เกิดพายุอยู่ที่ไหน คุณก็รู้ได้ ด้วยข้อมูลเหล่านี้ครับ (ดูภาพตอนนี้ อนาคต)


สวัสดีครับทุกท่าน

          วันนี้ได้พูดคุยกับ ดร.วัฒนา กันบัว ผู้เชี่ยวชาญพายุ คลื่นลมทะเล สึนามิ สภาพดินฟ้าอากาศ ของประเทศไทย ซึ่งเป็น  ผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล ก็เลยอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แทนที่ผมจะเขียนบทความเอง ก็เลยตั้งคำถามและคำตอบกันง่ายๆ เรื่องพายุครับ เพราะบ้านเราเมืองไทย คงหนีไม่พ้นพายุ มาเยี่ยมเยือน ดังนั้น ก็คงไม่น่าจะเป็นเรื่องเสียหาย หากคนไทยส่วนใหญ่ มาร่วมเป็นผู้เฝ้าระวังภัยที่อาจจะเกิดกับพี่น้องประชาชนในบ้านเมืองของเราใช่ไหมครับ เข้าเรื่องกันเลยครับ

เม้ง :  พี่วัฒนาครับ รบกวนพี่อธิบายการดูพายุในบริเวณบ้านเราเมืองไทย หรือบริเวณใกล้เคียงหน่อยนะครับ เผื่อจะเกิดประโยชน์กับเมืองไทยเรา ตลอดจนจะได้มีการเรียนรู้เรื่องพายุกันด้วยครับ เช่นวันนี้มีพายุจะเข้าทางพม่าและอาจจะมีผลต่อภาคเหนือของไทย เราจะมีวิธีการดูกันอย่างไรบ้าง

พี่วัฒนา : (ตอบผ่านระบบไฟล์มาดังนี้นะครับ)

การวิเคราะห์ตำแหน่งการเกิดพายุหมุนเขตร้อน

การวิเคราะห์ตำแหน่งการเกิดพายุหมุนเขตร้อนเช่นดีเพรสชั่น โดยดูจากข้อมูลความกดอากาศ ตามด้วยดูลมหมุนที่ระดับต่างๆ เช่น 500 เฮกโตปาสคาล 850 เฮกโตปาสคาล และระดับ 10 เมตร ตามลำดับ ตามด้วยดูค่ารีเลทีฟเวอทิซิตี้ (Relative Vorticity) ที่ระดับ 500 เฮกโตปาสคาล และภาพเมฆดาวเทียม ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้ได้แก่

-                     ค่าความกดอากาศที่มีค่าต่ำที่สุด 

-                     ลักษณะลมหมุนแบบทวนเข็มนาฬิกา ที่ระดับ 500 – 850 เฮกโตปาสคาล และระดับ 10 เมตร 

-                     ค่ารีเลทีฟเวอทิซิตี้ (Relative Vorticity) ที่ระดับ 500 เฮกโตปาสคาล ที่มีค่าเป็นบวกมากๆ ตั้งแต่ +3ขึ้นไป 

-                     ความเข้มของสีขาวจากภาพเมฆดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา


 

เม้ง : ขอบคุณพี่วัฒนามากๆ เลยนะครับ

--------------------------------------------------------------------------------

ต่อไป เรามาดูชุดภาพตอนนี้กันดีกว่านะครับ ว่าจากสี่รายการที่พี่วัฒนาได้อธิบายไปแล้วนั้น ดูได้จากที่ไหนบ้าง

อันแรกเป็น ความกดอากาศที่ระดับ Air Surface ในภาพบนซ้ายนะครับ ดูได้จากเว็บนี้นะครับ ภาพเคลื่อนไหว ให้กดการแสดงผลแบบ Loop แล้วลดความเร็วของภาพเคลื่อนไหวโดยกดเครื่องหมายลบ -  แล้วกดแสดงผลที่ปุ่มเครื่องหมายมากกว่า >
http://www.marine.tmd.go.th/html/press_smloop.html

[jsMoviePlayer]
(ภาพเมื่อ 7 โมงเช้าวันนี้)

[jsMoviePlayer]
(ภาพที่จะเกิดตอน 7 โมงเช้าพรุ่งนี้)

[jsMoviePlayer]
(ภาพที่จะเกิดเมื่อ 7 โมงเช้าวันมะรืนนี้)

อันที่สองเป็นภาพลมนะครับ ที่ 850 hPa (ประมาณ 1500 เมตร) สูงจากระดับน้ำทะเล ดูภาพได้จากที่นี่ครับ http://www.marine.tmd.go.th/html/wind850_smloop.html

[jsMoviePlayer]
(ภาพนี้เป็นภาพตอน 7 โมงเช้าวันนี้)

[jsMoviePlayer]
(ภาพนี้เป็นภาพที่จะเกิดตอน 7 โมงเช้าวันพรุ่งนี้)

[jsMoviePlayer]
(ภาพนี้เป็นภาพที่จะเกิดเมื่อ 7 โมงเช้าวันมะรืนนี้)

อันที่สาม มาดู Vorticity เป็นค่าพี่บอกถึงความแรงของการหมุนของลมนะครับ โดยหากมีค่ามากหมายถึงจะแรงมาก ดังนั้น หากคุณเห็นสีที่ใจกลางพายุ มีค่าเข้าใกล้สีชมพู นั่นหมายถึงว่า พายุจะแรง ดูภาพเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.marine.tmd.go.th/html/vort_smloop.html

[jsMoviePlayer]

(ภาพนี้เมื่อ 7 โมงเช้าของประเทศไทย วันนี้ ภาพนี้จะถูกอัพเดตตลอดครับ)

[jsMoviePlayer]

(ภาพนี้จะเป็นเวลา 7 โมงเช้าของวันพรุ่งนี้)

[jsMoviePlayer]
(ภาพนี้จะเป็น 7 โมงเช้าของวันมะรืนนี้) 

และดูการเปรียบเทียบภาพได้ที่นี่ เป็นผลจากการคำนวณเชิงตัวเลขจากโมเดลของประเทศญี่ปุ่น http://www.marine.tmd.go.th/html/weather0.html

ต่อมาเป็นภาพดาวเทียมนะครับ อาจจะดูประกอบกันได้ที่ จากภาพดาวเทียมจาก Kochi University หรือของ กรมอุตุนิยมวิทยาก็ได้ครับ

(ภาพนี้เป็นภาพดาวเทียมล่าสุดนะครับ ภาพจะอัพเดตเป็นภาพล่าสุดทุกครั้งที่คุณเข้ามานะครับ)

(อันนี้ภาพปัจจุบันที่ กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย รับจากดาวเทียมนะครับ http://www.sattmet.tmd.go.th/disk2/Olddata/remapdata/forweb/SEch2.jpg)

(อีกภาพนะครับ อันนี้ดูทั้งซีกตะวันออกนะครับ ตลอดถึงมหาสมุทรแปซิฟิกครับ)

(อันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพนะครับ ทำให้มองเห็นทางด้านซ้ายได้ชัดขึ้นครับ เราจะเห็นภาพพายุได้ชัดขึ้น กรณีก่อตัวที่ฝั่งอันดามันครับ)

ต่อไปมาดูลมทั้งระบบใหญ่เลยครับ ที่ 850 hPa

(You can take a look at the following sites for its animation:)

http://www.marine.tmd.go.th/data/wind850loop.html

http://www.marine.tmd.go.th/data/wind500loop.html

http://www.marine.tmd.go.th/data/wind200loop.html

[jsMoviePlayer]

 (Today at 7:00 am)

[jsMoviePlayer]

(Tomorrow at 7:00 am)

[jsMoviePlayer]

(The day after tomorrow at 7:00 am)

หากข้อมูลจากสี่แหล่งนี้ ตรงกันแล้ว มีเมฆหนาหรือบางครั้งอาจจะเห็นตาพายุด้วย แล้ว ประกอบกับค่า Vorticity มีค่าสูงตั้งแต่ + 3 ขึ้นไป และการหมุนของทิศทางลมแบบทวนเข็มนาฬิกา และ ค่าความกดอากาศต่ำที่ระดับน้ำทะเล แล้ว ก็จะสามารถสรุปได้ว่า พายุกำลังอยู่ในบริเวณนั้น และสภาพตอนนั้นจะมีแนวโน้มจะเกิดพายุขึ้นได้ครับ

 

ขอบคุณมากครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

 

ปล. หากภาพใดไม่ขึ้น แสดงว่า เครื่องบริการจากทางกรมอุตุนิยมวิทยา มีปัญหาครับ

กรณีที่ท่านไม่แน่ใจ จากภาพที่เกิดขึ้น ท่านสามารถ ติดตามข่าวได้จาก กรมอุตุนิยมวิทยานะครับ www.tmd.go.th

หรือว่า เข้าไปดูคลื่น อากาศ และเมฆรายวันได้ที่ www.marine.tmd.go.th ขอบคุณมากๆ นะครับ

 

ปล. หมายเหตุ  หาก เครื่อง www.marine.tmd.go.th เข้าไม่ได้ ให้แทนที่ ด้วย ไอพี 61.91.212.134 นะครับ

หมายเลขบันทึก: 94392เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2007 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (84)
  • จากข้อมูลด้านบนนะครับ
  • จะเป็นการทำนายสองวันล่วงหน้าครับ ท่านสามารถดูได้นะครับ
  • ใช้ภาพจากข้อมูลสี่ชุดนี้ประกอบกันครับ
  • จากภาพท่านจะเห็นว่าแนวโน้มของ vorticity จะวิ่งไปที่ทางเหนือของไทย อาจจะได้รับน้ำด้วยครับ ทางเหนือของไทย ก็ต้องรอฟังข่าวจากกรมอุตุด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะพี่เม้งหนูฟังเพลงของพี่แล้วหนูคิดถึงแม่ทำให้น้ำตาออกได้เหมือนกันนะค่ะ  พี่อยู่ทางนั้นพี่คิดถึงแม่แน่น ๆ เลย ส่วนภาพต้านบนหนูดูไม่เป็นค่ะ

ไม่มีรูป
พัทยา เพียพยัคฆ์

น้องกิ่งครับ

  • คิดถึงแม่ครับผม แต่ก็ต้องอดทนครับผม อยากกลับไปให้แม่นอนกอดก่อนสว่างเหมือนกัน อิๆ เพราะแม่เคยมากอดบ่อยๆ ตอนกลับไปเยี่ยมพระอรหันต์ของพี่ครับ ป่านนี้คงนอนหลับแล้วครับ
  • ส่วนภาพด้านบนนั้น ให้น้องดูภาพที่หลายๆ ภาพรวมกันนะครับ ในหกภาพนะครับ จะเห็นวงกลมที่ทำวงไว้ในที่เดียวใต้ๆ ประเทศพม่านะครับ นั่นคือบริเวณของพายุครับ ส่วนภาพด้านล่างๆ แต่ละภาพนั้น จะเป็นค่าที่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ครับ
  • หากแต่ละภาพมีตำแหน่งของศูนย์กลางพายุ ดูง่ายๆ ที่รูปลมนะครับ จะได้เป็นวงกลม ในทิศทวนเข็มนาฬิกา หากมีพายุครับ แล้วมาเทียบกับภาพดาวเทียมครับ ทุกๆ ภาพประกอบกันนะครับ จะได้ว่ามีพายุหรือไม่ครับ
  • มีอะไรถามไว้ได้นะครับผม

สวัสดีครับ อธิบดีกรมอุตุฯ

  • ชอบมากจริงๆ  ทำให้รู้ว่าอากาศล่วงหน้าได้ ตอนนี้เชียงราย ฝนตกทั้งวัน ไม่เห็นแสงตะวัน แต่ไม่ถึงกับหนักมาก  เสียวพรุ่งนี้มีแนวโน้มไม่ดีนัก  พายุอย่าเข้าแล้วกัน
  • ขอบคุณมากครับท่าน อธิบดี ลดลงมาจาก รมต.
  • จิบชา อุ่นๆ ครับ

 

 

P

สวัสดีครับพี่

  • โหพี่ เอาตำแหน่งมาใส่แบบนี้ ห้าๆๆ ผมไม่ขอตำแหน่งนะครับ ขอเป็นน้องเม้ง ธรรมดานะครับพี่เหลียง
  • ยังไงก็ต้องฟังข่าวจากทางกรมนะครับ ช่วยกันเฝ้าคอยระวังครับ
  • เอ้า  น้อรก.... ขอบคุณครับ

 

P

Em7                  Bm7

 มันเป็นเพียงแค่กระแสลมแรง

  Am          G

  พัดพาใจเตลิดไป

  Em7                 Bm7

  มันเป็นเพียงแค่พายุในใจ

  Am               G

  พัดให้เธอหวั่นไหว

      Am            Em7

  ฉันรู้  เธอไม่ตั้งใจ

      Am         Em7

  ฉันรู้  เธอไม่ใจร้าย

___________________

พายุไม่ได้ใจร้าย แต่คนสิใจร้าย...

P

สวัสดีครับน้องบ่าว

  • หากรู้จักติดตามใจตัวเอง พายุในใจจะไม่เกิดครับ เพราะว่ามันจะว่างเปล่าทั้งมหาสมุทรของใจครับ
  • คนกับธรรมชาติคืออย่างเดียวกัน และสัมพันธ์กันครับ
  • เริ่มที่ใจเราในการรักษ์ธรรมชาติ แล้วธรรมชาติจะรักษ์เรา
  • ด้วยมิตรภาพจากหัวใจของธรรชาติครับ

P

วันนี้วัน fine day  อารมณสุนทรีย์ ๆ  (Aesthetics ๆ )กับเพลง พี่เม้ง...... อย่าเคร่งเครียดมากนะพี่บ่าว พักผ่อนมั๊ง เป็นห่วงบ่าวเหอ ....เป็นห่วงคนไกล ...555+

  • พี่สิทธิรักษ์..มารายงานสภาพอากาศที่เชียงราย
  • ขอรายงานบ้างค่ะว่าที่พิษณุโลกฝนตกทั้งวันเลย   ตอนนี้ก็ตกหนักทีเดียวค่ะ   ไม่เห็นแดดทั้งวันเหมือนกันค่ะ

 

P

สวัสดีครับ อ.กุล

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับผม มารายงานไว้ตลอดนะครับ เผื่อจะได้รับทราบพร้อมกับเช็คกับภาพด้วยครับผม
  • ขอบคุณมากนะครับผม โชคดีในการทำงานครับ

สวัสดีครับพี่เม้ง

  • สบายดีมั้ยครับพี่
  • เยี่ยมมากเลยครับที่มีบทความดีๆ แบบนี้มาให้น้องๆ ได้ประเทืองปัญญา 
  • หลังจากสอบไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ตอนนี้ผมกำลังแก้เล่ม Thesis อยู่ครับ
  • โชคดีมากเลยครับที่เข้ามาอ่านวันนี้เลยได้เจอข้อมูลดีๆ
  • ผมมีคำถามครับ
  • ตามท่าน ดร.วัฒนา ได้อธิบายในบทความ "ค่ารีเลทีฟเวอทิซิตี้ (Relative Vorticity) ที่ระดับ 500 เฮกโตปาสคาล ที่มีค่าเป็นบวกมากๆ ตั้งแต่ +3ขึ้นไป"
  • คือ หน่วยของ Relative Vorticity เป็น 1/s ใช่มั้ยครับ แล้ว +3 นี้ หมายถึง 3 1/s หรือว่าระดับ 3 (grads 3) ครับ  ผมเลยงงนิดหน่อย  เพราะว่าได้เคยดูของ Typhoon Xangsane ที่ระดับ 550  hPa ตลอดเส้นทางการเคลื่อนที่ พบว่าค่ามันประมาณ 9.5 * 10-4 1/s ครับ
  • หรือว่าท่านดร.วัฒนา ล่ะไว้ในฐานที่เข้าใจครับ
  • รบกวนพี่ช่วยแจ้งแถลงไขให้หน่อยนะครับ
  • อีกนิดครับ Relative Vorticitััy    ถ้าจะบัญญัติเป็นคำไทยน่าจะแปลว่าอะไรดีครับ ไม่รู้ว่าอันนี้จะถูกหรือเปล่านะครับ "การพัดหมุนวนสัมพัทธ์" 
  • ขอบคุณครับพี่ 
ไม่มีรูป
ยะ

สวัสดีครับน้องยะ

  • สบายดีนะครับน้อง
  • ยังไงก็ให้โชคดีในการสอบและเขียนงานนะครับ
  • สำหรับเรื่องหน่วยนั้นถูกแล้วครับผม 1/s นะครับ
  • สำหรับค่านั้น ไม่แน่ใจว่าที่บาร์ อาจจะ x 10 ยกกำลัง -4 อยู่นะครับ แต่อาจจะพูดให้เข้าใจในค่าเป็นจำนวนเต็ม ครับ ซึ่งค่าที่น้องว่า 9.5 นั้นคือพายุแรงเลยหล่ะครับ (ไว้พี่จะถามให้อีกทีนะครับ)
  • สำหรับคำว่า Relative Vorticity นั้น ไม่แน่ใจว่าบัญญัติเป็นไทยว่าอย่างไร เพราะตรงนี้มึนจริงๆครับ เรื่องการแปลอังกฤษเป็นไทย แต่หากใช้คำว่า การพัดหมุนวนสัมพันธ์ ก็น่าจะเข้าใจได้ง่ายนะครับ
  • เดี๋ยวแถมสูตรนิดเผื่อใครอยากจะอ่านครับ
  • Atmospheric sciences

    In the atmospheric sciences, vorticity is the rotation of air around a vertical axis. In the Northern Hemisphere, vorticity is positive for counter-clockwise (i.e. cyclonic) rotation, and negative for clockwise (i.e. anti-cyclonic) rotation. It is the same in the Southern Hemisphere although the rotational direction differs to that in the Northern Hemisphere.

    Relative and absolute vorticity are defined as the z-components of the curls of relative (i.e., in relation to Earth's surface) and absolute wind velocity, respectively.

    This gives

    \zeta=\frac{\partial v_r}{\partial x} - \frac{\partial u_r}{\partial y}

    for relative vorticity and

    \eta=\frac{\partial v_a}{\partial x} - \frac{\partial u_a}{\partial y}

    for absolute vorticity, where u and v are the zonal (x direction) and meridional (y direction) components of wind velocity. The absolute vorticity at a point can also be expressed as the sum of the relative vorticity at that point and the Coriolis parameter at that latitude (i.e., it is the sum of the Earth's vorticity and the vorticity of the air relative to the Earth).

  • จาก http://www.answers.com/topic/vorticity

  • โชคดีนะครับ

  • สวัสดีครับพี่น้องคร้าบ
  • อากาศ ฝน เป็นอย่างไรบ้างครับ กลาง เหนือ ออก ตก อีสาน ใต้
  • ขอบคุณมากครับ

ตอนนี้ที่กรุงเทพ แถวสวนจตุจักร ฝนกำลังตั้งเค้าจะตกหนักค่ะ แต่กำลังจะมืดแล้ว เกือบมองไม่เห็นเมฆค่ะ

รายงานสดๆ ค่ะ ; )

P

สวัสดีครับพี่ ขอบคุณมากเลยครับ ยอดครับผม เพราะว่าในภาพดาวเทียมตอนนี้ เมฆพาดประเทศไทยเลยครับ ลมมันจะดึงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณนั้นครับผม

ท่านอื่นๆ ต้องระวังด้วยนะครับ ขับรถรา ไปไหนมาไหนครับ มีสติครับผม

ขอบคุณมากครับ

เห็นภาพสุดท้ายชัดเลยค่ะ เมฆพาดเป็นเส้นยาวจริงๆ ดูประกอบกันอันอื่นๆ แล้วกำลังเดาว่าแถวเมืองกาญจน์น่าจะเจอน้องๆ พายุนะคะ เดาค่ะ

ขอบคุณนะคะ ได้ความรู้มากทีเดียว

  • อันแรกเป็นความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลครับ ภาพเคลื่อนไหว ให้กดการแสดงผลแบบ Loop แล้วลดความเร็วของภาพเคลื่อนไหวโดยกดเครื่องหมายลบ -  แล้วกดแสดงผลที่ปุ่มเครื่องหมายมากกว่า >
    http://www.marine.tmd.go.th/html/press_smloop.html
  • อันที่สองเป็นภาพลมนะครับ ที่ 850 hPa (ประมาณ 1500 เมตร) สูงจากระดับน้ำทะเล ดูภาพได้จากที่นี่ครับ http://www.marine.tmd.go.th/html/wind850_smloop.html
  • อันที่สาม มาดู Vorticity เป็นค่าพี่บอกถึงความแรงของการหมุนของลมนะครับ โดยหากมีค่ามากหมายถึงจะแรงมาก ดังนั้น หากคุณเห็นสีที่ใจกลางพายุ มีค่าเข้าใกล้สีชมพู นั่นหมายถึงว่า พายุจะแรง ดูภาพเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.marine.tmd.go.th/html/vort_smloop.html
  • พี่สามารถดูภาพเคลื่อนไหวสามอันนี้ประกอบด้วยครับ จะได้เห็นความเป็นไป ในการทำนาย 48 ชั่วโมงล่วงหน้าครับ เริ่มต้นจาก เวลา 7 โมงเช้าของทุกๆ วันนะครับ ในภาพเคลื่อนไหวจะเป็นภาพทุกๆ 3 ชั่วโมงครับ
  • แล้วมาเช็คกับภาพดาวเทียมครับ
  • รักษาสุขภาพนะครับ
  • ลักษณะของพายุคือ
  • ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล จะต่ำ เพราะอากาศบริเวณพายุจะถูกยกตัวขึ้นด้านบน เป็นเกลียวทวนเข็มนาฬิกาครับ
  • ลมที่ระดับ 850 hPa จะบอกถึงลักษณะลมว่าจะพัดหมุนอย่างไร หากให้ดีต้องดูลมที่ระดับความสูง 10 เมตร และ 500 hPa ประกอบด้วยครับ
  • ค่า Vorticity จะบอกการพัดหมุนวนของลม หากมีค่ามาก คือมีค่ายกตัวของอากาศมาก ยิ่งค่ามาก ยิ่งบ่งบอกถึงพายุ และยิ่งอันตรายครับ
  • ดังนั้น หากค่าสามค่านี้สอดคล้อง แล้วไปผสมโรงกับภาพเมฆจะตัดสินใจได้เลยครับ
  • เว้นแต่บางครั้งเราเห็นตาพายุจากภาพดาวเทียมเลย อันนั้น เราไม่ต้องเช็คเลยก็ได้ครับ แบบว่า พายุแน่ๆ เลยครับ
  • ที่เราต้องดูภาพ ลม ความกดอากาศ และการพัดหมุนวนของลม เพราะบางทีพายุอาจจะก่อตัวกระทันหันได้เช่นเมื่อวันก่อนที่เริ่มที่ ประจวบและชุมพรนะครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ

สวัสดีครับพี่

  • ขอบคุณมากๆ ครับ ที่ช่วยขยายความรู้เพิ่มขึ้นไปอีกนะครับ
  • สำหรับเรื่อง vorticity ผมคิดว่าน่าจะคำนวณจาก absolute vorticity เพราะถึงแม้ว่าค่าจาก coriolis part มันจะมีค่าน้อยที่ละติจูดต่ำๆ  แต่ที่ละติจูดสูงขึ้นมาถึงตำแหน่งของบ้านเราก็น่าจะคิดนะครับ หรือพี่มีความคิดเห็นยังไงครับ
  • เมื่อวานเมืองไทยก็มีข่าวดีๆ ทำให้เรารู้สึกว่าบ้านเมืองเราก็ไม่ได้เลวร้ายไปซะทุกเรื่อง
  • ไม่รู้่ว่าพี่เม้งทราบข่าวหรือเปล่านะครับ "

    "แมน" กระหึ่ม! ซิวแชมป์แบดฯ ที่สิงคโปร์"

  • http://hilight.kapook.com/view/10848
  • รู้สึกว่าเป็นการคว้าแชมป์นอกบ้านครั้งแรกนะครับ
  • ต้องชื่นชมมากๆหน่อย ส่งเสียงเชียร์ดังๆ
  • มีคว่มสุขในการทำงานนะครับ
ไม่มีรูป
ยะ

สวัสดีครับน้องยะ

  • ขอบคุณมากเลยครับ พี่มารายงานข่าวด้วยครับ
  • และแสดงความยินดีกับผู้ได้รางวัลและประเทศด้วยนะครับ สนับสนุนกันไปต่อครับ ในสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
  • ส่วนเรื่อง vorticity พี่จะไปดูก่อนอีกครั้งนะครับ ว่าเป็นอย่างไร จะลองถามทางพี่วัฒนาด้วยนะครับ เพราะโมเดลนี้เป็นของญี่ปุ่นนะครับ แต่ก็ยังมีประโยชน์มากๆ เลยนะครับ และใช้การได้ดีอยู่นะครับ
  • เห็นพี่วัฒนาบอกว่า พรุ่งนี้ จะมีออกในรายการบ่ายนี้มีคำตอบ ที่ช่องเก้า ลองเปิดดูรายการนะครับ บ่ายสอง หรืออะไรนี่หล่ะครับ คงเกี่ยวกับพายุในช่วงที่ผ่านมานะครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ
  • อีกนิดนะครับ ถ้าพี่จำได้ ผมได้เคยขออนุญาตนำ animation ของ พายุไต้ฝุ่นช้างสารไปนำเสนอเมื่อ 4-5 เมษายน ที่สุราษฎร์ฯ  ตอนนั้นผมมีปัญหาคือ ไม่สามารถเอา file  animation (*.gif) แทรกลงไปใน power point ได้ครับ ต้องเปิดจาก file เท่านั้น ไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะอะไรครับ
  • แต่ว่า file ของผมที่เป็น animation (*.gif) (สร้างบน Windows โดยใช้ software Animated GIF producer)  สามารถแทรกได้ ของพี่สร้างจาก platform อะไรครับ 

 

  • สวัสดีครับน้องยะ
  • สำหรับ .gif นั้นพี่สร้างจากโปรแกรมที่พี่เขียนขึ้นมาครับ คือ VirtualCloud3D จะสามารถส่งภาพออกเป็นเฟรมต่างๆ เรียกกันแล้วจะรวมภาพให้เป็น .gif อีกทีหนึ่งนะครับ
  • เวลาพี่นำไปแสดงใน powerpoint พี่จะเอาภาพหนึ่งภาพจากเฟรมครับ แล้วคลิกภาพก็จะให้ไปเรียกโปรแกรมเพื่อเปิดและเล่น .gif นั้นให้อีกทีครับ จะทำให้ภาพ .ppt นั้นไม่ใหญ่ด้วยครับ ใช้หลักการสร้างลิงก์แทนนะครับ
  • .gif นั้นก็สร้างจากวินโดวส์นะครับ ตอนนี้พยายามเน้นให้ทุกอย่างมันเกิดและคลอดออกมาจากตัวโปรแกรมให้มากที่สุด จะทำให้งานมันสมบูรณ์ในตัวมากขึ้นและรวบรัดสำหรับผู้ใช้ครับ
  • มีอะไรก็ถามมาได้ตลอดนะครับ ขอบคุณมากครับ
  • ขอบคุณมากครับพี่ พรุ่งนี้จะรอดูเลยครับ เพราะว่ามีอะไรที่เราเองก็ยังรู้ไม่หมดกับเจ้าพายุว่าอะไรบ้างเป็นตัวแปรหลัก และรอง ทำให้เกิดพายุในบ้านเรา  ดีมากๆครับพี่  ขอบคณอีกครั้งครับ
  • พี่หมายถึงสร้าง link จาก power point เหรอครับ ผมลองทำดูแล้วครับ ไม่ได้  หรือเป็นเพราะว่า file มันขนาดใหญ่ power point เลยใช้ไม่ได้
  • ขอบคุณครับพี่
  • สวัสดีครับน้องยะ
  • คือจากภาพนิ่งใน ppt จากนั้นเมื่อเราคลิกภาพ ตอนแสดงผล ppt จะเชื่องโยงภาพไปยังการเปิดโปรแกรมเช่น acdsee ตามด้วยชื่อแฟ้ม gif ที่ต้องการแสดงผลนะครับ
  • นั่นคือ  คลิกภาพเสร็จ ppt เรียกให้ acdsee เรียกแฟ้ม gif มาโชว์ทับที่หน้าจอ หากโชว์เสร็จต้องการกลับไปที่ ppt ก็แค่กด esc หนึ่งครั้งนะครับ
  • สำหรับ gif ที่พี่ใช้นั้นคือ มาตรฐาน gif 97 ครับ ที่ทำงานได้ดีกับ acdsee และ browser ทุกตัวนะครับ สำหรับ ppt ไม่ได้ครับ เคยลองแล้ว พี่ว่าใช้วิธีการลิงก์ตรงดีที่สุดครับ
  • วิธีการสร้างลิงก์ในการเรียกโปรแกรม เราก็ใส่ลงไปเช่น  c:\programfile\acdsee\acesee.exe d:\mygif.gif
  • อะไรทำนองนี้ครับ
  • ขอบคุณครับ ผมลองทำตามที่พี่แนะนำแล้วครับ ใช้ได้เลย  เยี่ยมมากๆครับ  แต่ว่าของผมไม่มี ACDSee ใช้ Window Picture and Fax Viewer ดูได้ครับ
  • ขอบคุณครับ
สุดยอดจริงเลยน้องพี่...เห็นอย่างนี้แล้วก็อดภูมิใจในตัวน้องมิได้... วันนี้พี่ไปงานบวชหลานชาย...ที่พิด"โลกฝนตกทั้งวัน...พี่นั่งดูสายฝนตกลงมาจากฟากฟ้า...ไหลเป็นเส้นสายต่อเนื่องยาวนาน... นั่งดูไปใจก็ให้สงสัยว่าจะถามน้องเม้งสักหน่อย... ทำไมน้ำจึงต้องระเหยกลายเป็นไอ...ที่เล็กจนกระทั่งลอยไปรวมตัวกันอยู่บนฟากฟ้าได้... ทำไมรวมกันอยู่ในชั้นบรรยากาศแบบนั้น...ไม่หายไปนอกโลกเสียเลย... ทำไมต้องรวมตัวกันมากขึ้นจนกระทั่งร่วงหล่นกลับสู่พื้นดิน... ทำไมไม่หล่นมาทีเดียวเป็นน้ำทั้งก้อน...ลงมาเป็นสายแล้วก็กระจายกัน...(แม้ว่าจะตกไม่ทั่วฟ้า...555) ทำไมบางครั้งตกหนัก...บางครั้งก็กระซิก ๆ ...ราวกับผ่านการร่ำไห้ครั้งใหญ่มาแล้ว... แม้ว่าจะหนักหรือเบาอย่างไรก็ไม่เคยลงมาพร้อมกันแบบตูมเดียวเลย... พี่หันมาจับมือและเท้าแม่พี่...สำรวจดูทั่วร่างกาย...และหัวใจของแม่... น้ำตาแทบจะระงับไว้ไม่อยู่เมื่อเสียงหมอขวัญเอื้อนเอ่ยกล่อมนาค...ก่อนเคลื่อนขบวนไปที่วัด...

สวัสดีครับ คุณนายขำ

  • ผมขออนุญาตพี่เม้งคุณนายขำตอบคำถามสักข้อนะครับ
  • 1.ทำไมน้ำจึงต้องระเหยกลายเป็นไอ...ที่เล็กจนกระทั่งลอยไปรวมตัวกันอยู่บนฟากฟ้าได้...
    ---เพราะว่าน้ำได้รับความร้อนครับ เมื่อน้ำได้รับความร้อนจะเปลี่ยนสถานะไปเป็นไอ(การเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลวไปเป็นก๊าซ แบบนี้เรียกว่า การระเหย ในทางตรงกันข้ามถ้าเปลี่ยนสถานะจากก๊าซไปเป็นของเหลว เรียกว่าการระเหิด )คล้ายๆ กับท่านสุภาพสตรีบางคนที่เปลี่ยนสรรพนามจาก นส. เป็น นาง  แต่ว่าจาก นาง มาเป็น นส.  ไม่ได้ครับ ฮาาาาาา

ไม่มีรูป
ยะ

สวัสดีครับน้องยะ

  • ดีใจด้วยนะครับ ที่จัดการได้แล้วนะครับ ทำแบบนี้ใช้ได้กับทุกโปรแกรมในวินโดวส์ครับ โดยไม่ต้องเอาแฟ้มให้ไปแสดงผลที่ ppt อย่างเดียวครับ
  • แล้วเราก็ไปกำหนดให้โปรแกรมนั้น แสดงผลเต็มจอ อัตโนมัติครับ
  • ขอบคุณมากครับ ที่มาตอบพี่สอน (นายขำ) ให้ด้วยครับ
  • ผมขออนุญาตพี่เม้งคุณนายขำตอบคำถามสักข้อนะครับ
  • 1.ทำไมน้ำจึงต้องระเหยกลายเป็นไอ...ที่เล็กจนกระทั่งลอยไปรวมตัวกันอยู่บนฟากฟ้าได้...
    ---เพราะว่าน้ำได้รับความร้อนครับ เมื่อน้ำได้รับความร้อนจะเปลี่ยนสถานะไปเป็นไอ(การเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลวไปเป็นก๊าซ แบบนี้เรียกว่า การระเหย ในทางตรงกันข้ามถ้าเปลี่ยนสถานะจากก๊าซไปเป็นของเหลว เรียกว่าการควบแน่นครับ)คล้ายๆ กับท่านสุภาพสตรีบางคนที่เปลี่ยนสรรพนามจาก นส. เป็น นาง  แต่ว่าจาก นาง มาเป็น นส.  ไม่ได้ครับ ฮาาาาาา
  • เมื่อกี้รีบร้อนไปหน่อยครับ

ยามเย็นสวัสครับพี่ (เมืองไทย 19.30 น.)

  • ขอบคุณครับพี่ และขอนุญาตครับ
  • ใช่แล้วครับน้องยะ ต้องเป็นการควบแน่นครับ
  • ส่วนการเปลี่ยนจากของแข็งเป็นกาซ จะเรียกว่า ระเหิดครับ คล้าย ลูกเหม็น ในตู้เสื้อผ้า นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ จะช่วยตอบข้ออื่นด้วยก็ดีครับ จะเป็นการถกกันบ้าง สนุกสนานครับ
  • เช่น ทำไมน้ำมันไม่ระเหยไปหาดวงจันทร์ หรือไปที่ดาวดวงอื่น ด้วยเพราะอะไร
  • ทำไมตกมากน้อย บางทีเหมือนเทน้ำเป็นแก้วลงมา บางทีเหมือนรินน้ำเบาๆ บางทีเหมือนใช้สปริงเกอร์
  • หรือว่าเทวดาต้องการจะเล่นพรมน้ำมนต์ตามรูปแบบฤดูกาล อิๆๆๆ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • 2.ทำไมรวมกันอยู่ในชั้นบรรยากาศแบบนั้น...ไม่หายไปนอกโลกเสียเลย...
  • เนื่องจากชั้นบรรยากาศแบ่งออกเป็นหลายระดับครับ ถ้าเอา อุณหภูมิเป็นมาตรฐานก็แบ่งได้ 4 ระดับ
  • 1.ชั้นล่างสุดเรียกว่าโทรโปสเฟียร์(Troposphere)ชั้นนี้ล่ะครับเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด เมฆ พายุฝน
  • 2. สตาร์โตสเฟียร์ (Stratosphere)
  • 3. เมโซสเฟียร์ (Mesosphere)
  • 4. เทอร์โมสเฟียร์(Thermosphere)

  • ที่ไม่หายไปนอกโลกก็เป็นเพราะว่าที่ชั้นโทรโปสเฟียร์ เป็นสาเหตุของการเกิดฝนเมื่อไอน้ำรวมตัวกันมากๆขึ้นก็จะกลั้นตัวควบแน่นเป็นฝนตกลงมา แค่นี้ไอน้ำก็ไม่สามารถผ่านชั้นนี้และยังไม่สามารถผ่านอีก 3 ชั้นที่เหลือครับ




hwd_new.gif

  • ทิศทางการพัดของลมแนวราบที่ระดับความกดอากาศ 850 มิลลิบาร์ ของพายุไต้ฝุ่นช้างสาร
  • ลองดูกันเล่นๆ ครับ 
  • พายุเริ่มก่อตัวตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 2549 จากหย่อมความกดอากาศต่ำ ไปเป็นพายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน จนกระทั้งเป็นพายุไต้ฝุ่น
  • ก่อนเกิดพายุไต้ฝุ่นช้างสารนั้น มี พายุดีเปรสชัน 17W เข้ามาก่อน และส่งผลต่อการพัฒนาตัวของพายุช้างสารด้วยครับ

 

พี่โพสต์ให้แบบนี้เลยนะครับ จะเห็นภาพได้ครับ

ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ

  • ดูเหมือนว่ามันจะช้านะครับ
  • ถ้ายังไงลอง click ขวา แล้ว save as นะครับ
  • ขนาด file ประมาณ 2 MB
  • ขอบคุณครับพี  ขอบคุณมากๆครับ
  • ความเร็วลมตามแนวราบสูงสุดที่ระดับความกดอากาศ 850 มิลลิบาร์ อยู่ในวันที่ 30 ก.ย. 2549 เวลาี่ 15UTC รับ ประมาณ 53 เมตรต่อวินาที ครับ
  • ขณะที่พายุช้างสารได้เริ่มสลายตัวในประเทศไทยเรา  ทางด้านฝั่งตะวันออกของฟิลิปปินส์ได้กำลังเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ ซึ่งต่อมาได้พัฒตาเป็นพายโซนร้อนเบบินก้า (Bebinca) ครับ
P

สวัสดีครับพี่สอน

จากคำถามของพี่

สุดยอดจริงเลยน้องพี่...เห็นอย่างนี้แล้วก็อดภูมิใจในตัวน้องมิได้... วันนี้พี่ไปงานบวชหลานชาย...ที่พิด"โลกฝนตกทั้งวัน...พี่นั่งดูสายฝนตกลงมาจากฟากฟ้า...ไหลเป็นเส้นสายต่อเนื่องยาวนาน... นั่งดูไปใจก็ให้สงสัยว่าจะถามน้องเม้งสักหน่อย... ทำไมน้ำจึงต้องระเหยกลายเป็นไอ...ที่เล็กจนกระทั่งลอยไปรวมตัวกันอยู่บนฟากฟ้าได้... ทำไมรวมกันอยู่ในชั้นบรรยากาศแบบนั้น...ไม่หายไปนอกโลกเสียเลย... ทำไมต้องรวมตัวกันมากขึ้นจนกระทั่งร่วงหล่นกลับสู่พื้นดิน... ทำไมไม่หล่นมาทีเดียวเป็นน้ำทั้งก้อน...ลงมาเป็นสายแล้วก็กระจายกัน...(แม้ว่าจะตกไม่ทั่วฟ้า...555) ทำไมบางครั้งตกหนัก...บางครั้งก็กระซิก ๆ ...ราวกับผ่านการร่ำไห้ครั้งใหญ่มาแล้ว... แม้ว่าจะหนักหรือเบาอย่างไรก็ไม่เคยลงมาพร้อมกันแบบตูมเดียวเลย..

น่าสนใจมากๆ นะครับ

  • จริงๆผม ไม่ได้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้นะครับ แต่เป็นสิ่งที่ดีมากๆ นะครับที่คำถามทำไมของพี่ทำให้ผมต้องศึกษาและสอบถามท่านผู้รู้ท่านอื่นมากขึ้นครับ
  • น้ำในทะเลหรือในหนองน้ำ หรือแหล่งน้ำทั้งหมดในโลกนี้ จะผ่านกระบวนการของความร้อนจนเกิดการระเหย อย่างที่น้องยะบอกครับ กลายเป็นไอ ขึ้นไปรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศ
  • และโลกเราก็จะหมุนรอบตัวเองด้วยครับ ทำให้เกิดแรงสู่ศูนย์กลางด้วยนะครับ และทำให้ตัวไอน้ำเหล่านั้นที่เป็นเมฆมันหมุนห่อหุ้มโลกอยู่และกั้นด้วยชั้นบรรยากาศอยู่ด้วยครับ
  • การเกิดเป็นฝนนั้น กว่าจะได้ฝนซักเม็ดก็ต้องผ่านกระบวนการมากมายนะครับ ต้องมีการรวมตัวกันของส่วนประกอบต่างๆ ในก้อนเมฆหลายๆ ก้อนรวมกัน โดยมีแกนกลางของเมฆฝนภายในก้อนเมฆซึ่งประกอบด้วยเกร็ดน้ำแข็ง
  • จนเกิดการเข้าสู่สภาวะที่จะตกลงมา โดยมีแรงโน้มถ่วงของโลกด้วยนะครับ แล้วตกลงมาด้วยจากเกร็ดน้ำแข็ง ผ่านกระบวนการของลมต่างๆ ตกลงมาต่อเนื่องกันเป็นสายน้ำฝน ขึ้นกับทิศทางของลมด้วยครับ
  • ส่วนฝนที่จะตกมากน้อยน้อย ปรอยๆ บ้างหรือหนักบ้าง ขึ้นกับลักษณะของเมฆและตำแหน่งพื้นที่ด้วยครับ จะเห็นว่าฝนทางยุโรป จะตกแบบปรอยๆ ตกได้ทั้งวันเป็นฝอยๆ ส่วนทางบ้านเราแถบเขตร้อนจะตกแบบหนักกว่าหรือฝนเม็ดใหญ่กว่าบ้านเราครับ
  • เอากันง่ายๆ เลยว่า โมเลกุลของน้ำที่ผิวน้ำ ได้รับความร้อน เกิดการแปลงร่างเป็นไอน้ำ จากแรงกระตุ้นจากความร้อน ลอยขึ้นไปเพราะเป็นไอน้ำ เมฆก็เกิดจากการรวมตัวของไอน้ำ เมื่อเข้าสู่ภาวะสมดุลได้มีการรวมตัวเข้ากันของเมฆก็เลยเกิดน้ำหนักเหมือเกร็ดน้ำแข็งมารวมกัน จนเกิดน้ำหนัก โดยมีแกนของฝนแล้วตกลงมา เจอลมก็กลายเป็นน้ำอีกรอบครับ
  • จากคำว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาว นะครับ.... ดังนั้นยิ่งสูงก็ยิ่งเจอน้ำแข็ง หากเคยดูอุณภูมินอกตัวเครื่องบินตอนนั่งเครื่อง เราจะเห็นว่า อุณหภูมิติดลบนะครับ
  • ยิ่งหนาวก็คือ ยิ่งเจอเกร็ดน้ำแข็ง เหมือนในช่องฟรีซของตู้เย็น นะครับ (แต่ตู้เย็นหนาวเพราะสารเคมี แต่ตู้เย็นบนฟ้าคือยิ่งหนาวเพราะความสูงและลมครับ ยิ่งสูงความกดอากาศยิ่งต่ำ โดยความกดอากาศแปรผันตรงกับอุณภูมิครับ)
  • แต่เกร็ดน้ำแข็งที่ตกลงมาเจอแรงเสียดทานนั่นคือแรงลม ก็แปลงร่างเกร็ดน้ำแข็งเป็นสายน้ำอีกรอบครับ
  • องค์ความรู้นี้ ที่ตอบมา ได้จากการปรึกษาที่ปรึกษาพิเศษของผมครับ อิๆ ทำให้ผมได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วยครับ
  • มีลิงก์เพิ่มเติมให้อ่านนะครับ
  • http://www.metoffice.gov.uk/publications/clouds/clguide/index.html
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Cumulonimbus_cloud
  • http://www.auf.asn.au/meteorology/section3.html#precipitation
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Earth's_atmosphere
  • http://www.learner.org/exhibits/weather/atmosphere.html
  • สุดท้ายฝากภาพนี้ไว้นะครับ
  • พี่บอกว่าจากภาพนี้ หากเครื่องบินเข้าไปมันจะฉีกเครื่องบินออกเป็นชิ้นๆ
  • แล้วข้างในนั้นจะมีกระแสวนของอากาศชนกันอย่างมากมายครับ
  • มีหลายๆ อย่างนะครับ ที่เราต้องศึกษากันนะครับ
  • ขอบคุณ พี่วัฒนามากๆ เลยนะครับ ที่ให้ผมได้มีโอกาสเรียนรู้อีกมากมายนะครับ
  • ขอบคุณพี่สอนที่ได้ถามด้วยนะครับ
ไม่มีรูป
ยะ

ขอบคุณน้องยะมาก นะครับ ที่มาช่วยเติมเต็มในส่วนของพายุช้างสาร นะครับ (มันเกิดตอนวันเกิดพี่พอดี ห้าๆๆ)

ขอบคุณมากครับ

  • คำตอบของพี่กระจ่างมากเลยครับ
  • รูปด้านบน เขาเรียกว่าเมฆจานบิน ใช่หรือเปล่าครับ  ผมเคยอ่านหนังสือหรือว่าบทความ (จำไม่ได้ครับ) ของ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ท่านเคยพูดถึงเมฆจานบินครับ
  • สุขสันต์วันเกิดย้อนหลังล่ะกัน นะครับพี่
Cloud droplets tend to fall but their terminal velocity is so low, about 0.01 metres/sec, that they are kept aloft by the vertical currents associated with the cloud construction process, but will evaporate when coming into contact with the drier air outside the cloud. Some of the droplets are larger than others and consequently their falling speed is greater. Larger droplets catch up with smaller and merge or coalesce with them eventually forming raindrops. Raindrops grow with the coalescence process reaching maximum diameters, in tropical conditions, of 4 – 7 mm before air resistance disintegrates them into smaller raindrops,which start a self perpetuating process. It takes about one million cloud droplets to form one raindrop. Drizzle forms by coalescence in stratiform clouds with depths possibly less than 1000 feet and with only weak vertical motion, otherwise the small ( 0.2 – 0.5 mm) drops would be unable to fall. It also requires only a short distance or a high relative humidity between the cloud base and the surface, otherwise the drops will evaporate before reaching the surface. Terminal velocity approximates 1 – 2 metres/sec.
Cumulonimbus (Cb) is a type of cloud that is tall, dense, and involved in thunderstorms and other bad weather. The clouds can form alone, in clusters, or along a cold front in a squall line. Cumulonimbus clouds form from cumulus clouds and can further develop to a supercell, a severe thunderstorm with special features. http://www.cost280.rl.ac.uk/documents/WS3%20Proceedings/documents/WS3-003.pdf
  • สวัสดีครับทุกท่าน
  • หากท่านใดอยู่หน้าจอทีวี ลองเปิดทีวีรายการช่องเก้า บ่ายนี้มีคำตอบ ขอวันนี้ (8 พ.ค. 2550) เวลาประมาณ บ่ายสองโมง ดร.วัฒนา กันบัว คงมีคำตอบหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพายุและอื่น ในช่วงนี้กับทุกๆ ท่านนะครับ
  • มีอะไร หากท่านใดได้ดู รบกวนรายงานผลด้วยนะครับ เห็นแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

ดูรายการนี้แล้ว เลยรู้ว่าพี่เม้ง นี่ดังระดับประเทศแล้ว เพราะมีการระบุชื่อพี่ออกอากาศด้วยครับ แบบว่าได้ยินเต็มสองหู หันควับไปดูรายการนั้นเลยครับ อิอิ เท่ห์สุดๆๆพี่ชายเรา

   รายการดีครับ แต่ชาวบ้านฟังอาจค่อนข้างงงเล็กๆ แต่ก็น่าจะพอเข้าใจ ผมฟังแล้วรู้สึกทึ่งในเทคโนโลยีและความสามารถของนักวิทยศาสตร์ไทยครับ (รวมถึงพี่เม้งด้วย เพราะเค้าเอ่ยชื่อพี่ขึ้นมาเต็มๆ) แถมราคาถูกกว่าต่างชาติ และเหมาะกับภูมิอากาศไทย เพราะเค้าบอกว่าโปรแกรมที่เขียนจากต่างชาติอาจไม่เหมาะกับสภาพของไทย เพราะฉะนั้นไทยทำไทยใช้ไทยเจริญครับ

  ขอบคุณพี่เม้งที่ช่วยพัฒนาสิ่งที่จะช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องชาวไทยได้อีกหลายล้านชีวิตครับ

P

สวัสดีครับน้องเดอ

  • เป็นอย่างไรบ้างครับ สบายดีไหมครับ
  • นั่นแน่ ได้ดูด้วยหรือครับ พี่เพิ่งมาดูตอนท้ายแล้วที่ลื่นไหลหน่อยครับ ช่วงแรกๆ ดูจากช่องเก้าช้าและกระตุก และไม่เห็นภาพครับ
  • เลยเปลี่ยนที่ดู เลยได้ดูลื่นๆ ช่วงสิบนาทีหลังๆ ครับ
  • คงต้องย่อยๆ ให้ใช้และคุยกันในภาษาชาวบ้านได้ในอนาคตครับ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะกระจายสิ่งเหล่านี้ให้อยู่ในที่ต่างๆ พื้นที่เสี่ยงภัยในที่ต่างๆ ได้อย่างไร ในเวลายามวิกาล ก็ต้องพัฒนากันต่อไปครับ
  • พี่อยากจะเน้นให้เกิดสิ่งที่เคยเกริ่นในบทความก่อน เรื่อง ศรัทธาวิจัย ครับ
  • อยากให้มีทีมงานในด้านอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศ เน้น ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา นี่ละครับ
  • พี่ว่ามีหลายๆ อย่างที่ยังต้องทำกันนะครับ ช่วยกันเถิดครับ คนไทยของเรา เก่งๆ เยอะครับ แต่ต้องทำงานร่วมกันได้ครับ ทั้งในสาขาเดียวกัน และต่างสาขาแบบบูรณาการกันด้วยครับ
  • มาร่วมมือกันนะครับ เป็นหูเป็นตาให้กันและกันครับ สมกับบัญญัติ เมืองไทย แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ครับ
  • ขอบคุณน้องเดอนะครับ ที่ให้กำลังใจ พร้อมกับเอาเรื่องมาเล่ากันต่อไปครับ

 ผมคิดว่าถ้าชาวบ้านได้รับการเตือน แล้วสามารถป้องกันเค้าได้จากอันตรายที่กำลังจะเกิด อีกหน่อยทุกๆที่ที่เสี่ยงภัยจะร่วมกันส่งข้อมูล และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ

   แต่คงต้องพัฒนาหอกระจายเสียงที่เป็นตัวเตือนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแถวบ้านยังไม่มีเลย อิอิ แต่คงไม่มีหรอกครับเพราะไม่ได้อยู่ในที่เสี่ยง

   ดีที่ช่วงก่อนฝนตกนานแต่ปริมาณไม่มาก ไม่งั้นน้ำท่วมแถวบ้านแน่ๆครับ แล้วรถผมก็จะต้องเจ๊งเป็นครั้งที่สามแน่ๆ

    ขอบคุณพี่เม้งที่นำสิ่งดีๆมามอบให้ครับ

P
  • ห้าๆๆๆ ลืมอีกนิดเรื่องดังครับ อิๆ
  • ดังไรครับ ถูกดัง หรือเปล่า จริงๆ แล้วอยากอยู่แบบไม่เป็นที่รู้จักดีที่สุดครับ ได้ทำงานเต็มที่ครับ
  • พี่ทำให้ในส่วนของโปรแกรมแสดงผลนะครับ ส่วนด้านอื่นมีทีมงานอีกฝ่าย โดยเฉพาะการทำวงจรเครื่องมือ คุณสมเกียรติ นครไทย ในทีมอีกท่านที่เก่งครับ ผมยังไม่เคยเจอตัวเป็นๆ เลยครับ
  • เราทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต นะครับ ในการติดต่อ ทำงานร่วมกันนะครับ สำหรับผมและ ดร.วัฒนา กันบัว นะครับ เจอตามความบังเอิญด้วยระบบอินเตอร์เน็ตนะครับ
  • ทำงานกับแบบสนุก ตามเวลาว่าง หรือตามความจำเป็นเร่งด่วนครับ
  • อาจจะมีน้องๆ สนใจทางด้านนี้ ให้ฝึกปรือฝีมือกันเอาไว้ตามที่ตนเองสนใจนะครับ
  • หากมีโอกาสผมจะเปิดซักคอร์สใน Learner หลังจากที่ทุกอย่างลงตัวนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับ
  • ดาวโหลดที่ออกทีวีวันก่อนได้ที่นี่ครับ http://www.sendspace.com/file/6epz9b ขนาดแฟ้ม 278Mb ใหญ่หน่อยนะครับ เป็นเวลา 45 นาทีครับ จะได้รับชมให้จุใจครับ จากรายการ บ่ายนี้มีคำตอบครับ
  • คลิกที่ Download Link: NVEExport.mp4
  • เป็นนามสกุล .mp4 ลองดูนะครับ ว่าเล่นด้วยโปรแกรมอะไรกันได้บ้างนะครับ อยู่ที่ตัวระบบตัวเล่นภาพวีดีโอของเครื่องคุณนะครับ คิดว่าเล่นได้แน่นอนครับ หากไม่ได้แจ้งมานะครับ
  • ขอบคุณมากครับ มีข้อเสนอใดๆ ก็มาฝากไว้ได้นะครับ
  • ดูท่าทางจะมีพายุเข้าทางตะวันตก ในฝั่งอันดามัน
  • ยังไงพี่น้องทางเมืองไทย ระวังไว้ด้วยนะครับ เรื่องน้ำท่วมนะครับ
  • ปัญหาเรื่องน้ำมาก ไหลไม่ทัน เตรียมตัวรับมือ ซื้ออาหารตุนไว้บ้างนะครับ พฤษภาคม ปีก่อนก็โดนหนักเหมือนกันครับ
  • ขอให้โชคดีและรักษาสุขภาพกันถ้วนหน้านะครับ
  • สวัสดีครับพี่น้องทุกท่าน
  • ระวังพายุกันด้วยนะครับ จากภาพด้านบน คงมแนวโน้มจะเข้าพม่า เมืองไทยคงได้รับฝนกันอีกนะครับ
  • เตรียมตัวกันไว้ให้พร้อมนะครับ เรื่องอาหารและอื่นๆ นะครับ ด้วยความเป็นห่วงจากคนไกลครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับทุกท่าน
  • ทางภาคเหนือเป็นอย่างไรกันบ้างครับพี่น้อง
  • ได้ข่าวว่าทางแพร่ ท่วมหนักแล้วครับ
  • ขอให้เตรียมอาหาร ไว้ด้วยนะครับพี่น้อง 
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับ ใครมีเพื่อน พม่า บังคลาเทศ ก็ส่งไปเตือนกันได้เลยนะครับ
  • ผมส่งไปที่พม่าสองคน ตอนนี้ตีกลับมาแล้วหนึ่งเมล์
  • แม้ว่าศูนย์กลางอาจจะไม่เข้าที่พม่าแต่ก็ได้ผลกระทบแน่นอนครับ
  • ส่วนบังคลาเทศคงมีคลื่นพายุซัดฝั่งครับ มันคือสึนามิจากฟ้า คลื่นใหญ่ เข้า
  • ผมไม่ทราบระบบเตือนภัยของประเทศเหล่านี้เป็นอย่างไร
  • ด้วยความเป็นห่วงครับ ขอให้ปลอดภัยกันถ้วนหน้าครับ
  • ทางไทยก็อาจจะโดนผลกระทบมาบ้างทางเหนือ ระวังน้ำฝนอย่างเดียวที่ตกมาเพิ่มหนักครับ
  • ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

เห็นพายุตอนนี้ไหมครับ ลูกใหญ่ขนาดไหนครับ นี่ก็คือการปรับตัวของโลกอีกวิธีการหนึ่งครับ

ลองมาติดตามกันดูครับ ว่าเธอจะไปเยี่ยมพื้นที่ใดกันแน่ครับ

สวัสดีครับ

เพื่อนๆ ทางญี่ปุ่น ระวังกันด้วยนะครับผม มีแนวโน้มไปหาทางนั้นสูงครับ

พายุในตอนที่กำลังโพสต์อยู่ตอนนี้นะครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

ณ ขณะนี้ พายุกำลังเคลื่อนที่เข้าประเทศญี่ปุ่นครับ ญาติพี่น้องผองเพื่อน ก็ระวังกันด้วยนะครับผม

สังเกตจากภาพดาวเทียมหรือสามภาพหลังสุดจากข้างบนก็ได้นะครับผม

อยู่กับธรรมชาติ ปรับตัวกันต่อไปนะครับ โลกกำลังปรับตัว

ขอบคุณมากครับ 

สวัสดีครับทุกท่าน

ณ วันนี้ 6.September 2007, พายุกำลังเคลื่อนที่เข้าประเทศญี่ปุ่นครับ ญาติพี่น้องผองเพื่อน ก็ระวังกันด้วยนะครับผม

 

ครับ

ณ วันนี้ 6.September 2007, พายุเข้าญี่ปุ่นนะครับ ระวังและอยู่ในที่ปลอดภัยนะครับ 

สวัสดีครับ

ภาคใต้ของไทย

อินโดนีเซีย

ฟิลิปปินส์ 

ระวังน้ำท่วมด้วยนะครับ 

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

  • ตามมาจากบันทึกพี่สะมะนึกะ
  • มาแล้วไม่ผิดหวังเลยค่ะ
  • มีภาพที่ อัพเดต ตลอดเวลานับว่าให้ความรู้และเป็นประโยชน์มาก  
  • คงต้องขออนุญาตแวะเวียนเข้ามาชมบันทึกนี้ประจำ  เพราะบางครั้งก็อยากจะรู้สภาพดินฟ้าอากาศ  ต้องรอฟังข่าววิทยุโทรทัศน์ซึ่งบางครั้งก็พลาดเวลาไม่ตรงกัน
  • วันนี้  กรุงเทพมีฝนตกหนักในช่วงกลางวันค่ะ   อากาศทางนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ
  • ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลดีดี
P
63. RAK-NA

 

สวัสดีครับคุณรักษ์

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ จริงๆ ผมลิงก์หน้านี้ไว้ในบล็อกผมนะครับ ทางด้านซ้ายมือ ใต้ภาพดาวเทียมนะครับ ภาพดาวเทียมเปลี่ยนทุกๆ ชั่วโมงครับ
  • อย่างตอนนี้ การบินไม่ควรบินเลยครับ ทางใต้ โดยเฉพาะภูเก็ต และอีกอย่างคือ ประมงไม่ควรออกเช่นกันครับทางอันดามัน ในช่วงสองสามวันนี้ครับ
  • ติดตามข่าว ตามกรมอุตุฯ นะครับ สำคัญครับ เรื่องการเดินทาง ต้องตรวจสอบว่าจะไปทางไหน จะปลอดภัย อากาศมันเป็นเรื่องสำคัญครับผม
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

พายุตากลมอีกแล้วครับ เตือนๆ กันนะครับ ทิศทางพายุลูกนี้ ก็ทางเหนือครับ แนวทางจีนครับ กระทบจีนญี่ปุ่น ครับ

 

สวัสดีครับทุกท่าน

ทางอีสานของไทย และทางใต้ระัวังฝนตกหนักด้วยนะครับ

ส่วนเวียดนาม ลาว เขมร จีน ระวังผลกระทบจากพายุด้วยนะคับผม

ขอบคุณมากครับ 

สวัสดีครับทุกท่าน

     พายุเลกีมา เป็นภาษาเวียดนามนะครับ ดูแนวเส้นทางที่เดินทางมาแล้วจากที่นี่ครับ


 http://www.tmd.go.th/storm_tracking.php

 

 

และดูภาพเคลื่อนไหวได้จาก  

http://www.marine.tmd.go.th/data/wind850loop.html

 http://www.marine.tmd.go.th/wind-bigframeloop.html

http://www.marine.tmd.go.th/html/vort_smloop.html

ภาพเมฆรายวัน 3 มิติ
 

 

พายุสองลูก โต้โต...

แปลงน้ำฟ้า เป็นห่าน้ำใจ หลั่งไหล รดรินถิ่นแคว้นแดนไทย

รักษาสุขภาพนะครับ 

สวัสดีครับพี่น้องทุกท่าน

  • วันนี้..(3 ต.ค.) พายุกำลังจะเคลื่อนที่มุ่งไปตามแนวจาก จุดศูนย์กลางตอนนี้ เคลื่อนที่ไปทางแนวเส้นทางเหนือของภาคอีสาน และจะวิ่งเข้าภาคเหนือของไทยในวันพรุ่งนี้ (4 ต.ค. 2550) ทำให้ภาคเหนือ อีสาน กลาง อาจจะได้รับฝนตกหนัก โดยฝนจะเริ่มตกตั้งแต่วันนี้
  • ดูการเคลื่อนที่ของพายุได้ที่  http://www.marine.tmd.go.th/html/vort_smloop.html
    คลิกเลือก Loop และกดปุ่ม > (เครื่องหมายมากกว่า) เพื่อแสดงภาพเคลื่อนไหวของการเคลื่อนตัวของแนวพายุนะครับ กลมๆ ตัวไหน ตรงนั้นคือกลางของพายุครับ
  • สำหรับพื้นที่ที่จะได้รับฝนนั้น ให้ดูจากภาพดาวเทียมนะครับ ได้ที่

ขอให้เดินทางโดยปลอดภัยนะครับ เครื่องบินควรงดครับ หากทัศนวิสัยไม่ค่อยดีครับ

รักษาสุขภาพ และมีความสุขในการจัดการทรัพยากรน้ำนะครับ สำหรับชาวเกษตรกรที่รักทุกท่าน 

สวัสดีครับทุกท่าน

พายุจะเข้าจีนอีกแล้วครับ เตือนภัยกันอีกนะครับผม

รอยแผลเดิมที่เพิ่งโดนไปเมื่อไม่นานมานี้นะครับผม

ขอบคุณมากครับ ขอให้ทุกคนปลอดภัยครับ 

สวัสดีครับทุกท่าน

หมั่นสังเกตพายุกันนะครับผม

ท่าทางจะมาทางบ้านเรา.... เกรงว่าจะตัดมาทางเวียดนามหรือไม่ก็มุดเข้าอ่าวไทย ติดตามจากการเตือนจากกรมอุตุฯ นะครับ

ขอบคุณมากครับ 

ณ วันนี้ 15. NOV 2007

เธอจะเข้าบังคลาเทศหรือครับเนี่ย อย่าทำร้ายคนที่นั่นมากเลยครับ เบาๆ ลงนะครับ สงสารคนเค้านะครับ

ขอบคุณมากครับ 

เป็นกำลังใจ ส่งกำลังใจให้พี่น้องบังคลาเทศนะครับ

ขอให้อยู่ในที่ปลอดภัย และปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ครับผม 

สวัสดีครับ เฝ้าระวังกันไว้นะครับ พายุลูกนี้ครับ... เตือนภัยกันนะครับ พี่น้อง เวียดนาม ลาว เขมร ไทย อินโด...

ขอบคุณมากครับ 

สวัสดีครัีบทุกท่าน

    พายุลูกนี้อาจจะวิ่งเข้าประเทศไทยทางตะวันตกครับ คงได้รับน้ำกันอีกหนักนะครับ ไม่ว่าจะภาคเหนือกลางอีสาน ขอให้วางแผนและมีสติในการดำเนินชีวิตนะครัีบ


   

สวัสดีครับ คุณเม้ง

ผมขอรายงานข่าวให้ทราบว่า

วันนี้ ( 26/07/2551 ) เวลาประมาณ 9.30 น. มีลมกรรโชกแรงอย่างกระทันหัน

ที่ตำบลปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร ระดับความสูงจากพื้น น่าจะประมาณ 8 เมตร

เล่นเอาต้นขนุน และ มะม่วง ของชาวบ้าน หักบ้าง โค่นบ้าง ไปหลายต้นครับ

ลมพัดนานประมาณ 3-5 นาที ก็สงบ แต่ฝนยังตกต่ออีกประมาณ 10 นาทีจึงหยุด

.....งง เลย ไม่รู้ลมมาจากไหนครับ... ครับผม มาเล่าให่ฟังเฉยๆครับ

สวัสดีครับคุณ ไพศาล

    ขอบคุุณมากครัีบ สำหรับข้อมูลครัีบ คิดว่าลมที่เกิดนั้น เกิดจากอิทธิพลจากพายุที่กำลังหมุนอยู่ตอนนี้นะครับ

    ติดตามข่่าวจากการรายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยานะครัีบ

สวัสดีค่ะเผอิญหนูดูไม่ค่อยเป็นช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครัีบคุณบีม

ไม่เข้าใจในส่วนไหนครัีบผม สำหรับพายุดูที่เมฆหลักๆ ได้ครัีบ กรณีที่เราเห็นตัวนะครัีบ แต่บางกรณีก็ต้องดูอย่างอื่นดังที่กล่าวไว้ในบทความประกอบด้วยนะครัีบ

เขียนฝากไว้ได้ครัีบ

สวัสดีครับ คุณเม้ง

ความจริงแล้วกรมอุตุฯเขายังมีข้อมูลที่เรียกว่าเรดาร์ตรวจอากาศ สามารถติดตามกลุ่มฝนได้แม่นยำปกติจะอัพเดททุกๆชั่วโมง แต่ผมก็เคยเห็นบางไซด์ก็อัพเดทได้ถี่กว่านั้นดูเหมือนจะเป็นทุกครึ่งชั่วโมง(ไซด์ดอนเมือง)หรือทุก 15นาที(ไซด์ระยอง)แต่ก็น่าเสียดายที่ข้อมูลไม่ค่อยสม่ำเสมอเหมือนอย่างในต่างประเทศ เพราะว่าข้อมูลเรดาร์บ้านเราสามารถดูได้ถึงระดับตำบล อยากฝากคุณเม้งช่วยสอบถาม ท่าน ดร.วัฒนาฯหน่อยในฐานะท่านรับราชการกรมอุตุฯ

สวัสดีครับคุณแสงชัย

     จริงๆ ก็มีข้อมูลที่รายงานอยู่ตลอดนะครับ ผมรู้สึกว่าจะแสดงผลทุกๆ ชั่วโมงครับ ผมวางแผนไว้ว่าจะเอาภาพเมฆจากดาวเทียมและฝนจากเรดาร์ขึ้นไปประกบกันอยู่เหมือนกันครับ คงจะทำให้เราทราบว่าเมฆก้อนไหนมีฝนมากน้อยแค่ไหนครับ

ไว้จะแจ้งให้ทราบอีกทีนะครับ

ขอบพระคุณมากๆนะครับ

พี่เม้งสวัสดีจ้า ลูกชิ้นเอง ที่เป็นรุ่นน้องของพี่ลี จำได้ไหม พอดีเข้ามาอ่านเรื่องนี้และทำธีซีสแนวนี้อยู่ มีเรื่องรบกวนถามพี่เม้งอะค่ะ อ่านในเปเปอร์ทำไมค่า vorticity มีหลายตัวจัง ทั้ง Relative vorticity , Potential vorticity , Absolute vorticity มันต่างกันยังไงค่ะพี่ ขอบคุณค่ะ

อีกอย่างค่ะพี่เม้ง การเกิดพายุหมุนเขตร้อน จะเกิดได้ต้องมีปัจจัยและเงื่อนไขอะไรบ้างค่ะ มันถึงจะเกิดอะค่ะ อยากเน้นประเด็นทราบว่าจะเกิดได้อย่างไรอะค่ะ หนูอยากรู้จัง ขอบคุณค่ะ

พี่เม้งสวัสดีจ้า ลูกชิ้นเอง ที่เป็นรุ่นน้องของพี่ลี จำได้ไหม พอดีเข้ามาอ่านเรื่องนี้และทำธีซีสแนวนี้อยู่ มีเรื่องรบกวนถามพี่เม้งอะค่ะ อ่านในเปเปอร์ทำไมค่า vorticity มีหลายตัวจัง ทั้ง Relative vorticity , Potential vorticity , Absolute vorticity มันต่างกันยังไงค่ะพี่ ขอบคุณค่ะ

อีกอย่างค่ะพี่เม้ง การเกิดพายุหมุนเขตร้อน จะเกิดได้ต้องมีปัจจัยและเงื่อนไขอะไรบ้างค่ะ มันถึงจะเกิดอะค่ะ อยากเน้นประเด็นทราบว่าจะเกิดได้อย่างไรอะค่ะ หนูอยากรู้จัง ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท