อยากมีครูดี เก่ง ถ่ายทอดเป็น ร่วมปลูกต้น "ครูน้อย" ตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะจบประถม...


วันนี้ผมได้มีโอกาสฟังรายการเกี่ยวกับการศึกษา แล้วมีการนำเสนอให้แยกเด็กเก่ง ปานกลาง และอ่อน ออกจากกัน เวลาผมได้ยินประโยคนี้ ทีไรผมจะรู้สึกคัดค้านในหัวทุกครั้งเสมอ....ทั้งๆที่ผมก็เคยเรียนอยู่ห้องเด็กเก่งมาก่อน แล้วคุณหล่ะครับ คิดอย่างไร

สวัสดีครับทุกท่าน

        ผมเคยเขียนบทความนี้ไว้นะครับ มีลูกอยากให้เรียนกับครูเก่งๆ พอลูกเรียนเก่งๆแต่กลับให้เรียนอย่างอื่น แล้วจะหาครูเก่งๆ ที่ไหนครับ เขียนไว้แล้วอย่างนั้น และมีคำตอบจากหลายๆ ท่าน ได้แนวคิดเยอะแยะมากมายครับ วันนี้ผมมีคำตอบตัวอย่าง และแนวทางมาลองดูนะครับ คุณช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ ถึงความเป็นไปได้ครับ

        วันนี้ผมได้มีโอกาสฟังรายการเกี่ยวกับการศึกษา แล้วมีการนำเสนอให้แยกเด็กเก่ง ปานกลาง และอ่อน ออกจากกัน เวลาผมได้ยินประโยคนี้ ทีไรผมจะรู้สึกคัดค้านในหัวทุกครั้งเสมอ....ทั้งๆที่ผมก็เคยเรียนอยู่ห้องเด็กเก่งมาก่อน แล้วคุณหล่ะครับ คิดอย่างไร

        ผมมีแนวคิดอย่างนี้นะครับ ร่วมวิจารณ์กันด้วยนะครับ วิจารณ์ให้ผมหน้าแหกไปเลยนะครับ เพราะผมเองเกิดมายังไม่เคยสอน อนุบาลและประถมนะครับ....

ข้อสมมุติเบื้องต้นที่ผมมองเด็ก

  1. เด็กที่มาเรียนในอนุบาล ประถม ส่วนใหญ่เป็นเด็กในบริเวณเดียวกัน ส่วนใหญ่จะใกล้ๆ บ้าน

  2. เด็กทุกคนที่มาจากแต่ละครอบครัว ไม่ค่อยแตกต่างกันมากเรื่องความคิด เด็กบริสุทธิ์ มีความคิดดีๆ เน้นการให้ผู้อื่นสูง

  3. การสอนในระดับประถม ในจังหวัดเดียวกัน ไม่น่าจะแตกต่างกันมาก

ผมมีความเชื่อว่าเด็กในแต่ละห้อง จะมีคนหัวไว หัวปานกลาง และคิดช้า ผสมกันไป เป็นเรื่องธรรมดา

  • เด็กหัวไวอาจจะคิดได้เร็ว ทันใจ ตอบครูได้รวดเร็ว ก่อนเด็กหัวปานกลาง และเด็กคิดช้า

  • หากมองในด้านของครูผู้สอน อาจจะลำบากใจที่จะทำอย่างไรในการขับเคลื่อนเด็กในห้องให้ไปด้วยกันทั้งชั้นได้ โดยที่เด็กเก่งไม่สร้างปัญหา ไม่รู้สึกว่าน่าเบื่อ เด็กปานกลางก็ไปได้ และเด็กคิดช้าก็ตามได้ทัน (เหตุนี้หรือเปล่าที่คุณมองว่า จะทำให้การสอนมีปัญหา หากเป็นเหตุนี้อย่างเดียวผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยที่จะต้องแยกเด็กในการสอน ผมมองว่าครูมองทางแก้ปัญหาง่ายเกินไป)

  • ทางที่ผมมองก็คือว่า

  • ทำอย่างไรที่จะปลูก เด็กเก่งหัวไวเหล่านี้ ให้เป็นผู้ให้ โดยให้คิดว่าตัวเองเป็นคุณครูด้วย คุณครูในห้องอาจจะมีกุศโลบายให้เป็นคุณครู ในวิชาต่างๆ ในห้อง ทำให้เด็กอยากสอนด้วย ใครให้เป็นครู ก็สอนเพื่อนได้ด้วย ก็มีการฝึกให้เด็กสอนให้กันและกัน เน้นการถ่ายทอด ดูว่าเค้ามีเทคนิคการถ่ายทอดอย่างไร ที่ทำให้เค้าคิดได้ไว และรวดเร็วนัก แล้วเริ่มปลูกเด็กให้รู้จักการถ่ายทอดให้หมดเลยครับ  สมมุติว่าในห้องเรียนนั้นมีเด็กอยากจะเป็นครูทุกคนเลย คุณคิดว่ามีข้อเสียอะไรบ้างไหมครับ ผมมองว่าเป็นข้อดีเสียอีกครับ เพราะทุกสาขาอาชีพเราต้องการคนถ่ายทอดเป็น

  • เทคนิคในห้องอาจจะใช้กระบวนการแบ่งกลุ่มแล้วให้มีคุณครูน้อย ในกลุ่มต่างๆ มีการฝึกให้เกิดการแบ่งปัน มีการให้ซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการให้ความรู้ ถ่ายทอดในสิ่งที่ตัวเองรู้ หรือว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อยนั่นหล่ะครับ ทำกันมาตั้งแต่เด็กครับ เพราะการถ่ายทอดต้องเรียนรู้และสะสมด้วยครับ ประสบการณ์ชั่วโมงบิน ก็สำคัญมากๆ ครับ

  • จะเห็นว่าเด็กจะกล้าแสดงออก เพราะได้มีโอกาสไปยืนหน้าชั้น ในการสอนเพื่อนๆ จะไม่เขินอายแน่ๆ อาจจะมีการฝึกให้วนเวียนกันสอน ฝึกต่อเนื่องๆ มาเรื่อยๆ ทุกชั้นเรียน อาจจะมีวิชายุวครู ก็ได้ (ห้าๆๆ ผมตั้งมั่วๆ เอานะครับ)

  • กิจกรรมในชั้นเรียนในการฝึกเด็กให้รู้จักถ่ายทอด เป็นผู้ให้ และเป็นครูน้อย น่าจะส่งผลต่อการเป็นครูของเด็กในอนาคตได้ หากเด็กเปลี่ยนแนวทาง แต่เด็กมีการถ่ายทอดที่ดี น่าจะส่งผลให้เด็กคนนั้น ไปอยู่ที่ไหนสาขาอะไร ก็น่าจะเป็นผู้ให้และถ่ายทอดได้ดีเช่นกัน เราเน้นคนถ่ายทอดเป็น ครูที่ถ่ายทอดเป็น เก่งฝึกเอาได้ สำหรับเรื่องความดี อันนี้ต้องเสริมมาอยู่แล้ว เป็นผู้ให้ก็ต้องเข้าใจผู้รับอยู่แล้ว....

  • คุณคิดว่าจะมีความเป็นไปได้กว่าจะแยกเด็กออกเป็นเกรดๆ ไหมครับ ในระดับอื่นๆ ที่มีการแยกเด็ก เช่น ม.ต้น ม.ปลาย ผมเองไม่เห็นด้วยเลย ผมคิดว่า เด็กเหล่านั้น เรียนผสมกันนี่หล่ะครับ ดีที่สุด โดยมีการจัดห้องให้มีเด็กผสมกัน แล้วมีการถ่ายทอดให้ถึงกัน โดยพื้นฐานเด็กเก่งจะเป็นผู้ให้ด้วยเป็นสำคัญ

  • สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ผมคิดว่า การปลูกหน่อครูดี ครูเก่ง น่าจะเกิดได้ เพื่อจะลบคำพูดที่ได้เขียนเอาไว้ในบทความด้านบน ที่บอกว่า มีลูกอยากให้เรียนกับครูเก่งๆ พอลูกเรียนเก่งๆแต่กลับให้เรียนอย่างอื่น แล้วจะหาครูเก่งๆ ที่ไหนครับ เพราะผมเชื่อว่า คนเก่งกับคนปานกลาง และคนคิดช้า ยังไง ก็ต้องใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอยู่ดี เราต้องสร้างคนในสังคมให้สามารถเป็นผู้ให้ได้ และถ่ายทอดได้ โดยมีความดีเป็นฐานราก

  • แล้วเพิ่มแนวคิดนี้ ไปยังระดับ ม.ต้น ม. ปลาย ปวช. ปวส. เทคนิค กศน. นอกระบบ และชุมชน และอื่นๆ ที่มี

  • หากเด็กเข้ามาหาวิทยาลัย ก็ยิ่งควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะได้สอนให้กัน ผมเคยทำโครงการพี่สอนน้อง ให้เค้า คนที่ผมเคยให้มาร่วมสอนด้วยกันตอนนั้น เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเกือบหมดทุกคนเลยครับ

  • จัดกิจกรรมให้เกิด การให้ การถ่ายทอด จะทำให้เด็กสนุก และต่อเนื่องมา คุณไม่ต้องกลัวหรอกครับ ว่าเด็กจะไม่ได้ผ่านวิชา พื้นฐานในการถ่ายทอด เพราะหากพื้นฐานการถ่ายทอดเค้าดีมาแล้ว เค้าจะทำได้ดีเมื่อไปสอนจริงๆ ด้วย

  • ไม่รู้นะครับ ผมคิดเอาว่าเส้นทางนี้ น่าจะได้ครูดี และเก่งเพิ่มมากขึ้น เพราะท้ายที่สุดแล้ว แม้เด็กจะไปเลือกเป็นหมอ วิศวกร หรืออะไรๆ ก็แล้วแต่ที่แฟชั่นเค้าฮิตกัน เค้าเหล่านั้นก็สามารถจะเป็นครูสอน หรือถ่ายทอดในสาขาของเค้าได้เช่นกัน

  • ทุกๆ สาขาต้องมีครูเสมอ.... เราต้องการคนถ่ายทอดเก่งไม่ใช่หรือครับ.... เก่งฝึกเอาได้เพราะ ครูต้องมีพรแสวงอยู่แล้วใช่ไหมครับ แล้วพรแสวงจะสำคัญกว่าพรสวรรค์ด้วยซ้ำไปครับ

  • วิธีการที่ผมเสนอนี้ อาจจะทำให้หลายๆ ท่านคิดแย้ง นะครับ ลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดูนะครับ อาจจะได้แนวทางอะไรบางอย่างครับ

  ข้อคิดเห็นอื่นๆ.....

หากใช้แนวคิดนี้ ตั้งแต่แรกเริ่ม แล้วจัดการให้ดีโดยเน้นแนวหลักการ ยุวครู หรือ ครูน้อย ตั้งแต่ประถม จนถึง มัธยมปลาย หรือสูงถึงระดับอุดมศึกษา คุณคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดไหมครับ

  1. การทำงานร่วมกันเป็นทีม ในสังคม เช่น การกีฬาทีมเช่น ฟุตบอล หรือการวิจัยแบบบูรณาการในปัญหาใหญ่ร่วมกันเป็นทีมงาน จะเกิดได้ไหม ครับ

  2. ได้ครูดีและเก่งมากขึ้นไหม หากหลายๆ คนอยากเป็นครูมาจากแนวคิดเบื้องต้น การที่ทำให้เด็กอยากเป็นครูมากๆ น่าจะดีกว่า การที่จะให้เด็กที่ไม่รู้เลือกอะไรแล้วห้อยท้ายครู เอาไว้

  3. เป็นการฝึกท้าทายเทคนิคการสอน ฝึกการถ่ายทอดผู้เป็นครูให้ท้าทายมากขึ้น ในการสอนอย่างไรให้เด็กเข้าใจไปด้วยกันได้

  4. เกิดการบูรณาการของคนรวมกัน เพราะคนเก่งที่ว่าหัวไว นั่นใช่ว่าจะเก่งไปทุกเรื่อง นั่นคือ จะทำให้มีการถ่ายเทความสามารถทางด้านอื่นๆ เช่นคนเรียนไม่เก่ง แต่เก่งทางด้านทักษะทางด้านอื่นแทน เพราะสังคมใหญ่ นั้นต้องบูรณาการคนเข้าด้วยกัน ให้ทำงานด้วยกันได้ ในทุกระดับองค์กร หรือภาคส่วน

  5. ประเทศเราต้องการคนเก่งมากๆ จริงหรือครับ เก่งแล้วไม่สนใจสังคม เก่งแล้วไม่สนใจคนไม่เก่ง หรือไม่สนใจคนอื่น หรือครับ หากเราไม่ต้องการแบบนั้น จำเป็นด้วยหรือที่จะแยกเค้าออกจากกัน

  6. อื่นๆ เชิญท่านบรรเลง.....ครับ

 หมายเหตุเสริม....ข้อควรทำพื้นฐาน

     ทั้งนี้และทั้งนั้น เด็กจะต้องมีพื้นฐานที่ดีมาจากทางครอบครัว คือครอบครัวอบอุ่น (จากพี่กมลวัลย์) และครอบครัวต้องให้ความสำคัญในการกรองสิ่งไม่ดีจากสื่อออกให้เด็กบ้าง เช่นจากทีวี รายการทีวีน้ำเน่า (จากคุณ Conductor) เพราะครอบครัวเป็นผู้เริ่มต้นการฉีดภูมิคุ้มกันเข็มแรกเข็มใหญ่ให้กับเด็กครับ หากจะให้ลูกได้ดีจริง ตลอดจนครอบครัวจะต้องไม่บังคัญให้เด็กเรียนนั่นเรียนนี่ ต้องให้อิสระในการเรียนรู้ แล้วต้องไม่ทำลาย หน่อจินตนาการ ของเด็กด้วยคำว่า อย่า (จากคุณเบิร์ด) และอื่นๆ อีกมากๆ มาย ครอบครัวต้องคิด และทำการบ้านนี้ ก่อนจะคลอดลูกออกมา หากจะให้ดี ต้องทำวิจัยกันตอนที่กำลังจีบกันก่อนจะมาเป็นพ่อแม่คนก็ดีครับ อิๆ

มี สามเหลี่ยมทรงพลัง มาฝากครับ

There is no such a thing like students who fail, there is only school or teacher who fail students

ไม่มีอีกแล้วสำหรับนักเรียนที่ล้มเหลว มีแต่โรงเรียนหรือครูที่ทำให้เด็กล้มเหลว

 จากที่คุณหมอสกล ให้ความเห็นไว้ด้านล่างนั้น ทำให้อยากเขียนคำคมกับเค้ามั่งครับ  แบบเลียนแบบ และอยู่ตามหลักการของ สามเหลี่ยมทรงพลัง ด้านบน ดังนี้ครับ

ไม่มีเด็กที่ไหนจะล้มเหลว มีแต่ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนเท่านั้นที่จะทำให้เด็กล้มเหลว

อิๆ  เขียนสนุกๆ นะครับ เลียนแบบคนดังครับ

บทความ ภูมิคุ้มกัน เชิญที่นี่ครับ สภาการศึกษา G2K : ไวรัสร้ายที่ทุกคนต้องระวัง "ภูมิคุ้มกันชุมชนบกพร่อง"

ขอบคุณมากๆ นะครับ ยินดีสำหรับทุกความเห็นต่างๆ นะครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 97689เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2007 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (46)

สวัสดีค่ะน้องเม้ง 

  • พี่แอมป์ว่าจะพักซะหน่อย  ถามน่าตอบอีกแล้ว   (อย่าเอา อ.อ่าง  ออกเชียวนา) เลยต้องแวะเข้ามาอีกแป๊บ 
  • น้องเม้งอยากสร้าง "คุณครูตัวเล็ก" เหรอคะ  น่ารักจังเลย  เด็กๆเขาน่าจะรู้สึกดี  และภาคภูมิใจ ที่ได้สอนเพื่อนๆ  
  • นึกย้อนไปสมัยเล็กๆ  คงมีหลายคนที่ชอบสมมุติตัวเองเป็นครูยืนหน้ากระดานดำ  แล้วสอนเพื่อนๆ  (ภาษาใต้บ้านเราเรียกว่า ใยครู )  สนุกดี  บางคนเลียนแบบเก่งๆ พูดเหมือนครูเด๊ะเลย   " เอ้า..นี่หนู  อย่าคุยกัน  นั่งให้ดีๆ ...บอกว่าอย่าคู้ย..ย.. !."  อิอิ  
  • ทำเสียงโมโหเหมือนครูเปี๊ยบเลย.. 
  • ตามหลักจิตวิทยาการสื่อสาร  เขาว่า การสื่อสารคือการเลียนแบบ  เด็กอยู่โรงเรียนทั้งวัน  เห็นพฤติกรรมครูบ่อยๆ  ก็คงเลียนแบบครูมาได้เยอะ  ถ้าลองไปถามเด็กเล็กๆดูว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร   หลายคนจะตอบว่าอยากเป็นครู 
  • ครูคือต้นแบบการสื่อสารของเด็กเล็กๆเลยอะค่ะ   ถ้าเจอครูดี เด็กน่าจะมีทัศนคติในทางบวกต่ออาชีพครู  แต่ถ้าเจอแบบตรงข้าม  ก็ลำบากใจชะมัด 
  • พี่แอมป์ตอบเรื่อยไปตามใจฉันก่อนนะคะ  เดี๋ยวตื่นมาอีกรอบค่อยตอบเข้าประเด็นนะคะ  : )
  • ปล. และไม่ต้องห่วงนะคะ พี่เตรียมสำลี ยาแดง และพลาสเตอร์ยา มารอไว้พร้อมปฐมพยาบาลแร้ว  อิอิ

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

  • การแยกเด็กเก่ง เด็กปานกลางเด็กอ่อน ออกจากัน หากครูมีกระบวนการสอนที่จะพัฒนาเด็กอ่อนขึ้นไปปานกล่งได้ก็ควรแยก แต่หากแยกแล้วการสอนยังคงเหมือน เดิม แถมหากครูสนใจแต่เด็กเก่งแล้วไซร้ เด็กอ่อนๆก็ไม่ได้รับการพัฒนาเลย
  • ดังนั้นหากจับเด็กทุกกลุ่มเรียนด้วยกัน แล้วสร้างกลยุทธเงื่อนไขให้เด็กเก่งสอนเด็กอ่อน โดยอยู่ในสายตาของครูตลอด น่าจะช่วยพัฒนาเด็นอ่อนได้
อ้าวนึกว่าเราจะเป็นคนแรก อาจารย์แอมป์ (แอมแปร์รึปล่าวค่ะ...อิอิอิ) มาก่อนตัดหน้าไป 2 นาทีเอง
P

สวัสดีครับพี่แอมป์

  • ใช่แล้วครับ ผมอยากจะให้มี คุณครูตัวน้อยๆ เกิดขึ้นในโรงเรียนให้เต็มโรงเรียนเลยครับ
  • วันหนึ่ง อาชีพครูจะเป็นอาชีพที่คนอยากเป็น เด็กๆ ใฝ่ฝัน เพราะดีใจ สบายใจ สุขใจที่ได้เป็นผู้ให้ อิ่มใจเมื่อคนที่เราสอนเค้าเข้าใจ
  • ตอนผมอยู่ ม. 1 จำได้วิชาภาษาอังกฤษ คุณครูบอกว่า สมพร เข้ามาอยู่ในวงกลม ที่ล้อมรอบด้วยเพื่อน แล้วให้ตั้งประโยคคำถามเป็นภาษาอังกฤษที่ครูเคยสอนเมื่อกี้กับเพื่อน โดย สุ่มว่าจะเลือกใคร โดยเพื่อน ก็เคลื่อนที่รอบวงกลมแบบตามเข็มนาฬิกา แล้วเราก็ปิดตา แล้วสุ่มเพื่อนด้วยครับ
  • คุณครูพูดมาคำหนึ่งที่ยังดังอยู่ในหูผม คือ ครูเชื่อว่าสมพร ต้องทำได้  นั่นหล่ะคือแรงบันดาลใจต่อการมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ผมมีอะไรเด็ดที่จะเล่าอีกเพียบครับ เกี่ยวกับความรู้สึกดีๆ ในโรงเรียนนะครับ
P

สวัสดีครับพี่แป๋ว อิๆ

  • อิๆ ผมนึกว่าผมจะต้องประเดิมคนแรกเหมือนกันครับ ทำไปทำมา ก็โดนพี่แอมป์ กับพี่แป๋ว แย่งผมไปเหมือนกัน อิๆ เพราะผมมัวไปนั่งแก้ไขข้อความอยู่ครับ กลัวอ่านแล้วไม่เข้าใจในบางประเด็นครับ
  • ผมมองบางทีการแยกเด็กออก เหมือนเราผู้เป็นครูคิดเอาสบายไปหรือเปล่า เพราะยังไงเด็กก็ต้องออกไปเกื้อกูลสังคมอยู่ดีครับ และอีกอย่าง หากเราไม่คิดจะทำยอดการสอบเข้า ว่าจะต้องขุนเด็กเก่งให้สอบได้เยอะๆ เพื่อสร้างการตลาดให้คนเข้ามาเรียนเยอะ ให้โรงเรียนโด่งดังมากขึ้น แบบนี้ ก็ไม่ไหวนะครับ แต่ผมเชื่อว่า คงไม่มีโรงเรียนไหนคิดแบบที่ผมว่ามานี่อย่างแน่นอนครับ อันนี้ผมพูดดักเอาไว้ก่อน อิๆๆ
  • ผมว่ามันไม่แฟร์กับเด็กที่เราจะให้สิ่งดีๆ กับเด็กเก่ง แล้วเด็กอ่อน จะให้อะไรที่เค้าพอจะรับได้ หรือเรามีแผนอย่างไรกันแน่ที่จะแยกเด็กออกจากกัน
  • ผมเคยโดนแยกมาก่อนครับ เราไม่ค่อยมีโอกาสได้สอนกับเพื่อนๆ ห้องอื่นเลยครับ เพราะว่า เพื่อนก็มองเราเป็นเด็กเก่ง ไม่อยากจะมายุ่งด้วยเท่าไหร่ มันเหมือนเป็นการแยกเด็กออกจากกัน ยังไงไม่รู้นะครับ คุยเรื่องธรรมดาหน่ะได้ แต่เรื่องการเรียนเมื่อก่อนเราเคยอยู่ด้วยกัน หลังๆ ไม่ค่อยได้เจอกันเท่าไหร่ครับ
  • ขอบคุณมากๆนะครับ

โรงเรียนผมเคย ลองทำ2 แบบ

1 แยกคนเก่งมาก เก่ง ปานกลาง อ่อน โดย

ให้เก่งมาก และเก่งอยู่ด้วยกัน

ปานกลาง อ่อนอยู่ด้วยกัน

พบว่า อาจารย์วางแผนการเรียน ได้หลากหลาย ทำบ่งการได้ง่าย ไปในทางเดียวกัน ผลการเรียน ทั้งสองกลุ่ม ใกล้เคียงกันภายในกลุ่ม กลุ่มเก่ง มีการพัฒนาที่รวดมาก

กลุ่มปานกลาง พัฒนาได้พอใช้ แต่ก็ไปในทางที่ดี

แต่ทางสังคม เมื่อถามเด็ก พบว่าเด็กคิดว่ามีความแตกต่าง ทางการคบเพื่อน (เป็นความคิดที่เค้าคิดเอาเอง)

2 คละกันทุกกลุ่ม ให้มีในทุกห้องเรียน

พบ ว่า อาจารย์ วางแผนการเรียน ทำบ่งการแบบเดียวกันหมด ผลการเรียนพบว่า ใกล้เคียงกันทุกกลุ่ม

กลุ่มเก่ง การพัฒนาดีขึ้นแต่ช้ากว่าแบบ1

ทางสังคม เด็กคิดว่าไม่มีความแตกต่าง แต่คนอ่อนกับเก่งมาก ยังต่างกันอยู่

นั้นคือ ผลจากการจัดกลุ่มเรียน

อยู่ที่เราว่าจะจัดอย่างไร

จะส่งเสริมคนเก่ง เอาให้เก่งไปเรียน แล้วดูแลคนปานกลาง หรือจะให้เค้าช่วยเหลือกัน แต่การพัฒนาของคนเก่ง อาจทำได้ไม่สะดวก มันมีทั้งดีและเสีย

แนวคิดที่สังเกตุได้คือ

ถ้าจะลำดับความเก่งอ่อน แล้วจัดคล้ายแบบ1 จะเป็นการส่งเสริมให้คนเก่งได้พัฒนากันเต็มที่ แต่ควรมีกิจกรรมให้ คนเก่งได้ช่วยเหลือ คนอ่อนด้วย

เพราะพบว่า เพื่อนกัน ติวกัน บอกกัน นักเรียนจะเข้าใจได้ง่ายกว่า อาจารย์บอกสอน

P

สวัสดีครับคุณตาหยู

  • สุดยอดเลยครับผม ข้อมูลแบบนี้ ผมชอบที่สุด เลยครับ อาหารสมองของผมแท้ๆ นะครับ ที่มาโปรดผมเลยครับ
  • มีการบันทึกไว้เป็นรูปแบบไหมครับ ที่เป็นสรุปเชิงตัวเลขนะครับ ผมสนใจสารสนเทศแบบนี้นะครับ
  • ความแตกต่างของเด็กเก่งกลับอ่อนนั้น เราคงต้องยอมรับแต่เราได้ปลูกฝังอะไรหลายๆ อย่างให้เค้าในเรื่องคุณความดี ในการให้และรับระหว่างกัน
  • ผมไม่แน่ใจว่าเด็กในกลุ่มเก่งและเก่งมาก นี่จะมีอัตราการแข่งขันแบบไหนครับ พันธะระหว่างเด็กกันมีอย่างไรครับ
  • ผมเคยได้รับการเล่าเรื่องจากพี่สาวคนหนึ่ง พี่เค้าบอกว่า ลูกเค้าเรียนอนุบาล แล้วป่วย ไปโรงเรียนไม่ได้ และเรียนเก่ง แล้วจะไปขอยืมสมุดของลูกคนข้างบ้านมา พ่อแม่ของเด็กข้างบ้านไม่ให้ยืม เพราะเกรงว่าลูกของพี่เค้าจะได้ดีกว่า ผมฟังแล้วอนาถใจจริงๆ ครับ
  • จริงๆ แล้วกิจกรรมนั้นสำคัญมากๆ นะครับ หากเราทำให้เด็กเก่งเป็นผู้ให้ได้นะครับ โดยปลูกกันตั้งแต่ ประถมนี่หล่ะครับ จะเอาตั้งแต่อนุบาลเลยก็ได้ แต่ประถมว่าผมเริ่มจะเป็นผู้ให้ได้ชัดเจน
  • เมื่อตอนประถม ผมจะชอบไปโรงเรียนเช้า แต่เราจะไปเป็นแถว เดินเป็นสาย แล้วมีธงประจำสาย ว่าในสายมีใครบ้าง เดินตามเส้นทางไหน แล้วมาถึงโรงเรียน ก็จะมีกิจกรรมเช่น สอนหนังสือกัน หรือเล่นกีฬานิดหน่อย แล้วมีกระดิ่ง ทำความสะอาดโรงเรียน ตามอาณาบริเวณที่กำหนดไว้ จึงจะมาเข้าแถว มีกิจกรรมหลายๆ อย่างในการให้เด็ก ใกล้ชิดแล้วสอนกัน
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ช่วยมาเติมเต็มอีกนะครับ
P

แล้วตอนนี้ ยังทำแบบไหนอยู่ครับ คิดว่าท้ายที่สุดแล้วจากการวิจัยที่ทำมา ใช้วิธีการไหนครับ

ขอบคุณมากครับ

  • เข้าท่าทุกความคิดเลยครับ
  • แต่การกระทำจากด้านโรงเรียนอย่างเดียวยังไม่พอ เด็กได้ค่านิยมผิดๆ จากโทรทัศน์เยอะ
  • ทั้งฉาบฉวย ติดหรู จับจด ขี้อิจฉา ตะโกน/ตะคอก ใช้ความรุนแรง พล๊อตก็ลอกกันมา แต่ไม่มีปัญญาลอกสิ่งที่ดี เอามาแต่เน่าๆ
  • บางทีผู้ปกครองความจำกัดเวลาบริโภคสื่อน้ำเน่าเสียบ้างนะครับ ถ้าตัวผู้ปกครองดู จะไปว่าเด็กคงไม่ได้หรอกครับ
  • ถ้าเรื่องนี้เป็นปัญหาของสังคม จะแก้ด้วยโรงเรียนอย่างเดียว จะแก้ได้หรือครับ
P

สวัสดีครับคุณ Conductor

ถ้าเรื่องนี้เป็นปัญหาของสังคม จะแก้ด้วยโรงเรียนอย่างเดียว จะแก้ได้หรือครับ

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับพี่ ที่เข้ามาเยี่ยมแล้วช่วยกระตุกให้คิดต่อครับ
  • ตอบได้เลยครับ ว่าไม่ได้เครับ โรงเรียนอย่างเดียวไม่พอครับ ภูมิคุ้มกันนี้ ต้องเริ่มกันที่ ครอบครัวก่อนเลยครับ เพราะเด็กจะดูทีวี ก่อนเข้าอนุบาลแน่ๆ ครับผม ดังนั้นการเอาใจใส่ของผู้ปกครอง นั้นสำคัญมากๆ ครับ เพราะนั่นคือ การวิ่งผลัดไม้แรกเลยครับ
  • พ่อแม่ต้องสอนและให้เด็กรับรู้ว่าอะไรคืออะไร ในสื่อที่จำเป็นครับ แล้วโรงเรียนในระดับ อนุบาล หรือ ประถม ต้องฉีดวัคซีนอีกเข็มเข้าไปครับ อาจจะอัดเทปรายการต่างๆ เอาไว้ มาให้เปิดให้เด็กดูแล้ววิเคราะห์กันในห้องก็ได้ครับ เพื่อฉีดจุดด้อย ของสื่อลงไปด้วยครับ ชี้ให้เห็นว่าอะไรดีไม่ดีครับ
  • อันนี้ปัญหาใหญ่เลยครับ จริงๆ แล้ว ทีวีต้องทำและสร้างสื่อดีๆ ออกมาครับ หนังสือพิมพ์ ก็เช่นกัน ในระดับที่สูงขึ้นครับ สื่อต่างๆ สำคัญมากๆ หากเค้าคิดจะทำเพื่อพัฒนาชาติจริงๆ ผมว่ารายการดีๆ ก็ทำได้นะครับ
  • อยู่ที่ว่าจะทำกันหรือไม่ครับ
  • การวิ่งผัดไม้นี้ สำคัญมากๆ เลยครับ
  • ไม้ที่หนึ่ง คือ ครอบครัว (ภูมิคุ้มกันให้เด็ก)
  • ไม้ที่สอง คือ อนุบาล หรือ ประถม
  • ไม้ที่สาม คือ ม.ต้น
  • ไม้ที่สี่ คือระดับที่สูงขึ้นไป
  • ผมเคยเห็นเด็กแสดงพฤติกรรมเลียนแบบเป็นนางร้ายเก่งมากๆ นะครับ ฮ่าๆๆๆ อันนี้จะฝังในตัวเด็กไปอีกนานครับ
  • เมื่อต้นปี ผมดูทีวี ในวันเด็ก เค้าสัมภาษณ์ เด็ก ถามว่าอยากเป็นอะไร เด็กส่วนใหญ่ตอบว่า อยากจะเป็นดารา นักแสดง..... อิๆๆๆ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ มาเพิ่มไว้อีกนะครับ ดีใจทุกครั้งที่ได้คุยกับพี่นะครับ
  • พี่ใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย พบว่าเด็กเก่งมักเลือกอาชีพอื่นมากกว่าอาชีพครูเหมือนกัน
  • ความคิดเห็นพี่นะ หากให้คนเรียนเก่ง ดี หันมาเลือกอาชีพครูน่าจะมีแรงจูงใจอย่างอื่นมาเสริม นะ เช่น เรื่องเงินเดือน สวัสดิการ การยกย่อง เชิดชู ฯลฯ
  • คนเป็นครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีเหมือนเพื่อน G2K ของเราหลายคนนะ
  • ขออ้างอิงปรมาจารย์ค่ะ
  • ท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี เขียนไว้ในคำนำหนังสือว่า “ท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นผู้วิจารณ์ระบบการศึกษาไทยและ ระบบการศึกษาโลกอย่างรุนแรงมาก ท่านเรียกว่าการศึกษาหมาหางด้วน..... สิ่งที่ด้วนหรือหายไปคือการเรียนรู้เพื่อยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น หรือเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์ เอาแต่เรียนวิชาที่ทำให้ความเห็นแก่ตัวมากขึ้น ศีลธรรมจึงเสื่อมเสียมากขึ้นๆ เพราะการศึกษาแบบนี้”

สวัสดีครับ ท่าน เม้ง  รมต.ช่วย  อารีย์การศึกษา

รูปนี้ดูเท่เลยนำมาลงผู้คนจะได้ยลโฉมกันทั่วหน้า

  • ปัญหาการศึกษาพวกเราได้คุยกันหลายๆรอบ คุยกันหลายมุม  เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคุยกันต่อไปนำไปสู่การแก้ไข
  • ความแข็งแกร่งของชาติ จะดีหรือไม่ดี เราดูที่คุณภาพของประชาชน
  • คุณภาพของประชาชน จะดีหรือไม่ดีคงจะต้องขึ้นกับการศึกษา
  • คุณภาพการศึกษาก็ต้องขึ้นกับ กลไกต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  • แล้วคุณภาพการศึกษาเมืองไทยมีปัญหามากๆอยู่ทุกวันนี้  จะทำอย่างไร แก้ไขอย่างไร
  • เราเริ่มกันที่ชุมชน ?
  • เราเริ่มกันที่เด็ก มหาวิทยาลัย
  • เราเริ่มกันที่เด็ก  มัธยม
  • เราเริมกันที่เด็ก  ประถม
  • หรือ เริ่มกันที่ เด็กอนุบาล
  • หรือว่า เริ่มที่ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
  • หรือว่าว่า  เริ่มที่กลไกที่เก่าคร่ำครึที่คอยฉุดรั้งความก้าวหน้าของการศึกษา
  • หรือว่าว่าว่า  เริ่มที่ผู้มีอำนาจในประเทศ
  • หรือว่าว่าว่าว่า......................?
  • แวะมาสูดดมอากาศดีๆแถวนี้
  • มาหาน้ำชาดื่ม  ใส่น้ำแข็ง เย็นๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • มีหรือเปล่า ไม่มีจะได้ไปนะ

 

 

 

 

 

  • พี่ขอนำสิ่งดี ๆ ของท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข นำเสนอค่ะ
  • "
    การศึกษาที่สมบูรณ์ ที่ทำความเป็นมนุษย์ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ 3 ขั้นตอน
             
    “การศึกษาที่สมบูรณ์ประกอบอยู่ด้วย
             1. ความฉลาดหรือสติปัญญาในขั้นพื้นฐานพอตัว พอตัวคือพอแห่งความต้องการ
             2. มีความรู้เรื่องวิชาชีพและอาชีพพอตัว ก็ปฏิบัติได้
             3. มีมนุษยธรรม คือความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้อง แล้วก็พอตัว
    ...เรียนความเป็นมนุษย์นี้ ไม่เคยมีใครพูดถึง หรือว่าพูดเข้าแล้วมันก็เป็นของแปลก แต่ที่จริงมันเป็นความจริงเช่นนั้น มันเป็นความจริงเช่นที่ว่า มีความเป็นมนุษย์ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ซึ่งเราจะทำได้ด้วยการสอนการอบรม สิ่งที่เรียกว่าจริยธรรม....”


ผมทำงานในสถาบันการศึกษามาสักพัก ก็ขอร่วมแสดงความคิดเห็นสักหน่อยนะครับ

ผมคิดว่าเราควรแยก การเรียนรู้ (learning) ออกจากการสอน (teaching) คือการสอนนั้นเกิดที่โรงเรียน แต่การเรียนรู้นั้นมีตลอดชีวิต

ผมสรุปกับตัวเองมานานพอสมควรว่า โรงเรียนไม่สำคัญเท่าครอบครัว คงต้องขอมองแบบคนชั้นกลางนะครับ (ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าจะแสดงความเห็นแทนคนชั้นอื่นได้หรือเปล่า) ส่วนใหญ่แล้วมองการศึกษาแยกส่วนกับการใช้ชีวิต ไม่แน่ใจว่าความเชื่อนี้เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ อาจจะเริ่มตอนปฏิวัติอุตสาหกรรมหรือเปล่า? ผมเองเชื่อมาตลอดว่าเรียนจบแล้วจะได้ใช้ชีวิต.. นั้นหมายถึงว่า เวลาเราเรียน เราไม่ทำอย่างอื่น จบแล้วค่อยทำ ค่อยหางาน ค่อยทำอะไรก็ได้อย่างที่อยากทำ บางคนอยากเป็นนักดนตรี แต่เรียนหมอเพราะพ่อแม่อยากให้เรียน แล้วหัวพอไปไหว

อีกความเชื่อที่ผมค่อนข้างจะเห็นด้วยคือ ครู ต้องรู้ ต้องทำสิ่งที่ตัวเองสอน ครูสอนคอมพิวเตอร์ต้องเป็นคอมพิวเตอร์ ครูสอนภาษาไทย ต้องเขียนหนังสือเก่ง อ่านหนังสือเยอะ รวมๆ แล้วต้องไม่หยุดหาความรู้  และต้องไม่ถือตัว

ผมบ่นไปนอกเรื่องเพราะผมไม่มีคำตอบให้กับคำถามของคุณ สมพรครับ ไม่รู้จริงๆ ว่าจะทำอย่างไรให้คนเก่งหันมาเป็นครู แต่ผมเชื่อว่าคนเก่งในสาขาต่างๆ ถึงที่สุดแล้วจะหันมาให้ความสนใจด้านการศึกษาครับ เรื่องนี้เพื่อนผมเคยตั้งข้อสังเกตไว้ สังเกตว่าคนเก่ง คนประสบความสำเร็จในชีวิตหลายท่าน สุดท้ายแล้วกลับมาให้ความสำคัญด้านการศึกษานะครับ

ก็คงได้แต่หวังว่า ครอบครัว จะเลี้ยงให้เด็กเก่ง เป็นเด็กดี ที่โตขึ้นแล้วประสบความสำเร็จ พอแก่ไปก็หันมาสนใจการศึกษา...  

P

สวัสดีครับพี่อัมพร

  • พี่ใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย พบว่าเด็กเก่งมักเลือกอาชีพอื่นมากกว่าอาชีพครูเหมือนกัน
  • ความคิดเห็นพี่นะ หากให้คนเรียนเก่ง ดี หันมาเลือกอาชีพครูน่าจะมีแรงจูงใจอย่างอื่นมาเสริม นะ เช่น เรื่องเงินเดือน สวัสดิการ การยกย่อง เชิดชู ฯลฯ
  • คนเป็นครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีเหมือนเพื่อน G2K ของเราหลายคนนะ
    • สบายดีไหมครับพี่
    • การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษานั้น เป็นการแยกสาขาแล้วเป็นส่วนใหญ่ ว่าตัวเองจะเลี้ยวไปทางเส้นทางไหน จะเห็นว่ายิ่งเรียนสูงขึ้น มักจะรู้ว่าตัวเองจะจบออกไปทำอะไรมากขึ้น หากเทียบกับตอนที่อยู่ในอ้อมอกแม่ เราคาดเดาไม่ได้เลย
    • แม่ผมเคยบอกผมว่า ลองดูเด็กคนนี้ นอนหลับกำมือแน่น เกิดมาคงต้องขี้เหนียวน่าดู การกำมือ เหมือนกับว่ามีของอยู่ในมือ ไม่ค่อยให้ใครแบ่งปันใคร กำไว้แน่น อิๆ  ลองเอาไปทำวิจัยกันดูนะครับ ว่าจริงไหม ในการทำวิจัยชีวิต ห้าๆ
    • ในระดับประถม เอง ครูก็ไม่ทราบว่าเด็กเหล่านี้จะเป็นอะไรกันในอนาคต ม.ต้น ก็ไม่ทราบได้ แต่อาจจะทราบได้ดีกว่า ประถม ม.ปลาย ก็ชัดขึ้น จนกว่าจะสอบได้มหาวิทยาลัย
    • ในมหาวิทยาลัยเหมือนว่าจะชัด และแคบมากขึ้น ในการประกอบอาชีพ ขึ้นกับสาขาที่เรียน
    • การอยากได้ครู หรือครูดีเก่ง ถ่ายทอดเป็น มาเป็นครู ต้องทำและปลูกกันตั้งแต่เด็กครับ
    • ตัวผมเอง ไม่เคยคิดว่าจะเป็นครู และผมก็ไม่ได้เรียนสาขาครูครับ แต่พื้นฐานที่ผมชอบคือการมีความสุขที่ได้ให้ ได้แนะนำ แล้วสิ่งนี้นำผมมาสู่การเป็นครูในมหาวิทยาลัย
    • ดังนั้น หากปลูกการเป็นครู ถ่ายทอดได้สะสมมาเรื่อยๆ เด็กจะถูกผูกยึดไว้ในใจครับพี่ ต่อให้เงินเดือนสูง หากใจคิดจะทำและเป็นครูผมก็เชื่อว่าเลือกเป็นครูนั่นหล่ะ
    • ผมยังเชื่อว่าอุดมการณ์ยังมีอยู่ในคนนะครับ ปัจจัยพื้นฐานก็สำคัญแต่มาทีหลังได้นะครับ ผมยังคิดแบบนี้ เพราะอาจจะยังเป็นโสดก็ได้ครับ
    • ขอบคุณมากครับ
    P

    สวัสดีครับพี่อัมพร

    • ว่าด้วยเรื่องหมาหางด้วน อิๆ... ท่านคิดเก่งมากๆ เลยครับ
    • ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม ของเหล่านี้ต้องปลูกมาตั้งแต่เด็กครับ รู้จักผิดชอบชั่วดีไม่พอครับ ต้องปฏิบัติตามด้วยครับ
    • ตอนเด็กอยู่ในโรงเรียนเราสอนให้เด็กเข้าแถว ตามลำดับก่อนหลัง น่ารักมากๆ ครับ แต่พอโตขึ้นๆ กลับหาย จนในที่สุด ออกมาเจอสังคมภายนอก คนไม่มีระเบียบ แบบนี้จะอายเด็กไหมครับพี่ เด็กจะรู้สึกว่าแล้วในโรงเรียนคุณครูสอน แต่ออกมาเจอโลกความจริงไม่ใช่ครับ
    • ครูสอนห้ามรังแกผู้อื่น แต่ข่าวหนังสือพิมพ์ ออกยิงฆ่า กันทุกวัน
    • ผมเคยคุยกับเพื่อนชาว ทันซาเนีย เมื่อวันก่อน เพื่อนบอกว่า จะสอนเด็กในโรงเรียนให้ดีอย่างไรก็ตาม หากสังคมภายนอกยังเน่าเฟะอยู่ไม่มีทางแก้ไขได้ เพราะว่าเด็กจะซึมซับจากสังคมภายนอกอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เธอจะทำได้(เค้าแนะนำผม) ว่าให้หาเกาะๆ หนึ่ง พอเด็กร้องแกวๆๆ ให้ขโมยไปสอนที่เกาะนั้น จนอายุได้ 21 ปี แล้วแน่ใจว่าเด็กคนนี้ดีพอ แล้วค่อยนำกลับมาที่ที่เค้าเคยอยู่ อิๆ  ผมหน่ะขำเพื่อนมากๆ เลยครับ แต่นี่สะท้อนอะไรบางอย่างครับ
    • เด็กเล็กๆ ดูทีวีนะครับ เด็กจะมีพฤติกรรมเลียนแบบที่ดีมากๆ ครับ เก่งมากๆ
    • เราต้องสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ครอบครัว พ่อแม่ต้องให้ความอบอุ่นนะครับ
    • เดี๋ยววันนี้ผมจะเสนอในบทความนี้ ในข้อเห็นต่อไปว่า การเรียนของเด็กเหมือนวิ่งผลัด ในระดับชั้นต่างๆ แล้วพ่อแม่ครอบครัว เป็นไม้แรกที่สำคัญในการวิ่ง ส่งต่อไม้ไปแล้ว ครอบครัวก็ต้องวิ่งไปด้วยกับเด็กด้วยจนกว่าเราจะรู้สึกว่าเค้าวิ่งได้เอง...นั่นคือ การให้กำลังใจ แรงสนับสนุนจากทางบ้านครับ
    • คุณธรรมมาปลูกเอาตอนโตแล้ว ก็ทำได้ครับหากมีเหตุการณ์ให้คิดแล้วหันมาศึกษา แต่สู้การทำให้มีติดตัวมาแต่เด็กดีที่สุดครับ
    • ขอบคุณมากครับ
    P

    สวัสดีครับพี่เหลียง

    • ขอบคุณมากครับ
    • น้ำหนึ่งหยดจะเป็นน้ำดีได้ ก็ต้องมาจากโมเลกุลของน้ำดีหลายๆโมเลกุลมารวมกันครับ
    • ดังนั้นหากจะถามว่าเริ่มกันตรงไหน คงต้องบอกว่า ที่เซลล์เล็กๆ เหมือนบทความ ภูมิคุ้มกันนั่นหล่ะครับ
    • สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย  ดิน น้ำ ลม ไฟ  ส่วนประกอบทั้งสี่นี้จะเป็นส่วนประกอบที่ดี สมดุลในตัวคน ถึงจะทำให้คนสมบูรณ์ในระดับกาย และส่วนประกอบรูปร่าง
    • ธาตุสี่ อาจจะผสมกับ ธาตุจิตใจ เข้าไปที่จะทำให้คนมีคุณธรรม หากได้ธาตุจิตใจที่ดี ปลูกมาดี ก็เจริญงอกงาม
    • การศึกษามีปัญหาเพราะเราปล่อยปละละเลย เราเน้นตัววัตถุ สังคมส่วนใหญ่ก็หันไปทางวัตถุ เหมือนถั่วงอกที่ผมเคยนำมาให้ดูไงครับ เราฉายแสงไปทางไหน ต้นถั่วงอกก็จะเอนไปทางนั้น
    • อยู่ที่แสงนั้นจะเป็นแสงวัตถุ หรือว่าแสงคุณธรรม
    • ดังนั้นเซลล์ที่สำคัญมากที่สุดในการมีส่วนดูแลคือ ครอบครัว อันนี้คือวิ่งผลัดไม้แรก ที่ต้องเข้าที่ ระวัง ปรี๊ด...วิ่งอย่างมีคุณภาพ หากอยากให้ได้ลูกที่มีคุณภาพและมีคุณค่าต่อสังคม
    • อยู่ที่ว่าจะสอนให้ลูกเห็นแก่ตัว หรือเห็นแก่ส่วนรวม ผู้เป็นพ่อแม่ตระหนักดีในเรื่องนี้
    • ความเป็นตัวตนของพ่อแม่มีส่วนมากที่จะทำให้ลูกตัวเองเป็นแบบไหน ผมสังเกตและชอบสังเกตแบบเงียบๆ มาตลอดในเรื่องนี้
    • แม่ผมบอกว่า หากเด็กๆ ไม่ดีไม่น่ารัก ต้องไปต่อว่าพ่อแม่ แม่จะบอกว่าหนูต้องเป็นเด็กดี เดี๋ยวคนอื่นเค้าจะว่าเอาได้ว่า พ่อแม่ไม่สั่งสอน
    • พอแค่นี้ก่อนนะครับ อิๆ ขอบคุณมากครับ
    อยากให้มีการปลูกคุณธรรมในเด็ก เก่งอย่างเดียวไม่พอ อยากให้เป็นเด็กดีมีคุณธรรมด้วย พี่มองว่าสถาบันครอบครัวมีส่วนช่วยอย่างมาก รองลงมาคือโรงเรียน ทำอย่างไรจะช่วยกันให้เด็กๆทั้งเด็กเก่งและอ่อน เรียนอย่างมีความสุขและใช้ศักยภาพของตนเองให้ได้อย่างสูงสุด ขอบคุณครับผม
    P

    สวัสดีครับพี่เหลียงครับ

    • ต่อนะครับ เมื่อเซลล์คน เซลล์ครอบครัวดีแล้ว
    • จะส่งผลต่อเซลล์ชุมชนดีขึ้นด้วยครับ รู้ว่าอะไรควรไม่ควรจากวัคซีเข็มใหญ่จากพ่อแม่มาแล้ว
    • คนและครอบครัว ชุมชน มีภูมิคุ้มกัน พี่จะไปกังวลเรื่องนักการเมือง ผู้บริหารบ้านเมือง มาซื้อเสียงตอนเลือกตั้ง ก็ไร้ค่า เพราะว่าคนคิดเป็น คนจะเข้าใจว่าเราคิดอะไรอยู่ลึกๆ คนจะตามทัน การได้มาซึ่งผู้บริหารดีๆ ก็จะดีขึ้นเอง
    • หากคนลงสมัครไม่ดีพอ...ก็ไม่ต้องมีผู้แทนก็ได้ครับ รอจนกว่าจะมีคนดีมาลงสมัคร ต้องมีบ้างหล่ะครับ คนดีในชุมชนสังคมนั้นๆ
    • หากได้คนดีเข้าไป แล้วทำเพื่อส่วนรวม โดยมีชุมชน สังคมพื้นฐานเป็นผู้กำหนดให้ผู้บริหารทำงานได้แล้วนั้น จะทำให้การบริหารระดับนโยบายเป็นไปได้ดี นั่นคือ  พื้นฐานก็แน่น ด้านบนก็แน่น  ด้านบนส่งสิ่งดีๆ มาให้ด้านล่าง ด้านล่างส่งสิ่งดีๆ ขึ้นไปให้ด้านบน เป็นวัฏจักรครับ

    การช่วยเหลือกัน เติมเต็มให้สม่ำเสมอ คนที่อยู่เบื้องล่างก็จะรู้สึกอบอุ่นอยู่เสมอ

    อบอุ่นดีใจจัง อย่างน้อยก็ยังมีคนอย่างคุณที่ยังมองเห็นความสำคัญของอนาคตของชาติ

    เหมือนภาพนี้ไงครับ ที่พี่เคยเห็นแล้ว ถามว่า หากด้านล่างไม่มีน้ำหรือความชุ่มชื้นเลยน้ำตกจะมีไหลลงมาได้ตลอดได้อย่างไร น้ำในระบบนี้ ล้วนเป็นน้ำปริมาณเกือบคงที่ ที่วนเวียนตามวัฏจักรโดยมีระบบต้นไม้ แสงอาทิตย์ช่วยให้เกิดระบบที่สมบูรณ์นั่นเองครับ

    ขอบคุณมากครับ

    P

    สวัสดีครับพี่อัมพร

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับสำหรับเรื่องบทความของท่าน อธิการบดี นะครับ
    • ผมรู้สึกว่าสังคมปัจจุบัน จะวิ่งเข้าไปหาสังคมเชิงปริมาณกันขึ้นทุกวัน โดยไม่สนใจคุณภาพกันเท่าที่ควร
    • สิ่งที่เป็นคุณธรรม นามธรรม เราไม่ต้องไปหาสูตรตัววัดให้เหนื่อยนะครับ ไม่ต้องมีตัวชี้วัดทางอารมณ์ ผมว่าไม่ใช่เป้าหมายนะครับ เป้าหมายที่แท้จริงคือ การเป็นคนดี ตัวดัชนีทางด้านนามธรรมมักจะแฝงอยู่ในทางอ้อมเช่น สังคมไม่มีโจรผู้ร้าย ช่วยเหลือกันในกิจกรรม ให้ความร่วมมือดี อะไรทำนองนี้นะครับ 
    • จริงๆ แล้วผมเฉยๆ กับคำว่า EQ, IQ มากครับ ผมว่าเราวัดกันเพื่ออะไร เพื่อเบ่งศักยภาพว่าเราเก่งกว่าคนอื่นหรือครับ หรือว่าอย่างไรครับ
    • เป้าหมายคือ สังคมร่มเย็นก็พอแล้วครับ คนมีกิน อยู่ดีกินดี ไมเพ้อฝันมุ่งมั่นใน ยศ บรรดาศักดิ์ เงินทอง รถยนต์เครื่องประดับ
    • อย่างเศรษฐกิจนะครับ ไม่เห็นต้องไปสนใจเรื่องพวก GDP เลย ว่าจะสูงหรือต่ำ ไม่ใช่ทำเพื่อให้ค่านั้นได้เยอะๆ แต่คนไม่มีจะกิน แร้นแค้น ปั่นให้ค่าเหล่านี้มาก.... แต่คนขาดจิตสำนึก ชาติจะอยู่อย่างไรครับ
    • ดังนั้นเราต้องเน้น คุณภาพก่อนปริมาณ หรือหากจะให้ปริมาณมาก่อน ก็จะเป็น เน้นปริมาณที่มีคุณภาพ (จิตใจนะครับ)
    • ขอบคุณมากครับ
    P

    สวัสดีครับคุณแว้บ

    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ น่าใจมากๆ เลยครับ เชิญนั่งก่อนนะครับ
    • ผมคิดว่าเราควรแยก การเรียนรู้ (learning) ออกจากการสอน (teaching) คือการสอนนั้นเกิดที่โรงเรียน แต่การเรียนรู้นั้นมีตลอดชีวิต
    • เห็นด้วยนะครับ ว่าการเรียนรู้นั้นมีตลอดชีวิต ส่วนการสอนนั้นเกิดที่โรงเรียน คุณแว้บมองถึงการสอนในระบบใช่ไหมครับ
    • ในความเห็นผมผมว่า การเรียนรู้และการสอนนั้นเกิดได้ทุกที่ โรงเรียนนั้นเป็นอีกส่วนที่รับช่วงจากครอบครัวครับ การสอนอีกอย่างที่ผมไม่ได้พูดถึง คือ การสอนตัวเองและเรียนรู้จากตัวเองและสิ่งแวดล้อม ตรงนี้ลองเอาไปขยายความต่อดูนะครับ  ผมว่าปราชญ์ชาวบ้านที่เกิดก็เกิดจากประโยคนี้ครับ และมีตัวอย่างอีกมากๆ ที่เกิดขึ้นแบบนี้ในโลกนี้ครับ
    • โรงเรียนเป็นการสร้างคนในระบบให้มีการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างให้เราเอาไปปรับใช้ในสังคมใหญ่ได้ครับ เพราะเด็กอายุยังน้อย ต้องมีผู้ให้เค้าก่อน เค้าถึงจะเรียนรู้และสั่งคมภูมิ(ปัญญา คุณธรรม รูปธรรม) ให้เกิดเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตัวเค้า เปรียบดั่ง ใบไม้ใต้ยอดผลิตอาหารส่งเสริมให้อาหารกับใบอ่อนที่อยู่เหนือใบตัวเอง ก่อนที่ใบอ่อนนั้นจะสังเคราะห์แสงเองได้แล้วส่งเสริมให้กับใบอ่อนๆ ใหม่ๆ ที่กำลังจะแตกออกมานะครับ
    • ผมเห็นด้วยกับคุณเต็มๆ เลยครับ ว่าครอบครัวสำคัญกว่าโรงเรียน และโรงเรียนก็สำคัญมากเหมือนกัน หากเด็กส่วนใหญ่ต้องเข้าสู่ระบบตามกฏหมายที่ว่าไว้
    • ผมมีแผนให้คุณอ่านเล่นๆ นะครับ นั่นคือ
    1. ครอบครัวฉีดภูมิคุ้มกันให้กับเด็กในครอบครัวก่อนจะส่งต่อให้กับอนุบาล การเรียนในระดับอนุบาล ส่งลูกไปแล้ว ไม่ควรจะปล่อยให้เป็นภาระของครู จะต้องติดตามผลด้วย
    2. ทางโรงเรียนอนุบาลเอง ควรมีการประชุมผู้ปกครองบ่อยๆ ด้วย เช่นเดือนละครั้ง หรือสองเดือนครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนและพูดคุยกับคุณครูถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ โรงเรียนอาจจะให้คำแนะนำในการส่งเสริมเด็กที่บ้าน ว่าเด็กคนนี้ มีหัวด้านไหน ตรงไหนยังช้า ที่บ้านสนับสนุนอย่างไรได้บ้าง
    3. ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงประถมครับ นี่คือการวิ่งผลัดแบบวิ่งตามไปด้วยกัน โดยผู้ปกครองก็รับรู้เรื่องในโรงเรียน และเป็นผู้ส่งเสริมให้กับลูกของตน ส่งเสริมให้มีการเล่นร่วมกับเด็กคนอื่น
    4. อย่าเพิ่งพาเด็กไปสถาบันติวกันเลย ไม่ใช่ช่วงเวลาที่เด็กจะต้องเข้าสู่โรงเรียนติวเลย แล้วโรงเรียนติวไม่ใช่สำคัญเลย (ยิ่งโรงเรียนติวมีมาก มันจะยิ่งเป็นตัวชี้วัดว่า การศึกษาเราในระบบย่ำแย่ ก็ได้นะครับ)
    5. ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ให้เด็กจบ ป.6 ไปเลยครับ ผนวกกับการส่งเสริมเด็กให้มีการให้ผู้อื่นเป็นสำคัญ สอนกันเอง แนะนำกันเอง ครูอาจจะมีส่วนในการจัดการเรื่องเหล่านี้ในโรงเรียน
    6. ครูอาจจะส่งเสริมโดยให้คุณธรรมนำ การเรียนรู้ด้วยนะครับ เพราะในโรงเรียนเด็กต้องมีการเรียนรู้ด้วยครับ การสอนนั้นจริงๆ ผมอยากให้เป็นการแนะมากกว่า แนะให้เด็กอยากจะเรียนรู้ จากนั้น จะเข้าสู่ระบบที่ผมเขียนไว้ด้านบนนะครับ ว่า การสอนตัวเองและเรียนรู้จากตัวเองและสิ่งรอบข้างได้ครับ
    7. จริงๆ แล้วการศึกษากับชีวิตมันคือสิ่งเดียวกันครับ หากเราคิดว่าชีวิตนี้เกิดมาเพื่อศึกษา เพื่อเรียนรู้ แล้วหลังจากนั้นเราจะให้ได้ครับ เราต้องรับก่อนเสมอ(ในเยาวัย) แล้วเราจะเป็นผู้ให้ในช่วงต่อมา ปัญหาที่เราเกิดคือ เคยเป็นผู้รับแล้วก็รับจนอยากมี อยากได้ จนไม่พอ นี่หล่ะครับปัญหา
    8. จุดหลักจะทำอย่างไรให้ผู้รับ กลายเป็นผู้ให้ในช่วงที่ควรมีการให้ ดังนั้นการฝึกให้เด็กเป็นผู้ให้ตั้งแต่เล็กๆ จะส่งผลให้กระทบกับสังคมใหญ่ได้อย่างแน่นอน เปรียบดั่งใบไม้ แก่อ่อน ที่อธิบายไว้เมื่อสักครู่นะครับ

    ขอบคุณมากๆ นะครับ อาจจะลองทำวิจัยเป็นกรณีศึกษาดูก็ได้นะครับ ได้ผลอย่างไรจะได้ร่วมกันหาทางออกนะครับ

    ขอบคุณมากๆ นะครับ ร่วมแสดงไว้อีกนะครับ

    P

    สวัสดีอีกครั้งครับ

    • ปัญหาอีกอย่างที่สำคัญคือ ผู้บริหารประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างชัดเจน และจริงจัง จริงใจ
    • มีแต่ จะส่งเสริมให้เด็กเรียนได้ครบ 9 ปีตามนโยบายรัฐ แต่ความจริงมันคืออะไรครับ ค่าเฉลี่ยการจบ 9 ปีมีจริงไหมครับ ไม่เกิดจริงเพราะแค่ส่งเสริม....
    • อย่างบทความที่ผมเขียนไว้เรื่อง เด็กสองแสนคนหายไปไหน นั่นชี้ได้เช่นกัน แล้วตอนนี้ เด็กที่หายไป ยังมีอยู่ปริมาณเท่าไหร่ มีข้อมูลเหล่านี้หรือไม่ ตอนนี้ผมหาไม่ได้ครับข้อมูลนี้ครับ
    • แต่ก็ว่าครับ เพราะปัญหาปากท้อง ยังเป็นความสำคัญเป็นอันดับแรกที่ต้องแก้ไข การศึกษามันเลยเป็นตัวรองที่ต้องให้ได้มีกินก่อนจะเรียนครับ
    • ผมอยากเห็นนักการเมืองคุณภาพ หันมาชูประเด็นการศึกษาไปเลย ทำให้เมืองไทยตะลึงไปเลยครับ ว่านี่มีคนแบบนี้ในสังคมการเมือง การศึกษาต้องเร่งทำอย่างเร่งด่วน พัฒนาคนให้มีการเรียนรู้ถูกทาง โดยสนับสนุนให้เกิดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และแบบอัธยาศัย ให้มีอิสระทางการศึกษา  ส่วนตรงไหนมีปัญหาเรื่องปากท้องก็ให้ทำการศึกษาชุมชน และรากเหง้าของตัวเองแล้วสร้างงานให้เกิดในชุมชนให้จนได้ โดยรัฐจะอยู่เป็นเพื่อนคู่คิดและประคับประคอง สร้างนักคิด นักพัฒนาชุมชนในพื้นที่ให้เกิด โดยหลักๆ อาจจะมี ครู หมอ นักพัฒนาชุมชน นักแนะแนวชุมชน ในชุมชนนั้นๆ ผมว่าไม่นานครับทำได้ พอชุมชนเข้มแข็ง คราวนี้หล่ะครับ ความเป็นปึกแผ่นก็เกิดครับ
    • คุณมีความเห็นอย่างไรบ้าง รบกวนร่วมคิด แลกเปลี่ยนครับ
    ไม่ได้มาเยี่ยมตั้งนานตอนนี้พี่เม้งอยู่ที่ไหนเหรอครับ
    P

    สวัสดีครับพี่บาว

    อยากให้มีการปลูกคุณธรรมในเด็ก เก่งอย่างเดียวไม่พอ อยากให้เป็นเด็กดีมีคุณธรรมด้วย พี่มองว่าสถาบันครอบครัวมีส่วนช่วยอย่างมาก รองลงมาคือโรงเรียน ทำอย่างไรจะช่วยกันให้เด็กๆทั้งเด็กเก่งและอ่อน เรียนอย่างมีความสุขและใช้ศักยภาพของตนเองให้ได้อย่างสูงสุด ขอบคุณครับผม

    • สบายดีนะครับพี่
    • ใช่แล้วครับ ครอบครัวสำคัญมากๆ ครับ
    • หากจะพูดให้เด็ดๆ คือว่า ระดับครอบครัวสร้างเด็กกันตอนนั้นหล่ะครับ ว่าจะให้ลูกเห็นแก่ตัวหรือแก่ส่วนรวม
    • ปัญหานี้ที่ผมเสนอ คือว่า  หากเราแบ่งแยกเด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน ในระดับชั้นเดียวกัน ในโรงเรียน  ก็จะเหมือนกับ การคัดเลือกเด็กเก่งในแต่ละโรงเรียนในแต่ละระดับไงครับ
    • เช่น พ่อแม่ ก็พาลูกเข้าไปสอบเรียนเข้า ประถมดีๆ  มัธยมดีๆ ไงครับ แบ่งกัน เด็กเก่งก็จะไปกองๆ กันอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ว่าแล้วก็เหมือนระดับมหาวิทยาลัยนั่นหล่ะครับ
    • ไม่มีการถ่ายเทกันเท่าที่ควรในสังคม
    • คราวนี้ ระดับพ่อแม่ก็โอ้อวดกันนะครับ ว่าลูกตัวเองได้เรียนที่ไหน เป็นอย่างไร แบบนี้ เกิดแน่นอนในสังคมไทย พี่ว่าจริงไหมครับ.....
    • นี่คือจุดด้อยอีกข้อในระดับครอบครัวครับ ที่ส่งเสริมกันจนลืมคิดกันไป......ถึงบอกว่า ต้องจีบกันอย่างมีคุณภาพ ก่อนจะมาเป็นพ่อแม่คน อิๆ
    • พี่เป็นไงบ้างครับ ทางนั้นสบายดีนะครับ
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ
    • ผมเคยไปเขียนความเห็นทำนองเดียวกันนี้ที่บันทึกคุณเบิร์ด
    • ผมมองว่า การพัฒนาสมองเด็ก เป็นเรื่องสำคัญครับ ประเด็น BBL น่าจะเป็นวาระแห่งชาติ
    • เด็กวัยทอง แรกเกิด ถึง 6 ขวบปี เป็นวัยที่สำคัญและผู้ปกครองควรมีความรู้ในการดูแลเด็ก
    • เน้น "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสมอง"ครับ
    • ถึงในระบบโรงเรียน คุณครูเองก็ต้องมีส่วนอย่างมากในการจัดการเรียนรู้เพื่อสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก มีกิจกรรมที่เอื้อให้เด็กพัฒนา กาย ใจ จิต
    • เด็กไทย ใครว่าโง่ อยู่ที่เราสนใจเรื่องนี้เพียงใด เพราะเด็กๆเป็นทั้งปัจจุบัน และ อนาคต ครับ
    P

    สวัสดีครับน้อง

    • ยังไม่ได้กลับเลยครับผม.....ชีวิตน้องเป็นอย่างไรบ้างครับ สบายดีครบถ้วนนะครับ
    • สบายดีไหมครับผม

    สวัสดีครับ คุณสมพร P

    กรุงปารีส ปี 1900 La Belle Epoque คุณพ่อคนหนึ่ง เดินเข้าไปหานักจิตวิทยาผู้ฉลาดเฉลียวท่านหนึ่งชื่อ Alfred Binet ถามว่า "ท่านครับ ผมและครอบครัว เพิ่มย้ายจากบ้านนอกมาเข้าเมือง ลูกๆกำลังเดือดร้อนเรื่องการเรียน เรื่องการบ้าน ท่านพอจะมีเครื่องมืออะไรไหมครับ ที่จะบอกได้ว่าเด็กคนไหนจะประสบความสำเร็จ คนไหนจะสอบตก ในโรงเรียนที่ปารีสนี่?"

    และอย่างที่ประจักษ์ในปัจจุบัน Binet ทำสำเร็จ ต่อมาเครื่องมือของ BINET ก็ถูกเรียกว่า "The Intelligence Test" สิ่งที่เขาวัด IQ หรือ intelligence quotience คือ อายุสมองหารด้วยอายุจริงคูณด้วย 100 นั่นก็คือคนธรรมดาที่อายุสมองเท่ากับอายุจริงก็จะมี IQ 100

    และก็เหมือนๆกับทกอย่งที่เป็นแฟชันปารีส ก็ได้ระบาดไปอเมริกา บูมเต็มที่ตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง WWI ที่ใช้ทดสอบทหารเกณฑ์ จากการที่อเมริกาชนะสงคราม Binet's IQ test ก็เกิดขึ้นเต็มตัว (ประวัติรายละเอียดพิศดาร ผมจะเอาไปเล่าใน blog ผมเองก็แล้วกัน)

    IQ TEST ไว้ใช้พยากรณ์ว่าใคร "เก่ง" หรือ "ไม่เก่ง" ทดสอบสองพิสัยของ mental ability คือ "ภาษา (linguistic)" และ "คำนวณ/ตรรกะ (mathematic/logistic)" เท่านั้น ใครคิด คำนวณ มีเหตุผล ภาษาดี ก็จะประสบความสำเร็จ (หรือสอบผ่าน)

    Idea ที่ว่านี้น่าฉงนฉงาย และรบกวนจิตใจของ Howard Gardner มาก จนในที่สุด ปี 1983 เขาก็เขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งหลังการทำวิจัยศึกษามาเป็นสิบปี คือ Frame of Minds, The Theory of Multiple Intelligences มีอะไรบ้างนั้น หมอเบิร์ดได้เขียนไว้ใน blog เธอแล้ว คร่าวๆก็คือ ความเก่งนั้น มีมากกว่า IQ test บอกไว้ มากกว่าเยอะด้วย

    เผอิญในระบบการศึกษาเก่า คนที่ก้าวมาเป็นครู และไม่ได้ศึกษาเรื่องศึกษาศาสตร์ต่อ (ซึ่งเป็น practice ปกติทุกวันนี้ ก็คือ คนเป็นครูต่อ อาจจะจบวิชาชีพเฉพาะมาเท่านั้น เรียน education ต่อนิดเดียว ทั้งๆที่ศาสตร์ของการเรียนรู้ cognitive psychology หรือ cognition นั้น ก้าวหน้าไปเยอะแล้ว) ก็เก่งสองอย่างนี้เหมือนกัน คือ linguistic พูดกันไฟแลบ คิด คำนวณ เปี่ยมเหตุผล mathematic/logistic

    ถ้าเด็กคนไหน ไม่เก่ง สองพิสัยนี้ ก็จะไม่ใช่ sugar student ไม่ใช่เด็กที่น่ารัก เด็กที่น่าสอน เป็นตัวเจ้าปัญหา บางคนตราไปเป็น slow learner หรือ learning difficulties ไปเลย

    ทฤษฎี multiple intelligence นี้ ว่าคนเรามี ความถนัด ไม่เหมือนกัน และหลากหลายมิติ ถ้าเพียงแต่เราค้นพบ (และหน้าที่เป็นของครู หรือนักการศึกษา) ว่าเขาถนัดเรื่องอะไร ส่งเสริมไปทางนั้น ชีวิตของเด็กส่วนใหญ่ก็จะงอกงาม ตาม what it's meant to be

    ตั้งแต่หนังสือเล่มนี้ออกมา คนที่ชื่นชมมาก ไม่ใช้ psychologist กลับกลายเป็นนักการศึกษา

    There is no such a thing like students who fail, there is only school or teacher who fail students

    ไม่มีอีกแล้วสำหรับนักเรียนที่ล้มเหลว มีแต่โรงเรียนหรือครูที่ทำให้เด็กล้มเหลว

    ผมคิดว่าความรับผิดชอบของระบบการศึกษา ประเภทฟันธง ประเภทชอบ label ตีตรา ตัดสินคุณค่าของคนอื่นโดย value based on self นั้น เป็นตัวทำให้เกิดปัญหาอย่างทุกวันนี้

    ประเทศจะเจิรญรุ่งเรื่อง ต้องอาศัยหลายมิติของประชาชน ช่างฝีมือ นักกีฬา นักคิด นักคำนวณ นักสื่อสาร ครูจิตวิญญาณ นักสังคม

    ทั้งหมดต้องมี "พื้นที่เจริญเติบโต" ก่อนจะมาเป็นนักอะไรต่อมิอะไร

    การทำให้สังคมมองหา อัจฉริยภาพของลูก ของเด็ก เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนจะไป ตีตรา เด็กว่าโง่ ว่าไม่เก่ง จาก test อะไรที่มีอายุนับร้อยปี มองไปรอบตัว คนเราทุกคน มีอะไรดีๆของคนๆนั้นเสมอ ว่าแต่สังคมเปิดพื้นที่ให้เขาได้ภาคภูมิใจในตัวเขาสักกี่มากน้อย หรือว่ากดขี่ว่าเป็น skill ที่ไม่เชิดหน้าชูตา?

    มี สามเหลี่ยมทรงพลัง มาฝากครับ

    • หัวใจของครอบครัว คืออะไร
    • หัวใจของโรงเรียน ทำอย่างไร
    • หัวใจของชุมชน สร้างอย่างไร
    • แล้วหัวใจเด็กหล่ะครับ

    • คุณคิดว่าปัจจุบันนี้ เด็กได้รับสิ่งดีๆ จากครอบครัวแค่ไหน
    • โรงเรียนฉีดภูมิคุ้มกันอะไรให้กับเด็ก ครอบครัว และชุมชนบ้าง
    • ชุมชนสร้างภูมิ(ปัญญา คุณธรรม รูปธรรม) ให้กับเด็ก ครอบครัว และโรงเรียนอย่างไร
    • แล้วโรงเรียนหล่ะครับ......
    • แล้วหากมีสามเหลี่ยมทรงพลังนี้ เชื่อมต่อกันทั่วประเทศ หลายๆ เซลล์ หล่ะครับ จะเกิดอะไรขึ้นครับ
    • เด็กเข้มแข็ง  ครอบครัวเข้มแข็ง โรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง สังคมเข้มแข็ง ประเทศเข้มแข็ง โลกเข้มแข็ง......
    • แล้วเราจะมากลัวไวรัสที่จะกัดกิน ในเรื่องภูมิคุ้มกันบกพร่องทำไมใช่ไหมครับ หากเป็นได้....สภาการศึกษา G2K : ไวรัสร้ายที่ทุกคนต้องระวัง "ภูมิคุ้มกันชุมชนบกพร่อง"
    • ลองคิดกันเล่นๆ แต่เอาจริงนะครับ เห็นตามต่าง อย่างไร เขียนไว้นะครับ
    ต้องขอโทษด้วยครับนายเม้ง  เยอรมัน...ผมอ่านไม่หมดทุกตัวอักษรหรอกนะครับ..เพราะว่ามันยาววววววววววววววว  เหลือเกิน  นั่งเคารพคอม.หลายครั้งแล้ว  เลยต้องมาทิ้งร่องรอยไว้ก่อน  เดี๋ยวหลับต่อ ....คร๊อก..ๆ..ฟี้
    P

    สวัสดีครับเพื่อนเอก

    ผมมองว่า การพัฒนาสมองเด็ก เป็นเรื่องสำคัญครับ ประเด็น BBL น่าจะเป็นวาระแห่งชาติ

  • เด็กวัยทอง แรกเกิด ถึง 6 ขวบปี เป็นวัยที่สำคัญและผู้ปกครองควรมีความรู้ในการดูแลเด็ก
  • เน้น "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสมอง"ครับ
  • ถึงในระบบโรงเรียน คุณครูเองก็ต้องมีส่วนอย่างมากในการจัดการเรียนรู้เพื่อสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก มีกิจกรรมที่เอื้อให้เด็กพัฒนา กาย ใจ จิต
  • เด็กไทย ใครว่าโง่ อยู่ที่เราสนใจเรื่องนี้เพียงใด เพราะเด็กๆเป็นทั้งปัจจุบัน และ อนาคต ครับ
    • ขอบคุณมากครับ เอก ที่นำแนวทางและข้อมูลเพิ่มเติมมาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ
    • พัฒนาสมองเด็ก ใส่ตรรกะ ให้เด็กว่าอะไรดีไม่ดี ให้แยกแยะได้ แล้วเดินได้ว่าควรจะเดินในทางไหน มีภูมิคุ้มกันที่ดีทางปัญญา จิตใจ และทางกาย โดยทำให้เห็นเป็นกรณีชีวิตจริง
    • จัดสภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสมอง ดีมากๆ ครับ อันนี้ ผมว่า ตั้งแต่จัดตัวเอง ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน และระดับสูงๆ ขึ้นไปเลยครับ
    • ใช่แล้วครับ เด็ก ไม่ว่าประเทศไหน ไม่แตกต่างๆ เลยครับ ไม่มีอะไรแยก เด็กๆ ไม่ว่ามาจากขุนเขาไหน ไม่แตกต่างครับ ต่างกันที่ว่าเรามีปัญญาจะสร้างเค้าได้อย่างไร ต่างหาก ครับ
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ เข้ามาเพิ่มเติมได้อีกนะครับ

     สวัสดีครับ

    • คนไม่รู้จะทำอะไรก็มาเป็นครู
    • คนไม่รู้จะทำอะไรดีก็ไปบวช
    • แล้วคุณภาพของสังคมจะมาจากไหน
    • นักการเมืองมองไม่เห็นความสำคัญของกระทรวงศึกษา แย่งมหาดไทย คมนาคม เกษตร ทั้งที่ศึกษาเป็นกระทรวงใหญ่เหมือนกัน
    • นักการศึกษาก็ห่วงปากท้องตัวเอง ผู้บริหารก็อยากใหญ่ไปเรื่อยๆ แข่งแย่งกัน ครูก็เป็นหนี้สิน ไม่พอเลี้ยงปากท้อง ครอบครัว ไม่มีหัวจะมาคิดพัฒนาเด็ก เป็นอย่างนี้ทุกระดับ
    • คนเก่งมีอยู่ทุกวงการ ต้องทำให้คนเก่งมีวิญญานครู อยากถ่ายทอด อยากสอน ในสายงานอาชีพของเขา
    • วิชาความรู้พื้นฐานให้สอนในสถานศึกษา แล้วไปให้คนเก่งในสายงานนั้นสอนวิชาชีพ ใช้มืออาชีพ ให้ค่าแรงมากหน่อย เสริมแรง
    • กระแสสังคมแข่งขันความฟุ่มเฟือย อยากมีหน้ามีตา
    • ฯลฯ
    • ขอบคุณครับ
    P

    สวัสดีครับคุณหมอสกล

    • ขอบพระคุณมากเลยครับ ผมได้รับทราบประวัติด้านนี้ น่าสนใจทีเดียวครับ
    • ผมก็เคยเล่นพวกการวัดไอคิวนะครับ แต่ผมเฉยๆ ครับ ผมสนุกในการได้ทำโจทย์ครับ แต่ตัวเลขที่ได้จาก IQ นั้น ผมไม่ได้เชื่อว่าจะบ่งบอกอะไรได้ซักเท่าไหร่ครับ แม้ข้อสอบที่เราๆ ทำกันมาตั้งแต่เด็กๆ ก็ตามนะครับ วัดได้แต่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ว่ารู้หรือไม่รู้ คิดได้หรือได้ในเวลานั้น แต่ในสมองของคนนั้นมีหลายๆ อย่างครับ ในด้านต่างๆ ที่คุณหมอบอกมานะครับ
    • หลายๆ อย่างประกอบกัน ยิ่งทำให้ผมคิดว่า การแยกเด็กเรียน ออกจากกันนั้น เป็นการแยกเพื่อให้ครูสอนง่าย จัดการง่ายๆ หรือเปล่า ทั้งๆที่เด็กควรจะมีการถ่ายเทเข้าด้วยกัน
    • ว่าแล้วจะหันมายังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ครับ จริงๆ ในเบื้องต้นผมเองไม่เห็นด้วยหรอกครับ ว่าจะมีการแบ่งว่า หาดใหญ่ให้มีแต่ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและประยุกต์ ปัตตานีให้มีแต่ทางสายสังคมและมนุษย์ ศิลป์ ซึ่งคิดว่าเราต้องให้เด็กทั้งสองสายนี้ มีการทำกิจกรรมสร้างคนให้เกิดร่วมกัน จะเป็นหาดใหญ่มีสมองซีกซ้าย ปัตตานีมีสมองซีกขวา ไม่ควรอย่างยิ่ง อันนี้ผมถกมาตั้งแต่ เรียน ป.ตรี ครับ
    • และมาตอนหลังมีการสร้างคณะให้เกิดทั้งศาสตร์และศิลป์ขึ้น ซึ่งอาจจะดีกับเด็กครับ คือให้มีกระบวนการคิดและเกิดกิจกรรมร่วมกัน คนต้องเรียนรู้ด้วยกัน ศึกษาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันครับ
    • ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เรื่องที่ว่า ไม่มีอีกแล้วสำหรับนักเรียนที่ล้มเหลว มีแต่โรงเรียนหรือครูที่ทำให้เด็กล้มเหลว
    • แต่ผมอยากจะเสริมว่า ครอบครัว และชุมชน เข้าไปด้วยครับ โดยเฉพาะครอบครัวนะครับ ทำให้เด็กล้มเหลวเช่นกันครับ
    • บางทีผมชอบนะครับ หากพ่อแม่ของเด็กครอบครัวใด ที่พ่อแม่เห็นแก่ตัว แล้วเด็กไปเรียนที่โรงเรียน เด็กกลับมาที่บ้าน เห็นพ่อแม่ทะเลาะกันหรือคิดอะไรเป็นเงินทองไปหมด เด็กตัวน้อย ย้อนออกมาว่า ทำไมคุณครูบอกว่า เกิดมาเป็นคน เราไม่ควรเห็นแก่ตัว พัฒนาจิตใจ อย่าเห็นแก่เงิน อิๆๆ พ่อแม่คนไหนได้ยินเข้าไปแบบนี้ จุกไหมครับ อิๆๆๆๆๆ
    • ประเทศจะเจิรญรุ่งเรื่อง ต้องอาศัยหลายมิติของประชาชน ช่างฝีมือ นักกีฬา นักคิด นักคำนวณ นักสื่อสาร ครูจิตวิญญาณ นักสังคม
    • อันนี้ก็สำคัญนะครับ นี่คือการบูรณาการคนในชุมชนใช่ไหมครับ....ถามว่ามีใครเห็นความสำคัญบ้าง ... 
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ เขียนต่อไว้อีกนะครับผม สนุกดีครับ (ข้อเสียของผมคือ อ่านหนังสือน้อยครับ)
    P
    ต้องขอโทษด้วยครับนายเม้ง  เยอรมัน...ผมอ่านไม่หมดทุกตัวอักษรหรอกนะครับ..เพราะว่ามันยาววววววววววววววว  เหลือเกิน  นั่งเคารพคอม.หลายครั้งแล้ว  เลยต้องมาทิ้งร่องรอยไว้ก่อน  เดี๋ยวหลับต่อ ....คร๊อก..ๆ..ฟี้
    สวัสดีครับพี่สะมะนึกะ
    • ยาววววหน่ะดีแล้วครับพี่ เพราะจะได้เหมือนขบวนรถไฟของพี่ไงครับ ชึกกะชั๊กๆ
    • นั่งเคารพคอมพ์ดีแล้วครับ แต่อย่าเอาน้ำให้คอมพ์ดื่มนะครับพี่ แบบนี้หน่ะแย่เลยครับ
    • ฝันดีครับผม
    ไม่มีรูป
    นายวรชัย หลักคำ

    สวัสดีครับคุณวรชัย

    • เชิญนั่งดื่มชา กาแฟกันก่อนนะครับ
    • ในสิ่งที่คุณเขียนมา น่าสนใจมากๆ เลยครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่พูดกันตรงๆ ครับ
  • คนไม่รู้จะทำอะไรก็มาเป็นครู
  • คนไม่รู้จะทำอะไรดีก็ไปบวช
  • แล้วคุณภาพของสังคมจะมาจากไหน
  • นักการเมืองมองไม่เห็นความสำคัญของกระทรวงศึกษา แย่งมหาดไทย คมนาคม เกษตร ทั้งที่ศึกษาเป็นกระทรวงใหญ่เหมือนกัน
  • นักการศึกษาก็ห่วงปากท้องตัวเอง ผู้บริหารก็อยากใหญ่ไปเรื่อยๆ แข่งแย่งกัน ครูก็เป็นหนี้สิน ไม่พอเลี้ยงปากท้อง ครอบครัว ไม่มีหัวจะมาคิดพัฒนาเด็ก เป็นอย่างนี้ทุกระดับ
  • คนเก่งมีอยู่ทุกวงการ ต้องทำให้คนเก่งมีวิญญานครู อยากถ่ายทอด อยากสอน ในสายงานอาชีพของเขา
  • วิชาความรู้พื้นฐานให้สอนในสถานศึกษา แล้วไปให้คนเก่งในสายงานนั้นสอนวิชาชีพ ใช้มืออาชีพ ให้ค่าแรงมากหน่อย เสริมแรง
  • กระแสสังคมแข่งขันความฟุ่มเฟือย อยากมีหน้ามีตา
    • คำตอบของทุกปัญหานั้นมีอย่างเดียวครับ คือการศึกษาครับ
    • โดยเฉพาะการทำคนที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็ก มีการศึกษา ก่อนเป็นสำคัญครับ
    • คนเก่งที่ถ่ายทอดเป็น ต้องสร้างมาตั้งแต่เด็กๆ ครับ
    • หากต้องการ คนดี ต้องสร้างมาตั้งแต่จะรู้จักคำว่าเก่งครับ เพราะดีต้องมาก่อนคำว่าเก่ง
    • เก่งแล้ว ก็ฝึกการถ่ายทอดให้เป็นครับ
    • การศึกษานั้น จะไปได้สวย หาก...ปากท้องสบายดี (แต่ไม่ใช่ว่า กินเท่าไหร่ไม่รู้จักอิ่มนะครับ)
    • จริงๆ แล้ว ชุมชน โรงเรียน และครอบครัว น่าจะมีนโยบายให้ชัดเจนไปเลยนะครับ ว่าจะสร้างคนอย่างไรด้วย แล้วผลักดันให้เกิดในระดับสูงขึ้น อยู่บนพื้นฐานของความชำนาญของชุมชน หรือรากเหง้านั่นเอง
    • ผมได้ข่าวว่าจะมีงาน เปิดถนนคนเรียน ขึ้นในเมืองไทย ทุกๆ ภาค ทั้งสี่ภาค ดูแล้วน่าสนใจดีครับ
    • น่าจะมีพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก หลังจากเสร็จงานนี้ โดยทำให้ทั่วประเทศไปเลย เก็บไว้ที่ตามจังหวัดต่างๆ เด็กจะได้เข้าไปแล้ว มีกิจกรรมและเรียนรู้ พ่อแม่พาเด็กไปศึกษาเรียนรู้กัน เหมือนสวนเด็กเล่นนะครับ
    • แต่คนไทยไม่ค่อยเข้าพิพิธภัณฑ์ หากทำพิพิธภัณฑ์ การเรียนรู้แล้วประชาสัมพันธ์ให้ดีนะครับ น่าจะช่วยได้เยอะครับ
    • ผมไม่รู้ว่าทำไมเยอรมัน คนถึงพาเด็กเข้าพิพิธภัณฑ์กันว่าเล่น ในเชิงการเรียนรู้ เด็กได้รู้จักเพื่อน เล่นกันเพื่อน มีของเล่นในศูนย์ น่าประทับใจมากๆ ครับ ผมเคยไป คนแน่นเลยครับ แต่สถานที่ใหญ่ครับ
    • บ้านเราคนรวยสร้างห้าง น่าจะหันมาสร้างแหล่งชุมชนการเรียนรู้ดูมั่ง น่าจะได้บุญมากขึ้น
    • จะรวยกันไปหาอะไรถึงไหน เนอะ คุณว่าไหมครับ
    • อิๆๆ ขอบคุณมาก นะครับผม
    P

    สวัสดีค่ะน้องเม้ง 

    • พี่แอมป์ว่าจะพักซะหน่อย  ถามน่าตอบอีกแล้ว   (อย่าเอา อ.อ่าง  ออกเชียวนา)

    สวัสดีครับพี่แอมป์ เชื่อไหมครับ ว่ามุกพี่ เรื่อง อ.อ่าง ผมคิดอยู่นานนะครับ ทำให้ผมนึกถึงหัวข้อผมแบบไม่มี อ.อ่างครับ คือ

    อยากมีครูดี --->  ยากมีครูดี เก่ง ถ่ายทอดเป็น

    ห้าๆๆๆๆๆ....... เพื่อคิดออกว่า ถามน่าตอบอีกแล้ว ห้าๆๆๆๆๆ

    ขอบคุณมากครับ

    Evening man เช่นกันค่ะ ต้าอ่านข้อความแรกของพี่แอมป์ ก็อึ้งพักนึงแล้วจึงอ๋อ...ขำๆค่ะ ต้าดื่มน้ำชาไม่ได้ (กลัวท้องผูก)ขอน้ำเต้าหู้ร้อนที่ 1 น่ะ***บล็อกพี่เม้งน่า ต..อ..บ จริงด้วย***เด็กนักเรียนที่ต้าสัมผัสมาส่วนใหญ่ เป็นพวกขาดโอกาส เป็นนร.ที่เหลือจากป.6 หมายถึง คนเก่งๆเข้าเมืองหมดแล้ว เหลือคนไม่เคยเก่ง หรือเก่งไม่มาก หรือสอบตกจากในเมืองกลับต่อที่เดิม(ไม่มีที่ไป)และอีกกลุ่มหนึ่งคือ พวกที่ขี้เกียจกรีดยาง(มาเรียนไม่ต้องทำงาน)แถมยังได้นอนแอ้งแม้งในบางวิชาหรือหลบไปนอนหลังห้องน้ำ พอถึงเวลาทานเข้าเที่ยงจะโผล่มาเป็นแถว...เป็นที่เอือมระอาของบรรดาครูบางกลุ่มเป็นอย่างยิ่งๆๆยวดเลยค่ะ จากที่เกริ่นมา ก็อาจสรุปได้ว่า ใน 1 ห้อง ถ้านร.30คนต้าจะเจอคนเก่งไม่เกิน 5 คน นอกนั้นอ่อนทั้งหมด***แล้ว 5 คนที่ว่าเก่งนี้จะ=พอใช้ของโรงเรียนในเมืองหรือมัธยมทั่วไปอ่ะค่ะ หมายความว่า สมัยที่เขาอยู่ป.6 ไม่ว่าจากร.ร.เดิมหรือมาจากที่อื่น 5 คนนี้คือพวกที่อ่อนในตอนนั้น แต่ทำไมพอจุดนี้เขากลายเป็นคนเก่งของห้องได้...แล้วที่เหลือล่ะ พี่เม้งนึกภาพเป็นยังไงคะ..ต้าบอกให้มีทั้งตัวแสบ เด็กมีปัญหา ร้ายสุดสำหรับต้าคือ เขายังเขียนชื่อตัวเองผิดอยู่ทั้งๆที่อยู่ม.1แล้ว...อย่าว่าแต่ ก -ฮ เลย a-z ต้าให้เริ่มจาก 0 ใหม่เลย สอนสนุกมากกกกและก็เหนื่อย เหนื่อยสุดๆ แต่สำหรับครูท่านอื่นอาจสบายก็ได้ เพราะคิดว่า อย่าอะไรมากเลยกับเด็กพวกนี้...สอนไปมันก็ไม่รับแล้ว...ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่จริงเสมอไปเพราะต้าพิสูจน็มาแล้วว่าเด็กตัวแสบพวกนี้มีศักยภาพด้านอื่น ๆ อีกเยอะ สรุปได้ตอนที่เขาอยู่ม.3 ถ้าเจอครูดีชีวิตและการเรียนพวกเขาจะพัฒนาแต่ถ้าโชคร้ายเจอครูที่ไม่ยอมรับตัวตนของเขา คุณไม่มีวันได้เห็นคุณภาพของเด็กไทยอีกนาน...ใช่...พวกเขาต้องการแค่จิตวิทยาดีๆ ความเป็นกันเองและให้โอกาสเขาบ้าง(ในฐานะเด็กร.ร.ขยายโอกาส)...ที่สำคัญอย่าใช้แผนการสอนที่เลอเลิศกับเขาเลยค่ะ ความเป็นจริงและการประยุกต์ใช้แบบง่ายๆ เท่านั้นที่เหมาะสำหรับเด็กเหล่านี้ แล้วค่อยเล่าต่อนะพีเม้ง เดี๋ยวเครียดเหล่า...ขอบคุณนะคะ

     P   สวัสดีค่ะ น้องเม้ง  

                 คิดออกแล้วเหรอคะ... เก่งจัง   : )   เวลาพิมพ์คำว่า  "ตอบ"  พี่แอมป์ต้องเช็คแล้วเช็คอีก    กลัวจะพลาดลืมตัว  " อ. " 
                 เพราะมัน อันตะรออายอ มาก  .... อิอิ

    ปล.ชื่อเรื่องบันทึกเม้ง  ในความเป็นจริงก็ไม่มีตัว อ.  เพราะเป็นเรื่องยากอยู่  แต่รู้ว่ายาก แล้วช่วยกันทำให้ดีที่สุด   น่าจะดีกว่าไม่ลงมือทำอะไรเลยเนอะ   : ) 

                 ขอบคุณมากจ๊ะ  .....(พี่ก็เริ่มติดนิสัยดีๆของเม้งมาหน่อยๆแฮะ   มีขอบคุณต่อท้ายด้วยละ  อิอิ)

     

     ขออนุญาต น้องเม้ง หนึ่งทีนะคะ  : )

    P
     สวัสดีจ๊ะต้า

             สบายดีเหรอจ๊ะ ดีใจจังที่ต้าเล่าเรื่อง " เด็กธรรมดา"  ให้ฟัง  ต้าเล่าได้ตรงเป๊ะ   ชัดเจน เห็นภาพ ทำให้พี่แอมป์นึกถึงอดีตอันรุ่งเรือง สมัยที่เคยสอนภาษาไทยเด็กผู้ชายล้วนๆอยู่สองปี    สอนม.ต้นนะคะ  กำลังวัยรุ่นเลย
             ม.1   น่ารัก  งอแงนิดหน่อย  และกำลังงงๆ เพราะเพิ่งมาจาก ป.6 กึ่งเล็กกึ่งโต  บางทีต้องไล่ตะครุบเพราะเธอวิ่งไล่จับกันอึงคะนึง  พี่บอกว่าครูจะสอนแล้ว มานั่งที่ก่อนลูก  เธอก็ตะโกนว่า (เสียงในฟิล์ม)

            "ไอ้โอมันล้อชื่อพ่อผม ผมจะไปชกมันก่อน  เดี๋ยวผมกับมาเลียนคับคู"        ......   แล้วก็วิ่งจู๊ดไป......

               น่าน ..... สุดยอด   !....

               ม.2  น่าเอ็นดู + น่ารัก + กำลังพูดรู้เรื่อง  คงเป็นเพราะหาย งง แล้ว   บอกอะไรก็ทำ ถามอะไรก็ตอบ  สั่งซ้ายหันขวาหันได้ตามใจชอบ  คือพี่ก็ว่าไปเรื่อยอะนะ   : ) 
               ถ้าถามใจพี่พี่ว่าน้อง  ม.1  ม.2  สอนง่ายกว่าพี่ ม.3 เยอะ  เพราะเด็ก ม.3 กำลังเข้าวัยรุ่นเต็มที่  เริ่มจะมีหนวด  เสียงก็เริ่มแตก  ช่วงนี้แหละที่ครูต้องเข้าใจจิตวิทยาวัยรุ่นอย่างลึกซึ้ง  ของพี่ไม่เคยเรียนครู  ก็อาศัยดูครูผู้ใหญ่ที่อยู่มาก่อนว่าท่านทำอย่างไร  แต่ก็ยังพลาด  
              วันหนึ่งพี่ขอให้เด็กอ่านกลอนอะไรสักอย่างมาล่วงหน้าและบอกว่าจะถามในห้อง  พอถึงเวลาเรียน เด็กๆก็เชียร์ให้เพื่อนคนหนึ่งอ่านออกเสียงดังๆ   พี่ไม่ได้เฉลียวใจเลย (ไม่รู้เท่าทันการสื่อสารของเด็ก : )  ) พี่ก็เรียกให้เขายืนขึ้นอ่านกลอน  เขาก็ไม่ยอมลุกขึ้น
              ปกติเด็กคนนี้เป็นเด็กที่เชื่อฟังพี่แอมป์มาก  เขาจะคอยกุลีกุจอช่วยยกนั่นหยิบนี่  เป็นห่วงเป็นใยครู  และเป็นเด็กมีน้ำใจมากด้วย   พี่ก็บอกเขาดีๆว่าอ่านให้ครูฟังนิดนึงไม่ได้เหรอคะ ครูอยากฟังจังเลย ครูรอฟังตั้งคืนนึงแน่ะ..... 
              คืองี้นะคะ  พี่รู้สึกว่าพี่กำลังเอาความรักเป็นตัวประกัน  นี่เป็นบทเรียนครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของพี่แอมป์
              เขาลุกขึ้นยืนอ่านด้วยเสียงแตกพร่าไม่เป็นคำ  แบบเด็กวัยรุ่นเสียงแตก  อาจฟังดูน่าหัวเราะเป็นที่สุด  แต่เขาก็ยังพยายามฝืนอ่านอย่างเร็วจนจบกลอนบทนั้น  เห็นหน้าเขาพี่แอมป์ก็รู้ว่าเขาตั้งใจอ่านให้เราฟังจริงๆ  ....... แม้จะต้องฝืนใจตัวเองอย่างที่สุด 
          
        ........ท่ามกลางเสียงหัวเราะโห่ฮาดังสนั่นหวั่นไหวของเพื่อนๆในห้อง .........    ในขณะที่พี่ยืนตะลึงอยู่หน้าชั้น  ......
                พี่แอมป์ยืนหน้านิ่ง  สั่งให้ทุกคนเงียบ  แล้วเดินเข้าไปหาเขา  และบอกเขาว่า ขอบคุณมากนะคะ นี่เป็นกลอนที่เพราะที่สุดในชีวิตครูเลย 
                แว่บหนึ่ง  ถ้าพี่ไม่ได้ตาฝาด พี่เห็นเงาน้ำตาในตาเขา ตอนเขาก้มหน้านั่งลง  พี่ก็หันหน้าไปทางอื่น  โชคดีที่เขานั่งหลังสุดของห้อง  พี่ก็หวังว่าเด็กคนอื่นจะไม่แว่บเห็นน้ำตาของพี่ด้วย  

                 การถูกทำให้เป็นที่อับอายต่อหน้าธารกำนัลนั้น  เป็นความใจร้ายอย่างที่สุด  พี่นึกถึงหัวใจของเขาแล้วพี่ก็เสียใจเหลือเกิน  วันต่อมาพี่จึงเดินเข้าไปหาเขา  ขอโทษเขา  และคุยกับเขาอย่างที่คนธรรมดาคุยกัน...เวลาที่รู้สึกเสียใจ ......                

                  นับจากวันนั้นเป็นต้นมา...  พี่แอมป์ก็มีเพื่อนซี้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน   ดีใจชะมัด   : )

    ปล. เรื่องข้างต้นนี้เล่าออกอากาศได้เพราะเจ้าตัวเขาอนุญาตมานานแล้วอะค่ะ   : )  

    น้องเม้งคะ
               สงสัยพี่แอมป์ต้องขออนุญาตอีกหนึ่งที      เป็นอะไรก็ไม่รู้     เข้าบล็อกเม้งทีไรต้องโพสต์ต่อกันยาวๆทุกทีอะ  เขาว่าคนอายุมากขี้บ่นนี่สงสัยจะจริง   อิอิ

    P

    น้องต้าจ๊ะ
              ต่ออีกนิดนะจ๊ะ  เรื่องที่ต้าเล่ามา คือเรื่องสำคัญที่สุด  และปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่พูดถึงไม่ได้เป็นอันขาด
              เพราะนี่เป็นความจริงเกิดขึ้นในระบบ  พี่แอมป์หมายถึงการศึกษา "ในระบบ" ที่เป็นอยู่โดยสภาพจริงในปัจจุบันนะคะ 
              หากเราเชื่อตรงกันว่า  "การศึกษาในระบบ" ทำให้คนหลุดไปจากโอกาสที่จะได้พัฒนาตนให้เต็มตามศักยภาพ  ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล 
               โดยผลข้างเคียง ของกระบวนการในระบบ  ที่พี่เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับลูกหลานของตน   แบบที่เม้งเล่าให้ฟังในบันทึก "เด็กสองแสนคนหายไปไหน"
               พี่แอมป์ไม่ๆได้โทษระบบนะคะ ระบบมีส่วนดีอยู่มาก พี่แอมป์เข้าใจ.....แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องยอมจำนนให้เป็นไปตามผลข้างเคียงอย่างนั้นตลอดชีพ    แล้วก็มองเห็นด้วยว่าผู้เกี่ยวข้องทุกท่านก็ได้เพียรพยายามแก้ไข  ปรับใหม่ ให้ดีที่สุดตามยุคนั้นๆอยู่เสมอ  เพียงแต่มันไม่ได้ทันใจเรา  และบางอย่างเรายังคิดว่าไม่ใช่  
               ก็เลยต้องช่วยกันวิพากษ์ๆๆๆๆ(พูด)  จนได้แนวคิด   และ กลับไปลงมือ(ทำ) ไปปรับแก้กันอย่างดีที่สุด   ตามหน้าที่รับผิดชอบของเราๆท่านๆต่อไป 
               ถ้าพี่แอมป์มองอะไรพลาดไป ได้โปรดท้วงติงด้วยนะคะ     พี่แอมป์คิดว่าระบบที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ให้คุณค่ากับความเหมือน   ยังคงต้องการความเหมือน  จัดความเหมือนนั้นเป็นชุดๆ 
               คือเน้นที่ทำคนให้เป็น"นัก"  ลืมฟักคนให้เป็น "คน"  ก่อน (ทั้งที่นี่คือหัวใจของการศึกษา  ทำคนให้เป็นคน  และพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์)
              ระบบจะคัดพวกที่จัดเข้าพวกไม่ได้ทิ้งไป   เช่นแบ่งเป็นถนัดวิทย์  ถนัดศิลป์ ถนัดอาชีพเฉพาะทาง  ฯลฯ  คือสร้างค่านิยมความเหมือนให้ติดไปอย่างลึกซึ้ง  ใครไม่เข้าพวกจะถูกปฏิเสธอย่างแข็งกร้าว.... 
               ใครจะปฏิเสธ ว่าในความเหมือนไม่มีความต่าง  แต่การเอื้อให้เกิดความแตกต่างนั้น  มันไม่หลากหลาย    แบบว่ามันต่างอย่างจำกัดจำเขี่ยเต็มที....
               เรื่องเศร้าของระบบก็คือ ใครไม่เข้าพวก  ต้องถูกคัดทิ้งไป    ดูเป็นกลไกวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนดี
               เรื่องน่ากลัวที่สุดของคน  ก็คือ  หาก คน  ที่เป็น  ครู คิดเช่นนี้  และปฏิบัติตามเช่นที่ระบบว่ามานี้  โดยเชื่อสนิทตามนี้ด้วย  พวกเศษ ที่ไม่เข้าพวก ก็จะถูกปัดทิ้ง  รอวันออกไปอยู่กับแก็งค์แมงกะไชค์   หรือ  ออกไปทำอะไรแบบที่เรานึกไม่ถึงได้อีกมากมาย   โอ...ถ้าหนึ่งในนั้นเป็นลูก หรือเป็นหลานของเราเล่า .... นึกแล้วไม่กล้าแต่งงานไปเลยเนี่ย
               ไม่แปลกเลยที่ครู(จำนวนหนึ่งนะคะ  ไม่ได้เหมารวม)  จะไม่ชอบเด็กที่เรียน(วิชาที่ตัวสอน)ไม่เก่ง    นี่เป็นจิตวิทยาของ "ความเหมือน" อีกเหมือนกัน  ....
    ชอบเหมือนครู เก่งเหมือนครู  ซัมติงไลค์แด็ท.....   
                การศึกษานี่สุดยอดจริงๆ  ระบบได้จัดโปรแกรมมาให้เรา(บางคนและบางที)      วิ่งหาความเหมือน  เบือนหนีความต่าง  สร้างเพื่อให้แยก  ตีให้แตกเราจะได้ยึด ....   โทษทีนะคะ  ถ้ามองให้ลึกซึ้ง มันน่ากลัวชะมัด  ท่านพุทธทาสจึงได้กล่าวไว้ ตรงและแรง  ออกอย่างนั้น 
                  และที่น้องต้าเล่า....มาชัดเจนเหลือเกินค่ะ  และต้าก็มองเห็นทางออกด้วย  เป็นโชคดีที่สุดของเด็กๆเลยละ

               " เด็กตัวแสบพวกนี้มีศักยภาพด้านอื่น ๆ อีกเยอะ "
                แปลว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ (คือความสามารถที่จะพัฒนาได้สูงสุด)  และมนุษย์ทุกมีความแตกต่างเฉพาะตัว  ไม่มีใครเหมือนใครได้  และมนุษย์ที่เรียกว่า เด็กแสบ  ก็มีศักยภาพเฉพาะของเขา
               ถามว่า ใคร ต้องหาให้เจอ 
               ถ้าเราเชื่อตรงกันว่าพ่อแม่  คือผู้นำเสนอ"ลูก"แก่โลกนี้   และ "นำเสนอโลก" แก่ลูก
               พ่อแม่  คือมนุษย์ชุดแรก  ที่ต้องหาศักยภาพของลูกให้เจอ  เจอในแบบที่ลูกเป็น  ไม่ใช่เจอในแบบที่พ่อแม่อยากให้เป็น
               ครู คือมนุษย์ชุดที่สอง  ที่คงต้องทำงานหนักกว่ามนุษย์ชุดแรก  เพราะเป็นอาชีพ(คือรับเงินเขามาและสัญญาว่าจะทำงานนี้)  และเป็นวิชาชีพ (คือเชี่ยวชาญเฉพาะ  เป็นคุณสมบัติภาคบังคับ)  ถ้าคนที่ เชี่ยวชาญ  ไม่ทำ  แล้วใครจะทำ  จะทิ้งภาระให้คนไม่เชี่ยวชาญมะงุมมะงาหราทำไปหรือ ? 
                และสุดท้าย  คือ ตัวของเด็กเอง 
    เขาต้องเพียรพยายามเรียนรู้ที่จะหาตัวเองให้เจอ  หาศักยภาพของตัวเองให้เจอ  หาความถนัดของตัวเองให้เจอ หา"หัวใจ"ของตัวเองให้เจอ  โดยไม่ต้องเสียเวลากล่าวโทษใคร 
               ในโลก(ที่บางครั้งก็ออกจะโหดร้าย)ใบนี้  เด็กต้อง รู้จักที่จะเรียนรู้  รู้จักที่จะเข้มแข็ง  รู้จักที่จะสู้  (และรู้จักถอยให้เป็น  เผ่นให้พ้น ในบางสถานการณ์ด้วย  : )  )
               เรา(ระบบ  ซึ่งมีครูเป็นส่วนหนึ่งของระบบ)พรากเด็กมาจากครอบครัว  เอาเขามาขังไว้ในรั้วโรงเรียน  สอน "วิชาความรู้" ให้แก่เขา  แต่พอเขาออกไปอยู่โลกข้างนอกนั่น  สิ่งที่เขาต้องใช้จริงๆ  คือวิชาชีวิต  และวิชาชีวิตก็ไม่ใช่ "วิชาสำเร็จรูป"  และไม่มีวันจะเป็นวิชาสำเร็จรูปไปได้เลย
       
               พี่แอมป์จะไม่พูดถึง ระบบ นะคะ  น้องเม้งจ๊ะ พี่ว่าวิธีที่ง่ายที่สุดในโลก สำหรับใครก็ตาม คือไต่บันไดการเมือง  พยายามเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเอ่อ.... ที่ว่า....  แล้วสั่งโครม  เซ็นแกร๊กเดียว  รับรองเปลี่ยนได้ทั้งระบบ   แบบที่ครูเจอมาแล้วทุกยุค  และรับทุกข์ต่อกันมาทุกสมัย ... เฮ่อ....ว่าจะไม่บ่นเรื่องนี้แล้วเชียว       : (      

              เข้าเรื่องที่ต้าเล่าดีกว่า  ถามต่อว่า ครู น่าจะหาทางออกอย่างไร  (คือพี่ก็พยายามถามตัวเองและตอบตัวเอง)
              พี่อยากเล่าแบบที่พี่พยายามล้มลุกคลุกคลานทำอยู่จังนะคะ  ขอเล่านิดนึงเถอะ   พี่รู้ว่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงไม่ได้  พี่เข้าใจ .....   พี่เลยเอามอดเอาปลวกไปปล่อยไว้แถวนั้น : )
               ถ้ายังแก้ระบบไม่ได้  เราเก๊าะต้องแก้ที่วิธีคิดคน  คนชุดที่ใกล้ตัวเราที่สุดคือ เด็ก 
              ถามว่าจะต้องทำอย่างไร  ตอบว่า ถ้าจะให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างดี  เราก็ต้องฝึกให้เขารู้เท่าทัน ไม่ใช่แค่รู้นะคะ  แต่ต้องรู้เท่าทันด้วย ถ้าฝึกอย่างนี้ได้   โครงสร้างของความรู้และการหาความรู้จะเปลี่ยนแปลงขนานใหญ๋  โครงสร้างการผลิตครู ก็จะเปลี่ยน  ระบบย่อยก็จะเปลี่ยน ระบบใหญ่ก็จะเปลี่ยน (อันนี้คิดแบบเส้นตรงนะคะ)  
              คือว่าคนเราลงรู้เท่าทันเสียแล้ว  ก็จะฉลาดไปเอง  และพัฒนาไปเรื่อยๆได้เองตามประสบการณ์และปริบทชีวิต 
               พี่คงเล่าภาคปฏิบัตการการสอนทั้งหมดในที่นี้ไม่ได้นะจ๊ะ  เกรงใจน้องเม้งจะแย่อยู่แล้ว  ขนาดเกรงใจนะเนี่ย  
               พี่แอมป์สอนเด็กโตนะจ๊ะ  เด็กอุดมศึกษาชั้นสอง ส่วนมากเป็นฐานรากกากมะพร้าว  และเศษพวมพร้าว อิอิ  เป็นแบบงงๆกับชีวิต ไม่มีทิศ  ไม่เห็นเป้าหมาย  เข้ามาเรียนอะไรยังไม่แน่ชัด จบออกไปเป็นอะไรยังไม่แน่ใจ .. เอ.... วันนี้เรียนวิชาไรมั่งหว่า  ..ha..!.   คือเจตคติในวิชาการและวิชาชีพ แทบจะเป็นศูนย์
              พี่เห็นสภาพจริง ตามที่เป็นจริงๆ  พี่ขอบคุณทุกทฤษฎีและผู้รู้ทุกท่าน  หลังจากไหว้ครูเสร็จแล้ว (คือขออภัยครูว่าหนูจะว่าไปตามสภาพจริงของหนูละนะคะ)   แล้วพี่ก็เริ่มลงมือทำตามสภาพจริง 
             พี่แอมป์ฝึกนิสัย ฝึกการทำงาน ฝึกทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร(อันหลังสุดนี่มั่วๆตั้งชื่อเอาเองไปก่อน)พร้อมๆกันไปแบบบูรณาการ (คือว่าให้มันเท่ไปงั้นนะ)   ว่าไปทีละคน ลุยไปทีละกลุ่ม  ทำไปละวัน  เดี๋ยวก็ครบ 365 วันไปเอง  ฝึกไปเลย  ไม่ต้องเกรงใจใคร  เธอหลุดมาถึงมือเราแว้ว...อิอิ 
             ที่ว่าฝึกนี่คือฝึกเนียนๆนะจ๊ะ  ฝึกอย่างอดทน ตั้งใจ  รู้จักจังหวะ  และรู้จักรอ  อย่าเล็งผลเลิศว่าจะสมบูรณ์แบบทั้งร้อย   แต่อย่าทิ้งใครให้เป็นเศษแม้แต่หนึ่งเดียวเป็นอันขาด  เพราะหนึ่งเดียวนั้นก็คือคน  คนเหมือนเราเปี๊ยบ
                พี่ก็เล่าวิธีฝึกไม่ค่อยถูกละ   ตานี้พี่ลิ้งก์ให้ลองอ่านดูเล่นๆเลยดีกว่า  และสิ่งที่พี่ทำทั้งหมดนี้ เป็นงานพื้นฐานธรรมดา  ไม่ใช่โมเดลที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่   แต่เป็นอะไรที่แบบว่า บ้านๆ  เห็นๆกันอยู่ทุกวัน  ใครๆก็ทำกันมาอยู่แล้วทุกวัน และ
               
    1. ครูทุกคนรู้และเข้าใจดีอยู่แล้ว  เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น  
                 2. ครูทุกคน ทำเป็นปกติอยู่ในชีวิตการเป็นครูอยู่แล้ว เพียงแต่ท่านไม่ได้มาเขียนเล่าออนไลน์  และนั่นก็ไม่ใช่ประเด็น 
                 เรื่องสำคัญคือ  ต้องให้ความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่    และต้องลงมือทำอย่างจริงจัง  และครูจะสิ้นหวังกับระบบการศึกษาไทยไม่ได้เป็นอันขาด  

                 คิดไปคิดมา บางที  สิ่งที่ต้องปรับ คือเจตคติของครูด้วย  คงต้องช่วยๆกันให้กำลังใจเพื่อนครูทุกคนนะคะ      : )
                                      

                                    สอนเขาที่ใจ

                                         ฝึกให้คิด

                   ขออนุญาตอีกเรื่องนึงนะคะ  สำหรับเรื่องฝึกให้คิด เป็นการสะท้อนประสบการณ์ของเด็กๆ  เขาอาจเขียนถึงครูในทางบวก เพราะขณะนั้นยังไม่ถึงวันประเมินผล : ) 
                  การนำลิ้งก์มาเชื่อมในความคิดเห็นนี้ มิใช่เพื่อแสดงอัตตาของตน  แต่เป็นการบอกเล่าว่าครูบ้านนอกธรรมดาหนึ่งคน ได้พยายามล้มลุกคลุกคลานทำอะไรไปบ้าง  
                 และยังรับรองผลอะไรไม่ได้จนกว่าอีกสิบปีผ่านไป  หากเด็กๆเหล่านี้ระลึกได้  และจะกรุณากลับมาบอกให้ครูชื่นใจอีกครั้งว่าที่ฝึกกันไปจนหัวฟูนั้นเธอได้อะไรติดไปใช้ในชีวิตจริงบ้าง
               
    ส่วนตอนนี้....  พี่แอมป์ได้แต่ก็รอ......  และรอต่อไปอะค่ะ....  : )

     P ที่สุดของสุดท้ายนี้ น้องเม้งจ๋าพี่ขออีกที   ถ้าพูดไม่ครบพี่แอมป์นอนไม่หลับอะค่ะ   หลังจากนี้เป็นต้นไป   พี่แอมป์จะไม่มากวนใจอีกนาน        อิอิ  : )

     

         

                จากทั้งหมดที่พยายามกล่าวมาข้างต้น  แม้ว่า   การฝึกทักษะรู้เท่าทันการสื่อสาร อาจเป็นสิ่งจำเป็น  แต่   การฝึกคนให้มีจิตใจที่ดีงามโดยเนื้อแท้ เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด 
               คนที่มีจิตใจดีงามนั้น  จะใช้ทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร  ให้เกิดคุณทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นด้วย 
               งานของครู คือ การทำงานส่งไม้ต่อมือกันไปเพื่อฝึก เพื่อสร้างคน  ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในตัวศิษย์ มิได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว
                แต่เป็นผลสืบเนื่องจากการส่งไม้ต่อมือกันของครู
                และเมื่อคนหนึ่งคน...สามารถเป็นคนดีโดยเนื้อแท้ได้นั้น     .....ครูทุกคน ก็จะเป็นเพียงคนๆหนึ่งในเส้นทางของการสร้างคนดี..........
               แม้ครูจะมิใช่ ”ผู้เป็นที่หนึ่ง” เหนือผู้ที่เป็นคนดีเหล่านั้น 
              ....แต่ความน่าชื่นใจก็อยู่ที่ว่า ”ครู” ได้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างคนดี ด้วยเช่นกัน.....

                                            --------------

     

     ขอบคุณน้องต้ามากนะจ๊ะ ที่มาเล่าประสบการณ์จริงของแท้ให้ฟัง  ต้าสามารถเล่าเรื่องใหญ่ที่สุดของระบบการศึกษาไทย   อย่างย่อให้เหลือเพียง 15 บรรทัด พร้อมเสนอทางออกอย่างเป็นรูปธรรม  น่าประทับใจที่สุด    ส่วนพี่ก็บ่นพร่ำเพ้อยืดยาว วกวนไปกว่า 50  บรรทัด  ใกล้เคียงกับอายุ   : )

    และขอบคุณ  น้องเม้ง มากเหลือเกินนะคะ ที่ให้โอกาสพี่แอมป์บ่นยาว ว..ว...ๆๆ โดยไม่บ่นว่าใดๆ  แถมยังเปิดประเด็นใหม่ให้อยากบ่นทุกวัน  อิอิ  ที่จริงเขาเรียกว่า  สะท้อนความคิด  สะกิดความเห็น  มังคะ  คงเหมือนที่อาจารย์หมอ Phoenix บอกไว้  ต้องช่วยๆกันพูดช่วยๆกันคุย  และคุยกันบ่อยๆ   อย่าง สุนทรียสนทนา : ) อย่างที่ทุกๆท่านช่วยกันทำอยู่นี้   พี่รู้สึกดีชะมัด   

    คุยเสร็จแล้วเปิดเทอมนี้พี่ไปทำต่อเลย  ได้ผลอย่างไรแล้วพี่จะมาเล่าสู่กันฟัง 
    ขอบคุณ น้องเม้ง มากๆอีกทีนะคะ    : ) 

      

    P

    สวัสดีครับน้องต้า

    • มาบริการน้ำเต้าหู้ร้อนครับ รับไรเพิ่มอีกไหมครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่สะท้อนออกมาได้ดีมากๆ เลยครับ ของจริงๆ แท้ๆ เลยครับ
    • พี่แอมป์ช่วยขยายความให้ดีมากๆ ด้วยครับ
    • เข้ามาเล่าไว้อีกนะครับผม จะได้เข้าใจร่วมกัน แลกเปลี่ยนกัน เพราะพี่เองไม่เคยสอน แค่เคยเรียนและนึกถึงสมัยเรียนและสังเกตการสองของครูเท่านั้นครับ
    • ขอบคุณมากนะครับ เข้ามาตอบต่อ อีกนะครับ
    P

    สวัสดีครับพี่สาวที่น่ารัก

    • ขอบคุณพี่แอมป์มากๆ นะครับ ที่มาทำให้บทความนี้สวยงามอีกแล้วครับ พร้อมแนวคิดดีๆ จากที่น้องต้าช่วยจุดประเด็นและพี่แอมป์ ได้เริ่มเจิมหัวบทความไว้ตั้งแต่แรกครับ เหมือนกับบทความก่อน ในเรื่องบทความประทับนะครับที่พี่มาต่อให้สวยงามยิ้มพริ้มกันตามๆ กันครับ
    • ดีใจครับที่มีคนอย่างพี่ให้ความสนใจเรื่องนี้จริงๆ และท่านๆ อื่นๆ ในที่นี้ และที่ไม่ได้เข้ามาครับ
    • พี่เข้ามาช่วยกระตุกกันต่อนะครับ ผมจะได้รับทราบประการณ์กันบ้างครับ
    • P
      ดอกไม้ทะเล
      เมื่อ พฤ. 24 พฤษภาคม 2550 @ 12:17 จาก 203.156.118.107

       P ที่สุดของสุดท้ายนี้ น้องเม้งจ๋าพี่ขออีกที   ถ้าพูดไม่ครบพี่แอมป์นอนไม่หลับอะค่ะ   หลังจากนี้เป็นต้นไป   พี่แอมป์จะไม่มากวนใจอีกนาน        อิอิ  : )

    • อิๆ อย่าเพิ่งหนีกันไปครับ ฝากบทความ ตะกอนไว้ด้วยนะครับ.....

    • ขอบคุณพี่มากๆ เลยครับ ผมเชื่อว่ามีเป็นร้อยตะกอนเลยในบทความเห็นของพี่นะครับ

    • จะรอฟังและอ่านประสบการณ์ดีๆ อีกตลอดไปนะครับ (ผมชอบการอ่านให้เกิดเสียงนะครับ หมายถึงมันจะมีเสียงออกมาจากตัวอักษรที่อ่านนะครับ ประมาณว่าประโยคมันพูดได้นะครับ) ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีวันใหม่จ๊ะ พี่เม้ง + พี่แอมป์คนเก่ง ต้ามีข้อเสีย ในการเขียนคืดเรื่อง อรัมภบท ไม่ค่อยคำนึงถึงมารยาทตรงนี้เลย เท่ากับว่า เวลาเขียนอะไร ไม่ค่อยจะมี script อยากชกก็พุ่งหมัดไปเลย ถูก ผิด บางทีก็ ต้องมาเสียใจภายหลัง ดังนั้น ต้าจะไม่ค่อยพูดมาก กลัวพลาด แต่จะเป็นประเภทถกเถียงในใจคนเดียว (ต้องหาจิตแพทย์ไหมแบบนี้) เข้าเรื่องนะ สิ่งที่ท้าทายอีกเรื่องในสามจังหวัดนี้ คือ ภาษา จากที่เป็นคนที่นี่ พอจะสรุปได้ว่า นักเรียนบ้าน ๆ แถวนี้จะสามารถตีความภาษาไทย (หรือสามารถพูดภาษาไทยในการสื่อสารได้จริงๆ ก็ ตอนอยู่ม.4)หรือจบปริญญาตรีไปแล้ว (คุณครูประถมอย่าซีเรียสเลยค่ะ การที่เด็ก ป.1-3 พูดภ.ไทยได้ คนทั้งหมู่บ้านฉงน สนเท่ห์ และ ทึ่งเด็กคนนั้นมาก) ถึงยังไม่มีการวิจัยแตjเชื่อถือได้จริงๆ (ควรมีวิจารณญาณในการอ่านไหม...)แต่เป็นส่วนใหญ่ ต้าสังเกตมานานแล้วเพราะ 1.หลายสมัยมาแล้วที่มีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้าทำงาน หรือสอบคัดเลือกอะไรก็ตาม คนใน 3 จังหวัดนี้สอบไม่ค่อยได้ ตรงข้ามคนจากภาคอื่นๆที่ลงมาสอบ ผ่านกันจัง นั่นไม่ได้วัดว่า คนแถวนี้ไม่เก่ง หรือ...เติมเองนะ ***จากสัมผัสมา พวกเขา ตีบทอ่านไม่แตก เขาไม่เข้าใจคำถาม (วิชาที่สอบส่วนใหญ่ก็ใช้คำถามภาษาไทยทั้งนั้น)สำหรับคนที่นี่ ภาษาไทย ยากกว่า ภาษาอาหรับ และภาษาที่ง่ายสุดๆ ก็ คืออังกฤษ ต้ากำลังกล่าวถึงคนไทยที่เป็นมุสลิมนะ คนที่เป็นพุทธ คงไม่ใช่ปัญหาตรงจุดนี้ คงต้องย้อนไปที่คะแนน NT ค่ะ จังหวัดที่ยอดแย่วิชาภาษาไทย คือ ตรงไหนบ้าง วิชาไทยตก วิชาสังคม วิทย์ จะเหลือรึ? ที่เป็นหน้าเป็นตาได้บ้าง ก็คือ ภาษาอังกฤษ จะปีก่อน หรือปีนี้ คะแนนสูงสุดระดับประเทศ ก็คือแถวๆนี้...เพราฉะนั้น เวทีนี้ ตรงนี้ เป็นเรื่องท้าทายสำหรับคุณครูสุดๆ ****ครูที่นี่ต้องเก่งอย่างน้อย 3 ภาษาแน่นอน ****ต้าเคยได้ยินครูภาษาไทยบ่นว่า อยากให้ครูที่อยู่กรุงเทพฯลงมาสอน หรือคุณๆนักวิชาการทั้งหลายแหล่ ลองมาสอนที่นี่สักตั้ง บ้างจัง ...เป็นการบ่นแบบ น้อยอกน้อยใจประมาณนั้น อย่าถือสาเลยนะคะ...ขอบคุณที่ให้มาร่วมแจม และขออภัยในความที่ไม่เหมาะสม...ขอบคุณค่ะ

    ขออนุญาตน้องเม้งนะคะ

    P

    สวัสดีค่ะ น้องต้า

    น้องต้าจ๋า พี่แอมป์ขอโทษจริงๆ  พอดีไม่ได้แวะมาสองสามวัน  วันนี้มีเวลาอีกหน่อยเลยแวะมาพอดีเจอที่ต้าเขียนเล่าไว้    ขอบคุณมากๆเลยนะจ๊ะ  (สงสัยพี่เม้งก็ตกข่าวเหมือนกัน)

    คราวนี้พี่หมดมุกเลยนะจ๊ะต้า  เพื่อนพี่แอมป์ก็เคยรำพึงให้ฟังสั้นๆว่า เราต้องเข้าใจภาษาให้มากกว่าหนึ่งภาษา   เรื่องที่ต้าเล่า ทำให้พี่ต้อง กลับไปทบทวนอะไรอีกเยอะเลย  ขอบคุณต้ามากจริงๆ  : )

    เรื่องการสื่อสาร สำหรับพี่แอมป์ พี่แอมป์อยากให้ต้าสื่อสารอย่างสบายใจ และสะดวกใจนะจ๊ะ พี่แอมป์ก็สื่อสารอย่างที่เป็นตัวเองเหมือนกัน   คือของแท้ต้องบ่นยาวๆ   อิอิ

     ขอให้น้องต้าเจอเด็กๆน่ารัก ไม่ดื้อ   และพบเพื่อนร่วมงานที่ดีนะคะ   วันนี้วันวิสาขบูชา  ต้าได้ไปเวียนเทียนไหม  ขอให้มีความสุขในวันพระ  พระคุ้มครองนะคะ

     

    P
    P

    สวัสดีครับพี่สาวและน้องสาว

    • แบบว่ารอให้พี่แอมป์มาตอบก่อน อิๆ ให้เกียรติพี่สาวครับ (จริงๆ อ่านแล้วครับ) แต่พี่แอมป์มาช่วยย้ำอีกรอบนึงครับ
    • ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งสองสาว เจอเด็กที่น่ารักและเป็นคุณครูที่น่ารักของเด็กๆ อย่างนี้ ตลอดไปครับ
    • ขอบคุณมากครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท