ตึกละอ่อนน้อย เด็กเล็กที่สุด ของโรงพยาบาลเจียงฮาย หมู่เฮาจะดูแลด้วยความรัก


จากที่แรกเข้ามาอาการไม่ดีแต่พอมาอยู่ในความดูแลของเราเค้าก็ดีขึ้น ยิ้มได้

เวทีสัญจร ครั้งที่ 18 เยี่ยม nursery

 

 พี่แขก รุ่งสมัย ซึ่งย้ายมาจาก รพ เชียงคำ มา10 กว่าปีแล้วได้เริ่ม เล่าให้ฟังถึงความประทับใจและประสบการณ์ที่ได้ทำงานในรพ.เชียงรายแห่งนี้ ว่า 

ได้พบเจอเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเด็กแรกคลอดต่างๆมามากมายที่รู้สึก ประทับใจก็คือได้มีส่วนทำให้เด็กที่ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นจากที่แรกเข้ามาอาการไม่ค่อยดีแต่พอมาอยู่ในความดูแลของเราเค้าก็ดีขึ้น ยิ้มได้ (เธอยิ้มกว้างตาม)ถึงแม้ว่าบางคนจะต้องกลับออกไปพร้อมกับ Oxygen ก็ตาม

อีกอย่างหนึ่งที่รู้สึกภูมิใจในงานของตัวเองก็คือได้มีโอกาสดูแล แพทย์ ฝึกหัด และ นักศึกษาแพทย์ คุณหมอในอนาคต ที่มาฝึกงานยังหน่วยงานแห่งนี้ค่ะ 

(ตอนนี้คุณเอื้อ หมอรวิวรรณให้ข้อมูลว่านศพรุ่นนี้ เพิ่งฝากมาขอบคุณ ตึกเด็ก อ่อน เพราะว่าพี่พยาบาล ที่นี่  ดูแลดีมาก)

คุณกฤษณา ภูมิใจที่สามารถช่วยทำให้เด็กรอดปลอดภัยและมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆน้อยที่สุด

คุณลัคนา ภูมิใจที่เราสามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ถ้าน้ำหนักน้อยกว่า 2,000 เราก็จะให้การดูแลอย่างทุมเทเพื่อให้เด็กมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น    ดีใจค่ะ

พี่อ้อ มัณทนา หัวหน้าหน่วย เล่าต่อว่า

หน่วยงาน New born แห่งนี้มีการทำงานที่ เชื่อมโยง กับสูติกรรม พอแม่คลอดแล้วลูกไม่ค่อยแข็งแรงหรือมีปัญหาแทรกซ้อนก็จะส่งเด็กมายังหน่วยงานแห่งนี้ และพ่อแม่หรือญาติๆ จะตามมาสอบถามอาการของลูก  ทำให้เกิดมีการจัดทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับครอบครัวขึ้นเช่นการทำโครงการสายใยครอบครัวซึ่งทำร่วมกันกับสูติกรรม  ภูมิใจที่หน่วยงานของเราได้รับการยอมรับจากข้างนอกค่ะ  

        เรื่องการเยี่ยมนี่เมื่อก่อนจะมีกริ่งให้กด ญาติมาก็จะมากดขอเยี่ยมตลอดทำให้ผู้ปฏิบัติงานเครียดมากทำงานไม่ทัน เพราะเราต้องดูแลเด็กป่วยและอัตรากำลังของเราก็มีน้อย   เราทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้เด็กปลอดภัย ดังนั้นทางหน่วยงานจึงมีการปรับเวลาการเยี่ยมใหม่ก็ดีขึ้นนะคะทางญาติก็พอใจ คือให้เยี่ยมได้ 2 เวลา คือเวลา 13.30 14.00 น.และ 19.00 19.30 น.ช่วงเยี่ยม เราทุกคนจะอยู่ด้วยกับเด็ก กับญาติเต็มที่ ช่วย อธิบาย ให้คำปรึกษา 

ทางญาติอยากให้เราเพิ่มเวลาการเยี่ยมให้นานกว่านี้แต่ยังปรับให้ไม่ได้ เราจึงแนะนำให้ทางญาติโทรมาสอบอาการได้ตลอดค่ะ

สำหรับคำถามที่คุณหมอหน่อยถามว่าถ้าเด็กอาการแย่จะบอกพ่อ แม่ ว่าอย่างไรนั้น  เรา ทำความเข้าใจกับญาติตั้งแต่วันแรกที่รับเด็กเข้ามาแล้วโดยจะ บอกถึงผลการรักษาทั้งในแง่บวกและแง่ลบคือถ้าเด็กถ้ารักษาแล้วอาการดีขึ้นจะเป็นแบบนี้นะและถ้าเด็กอาการแย่ลงจะเป็นแบบนี้นะเพื่อให้ญาติได้ทำใจยอมรับ   พอเราแจ้งข่าวร้ายไปทางญาติก็รับได้นะคะ สำหรับเด็กที่อาการแย่กว่าเดิม   ก็ปรึกษากับแพทย์แล้วโทรแจ้งตามพ่อ แม่ของเด็ก ให้ทราบ  

เคยมีปัญหากับหน่วยงานอื่นไหม  มีค่ะ ปัญหาชาวต่างชาติลาวพม่าที่ รพชุมชน Referมาแล้ว รถที่มาทิ้งญาติ ทำให้เขากลับบ้านไม่ได้ ได้ประสานงานกับ รพชุมชน ในการประชุม MCH Board แล้ว และ ขอศูนย์เปลให้ตามรถ Refer  ปัจจุบันนี้ แก้ไขแล้วและมี วิธีปฏิบัติที่ชัดเจนและมีการทบทวนผลทุกปีค่ะ

คุณลัคนา เมื่อก่อนทำงานอยู่ ICU   พอมาอยู่ที่นี่ทำให้ได้สัมผัสชีวิตที่หลากหลายมากขึ้น มีการช่วยแก้ปัญหา เช่นกรณีที่เด็กเข้ารับการรักษาตัวอยู่แต่ทั้งฝ่ายพ่อและแม่ไม่มีใครอยากรับเลี้ยงดูแลเด็ก เราก็ต้องติดต่อกับสังคมสงเคราะห์ให้ มาช่วยดูแล  และมีการให้คำปรึกษาแก่พ่อแม่ของเด็กที่โทรมาสอบถามเกี่ยวกับอาการของเด็กที่รักษา อยู่   และบางทีก็มีโทรมาปรึกษาเวลาที่เด็กไม่สบายด้วย 

โทรมาปรึกษานี่วันหนึ่งก็ไม่ต่ำกว่า 10 ครั้งแต่เราก็ยินดีให้คำตอบทุกสายทำให้เราได้มองคนมากขึ้นกว่าการมองแค่โรคและเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ปกครองของเด็ก  รู้สึกภูมิใจค่ะ

เด็กที่ป่วยหนักมีปัญหามากๆ พอกลับบ้านได้  เราจะดีใจมาก 

 คุณรุ่งสมัย  ที่หน่วยงานแห่งนี้จะมีเวลาเยี่ยมโดยเฉพาะนะคะ ดังนั้นทางญาติ พ่อ แม่ก็จะมารอเพื่อเยี่ยมและรอรับฟังคำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อดูแลเด็ก และคอยรับฟังความก้าวหน้าของลูก ซึ่งการให้ข้อมูลแก่พ่อ แม่ และญาติๆ เต็มที่

มีการจัดการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจะมีการจัดห้องไว้ให้นมแม่เพื่อเป็นสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแม่และลูก และมีตะกร้าใส่นมแม่คือให้แม่บีบน้ำนมใส่ขวดแบรนด์ซึ่งเราทำความสะอาดและนึ่งแล้วมาส่งให้ลูก  ติดชื่อคุณแม่ นำมาใส่ที่ตะกร้าเราจะนำความรักจากแม่ เอาน้ำนมของแม่มาป้อนให้กับลูก  

  

เมื่อก่อนการ refer คนไข้ไปยังเชียงใหม่จะลำบากมากเพราะเด็กต้องใส่O2 box  เราต้องนั่งข้างๆหันข้างตลอดทาง คนส่งเมารถมาก แต่ปัจจุบันนี้ เราปรับใช้สายน้ำเกลือเจาะรู มาใช้แทน O2 cannula ทำให้เราสามารถนั่งตรงๆแล้วอุ้มเด็กให้ O2 ไปด้วยได้  ทำให้เราไม่ทรมานเมารถ

คุณทรงพร ตอนแรกก็ไม่มีความคิดที่จะมาอยู่ เพราะเป็นโสดไม่เคยมีลูกและไม่กล้าดูแลเด็กพิการ  แต่พอมาอยู่ก็ภูมิใจนะคะที่ได้ช่วยเหลือให้เค้ามีชีวิตที่ดีขึ้น ที่นี่มีระเบียบการเยี่ยมที่ดีนะคะคือพ่อ-แม่สามารถถามอาการลูกได้ตลอดคือทางเราจะขอเบอร์โทรพ่อ-แม่เอาไว้ตอนรับเด็กเข้ามาดูแลเพื่อโทรแจ้งอาการของลูกถ้าอาการไม่ดี นอกจากนี้พ่อ-แม่ยังสามารถโทรมาถามอาการตอนโตแล้วได้เฉลี่ย  2 – 3 ราย แต่ถ้าเป็นพ่อแม่มือใหม่นี่ก็จะถามประมาณวันละ  5 – 6 ครั้งจนบางคนติดใจขอพูดกับคุณหมอคนเดิมที่ให้คำปรึกษา

พี่ศรีไพร ผู้ดูแลความสะอาดในหน่วยงาน  เล่าว่าที่นี่อยู่กันแบบไม่แบ่งแยกรู้สึกอบอุ่นดี เมื่อก่อนทำงานกับบริษัทแต่พอหมดสัญญากับบริษัท  คนในตึกอยากได้เรา และเลือกเราให้กลับมาทำงานในนี้ค่ะ  ก็ภูมิใจนะคะที่ได้มีส่วนร่วมในการดูแลหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน

คุณรสริน พ่อแม่ทุกคนที่ลูกเข้ามารับการรักษายังหน่วยงานแห่งนี้ ก็จะวิตกกังวลมากในตอนแรกๆแต่พอเราให้ข้อมูลและให้กำลังใจแก่พ่อแม่ ความกังวลก็จะลดลง   ในการให้ข้อมูลก่อนกลับบ้านนี่เราต้องคิดว่ากำลังให้ข้อมูลกับญาติของเราเองให้ความจริงใจบางทีเราอยู่ข้างนอกแล้วญาติเข้ามาทักทายเราคือเค้าจะจำเราได้  รู้สึกภูมิใจนะคะที่ได้ทำให้ความกังวลของพ่อแม่ลดลงค่ะ

  AAR

เกินความคาดหมาย

 ได้พูดสิ่งที่ทำจริงๆ และความรู้สึกให้ผู้อื่นได้รับทราบ

ไม่เคยเข้าร่วมการประชุมที่เป็นเช่นนี้

ดีที่ได้บอกเล่าชีวิตใน nursery

ความจริงอยากเล่ามากกว่านี้

นึกว่าจะเป็นวิชาการ

ดีใจที่ได้รู้จักกันได้เปิดโอกาสให้ผู้อื่นมารู้จัก Nursery บ้าง

ดีใจที่ทุกคนมีจุดหมายที่ร่วมกัน คือช่วยให้ไข้รอด ปลอดภัยเหมือนกัน 

นึกว่าเหมือน Surveyor ที่เคยมา

ไม่คิดว่าจะให้พนักงานทำความสะอาดเข้าร่วมรับฟังด้วยได้

ภูมิใจที่พี่ๆน้องๆ มาเปิดใจและเปิดตัวในเวทีแห่งนี้

คนเยอะมาก

ดีใจที่ได้แนะนำตัวเองที่หน่วยงานแห่งนี้ให้ความใส่ใจกับญาติพี่น้องสูงมาก

รู้สึกดีที่รพ.แห่งนี้เป็นรพ.ใหญ่แต่ให้การดูแลดี

ขอบคุณคนเตรียมประสานดีมาก 

ต่ำกว่าความคาดหมาย

 ยิ้มและ หัวเราะกันน้อยมาก(เพราะเป็นห่วงเด็กทารกข้างในค่ะ)

เราอยากอุ้มเด็ก ป้อนนมทุกคนแต่ก็ทำไม่ได้ ไม่มีเวลาพอ

อยากทำงานปกติให้เต็มที่ทำไม่ค่อยทัน 

สิ่งที่คิดว่าจะทำต่อไป

 อยากให้มีเจ้าหน้าที่ประจำเพิ่มมากขึ้น

จะพยายามผลักดันให้เกิด NICU

อยากมีห้องให้แม่พักเพื่อเอาลูกไปอยู่ด้วย

กลัวเด็กหาย จะขอติดกล้องวงจรปิด หรือสัญญาณตรงประตู หรือ อาจทำระบบล็อกประตู คนภายนอกจะเข้าไป ต้องคนในเปิดให้

 
 

เกือบลืม  แนะนำทีมเยี่ยมค่ะ

คุณหมอต๋อย ทำหน้าที่คุณ อำนวย

คุณหมอติ่งและน้องเอ้ย เป็นคุณ ลิขิต

คุณ แดนเป็นผู้ประสานงาน

คุณหมอรวิวรรณเป็นคุณ เอื้อ

และคุณ พลวรรต ผู้จัดการศูนย์ HA เป็นช่างภาพกิตติมศักดิ์ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 131374เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 04:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ให้ป้าหมอเป็นคุณเอื้อเหมาะสมจริ๊ง อิอิ

ขอบพระคุณ เจ้าค่ะ ท่านพี่

สำหรับตึกเด็ก จำเป็นต้องเป็นคุณ เอื้อ เพราะพึ่งจะรับตำแหน่งหัวหน้าแผนก รอบ ๒  วันที ๑ กย ๕๐ที่ผ่านมานี้เอง

เลยทำให้ชีวิต รวิวรรณ ชุลมุนมากขึ้นอีกหน่อยนึงเจ้าค่ะ

สวัสดีครับ...

  • มาชื่นชมเรื่องดงามของชีวิตที่เกิดจากการทำงานและการใช้ชีวิต
  • เห็นความงดงามของการให้
  • และขอปรบมือทีมงานทุกคน .. โดยเฉพาะคุณเอื้อ นะครับ

ขอบคุณ กำลังใจ จาก อ แผ่นดินค่ะ

เยี่ยมคน ทำงาน ณ จุดปฏิบัติงาน แล้วจะพบทุกที่เลยว่า  งานทีทำ คือ ความดีที่หล่อเลียงชีวิตจริงๆ

งดงาม อย่างอาจารย์ ว่าจริงๆ ไม่ว่าจะไปหน่วยงานไหน

จน คนที่ไปเยี่ยมเกิด ความรู้สึกดี นั่งฟังแล้ว มีความสุขทุกที่ ทุกครั้งไปค่ะ พลอยมี เอ็นดอร์ ฟินหลั่งไปด้วย

ตอนแรกไป เพราะ จิตอาสา แต่ตอนหลังชักคล้ายๆ ติด ไม่ได้ฟังแล้วขาดอะไรในชีวิตไปสักอย่าง

แถมเดินไปไหนเรารู้จัก เหมือนมีเพื่อนเราทุกที่  เรามีเพื่อนที่น่านับถือเต็มโรงพยาบาลเลย

รู้สึก เป็นเพื่อน ก็ เพราะ

รารู้ตัวตนเขา รู้งาน รู้ความดีที่เขา แต่ละคนทำ เห็นเบื้องหลัง ความยากลำบากที่เขาสู้ ที่เขาทำได้ ที่เขาชนะ ทำสำเร็จ

เยี่ยมทีไรก็ชื่นชม และพลอยชื่นใจไปด้วย กับงานของแต่ละหน่วย ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท