ตามติดวิจัยสถาบัน ช่วงที่ 2


วิทยากรพูดแบบให้กำลัง ว่าไม่ได้เรียกว่า “รื้อ” แต่เรียกว่า “ปรับระบบใหม่”

ตามติดวิจัยสถาบัน ช่วงที่  2

หายไปนานหลังจากที่เข้าร่วมอบรมวิจัยสถาบัน  เป็นการอบรมแบ่งเป็นช่วงๆ หลังจากอบรมโครงการ  “ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยสถาบัน”  (ช่วงที่ 1) ผ่านพ้นไป  ในวันที่  22  พฤศจิกายน  2550  การอบรมในครั้งนั้น  หลักๆ  จะเป็นการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย  ตามที่เคยเขียนไป  (http://gotoknow.org/blog/nareejuti/148693

     ทางผู้เขียนได้ส่งเครื่องมือ  คือ แบบสอบถาม  (โดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  แต่ก็ยอมรับว่าทำแบบขอส่งไปที  นิสัยไม่ดีเท่าไหร่  เนื่องด้วยเวลาที่จำกัด และยังไม่มีความรู้ในการออกแบบเครื่องมือสักเท่าไหร่) ไปยัง  IRDA  และได้ส่งให้วิทยากรได้วิเคราะห์และแก้ไขตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม 

     และในวันที่  27  ธันวาคม  2550  เป็นการจัดอบรมช่วงที่  2  โดยมีการบรรยายในช่วงเช้าเกี่ยวกับเครื่องมือในการเก็บข้อมูล  เมื่อผู้เขียนได้นั่งฟังบรรยายแล้วก็นึกถึงแบบสอบถามที่ส่งให้วิทยากรได้ตรวจคงจะทำไม่ได้เรื่องสักเท่าไหร่ และคิดว่าคงจะต้องปรับแก้แบบระนาว ซึ่งก็จริงๆ  หลังจากที่วิทยากรบรรยายเสร็จเรียบร้อย  ได้แยกกลุ่มในการวิพากษ์เป็นกลุ่มย่อย  โดยมีวิทยากรให้คำแนะนำ  ในการปรับปรุง  แก้ไข  ซึ่งผู้เขียนเองก็โดนแก้ระนาวอย่างคิดไว้จริงๆ  ซึ่งผู้เขียนเองมีการตั้งแบบสอบถามแบบซ้ำซ้อน  วนไปวนมา ซึ่งได้คำตอบจากวิทยากรแบบขึ้นใจว่า  เพราะ  เราไม่มีการ  “กำหนดนิยามศัพท์”  จากหัวข้อวิจัยที่ชัดเจน  จึงทำให้แบบสอบถามที่เขียนออกมาแล้วรู้สึกซ้ำซ้อน  ซึ่งผู้เขียนเองอ่านแล้วก็ยังงงๆ  หุหุ  และผู้เขียนได้เปลี่ยนหัวข้อการวิจัยจาก  “ความต้องการทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องอ่านหนังสือและค้นคว้าวิจัย คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร  เปลี่ยนเป็น  การศึกษาการใช้ห้องอ่านหนังสือและค้นคว้าวิจัย  และความต้องการใช้ทรัพยากรสารนิเทศของผู้ใช้บริการ  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร 

    

 ชื่อโครงการ

วิทยากรแบ่งกลุ่มย่อยให้คำแนะนำและผู้เขียนเอง  อิอิ

 

 วิทยากรแบ่งกลุ่มย่อยให้คำแนะนำ 

 

 วิทยากรแบ่งกลุ่มย่อยให้คำแนะนำ 

คุณแม่มือใหม่ (ออย) http://gotoknow.org/blog/nulow-oil

คณะนิติศาสตร์ ก็เข้าร่วมเช่นกัน

     ตอนที่วิทยากรแก้  ก็รู้สึกแก้ไขเยอะเหมือนกัน  เรียกได้ว่ารื้อทำใหม่ แต่วิทยากรพูดแบบให้กำลัง  ว่าไม่ได้เรียกว่า  “รื้อ”  แต่เรียกว่า  ปรับระบบใหม่”  วิทยากรมี  POSITIVE THINKING จริงๆ  เราฟังแล้วก็มีกำลังใจขึ้นมาบ้าง 

     หลังจากที่ผู้เขียนแก้ไขเสร็จเรียบร้อย  คงต้องส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิแก้ไขอีกครั้ง  และเตรียมแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งปัญหาที่ผู้เขียนคาดไว้คือการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 

สู้ต่อไป ทาเคชิ

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยสถาบัน
หมายเลขบันทึก: 156256เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2007 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

- เข้ามาให้กำลังใจนะครับ ......

- เสร็จสิ้นโครงการ ฯ รุ่นนี้ คงมีผลงานวิจัยและนักวิจัยสถาบันเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน

 

ได้ไปเข้าร่วมโครงการนี้เหมือนกัน ส่งไปให้วิทยากรตรวจ ประมาณ 6 หน้า แก้ไขทุกหน้าเหมือนกัน อิอิ

  • ขอบคุณกำลังใจจากคุณสาทิตย์
  • ขอบคุณคุณ  chadap@dent เราเดินมาทางเดียวกันแล้วนะ  สู้สู้ อิอิ
  • นารี ปรึกษาเราได้นะจ้า
  • อิอิ
  • สู้ๆๆๆ
  • ปรับระบบใหม่ อ.เข้าใจพูดให้รู้สึกดีนะว่าไหม
  • ให้กำลังใจ น้องนะคะ
  • ทำต่อไปจ้ะ สู้  สู้

แค่ฟังเพื่อนเล่าก็น่าปวดหมองแล้ว...แต่ก็นะเป็นกำลังใจให้เนอะ วิจัยไม่ทำไม่รู้

สู้ต่อไปทาเคชิ!!

  • ขอบคุณพี่สุวรรณามากเลยค่ะ
  • ขอบคุณแก่นจังนะจ๊ะ
  • ขอบคุณคุณนารีจุติมากครับที่ร่วมชื่นชมคนดีสำนักงานทุกคน
  • วันที่ 5 ก.พ. คงได้เจอกันในงานวิจัยสถาบันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท