NHSO-PCN
เครือข่าย Palliative Care สปสช. NHSO-PCN

ใครกันแน่ที่กลัว


ข่าวจะร้ายหรือไม่ร้ายขึ้นอยู่กับความคาดหวังจริงๆ จึงเป็นอุทาหรณ์ว่าใครกันแน่ที่กลัวความจริงญาติหรือผู้ป่วย

พญ.ธัญญพัทธ์  สุนทรานุรักษ์ 

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพิจิตร


บ่ายวันหนึ่ง ออกไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วย Hepatocellular carcinoma

ผู้ป่วยรายนี้เราต้องระมัดระวังในการเยี่ยมบ้านเป็นพิเศษเนื่องจากมีสายตาของญาติผู้หวังดีกับผู้ป่วยคอยจับจ้องอยู่ตลอดเวลาว่าหมอจะพูดอะไรกับคนไข้ เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Hepatocellular carcinoma มาประมาณ 1 เดือน แต่รู้เพียงแต่ญาติเท่านั้น  น้องสาวผู้ป่วยซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศบอกเราว่า ไม่ต้องการให้บอกผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็งเพราะกลัวว่าผู้ป่วยจะใจเสียและทรุดหนักมากขึ้น  ในขณะที่เราใช้หลัก spikes technique ในการแจ้งข่าวร้าย แต่ไม่สำเร็จเพราะญาติผู้ป่วยจะคอยพูดแทรกหรือตอบแทนผู้ป่วยเนื่องด้วยกลัวผู้ป่วยจะรู้ความจริง  

จนวันหนึ่งนั่งตรวจผู้ป่วยที่ PCU ญาติของผู้ป่วยมาเล่าให้ฟังว่าผู้ป่วยร้องไห้  ไม่ยอมพูดกับใครในบ้าน  เราก็เลยบอกให้พาผู้ป่วยมาตรวจที่ PCU (พอดีบ้านผู้ป่วยไม่ไกลจาก PCU มากนัก)

 

แพทย์:  สวัสดีค่ะ  วันนี้เป็นอย่างไรบ้างค่ะ

ผู้ป่วยนิ่งไปนิดหนึ่ง แล้วก็ตอบ

ผู้ป่วย:  ก็เรื่อยๆ เหมือนเดิมหมอ

แพทย์:  เหมือนๆ เดิมนี่หมายความว่าอย่างไรค่ะ  สบายดีหรือเปล่า

ผู้ป่วย:  มันอึดอัดหมอ

แพทย์:  อึดอัดเรื่องอะไรค่ะ

ผู้ป่วย:  มันไม่รู้ทำอย่างไร

แพทย์:  ทำอย่างไรเรื่องอะไรค่ะ

ผู้ป่วย:  ก็เรื่องโรคภัยของผมนี่แหละ ผมไม่รู้จะทำอย่างไร มันก็เลยอึดอัด

แพทย์:  หมอที่โรงพยาบาลบอกพี่ว่าเป็นอะไรนะค่ะ

ผู้ป่วย:  หมอบอกว่าเป็นก้อนที่ตับ

แพทย์:  แล้วพี่เคยได้ยินหรือเคยเห็นใครเป็นก้อนที่ตับมาบ้างหรือเปล่าค่ะ

ผู้ป่วย:  ก็มีเพื่อนๆ เขาก็เป็นโรคตับ  ตอนนี้ก็ตายไปแล้ว

แพทย์:  แล้วพี่คิดว่าก้อนในตับของพี่เป็นอะไร

ผู้ป่วย:  ก็สังเกตตัวเองเหมือนกัน ตั้งแต่ป่วยมาเหมือนเนื้อตัวมันผอมแห้งลงเรื่อยๆ

  ไม่เห็นจะเหมือนอย่างที่น้องบอกว่าจะดีขึ้นเลย  ก็คิดอยู่เหมือนกันว่าจะ

   เป็นเหมือนเพื่อน

แพทย์:  เป็นอะไรค่ะ

ผู้ป่วย:  เพื่อนเขาเป็นมะเร็ง  อาการก็คล้ายๆ กับผมนะ  ผมยังคิดอยู่ว่าผมเป็นมะเร็ง

          หรือเปล่า

แพทย์:  แล้วถ้าสิ่งที่พี่สงสัยมันเป็นจริงพี่จะเป็นอย่างไรบ้าง

ผู้ป่วย:  ผมก็ใช้ชีวิตมาอย่างโชกโชนแล้ว  ลองมาทุกอย่าง  ถ้ามันจะเป็นอะไรผม

          ก็รับได้นะ  แต่ผมอึดอัด ไม่รู้จะทำอะไรในชีวิต วางแผนชีวิตไม่ถูก 

แพทย์:  วางแผนเรื่องอะไร

ผู้ป่วย:  ก็ถ้าผมเป็นมะเร็งจริง ผมจะได้จัดการทำอะไรที่ผมยังไม่ได้ทำ 

          ผมจะได้ไม่ต้องห่วง

 

 

หลังจากประเมินแล้วว่าผู้รับได้

เราจึงบอกผู้ป่วยว่าเขาเป็นมะเร็งจริง   แต่สิ่งที่ญาติกังวลไม่เป็นความจริงเลย  ผู้ป่วยไม่ตกใจเลย  และหลังจากวันนั้นผู้ป่วยก็ไม่ได้มีอาการแย่จากการทราบข่าวร้ายนั้น 

 

ข่าวจะร้ายหรือไม่ร้ายขึ้นอยู่กับความคาดหวังจริงๆ   จึงเป็นอุทาหรณ์ว่าใครกันแน่ที่กลัวความจริงญาติหรือผู้ป่วย?

หมายเลขบันทึก: 312628เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2009 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 07:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ในบางครั้งญาติผู้ป่วยเป็นปัญหามากกว่าคนไข้เสียอีก กลัวว่าผู้ป่วยยอรับความจริงไม่ได้ บางที่ถ้าเราได้รับรู้ความจริงเสียแต่ต้นๆจะได้วางแผนอนาคตของเราได้ถูกว่าควรทำอย่างไรต่อไปหรืออะไรที่ยังไม่ได้ทำ ในเวลาที่เหลืออยู่ให้มีคุณค่าในชีวิตของผู้ป่วยถ้าเป็นดิฉันจะขอรับรู้ความจริงตั้งแต่ต้นเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ

เคยมีประสบการณ์ค่ะ ไม่ได้เป็นมะเร็งใกล้ตายหรอกค่ะ แต่ต้องผ่าตัดสมองด้วยภาวะเนื้องอกในสมองค่ะ พ่อแม่และญาติๆ พยายามจะไม่ให้รับรู้ค่ะ ว่าเป็นอะไรร้ายแรงแค่ไหน เวลาหมอจะคุยเรื่องโรคเรื่องการผ่าตัดก็จะพยายามกันตัวเราออกไปค่ะ แต่สี่ก็บอกทุกคนว่า คนที่ผ่า คนที่ต้องรักษาคือสี่ จะให้สี่ขึ้นเตียงผ่าตัดทั้งๆ ที่ไม่รู้อะไรได้ยังงัย ถ้าจะต้องตายก็ขอให้รู้แล้วกันว่าต้องตายเพราะโรคอะไรค่ะ

พอรู้ก็เตรียมใจพร้อม คิดว่าตายก็คงไม่เป็นไร แค่ได้รับความรักความห่วงใยที่มากพอ แค่นั้นก็พอแล้วละค่ะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับทุกความคิดเห็น มีคนไข้หลายคนที่เสียชีวิตไปทั้งๆไม่รู้ว่าตนเองเป็นอะไร ซ้ำร้ายญาติยังสั่งให้หมอกระหน่ำการรักษา ทั้งใส่ tube CPR ถ้าคนไข้รู้ตัวเองและรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยอะไรแถมทำให้เขาทรมานมากขึ้นเขาอาจจะไม่อยากได้ความหวังดีเหล่านี้ที่ญาติคิดว่าดีก็ได้นะค่ะ น่าสงสารจัง สงสัยเราคงต้องสั่งญาติไว้ตั้งแต่ต้นจะได้ไม่เจอเหตุการณ์แบบนี้นะค่ะ

ผมว่าบางที่คนที่กลัวที่สุดอาจจะเป็นหมอเจ้าของไข้...กลัวผลของการบอกความจริงกับผู้ป่วย

เรื่องราวน่าสนใจครับ+dialoque หลายตอนขอยืมไปใช้นะครับ

ยินดีค่ะพี่โรจน์ พี่โรจน์อย่าลืมถ่ายทอดประสบการณ์การดูงาน hospice care จากอังกฤษให้ฟังบ้างนะค่ะ จิจะได้นำไปปรับใช้ที่พิจิตรบ้าง เผื่อจะใช้ได้

สวัสดีคะพี่จิ ขอแสดงความเห็นคะว่า การ break collusion อาจขึ้นกับระยะของโรคด้วย

ถ้าโรคดำเนินไปจนถึงขั้นผู้ป่วยมีอาการแล้วอย่างรายนี้ ตัวผู้ป่วยยุ่อมสงสัยว่าเกิดอะไรกันแน่ หรือบางทีเขาอาจสงสัยอยู่แล้วด้วยซ้ำ

เคยเจอ คนไข้มะเร็งเต้านม ที่ metas ไปปอดแล้วยังไม่มีอาการ ลูกมาฟังผลแล้วก็ปิด

เวลาคนไข้มารับยา hypertension ก็ยังมานั่งขนาบ เพื่อกันไม่ให้แพทย์บอก เราก็รู้สึกอึดอัดใจยิ่งกว่าคนไข้เสียอีก

ขอบคุณค่ะ สำหรับความคิดเห็น คนไข้รายนี้เขาก็สงสัยอยู่แล้วแหละค่ะว่าเขาจะเป็นมะเร็งเพราะเขาแย่ลงเรื่อยๆ แต่ญาติเขาไม่ต้องการให้คนไข้รู้แล้วก็พยายามจะปิดทุกอย่างที่คนไข้จะรู้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท