หากชาวพุทธยึด "การวางเฉย" ตามหลักพรหมวิหาร 4 กันหมด เราไม่กลายเป็นคนนิ่งดูดายหรือ?


บันทึกนี้ดัดแปลงจากการสนทนาระหว่างเพื่อนผู้สนใจหลักธรรมในพุทธศาสนา
ชาวพุทธได้รับการสั่งสอนให้มีอุเบกขา (การวางเฉย) ตามหลักพรหมวิหาร 4 ถ้าเราวางเฉยกันหมด แล้ว เราไม่กลายเป็นคนนิ่งดูดายหรือ ?

พรหมวิหาร 4 นั้น ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

เมตตา คือการปรารถนาให้เขามีความสุข ในกรณีที่เขาอยู่เป็นปกติสุข

กรุณา คือ ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ ในกรณีที่เขาประสบทุกข์ยาก

มุทิตา คือ การพลอยชื่นชมยินดีเมื่อเขาประสบความสำเร็จ ช่วยเหลือ สนับสนุนให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

อุเบกขา คือ การวางใจเป็นกลาง เพราะตระหนักว่าทุกคนต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเอง

เช่น หากเขาทำผิด ก็ต้องปล่อยให้เขารับผิด ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่ควรเป็นโดยไม่เข้าไปแทรกแซง

รวมไปถึง การไม่ก้าวก่ายชีวิตเขามากเกินไป จนอาจทำให้เขาอ่อนแอลงในอนาคต ปล่อยให้เขาจัดการตนเองตามความสามารถ เราเพียงพร้อมให้ความช่วยเหลือหากมีเหตุอันสมควร

การวางเฉยของอุเบกขาจึงไม่ได้หมายถึงการการไม่ทำอะไรเลย หากหมายถึงได้กระทำในสิ่งที่ควรทำแล้วจนสุดความสามารถ (อันที่จริงองค์ธรรมพรหมวิหาร 4 เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ ไม่เกี่ยวกับการกระทำแต่มีองค์ธรรมเช่น สังคหวัตถุ 4อันประกอบด้วย ทาน,ปิยวาจา,อัตถจริยา และ สมานัตตามารับช่วงต่อไป ความรู้สึกทางใจตามพรหมวิหาร จึงแสดงออกมาทางการกระทำตามสังคหวัตถุ)ตามที่ได้กระทำด้วย เมตตา กรุณา และมุทิตาแล้ว

แต่เมื่อทำแล้วไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ หรือเห็นว่าทำแล้วอาจเกิดผลเสียมากกว่า ก็ต้องวางใจเป็นกลาง ปล่อยทุกอย่างไปตามธรรม (สมบัติของอุเบกขา)

การวางเฉยยังมีอีกลักษณะหนึ่ง คือวางเฉยเพราะไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดี เฉย โดยที่ไม่ได้ทำอะไร เฉยแบบนั้น เรียก เฉยโง่, เฉยเมย, เฉยแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว คือ อัญญานุเบกขา นั้น จัดเป็นวิบัติของอุเบกขา

การวางเฉย ตามหลักพรหมวิหาร 4 จึงมี 2 ลักษณะดังกล่าว

โยนิโสมนสิการคืออะไร?

โยนิโสมนสิการ คือการคิดแบบสืบสวนต้นเค้า ว่าเหตุปัจจัยใด เมื่อเกิดแล้วเป็นเหตุให้ เหตุการณ์ หรือเวทนา หรือธรรมใดๆเกิดขึ้นโดยไม่เอาความรู้สึกตามตัณหาและอุปาทานของตนเข้าไปจับ โดยพิจารณาด้วยว่าหากจัดการด้วยปัญญา ผลจะออกมาเป็นอย่างไร หรือหากจัดการโดยไม่ใช้ปัญญา ผลจะออกมาเป็นอย่างไร

หากใช้โยนิโสมนสิการบ่อยๆ ชาวพุทธไม่กลายเป็นคนครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาหรือ?

ไม่อยากให้ใช้คำว่า ครุ่นคิด เพราะคำนี้ชวนให้เข้าใจว่าเป็นการนำไปสู่ความทุกข์ แต่อยากให้ใช้คำว่า พิจารณา

เพราะเมื่อพิจารณาจนเห็นเหตุที่เกิด เห็นทั้งคุณและโทษของสิ่งต่างๆบ่อยๆ จิตจะค่อยๆปล่อยวางจากความยึดถือมั่นหรือวางใจเป็นกลางต่อสิ่งนั้น

ดังนั้น เมื่อพบเหตุการณ์อย่างนั้นอีกในอนาคต เราจะค่อยๆทุกข์เพราะเหตุการณ์นั้น หรือเวทนานั้นๆน้อยลงไปเรื่อยๆตามอำนาจของการมองเห็น

โยนิโสมนสิการ จึงเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดสัมมาทิฏฐิ (อันทั้งหมดประกอบด้วย ศีล หรือความประพฏติอันดีงาม สุจริต,สุตะ หรือความรู้จากการเล่าเรียน การได้รับคำแนะนำ, สากัจฉา หรือการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้, สมถะ หรือการเจริญสมาธิ และวิปัสสนา หรือการใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆตามสภาพความเป็นจริง) ให้เกิดอุเบกขา อันนำไปสู่ความสงบของจิต

.................................

อ้างอิง

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธธรรม (ฉบับเดิม) กองทุนอริยมรรค 81/44 ซอยเพชรเกษฒ 47 แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ ธรรมสภา 1 / 4-5 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 367180เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2010 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

คำว่า โยนิโสมนสิการ ผมมักจะหมายถึงคำว่า "รู้คิดพิจารณา" ดั่งคำว่า "สติปัญญา" คือสติคอยพิจารณาให้ใช้ปัญญาไปในททางที่ถูกที่ควร

ขอบคุณครับสำหรับสาระดีดี

ขอบคุณค่ะ..พุทธปัญญาช่วยให้จิตสงบ..ต้องเพียรฝีกทุกขณะจิตนะคะ..ภาพดอกไม้งดงามมากๆค่ะ..ขอบคุณที่ไปเยี่ยมนะคะ..

            

ตามมาอ่านธรรมะ แถมได้ภาพดอกไม้สวยๆๆไปด้วยเย้ๆๆ

พี่ณัฐ จ๋า ตามภาพกล้วยไม้มาค่ะ การวางเฉย ดีจัง เดี๋ยวนี้ปูทำได้แล้ว โดยเฉพาะวันนี้ กับการได้รับเมลแปลกๆ อิ อิ ;)

มีเรื่องมากมาย ต้องทำ จึงสามารถละวางเรื่องไม่เป็นเรื่องได้ พี่ณัฐจ๋า ขอบคุณนะคะ สอบถามว่า ควรจะแปลพุทธสุภาษิตนี้

ให้ออกมาสละสลวย ว่าอย่างไรดีเอ่ยคะ ... “Neither fire nor wind, birth nor death can erase our good deeds.” Buddha

อิ่มอร่อยมื้อเย็น เย็นนี้ฟ้าครึ้มเช่นเคยค่ะ แต่คงไม่ตก มีเมฆลูกแกะ ประปราย ... ไว้ถ้าเจอดอกไม้จะเอามาฝากค่ะ

สวัสดีค่ะ

 

โยนิโสมนสิการ  น่าจะหมายถึง แนวความคิดที่เกิดจากการพิจารณาอย่างถูกวิธี อย่างเป็นระบบแบบแผนด้วยเหตุด้วยผล พิจารณาไตร่ตรอง ใคร่ควรด้วยปัญญา... ซึ่งเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์

ขอบคุณสาระดีๆ ค่ะ

 

 

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

แวะมาเรียนรู้ธรรมตอนเช้ากับพี่ด้วยคนครับ

ผมเคยคิดเหมือนกันว่าการวางเฉยกับการนิ่งเฉยแบบไม่รับรู้อะไรเลยนี่เป็นอุเบกขาหรือเปล่า

ก็ได้แนวคิดที่ดีครับว่าการใช้"หลักโยนิโสมนสิการ"มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาก็จะเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้เรื่องโยนิโสมนสิการด้วยคน
  • บังเอิญสอนวิชาพระพุทธศาสนา ม.6 ครูก็ไม่ค่อยแตกฉานมากนัก
  • ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้สู่กันนะคะ...เข้าใจชัดเจนมากขึ้นค่ะ

“Neither fire nor wind, birth nor death can erase our good deeds.” Buddha

อานิสงส์ผลบุญ                 ค้ำจุนกุศลธรรม

พายุถั่งโถมไฟกรรม            เกิด-ตายผันผ่านนิรันดร

 

ความดีอยู่ยั้งยืนยง             มั่นคงประดุจสิงขร

ประนมมือสองกร               ศรัทธาขจรทุกภพโลกา

 

 

ขอลองแปลและแปลง ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณภูสุภา

ไปลอกความที่แปลและบันทึกไว้ที่บ้านคุณปูมาค่ะ (ลืมลงในบ้านตัวเอง อิอิ)

ขอบคุณค่ะที่ช่สยแปลและแปลงภาษิตที่งดงามนี้ ขออนุญาตลอกที่คุณภูสุภาแปลไว้ไปแปะที่บ้านคุณปูด้วยนะคะ

..................................

52.

P
ณัฐรดา
เมื่อ ส. 19 มิ.ย. 2553 @ 06:46
#2049737 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]

สวัสดีค่ะ

ขอโทษค่ะที่ย้อนมาช้าไปหน่อย

สำหรับประโยคนี้

“Neither fire nor wind, birth nor death can erase our good deeds.”

ไม่ทราบผูกอย่างนี้จะเข้าเค้ามั๊ยนะคะ

..............................................

" ความดีนั้นจีรัง

แม้นโถมถั่งด้วยโพยภัย

เกิด ดับ ฤา น้ำ ไฟ

มิอาจลบ ให้ลางเลือน"

.............................................

ขอบคุณค่ะ ที่โพสต์ไป

เลยได้ภาษิตที่ดีอีกบทค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดาดีใจค่ะที่ได้พบกันวันนี้เช้าที่สดใส มารับธรรมมะและชมดอกไม้สวยๆค่ะ คงตื่นเช้าแบบนี้ทุกวันนะคะ..

ธรรมะสวัสดียามเช้าเนาะ

แวะมาบอกว่าภาพที่โยมพี่ส่งให้ได้รับแล้ว(ไม่ได้เข้าโกทูโนว์หลายเพลาแล้ว)

งดงามขอรับ

สาธุๆๆ

พี่ณัฐจ๋า ขอบพระคุณมากๆ เลยค่ะ ... อืม ภาพดอกไม้ ติดหนี้ไว้ก่อนนะคะ ;)

นำเครื่องบรรณาการมาตอบแทนน้ำใจ ไปฉลองกันหน่อยที่เกาะยาวใหญ่ค่ะ  

 

พี่ณัฐจ๋า เห็นแล้วคิดถึงเลยค่ะ สาวสวยชอบดอกไม้ ใช่เลย ;)

  ขอบคุณภาพจากบ้าน ครูพี่ป.๑ ค่ะ

งดงามตามแบบพุทธะ

หากปฏิบัติกันใด้....ความทุกข์ในจิตใจจะเกิดขึ้นจากใหน....

สวัสดีครับพี่...

เมืองไทยเรามีคนเคารพพระพรหมกันมากเหลือเกินครับ

แต่ไม่แน่ใจว่าเราเคารพเพียงเนื้อนอกหรือเนื้อในกันแน่

จำเหตุการณ์ที่ชาวบ้านรุมทำร้ายชายสติไม่สมประกอบที่ทุบพระพรหมได้ไหมครับ

ชาวบ้านที่เคารพรูปปั้นพระพรหมทำลายเนื้อในของรูปปั้นจนหมด เขาไม่เหลือทั้งเมตตา กรุณา มุฑิตาและอุเบกขาใด ๆ เลย

แวะมาอ่านเตือนสติตัวเองในยามเช้าครับ...

ธรรมะสวัสดี

เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นข้อมูลที่ดีครับ

เพราะปกติเรา (คนไทยบางคน) มักศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างผิวเผิน

แล้วก็มาวิเคราะห์ถกเถียงกัน เช่น ในอดีต เคยสั่งให้พระงดสอนเรื่องสันโดษ

เพราะเกรงว่าคนจะไม่ทำอะไร เศรษฐกิจไม่เติบโต

ฟังแล้วน่าเศร้า

ถือเป็นการจุดประกายในการศึกษาพระพุทธสาสนาอย่างลึกซึ้ง

ธรรมะสวัสดิี

ขออนุญาตแทรกความคิดเห็นส่วนตัวครับ!!

" วิปัสสนา" ==>> วิเศษ + ปัสสนะ==>>น่าจะเป็นการรู้/เห็นอย่างวิเศษ==>>คือเห็นตรงตามความเป็นจริง==>>เห็นอะไร?? เห็นกาย+ใจ (ของเราเองเท่านั้น..ไม่ใช่ของคนอื่น..พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้รู้เกินกาย+ใจ ตัวเองออกไป เพราะวิปัสสนาเป็นการพัฒนาจิตใจตัวเอง<ให้เกิดปัญญา> ไปสู่ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง)

ตามความเป็นจริง ==>คือตามความเป็นจริงของโลก/ธรรมชาติ (มี 3 ข้อ) คือ 1.ไม่เที่ยง 2.ไม่อยู่ในบังคับ 3.ไม่มีตัวตนถาวร

การเห็น(โลก = กาย+ใจ, โลกะวิทู) ตรงตามความเป็นจริง = นี่แหละเป็นปัญญา ที่จิตใจยอมรับ(ที่พ้นจากเจตนา) ความจริง ==>>ทำให้มองเห็น "กุศล" และ "อกุศล" (ที่มันเกิดกับเรา..ไม่ใช่คนอื่น) เท่าเทียมกัน/เสมอกัน==>>จึงเปล่าวาง เพราะจิตหมดความดิ้นรน = อุเบกขา => หมดการกระทะกรรมทางใจ = พ้นทุกข์

หมายเหตุ- การการะทำกรรม (ทางใจ) เป็นเหตุให้เกิดการกระทำกรรม (ทางกาย+วาจา+ใจ) ในขั้นถัดมา

ณัฐพงษ์ ศรีอุดม

ขออนุญาตแทรกความคิดเห็นส่วนตัวครับ!!

" วิปัสสนา" ==>> วิเศษ + ปัสสนะ==>>น่าจะเป็นการรู้/เห็นอย่างวิเศษ==>>คือเห็นตรงตามความเป็นจริง==>>เห็นอะไร?? เห็นกาย+ใจ (ของเราเองเท่านั้น..ไม่ใช่ของคนอื่น..พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้รู้เกินกาย+ใจ ตัวเองออกไป เพราะวิปัสสนาเป็นการพัฒนาจิตใจตัวเอง<ให้เกิดปัญญา> ไปสู่ความพ้นทุกข์สิ้นเชิง)

ตามความเป็นจริง ==>คือตามความเป็นจริงของโลก/ธรรมชาติ (มี 3 ข้อ) คือ 1.ไม่เที่ยง 2.ไม่อยู่ในบังคับ 3.ไม่มีตัวตนถาวร

การเห็น(โลก = กาย+ใจ, โลกะวิทู) ตรงตามความเป็นจริง = นี่แหละเป็นปัญญา ที่จิตใจยอมรับ(ที่พ้นจากเจตนา) ความจริง ==>>ทำให้มองเห็น "กุศล" และ "อกุศล" (ที่มันเกิดกับเรา..ไม่ใช่คนอื่น) เท่าเทียมกัน/เสมอกัน==>>จึงเปล่าวาง เพราะจิตหมดความดิ้นรน = อุเบกขา => หมดการกระทะกรรมทางใจ = พ้นทุกข์

หมายเหตุ- การการะทำกรรม (ทางใจ) เป็นเหตุให้เกิดการกระทำกรรม (ทางกาย+วาจา+ใจ) ในขั้นถัดมา

องค์ธรรมทุกองค์ (84000 พระธรรมขันธ์ รวามลงที่ "สติ" ตัวเท่านั้น

ณัฐพงษ์ ศรีอุดม

ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมานะคะ

-----------------------------------

สวัสดีค่ะ คุณณัฐพงศ์ ศรีอุดม

ขอบคุณค่ะสำหรับความเห็นที่มาเพิ่มเติมไว้ค่ะ

เราอาจนำสิ่งที่เกิดกับคนอื่น มาพิจารณาด้วยก็ได้ค่ะ เช่นเวทนา ถ้าเป็นเวทนาที่เกิดกับผู้อื่น ไม่ใช่ของเรา ก็เรียกเวทนาภายนอกค่ะ เราเวทนาภายนอกนั้น มาทำเป็นภายใน เพื่อพิจารณาก็ได้เหมือนกัน

เพราะเวทนาบางอย่าง อาจไม่เคยเกิดขึ้นกับเราเลยก็ได้ การนำมาพิจารณา ก็เพื่อให้รู้จักเวทนาทั้งหมดค่ะ

เพื่อให้เห็นคุณโทษ เวทนานั้นๆจะได้ไม่มีโอกาสได้เกิดกับเราค่ะ

ขอบพระคุณอีกครั้งนะคะ ที่แวะมาแลกเปลี่ยนกันค่ะ

พิจารณาสภาวะธรรมเนืองๆ

เพื่อพัฒนาสติ และ ปัญญา

ขอบพระคุณครับ...

ปัญญามี - 3 ตัว แต่เปํน 2 ระดับ คือ

1. ปัญญาทางโลก (โลกียปัญญา)

- สุตตมยปัญญา : เกิดจากการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของผู้อื่น เช่น อ่าน. ฟัง

- จินตามยปัญญา : เกิดจากการคิดพิจารณาใคร่ครวญด้วยเหตุผล

2. ปัญญาพ้นโลก / โลกุตรปัญญา (เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ทางใจสิ้นเชิง)

- ภาวนามยปัญญา : เกิดจากการปฏิบัติสมถะ(เป็นส่วนสนับสนุนให้จิตมีกำลังทำวิปัสสนา) และวิปัสสนาเพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาน/วิปัสสนาปัญญา(ความเข้าใจความจริงของรูป-นามธรรม)ซึ่งเกิดจากการตามรู้รูป-นามธรรมอยู่เนืองๆ

ความพ้นทุกข์เกิดจากการปล่อยวางความยึดถือรูปนาม/กายใจ คือวิปัสสนาปัญญาซึ่งอยู่ในระดับโลกุตระ (และปลอดจากความคิดตลอดสาย) ไม่ใช่การคิดพิจารณาใคร่ครวญด้วยเหตุผล ซึ่งอยู่ในระดับโลกียะ(ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา)

วิปัสสนาญาน ในขั้นต้นต้องสามารถแยกรูปธรรม-นามธรรมออกจากกันได้ และเห็นความเกิด-ดับของสภาวธรรมได้ (ซึ่งสนันสนุนกฎความจริงของธรรมชาติได้ คือไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นไตรลักษณ์..ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา) นอกจากนั้นปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด แต่สัมมาสมาธิต้องอาศัยองค์ธรรมที่ชื่อว่าธรรมเอก หรือเอโกธิภาวะ(ทำให้แยกรูปแยกนามได้ และจิตไม่คลุกอยู่กับอารมณ์/ ดีดตัวออกมาเป็นผู้รู้อารมณ์) ซึ่งเกิดตั้งแต่ฌานที่ 2 เป็นต้นไป ตั้งแต่ฌานที่ 2 เป็นต้นไปนี้จะไม่มีองค์ธรรมอยู่ 2 ตัว คือ วิตก และ วิจาร (คือตรึกและตรอง นั่นก็คือกระบวนการคิดพิจารณานั่นเอง)

เจริญในธรรม

สวัสดีค่ะคุณ Waranya Choemkrajean

ขอบคุณมากเลยค่ะที่เข้ามาเพิ่มเติมเนื้อหา เลยนึกขึ้นได้ว่าตัวเองเขียนรวบรัดไป

แต่ขออนุญาตแสดงความเห็นต่างเรื่องปัญญานิดนึงนะคะ

ปัญญามี 3 ระดับ

ระดับต้นแฝงอยู่ในศรัทธา (เพราะถ้ามีศรัทธา แต่ไม่มีปัญญากำกับ ศรัทธาจะนำไปสู่สีลัพพตปรามาสได้)

ระดับกลางคือสัมมาทิฏฐิ (ซึ่งมีทั้งสัมมาทิฏฐิระดับโลกุตตระ และโลกิยะ)

และปัญญาระดับญาณ หรือก็คือวิชชานั่นเองค่ะ

สุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา น่าจะอยู่ในช่วงระดับศรัทธาและสัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นโลกิยะนะคะ ส่วนภาวนาปัญญาน่าจะอยู่ในช่วงที่สูงขึ้นไป

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะที่แวะมา และฝากความเห็นเพื่อการปรับปรุงไว้ค่ะ

เรียน คุณณัฐรดา

พรหมวิหารสี่ ผมทราบเพียงว่าเป็นธรรมสำหรับคนเป็นผู้ใหญ่ มาอ่านคุณณัฐรดา เขียนจึงทำให้รู้กว้างขึ้นครับ

วันนี้มาบอกว่าหนังสือที่ส่งไปให้นั้นได้รับแล้วครับ ขอบคุณแทนเด็กๆ จะส่งให้โรงเรียนในเครือข่ายไทยรัฐวิทยา และโรงเรียนใกล้เคียง

สวัสดีครับ

ขอบคุณสำหรับข้อคิดๆ สำหรับสังคมไทย

สวัสดีขอรับ

  • มาทีไร ก็ได้ธรรมะดี ๆ ไปทุกครั้งขอรับ
  • กระผมเองยังไม่สามารถรวมทางธรรมกับทางโลกเป็นทางเดียวกันได้ อ่านแล้วก็คิดตาม แถมได้แนวปฏิบัติที่ดีด้วยขอรับ
  • อุเบกขา เป็นเครื่องมือประหารกิเลสได้ผลดีนักแล
  • ขอบพระคุณขอรับ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท