มหาวิทยาลัยในดวงใจ (3-30)


“ความสำเร็จของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีความรู้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้มากเพียงไร ”

 

 

เรียงความเรื่อง “มหาวิทยาลัยในดวงใจ” นี้ คนไม่มีรากเขียนร่างไว้เล่น ๆ ตั้งแต่ต้นปี พศ.2550 (ตามประสาคนชอบขีดเขียนเรื่อยเปื่อย) และเมื่อมีเพื่อนส่งข่าวให้เขียนเรียงความเพื่อส่งเข้าประกวดเรียงความในหัวข้อ “มหาวิทยาลัยในดวงใจ” ของ สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จึงได้นำที่ร่างไว้มาปรับให้เหมาะสมกับบริบทและเหตุการณ์ และได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2552

       คนไม่มีรากได้รับการสอบถามจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้องบางคนที่ได้ทราบข่าว จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ไว้ในบันทึกนี้ เนื่องจาก Gotoknowและกัลยาณมิตร ในที่นี้ มีส่วนที่ทำให้คนไม่มีรากเกิดความมั่นใจในการกล้าเขียนและมีทักษะในการสื่อสารให้คนเข้าใจในสิ่งที่ตนคิด จนได้รับรางวัลดังกล่าว โดยแอบคาดหวังไว้เล็ก ๆ ว่าเรียงความนี้อาจจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมไม่มากก็น้อยค่ะ 

       น้อมขอบคุณสังคมอุดมปัญญาแห่งนี้และกัลยาณมิตรทุกท่านด้วยหัวใจค่ะ 

                                                                     (^___^)

 

 

 

"มหาวิทยาลัยในดวงใจ"

     ฉันถือว่าตัวเองเป็น “คนโชคดี” คนหนึ่งที่ได้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกว่า  มหาวิทยาลัย การได้เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของชีวิต  จะว่าไปก็คงคล้ายกับคนจำนวนมาก ที่พากเพียรเรียนตามระบบการศึกษาเพื่อที่จะสอบเข้า “มหาวิทยาลัย”  ซึ่งหากกล่าวถึง “มหาวิทยาลัย” เราคงนึกถึงสถาบันการศึกษาที่มีสถานที่กว้างขวาง มีห้องเรียนมากมาย เป็นสถานที่ที่มีการเรียนการสอน  มีครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีชื่อเสียง มีหลักสูตร สาขาวิชาการหลากหลาย มีห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สะดวกสบาย มีเครื่องมือเทคโนโลยี  สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย  มีเพื่อนมากมาย มีกิจกรรมให้เลือกเข้าร่วมยามว่างจากการเรียน  มีการสอบที่เข้มข้นด้วยมาตรฐานสูง  และที่สำคัญมีใบ “ปริญญาบัตร” ที่รับรองว่าได้ผ่านการศึกษาจากสถาบันอันทรงเกียรตินี้  แต่  มหาวิทยาลัยในดวงใจ น่าจะเป็นอะไรที่มากกว่านั้น ฉันจึงลองจินตนาการว่า “มหาวิทยาลัยในดวงใจ” ของฉันควรจะมีลักษณะอย่างไร

        คำถามที่ว่า “มหาวิทยาลัยในดวงใจ” ควรมีลักษณะอย่างไร ทำให้นึกไปถึงบทความ เรื่อง “ไว้ใจชีวิตอย่างไม่มีเงื่อนไข” ของนพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ที่กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “การศึกษาในปัจจุบันที่ไม่ได้เน้นวิธีการ “สร้างคน” หากแต่จะทำให้คนเกิด “ความมั่นใจจากภายนอก” ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่ใหญ่โต ชื่อสถาบันและใบประกาศที่บอกว่าสำเร็จการศึกษาตามที่ได้เกริ่นมานั้น ทำให้ใบปริญญาบัตร ไม่ได้มีความหมายใด ๆ เลย นอกจาก “เศษกระดาษแผ่นเดียว” ที่แม้แต่ในปัจจุบันก็อาจจะไม่ได้ช่วยให้คุณมีงานทำได้ตามที่ต้องการด้วยซ้ำไป ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ “เจ้าเศษกระดาษ” แผ่นนั้นกลับทำให้ “อัตตา” ภายในของพวกเราแต่ละคนเติบโตไปผิดทิศผิดทาง กลายเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้าง “ความขัดแย้ง” ในสังคมให้รุนแรงขึ้นไปอีกด้วย...”

        คราวนี้ลองมาดูคำว่า “มหาวิทยาลัย” ซึ่งหมายถึง สถาบันซึ่งมีหน้าที่หลักในการให้ “การศึกษา” และเมื่อพิจารณาลึกไป ที่ คำว่า “การศึกษา” ตามนิยามของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545  ที่หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แล้ว ฉันก็เริ่มเห็นเค้าโครงของมหาวิทยาลัยในดวงใจขึ้นมาบ้าง แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือ “มหาวิทยาลัยในดวงใจ” จะต้องมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายหลักที่สอดคล้องและเป็นไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของคำว่า “การศึกษา” อย่างแท้จริงเป็นประการแรก 

        ้องยอมรับว่า ฉันไม่ศรัทธาในระบบ การสอบเข้า ที่เน้นการวัดและตัดสินคุณภาพคนด้วยการดูที่ คะแนนสอบ คงไม่ใช่ความผิดของเด็กที่เรียนไม่เก่งหรือสอบได้คะแนนน้อย เพราะเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ ๆ  ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ ไม่มีโอกาสได้เรียนพิเศษตามโรงเรียนกวดวิชา ฉันตั้งคำถามกับตัวเองว่า ไม่มีพื้นที่สำหรับ “เด็กเรียนไม่เก่ง” บ้างหรือ  หากสถาบันการศึกษามุ่งแต่ที่จะรับและโอบอุ้มเด็กเรียนเก่ง ได้คะแนนรายวิชาสูง ๆ แล้ว จะเป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กที่ได้คะแนนต่ำกว่า ในการถูกตัดสิทธิ์ที่จะ “พัฒนาศักยภาพ” ด้วยการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาหรือเปล่า  ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจแสดงให้เราเห็นว่า มีคนเรียนเก่งจำนวนมากที่ล้มเหลวในการใช้ชีวิต เห็นได้จากตัวอย่างของคนเก่งบางคนที่สร้างความเสียหายอย่างยับเยินให้กับชาติบ้านเมือง และยังมีคนจำนวนมากที่ไม่ได้เรียนเก่งหรือจบจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง แต่ก็เป็นผู้ที่ทำงานได้ดีและเข้ากับเพื่อนร่วมงานอย่างกลมกลืน เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า คนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการ “สอบเข้ามหาวิทยาลัย” ไม่ได้หมายถึงว่า เขาไม่มีศักยภาพ และหากยิ่งได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่จากสถาบันอุดมศึกษาแล้ว เขาจะยิ่งเป็นผู้ที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ได้อีกมากมายเพียงไร ด้วยฉันเชื่อว่า สังคมเปรียบได้กับป่าใหญ่ ที่ต้องการทั้งต้นไม้ใหญ่ ไม้ดอก ไม้ผล ไม้ล้มลุก และวัชพืชที่ดูเหมือนจะไร้ประโยชน์ แต่มีคุณค่าในการช่วยคลุมดินและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศน์โดยรวม  ดังนั้น ระบบการสอบเข้าที่เน้นแต่ตัดสินและเลือกกันที่คะแนนสอบ จะต้องพิจารณาและปรับกระบวนทัศน์ใหม่ หันมาให้ความสำคัญและพิจารณาจากความประพฤติ ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเรียนเพื่อ “พัฒนาศักยภาพ” ให้มากยิ่งขึ้น

        มหาวิทยาลัยควรเก็บค่าเล่าเรียนที่สมเหตุสมผล ม่แพงจนเกินไป  ด้วยเหตุที่ว่า “ระบบทุนนิยม” กำลังครอบคลุมกลืนกินสังคมอยู่ในขณะนี้ ล้วนแต่ให้ความสำคัญกับผลิตผล การกำไรขาดทุน การขยายเครือข่ายที่กว้างขวางเชิงปริมาณ เน้นให้มีการบริหารจัดการและเลี้ยงตัวเองได้  ทำให้มหาวิทยาลัยต้องแปรสภาพเป็นองค์กรอิสระในกำกับของรัฐ ต้องเร่งสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม(ทุนนิยม) ปรัชญาของมหาวิทยาลัยบางแห่ง จึงเป็นเพียงวิสัยทัศน์ที่สวยหรู และถูกแทนที่ด้วยคำเสียดสีที่แสนจะบาดใจว่า จ่ายครบ จบแน่”  แม้ฉันจะเห็นด้วยว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” แต่เมื่อ “การได้รับการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยทุกคนที่พึงได้รับตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”  รัฐจึงต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนและยอมสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษา เพราะเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ทรงอานุภาพที่สุดในการ “สร้างคน” ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ

        หรับลักสูตรที่เปิดสอนในคณะต่าง  นอกจากจะต้องมีมาตรฐานและความเข้มแข็งด้านวิชาการในศาสตร์นั้น ๆ อย่างยิ่งแล้ว  ต้องไม่ลืมที่จะบรรจุหลักสูตรที่จะสอนคนให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์” ด้วยการมีรายวิชาซึ่งกระตุ้นให้หน่ออ่อนของความตระหนักรู้ได้เติบโตขึ้น เอื้อต่อการปลุกจิตวิญญาณการเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่ไม่เจาะจงเพียงการนำไปใช้เพื่อการยังชีพในอนาคต แต่เกื้อกูลแก่สังคมประเทศชาติโดยรวม ดังที่ท่านอาจารย์ประเวศ วะสี เคยกล่าวไว้ว่า...ารศึกษาที่ยึดวิชาในตำราเป็นที่ตั้ง จะสร้างความผิดเพี้ยน พิกลพิการของคน เพราะความคับแคบ แท้ที่จริงแล้ว การศึกษาคือกระบวนการชีวิต ที่สัมพันธ์กับสังคมอันกว้างใหญ่ไพศาล จิตต้องเชื่อมกับธรรมชาติที่กว้างใหญ่ไพศาล จิตจึงจะใหญ่ เพราะอนาคตของมนุษย์ชาติอยู่ที่การมีจิตใหญ่ ้วยเหตุนี้ห้องเรียนจะต้องเป็นห้องเรียนที่มี “ชีวิต” ที่ฉันจะได้สัมผัสสัมพันธ์กับผู้คนและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ไม่เป็นห้องเรียนที่สร้างให้ฉันเป็นคนที่แปลกแยกจากถิ่นฐานบ้านเกิดและสังคมที่ฉันเติบโตมาและต้องกลับไปใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต  ไม่ใช่ห้องเรียนที่มีเพียงความรู้แห้ง ๆ ภาพประกอบ สไลด์ และครูที่ท่องตำรา(เก่าๆ) ให้นิสิต นักศึกษาฟัง และในห้องเรียนก็ควรจะมีเครื่องมือ สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยพอควร ไม่จำเป็นต้องหรูหราใหม่ล่าสุด แต่เพียงพอที่จะช่วยให้ฉันเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความความสุข ทั้งยังมีตัวช่วยจากบริการ “ห้องสมุด” ที่มีระบบที่ส่งเสริมต่อการค้นคว้าศึกษาได้อย่างจุใจและเพียงพอ

        ในมหาวิทยาลัย ต้องมี  “ครู” ซึ่งทำหน้าที่เป็น “พ่อแม่คนที่สอง”  มิใช่ “อาจารย์” ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ  ที่ฉัน“เข้าไม่ถึง” ด้วยความรู้สึกคร้ามเกรงในตำแหน่งทางวิชาการอันสูงส่ง ฉันไม่อยากเห็น “ครูอาจารย์” เป็นเพียงพนักงานของมหาวิทยาลัยกินเงินเดือนที่ต้องสร้างผลงานทางวิชาการที่จับต้องได้  จึงจะได้รางวัลตอบแทนด้วยเงินประจำตำแหน่ง ในขณะที่ความเป็นอาจารย์และ “จิตวิญญาณของความเป็นครู” กลับถูกละเลยไปเพราะจับต้องไม่ได้  ครูในมหาวิทยาลัยต้องมีคุณสมบัติที่สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ และให้โอกาสให้ฉันได้พัฒนาความเป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์” ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม  เพราะว่า... “ครูเก่งแค่ไหน ดูได้ที่ศิษย์”

        แม้ว่าฉันจะไม่ได้สนใจและให้ความสำคัญกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่ ทำกันเป็นประจำทุกปีมากนัก แต่ฉันมีความเชื่อมั่นและเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการมีระบบ  การรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา” เพราะทำให้มีการตรวจสอบ ทบทวนเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่ “การพัฒนาระบบการศึกษา” ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพียงแต่กระบวนการและวิธีการในการประเมินคุณภาพการศึกษานั้น อาจต้องเพิ่มความรัดกุม เรียบง่าย ตรงไปตรงมา ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่มากกว่าหลักฐานที่เป็นเอกสารและผลการดำเนินการของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ทั้งยังไม่ควรสร้างภาระให้กับสถานศึกษา จนรบกวนและส่งผลกระทบกับเวลาที่จะต้องใช้กับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นภารกิจหลักมากเกินไป

      มาถึงยามที่ฉันจบออกไปจากมหาวิทยาลัยแล้ว ฉันหวังว่าจะได้รู้สึกภาคภูมิใจในการเป็น “ศิษย์เก่า” ของมหาวิทยาลัย ที่มิใช่เป็นเพียงสถาบันการศึกษาอันเก่าแก่ มีชื่อเสียง ติดอันดับใด ๆ ของโลก หรือภูมิใจกับการมีเครือข่ายพวกพ้องเลือดสีเดียวกัน แต่ด้วยการได้ภาคภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อว่ามีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาให้ศิษย์ของตนเป็นผู้ที่  “คิดได้ ทำงานเป็น เน้นพัฒนา”  และได้สร้างคนที่มีคุณภาพ สามารถสร้างสรรค์ผลงานรับใช้และรังสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมโลก  นอกจากนี้เมื่อส่งฉันขึ้นฝั่งการศึกษาไปสู่ชีวิตจริงในการทำงานแล้ว ก็ยังคงเป็น “บ้านหลังที่สอง” ที่เปิดกว้างให้ฉันกลับมาผ่อนพัก มาตักตวงหาความรู้ต่อยอดได้ตามที่ต้องการ เพื่อเอื้อให้ฉันได้อยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างองอาจอีกด้วย

      และท้ายที่สุด “มหาวิทยาลัยในดวงใจ” ของฉัน จะต้องสามารถตอบโจทย์กับสังคมที่ว่า มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทอย่างไรในสังคม  ด้วยคำตอบที่ว่า “ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยต้องมีความสอดคล้องและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมโดยรวมอย่างมีคุณค่า”  ดังพระราชดำรัสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ว่า ความสำเร็จของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีความรู้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้มากเพียงไร

 

*************************

หมายเลขบันทึก: 282737เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (71)

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วประทับใจในการเขียนค่ะ ชอบขออนุญาต Copy ไว้อ่านอีกรอบน่ะค่ะ

ขอชื่มชมและแสดงความยินดีกับความสามารถค่ะ

ความสำเร็จของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีความรู้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้มากเพียงไร

สวัสดีค่ะพี่สุนันทา

ขอบคุณที่กรุณามาอ่านค่ะ ค่อนข้างยาว เพราะสมศ.กำหนดให้มีความยาว 3 หน้ากระดาษ A4 ค่ะ

ความจริงจะว่าไปน่าจะฟลุ๊ก ๆ มากกว่าค่ะ

พี่สบายดีนะคะ

(^___^)

สวัสดีครับ

รู้เรียน รู้จด รู้จำ รู้นำไปใช้ รู้สังเคราะห์ใหม่ บางส่วนของความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในดวงใจ ครับ

เขียนได้โดนใจมากๆค่ะ..ทุกข้อเลยนะคะเนี่ย..

เยี่ยมๆเลยค่ะ.พี่วัลภา..

...บันทึกนี้..กระตุกความคิดในหลายๆเรื่องค่ะ..

ขอบคุณมากนะคะพี่..^^

สวัสดีค่ะอ. ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

ดีใจจังค่ะที่อาจารย์กรุณามาอ่านและยังสรุปไว้ให้อย่างรวบรัดได้ใจความ...

ขอบคุณมากค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะพี่สาว

     ยาวจังค่ะตาลายเลย แต่ชอบสรุปตอนท้ายค่ะ

ความสำเร็จของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีความรู้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้มากเพียงไร

     กระตุกใจตัวเองดีจังค่ะ ..^__^..

  • แหมๆๆมาเร็ว
  • ถ้าวิทยานิพนธ์ผ่าน
  • จะยกโทษให้
  • เพราะถือว่าเอาเวลาไปทำประโยชน์  อิอิ 
  • ล้อเล่น
  • เอาใจช่วยจ้า
  • ตอนนี้ขอไปอ่านมหาลัยในดวงใจก่อนนะ
    • ยังอ่านมหาลัยฯ ไม่จบ
    • แต่ต้องตอบเม้นก่อน 
    • พี่ไม่กล้าโกรธ
    • เดี๋ยวไม่มีคนคุยด้วย 
    • แต่อย่าลืมรักษาสุขภาพด้วยนะ
    • ห้ามเจ็บ  ห้ามแก่
    • อิอิ

    สวัสดีค่ะน้อง คุณครูแอ๊ว

    ดีใจจังค่ะ เพราะเป็นเรียงความที่ค่อนข้างยาว ถูกบังคับให้เขียนประมาณ 3 หน้ากระดาษ

    ปกติไม่ชอบเขียนอะไรยาว ๆ ชอบย่อ สั้น กระชับ แต่เรื่องนี้ต้องร่ายยาวเต็มที่ค่ะ

    ขอบคุณที่อุตส่าห์อ่านนะคะ

    (^___^) 

    ขอตอบพี่เขี้ยวก่อนนะคะ....

    พี่จ้ะ ...

    ที่ผ่านมาน้องบกพร่องต่อหน้าที่น้อง เพราะความจำเป็นจริง ๆ ค่ะ

    แม้ผิดก็เพราะ..ต้องสุจริตต่อหน้าที่...นิสิต...

    เอ...แก้ตัวคล้าย ๆ ใครน้า...

    เพิ่งจะร่างหัวข้อวิทยานิพนธ์ค่ะ ยังไม่ได้สอบป้องกันหัวข้อด้วยซ้ำไปค่ะ...เส้นทางยังอีกยาวไกล...

    รับรองไม่ยอมเจ็บ ยอมแก่ ก่อนจบค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    (^___^)

    • สวัสดีค่ะ..น้องสาว..
    • อ่านแล้ว ชื่นใจ ค่ะ..ชื่นใจกับความคิด ที่สื่อสารชัดเจนจากใจของคนเขียน..
    • โหวตแล้วนะ...น้องสาวในดวงใจ..อิอิ
    •       

    บันทึกนี้คือรางวัลอันยิ่งใหญ่ ของผม   ที่ได้อ่านเรื่องราวที่มีคุณค่า ยิ่ง เป็นความโชคดีจริงๆ  สิ่งที่น่าสนใจมากไปกว่า เรียงความนี้คือสิ่งที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิดของคนเขียน  "ทำอย่างไร จึงจะฝึกฝนให้คนมีจิตสำนึกดีดีแบบนี้ได้" ชื่นชมครับ

    สวัสดีค่ะน้องครู ครูตุ๊กแก…ตัวดำๆ…

    พี่เขียนเอง อ่านเองก็ยังตาลายค่ะ ....

    ขอบคุณที่อ่านจนจบจ้ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะพี่ส้มนัฐพร จันทร์ส่งสิงห์

    ขอบคุณพี่ค่ะ ตอนเขียนร่างแรกนั้น คิดเพียงเล่น ๆ ว่าอยากให้มหาวิทยาลัยเป็นอย่างไรค่ะ เพราะห่างการเรียนในมหาวิทยาลัยไปหลายปีค่ะ

    5555....เขียนไปงง ๆ ไป ยาวจัง ผิดวิสัยของน้องอย่างแรงเลยค่ะ

    ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีครับคุณคนไม่มีราก

    ผมเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยเปิดแห่งหนึ่ง ซึ่งยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยในดวงใจของผม ที่แน่ ๆ "จ่ายครบ ถ้าไม่สนใจ ไม่จบแน่"ครับ  ขอบคุณครับ

    ขอบคุณน้องคนไม่มีรากค่ะ

     เป็นบทความที่โดนใจมากๆเลยค่ะ

    ดีใจที่พระองค์ทรงเห็น และให้ความสำคัญ

    ดังปรากฏใน   "พระราชดำรัสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ว่า ความสำเร็จของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีความรู้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้มากเพียงไร

    ขอบคุณที่ทำให้พี่ภูมิใจ ถือเป็นบทเรียงความที่ดีที่สุดในรอบปีนี้นะคะ

    และขออนุญาตนำไปฝากเด็กน้อย ค่ะ

     

    สวัสดีครับ

    • เป็นบทความที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง อยากให้นักการศึกษาได้อ่านกันมาก ๆ
    • ขออนุญาตนำไปเผยแผ่กับลูกศิษย์ต่อนะครับ
    • ขอบคุณครับ

     

     

    "นอกจากนี้เมื่อส่งฉันขึ้นฝั่งการศึกษาไปสู่ชีวิตจริงในการทำงานแล้ว ก็ยังคงเป็น “บ้านหลังที่สอง” ที่เปิดกว้างให้ฉันกลับมาผ่อนพัก มาตักตวงหาความรู้ต่อยอดได้ตามที่ต้องการ เพื่อเอื้อให้ฉันได้อยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างองอาจอีกด้วย"

    ..................................

    • ไม่เคยได้ยินความคิดอย่างนี้ และไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยเช่นนี้..ขอเป็นมหาวิทยาลัยในดวงใจผมครับ
    • ขอบคุณสาระดีๆครับ

     

    บทความเหล่านี้เยี่ยมมากเลย  และก็มีตอนโดนใจมากมายแต่ขอดึงมา เท่านี้ คะ สุดยอดจริง

     -มีคนเรียนเก่งจำนวนมากที่ล้มเหลวในการใช้ชีวิต เห็นได้จากตัวอย่างของคนเก่งบางคนที่สร้างความเสียหายอย่างยับเยินให้กับชาติบ้านเมือง

    -และยังมีคนจำนวนมากที่ไม่ได้เรียนเก่งหรือจบจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง แต่ก็เป็นผู้ที่ทำงานได้ดีและเข้ากับเพื่อนร่วมงานอย่างกลมกลืน เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า คนที่ไม่ประสบความสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้หมายถึงว่า เขาไม่มีศักยภาพ และหากยิ่งได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่จากสถาบันอุดมศึกษาแล้ว เขาจะยิ่งเป็นผู้ที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ได้อีกมากมายเพียงไร ด้วยฉันเชื่อว่า สังคมเปรียบได้กับป่าใหญ่ 

    -หันมาให้ความสำคัญและพิจารณาจากความประพฤติ ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพให้มากยิ่ง

    -... ครูเก่งแค่ไหน ดูได้ที่ศิษย์

    -อย่างมีคุณค่า  ดังพระราชดำรัสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ว่า ความสำเร็จของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีความรู้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้มากเพียงไร

                              ขอบคุณสิ่งดีดี ที่มอบให้กันนะคะ

     

    สวัสดีค่ะ

    * เกือบจะปิดเครื่องอยู่แล้วเชียว...เกือบไม่ได้อ่านเรื่องดีๆ ของตนเองยามเช้าเสียแล้วซิ

    * ยอดเยี่ยมค่ะ ....

     * ขอมอบภาพเมฆทางด่วนให้อีกครั้งนะคะ

    * สุขกายสุขใจค่ะ

    สวัสดีค่ะท่านอ. นายประจักษ์~natadee

    คนไม่มีรากเป็นคนโชดคีจริง ๆ ค่ะที่ได้อยู่ในสังคมที่มีผู้ใหญ่ใจดีและมีความเมตตาต่อเด็กที่ด้อยกว่าทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ ด้วยการให้กำลังใจ ให้โอกาส และให้เกียรติอย่างยิ่งเกินกว่าที่เป็นอยู่จริง

    ถ้อยคำของท่านที่ว่า...."ทำอย่างไร จึงจะฝึกฝนให้คนมีจิตสำนึกดีดีแบบนี้ได้" สร้างกำลังใจในการคิดสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อการศึกษาต่อไปค่ะ

    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

    (^___^)

     

    สวัสดีค่ะคุณวัชรา ทองหยอด

    อ่านคอมเม้นท์แล้วยิ้ม ไม่แปลกใจ ...

     ผมเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยเปิดแห่งหนึ่ง ซึ่งยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยในดวงใจของผม ที่แน่ ๆ "จ่ายครบ ถ้าไม่สนใจ ไม่จบแน่"ครับ 

    นี่คงเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณวัชราเป็น "คนทำงานเปี่ยมคุณภาพ" เช่นนี้

    ขอบคุณมากค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะพี่ krutoi

    ตอนเขียนเรียงความนี้ ยอมรับว่าคิดถึง "คุณครู" หลาย ๆ ท่านค่ะ ทั้งคุณครูตั้งแต่วัยเด็ก ตอนเรียนมหาวิทยาลัย และคุณครูใน G2K เนื่องจากใน G2K นี้มาคุณครูมากมาย ล้วนแต่มีอุดมการณ์และอุทิศตัวเพื่อลูกศิษย์ ... และพี่ต้อยเป็นคนแรก ๆ ที่น้องคิดถึงค่ะ

    ขอบคุณด้วยใจที่พี่กรุณาให้เกียรติกับน้องตลอดมาเลยค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะท่านอ. ภูฟ้า

    ดีใจและภูมิใจที่อาจารย์มาเยี่ยมชมและอ่านบันทึกนี้ค่ะ

    แอบไปอ่านบันทึกอาจารย์บ่อย ๆ แต่ไม่มีอะไรคอมเม้นท์...อ่าน ๆ ยิ้ม ๆ พยักหน้า เพราะชอบเรื่องการดูจิตและจิตตปัญญาศึกษา.....แล้วก็ไปอย่างอิ่มเอมค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    (^___^) 

    ขอแสดงความชื่นชมจากใจจริงครับ

                      รพี กวีข้างถนน

    สวัสดีค่ะอ.ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

     อ่านแล้วยิ้ม ๆ ๆ กับที่อาจารย์ว่า....ไม่เคยได้ยินความคิดอย่างนี้ และไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยเช่นนี้..ขอเป็นมหาวิทยาลัยในดวงใจผมครับ

    เลยเป็นมหาวิทยาลัยในดวงใจ...ค่ะ จะบอกว่านี่คือ มหาวิทยาลัยในฝัน ก็เกรงว่า...ฝันจะไม่เป็นจริงเสียที...

    ขอบคุณค่ะ

    (^____^)

    สวัสดีครับ

    ยินดีด้วยนะครับ

    ทำการแก้ไขบันทึกแล้วนะครับ

    ขอบคุณมากครับที่แวะมาแจ้งข่าว

    สวัสดีค่ะ

    แวะมาอ่านสาระดีๆค่ะ

    ขอบคุณมากเลยนะค่ะ

    การได้รับการพัฒนาความเป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์” ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม  

    นั้นเพราะเรามี พ่อ  แม่ คนที่ 2 คือ คุณครู  อาจารย์  ที่หวังให้ศิษย์ของตนเป็นคนดีในสังคมก็เพียงพอ

    • สุดยอดเลยครับ....
    • ไม้ป่าเดียวกันนี่เอง..555
    • คนละความหมายนะครับ..มีไม้ใหญ่ไม้เล็ก..แต่อยู่ในป่าเดียวกันนะ..ฮิฮิ

    สวัสดี ครับ คุณคนไม่มีราก

    ตั้งใจไว้ว่า...มา comment ช่วง break

    กาแฟ ถ้วยนี้ ทำให้คิดได้ มากมาย

    เป็นบันทึก..ที่เปี่ยมด้วยความคิดรังสรรค์เป็นอย่างยิ่ง

    รู้สึกเป็นบุญตา ที่ได้สัมผัสอักษรศิลป์ ที่ผ่านการกลั่นกรองจากความคิดของบุคลากรทางการศึกษาท่านหนึ่ง  ที่ไม่ธรรมดา...สักนิดเดียว

    ...นี่จึง  มิใช่  คำพูดที่พูดเกินงาม...

     

    หวังอยู่ลึก ๆ เช่นกันครับว่า...ถ้าเป็นบันทึกแบบนี้...และได้ถูกตีแผ่   ไปยังสถาบันการศึกษา ทุกระดับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานศึกษาระดับโรงเรียน  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา)

    เพราะการได้เข้ามาเรียนรู้ชีวิตในมหาวิทยาลัย นั้น อย่าเพียงมุ่งหวังแค่ กระดาษแผ่นเดียว เพราะที่นี่ ..มหาวิทยาลัย.. มีมากกว่านั้นอีก

    อ่านแล้ว  ...อยากกู่ร้องไปดัง ๆ  ...

    ....ชีวิตนี้ดีจัง  ที่ได้สัมผัสสังคมอุดมปัญญา....

    ขอบพระคุณมาก ครับ

     

    สวัสดีนกแห่งอรุณรุ่ง

    ได้อ่านเต็ม ๆ แล้ว ดูเหมือนยาว ตอนอ่านต้นฉบับไม่ถึง 3 หน้า มาลงในนี้ทำตัวโต ๆ เพื่อให้อ่านง่ายละมังครับ

    พี่ชอบความคิดหลายอย่างในเรียงความนี้

    - ....ฉันตั้งคำถามกับตัวเองว่า ไม่มีพื้นที่สำหรับ “เด็กเรียนไม่เก่ง” บ้างหรือ

    เป็นคำถามที่ท้าทายและพี่ก็กำลังมองและปรึกษากันในปัญหานี้อยู่ในหมู่อาจารย์ด้วยกัน เพราะทุกคนทั้งคนเก่ง ไม่เก่ง ควรมีพื้นที่ ซึ่งเขามีศักยภาพได้อยู่ในสังคม

    -“ระบบทุนนิยม” กำลังครอบคลุมกลืนกินสังคมอยู่ในขณะนี้ ล้วนแต่ให้ความสำคัญกับผลิตผล การกำไรขาดทุน การขยายเครือข่ายที่กว้างขวางเชิงปริมาณ เน้นให้มีการบริหารจัดการและเลี้ยงตัวเองได้  ทำให้มหาวิทยาลัยต้องแปรสภาพเป็นองค์กรอิสระในกำกับของรัฐ ต้องเร่งสร้างหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม(ทุนนิยม)

    โอ...โดนใจพันักงานของรัฐมากครับ :P

    - ต้องไม่ลืมที่จะบรรจุหลักสูตรที่จะสอนคนให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์” ด้วยการมีรายวิชาซึ่งกระตุ้นให้หน่ออ่อนของความตระหนักรู้ได้เติบโตขึ้น เอื้อต่อการปลุกจิตวิญญาณการเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่ไม่เจาะจงเพียงการนำไปใช้เพื่อการยังชีพในอนาคต แต่เกื้อกูลแก่สังคมประเทศชาติโดยรวม

    หน่ออ่อนของความตระหนักรู้...โอ้โห...คมจริง ๆ เราอยากได้มนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่เราไม่เคยบรรจุไว้ในหลักสูตรเลย...

    -...ฉันไม่อยากเห็น “ครูอาจารย์” เป็นเพียงพนักงานของมหาวิทยาลัยกินเงินเดือนที่ต้องสร้างผลงานทางวิชาการที่จับต้องได้  จึงจะได้รางวัลตอบแทนด้วยเงินประจำตำแหน่ง ในขณะที่ความเป็นอาจารย์และ “จิตวิญญาณของความเป็นครู” กลับถูกละเลยไปเพราะจับต้องไม่ได้

    อาจารย์กับตำแหน่งทางวิชาการ ต้องมีผลงานเชิงประจักษ์ (เป็นเล่มโต ๆ หนา ๆ) จึงจะได้เงินประจำตำแหน่ง ผศ. รศ. ในขณะที่อาจารย์บางคนก้มหน้าก้มสอนและส่งศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า...ไม่เคยได้รับการเหลียวแล

    - มาถึงยามที่ฉันจบออกไปจากมหาวิทยาลัยแล้ว ฉันหวังว่าจะได้รู้สึกภาคภูมิใจในการเป็น “ศิษย์เก่า” ของมหาวิทยาลัย ที่มิใช่เป็นเพียงสถาบันการศึกษาอันเก่าแก่ มีชื่อเสียง ติดอันดับใด ๆ ของโลก หรือภูมิใจกับการมีเครือข่ายพวกพ้องเลือดสีเดียวกัน แต่ด้วยการได้ภาคภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อว่ามีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาให้ศิษย์ของตนเป็นผู้ที่  “คิดได้ ทำงานเป็น เน้นพัฒนา”  และได้สร้างคนที่มีคุณภาพ สามารถสร้างสรรค์ผลงานรับใช้และรังสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมโลก  

    เป็นวรรคทองที่เปี่ยมคุณค่าที่สุดครับ....เยี่ยม !!!!

    ขอบคุณที่เขียนเรียงความนี้ กลั่นจากประสบการณ์ การอ่าน การครุ่นคิด พี่ชื่นชมเช่นเดียวกันกับคุณแสงแห่งความดี....

    ยอดเยี่ยมมาก ๆ ครับ

    สวัสดีค่ะพี่คนไม่มีราก

    โอ้.....เป็นไงล่ะ

    พี่คนไม่มีรากเขียนเอง...แจ๋วไปเลยค่ะ

    ไม่รู้จะแสดงความคิดเห็นอะไร อ่านจบแล้ว

    แต่กอก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องกะเค้า

    ยังไงก็ให้กำลังใจพี่คนไม่มีราก

    คนอะไรหนอ รากก็ไม่มี ยังยืนด้วยความเข็มแข็ง

    ทั้ง ๆที่ไม่มีรากยึดติดกับพื้นดิน ยืนได้ยังไง

    อ้อ...ลืมไป คนน่ะไม่ใช่ต้นไม้ ไม่มีรากก็ได้

    อิอิ ยังจำประโยคแบบนี้ได้ไหมค่ะพี่คนไม่มีราก

    สุขสันต์ทุกวันค่ะ

     

     

    สวัสดีค่ะ  คุณ คนไม่มีราก

    มหาวิทยาลัยในดวงใจ

    “ความสำเร็จของการศึกษาที่แท้จริง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีความรู้มาก แต่ขึ้นอยู่กับการนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้ เกิดประโยชน์แก่สังคม ได้มากเพียงไร ”

    เป็นมหาวิทยาลัยในดวงใจที่อยู่ในหัวใจ... ยิ่งอ่าน ยิ่งชื่นชม ค่ะ 

    ยินดีด้วยค่ะ  มีความสุขมากๆ ยิ่งขึ้นทุกๆ วันเวลานะคะ   

    เจริญพร โยมคนไม่มีราก

    อาตมาเห็นว่านิสิตยุคนี้ไม่ค่อยสนใจสภาพสังคม

    อาจจะเป็นเพราะเหตุการณ์เปลี่ยนนิสิตเลยเปลี่ยนตาม(โลก)

    เจริญพร

    สวัสดีค่ะคุณป้า สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ

    ตอนเขียนเรียงความนี้ ต้องยอมรับว่าคิดถึงคุณป้าสุด้วยค่ะ  เพราะคุณป้าสุ เป็นผู้ที่เป็นตัวอย่างอันดีของ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน อย่างน่ายกย่องมากที่สุดท่านหนึง

    ขอบคุณนะคะที่กรุณาอ่านอย่างละเอียด ... ภูมิใจมาก ๆ ค่ะ

    ตั้งใจจะทำสิ่งดี ๆ เผยแพร่ความคิดดี ที่ได้รับทราบมาต่อไปค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะพี่สาวที่รัก น้าอึ่งอ๊อบ คนสวย แซ่เฮ

    น้องกำลัง...เข้าสู่วังวนของ โลกธรรม อีกแล้ว...

    คอยช่วยกำกับและกระตุกด้วยนะคะ

    ขอบคุณค่ะ

    คิดถึง

    (^___^) 

    มาอีกรอบครับ

    คราวนี้มาอ่าน comment

    ที่ทุกท่านเขียนถึงคนไม่ราก

    อ่านแล้ว โลกนี้ช่าง...เย็น

    มีความสุข ครับ

    มามอบดอกไม้ให้กับบันทึกนี้ ครับ

    สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

             นักฟิสิกส์เรืองนามท่านหนึ่งชื่อ John Archibald Wheeler เคยพูดไว้ว่า

             "The real reason universities have students is to educate the professors."

             อันนี้อย่างน้อยก็จริงสำหรับการศึกษาระดับ ป.โท และ ป.เอก ในต่างประเทศครับ คือ พวก professors นี่ใช้ให้นักศึกษาของเขาทำวิจัยในสิ่งที่เขาอยากรู้...อิอิ

     

             มีเรื่องอินเทรนด์ร้อนๆ เกี่ยวกับฟ้าฝนมาฝากด้วยครับ เผื่อมีเพื่อนๆ ใกล้ตัวสนใจ 

     
     

    หวัดดีค่ะ

    โอ้โห...ดีใจจัง อ.โหลได้รับรางวัลด้วย

    เขียนเป็นนักวิชาการมาก ๆ เลยน่ะค่ะ

    แต่พวกหนุก็ชอบนะคะ เห็นด้วยทุกข้อเลยค่ะ

    ไชโย...

    เก่งมากปิงเอ้ย...

    ต้องฉลองนะ

    http://gotoknow.org/planet/mixsangsri

    ทำ planet ไว้ให้ตามที่คุณ คนไม่มีราก ขอไว้ เมื่อตอนเที่ยง ครับ

    ขอบคุณ นะครับ

    สวัสดีครับโหล

    อ่านจนจบอย่างมีความสุขครับ

    เหมาะสมแล้วที่ได้รับรางวัล

    เขียนได้คมเฉียบสะใจ สมแล้วที่เป็นนิสิตปริญญาเอก

    เมื่อไหร่จะมาให้เลี้ยงฉลองล่ะครับ

    ระลึกถึงมากครับ

    • สวัสดีค่ะ
    • ขอบคุณที่ไปเยือน
    • ชอบพระจังเลยค่ะ..อิอิ
    • บันทึกนี้...ขอบอกว่าสุดยอดงานเขียนเลยค่ะ สะท้อนให้เห็นอีกมุมมอง..แต่ผู้ใหญ่เขาอาจเฉยๆ ไม่รู้สึกสะเทือน
    • เยี่ยมยอดค่ะ

    สวัสดีค่ะทุกท่าน

    คนไม่มีรากขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาสละเวลาเข้ามาอ่าน บันทึกซึ่งยาวที่สุดของคนไม่มีรากค่ะ

    น้อมคารวะแด่คุณครูทุกท่านค่ะ

    (^___^)

    เจ๋งไปเลยพี่คนไม่มีราก

    เหงด้วยอย่างแรง

    คนเราจะประสบความสำเร็จในชีวิตที่ดี

    ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเรียนในมหาวิทยาลัย

    ขึ้นอยู่กับว่าจบไปแล้วคุณจะมีศักยภาพในการทำงานมากน้อยแค่ไหน

    อยากให้มหาวิทยาลัยทั้งหลายในปัจจุบัน เป็นม.ในดวงใจอย่างที่พี่หญิงกลางเขียนค่ะ

    เพราะตั้งแต่ปี ๔๐ เป็นต้นมา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าระบบอุดมศึกษากลายพันธุ์ธุรกิจไปซะแล้ว ... 

    ยังหวัง ยังรอ ... ล้มแล้วลุกไปข้างหน้า ดีกว่ายืนเต๊ะท่าอยู่กับที่ ... ฝันดี ราตรีสวัสดิ์นะคะพี่หญิง

    เห็นด้วยที่ว่าการเรียนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยอยางเดียว

    ขึ้นอยู่กับศักยภาพของคุณด้วย.....เจ๋งไปเลย.....

    เรียงความได้ดีมาก.

    • แล้วหา "มหาวิทยาลัยในดวงใจ" พบบ้างหรือยังคะ
    • เป็นกำลังใจให้กับ "ความฝัน" ดีๆ นะคะ

    ตามมาอานค่ะ แม้จะยาวหน่อย แต่มีสาระ ได้ประโยชน์จริงๆ ขอบคุณค่ะ
    ทุกมหาวิทยาลัย มีข้อเด่น ข้อด้อย พี่เองมีมหาวิทยาลัยในดวงใจแล้วค่ะ ก็ที่ๆพี่จบมานั่นละค่ะ

    อ่านแล้ว อยากให้ทุกมหา'ลัยเป็นแบบนี้บ้างค่ะ

    มีครูที่รัก ใก้ลชิดกับนิสิต และยังเป็นสถานที่เปิดกว้างในการให้กลับมาหาความรู้ได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย

    หนูจะพริ้นไปให้อาจารย์อ่านค่ะ

     

    มหาลัย กลายเป็นสถาบันเปลี่ยนนิสัย

    เป็นเซลมะเร็งร้ายของสังคม

     

    คงต้องร่วมกันสร้างมหาลัยในดวงใจ ตามแนวพระราชนิพนธ์ พระมหาชนกกันแล้วครับ

    ....

    วานนี้ได้เป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์ไปที่รัฐสภา

    จึงนำเรื่องราวด้านการศึกษานี้มาฝากครับ

     

    ฝ่าวิกฤติการศึกษาไทยในสังคมโมหะภูมิ (33378.59 Kb) 
    การศึกษาไทยในสังคมโมหะภูมิ เป็นตัวเร่งให้สังคมไทยล่มสลายเร็วขึ้น

    เราจะฝ่าวิกฤติเหล่านี้ไปได้อย่างไร หากไม่แก้ที่ต้นเหตุคือการศึกษาของคนในชาติ ?

    ทั้งหมดนี้ไม่สามารถเห็นผลได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน หรือตามนโยบายด่วนได้ของฝ่ายการเมือง

    แต่ต้องใช้เวลาเป็น10ปี เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้หลุดพ้นจากภาวะของสังคมโมหะภูมิ และแน่นอนว่า ต้องใช้เลือดใหม่ล้างเลือดเก่า!!

     

    หาก ครูและนักการศึกษา โชคดีที่ได้มีโอกาสฟัง ไฟล์นี้จบ ตลอด 2 ชั่วโมง ท่านจะเห็นว่า ภาพรวมของสังคมเราอยู่ในภาวะโมหะภูมิและวิกฤติเช่นไร?

    ..........................................................................................................................

    พระ ราชาตรัสว่า "..เหตุการณ์ในวันนี้แสดงความจำเป็น นับแต่อุปราช จนถึงคนรักษาช้างรักษาม้า และนับจากคนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอำมาตย์ ล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งนั้น พวกนี้ขาดทั้งความรู้ทางวิชาการ ทั้งความรู้ทั่วไป คือความสำนึกธรรดา พวกนี้ไม่รู้แม้แต่ประโยชน์ส่วนตน พวกนี้ชอบผลมะม่วง แต่ก็ทำลายต้นมะม่วง " ความตอนหนึ่งจากพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ...........................................................................................................................

     

    ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย คือทางออก ทางรอดของประเทศชาติ ....ที่พระองค์ทรงชี้ทางด้วยปริศนาธรรม ในพระมหาชนก 

     

     

     

    http://blog.palungjit.com/uploads/d/dhammav/4054.wma

     

    ขอบคุณคุณpooที่มาอ่านค่ะ

    ต้องเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยในฝัน เสียก็ไม่ทราบค่ะ

    ก็เขาให้เขียนสิ่งที่เราอยากได้ อยากให้เป็น...ก็เขียนซะ...55555...

    (^___^) 

    ขอบคุณคุณningza

    คุณภาพ คงขึ้นกับ...เราทำอย่างไร ...

    มาช่วยกันสร้างคุณภาพดี ๆ ในสังคมกันะคะ

    ขอบคุณค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะคุณpis.ratana

    ยินดีที่มาทักทายค่ะ

    ที่ถามว่า...แล้วหา "มหาวิทยาลัยในดวงใจ" พบบ้างหรือยังคะ  หากตอบตามความเป็นจริง ก็พบในมหาวิทยาลัยที่เรียนมาค่ะ คือ ที่ม.มหิดล และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้หมายความว่าที่อื่นไม่มี เพียงแต่คนไม่มีรากไม่มีโอกาสไปสัมผัสก็อาจจะไม่ทราบค่ะ แต่เรียงความนี้ก็คือ...มหาวิทยลัยที่อยากให้เป็น...แน่นอนว่า คงจะยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดจะเป็นตามฝันแบบนี้ทั้งหมดค่ะ...

    แต่...ก็ยังไม่หมดหวังค่ะ...

    ขอบคุณค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะพี่Sasinand

    ขอบคุณที่กรุณามาอ่านบันทึกยาว ๆ นี้ค่ะ

    มหาวิทยาลัยในดวงใจเดียวกันเลยค่ะ...

    ขอบคณค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะคุณ เด็กจุฬาฯค่ะ

    เรียนคณะอะไรเอ่ย...

    ขอบคุณที่มาอ่านค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะ...คนไม่มีราก

    ตามมาอ่านสาระดีดีมากมายที่ฝากไว้ในสังคมการเรียนรู้แห่งนี้

    ขอบคุณมากค่ะ

    ขอบคุณตัวเองที่พลัดหลงเข้ามาอยู่ในสังคมผู้รู้และผู้ให้ ทำให้กระหายใคร่รู้ต่อไปไม่หยุดยั้งค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณMan In Flame

    ขอบคุณที่นำเรื่องราวดี ๆ มาฝากค่ะ

    (^___^)

    สวัสดี ครับ คุณคนไม่มีราก

    มาทบทวน...บันทึกที่ให้ข้อคิดมากมาย กับมหาวิทยาลัยในดวงใจ

    ....

    แทบทุกคนต่างมี...มหาวิทยาลัยในดวงใจ

    ดังนั้น มหาวิทยาลัยในดวงใจ  จึงมิใช่มหาวิทยาลัยที่ยึดติด

    ..

    แต่เป็นสถานที่...สำหรับ กล่อมเกลาจิตใจของผู้คน

    ให้รู้จักคิด...และนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้กับชีวิต  เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต

    และอีกสิ่งหนึ่งที่ผม รู้สึกเช่นกัน  นั่นก็คือ...

    สถาบันการศึกษา ไหนๆ ก็ไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่ว่า....เราจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของเราได้อย่างไร...เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้อื่น...แก่สังคม และตนเอง  ภายใต้บริบทของการดำรงชีวิตอยู่ของเรา...ได้อย่างยั่งยืน  ต่างหาก

    ...

    ด้วยความระลึกถึง ครับ

    โห ยยย ,, พี่ค่ะ บทความดีมากเลย

    ขอก๊อบเอาบางส่วนไปส่ง เรียงความอาจารย์น่ะค่ะ ^^

    ขอบคุณคุณครูอี๊ด ค่ะ

    ต้องขอโทษด้วยนะคะ ที่เพิ่งมาอ่านและตอบ

    (^____^)

    สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

    ดีใจที่ได้ทักทาย พูดคุยกันค่ะ แม้จะไม่ Real time เหมือนก่อน ๆ ... ฮา...

    ในความคิดของคนไม่มีรากแล้ว มหาวิทยาลัยในดวงใจ ควรจะเป็นสถานที่ซึ่งได้มีส่วนสำคัญใน...

    "การสร้างและหล่อหลอมคนคุณภาพให้แก่สังคม"

    และชอบกับข้อความดี ๆ จริงใจของคุณแสงแห่งความดีที่ว่า.... 

    ...เป็นสถานที่...สำหรับ กล่อมเกลาจิตใจของผู้คน

    ให้รู้จักคิด...และนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้กับชีวิต  เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต

    และอีกสิ่งหนึ่งที่ผม รู้สึกเช่นกัน  นั่นก็คือ...

    สถาบันการศึกษา ไหนๆ ก็ไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่ว่า....เราจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของเราได้อย่างไร...เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้อื่น...แก่สังคม และตนเอง  ภายใต้บริบทของการดำรงชีวิตอยู่ของเรา...ได้อย่างยั่งยืน  ต่างหาก

    ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ และดีใจที่เราได้เป็น "กัลยาณมิตร" ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมทุกข์ ร่วมสุข สนุกสนาน ช่วยเหลือกันมาตลอด....

    ดีใจและยินดีที่ได้รู้จักคุณแสงแห่งความดีนะคะ

    รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะน้องชอค'แลต

    พี่ยินดีที่น้องมาอ่านและชมไว้ว่าบทความนี้เป็นบทความที่ดี....

    พี่มีความเชื่อว่า น้องก็คงคิดเช่นเดียวกับพี่ในบางประเด็น และอาจมีความคิดที่ดี ๆ แตกต่างจากความคิดเห็นของพี่ด้วย

    อยากให้น้องอ่าน เมื่ออ่านแล้ว เกิดความคิดใหม่ ๆ นำมานั่งวิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยความคิดของตัวเอง ... แล้วเขียนขึ้นด้วยตัวน้องเอง...พี่เชื่อมั่นว่า บางทีน้องน่าจะเขียนได้ดีกว่าพี่เสียด้วยซ้ำไปค่ะ

    การลอก/การCopy จะไม่ใช่เรื่องแปลกและน่าตำหนิ...หากเป็นการเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น 

    ลองเขียนแล้วส่งมาให้พี่ดูก็ได้ค่ะ อย่าลอกไปส่งเฉย ๆ เลย....

    พี่เสียดายแทนที่น้องจะเสียโอกาสในการได้คิดเอง ทำเอง และพัฒนาตัวเอง

    สู้ ๆ ค่ะ

    (^___^)

    เก่งจังพี่ปิง

    อ่านแล้ววิชาการมาก ๆ ๆ ๆๆ 

    ยินดีกับรางวัลที่พี่ได้รับนะคะ

    ขอบคุณคุณนุชค่ะ

    ว่าแต่นุชไหนหนอ...ฮา ๆ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท