ที่มาของสิงคาลกสูตร อันเป็นคิหิปฏิบัติ


พระสูตรที่ผู้ครองเรือนควรรู้

พระสูตรนี้เป็นพระสูตรที่ชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ควรทราบค่ะ เพราะเป็น ศีลของผู้ครองเรือน * หรือแนวทางปฏิบัติตนเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ชื่อพระสูตรแปลว่า พระสูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ อันเป็นการตั้งชื่อตามบุคคลในพระสูตร (แต่บางแห่งเรียก สิงคาลสูตร บางแห่งเรียก สิคาโลวาทสูตร หรือ สิงคาโลวาทสูตรก็มี ซึ่ง สองชื่อท้ายนี้ แปลว่า พระสูตรว่าด้วยพระโอวาทที่ทรงแสดงแก่สิคาล หรือสิงคาลมาณพ)

ชาวยุโรปเลื่อมใสพระสูตรนี้มากค่ะ ด้วยเชื่อว่าสามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้ เพราะเสนอหลักทิศ ๖ อันแสดงถึงหน้าที่ที่ทุกคนในสังคมพึงปฏิบัติต่อกันในทางที่ดีงามโดยไม่มีการกดดันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง**

เรื่องเริ่มต้นมีอยู่ว่า สิงคาลกมาณพเป็นบุตรของคหบดีมหาศาลผู้หนึ่งในกรุงราชคฤห์ คหบดีอันเป็นบุพการีนั้น นับถือศาสนาพุทธและเป็นพระโสดาบัน เพียรแนะนำผู้เป็นบุตรให้เข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า และพระเถระอื่นๆ เพื่อปลูกฝังศรัทธาในพระศาสนา แต่สิงคาลกมาณพมักบ่ายเบี่ยง เลี่ยงไปโดยว่าตนไม่มีกิจต้องไปหาสมณะนั้น การเข้าหาสมณะจะต้องไหว้ การน้อมตัวลงไหว้ ทำให้เจ็บหลัง ทั้งการนั่งคุกเข่าก็ทำให้เจ็บเข่า อีกการนั่งกับพื้น ทำให้เสื้อผ้าเก่า เศร้าหมอง รวมไปถึงการนั่งใกล้ทำให้ต้องสนทนากัน อันนำไปสู่ความสนิทสนม ทำให้ต้องสละทรัพย์เพื่อบำรุงสงฆ์ อันทำให้ต้องสิ้นเปลือง

ด้วยเหตุนี้ คหบดี จึงเลิกแนะนำ ต่อมาบิดาป่วย ก่อนตาย ได้สั่งสิงคาลกมาณพว่าให้หมั่นไหว้ทิศ โดยหวังว่าสิงคาลกะมาณพคงไหว้แบบบุคคลทั่วไปด้วยไม่เข้าใจความหมาย เมื่อพระพุทธเจ้า หรือพระเถระรูปใดมาเห็นเข้า คงแนะนำให้เขาเข้าใจตามเจตนาของตนได้

เช้าตรู่ของวันที่ทรงแสดงพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูหมู่สัตว์ที่ควรโปรด ทรงเห็นอุปนิสัยของสิงคาลกะมาณพ จึงเสด็จมาแสดงธรรมเทศนา ซึ่งนอกจากจะเป็นไปตามความมุ่งหมายของคหบดีผู้บิดา ยังทรงหมายให้เป็น คิหิวินัย คือข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ในสังคมชาวพุทธสืบไปอีกด้วย

เนื้อหาของพระสูตร พอจะแยกเป็น 3 ส่วนได้คือ

1การละเว้นความชั่ว ชำระกายใจให้สะอาดประดุจการอาบน้ำ โดยการละสิ่งชั่วร้าย 14 ประการ คือ

- กรรมกิเลส 4 (การเบียดเบียนร่างกายและชีวิตผู้อื่น,การลักทรัพย์,การประพฤติผิดในกาม,การพูดเท็จ)

-อคติ 4 (การลำเอียงเพราะชอบ,การลำเอียงเพราะชัง,การลำเอียงเพราะเขลา,การลำเอียงเพราะกลัว ทั้งนี้เพื่อให้ดำรงอยู่ในธรรม มีความเที่ยงธรรม)

- อบายมุข 6 (การเป็นนักเลงสุรา,การเป็นนักเที่ยว,การเป็นนักหมกมุ่นในการบันเทิง, การเป็นนักพนัน, การคบคนชั่วเป็นมิตร, การเกียจคร้านการงาน)

2เปิดโอกาสให้ตนเองได้รับสิ่งดีๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ที่ยิ่งขึ้น และรักษาสิ่งดีๆที่ได้นั้นไว้ อันประกอบด้วยการเลือกคบมิตร (พระพุทธองค์ให้ความสำคัญกับมิตรมาก ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงชี้ให้เห็นว่า กัลยาณมิตร เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ เป็นต้น แต่ไม่ใช่ไม่คบคนชั่วเสียเลย เพราะทรงมีคำสอนที่ว่า ไม่ให้คบคนชั่ว เว้นแต่จะช่วยเหลือเขา ซึ่งหากเรามีการชำระล้างกายให้สะอาด เที่ยงธรรม ตามขั้นที่ 1 สร้างสิ่งดีๆตามธรรมและรักษาสิ่งดีๆนั้นไว้ได้แล้ว ก็ย่อมเข้มแข็งพอที่จะช่วยผู้อื่นได้)

ประกอบอาชีพสุจริตเพื่อให้ได้โภคทรัพย์สำหรับการดำรงชีวิต แล้วพึงแบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน คือส่วนหนึ่งใช้สอย 2 ส่วนใช้ประกอบการงานส่วนที่ 4 เก็บไว้ด้วยหมายใจว่าจะใช้ในยามมีอันตราย

3ปฏิบัติหน้าที่ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง และสังคม อย่างไม่บกพร่อง เพื่ออยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข และเพื่อพัฒนาตน พัฒนาจิต ให้ยิ่งๆขึ้นไป

การเปรียบบุคคลรอบข้างดุจทิศทั้ง 6 นั้นคนอินเดียบัญญัติทิศโดยยึดทิศที่พระอาทิตย์ขึ้นเป็นหลัก เมื่อหันหน้าไปทางทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น ทิศนั้นก็เป็นทิศเบื้องหน้า ดังนั้น ทิศเบื้องหน้าในพระสูตรนี้จึงหมายถึงทิศตะวันออก (ปุรัตถิมทิศ คือทิศบูรพา)

บุคคลที่มาก่อนเราคือพ่อแม่ ดังนั้น ทิศตะวันออกจึงเป็นทิศของพ่อแม่ และเนื่องจากบุคคลหรือสิ่งของที่เคารพ มักจะไว้ทางขวา ดังนั้นเมื่อยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขวามือจึงเป็นทิศใต้ ครูบาอาจารย์เป็นผู้ที่เราเคารพ จึงให้ทิศใต้เป็นทิศของครูอาจารย์

ทิศเบื้องหลัง คือบุตรภรรยา ทิศเบื้องซ้าย คือมิตรสหายผู้ร่วมงาน ทิศเบื้อล่าง คือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และทิศเบื้องบน คือสมณะ

ทุกทิศต้องรู้จักปฏิบัติหน้าที่ที่มีต่ออย่างเหมาะสม นอกจากบุคคลใกล้ชิดเราแล้ว เรายังอยู่ในสังคม จึงต้องมีการปฏิบัติตนเพื่ออยู่อย่างเป็นสุข และเกื้อกูลสังคมด้วย ซึ่งได้ตรัสหลักสังคหวัตถุ 4 อันประกอบด้วยทาน (การให้ปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) ,ปิยวาจา (การใช้วาจาสุภาพ บอกสิ่งที่มีประโยชน์ต่อกัน), อัตถจริยา (การบำเพ็ญประโยชน์), สมานัตตา (การเอาตัวเข้าสมาน ร่วมทุกข์ร่วมสุข ปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค เสมอต้นเสมอปลาย)

เมื่อบุคคลปฏิบัติตามพระสูตรนี้แล้ว เท่ากับปฏิบัติหน้าที่โดยเกิดผลดีทั้งต่อตนเอง และ ต่อผู้อื่น นำมาซึ่งทั้งประโยชน์ปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) ประโยชน์เลยตาเห็น (สัมปรายิกัตถะ) และประโยชน์สูงสุด (ปรมัตถะ)

สำหรับตัวพระสูตร ขอเริ่มบันทึกตั้งแค่บันทึกต่อไปนะคะ โดยจะคัดลอกมาจากพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 11 (สุตตันต3) ทั้งส่วนที่เป็นตัวพระสูตรเอง และส่วนของเชิงอรรถที่อธิบายความหมายไว้ในส่วนท้ายของหน้า

โปรดติดตามนะคะ

...........................................................

*ศาสตราจารย์พิเศษ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต. คำบรรยายพระไตรปิฎก ธรรมสภา : กรุงเทพ, 2550

**สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฏกฉบับประชาชน มหามกุฏราชวิทยาลัย : กรุงเทพ, 2550

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) หลักสูตรอารยชน. ธรรมสภา : กรุงเทพ, 2553

หมายเลขบันทึก: 384602เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2010 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีครับ  เป็นความรู้ที่ไม่ใคร่จะมีใครสนใจ  แต่เมื่อนำสู่ชุมชนนี้ แน่นอนต้องได้คนที่สนใจเพิ่มขึ้นแน่นอนครับ   ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

สวัสดีค่ะ

เช้าๆ แบบนี้ได้อ่านเรื่องราวๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา  เป็นมงคลยิ่งค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

 

อนุโมทนาสาธุครับ

แวะมาอ่านเกริ่นนำของสิงคาลกะสูตรครับ...

สวัสดีค่ะคุณธนา นนทพุทธ

ขอบคุณนะคะที่แวะมา

เพิ่งไปเยี่ยมที่บ้านมาค่ะ บันทึกเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดกับเด็ก น่าสนใจค่ะ

เพราะบางทีเราก็อาจคิดไม่ถึงค่ะ

เป็น Blog ที่สวยงาม ประณีตด้วยเนื้อหา และภาพประกอบครับ..

มาดูแล้วทำให้ได้คิดอีกครับ...

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

สบายดีนะครับ

แวะมาเรียนรู้กับธรรมะที่พี่สรรหามาฝากเช่นเดิมครับ

ขอบคุณครับ

แวะมาทักและเสริมมงคลชีวิตค่ะ

หมู่นี้ไม่ค่อยได้ทักกันเลยนะคะ ใครยุ่งนะ ^ - ^

สวัสดีค่ะมาอ่านพระไตรปิฎก ดีจังเลยค่ะ จะหาอ่านเองคงยากนะค่ะ อิอิ

สวัสดีคะ พี่ณัฐรดา

  • ขอบคุณนะค่ะสำหรับภาพวาดแม่ น่ารักมากๆ เลยหล่ะค่ะ ถึงสีจะฉูดฉาดแต่ยังรู้สึกได้ถึงความอบอุ่นของคุณแม่และคุณลูกนะคะ ^^
  • รอซาบซึ้งกับพระสูตรในบันทึกต่อไปคะ
  • ขอบพระคุณค่ะที่นำมาเผยแผ่คะ ..

สวัสดีค่ะตุณครูใจดี

ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมกัน

เพิ่งกลับจากบันทึกการสารภาพรักของคุณครูมาค่ะ มองว่าการสารภาพรัก เหมือนสร้างความชุ่มชื่นให้อีกฝ่ายนะคะ

เพราะมนุษย์ย่อมต้องการเป็นที่รักเสมอ

สวัสดีค่ะคุณ Phornphon

บทกวีที่บ้าน ให้ความงดงามเสมอเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ ดร.ภิญโญ

แวะไปขอความรู้จากที่บ้านมาแล้วค่ะ

สนุกสนานสมคำโปรยเลย

  • สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดาP
  • ขอบพระคุณที่แบ่งปันบันทึกดี ๆ ค่ะ
  • เรื่องเกี่ยวกับทิศหกเป็นหลักการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ
    ที่ควรน้อมนำไปปฏิบัติเพื่อความเจริญในชีวิต
  • น่าสนใจดีค่ะ

สวัสดีค่ะ  ป้าณัฐรดา

   พยายามนึกถึงศีลการครองเรือน    แต่นึกไม่ออกค่ะ

ภาพวาดลูกสาว   เก็บไว้ให้ลูกดูตอนโต  ลูกสาวน่าจะยิ้ม....นะคะ

  สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ

ไม่ได้แวะมาเยี่ยมทักทายซะหลายวัน  สบายดีนะคะ

ขอบคุณบันทึกและเรื่องราวดีๆที่แบ่งปันค่ะ

วันหยุดยาวได้พักผ่อนหลายวัน...ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

คุณณัฐ เมื่อกลางวันเห็นแว็บๆว่าจะตามอ่านสักหน่อยเปิดดูอีกทีก็กลายมาตั้งสองสามหน้าแล้ว เจริญพร สบายดีนะ

สวัสดีค่ะอีกรอบค่ะ

มาเยี่ยมค่ะแม้ว่าครูใจดีจะเขียนบันทึกเรื่องใหม่แล้ว แต่ก็ยังเป็นบรรยากาศของวันแม่อยู่พอดีพึ่งได้ภาพแม่เมื่อวันที่ 12 สค. จากกล้องของเพื่อนแม่ค่ะ  แม่เป็นตัวแทน อสม.และชุมชนตลาดท่าเสา  ถวายพานพุ่ม และจุดเทียนชัยถวายพระ  จึงอยากพาแม่มาเยี่ยมชาวบล็อกด้วยค่ะ  วันนี้แม่สวมชุดผ้าไทยสีฟ้า ครูใจดีมอบต่างหูให้แม่เป็นในวันแม่ แม่ดีใจมาก ถอดอันเดิม แล้วใส่ต่างหูที่ครูใจดีเอาไปกราบแม่ ใส่เป็นปฐมฤกษ์ วันนี้แม่ของครูใจดีสวยมากค่ะ

                

* คุณณัธฐรดา ลองทายซิคะ พอจะจำได้มั้ยคะว่าแม่ของครูใจดีคนไหน

* คิดถึงเสมอไม่เปลี่ยนแปลงค่ะ

 

สวัสดีค่ะพี่ตุ๊กตา

แวะมาทักทายและรับมงคลชีวิตในวันหยุดค่ะ

จะรอติดตามอ่านตอนต่อไปนะคะ

คิดถึงเสมอค่ะ

นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ของจีน คือขงจื้อ คำสอนของขงจื้อเป็นไปในทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือสอนคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน (ในปัจจุบันชาติ) แต่สิงคาลกสูตร หรือสิงคาโลวาทสูตร แค่เพียงพระสูตรนี้พระสูตรเดียวก็ครอบคลุมคำสอนของขงจื้อไว้ทั้งหมด พระพุทธศาสนายิ่งใหญ่กว้างขวางจริงๆ เพราะสอนทั้งทิฏฐธัมมิกัตถ สัมปรายิกัตถ และโลกุตตรกัตถประโยชน์ ขอบพระคุณคุณณัฐรดามากๆที่นำมาลงไว้ในบล็อกให้สาธุชนได้อ่านกันคับ

ขอบคุณ คุณChaivat Dhaneroj ค่ะ ที่กรุณาฝากความเห็นไว้

ผมความรู้แค่หางอึ่งคับพี่ณัฐ ได้รู้ได้ฟังมาบ้างก็แบ่งปันกันไป แชร์ความรู้รอบตัวนิดๆหน่อยๆคับพี่ ผมชอบ "จุดมุ่งหมายในชีวิต" ของพี่มาก เพราะความมุ่งหมายเหมือนกันกับผม บางขณะก็อยากเป็นพหูสูตรต้องเรียนต้องศึกษาทุกอย่างในพุทธศาสนา แต่บางขณะก็อยากบรรลุธรรมขั้นสูงสุดเร็วๆ เข้าถึงนิโรธะเร็วๆ คิดไปคิดมาค่อยๆสั่งสมทั้งสองความอยากไปเรื่อยๆดีกว่า 5555 ยินดีคับพี่ณัฐ

ความอยากบรรลุธรรมเร็วๆ มักเกิดกับเราๆทุกคน โชคดีจังค่ะที่คุณ Chaivat Dhaneroj ไม่ทุกข์เพราะความอยากนี้

เพราะหากการปฏิบัติโดยค่อยๆเป็นไป ให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ สอดคล้องกับสมมติสัจจะ ไม่สันโดษในเหตุ แต่สันโดษในผล จะค่อยๆปล่อยวางทีละสิ่งอย่างมีความสุขค่ะ

“ปฏิบัติให้ชอบต่อสมมุติ แต่ทางจิตใจนั้นต้องปฏิบัติผ่อนคลายความยึดถือ ให้เข้าถึงปรมัตถสัจจะดังเช่นทุกคนมีสมมุติสัจจะอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เช่น เป็นหญิงเป็นชาย ชื่อนั่นชื่อนี่ มียศตำแหน่งอย่างนั้นอย่างนี้ และยังมีสมมุติอื่นๆอีกหลายอย่างหลายประการ เหล่านี้เป็นสมมุติสัจจะก็ต้องให้มีสมมติญาณ คือ ความหยั่งรู้ในสมมุติ ว่านี่เป็นสมมุติ และใครเมื่อได้รับสมมุติอย่างไรก็ปฏิบัติไปให้ เช่น เป็นหญิงหรือเป็นชายก็ปฏิบัติให้เหมาะแก่ภาวะของหญิงหรือชาย เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก ก็ปฏิบัติให้เหมาะแก่ภาวะนั้นๆ เป็นบรรพชิตก็ปฏิบัติให้เหมาะแก่ภาวะของบรรพชิต เป็นภิกษุ สามเณร คฤหัสถ์ อุบาสก อุบาสิกา ก็ปฏิบัติให้เหมาะตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ศึกษาให้รู้จักปรมัตถ์สัจจะด้วยว่า อันที่แท้จริงนั้น เป็นเพียงสมมุติแต่ละอย่าง”

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน หน้า ๑๑๐

เขียนบันทึกชุดทำไมฆราวาสจึงพบความทุกข์เพราะการปฏิบัติธรรมไว้ชุดหนึ่ง ในตอนที่ 5 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งความหวังในการปฏิบัติไว้

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/496118

อยากเชิญไปชมค่ะ

ขอบคุณพี่ณัฐ สำหรับบทความคับ

ขอบคุณคุณ Chaivat Dhaneroj สำหรับการเยี่ยมชม และ ความเห็น เช่นกันค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท