ภาพขีดเขี่ยของเด็กเล็ก


ครูคนแรกของลูกคือพ่อแม่
เด็กเล็กๆเรียนรู้โลกด้วยการเล่นค่ะ วันๆ เวลาของเด็กจึงหมดไปกับการเล่น การตั้งข้อสงสัย และการทดลองทำตามที่เค้าสงสัยนั่นเอง

เด็ก 2 ขวบ เริ่มเปลี่ยนจากการกระทำตามปฏิกิริยาสะท้อนกลับมาเป็นการใช้ความคิดอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเด็กมีการทดลองทำตามความคิดในสมองก่อนค่ะ แล้วจึงค่อยทดลองทำจริงตามที่คิดเอาไว้ ปกติเด็กอายุ 2 ขวบจะเริ่มจับดินสอ พู่กันได้ เมื่อเริ่มจับได้ ก็จะเริ่มนำไปขีดบนวัสดุต่างๆ เป็นพฤติกรรมขีดเขี่ยตามพัฒนาการของเด็ก

อันที่จริง เด็กสามารถสนุกกับการวาดภาพได้ตั้งแต่วัยก่อนเข้าเรียน (2 - 5 ขวบ) แต่พบว่าพ่อแม่มักพาลูกไปเรียนศิลปะเมื่อเด็กเรียนอยู่ชั้นประถมต้นแล้ว นับว่าเสียโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในการใช้ความคิด ใช้จินตนาการของเด็กไปอย่างน่าเสียดายค่ะ

มีขั้นตอนของการพัฒนาพฤติกรรมขีดเขี่ยดังนี้ค่ะ

ระยะต้น ระยะการขีดเขี่ยเพื่อการทดลอง ได้เส้น จุด หรือรอยขีดซ้ำๆที่ไม่มีความหมาย ไม่ได้เกิดจากจินตนาการ

ระยะกลาง เริ่มใช้จินตนาการ ว่าจะขีดเขี่ยเป็นคน สัตว์ สิ่งของใดๆ อาจขีดเป็นเส้นม้วนไปมา วงกลมซ้อนๆกัน หรือลากเส้นเป็นวงอย่างอิสระ แต่เพราะยังไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อมือได้ดี เส้นที่ออกมาจึงยังไม่เป็นภาพ อาจเรียกชื่อเส้นที่ตนขีดเขี่ยนั้นว่าเป็นอะไรได้

ระยะสุดท้าย เด็กอายุ 4 – 7 ปี สามารถควบคุมทิศทางของเส้นได้แล้ว จึงเกิดเป็นภาพง่ายๆขึ้น ในชั้นแรก ภาพคนอาจไม่สมบูรณ์ มักวาดวงหน้าไปก่อน แล้วค่อยเติมตา จมูก ปาก แต่อาจไม่ตรงตำแหน่งตามความเป็นจริง อายุ 5 ปี จึงเริ่มวาดรูปคนที่มีอวัยวะต่างๆสมบูรณ์

ตัวอย่างภาพจากพฤติกรรมขีดเขี่ยระดับต่างๆ

การเริ่มขีดเขี่ยและการขีดเขี่ยอย่างมีความหมาย

ภาพขีดเขี่ยที่เริ่มมีความหมาย มีการเรียกชื่อสิ่งที่ขีดเขี่ย

ภาพขีดเขี่ยอย่างมีความหมายที่มีการพัฒนามากขึ้น

ภาพวาดง่ายๆที่พัฒนาจากการขีดเขี่ยอย่างมีความหมาย (ผลงานภาพวาดผึ้งและผีเสื้อของเด็กอายุประมาณ 2 ขวบ)

อย่ารอลูกโตแล้วค่อยพาไปเรียนศิลปะเลยนะคะ พ่อแม่นั่นแหละค่ะ พาลูกวาดเล่นไปก่อน เมื่อเด็กโตพอจะแยกจากพ่อแม่ได้บ้างแล้ว จึงค่อยพาไปเข้าคอร์สศิลปะให้ได้ทำงานศิลปะกับเด็กวัยเดียวกัน

หน้าที่ของพ่อแม่ในช่วงที่ลูกก่อนจะเข้าเรียนนี้หรือคะ ก็คือเตรียมหากระดาษไว้ให้ลูกไว้

ส่วนที่เหลือ ..... หนูจัดการเองค่ะ

........................................................

อ้างอิง

เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ พัฒนาการมนุษย์ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550

หมายเลขบันทึก: 378864เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2010 05:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะ

ดูภาพแล้วนึกถึงการขีดเขี่ยของลูกชายตอนเขาเด็กๆค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้มากค่ะ

พ่อแม่คือครูคนแรกของลูกที่จะช่วยส่งเสริมเขา

ขอบคุณบันทึกดีๆนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องสาว

  • ครูอ้อยชอบเก็บงานของลูกสาวไว้ชื่นชม  แต่ย้ายบ้านบ่อยมาก งานเหล่านั้นได้สูญหายไป  แต่พอมาอ่านบันทึกนี้  ได้คิดถึงภาพเก่าๆ ช่างมีความสุขมากมาย
  • ขอบคุณที่มอบสิ่ง ที่ดี ที่งามให้กับพวกเรา
  • ขอบคุณอีกครั้ง และขอให้มีความสุขมากมาย นะคะ

ได้มีโอกาสดูหนังสือที่คุณทำ จากคุณถาวร ดูดีมากค่ะ

 

น่ารักมากเลยครับ พี่ณัฐรดา

หลังจากที่ผมไป ลำปลายมาศพัฒนา ที่ผ่านมา ทำให้ผมซาบซึ้งมากกับงานศิลปะที่ช่วยพัฒนาเด็ก

ภาพของเด็กที่วาดมีชีวิตชีวิามากๆครับ

สวัสดีครับ

ผมไม่เคยส่งลูกไปเรียนพิเศษเรื่องการเขียนภาพ,วาดรูป
แต่เขาชอบกันมาก  เลยต้องเก็บกระดาษใช้แล้วมาให้เขียนรูป...
ตอนนี้เขียนกันใหญ่เลย  มีหลายรูปน่ารัก น่าสนใจ
บางทีเขียนเรื่อง,วาดรูปกิจกรรมค่ายอาสาที่ไปกับพี่นิสิต

อ่านบันทึกนี้ ชวนให้ต้องกลับไปพลิกดูภาพวาดของลูกๆ อีกรอบ...

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่ตุ๊กตา...เห็นภาพขีดเขียนของเด็กแล้ว นึกถึงสมัยที่ตัวเองยังเป็นเด็กค่ะ

คุณพ่อเก็บภาพวาดตอนเด็กๆเอาไว้ให้ดูต่างหน้า...

ดาวว่าการวาดภาพเป็นการเรียนรู้และแสดงอารมณ์ของเด็กอย่างหนึ่งค่ะ ฝึกจินตนาการได้อย่างดีทีเดียว ที่สำคัญผู้ปกครองควรจะส่งเสริมและไม่ไปจำกัดจินตนาการของเด็กๆ ^^

ไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ หากรักที่จะขีดเขียนก็หยิบสีขึ้นมาละเลงได้เลย อิอิ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาส่งความสุขค่ะ อิ่มบุญ อิ่มอก อิ่มใจ วันเข้าพรรษาค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                    

ทึ่งเด็กครับ มีหลานสาวแล้วเขาควรได้ฝึกวาดภาพ จะติดตามอ่านพาหลานวาดครับ

เหนื่อยไหมครับวันนี้ ขอบคุณครับที่เข้าไปทักทายกัน

-จริง ๆแล้วเราดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้ไม่อยากหรอกครับ แค่เก็บภาษีพวกคนรวยเยอะ ๆ พวกนี้ไม่อยากจ่ายมันก็หนีไปลงทุนประเทศอื่น ๆที่นี้เราเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสแล้ว

- ยังไม่มีลูกที่จะสอนได้ จะนำความรู้ที่ได้มาเป็นความรู้เก็บเอาไว้

  • ภาพเขียนและตัวหนังสือของน้องซอมพอครับ
  • ผมเก็บไว้ทุกลายมือและภาพวาดตั้งแต่เล็กมาเลยครับ

 

สวัสดีค่ะพี่ณัฐ

งานศิลปะช่วยพัฒนาการเด็ก วันก่อนได้ไปพบงานสีน้ำมันของหนูน้อยเด็กต่างชาติ เธอฝึกละเลงสี จนมีผลงานออกแสดงนิทรรศการ และนำงานออกประมูล จิตสาธารณะ ทุกๆ ปี น่าทึ่งมากๆ ค่ะพี่ณัฐ

เข้ามาชื่นชมศิลปะการขีดเขี่ยของเด็ก   เป็นการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย  ที่ผู้ใหญ่มักจะหลงลืม

            ขอบคุณบันทึกดีๆที่นำมาฝากครับ

ใช้คำดีจังครับ ขีดเขี่ย ขีดไปเขี่ยไป พัฒนาไปตามวัย เพิ่มทักษะนิด จิตรกรเกิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท