หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

แมลงหมาร่า...ผู้สร้างงานศิลป์ด้วยดินเหนียว(สร้างรังแต่พอตัว)


มาดูแมลงหมาร่าหรือที่คนใต้เรียกว่าแมลงหมาบ้าสร้างบ้าน(รัง)กัน

วันก่อนกำลังนอนเล่นอยู่ในเปลผ้าหลังบ้านเห็นแมลงหมาร่าบินผ่าน ตกใจคิดว่าเป็นตัวต่อ เพราะก่อนหน้านี้สองสามวันพี่หลวงจิตมาตัดหญ้าในสวนทุเรียนหลังบ้าน เจอรังต่อรังใหญ่ โดนตัวต่อไล่วิ่งหนีจนเกือบเป็นลมเพราะเหนื่อยที่ต้องวิ่งไปตั้งหลัก

โชคดีค่ะไม่โดนต่อย...

หมาร่ากำลังบินเพื่อจะขนดินมาสร้างบ้าน(รัง) บินขนดินทีละนิดทีละนิดใช้นาน 3-4ชั่วโมงว่าจะได้บ้านมาหนึ่งหลัง บินแบบวันเวย์(วิ่งทางเดียวไม่ย้อนศร)เข้าทางประตูบ้านเราด้านซ้ายและออกทางประตูขวา

 ฉันเฝ้ามองหมาร่าสร้างบ้านได้แง่คิดหลายอย่าง เหมือนการสร้างงานศิลปะ มีระเบียบแบบแผน ขยัน อดทน มุมานะ เก็บเล็กผสมน้อยค่อยสร้างจนสำเร็จด้วยดีและสวยงามน่าอยู่เป็นการสร้างรังแต่พอตัว

ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

หมาร่า ตามคำอธิบายในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง แมลงหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae เป็นแมลงจำพวกต่อหรือแตน แต่ทำรังด้วยดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย รูปร่างต่างกัน ติดอยู่กับกิ่งไม้หรือวัสดุอื่นภายนอกบ้านเรือน หรือตามฝ้า เพดาน ในบ้านเรือน ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของหมาร่า
 
ที่น่าสนใจคือในแต่ละภาคในประเทศไทยจะเรียกแมลงชนิดนี้แตกต่างกันไป เช่น ในภาคกลางเรียกแมลงชนิดนี้ว่า หมาร่า หรือ มังล่า ในภาคตะวันออก เรียกว่า หมาล่า หมาหล้า หรือ หมาล้า แถบตะวันตก เรียก แมงไบ้ ไอ้ไบ้ ทางภาคเหนือ เรียก แมงไม้ หรือไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก ไน หรือ หมาใน ส่วนทางใต้  เรียก หมาบ้า หรือ แมงหมาบ้า 
 
หมาร่ามีรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปเหมือนตัวต่อ คือมีปีกบางใส ๒ คู่ คู่หน้าโตกว่าคู่หลัง ปากเป็นแบบกัดกิน ท้องกิ่ว เพราะปล้องท้องโดยเฉพาะปล้องแรกที่ติดกับอกเล็กและยึดเป็นแผ่นเดียวกับอก ตัวเมียมีเหล็กใน สำหรับต่อยเหยื่อให้สลบเพื่อนำมาเป็นอาหารให้แก่ลูกอ่อน เวลาสร้างรังตัวเมียจะขนดินเหนียวจากที่ที่มีความชื้นสูงมายาให้ติดกับวัสดุ ในทำเลที่ได้เลือกเอาไว้แล้วทำเป็นชั้น ๆ และมีช่องสำหรับให้ลูกอ่อนอาศัย เมื่อได้ช่องตามที่ต้องการก็จะออกล่าเหยื่อซึ่งอาจจะเป็นหนอน ตั๊กแตน หรือแมงมุม โดยจะต่อยเหยื่อให้สลบ นำมาไว้ในช่องที่เตรียมไว้ แล้ววางไข่บนเหยื่อ ปล่อยให้ฟักเป็นตัวหนอน กัดกินเหยื่อที่สลบนั้นเป็นอาหาร จนกระทั่งเข้าดักแด้ออกมาเป็นตัวเต็มวัย และกัดผนังรังออกมาหากิน ผสมพันธุ์วางไข่ต่อไปใหม่ หมาร่ามีชีวิตแบบโดดเดี่ยวไม่อยู่รวมเป็นกลุ่มแบบสังคมเหมือนต่อหลวง  หรือต่อหัวเสือ 
 
เราอาจพบหมาร่าได้ในบ้านของเรา เนื่องจากหมาร่าที่พบได้บ่อยในประเทศไทย เป็นพวกอยู่ในสกุล Sceliphron ซึ่งมักทำรังในที่ร่มหรือค่อนข้างมืด จึงมักพบในเคหสถานบ้านเรือน เช่น ตามคาน ฝ้า หลังคา หรือใต้ถุนเรือน หากแต่หมาร่าในสกุลอื่นที่พบได้ในประเทศไทย เช่น สกุล Eumenes ซึ่งจะทำรังในที่ร่มและมักไม่เลือกสถานที่ว่าสูงหรือต่ำ อาจพบได้ตามเครื่องเรือน ตู้ เก้าอี้.

ที่มาhttp://203.146.249.31/redirect.php?tid=11140&goto=lastpost

 

 

  ....เป็นการสร้างรังแต่พอตัวค่ะ....

♥สวัสดีค่ะ♥

หมายเลขบันทึก: 285911เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • ดีนะเป็นรังหมาร่า
  • ที่บ้านสวน มหา ต่อเสือ รังเท่าไห่ใหญ่ ๆ
  • และนกเจ้ากรรมก็ไปรบกวนอยู่เลื่อย ๆ มหา เสียว

แวะมาเยี่ยม บันทึกเรื่องหมาร่า ครับ

หมาร่าตัวเล็กก็มีเรื่องน่าสนใจเหมือนกันนะครับ

Pเหรียญชัย เหรียญชัย มาวงษ์

สวัสดีค่ะพี่มหา

แมลงหมาร่าไม่น่ากลัวแต่ก็น่ารำคาญเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆมันจับจองเป็นห้องหอของลูกๆมันหมดไม่ว่าจะเป็นปลั๊กไฟที่ไม่ค่อยได้ใช้ ช่องลำโพงเครื่องคอมฯมันก็มาทำรัง... 5555

Pสวัสดีค่ะท่านผอ.

น้องม่อนน่ารักนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เป็น KM ที่สุดยอดมากครับทำให้มองเห็นมิติต่างในเชิงสังคมมากมายเช่น การมีความเพียร หรือ การสร้างเเละพัฒนาตนเองของคนในสังคม เยี่ยม

P คุณเจษฎา สวัสดีค่ะ

ขอบคุณน่ะค่ะ ที่แวะมาเยี่ยมชม เรื่องไม่ค่อยเป็นเรื่องเท่าไหร่ คิๆๆๆแค่หมาร่าทำรัง...ก็ยังเอาเขียนเลยน๊าหนูรีเอ้ย.. 5555

P อาจารย์กู้เกียรติ ญาติเสมอสวัสดีค่ะ

•หนูรีแวะไปชมภาพวาดการ์ตูนมากแล้วน่ารักดีค่ะ

•ขอบคุณค่ะที่เข้าใจเรื่องที่ต้องการจะสื่อจากหมาร่าทำรัง

•ขอให้มีความสุขค่ะ

>>"อันหมาบ้าบ้าหมาน้ำลายไหล

>> ใครเข้าไกล้ขบดะทั้งพระเณร

>> แต่แมงหมาบ้าสร้างศิลป์โผผินเผ่น

>> บินตัวเอนหลบหนี"หนูรีน้อง"

Pวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei

สวัสดีค่ะบัง

ขอบคุณสำหรับคำกลอน ชอบอ่าน แต่เขียนหม้ายเป็นเจ้าค๊า

  • มาแวะเยี่ยม มาเรียนรู้ในหลายๆ บันทึกของหนูรี
  • และมาทักทายครับ
  • ขอบคุณมากครับ

    วันก่อนโดนหมาร่าต่อยที่นิ้วชี้และสะโพก ตกใจมาก เจ็บปวดเหมือนเข็มทิ่มแทง

รีบเข้าบ้านหยิบบัวหิมะในตู้เย็นมาทา ไม่นานนักบริเวณที่โดนต่อยก็บวมแดงยิ่งขึ้น

ก็เอาน้ำมันเหลืองทาอีก  กลัวว่าจะไม่หาย จึงไปพบแพทย์ และต้องอธิบายรูปร่าง

ลักษณะของแมลงชนิดนี้อยู่พักหนึ่ง คุณหมอก็ถึงบางอ้อแล้วก็ฉีดบาดทะยักให้ 1 เข็ม

 และให้ยาแก้อักเสบ

     กลับมาบ้านไปสำรวจที่เกิดเหตุ พบรังหมาร่าก้อนเบ้อเริ่มอยู่ข้างใต้แกนที่เก็บ

สายยางฉีดน้ำซึ่งติดอยู่ที่กำแพงบ้าน มีสมาชิกประมาณ 8 ตัว เห็นแล้วขนลุกค่ะ

แค่เดินผ่าน อาจจะมีแรงสั่นสะเทือนของลมไปกระทบพวกเค้า เลยนึกว่าเราเป็น

ศัตรู บินมาต่อยซะเลย  

    แต่ก็ไม่ทำอะไรเค้าหรอกนะคะ เค้าสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย ก็ให้เค้าอยู่ไป

บอกทุกคนในบ้านว่าให้เดินผ่านเบาๆ  แต่ถ้าไม่จำเป็นก็เลี่ยงไปเดินอีกด้าน

ก้อบ้านของเรามีทางเดินได้รอบบ้านนี่นา  แล้ววันนึงพวกเค้าก็จะทิ้งบ้านนี้ไป

เป็นบ้านร้างไม่มีใครบินเข้าบินออก แล้วเราก็ค่อยเอาไม้ขูดออก ทำความสะอาด

เท่านั้นเอง 

คุณสุภาวดีค่ะ

แมลงหมาร่านั้นไม่ต่อยค่ะ ไม่มีพิษ...ที่ต่อยน่าจะเป็น"แตน"หรือปล่าว ซึ่งแตนจะทำรังอยู่เป็นกลุ่มส่วนหมาร่าไม่ค่ะ อยู่ตัวเดียว

"•หมาร่ามีชีวิตแบบโดดเดี่ยวไม่อยู่รวมเป็นกลุ่มแบบสังคมเหมือนต่อหลวง  หรือต่อหัวเสือ"

อ่านแล้วได้ความรู้แมลงหมาร่า ทำให้เข้าใจการเรียกเชื่อของแมลงที่แตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ แล้วได้ข้อมูล+รูปภาพที่เป็นประโยชน์เพื่อศึกษาค้นคว้าต่อ พอดีกำลังศึกษาภาษาถิ่นและการดูแลแม่และเด็กเรื่องการเกิดในชุมชนดั้งเดิม ในภาคอีสานบางพื้นที่เรียกว่า ขี้แมงหยอด,ขี้หยิงหยอด เพราะเรียกจากลักษณะของการทำรังโยการเอาดินมาหยอดไว้ รังของขี้แมงหยอดนี้ ในชุมชนอีสานดั้งเดิมนำมาบดแล้วนำมาโรยสะดือเด็กทารกหลังจากสะดือหลุดแล้ว (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชุมชนบ้านตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร) ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ได้รับ

คุณอจจ. ขอบคุณน่ะค่ะที่ฝากข้อความไว้ ขอบคุณค่ะ

รู้มั๊ยผมไม่เคยรุ้เลยว่าแมลงนี้ชื่ออะไร นิสัยเปนยังไง มันทำรังอยุ่หน้าห้องผม และเวลาผมเดินเข้าเดินออกมันจะบินใส่ผม มันจึงทำให้ผมคิดว่ามันเปนอันตราย ผมจึงทำลายรังมัน แต่พอได้เข้ามาอ่าน มันทำให้ผมรุ้สึกผิดมากๆ กว่ามันจะสร้างบ้านได้ กว่าจะหาข้าวมาให้ลูกกินได้ เสียใจมากๆคับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท