วัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ยาครอบจักวาลที่สามารถ....


“ปัญหาในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปใช้คือ จะทำอย่างไรให้สมาชิกในสังคมยอมรับนวัตกรรมโดยการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมฯ และ ทำอย่างไรนวัตกรรมฯ นั้นจึงผสมกลมกลืนกับชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิก”

4.       นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ยาครอบจักวาลที่สามารถ

แก้ปัญหาการศึกษาได้เบ็ดเสร็จทุกอย่าง นวัตกรรมฯบางอย่างก็ล้มเหลว นวัตกรรมบางอย่างก็ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย

“ปัญหาในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาไปใช้คือ จะทำอย่างไรให้

สมาชิกในสังคมยอมรับนวัตกรรมโดยการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมฯ และทำอย่างไรนวัตกรรมฯ นั้นจึงผสมกลมกลืนกับชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิก

ในฐานะที่เป็นนักการศึกษา มีบทบาทหน้าที่ในการใช้นวัตกรรมฯ จำเป็นต้องเข้าใจ หลักการ

กระบวนการ และสามารถเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่เหมาะสม จงแสดงให้เห็นว่า               

                   ประเภทของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสาระสนเทศเพื่อการศึกษาควรให้ความสำคัญนวัตกรรมฯประเภทใด เพราะเหตุใด

                ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา  

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโน โลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษารวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ"การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัยการทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดนวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรมการศึกษา  5 ประเภทดังนี้

      1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร  เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น  และตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น  เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก  นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรได้แก่  การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ  หลักสูตรรายบุคคล  หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์   และหลักสูตรท้องถิ่น

      2. นวัตกรรมการเรียนการสอน  เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล  การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนแบบมีส่วนร่วม  การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา  การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน

      3. นวัตกรรมสื่อการสอน    เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์    คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม     ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย  ทั้งการเรียนด้วยตนเอง การเรียนเป็นกลุ่ม และการเรียนแบบมวลชน  ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

      4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล  เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และทำได้อย่างรวดเร็ว  รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา  การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล  ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์

       5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ  เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ   เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษา   ให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา

ควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมสื่อการสอน

เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่

- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

- มัลติมีเดีย (Multimedia)

- การประชุมทางไกล (Teleconference)

- ชุดการสอน (Instructional Module)

- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)

- การเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม กับผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย

ที่มา : http://learners.in.th/blog/p-chitruxtham5301/224964

          http://bunsri28.blogspot.com/2008/02/blog-post_6513.html

 

 

                     รูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแบ่งได้กี่แบบ แต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร

 

รูปแบบนวัตกรรมสามารถแบ่งได้   6  รูปแบบ   ดังนี้

          1.  เอกสารประกอบการสอน    เป็นเอกสารที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเอง  เพื่อใช้ประกอบการสอนวิชาหนึ่งวิชาใดตามหลักสูตร  นักเรียนเป็นผู้อ่านเอง  อาจมีรูปภาพประกอบน่าสนใจ  เนื้อหาใช้คำอธิบายที่เป็นความคิดรวบยอด  ใช้ภาษาวิชาการ  เหมาะกับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่  3  ขึ้นไป

ข้อดี     เอกสารสามารถเก็บใช้ได้ตลอดหลักสูตร   ประหยัดเวลา   ทำให้นักเรียนมีความรู้ เพราะนักเรียนเป็นผู้อ่านเอง
ข้อจำกัด     หากนักเรียนขาดความรับผิดชอบจะทำให้เอกสารประกอบการสอนไม่มีประสิทธิภาพ   เหมาะกับนักเรียนช่วงชั้นที่  3  ขึ้นไปเท่านั้น   จำกัดเฉพาะนักเรียนที่อ่านหนังสือออกเท่านั้น
         2.  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  เป็นเอกสารทางวิชาการที่ยึดหลักวิชาการที่มั่นคง  ถูกต้อง  สะท้อนความคิด  ทัศนะภูมิปัญญาของผู้เขียนลงไปด้วย  ใช้สำหรับนักเรียนอ่านเพิ่มเติมเหมาะสมกับวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล  ควรจัดมีรูปเล่ม  สีสันสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจ
ข้อดี      ทำให้นักเรียนได้มีแนวคิดใหม่ ๆ มีความรู้อื่นนอกเหนือจากเรื่องการเรียนเพิ่มขึ้น  ฝึกให้นักเรียนรักการอ่านมากขึ้น
ข้อจำกัด    จำกับช่วงวัยในการอ่านหนังสือ   แนวความคิดทัศนะต่าง ๆ นักเรียนอาจจะไม่เข้าใจได้   หากเนื้อหาสาระรูปภาพไม่ดึงดูด  นักเรียนจะไม่อยากอ่านหนังสือประเภทนี้
       3.   บทเรียนสำเร็จรูปและบทเรียนกาตูนย์   เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดเนื้อหา  วัตถุประสงค์วิธีการไว้อย่างชัดเจนให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าและประเมินผลด้วยตนเอง  ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้มักเป็นการสอนความคิดรวบยอด  มีการเสริมแรงผู้เรียนเป็นระยะเหมาะสำหรับการใช้สอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อน
ข้อดี      ง่ายต่อการนำไปใช้เพราะมีการกำหนดเนื้อหา  วัตถุประสงค์ไว้ชัดเจน   ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้และประเมินผลด้วยตนเอง  ให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและซื่อสัตย์ต่อตนเอง   สามารถให้นักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อนได้มาทบทวนตามเนื้อหาได้
ข้อจำกัด     หากนักเรียนไม่มีความซื่อสัตย์การประเมินผลจะไม่มีประสิทธิภาพ   นักเรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีความซื่อสัตย์มาก
       4.  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  มีส่วนคล้ายกับบทเรียนสำเร็จรูป  แต่แตกต่างตรงที่บทเรียนสำเร็จรูป  เป็นเอกสารสิ่งตีพิมพ์  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นบทเรียนที่ทำขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์  อาจมีเสียงประกอบคือ  มีโต้ตอบกับสื่อ  ช่วยดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดี
ข้อดี     เพิ่มแรงจูงใจการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน     การใช้สี  กราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหว  เสียงดนตรีต่าง ๆ เป็นการเพิ่มความเสมือนจริงทำให้ดึงดูดความสนใจในการเรียน  สามารถกำหนดบทเรียนให้เป็นรายบุคคลได้   ลักษณะการเรียนเป็นการส่วนตัว  นักเรียนสามารถเรียนได้เองตามความสามารถของตนโดยไม่ต้องอายผู้อื่น   สะดวกในการนำไปใช้  เพราะครูสามารถควบคุมได้เอง
ข้อจำกัด     ใช้วิธีการเร้าความสนุกมากเกินไปอาจทำให้ไม่มีเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ได้   การออกแบบโปรแกรมยังพัฒนาไปได้น้อย  ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลายเท่าที่ควร  เนื้อหาไม่ตรงกับสาระวิชาหรือหลักสูตร  การออกแบบต้องอาศัยเวลาและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มาก   โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมากไม่มีความเป็นธรรมชาติเหมือนอยู่ในห้องเรียนจริง
       5.  E - Learning  เป็นเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่  เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  ผู้สอนใช้  E - Learning  นำเสนอข้อมูล  เนื้อหาโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ในรูปสื่อมัลติมีเดีย  ให้ผู้เรียนทำการศึกษาผ่านเว็ปไซต์  อาจมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน  ครู - นักเรียน - เพื่อน  สามารถปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันได้
ข้อดี     เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วไม่จำกัดเวลา  สถานที่  รวมทั้งบุคคล    ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน   ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน   ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลาและระยะทาง
ข้อจำกัด    ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน   ไม่สามารถสื่ออารมณ์ในการเรียนรู้ได้อยากแท้จริง   ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต  ผู้เรียนบางคนไม่สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองได้
ที่มา :  http://gotoknow.org/blog/429502-52920134/283175

 

                     ทำไมครู...จึงต้องเรียนรู้เรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเพราะเหตุใด

 

พราะว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยเน้นให้เห็นความสำคัญว่า เยาวชนรุ่นใหม่จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อแสวงหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง

                เพราะแหล่งความรู้ในยุคปัจจุบัน ไม่ได้มีอยู่แต่เฉพาะในสถานศึกษา หรือในตัวครู แต่แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในฐานความรู้ทั้งหลาย ที่สามารถเข้าถึงด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีกว้างขวางมาก เมื่อจะปฏิรูปการศึกษาจึงได้พิจารณาถึงเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในทุกรูปแบบ เพราะจะมีบทบาทสำคัญในทางปฏิรูปการเรียนรู้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่มีอุดมการณ์ยึดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน

                ในขณะเดียวกัน ได้พิจารณาว่าครูในยุคใหม่ ก็น่าจะต้องมีเครื่องมือที่ครูจะใช้ ซึ่งยุคดั้งเดิมเครื่องมือก็คือ ชอล์ก กับกระดาน ต่อมาจึงพัฒนาเป็นโสตทัศนูปกรณ์ ขณะนี้ได้ก้าวมาสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสื่อทางด้านอีเล็กทรอนิกส์ ถือว่าเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคนี้ เป็นเครื่องมือใหม่ สำหรับครูยุคใหม่

                ดังนั้น ครูยุคใหม่ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยี  เพื่อประโยชน์ต่อการทำหน้าที่ครู แม้ว่าเทคโนโลยีไม่สามารถแทนครูได้ทั้งหมด แต่ครูที่ไม่รู้จักใช้เทคโนโลยี ก็จะถูกแทนที่โดยครูที่รู้จักใช้ เทคโนโลยี

 

ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.       ครูต้องสามารถใช้สื่อและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาเป็น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของศิษย์มากที่สุด

2.       ครูสามารถประยุกต์สื่อและเทคโนโลยีในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพผู้เรียน

3.       ครูสามารถผลิตสื่อเพื่อการใช้งานและนำเสนอได้

4.       ครูสามารถเลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและข้อจำกัดที่มีอยู่

5.       ครูติดตามพัฒนาการของเทคโนโลยีและการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ

6.       ครูเรียนรู้จากผู้เรียน คือ ครูต้องรู้จักสังเกตเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวแม้กระทั่งผู้เรียนเอง

บทบาทของครูด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.       ผู้เลือก เลือกใช้สื่อเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับผู้เรียน

2.       ผู้ใช้ ใช้สื่อเทคโนโลยีหลากหลายและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด

3.       ผู้ผลิต สร้างสื่อนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน

4.       ผู้พัฒนา สร้างองค์ความรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี

 

บทสรุป

                ปัจจุบันการเรียนรู้ต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยี ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการศึกษา หากขาดสิ่งนี้ไป การศึกษาก็จะถูกปิดกั้น เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือช่วยทำให้กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้มีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นั่นคือ พัฒนาบุคลากรครูทุกบทบาท

                หากจะมองถึงภาครัฐบาลในภาพรวมจะทำให้ศึกษาดีขึ้น ด้วยการสนับสนุนการศึกษาเล่าเรียน การให้โอกาสต่างๆ เช่น การสนับสนุนอุปกรณ์ เทคโนโลยีการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อการศึกษา หรือโครงการอื่นๆ อีกมากมาย เหล่านี้ก็มีส่วนช่วยให้ความรู้ได้แผ่ขยาย ทำให้การศึกษามีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ไปพร้อมกับการพัฒนาของครูผู้สอน ซึ่งจะสามารถถ่ายทอดสู่นักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพสูง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ที่มา : http://www.meeboard.com/view.asp?user=rakanin&groupid=1&rid=5&qid=5

 

หมายเลขบันทึก: 283346เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีประโยชน์มากเลยค่ะ

ขออนุญาตคัดลอกไฟล์ไว้ศึกษารายละเอียดนะคะ สายตาไม่ค่อยดี เพ่งจอนานๆมักจะตาพร่าค่ะ

ประสบปัญหาในการเรียนการสอนจากการที่นักเรียนไม่มีทักษะการอ่านค่ะ หรือมีทักษะอ่านไม่เหมาะสมกับระดับชั้น อ่านแล้วจับใจความไม่ได้ ทำให้การเรียนการสอนด้วยสื่อ ICT ไม่ประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง นักเรียนมีเพียงคะแนน ไม่มั่นใจว่านักเรียนมีความรู้จริง

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท