาวเทียมจาก Kochi-Univ ด้านล่างของหน้านี้)

The image “http://weather.is.kochi-u.ac.jp/SE/00Latest.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

จาก.. http://weather.is.kochi-u.ac.jp/SE/00Latest.jpg

    ภาพนี้จะแสดงภาพทุกๆ ชั่วโมงนะครัีบ เป็นภาพล่าสุด หากมีพายุก็ดูการเคลื่อนที่ได้ครับ

โอกาสหน้า สามมิติคงถูกนำมาใช้ต่อไปบนเฟรมใหญ่นี้ครัีบ

ขอบพระคุณ มหาวิทยาลัย wisc.edu ครัีบ

ขอบพระคุณ IHAD และกรมอุตุนิยมวิทยา http://www.ihad.tmd.go.th/index.html

    ขอบพระคุณมากครัีบ

    เม้ง

 

หมายเลขบันทึก: 186371เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อยากดูของบ้านเรา  ช่วงนี้ผู้เชี่ยวชาญออกข่าวเตื่อนบ่อยๆๆ  อยากได้แหล่งข้อมูลที่เราสามารถติดตามได้เอง 

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

สวัสดีครับพี่เอก เอกราช แก้วเขียว และท่าน ผอ. ประจักษ์

    ขอบคุณมากๆ นะครับ

ข้อมูลเมืองไทยติดตามที่ กรมอุตุฯไทย ได้เลยครัีบ

    รักษาสุขภาพนะครัีบ

  • สวัสดีค่ะ
  • ช่วงนี้ ฝนตกเกือบทุกวัน ขอแวะมาดูฝนฟ้า พายุ หน่อยนะคะ

สวัสดีครับ

ภาพดาวเทียมจากอุตุฯ ของเรา เป็นภาพสร้างจากคอมพิวเตอร์อีกทีหรือเปล่าครับ

ดูตอนกลางคืนก็ยังเห็นเมฆ?

สวัสดีครับคุณกัญญา และคุณ ธ.วั ช ชั ย

    ขอบคุณมากๆนะครัีบ

ภาพดาวเทียมจาก Infrared IR ครับ เป็นภาพที่บอกถึงอุณหภูมินะครับ

ตรงไหนอุณหภูมิสูงก็ได้สีดำ ตรงไหนเย็นก็ได้สีขาวครัีบ

คราวนี้ภาพด้านบนคือ ผ่านคอมแล้วครับ เอามาซ้อนบนภาพพื้นหลังอีกทีนะครัีบ ส่วนภาพจาก Infrared ได้มาเพียงแค่ภาพขาวดำ Gray scale ครัีบ

ภาพที่เห็น = ภาพพื้นหลัง + ภาพอินฟราเรด ของแต่ละช่วงเวลา

ครัีบ ขอบคุณมากครัีบ

ผมเห็นบ้านผมแล้ว  ขอบคุณ คุณเม้ง มากๆๆ

สวัสดีครัีบท่าน ผอ.นายประจักษ์ และน้องมิม

    อิๆๆๆ คนเราหมดแรงก็ใช้ธรรมชาตินี่ล่ะครับ เป็นเครื่องชาร์จครัีบ ที่จะเิติมพลังงานที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องแวะปั้มน้ำมันครัีบ

เพียงแต่เราจะทำให้ธรรมชาติคงอยู่กับเรานานแค่ไหนครับ

ส.ค.-ต.ค. พายุใหญ่ถล่มไทย สมิทธฟันธงกทม.จมใต้บาดาล

สมิทธ ฟันธง ส.ค.-ต.ค. พายุใหญ่ถล่มประเทศไทย ทำให้กทม.จมบาดาล ระบบประปาพินาศ คนเมืองหลวงไม่มีน้ำใช้ จี้หน่วยงานรัฐเร่งหามาตรการรับมือโดยด่วน ขณะที่อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานฯ หวั่น วัดพระแก้ว เสียหายหากเกิดน้ำท่วมพระบรมมหาราชวัง


ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช
ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ


การออกมาแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ครั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ในการเสวนาเรื่อง แผนรับมือวิบัติภัยในมหานครกรุงเทพ ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร การเสวนาครั้งนี้มี นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเสวนา

ดร.สมิทธ
กล่าวว่า จากการศึกษาและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติมาโดยตลอด พบว่า ภัยพิบัติที่จะกระทบ กทม.และปริมณฑล มีอยู่ 2 ประเภท คือ ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว และภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง ซึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน โดยภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหวเป็นภัยที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อมนุษย์จำนวนมาก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ 13 รอย และจากการศึกษาพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิ รอยเลื่อนทั้งหมดเกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ซึ่งการเกิดรอยร้าวดังกล่าวทำให้อาคารที่โครงสร้างไม่แข็งแรงใน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ มีโอกาสถล่มลงมาได้

ดร.สมิทธ
กล่าวต่อว่า ในพื้นที่ กทม.อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากรอยเลื่อน 2 รอย คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี หากเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นมาอีก เชื่อว่าจะส่งผลให้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์แตก และทำให้น้ำปริมาณกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลทะลักเข้าสู่ จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ กทม.

"กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินเลน เมื่อได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแล้ว ระยะสั่นสะเทือนจะขยายตัว 2-3 ริกเตอร์ ทำให้อาคารที่สูงไม่เกิน 6 ชั้น อาจแตกร้าวและพังทลายลงมา ส่วนอาคารสูงไม่น่าเป็นห่วง เพราะวิศวกรได้ออกแบบอาคารไว้รองรับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีความพร้อมในการรับมือกับแผ่นดินไหว โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงอาจทำให้เกิดความเสียหายมาก" ดร.สมิทธ กล่าว

ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง เนื่องจากสภาวะโลกร้อนขึ้นนั้น จากสถิติไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าพายุที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียจะมีแรงลมสูงมากถึงขนาดเป็นไซโคลน แต่ตอนนี้เกิดขึ้นแล้ว คือ พายุไซโคลนนาร์กีส ซึ่งมีความเร็วลมสูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อขึ้นฝั่งในลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า แรงลมสูงสุดถึง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความรุนแรงถึงระดับ 4

"ผมขอทำนายว่าในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมนี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทย ทางด้านอ่าวไทย ไล่ตั้งแต่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.เพชรบุรี เข้ามา ซึ่งอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ สตรอม เสิร์จ (Storm Surge) หรือ น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลไหลเข้ามาถึงบริเวณปากอ่าวเจ้าพระยา และเข้าท่วมพื้นที่ กทม. โดยกว่าจะไหลย้อนกลับสู่ทะเลต้องใช้เวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ และหากท่วมเหนือคลองประปา จะทำให้ประชาชนไม่มีน้ำในการอุปโภคบริโภค" ดร.สมิทธ กล่าว

ด้าน นายต่อตระกูล กล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าหากเกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นจริงจะทำให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญหลายแห่งเสียหายโดยเฉพาะวัดพระแก้ว ซึ่งก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่ได้มีการฝังเสาลงดิน หากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่พระบรมมหาราชวังก็จะทำให้เสื่อมความแข็งแรงลงอย่างรวดเร็ว

หลังการเสวนา ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง ดร.วัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการฝ่ายอุตุนิยมวิทยาทะเล กรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุใหญ่พัดถล่มประเทศไทยตามที่ ดร.สมิทธ กล่าวในการเสวนา ดร.วัฒนา ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม อาจจะเกิดพายุใหญ่ถล่มประเทศไทย เพราะช่วงดังกล่าวเป็นช่วงฤดูฝน อยู่ระหว่างช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าประเทศไทย จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าช่วงดังกล่าวมีพายุพัดถล่มประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง อย่างเช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ พายุไต้ฝุ่นลินดา ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อนก็เกิดขึ้นในช่วงนี้

ดร.วัฒนา
กล่าวต่อว่า สภาวะโลกร้อนอาจส่งผลให้ความรุนแรงของพายุเพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่า หากพายุพัดเข้าสู่พื้นที่ที่เป็นเมืองก็อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะหากพายุเคลื่อนเข้าประเทศไทยทางฝั่งภาคตะวันออกจะทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ กทม.โดยตรง ซึ่งมีความเป็นห่วงว่า หากมีพายุพัดเข้าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ กทม. เนื่องจากขณะนี้แม้จะมีการสร้างเขื่อนกั้นริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาในหลายจุด แต่การสร้างเขื่อนที่ผ่านมาทำเพื่อรองรับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำเหนือไหลหลาก ไม่ได้มีไว้รองรับพายุที่พัดเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้บริเวณปากแม่น้ำยังไม่มีการก่อสร้างเขื่อน หากเกิดพายุพัดกระหน่ำจริง เขื่อนที่มีอยู่ก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้

ดร.วัฒนา
กล่าวด้วยว่า มีความเป็นห่วงว่าหากช่วงเวลาที่เกิดพายุตรงกับช่วงที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทำให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์พัดกระหน่ำบริเวณชายฝั่ง หากอาคารบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งไม่แข็งแรงก็จะสร้างความเสียหายร้ายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยามีการติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมไว้ด้วย โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอพยพผู้ประสบภัย เพราะขณะเกิดเหตุภัยพิบัติหากมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัยได้รวดเร็ว ความเสียหายต่อชีวิตของประชาชนก็จะลดน้อยลง

 

โดย คม ชัด ลึก วัน พฤหัสบดี ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551 00:00 น.

ผมขออนุญาต หมายเหตุ....จากข่าวนี้...ดังนี้ครัีบ

  • การเขียนข่าว บางที่ก็ไม่ควรทำให้ตระหนกมากครับ หรือเพื่อจะหวังขายข่าวอย่างเดียวนะครัีบ.....
  • การเตรียมการให้พร้อมก็เป็นเรื่องสำคัญ จะเกิดก็คือเราพร้อมจะรับมือ ดีกว่าเกิดและไม่ได้เตรียมการ
  • ประชาชนก็ไม่ควรจะตระหนก แต่ขอให้เตรียมพร้อมอย่างไร ต้องใช้ความรู้อะไรบ้าง ในการบูรณาการองค์กรต่างๆร่วมกัน
  • เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิด นานๆ เกิดที ก็มีโอกาสเกิดได้ตามข้อมูลสถิติ อย่าง นาร์กีส เองก็เช่นกันครัีบ หรือแคทรินา คนก็ตายเยอะ ทั้งๆ ที่อเมริกาเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงและพร้อมที่จะเตือนภัย
  • ขอให้คนมีสติ ใส่ใจต่อธรรมชาติกันบ้างเถอะครัีบ แล้วหันมาใส่ใจในการอยู่ร่วมกัน ต่อให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย 100% แต่หากเกิดภัยพายุ ท่วมเมือง ประชาธิปไตยที่เราภูมิใจจะอยู่กับใครหรือครับหากคนสูญเสียชีวิตมหาศาล?
  • หันมาใส่ใจธรรมชาติกันจริงจังมากกว่านโยบายสวยหรูกันดีกว่าครัีบ ทำที่เราช่วยได้จากระดับคนส่วนบุคคลไปยังระัดับสังคม
  • ผมจะบอกว่า มันสมองของคนในโลกนี้มีความรู้ไม่พอที่จะไปสั่งหยุดพายุได้หรอกครัีบ แต่มีปัญญาพอที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างปลอดภัยนะครัีบ
  • แล้วคุณคิดว่าอย่างไร....

เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้นครับ นำไปคิดนะครัีบ....

สวัสดีครับ เม้ง

      ขอให้ความเห็นแบบตรงไปตรงมานะครับ เพราะพี่จะคุ้นเคยกับกรมอุตุฯ ค่อนข้างมาก

      เรื่องคุณสมิทธนี่ ช่วงที่ผ่านมาท่านใช้ความคิดเห็นส่วนตัวเยอะมากครับ (ไม่ใช่งานวิจัยที่มีคนอื่นมาตรวจสอบ) โดยเฉพาะเรื่องการเตือนภัยจาก ลมฟ้าอากาศ (weather) และแผ่นดินดินไหว (earthquake)

      พี่ไปออกรายการทีวีกับท่านมาเมื่อไม่นานนี้ ก่อนออกรายการ ก็อมีโอกาสได้คุยกันเกือบชั่วโมง พบว่าท่านจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาปะติดปะต่อ เพื่อสนับสนุนความเชื่อของท่าน เรียกแบบฝรั่งก็คือ confirmation bias นั่นแหละครับ

      อย่างท่านไปเสนอทฤษฎี "แก้วร้าว" ที่ว่า สึนามิเมื่อ 3-4 ปีก่อนทำให้รอยเลื่อน (fault) ในประเทศไทยถูกกระตุ้นกลายเป็น รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) นี่ พอนักวิชาการอย่าง อาจารย์ ดร. เป็นหนึ่งฯ (จาก AIT) ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านแผ่นดินไหวตัวจริง ยังไม่เห็นด้วยเพราะยังไม่มีหลักฐานมาสนับสนุน คุณสมิทธก็ว่านักวิชาการคนอื่นไม่ฟังแก

      ความจริงคุณสมิทธมีความหวังดีนะครับ แต่ก็อย่างที่เม้งบอก คือ ไม่ควรประโคมข่าว โดยไม่ให้ความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยจริงๆ

       อีกอย่างคือ เรื่องศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ นี่มันมีปัญหาการจัดการมาตั้งแต่ต้นแล้ว ศูนย์นี้ถึงยังไม่มี พรบ. รองรับไงล่ะครับ อันนี้สันนิษฐานว่า อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายๆ คน ต้องพยายามออกมาเป็นข่าวเรื่องเตือนภัยอยู่เรื่อยๆ ครับ (มีเบื้องลึกที่ขอไม่เขียนทิ้งไว้จะดีกว่า...)

พี่ชิว

สวัสดีครับพี่ชิว ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

    สบายดีไหมครับ ดีใจจังครับ ที่พี่ชิวให้เกียรติมาเยี่ยมถึงบ้านครับ ขอบคุณมากๆ นะครัีบสำหรับข้อมูลครับ ผมได้รับเมล์์ก็โทรฯหา ดร.วัฒนา ทราบรายละเอียดเหมือนกันครัีบ เป็นเพียงทางสถิิติที่มีโอกาสเกิดได้ เพราะหากพายุเข้าจริงและมีขนาดใหญ่ โอกาสเกิด Storm Surge ก็จะสูงครัีบเช่นกันครัีบ และพื้นที่ บริเวณตัว ก.ไก่ บางขุนเทียนแถบนั้น ก็ไม่ได้สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากนักครับ โอกาสที่น้ำจะถูกซัดไหลเข้าไปก็มีโอกาสครับ

    น่าเสียดายครับ ที่ป่าชายเลนแถบนั้นโดนทำลายไปเยอะครับ น่าจะมีการทำให้เกิด buffer zone ในการป้องกันการซัดฝั่งของคลื่นได้ครับ เช่น มีป่าโกงกางหนาๆ สัก 500 เมตรเป็นอย่างน้อยดักอยู่ครัีบ ผมเชื่อว่าต้นไม้นะครับที่จะช่วยได้ครัีบ เพราะเป็นธรรมชาติรับกับธรรมชาติเพื่อป้องกันธรรมชาติ เค้าคงเจรจากันด้วยภาษาของเค้าเอง ตอนคลื่นมา ป่าก็เจรจรกับคลื่น

   

ภาพจาก... http://www.nhc.noaa.gov/HAW2/english/storm_surge.shtml

 

    ส่วนเรื่องการเตือนภัยผมว่าหลายๆ ฝ่ายควรเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ประชาชนจริงๆ นะครับ ไม่ว่าจะสื่อ นักวิชาการ และชาวบ้านประชาชนทั่วไปครัีบ การรับรู้ได้ทันนั้นสำคัญมากๆ และการมีความรู้พอที่จะปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ก็สำคัญครัีบ เพราะอย่างแผ่นดินไหวนั้นเกิดตอนนั้นกระทบตอนนั้น ฉับพลันทันทึ

ขอบคุณพี่ชิวมากๆ นะครัีบ

 

สวัสดีครับ เม้ง

        แวะมาบอกว่า พี่เปิดบล็อกเกี่ยวกับเมฆ & ลมฟ้าอากาศโดยตรงแล้วที่

        http://gotoknow.org/blog/weather 

ขอบคุณครับ

สวัสดีีครัีบพี่ชิว ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

    สบายดีไหมครัีบ โอ้...ขอบพระคุณเลยครัีบพี่ จะได้เข้าไปแลกเปลี่ยนกับพี่บ้าง ได้เรียนรู้ ต้องขอความรู้พี่อีกเพียบเลยครัีบผม

เข้าไปเยี่ยมครับผม

สนุกในการทำงานนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท