สนทนาภาษาอภิธรรม (2)


บันทึกนี้คัดลอกจากบทความเผยแพร่ของพระมหาบุญเรือง เจ้าอาวาสวัดบ้านด่าน บุรีรัมย์
ชัยยัสสุ
ความคิด มุมมอง ทัศนคติ เพื่อความเข้าใจพระพุทธศาสนา ชีวิต และตัวตนของเรา
Permalink : http://www.oknation.net/blog/bunruang

http://www.oknation.net/blog/bunruang/2009/11/26/entry-1

วันพฤหัสบดี ที่ 26 พฤศจิกายน 2552
สนทนาภาษาอภิธรรม (๒)
Posted by chaiyassu , ผู้อ่าน : 54 , 19:33:51 น.
หมวด : ศาสนา
พิมพ์หน้านี้
(เด็กๆกำลังอ่านหนังสือในห้องสมุดบ้านพระธรรมที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัด)

สนทนาภาษาอภิธรรมวันนี้ขออนุญาตต่อเรื่องจิต
โดยปกติ จิตของคนเรา ทำหน้าที่หลายอย่าง ความแตกต่างของหน้าที่ ทำให้จิตได้รับการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป
เช่นเรียกว่า จิต มโน หทัย มนัส ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ
ที่คุ้นหูคุ้นตาเราท่านจริง ๆ มี จิต มโน หทัย วิญญาณ
ในคราวที่จิตทำหน้าที่คิด เราก็เรียกว่า จิต, ในคราวที่จิตทำหน้าที่น้อมหาเรื่องราวต่าง ๆ เราก็เรียกว่า มโน, ในคราวที่จิตทำหน้าที่เก็บเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ เราก็เรียกว่า หทัย, ในคราวที่จิตทำหน้าที่รู้เรื่องราวต่าง ๆ เราก็เรียกว่า วิญญาณ
อย่างไรก็ตาม คำเหล่านี้ เมื่อถูกนำมาใช้ในภาษาไทย ความหมายก็อาจผิดเพี้ยนจากความหมายเดิมไปบ้าง
ตัวอย่างเช่นคำว่า วิญญาณ บางครั้งเราก็เข้าใจไกลไปถึงว่าเฟป็นธาตุกายสิทธิ์อย่างหนึ่ง สามารถล่องลอยไปไหนมาไหนได้ หรือสามารถเข้าสิงคนนั้นคนนี้ได้ เป็นต้น
ในความเป็นจริง สิ่งที่เรียกว่า วิญญาณ ไม่สามารถเกิดได้เพียงลำพัง เพราะวิญญาณก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขของปัจจยาการ คืออิงอาศัยปัจจัยต่าง ๆ เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไป
อาศัยอะไรบ้าง ?
ตา+เห็น+รูป การ เห็น เป็นวิญญาณชนิดหนึ่ง เรียกว่า วิญญาณทางตา คืออาศัยตากับรูปจึงเกิดขึ้น เรียกตามศัพท์ว่า จักขุวิญญาณ
หู+ได้ยิน+เสียง การ ได้ยิน เป็นวิญญาณชนิดหนึ่ง เรียกว่า วิญญาณทางหู คือ อาศัยหูกับเสียงจึงเกิดขึ้น เรียกตามศัพท์ว่า จักขุวิญญาณ
จมูก+ดม+กลิ่น การ ดม หรือ ได้กลิ่น เป็นวิญญาณชนิดหนึ่ง เรียกว่า วิญญาณทางจมูก คืออาศัยจมูกกับกลิ่นจึงเกิดขึ้น เรียกตามศัพท์ว่า ฆานวิญญาณ
ลิ้น+ลิ้ม+รส การ ลิ้ม รส เป็นวิญญาณชนิดหนึ่ง เรียกว่าวิญญาณทางลิ้น คืออาศัยลิ้นกับรสจึงเกิดขึ้น เรียกตามศัพท์ว่า ชิวหาวิญญาณ
กาย+สัมผัส+โผฏฐัพพะ (สิ่งที่สามารถสัมผัสได้) การ สัมผัส เป็นวิญญาณชนิดหนึ่ง เรียกว่า วิญญาณทางกาย คือ อาศัยกายกับสิ่งที่กายสามารถสัมผัสได้จึงเกิดขึ้น เรียกตามศัพท์ว่า กายวิญญาณ

ใจ+รู้+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่รับรู้ทางจิต) การ รู้ เป็นวิญญาณชนิดหนึ่ง เรียกว่าวิญญาณทางใจ คืออาศัยใจกับเรื่องที่มากระทบทางใจจึงเกิดขึ้น เรียกตามศัพท์ว่า มโนวิญญาณ
ถ้าปราศจากเหตุปัจจัยกล่าวข้างต้น วิญญาณก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เหตุนั้นจึงกล่าวว่า วิญญาณก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขของปัจจยาการ
พิจารณาเผิน ๆ ตามที่กล่าวข้างต้น ก็อาจจะเกิดคำถามตามมาอีกว่า แล้ววิญญาณสืบภพสืบชาติอย่างไร เพราะถ้าร่างกายดับ ตัววิญญาณก็น่าจะดับตามไปด้วย ไม่น่าจะมีการเวียนว่ายตายเกิดได้อีก
ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ตัววิญญาณนี้ นอกจากมันจะมีการเกิดดับในลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว ภายใต้การเกิดดับ ยังมีการส่งต่อกระแสการรับรู้ต่าง ๆ ไปได้อีก ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น วิญญาณดังกล่าวนี้ ยังสามารถสร้างชีวิตใหม่ในรูปแบบอื่นได้อีก อาจกล่าวได้ว่า วิญญาณมีศักยภาพในการสร้างทายาทใหม่แทนตัวของมันเองได้เรื่อยไปตามแรงปรารถนา
ศักยภาพพิเศษดังกล่าวนี้ หากพิจารณาเฉพาะในส่วนที่เราสามารถมองเห็น รู้ได้ สัมผัสได้ ก็พอจะนำมาสนทนากันได้ ขอยกตัวอย่างกรณีการแบ่งชีวิตออกเป็นกอง หรือขันธ์ ๕
ในจำนวนกองหรือขันธ์ทั้ง ๕ นี้ แบ่งเป็นรูป ๑ กอง ส่วนที่เป็นนาม ๔ กอง ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
วิญญาณ คือตัวจิตที่ทำหน้าที่รู้ การการรู้ดังกล่าว ไม่ใช่เพียงแค่รับรู้เฉย ๆ หากแต่รู้แล้ว มันยังรู้สึก (เวทนา) รู้จักจำ (สัญญา) รู้จักแต่งเติม (สังขาร)
การที่วิญญาณทำหน้าที่รู้สึก รู้จักจำ และรู้จักแต่งเติมนี้เอง จึงทำให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ตามมา
เช่น เห็น แทนที่มันจะเห็นเฉย ๆ มันก็มีความรู้สึกตามมา ได้ยิน แทนที่จะได้ยินเฉย ๆ มันก็มีความรู้สึกตามมา ฯลฯ ที่จิตมีความรู้สึกตามมา เพราะจิตมีการจำ มีการปรุงแต่งสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้ยิน ฯลฯ ได้เรื่อย ๆ
สังเกตดู หลาย ๆ เรื่องในชีวิต แม้ระยะเวลาจะผ่านนานแสนนาน จนบางครั้งเราก็คิดว่าสิ่งนั้นมันหายไปแล้วจากความทรงจำ ความจริงกลับไม่ใช่ หลายต่อหลายครั้ง สิ่งนั้นกลับผุดขึ้นในใจของเราได้
นี่คือความพิเศษของจิต
ในคัมภีร์อภิธรรมจึงอธิบายถึงธรรมชาติของจิตไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมชาติที่ทำให้ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลายวิจิตร
(ยังมีต่อ)
หมายเลขบันทึก: 318810เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2009 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา P

  ขออนุญาตศึกษาธรรมเรื่องจิตค่ะ  ได้เสริมปัญญาตนเองขึ้นจากความอ่อนด้วย

คุณณัฐรดา ศึกษา และทำความเข้าใจได้ลึกซึ้งดีมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ระลึกถึงค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะคุณครูใจดี

บันทึกนี้ดิฉันไม่ได้เขียนเองค่ะ

ลอกมาจากบทความเผยแพร่ของพระคุณเจ้า เจ้าอาวาสวัดบ้านด่านค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แวะมาค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ ณัฐรดา

สัมผัสทั้ง 6 กับขันธ์ 5

ถ้าเราทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ได้

ก็คงบังคับจิตได้มากทีเดียวใช่มั้ยค๊ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา P

  • เข้ามาอ่าน

สนทนาภาษาอภิธรรม

ด้วยคน  อยากสนทนาด้วย  แต่ยังเข้าไม่ถึง

ขออ่านแล้วนำไปปฏิบัตินะคะ

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่นำมาแบ่งปัน

 

                          คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

สวัสดีค่ะ 

  • มาเยี่ยมด้วยความระลึกถึง
  • สบายดีนะคะ
  • ขอโทษด้วยค่ะ
  • ขอบคุณที่ระลึกถึงกัน
  • สุขสันต์วันพ่อค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

บางครั้งการได้อยู่กับตัวเอง...นิ่งๆไม่คิดอะไรก็คงทำให้จิตเราสงบ(หรือเปล่าไม่รู้)

อยากทำได้บ้างเหมือนกันแต่ยากค่ะ

ขอบคุณภาพวาดสวยๆที่ส่งให้ได้ชมนะคะ

สวยจริงๆค่ะ

ศิลปะทำให้ใจเย็น...ดิฉันเชื่อค่ะ

แล้วจะแวะมานะคะ

สวัสดีครับ สนใจด้านความรู้ทางจิตพอดี ครับ ขอสนทนาธรรมด้วยคน พอดีผมมาอ่านเจอ แต่ไม่เห็นพูดถึงสติไว้ด้วยอ่ะครับ สงสัยจะข้ามขั้นนั้นไปแล้วเลยไม่กล่าวถึง การที่เราจะรับรู้อะไรเข้ามาใน อยาตนะ ทั้ง 12 อย่าง สติหรือความรู้ตัวจะเป็นสิ่งที่เราจะรู้ชัดได้ หรือเป็นเครื่องมือ ไว้คอยดักรู้อารมณ์นั้นๆเช่น รู้ร้อน รู้หนาว เป็นต้น ถ้าไม่มีสติก็จะไม่รู้ชัดว่ากระบวนการของจิตเป็นอย่างไร ถ้ามีสติรู้ชัดก่อนอย่างแรก ต่อมาบวกกับปัญญาถึงจะเข้า ถ้าสนใจ ใคร่ศึกษา ผมขอแนะนำอ่าน หนังสือที่ถอดคำ มาจากการฝึกของครูอาจารย์ได้ที่ อาการจิต ๑๐ อย่าง http://www.dharma-isara.onoi.org/index.php?option=com_content&view=article&id=178:2009-07-07-18-57-32&catid=45:2009-06-20-11-19-53&Itemid=73

แวะไปอ่าน เรื่องของคนธรรมะธัมโม นะคะ....

ก้อนหินเพิ่งลงไว้ที่บ้านพระธรรม เจ้าค่ะ

คิดถึงพี่สาวคนนี้คนดีเสมอ

จากก้อนหินยิ้มเองเจ้าค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท