3. การผสมผสานของกลุ่มชาติพันธุ์อินเดียในพม่าและไทย


ชาวพม่าเชื้อสายอินเดียกลมกลืนเป็นชาวพม่า แต่ชาวไทยเชื้อสายอินเดียรักษาอัตลักษณ์ไว้ได้

การผสมผสานของชาติพันธุ์อินเดียในพม่าและไทย

 

เรื่องการผสมกลมกลืนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ใน

เมืองใหญ่ของพม่า ที่เห็นชัดเจนคือชาวเอเชียใต้ซึ่ง

มีหลายชาติหน้าตาออกแขกๆ เราไม่สามารถแยกแยะ

ได้ว่าผู้คนเหล่านี้มีบรรพบุรุษมาจากประเทศไหน เพื่อน

พม่าเชื้อสายอินเดียสองคนนี้ก็ผสมกลมกลืนเป็นชาวพม่า

ไปแล้ว บรรพบุรุษเข้ามาอยู่ในพม่าไม่น้อยกว่าห้ารุ่น เราไม่

เห็นสาวหน้าตาออกแขกๆ นุ่งส่าหรีหรือชุดประจำชาติ

แบบอินเดียที่พม่าเลย ผู้หญิงนุ่งโสร่งเหมือนสาวพม่า

ผู้ชายที่เป็นอิสลามก็สวมหมวก ไว้เคราบ้าง แต่ส่วนใหญ่

ก็นุ่งโสร่งเหมือนผู้ชายพม่าทั่วไป สิ่งที่บ่งบอกอัตลักษณ์

ความเป็นชาวเอเชียใต้คือหน้าตาคมเข้ม บางคนยังพูด

ภาษาของตนเองได้เพราะมีโอกาสได้ไปศึกษาใน

ประเทศเหล่านี้มาก่อน เช่นเพื่อนผู้ชายที่สอนสันสกฤต

เขาสำเร็จการศึกษาจากประเทศอินเดีย ชาวอินเดียที่

สูงอายุก็ยังพูดฮินดีได้ แต่เพื่อนผู้หญิงไม่เคยไปอินเดีย

พูดภาษาฮินดีไม่ได้ มีแต่หน้าตาที่เป็นอินเดีย เธอนุ่ง

ผ้าถุงสีหวาน ใส่รองเท้าแตะคีบเหมือนสาวพม่าทั่วไป

แต่การแต่งกายของผู้ชายพม่าหรืออินเดียที่นุ่งโสร่งเหมือน

กับที่เห็นที่อินเดียใต้ทีเดียว และการขายหมากข้าง

ทาง วัฒนธรรมกินหมากเหล่านี้เป็นบรรยากาศแบบ

อินเดียที่พบเห็นได้ที่พม่า แต่เราจะไม่เห็นที่เมืองไทย

เนื่องจากพม่าเป็นประเทศปิด การที่ชาวพม่าจะเดินทาง

เข้าออกประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องขออนุญาตและคง

มีการสอบถาม ซักถามมากมาย และสุดท้ายอาจไม่อนุญาต

ให้ออกนอกประเทศได้ ทำให้คนธรรมดาสามัญท้อแท้

เบื่อหน่าย ไม่อยากดิ้นรนขวนขวาย การผสมกลมกลืน

ในวิถีการดำรงชีวิตจึงเกิดง่ายกว่าประเทศเปิดเช่นประเทศ

ไทย ชาวอินเดียในประเทศไทยสามารถรักษาอัตลักษณ์

ความเป็นอินเดียไว้ได้เป็นอย่างดีในท่ามกลางความ

หลากหลายของผู้คน เพราะมีอิสระ เสรีภาพที่จะสามารถ

แสดงความเป็นตัวตนได้อย่างเปิดเผย มีการเดินทางไปมา

หาสู่กับประเทศแม่อยู่เสมอ และเขามีสิทธิที่จะเลือกรับ

หรือไม่รับมิติทางวัฒนธรรมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทย

ได้มากกว่าชาวอินเดียในพม่า

พม่าเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของอินเดียในสมัยที่อังกฤษเข้ามา

ยึดครอง ดังนั้นการถ่ายเทของผู้คนซึ่งมีพรมแดนติดกัน

ทำได้ง่าย ความผสมผสานกันมีมานาน ดังนั้นจะเห็น

ความกลมกลืนของชาวอินเดียในสังคมพม่ามากกว่า

ในสังคมไทย นอกจากนี้ภาพยนต์อินเดียยังเป็นที่นิยมฉาย

ในโรงภาพยนต์ที่เมืองย่างกุ้งทั่วไป  แต่เราจะหา

ภาพยนต์อินเดียฉายตามโรงภาพยนต์ในกรุงเทพฯ ได้น้อย

มาก นอกจากไปซื้อแผ่นมาดูเอง

ชาวอินเดียใต้ที่อยู่ในพม่าสร้างวัดแบบเดียวกับวัดแขก

อยู่ที่ย่างกุ้ง และที่มัณฑะเลย์ (ไปแค่สองเมืองจึงเห็น

แค่สองเมือง) ซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบอินเดียใต้ 

มีบัณฑิตประกอบพิธีกรรม เหมือนวัดที่อินเดีย หน้าวัด

ก็มีคนขายอาหารเช้าแบบอินเดียด้วย แต่ไม่มีเวลาได้ชิม

เพราะต้องรีบเดินทางไปที่อื่น

--------------------------------------------------------

หากท่านสนใจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเอก ใน

หลักสูตรต่างๆ ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท

มหาวิทยาลัยมหิดล กรุณาเข้าชมรายละเอียดใน www.lc.mahidol.ac.th

หรือโทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3010

หมายเลขบันทึก: 171106เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2008 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผม อ่าน บันทึกของอาจารย์แล้ว นึกได้ว่า

ความผสมกลมกลืนและกลืนกลาย ของชาติพันธุ์เนี่ย มันมีอยู่เสมอเลยนะครับ

 

แต่ผมอยากรู้เหมือนกันว่า ชาวอินเดียที่อาจารย์กล่าวถึง เขาจะคิดว่า ตนเองเป็น พม่า หรือ อินเดีย กันนะ

 

นอกจากอัตลักษณ์ทางกายภาพที่อาจารย์สังเกตุเห็นได้แล้ว

อัตลักษณ์ที่เป็นเรื่องของ edmotional ของเขาจะอยู่ตรงไหนกันเนี่ย

 

  • ชอบอ่านงานเขียนของอาตจารย์จัง
  • เป็นบล็อคที่ดีจัง หาอ่านยากครับ
  • ขออนุญาตเอาเข้าแพลนเน็ต

 

เรียนคุณ Anthrocat

     ดิฉันถามเขาแล้วเขาบอกเขาเป็นพม่าค่ะ

เรียน คุณออต

    ขอบพระคุณค่ะ ยินดีค่ะ หากเห็นว่าดีจะช่วยกันเผยแพร่ให้กว้างๆ ออกไป ก็จะสมความตั้งใจที่อยากให้เข้าใจ และยอมรับในความแตกต่างและหลากหลายของกลุ่มชนทั้งในประเทศ และที่เชื่อมโยงไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านด้วยนะคะ

ขอบพระคุณครับอาจารย์

ไม่เข้ามาติดตาม เสียนานครับ มาครั้งนี้ก็ได้รู้คำตอบที่ได้กราบเรียนถามอาจารย์เอาไว้

อัตลักษณ์ กรอบรัฐชาติ สิทธิความเป็นพลเมือง เชื้อชาติ .... อีกมากมาย

ไม่นิ่งเลยสักอย่าง หากจะต้องการการนิยามตัวตนแบบชัดเจน

ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท