พุทธไทยถือ


ดร.วัชระ งามจิตเจริญ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการนับถือศาสนาพุทธของคนไทยไว้อย่างน่าสนใจ

ขอคัดลอกมาบันทึกไว้นะคะ

3) ความเชื่อและการปฏิบัติของชาวไทย

ชาวพุทธไทยมีแนวคิดและแนวปฏิบัติคล้ายกับชาวพุทธในศรีลังกาและพม่า ในด้านเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาและการทำบุญ แต่ก็มีความแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งขอแบ่งเป็นประเด็นย่อยเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านดังนี้

(1) พิธีกรรมและการทำบุญ

ชาวพุทธไทยนิยมการตักบาตร บริจาคทาน และบริจาคเงินสร้างอุโบสถ วิหาร กุฏิและศาลาการเปรียญ คนแก่นิยมเข้าวัดถือศีลฟังธรรมทุกวันธัมมัสสวนะ (วันพระ) ชาวพุทธไทยนิยมประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา เช่น การเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา และนิยมให้ลูกชายได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยเชื่อว่าได้ผลบุญมาก และเป็นการตอบแทนพระคุณของบิดามารดา

แต่ชาวพุทธไทยส่วนมากไม่ค่อยสนใจในการศึกษาพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง มีส่วนน้อยที่สนใจศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง

ในส่วนที่สนใจศึกษาและปฏิบัตินั้น บางคนก็นิยมปฏิบัติกรรมฐานทั้งแบบสมถะและแบบวิปัสสนา วิธีปฏิบัติกรรมฐานที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 3 สำนักใหญ่ หรือ 3 สายใหญ่คือ สายพองหนอ-ยุบหนอของวัดมหาธาตุ สายวิชชาธรรมกายของวัดปากน้ำภาษีเจริญ สายบริกรรมพุทโธของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ก็มีสายอื่นๆที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้น เช่น สายของหลวงพ่อเทียน จิตสว่าง

(2) ความเชื่อ

นอกจากเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม นรก สวรรค์แล้ว ชาวพุทธไทยยังมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ โชคลาง และความเชื่อพื้นบ้านอื่นๆ มีเรื่องพระภูมิเจ้าที่ และขวัญที่อยู่ประจำตัวคน เป็นต้น

ชาวพุทธไทยนิยมทำบุญเพื่อชีวิตที่ดีในภพหน้า ไม่ค่อยปรารถนาจะไปนิพพาน ซึ่งก็เหมือนชาวพุทธพม่าปรารถนาภพหน้าที่ดีโดยเฉพาะการได้ไปเกิดในสมัยของพระศรีอาริยเมตไตรย

แนวคิดและแนวปฏิบัติของชาวพุทธไทยจึงมีอิทธิพลของความเชื่อท้องถิ่นและศาสนาพราหมณ์เช่นเดียวกับในลังกา เพียงแต่อาจจะน้อยกว่า ความเจริญทางด้านวัตถุหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่และกระแสอารยธรรมตะวันตกที่เข้าสู่ประเทศไทยก็มีส่วนที่ทำให้ชาวพุทธไทยสนใจพุทธศาสนาและการปฏิบัติน้อยลงกว่าแต่ก่อน

พุทธศาสนาเถรวาทตามที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจและถือปฏิบัติกันอยู่โดยทั่วไปนั้น จัดเป็นพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน เพราะมีการผสมผสานกับความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีสางเทวดา และที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์

พุทธศาสนาแบบชาวบ้าน เป็นพุทธศาสนาที่ประนีประนอมให้เข้ากับความเชื่อพื้นบ้านในเรื่องผีบรรพบุรุษ ผีสางเทวดา นางไม้ ผีบ้านผีเรือน หรือกับความเชื่อจากคติพราหมณ์เรื่องขวัญ พระภูมิเจ้าที่ การดูฤกษ์ยาม และเทพเจ้าต่างๆ เช่น พระอินทร์ พระพรหม ความเชื่อและพิธีกรรมที่ไม่ใช่ของพุทะศาสนาเหล่านี้ปนมาอยุ่กับความเชื่อและพิธีกรรมของศาสนาพุทธ แม้จะไม่ถึงกับขัดแย้งกับหลักการสำคัญของพุทธศาสนาเถรวาท แต่ก็มีส่วนทำให้คนไขว้เขว หรือเข้าใจผิด ว่าเป็นความเชื่อหรือพิธีกรรมของพุทธศาสนา และทำให้คนห่างเหินจากแก่นแท้ของพุทธธรรม

ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากนับถือพระพุทธเจ้าเหมือนกับพระเจ้าในศาสนาเทวนิยม โดยมีการสวดมนต์อ้อนวอน หรือบนบานขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า และยังนิยมการบนบานหรือขอความช่วยเหลือจากสิ่งที่ไม่ใช่ สรณะ หรือที่พึ่งตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา เช่น ต้นไม้ จอมปลวก และสัตว์ที่มีลักษณะประหลาดหรือผิดปกติ การบูชาพระราหูเพื่อสะเดาะเคราะห์ ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ก็เป็นอีกตัวอย่างของการเหินห่างจากหลักคำสอนที่แท้จริงของพุทธศาสนา เพราะไม่มีคติความเชื่อนี้ในพุทธศาสนาเถรวาท

นอกจากนี้ พุทธศาสนาในประเทศไทยยังมีการผสมผสานกับความเชื่อของพุทธศาสนามหายานอีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การบุชาเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน แม้แต่ในวัดบางแห่งก็มีการจัดสร้างรูปเคารพของเจ้าแม่กวนอิมไว้ให้คนสักการบูชา ซึ่งบางวัดได้สร้างรูปเคารพของเจ้าแม่กวนอิมไว้อย่างใหญ่โตยิ่งกว่าพระพุทธรูปเสียอีก

ลัทธิบูชาเจ้าแม่กวนอิม (ซึ่งถือว่าเป็นองค์เดียวกับพระอวโลกิเตศวรของพุทธศาสนามหายานในอินเดีย) ที่แพร่หลายในประเทศไทยนั้น เป็นคติความเชื่อของมหายานจีน ซึ่งคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ก็ยังสืบทอดความเชื่อนี้อยู่ ผู้เขียนเห็นว่า อิทธิพลของความเชื่อนี้ได้แพร่จากคนไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนในไต้หวัน ฮ่องกง ที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทยไปสู่คนไทยโดยทั่วไป จนแม้กระทั่งวัดในพุทธศาสนาเถรวาทก็ยังนิยมสร้างรูปเคารพของเจ้าแม่กวนอิมให้พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้สักการบูชา

ดังนั้น การจะเข้าถึงหลักธรรมหรือความเชื่อที่แท้จริงของพุทธศาสนาเถรวาท จึงต้องแยกแยะให้ออกว่า ส่วนใดเป็นของพุทธศาสนาเถรวาท ส่วนใดเป็นของลัทธิความเชื่ออื่น ในทางกลับกัน การศึกษาพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลึกซึ้งจะทำให้เราสามารถแยกแยะได้ว่า ความเชื่อและพิธีกรรมใดที่เป็นความเชื่อและพิธีกรรมของพุทธศาสนาเถรวาท หรือสามารถเข้ากันได้กับหลักการของพุทธศาสนาเถรวาทอย่างแท้จริง

อ้างอิงเรื่อง

ดร.วัชระงามจิตเจริญ พุทธศาสนาเถรวาท สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยะรรมศาสตร์ กรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2552

อ้างอิงรูป

พระธรรมาจารย์เซิ่งเหยียน (อรุณ โรจนสันติ แปล) ปุจฉา วิสัชนา พุทธศาสนาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ 14/349 350 หมู่ 10 ถ.พระราม 2 บางมด บางขุนเทียน กรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 319622เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

วิธีวาดดอกกุหลาบดอกนี้อยู่ในบล็อคงานวาดสีน้ำนะคะ

 

มาชม

เป็นการวิเคราะห์ความเชื่อของคนในสังคมไทยผ่านมือระดับ ผู้ที่เคยบวชเรียนมานานและจบเปรียญธรรม 9 ประโยคหรือด็อกเตอร์ทางพระสงฆ์เลยนะครับ นั้นคือ รศ. ดร.วัชระงามจิตเจริญ...ที่ผมเคยเห็นใน ม.มจร. กรุงเทพ ฯ สมัยยังบวชอยู่ละครับ...

สวัสดีค่ะคุณครูอรวรรณ

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

ภาพสวยจัง

  • ดอกกุหลาบสวยงามมากจริงๆ
  • ภาษานิเทศศาสตร์ เขาว่า...เป็นสื่อที่โดนใจมาก

เป็น บทความที่ให้ความรู้และแง่คิดที่ดีครับ

ขอบคุณมาก

สวัสดีค่ะอาจารย์ umi

อ่านเล่มนี้แล้วได้ความรู้มากค่ะ โดยเฉพาะการวิเคราะเรื่องอัตตา อนัตตา ของท่าน

ขอบคุณที่แวะมานะคะ

สวัสดีค่ะคุณ atozorama

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

ขอบคุณค่ะที่แวะมาค่ะ

ศาสนาพุทธ กับศาสนาพราหมณ์ มีพิธีกรรมที่เอื้อต่อกันครับทั้งโดยตรงและทางอ้อม

  • แต่ทุกศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจให้มนุษย์ทุกคนเป็นที่ยึดเหนี่ยวและทำดีครับ
  • ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ ที่ให้เรียนรู้กันครับ

  • สวัสดีครับ มาขอบคุณที่เข้าไปทักทายครับ
  • เอาดอกเซียนฟ้ามาฝากด้วยครับ

 

สวัสดีค่ะ

  • เข้ามาทักทาย ก่อนมาชวนไปนอน
  • บันทึกนี้อ่านแล้วมีส่าระ  มีความรู้เพิ่มขึ้น
  • ธรรมะทำให้เกิดความสบายใจ
  • นอนหลับฝันดีแน่นอน

 

                       คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

จริง ๆ ต้องดูว่าพื้นฐานเดิมของชนชาติแถวนี้เป็นอย่างไร อย่างคนไทยนั้นอิทธิพลเรื่องความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้มีมาก่อนพุทธจะเข้ามา ทำให้เป็นพุทธที่เจือจางเอามาก ๆ ส่วนถ้าเป็นทางจีน พุทธเข้าไปยุคมหาปราชญ์ขงจื้อ พุทธเองจึงแสดงกำลังได้เต็มที่ พุทธในแนวของเซ็นจึงถือได้ว่าเป็นพุทธที่ยังเข้มข้น และเป็นดาบเล่มใหญ่ที่คนที่เข้าใจได้ จะเหมือนหลุดจากภพจากชาติเหมือนชั่วพริบตา

สวัสดีค่ะคุณ ศุภรักษ์ ศุภเอม

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอบคุณบันทึกนี้นะคะที่ให้ความรู้

เห็นด้วยค่ะ คนไทยเราไม่เน้น ปฏิบัติบูชาบูชาเท่าที่ควร

เน้นบริจาคทานสร้างวัตถุมาก

 

 

สวัสดีค่ะคุณแดง

ขอบคุณนะคะที่แวะมา

เลยได้ไปร่วมสุขสันต์วันเกิดกับคุณครูใจดีด้วยค่ะ

ก๊อกๆๆ ทักทายกันวันหยุดค่ะ  มาเรียนเรื่องศีล-ธรรมด้วยคนค่ะ

   

สวัสดีค่ะคุณครูบันเทิง

ขอบคุณค่ะที่แวะมา

ตามไปร้องไมโครโอเกะที่บ้านมาแล้วค่ะ ^_*

  • สวัสดีคะคุณณัฐรดา
  • มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
  • สบายดีนะคะ

*** เห็นด้วยจริงๆที่ว่า....ชาวพุทธไทยส่วนมากไม่ค่อยสนใจในการศึกษาพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง

***ที่เห็นส่วนใหญ่ เข้าถึงเพียงพิธรการเท่านั้น

*** ขอบคุณณัฐรดาค่ะ

  • สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา
  • อ่านแล้วมองเห็นภาพพุทธศาสนิกชนในเมืองไทยอย่างชัดเจน เปรียบ "ขนวัวกับเขาวัว"
  • คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาติดอยู่แค่ "ทาน" ยังไปไม่ถึง "ศึล" "ภาวนา" ขอบพระคุณเรื่องดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ตุ๊กตา

ตอนอยู่ชั้นประถม ดาวได้เรียนพุทธศาสนาเป็นวิชาเรียนวิชาหนึ่ง

ตอนนั้นก็เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมพระพุทธศาสนาที่เรียน กับพุทธศาสนาชาวบ้านนั้นแตกต่างกัน...

โชคดีที่ที่บ้าน คุณพ่อซื้อหนังสือธรรมะไว้เยอะ

เลยพอทำให้แยกได้ว่า อันไหนพุทธ อันไหนพราหมณ์ และอันไหนเป็นการนับถือผีค่ะ

ขอบพระคุณสำหรับบันทึกดีๆ นะคะ

สวัสดีค่ะคุณmena

ขอบคุณจังค่ะที่แวะมา

สบู่นมแพะที่บ้านน่าสนใจจังค่ะ

ก่อนจะไปวิจัยลมหายใจเลยแวะมาเยี่ยมโยมพี่ณัฐรดาก่อน..

พุทธศาสนาในสังคมไทยเน้นเปลือกมากกว่าแก่นมานานแล้วขอรับ..

แต่มองอีกมุมบางครั้งเปลือกก็รักษาแก่นเพื่อรอคอยผู้มีปัญญามาใช้ประโยชน์นะขอรับ..

สาธุๆๆกับข้อคิดดีๆมีสาระขอรับ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท