การเลือกซื้อและวิธีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย


จิตรสำนึกของความเป็นคน
บันทึก  การจัดการความรู้   :  KMวันที่  16    มกราคม    2551ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าเรือ  สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาเดิม เรื่อง  การเลือกซื้อและวิธีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย                   ศูนย์บริการฯ  ตำบลท่าเรือ  ได้จัดอบรมถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนโรงเรียนเกษตรกรโครงการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานปี 2551  ในเวลา  13.00  น. วันที่ 16  มกราคม  2551  (วันครู)   ในประเด็นเรื่องการเลือกซื้อและวิธีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย  ซึ่งมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการคือเกษตรกรโรงเรียนเกษตรกรเงาะ  1  (ต.ท่าเรือ  มี  2  โรงเรียน  คือ  เงาะ  1  และ  2  )  สมาชิกเป็นเกษตรกรหมู่ที่  1  และ  4  ต.ท่าเรือ  จำนวน  27  คน  เหตุผลที่เกษตรกรเลือกประเด็นนี้เพราะว่าในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันมาก ร่วมทั้งมีจำหน่ายในท้องตลาดกันแพร่หลายมากมายหลายชนิดหลายประเภทถูกกฎระเบียบและไม่ถูกกฎระเบียบ  แต่ความรู้ที่เกษตรกรได้รับรู้ถึงความถูกต้องและความปลอดภัยมีน้อย  ร่วมทั้งโครงการมีวัตถุประสงค์หลักให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยคือ  พืช  ผู้ผลิต (เกษตรกร)  และผู้บริโภค ปลอดภัยจากสารเคมีมากที่สุด  แต่ไม่ได้บังคับให้หยุดใช้แต่ใช้ให้ถูกต้อง  ศูนย์บริการฯ  โดยเลขานุการศูนย์ ฯ  (นันทวัน)  ได้ชี้แนะแนวทางให้เกษตรกรเลือกว่าเรื่องแนวไหนที่ต้องเรียนรู้แลกเปลี่ยน (บันทึกการจัดการความรู้เรื่องความสามัคคีคือพลัง)                  ในการเรียนรู้ครั้งนี้พอจะสรุปการเลือกซื้อและวิธีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย  ออกมาได้  ดังนี้ 1.   การเลือกซื้อสารเคมี    เข้าใจวิธีการเลือกซื้อสารเคมีที่มีคุณภาพและเป็นสารเคมีที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย    เข้าใจรายละเอียดบนฉลากเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากได้อย่างถูกต้อง   1.1  ไม่ซื้อสารเคมีที่มีฉลากไม่ชัดเจน  เลอะเลือน  หรือข้อมูลบนฉลากไม่ครบถ้วน  เช่น  ไม่มีเลขทะเบียน  ไม่ระบุผู้ผลิต-  ผู้จำหน่าย  ไม่มีวัน เดือน ปี ที่ผลิต  ฯลฯ1.2   ไม่เลือกซื้อสารเคมีที่มีราคาถูกกว่าผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตผู้จำหน่ายอื่น อย่างผิดปกติ1.3   ไม่ซื้อสารเคมีจากพ่อค้าเร่ หรือผู้ที่จำหน่ายแบบซ่อนเร้น ปิดบัง1.4   ตรวจดู วัน เดือน ปี  ที่ผลิต  ( ไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่ผลิต ) และตรวจดูภาชนะบรรจุ  ( ฝาปิดหรือภาชนะไม่มีรอยเปิดหรือฉีกขาด ) 2.  การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องเหมาะสม  2.1   ใช้แต่สารเคมีที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีเลขทะเบียนวัตถุอันตราย และมีคำแนะนำ
บนฉลากให้ใช้กับพืช   ต้องไม่ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง   ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ..2535  
2.2    ให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช   ในชนิด อัตรา และเวลา ตามคำแนะนำของ
กรมวิชาการเกษตร    
2.3   อ่านคำแนะนำที่ฉลากให้ทราบคุณสมบัติ และวิธีการใช้ให้เข้าใจก่อนนำไปใช้
2.4   ควรเลือกใช้เครื่องพ่นสารเคมีและอุปกรณ์หัวฉีดที่เหมาะสมเพื่อกระจายสารเคมีให้ตกบนเป้าหมายทั่วทั้งต้นสม่ำเสมอ    และควรเปี่ยนหัวฉีดใหม่   เมื่อใช้งานมาแล้วประมาณ 30 ชั่วโมง ในกรณีของหัวฉีดทองเหลือง
2.5   พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในช่วงเช้าหรือเย็นขณะลมสงบ   หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง    และขณะปฏิบัติงานผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา
2.6   ควรเตรียมหรือผสมสารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อจะได้ใช้ให้หมดในครั้งเดียว   ไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น  2.7   ให้หยุดใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูทุเรียนอย่างน้อย 15 วัน และสารป้องกันกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นทุเรียน อย่างน้อย 30 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว2.8  จดบันทึกการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง                จากการสรุปที่ผ่านมาเกษตรกรสมาชิกโรงเรียนเข้าใจดีและได้ให้ข้อสังเกตว่าตัวเกษตรเองไม่ได้ทำการพ่นสารเคมีด้วยตนเองแต่จะซื้อสารเคมีและจ้างพ่นในอัตราลิตรละ...  ดังนั้นถ้าจะให้ปลอดภัยตัวเกษตรกรทุกคนต้องเข้าไปควบคุมการทำงานของผู้รับจ้างพ่นและอธิบายร่วมทั้งแนะนำสิ่งที่ถูกต้อง  แต่เหนือสิ่งอื่นใด  ดิฉันคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้    จิตรสำนึกของความเป็นคนเกร็ดความรู้เพิ่มเติม  (ประสบการณ์ที่ได้รับจากกรมวิชาการเกษตรในฐานะลูกจ้างกรม)คำอธิบายฉลาก วัตถุอันตรายด้านการเกษตรฉลาก  ของวัตถุอันตรายด้านการเกษตร เช่น สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องตามกฎหมายควรมีฉลากขนาดที่เหมาะสมกับภาชนะบรรจุ  ปิดหรือพิมพ์ไว้ที่ภาชนะบรรจุ   ระบุเครื่องหมายและข้อความเป็นภาษาไทย ดังนี้
(1)  ชื่อทางการค้า  
(2)  ชื่อสามัญ   หรือ ชื่อทางเคมี   หรือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสาระสำคัญ
(3)  อัตราส่วนผสมและลักษณะผลิตภัณฑ์
(4)  วัตถุประสงค์การใช้
(5)  เครื่องหมายและข้อความตาม ข้อ 8
(6)  ประโยชน์ วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับภาชนะบรรจุและการป้องกันอันตรายหรือความเสียหาย
(7) คำเตือน
(8) อาการเกิดพิษ การแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำให้รีบส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์พร้อมด้วยฉลากหรือภาชนะบรรจุ และคำแนะนำสำหรับแพทย์
(9) ชื่อกลุ่มของสารเคมีเพื่อประโยชน์ในการรักษา (ถ้ามี)
(10) ชื่อผู้ผลิต สถานที่ประกอบการ สถานที่ตั้งโรงงาน และชื่อผุ้นำเข้าพร้อมสถานที่ประกอบการ
(11) ขนาดบรรจุ
(12) เดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้
(13) เลขทะเบียนวัตถุอันตราย
(14) แถบสี  เพื่อระบุระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ชั้น ดังนี้
                ชั้น 1 เอ พิษร้ายแรงมาก ( แถบสีแดง มีเครื่องหมายหัวกะโหลกกับกระดูกไขว้  พร้อม            ข้อความว่า"พิษร้ายแรงมาก" และภาพแสดงคำเตือนต่าง ๆ )
                ชั้น 1 บี พิษร้ายแรง (แถบสีแดง มีเครื่องหมายหัวกะโหลกกับกระดูกไขว้  พร้อมข้อความว่า  "พิษร้ายแรง" และภาพแสดงคำเตือนต่าง ๆ )
              ชั้น 2 พิษปานกลาง (แถบสีเหลือง มีเครื่องหมายกากบาทพร้อมด้วยข้อความว่า "อันตราย" และภาพแสดงคำเตือนต่าง ๆ )         
                ชั้น 3 พิษน้อย (แถบสีน้ำเงิน  มีเครื่องหมายกากบาทพร้อมด้วยข้อความว่า "ระวัง"
และภาพแสดงคำเตือนต่าง ๆ        
ผู้เล่าเรื่อง / ผู้บันทึก  นางสาวนันทวัน  วัฒนา            วันที่  17 มกราคม   2551
หมายเลขบันทึก: 159726เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2008 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หวัดดีค่ะ  คุณหมูอ้วน

             

หวัดดีคับ (นู๋แดงด้วย)

  • สารเคมี มีทั้ง ประโยชน์ และโทษ ควรแนะนำให้เกษตรกรใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น คับ
  • ขอบคุณ
จะแนะนำสิ่งที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดให้เกษตรกรค่ะ  และขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาอ่านทุก ๆ เรื่อง  จะพยายามต่อไปค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท