การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มี Innovative Thinking (สร้างนวัตกร)


นวัตกรรมที่ใจก่อน --> นวัตกรรมที่ความคิด (ทัศนคติ) --> นวัตกรรมที่พฤติกรรม -->นวัตกรรมที่กระบวนการ --> นวัตกรรมที่ระบบ ที่ผลิตภัณฑ์ ที่งานบริการ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มี Innovative  Thinking

(สร้างนวัตกร)               

                         

                   “การคิดนั้นอาจคิดได้หลายอย่าง จะคิดให้วัฒนะ คือ คิดแล้วทำให้เจริญงอกงามก็ได้ จะคิดให้หายนะ คือ คิดแล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้ การคิดให้เจริญจึงต้องมีหลักอาศัย หมายความว่า เมื่อคิดเรื่องใด สิ่งใด ต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลาง  ไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงำ ให้มีแต่ความจริงใจ  ตรงตามเหตุตามผลที่ถูกแท้และเป็นธรรม           พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

                    ถ้าหากคนหนึ่ง มีนิสัยไม่ชอบอ่าน ไม่ชอบค้นคว้า  ใช้แต่ความรู้สึก  เอาแต่พูด  เอาแต่คิด  ไม่ลงมือทำ  ทำงานเป็นทีมไม่เป็น  ทนฟังคนอื่นนานๆไม่ได้  ชอบคิดข้าม step จะเอาแต่ผลงาน  ลืมไปว่าทุกอย่างมันอยู่ในหัวสมองและเริ่มต้นจากตัวเอง  แล้วถ้าคนอย่างคนหนึ่งนี้ (คงไม่ได้มีทุกอย่างตามที่เขียนมา) มีอยู่หลายคน  และกระจายปะปนอยู่ทั่วไปในองค์กรต่างๆ  จะพัฒนาคนเหล่านั้นไปพร้อมกับคนอื่นๆในองค์กรให้มี Innovative  Thinking  ได้อย่างไร   คงจะต้องทำให้แทรกซึมเข้าไปในจิตใจ  จนเกิดพฤติกรรมที่ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ   มันคงดูยากแต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทาย  และก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งถ้าทำได้สำเร็จ เพราะการที่ทรัพยากรมนุษย์ได้รับการพัฒนาและสะสมองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านนวัตกรรมได้ตามกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร ย่อมสามารถที่จะนำแนวความคิดใหม่ ๆ ไปประยุกต์ให้เกิดเป็นโครงการ แผนงาน หรือแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ได้   ซึ่งวิธีที่จะทำได้แนบเนียนที่สุดก็คงจะเป็นการเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร   เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้ส่งเสริมและเสริมสร้างให้คนในองค์กรมีความคิดและพฤติกรรมที่องค์กรพึงปรารถนา                

                           INNOVATION  ความหมายของมันก็คือ การคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ๆ นำไปสู่การปฏิบัติ ที่สัมฤทธิ์ผล เพื่อแก้ปัญหา เพื่อพัฒนา เพื่อสร้างโอกาส เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คำว่า "นวัตกรรม" จึงหมายถึง "ใหม่" "มีคุณค่า" และมีมูลค่าเพิ่มจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้                  

                                                           องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม         

                        

> เพิ่มเติมเรื่ององค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรมคลิกที่นี่

                                                   บทบาทการจัดนวัตกรรมภายในองค์กร

             

> เพิ่มเติมเรื่องบทบาทการจัดการนวัตกรรมภายในองค์กรคลิกที่นี่

องค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์และผลกระทบสภาพแวดล้อมขององค์กรต่อความคิดสร้างสรรค์

                      

> เพิ่มเติมเรื่ององค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์และผลกระทบสภาพแวดล้อมขององค์กรต่อความคิดสร้างสรรค์ คลิกที่นี่

กระบวนการจัดการนวัตกรรม

ก่อนที่จะมีการเริ่มจัดทำ Innovation  culture  จะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และอุปสรรคในหลายๆส่วน  

1. เริ่มจากการที่เรามีพันธกิจ  เป้าหมาย  และวิสัยทัศน์ขององค์กร  ยึดไว้เป็นหลักในการที่จะวิเคราะห์สภาพการณ์และหาแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง

2.  วิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจ   เพื่อที่จะสามารถตามได้ทันและสร้างความแตกต่างได้

3.  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก  ดูความต้องการของตลาด  สภาพเศรษฐกิจ  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  วัตถุดิบ  หรือผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถเข้ามาทดแทนได้ในอนาคต

4.  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  ดูรูปแบบโครงสร้างขององค์กร  การบริหารจัดการที่เป็นอยู่  สถานะทางการเงิน  การพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์   ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและแผนการดำเนินงาน

5.  จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาเป็นปัจจัยในการกำหนดกลยุทธ์และยุทธวิธีที่จะนำไปสู่นวัตกรรมที่ตรงตามพันธกิจและวิสัยทัศน์

6.  นำแผนงานและกลยุทธ์ที่วางไว้มาดำเนินการปฏิบัติจริง

7.  ประเมินผลการทำนวัตกรรม  โดยเน้นพฤติกรรมของคนในองค์กรที่เปลี่ยนไปว่าเป็นตามที่ต้องการหรือไม่ก่อน  อย่าไปคาดหวังที่ผลเลยมากเกินไป   ต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้  ต้องมากจากความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กรนั้นๆ  เราจะต้องทำให้ทุกคนมีโอกาสในการสร้างนวัตกรรม   ซึ่งนวัตกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 3  ระดับ  คือ

1.  Improvement  Innovation  ที่ทุกคนสามารถคิดได้  ทำได้ที่หน้างานของตนเอง  ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสร้างฐานความคิดเชิงพัฒนาให้กับทีมงานเริ่มต่อยอด  เชื่อมโยง  ทำสิ่งที่ใหญ่ขึ้น  ยกระดับสิ่งที่พัฒนาขึ้นมากจนเห็นความแตกต่าง

2.  Incremental  Innovation  ส่วนมากจะเกิดจากการต่อยอดความคิด  เชื่อมโยงกระบวนการและเทคโนโลยีมาสร้างเป็นสิ่งใหม่ที่ดีและมีคุณค่ามากกว่าเดิม

3.  Break  through  Innovation  เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมี  ผู้อื่นต้องใช้เวลาตามเรา  เป็นการสร้างโอกาสที่เป็นผู้นำในตัวสินค้าหรือบริการ  ก่อให้เกิดคุณค่าแก่ลูกค้าและประสบความสำเร็จในตลาดอย่างชัดเจน

การจะเกิด Innovation ได้ สิ่งต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ด้วยคือ ต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ต้องไม่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้กล้าคิดกล้าทำ INNOVATION ต้องเกิดจากข้างล่างและมีคนข้างบนคอยสนับสนุนทำเป็นตัวอย่าง และต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานตามทฤษฎี 6 กล่าวคือ   ต้อง กล้าคิด , กล้าพูด , กล้าเปิดใจ , กล้าเสี่ยง , กล้าเรียนรู้ และ กล้าทำ   ส่วนผู้นำที่จะสามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์   ให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้นต้องมี ทฤษฎี 4 L’s  นั่นคือ  Learning Methodology , Learning Environment , Learning Opportunities และ Learning Communities  

> เพิ่มเติมเรื่อง ทฤษฎี 6 ก  และ ทฤษฎี 4 L’sคลิกที่นี่

                       การทำนวัตกรรม  ก็คือ การกระทำต่างๆที่นำเอาทรัพยากรต่างๆมาทำให้เกิดขีดความสามารถใหม่ๆในทางที่ดีขึ้น  การบริหารนวัตกรรมนั้นต้องอย่าใจร้อน   อย่าเอาเวลาและขั้นตอนมาเป็นตัวตั้ง  มันก็เปรียบเสมือนการทำเกษตรทำสวนนั่นแหละ   ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ  ได้สรุปการทำนวัตกรรมมาเป็นขั้นตอน  ดังนี้  คลิกที่นี่ 

                       รูปแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจ  จะขอยกตัวอย่างคร่าวๆ  เช่น

                       แบบ Adult learning   เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการนำไปปฏิบัติ ซึ่งต่างจากการเรียนรู้ของนักเรียน และนักศึกษาซึ่งเน้นทฤษฎีเพื่อนำไปใช้สอบ
                       แบบ Experiential Learning   เรียนรู้ด้วยการนำประสบการณ์จริงที่ผู้รับการฝึกอบรมมีอยู่แล้วออกมา และผสมผสานกับความรู้ใหม่ที่วิทยากรนำเสนอให้พิจารณา แล้วจึงสร้างให้เกิดประสบการณ์ใหม่ จากนั้นจึงกระตุ้นให้ผู้รับการฝึกอบรมนำกลับไปใส่แทนที่ประสบการณ์เดิม 
                       แบบ Active Learning   เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหา และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยมีวิทยากรเป็นผู้ชี้แนวทาง วิธีคิดผ่านกิจกรรมและเกม ซึ่งทำให้เกิดการเข้าใจ ในระดับที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้ โดยไม่ต้องเปิดตำราทบทวน 
                       การฝึกอบรมแบบ NLP (Neuro–Linguistic Programming)   เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนทัศนคติ และความรู้สึกเพิ่มเติมไปจากการเพิ่มความรู้เชิงวิชาการ ซึ่งจะทำให้เกิดการซึมซับสู่จิตใจ ในการนำทักษะใหม่ไปสู่การปฏิบัติในชีวิตการทำงานจริง
                   โดยการผสมผสานประยุกต์ใช้หลากหลายเทคนิคเหล่านี้ จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ในหลากหลายมิติ เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวม อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการทำงานได้จริง   ส่วนเนื้อหาการฝึกอบรมหรือข้อมูลที่จะมาเสริมในการเรียนรู้ควรคัดสรรเนื้อหาที่เป็นความรู้ใหม่จากต่างประเทศ และประยุกต์ดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับคนไทย โดยเน้นเนื้อหาในปริมาณน้อย แต่คัดสรรที่จำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพการทำงานจริง และลงลึกในคุณภาพ

                         เปิด Innovation  culture เครือซีเมนต์ไทย  ในช่วงแรกมีการจัดงาน Kick Off เพื่อสร้าง Awareness แล้วพยายามหาคำจำกัดความให้ได้ว่า Innovation ในความหมายของเครือฯ ว่าคืออะไร ซึ่งอาจจะเป็น New Business Model หรือเป็น Incremental คือการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ปัจจุบัน ดัดแปลง หรือปรับปรุงโพรเซสให้ดีขึ้น ถ้าในแง่วัฒนธรรมองค์กร มี 4 เรื่องที่เราพยายามสร้าง คือ  Think Out of the Box (การคิดนอกกรอบให้ได้)Open-minded  (การเปิดใจ รับฟังคนอื่น ให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมา)   Risk Taker (ความกล้าตัดสินใจ กล้าลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้)  และ   Personal Mastery (นิสัยหมั่นค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง)ต่อมา เทคโนโลยีอินทราเน็ตถูกนำมาใช้ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยมีทีมรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับ Innovation รวบรวม Best Practice ขององค์กรต่างๆรวมทั้งหนังสือดีๆ ก็ถูกจัดเป็น Book Briefing ไว้ในเว็บ เป็น e-learning สำหรับพนักงานทุกคน นอกเหนือจากการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน Innovation มาบรรยายอย่างต่อเนื่อง   นอกจากนั้น ได้มีการจัด Communication Package ใช้สื่อภายในองค์กรแบบดั้งเดิม  ทำหนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ “Inno News” ส่งถึงพนักงานทุกคน ส่วนกระบวนการสร้าง Recognition กระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ คือการตั้งเงินรางวัลสำหรับผลงานวัตกรรมใหม่ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือทีม   ส่วนในการรับคน ได้มีโครงการ CCC (Cement Thai Career Choice) คัดเลือกนิสิตนักศึกษาปีที่ 4    ถือเป็น Group Selection และมีการรับสมัครพนักงานระดับ Mid career  ซึ่งจะมีความคิดสร้างสรรค์เพราะได้ผ่านประสบการณ์การทำงานจากที่อื่นแล้วย่อมมองอะไรในมุมที่กว้างมีความคิดที่แตกต่างและหลากหลายซึ่งสามารถช่วยองค์กรในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆได้มากขึ้น   นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบ  e-HR  ที่ช่วยในการฝึกอบรมความรู้ในงานเพื่อให้มี Competency ต่างๆ ให้ครบ แล้วยกระดับตัวเองขึ้นมาตามสายงานได้ เป็นการพัฒนาบุคคลในรายละเอียดปลีกย่อยมากขึ้น                                            เพิ่มเติมกรณีศึกษาของเครือซีเมนท์ไทยและไอบีเอ็ม คลิกที่นี่        

ในการสร้าง Innovation Culture ของเครือซิเมนต์ไทย  มีหลักการและขั้นตอนในการทำที่ดีและน่าสนใจมาก   เริ่มมาจากการให้คำจำกัดความของ Innovation ของเครือฯเอง  ซึ่งมาจากการวิเคราะห์ SWOT รอบด้านขององค์กรแล้ว   ตอบได้ว่าต้องการอะไรแค่ไหนซึ่งระดับของ Innovation ได้เลือกในระดับ Incremental  innovation  ซึ่งอยู่ในระดับกลาง  เกิดจากการต่อยอดความคิดสร้างเป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณค่ากว่าเดิม   และอาจสร้างให้ถึงในระดับ Breakthrough Innovation จากนั้นได้เลือกวิธีที่จะสร้าง Innovation โดยการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร  และเสริมสร้างให้บุคลากรและผู้นำในองค์กรมีลักษณะคล้ายคลึงตามทฤษฎี 6ก และทฤษฎี 4 L’s  ซึ่งวิธีการที่นำมาใช้เป็นรูปแบบในการเรียนรู้  คือ  ทำ E-Learning  , Training    มีการจัด ค่ายแบบ Active  Learning  ให้กับนักศึกษาเพื่อทำการคัดเลือกบุคลากร  เป็นต้น    ส่วนในเรื่องของการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรม  มีการตั้งเงินรางวัลที่ค่อนข้างสูง   ซึ่งทางเครือฯได้นำหลักการและทฤษฎีต่างๆมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว  สร้างสรรค์กิจกรรมนำร่องและสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเกิดการคิดสร้างสรรค์จนเกิดนวัตกรรม  ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจจนถึงในปัจจุบันและยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วิธีที่น่าสนใจในพัฒนาคนให้เกิด Innovative  thinking  ยังมีอีกมากมาย   ซึ่งอยากจะยกตัวอย่างซักเล็กน้อย   เริ่มด้วยการวิเคราะห์ตัวบุคคลในเชิงลึก  ค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในตัวเค้าก่อนเพื่อที่จะได้พัฒนาให้ถูกทาง  เครื่องมือที่น่าสนใจคือการวิเคราะห์ความถนัดเชิงอัจฉริยภาพ  หรือ  Multi-Dimension Intelligence Assessment  นั่นเอง  จากนั้นสร้างการเรียนรู้ตามรูปแบบต่างๆ   ผลักดันให้เกิดการ Show & Share   กระตุ้นให้คิดโปรเจคต่างๆตามความถนัด   หรือมีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์เล่นเกมนวัตกรรม  เสริมสร้างในทางที่บุคคลนั้นๆจะสามารถดึงศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่ออกมาได้มากที่สุด   และหลังจากการทำงาน  โปรเจค  หรือกิจกรรมใดๆก็ตาม  พยายามกระตุ้นให้มีการทำ AAR  เพื่อทบทวน  

>  เพิ่มเติมเรื่อง   Multi-Dimension Intelligence Assessment   คลิกที่นี่  

>  ตัวอย่างแบบสอบถาม  Multi-Dimension Intelligence Assessment   คลิกที่ Link ด้านล่าง

http://www.e-apic.com/Download/Questionair%20for%20Multiple%20intelligence%20(New%20Version).pdf

>  ตัวอย่างเกมนวัตกรรม  คลิกที่นี่

>  เพิ่มเติมเรื่องAAR  คลิกที่นี่

                   ในการที่จะเปลี่ยนแปลงคนนั้น สิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างมีผลอย่างมากเพราะถ้าคนอื่นทำ มีตัวอย่างดีๆที่ประสบความสำเร็จให้เห็นก็อาจเป็นการสร้างแรงกดดันเล็กๆให้คนอื่นอยากทำได้บ้าง  แต่ต้องระวังอย่าให้กดดันจนเกิดเป็นความเครียด  ในการที่จะสร้างเสริมให้มีการรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลานั้น   ต้องมีการสร้างบรรยากาศที่จะกระตุ้นให้คนอยากที่จะเรียนรู้   องค์กรควรสนับสนุนในการสร้าง Change  Agent ขึ้นมามากๆ   อาจมาทำหน้าที่เป็น  Facilitator   ซึ่งควรจะต้องเป็นผู้ที่สามารถสร้างแรงจูงใจ  กระตุ้นให้เกิดการคิด  และต้องอยู่ในประเด็นที่ต้องการ  จะคอยเป็นผู้สังเกต  คอยแทรกแซงเมื่อจำเป็นเท่านั้น  สามารถแนะนำและช่วยแก้ไข  หรือชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหาได้    ทั้งนี้ทุกกระบวนการก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร   เพราะการที่นวัตกรรมจะกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆได้   ทุกคนจะต้องเข้าใจมันอย่างถ่องแท้และยอมรับปฏิบัติกันด้วยความเต็มใจ

              

[1] http://www.chiraacademy.com/chiratheory.html 

[2] http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=31594

[3] http://www.re-know.com   

[4] ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ , “ การบริหารนวัตกรรมอย่างยั่งยืน และพอเพียง ” , สำนักพิมพ์อริยชน ,      พ.ศ. 2550

[5] น.ท.บดินทร์  วิจารณ์, “ มุ่งสู่อนาคตด้วยนวัตกรรม ” , วารสารการบริหารคน,      พ.ศ. 2550

[6] ภานุ  ลิมมานนท์, “ กลยุทธการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ ” , บริษัท ภาริณาส จำกัด,      พ.ศ. 2549

 รัตนรรท์   ทองทั่ว      (นันทน์)      5078308738 

หมายเลขบันทึก: 115866เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2007 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)

หวังว่าคนที่เข้ามาให้ความเห็นก่อนหน้านี้ คงเป็นคนที่รู้จักกันเข้ามาล้อเล่นนะคะ

 

เขียนเรื่องนี้อันตรายนะคะ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวผู้สอนมากค่ะ เลยรู้ว่าบางอันมันไม่ update แล้วค่ะ

ลองปรับ font ดูใหม่ บางช่วงแปลกๆ อ่านยากจัง

เนื้อหายังไม่ครบใช่ไหมคะ สิ่งสำคัญคือความคิดเห็นของผู้เขียนที่จะสังเคราะห์ต่อยอดค่ะ

 

  • ต้องลองบอกมาก่อนว่า เอกสารที่นำมา มาจากแหล่งใด และเมื่อไรค่ะ จึงจะพอวิเคราะห์ต่อได้
  • ส่วนในการสังเคราะห์ คนที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานในองค์กร และจะเล่นในส่วนกรณีศึกษา พื้นฐานสากลต้องแน่นก่อน เช่น หลักการพัฒนาคนให้มีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม มีวิธีการอย่างไร แล้วกรณีศึกษาที่เรายกมาทำเหมือน หรือต่างจากทฤษฎี/หลักการ ดี หรือไม่ดี อย่างไร ถ้าจะปรับปรุงควรทำอย่างไร
  • ส่วนที่คัดลอกจากหนังสือที่เป็น how to ก็ดีค่ะ แต่ทำเป็นเอกสารอ้างอิงก็ได้ อยากให้เน้น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ HRD 

 

  • ก่อนวิเคราะห์ได้ดี เราต้องรู้แก่นเรื่องนี้เสียก่อน ยิ่งยังไม่ทำงานต้องมีเวลาค้น text book, journal ถือว่าเป็นแบบฝึกหัด ที่อาจจะโหดไปหน่อย  แต่นี่คือพื้นฐานก่อนที่จะไปเจอการทำ thesis ค่ะ 

ยังพอมีเวลา ทำเรื่องนี้ให้ดีไปเลย อย่าเปลี่ยนเรื่องเลยค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่แนะนำค่ะ

เดี๊ยวคงจะได้ปรับปรุงหลังสอบ stat อาทิตย์นี้นะคะ

เคยอ่านพบกรณีตัวอย่างการนำ innovative thinking ไปใช้ในองค์การหลายแห่งเหมือนกันค่ะ เช่น DTAC มติชน และพบว่าประสบความสำเร็จ จะเห็นได้จากผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นและได้รับการกล่าวถึงตามสื่อต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เช่น หนังสือพิมพ์ internetแสดงว่า แนวคิดนี้สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้จริง

อยากทราบที่มาของ innovation culture ด้วยค่ะว่ากำหนดจากปัจจัยใดบ้าง และใครเป็นผู้กำหนดคะ 

เนื้อหาอ่านแล้วไม่เครียดดีค่ะ สบายๆ แต่ก็ต้องขอชมก่อนนะคะว่าเขียนได้ดีอ่านแล้วไม่เบื่อ ค่ะ

อุไรวรรณ ทองเจริญ ค่ะ

อ่านเรื่องนี้แล้วชอบครับ ชอบตั้งแต่เริ่มต้นเลย เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ ถ้ามีโมเดลประกอบด้วยจะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นแน่ๆ

อ่อ.. แอบเห็นคอมเมนท์จากของ อ.ส้มแล้ว เป็นกำลังใจให้นะครับ สู้ๆ ^^"

โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

อ่านมาแล้วเห็นว่านันทน์มีการพูดถึงเรื่อง Competency ด้วย โบว์เลยอยากใหนันทน์ขยายความต่ออีกหน่อยได้มั๊ยคะว่า Innovative Thinking กับ Competency มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร นำมาเสริมกันให้เกิประโยชน์ได้หรือไม่อย่างไรน่ะค่ะ คำถามอาจจะกว้างไปนิดนึงสำหรับนันทน์ เนื่องจากยังไม่ทำงานเนอะ อย่างไรแล้วพี่ๆท่านใดมีประสบการณ์ทางนี้ หรือยากแชร์ความรู้กันก็ดีเลยนะคะ เพราะโบว์คิดว่าเรื่องนี้กำลังเป็น Trend และเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

ขอชมนันทน์ว่าทำได้ดีมากๆเลยสำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานน่ะค่ะยังไงก็สู้ๆ นะคะ :)

Jubb Jubb

BoW

โอ้โห!! เยี่ยมไปเลยค่ะ ขึ้นมาก็เป็นพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการหาวิธีเกริ่นนำที่ชวนติดตามมาก บวกกับหัวข้อที่น่าสนใจอยู่แล้ว จึงรีบอ่านต่อโดยทันที :-) ก็สู้ๆๆนะคะ ตอนนี้ก็คงจะกำลังปรับแก้ตามที่อ.ส้มบอก ก็อาจจะเพิ่ม case study ขององค์การอื่นๆ และเน้นที่ความคิดเห็น ข้อวิจารณ์ของเราเกี่ยวกับหัวข้อนี้ โดยเขียนเป็นภาษาของเราเองน่ะค่ะ แล้วจะติดตามอ่านฉบับสมบูรณ์นะคะ ^_^

ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นนะคะ  ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงปรับปรุงบันทึกค่ะ ข้อมูลบางส่วนอาจหายไปบ้าง

ตอบภู่นะคะ  ว่าปัจจัยที่นำมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ที่จะสร้าง Innovation  Culture  มาจากการวิเคราะห์ จุดแข็ง  จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของคู่แข่งทางธุรกิจ  สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในขององค์กร  และนำมาสัมพันธ์กับพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร  กำหนดขึ้นเป็นกลยุทธ์ต่างๆ  ซึ่งอาจต้องศึกษาเพิ่มเติมรายละเอียดในเรื่องของstrategic group และ strategic mapping  ค่ะ  ส่วนคนกำหนดก็คงจะต้องแบ่งไปตามฝ่าย  แต่ผู้รวบรวมและวางแผนขั้นตอนกระบวนการคงจะต้องเป็นฝ่าย HRD ค่ะ

 Boy

สวัสดีค่ะ นันท์

 

พี่ขอชมว่ามีความพยายามดีมากในการปรับปรุง และการตอบให้ความเห็นก็ดี ทั้งที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน (จริงเหรอ)

 

ขอเสริมที่ตอบภู่ค่ะ

 

กลยุทธ์ที่ช่วยสร้าง innovation culture ไม่มีสูตรสำเร็จ input ที่บอกมานั้นใช่ค่ะ เหมือนการกำหนดกลยุทธ์อื่นๆ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ สภาพปัจจุบันภายในองค์กรของเรา (current status) ในทุกๆ เรื่องเป็นอย่างไร ถ้าเรารู้จัก 7S model สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ในรายละเอียดให้ครบถ้วนมากขึ้นได้ ว่าเรายังอ่อนที่ไหน ปัญหาการ change ยากที่สุดคือเรื่องคน อย่างที่บริษัท leadership อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี change agent ที่แข็งแรงและผนึกกำลังกันผลักดัน activities ต่างๆ ออกไปให้ได้ HRD อาจจะไม่ต้องทำอะไรเลย

 

จาก MSN ที่เขียนมาบอกเมื่อสักครู่ อ่านแล้วค่ะ แต่ไม่มีเวลาตอบกำลังยุ่งกับการจัดการบล็อกส่วนตัวอยู่ ไม่อยากทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ขอโทษด้วยค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ส้มมากค่ะ  เพราะรู้สึกว่าอาจารย์ต้องตอบนันทน์มากมายเลยทีเดียว^v^  ขอโทษอาจารย์ที่รบกวนบ่อยค่ะ  แต่เนื่องจากสับสนอยู่  พอได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ก็ทำให้ตั้งสติขึ้นมาได้บ้างค่ะว่าจะทำอะไรต่อดี  

ด้วยความเคารพ    

    นันทน์

แบบทดสอบเรื่องความสามารถในการบริหารอัจฉริยภาพ  ทำแบบทดสอบส่งให้แล้วมีการวิเคราะห์ส่งกลับมาไหมคะ
ขอแสดงความนับถือค่ะ

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

  • ขออนุญาต ชี้แจง เรื่อง e-HR ของ SCG เป็นระบบที่ใช้จัดการงานบริหารการบุคคล  จะไม่ได้ใช้เป็นแหล่งให้ความรู้ค่ะ 
  • การทำ website KM ของ ส่วนกลาง จะเป็นการรวบรวม ความรู้ให้เข้าไปศึกษา รวมทั้งวิดีโอที่บันทึกเมื่อมีการจัด book briefing หรือ รายการสำคัญที่เชิญวิทยากรข้างนอกมาบรรยาย รวมทั้งการสื่อสารของผู้บริหารระดับสูงสุดที่จัดให้กับพนักงานระดับบริหาร

 

  • ในส่วนของ SCG Chemicals มี web ชื่อว่า mylearning ซื่งจะมีการจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์ให้ความรู้ทั่วไปทุกสัปดาห์ (อ่านเฉยๆ)  ซึ่งจะแยกจากระบบการเรียนรู้ e-learning ที่จะบรรจุบทเรียนหลายๆ ด้านให้พนักงานต้องลงทะเบียนเรียน มีทั้งภาคบังคับ และไม่บังคับ ถ้าเรียนจบจะบันทึกประวัติให้
  •  ส่วน innovation จะมีกิจกรรม idea time ที่ให้พนักงานนั่งคุยกันทุกวันศุกร์ เกี่ยวกับโครงการที่หน่วยงานคิดเรื่องใหม่ ขึ้นมา แต่ละเดือนต้องมีการสรุปว่าเรียนรู้อะไรบ้างจากการนั่งคุยกัน หรือไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่อื่นๆ เพื่อนำมาประกอบการทำโครงการแล้วสรุปบันทึกลงในระบบฐานข้อมูลที่เตรียมไว้ให้ กลุ่มโครงการอื่นสามารถเข้าไปอ่านได้
  •  ในแต่ละเดือนในสัปดาห์ที่ 3 จะมีกิจกรรม Plearn (Play & Learn) ส่วนใหญ่จะเลือกหนัง หรือ ปกิณกะ มาให้ดูร่วมกัน แล้ว ฝึกการ capture knowledge  ฝึกความกล้าแสดงความเห็น  รับฟังความเห็น ฝีกการคิดวิเคราะห์ โดยมี Facilitator ประจำกลุ่มช่วยสร้างบรรยากาศ 

ตอบคุณศศิธรค่ะ  คือว่าส่วนใหญ่เค้ารับทำเป็นองค์กรค่ะ  และต้องมีค่าใช้จ่าย  คิดว่าอาจต้องมีกิจกรรม1วัน  ประมาณว่าค่ากิจกรรม1วัน  กลุ่ม12คน  ราคารวม 50,000บาท(ทั้งกลุ่ม)  และค่าแบบทดสอบ+ค่าวิเคราะห์ผล  ประมาณ 2,500 บาทต่อคนค่ะ   น่าจะประมาณนี้นะคะถ้าจำไม่ผิด

ใช่ ใช่

มันคงต้องมีเเรงจูงใจให้คนที่จะช่วยคิดด้วย

 

เพราะการที่จะดึงสิ่งดีๆ ออกมาจากสมอ

ของคนนั้นยากเหลือเกิน เพราะถ้าแค่คิดอยู่เเต่ในหัวแต่ไม่มีกระบวนการรองรับ ก็ไม่รู้ว่าจะไปนำเสนอใคร เเละเสนอทำไม เพื่ออะไร

 

ถ้าองค์กรผมมีบ้างก็ดีสิ เพราะคิดอะไร แปลกในหัวได้เยอะเลย

นันท์

พี่มีบางส่วนเขามาshare บริษัทที่พี่ทำงานอยู่ได้ระบุ Innivation ไว้ใน core value มีการประชาสัมพัทธ์หลายประเภท เช่น อบรม กิจกรรมนอกสถานที่ แผ่นพับประกาศ ประกวด เสื้อประจำวัน ตั้งChange Leader เป็นต้น

นวัตกรรม ของบริษัทประกอบด้วย :กล้าริเริ่ม คิดนอกกรอบ เปี่ยมปัญญา กล้าและท้าทาย ปฏิบัติเชิงรุก ยืดหยุ่น – คล่องตัว ปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลง พัฒนาต่อเนื่อง

นวัตกรรม : สิ่งที่ควรทำ

  1. กล้าและกระตุ้นให้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และใฝ่หาความรู้ แนวคิดใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้
  2. เปิดใจยอมรับความคิดเห็น ทบทวน ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้คล่องตัวและทันสมัย
  3. เปิดโอกาสให้พนักงานเสนอความคิดเห็นในการทำงาน และกล้าตัดสินใจในหน้าที่ที่รับผิดชอบ มิใช่รับคำสั่งเพียงอย่างเดียว
  4. กล้าทดลองปฏิบัติ และยอมรับ เรียนรู้จากความผิดพลาด
  5. หาทางป้องกันปัญหาและอุปสรรคในอนาคต โดยไม่รอจนเกิดปัญหาเสียก่อน
  6. ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ท้าทาย พร้อมปรับตัวให้สอดคล้องเหมาะสมเสมอ
  7. นวัตกรรม : สิ่งที่ไม่ควรทำ

    1. ไม่มองคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างเป็นคนหัวหมอ เจ้าปัญหา อยากเด่น
    2. ไม่ออกคำสั่งอย่างเดียว โดยไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
    3. ไม่ดูถูกตัวเอง คิดว่าความสามารถของคนมีจำกัด ทำได้เท่าที่เคยทำมาแล้วเท่านั้น
    4. ไม่คิดว่าจุดที่เป็นอยู่ดีที่สุดแล้ว ไม่จำเป็นต้องกระตือรือร้นที่จะทำอะไรใหม่ๆ
    5. ไม่ท้อถอยและมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหา ไม่คิดว่าปัญหานั้นๆ แก้ไขไม่ได้
    6. ไม่ลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาทุกครั้งที่ทำผิดพลาด บางครั้งควรให้อภัย หากพบว่าการกระทำนั้นเป็นความพยายามที่จะ ... คิดใหม่ทำใหม่
    7. ไม่เอาความคิดหรือผลงานของลูกน้อง หรือบุคคลอื่น มาเป็นของตนเอง
    8. ไม่ย่อท้อและยอมรับต่อการพ่ายแพ้กับการทำงานที่ล้มเหลว
    9. ไม่หาข้อแก้ตัวเพื่อหลบเลี่ยงหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
    10. ดูข้อมูลได้บ้างใน

      http://www.banpu.co.th/eng/employment/index.php

      พี่บุป

ก่อนอื่นขอชื่นชมว่าข้อมูลที่นำเสนอแน่นมากกกก ปัจจุบันทางองค์กรของพี่ก็มีการทำ การคิดเชิงนวัตกรรม แต่มันติดปัญหาตรงที่ว่าพนักงานมีคำถามมากมายว่าทำไมต้องคิดเชิงนวัตกรรมด้วย แล้วคิดไปแล้วจะได้อะไรมีเยอะนะที่คนในองค์กรจะคิดอย่างนี้ ก็คงต้องทำการแก้ไขและจัดกระบวนการที่จะรองรับกับการช่วยให้คนคิดแบบนวัตกรรม และจากการที่ได้อ่านทั้งวรสารรวมถึงหนังสือต่างๆพบว่า ส่วนใหญ่การที่จะทำด้านนี้ประสบผลสำเร็จจะเป็นแต่องค์กรใหญ่มากกว่า เลยอยากขอกรณีตัวอย่างเพิ่มเติมว่ามีกรณีที่เป็นบริษัท ขนาดกลางที่ทำแล้วประสบผลสำเร็จมีบ้างรึเปล่าคะ จะได้เอามาประยุกต์ใช้กับองค์กรของตัวเองคะ แล้วอีกข้อนึงเราจะทราบได้อย่างไรว่าคนในองค์กรของเราคิดในเชิงนวัตกรรมแล้ว มีการประเมินแบบใดบ้างที่จะสามารถทราบได้ว่ามีการพัฒนาด้านนี้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง ถ้าใช้การสังเกตอย่างเดียวไม่พอต้องมีกระบวนการอื่นอีกหรือไม่

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

ข้อมูลเยอะมากๆเลย ทำการบ้านมาดีเลยนะเนี่ย เห็นหมกมุ่นทำงานนี้หลายวันหลายคืน...ผลออกมาดีนะ..........โดยส่วนตัวลองเล่นเกมที่มีลิงค์ให้แล้วรู้สึกชอบมากเพราะได้คิดได้ทำอะไรที่แหวกแนวดี ชอบนะอะไรที่คิดไม่ถึงอะ รู้สึกไม่เบื่อดี น่าจะมีเกมที่เล่นแบบคนเดียวได้นะจะได้ฝึกคิดได้(ความอยากส่วนตัว...อยากหาไรเล่น) แล้วการคิดแบบ Inno เนี่ยปิคว่าสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้นะไม่จำเป็นต้องใช้ในที่ทำงานอย่างเดียวหรอกหรือต้องให้มีใครมามาทำให้จูงใจให้คิดหรอก ปิคคิดว่าเราก็สร้างเองแรงจูงใจเองได้ เพราะคิดว่าถ้าเราคิดอะไรใหม่ๆได้หรืออะไรเจ๋งๆได้เราก็เอาไปจดลิขสิทธิ์หรือทำขายได้หรือเอาไปเสนอไอเดียขายได้ ถ้าติดตลาดก็รวยเลยนะเพ่ แล้วคิดอะไรใหม่ๆไปเรื่อยๆ เหมือนพวกญี่ปุ่นอะคนคิดของใหม่ๆบางคนก็ไม่ใช่พวกนักวิทยาศาสตร์แต่เป็นแค่ชาวบ้านธรรมดาก็มี ........แต่ในองค์การต่างๆจะคิดไรให้เข้ากับงานก็น่าจะมีการส่งเสริมหรือบังคับกันนิดหน่อยเพื่อให้คนคิดไอเดียใหม่ๆขึ้น  ซึ่งอาจให้พนักงานเสนอไอเดียใหม่ๆทุกเดือนและอาจจะผูกกับเงิน หรือ ให้รางวัลเป็นอย่างอื่น เพื่อปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมการคิด Inno ซึ่งตรงนี้บริษัทก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาแบ่งปัน

ที่ทำงานมี KM มากมาย แต่ยังไม่มีเรื่อง Innovative Thinking ให้เห็นอย่างชัดเจน คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมากที่จะนำมาใช้กับองค์กรภายใต้การต่อสู้แข่งขันในวงการเดียวกัน หรือเสริมสร้าง Idea ใหม่ ๆ ให้เกิดกับองค์กร น่าจะมีการนำไปใช้และขณะเดียวกันก็มีการให้รางวัลจูงใจสำหรับพนักงานที่สามารถคิด/พัฒนาแนวทางใหม่ ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ว่าไหม น่าคิดน่าคิด

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

ข้อมูลแน่นดีค่ะน้องนัน

พี่เอ๋

เก่งจริง ๆ ไอ้น้องรัก ขยันพอกันทั้งคู่เลย

ในปัจจุบันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มี Innovative Thinking มีความสำคัญมากจริง เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ ไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อองค์กรได้อย่างชัดเจนหากนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาจากผู้บริหารระดับสูงเพียงลำพังอย่างเดียว เพราะในรายละเอียดของงานในจุดต่าง ๆ ที่พนักงานในระดับต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบดูแลอยู่นั้นจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ ปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นหากพนักงานไม่สามารถคิดนวัตกรรม หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้ ก็จะส่งผลให้องค์กรโดยรวมไม่อาจแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้ ตลอดจนไม่สามารถเป็นผู้นำของธุรกิจได้

แล้วตอนนี้ที่บริษัทพี่กำลังอยู่ในช่วงเสนอหัวข้อนวัตกรรมอยู่พอดีเลย น้องนันก็คุ้นเคยกับพนักงานที่นี่ดี เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้วยนะจ้ะ น้องรัก

อืม คนชมเยอะเชียว ดีคับ กลุ่มเรากำลังเขียนcompetencyด้านนี้ใช่มะ ดีเลยคับ เหอๆๆๆ

ในเรื่องของinnovation ยอมรับว่าออมออกแนวติสๆหน่อยอ่ะ เคยเรียนinnovationมาบ้างที่ศิลปากร บางครั้งเรานำของที่แตกต่างกันสองสิ่งมาผสมกันก็เป็นนวัตกรรมได้ ไม่ต้องคิดใหม่ออกมาทั้งดุ้น เช่นในสมัยก่อนโทรศัพท์ก็อโทรศพท์ โทรเข้า รับสาย กล้องถ่ายรูปก็ถ่ายๆๆๆ แต่พอรวมก็มาเป็นนวัตกรรมใหม่มือถือถ่ายรูปได้ในปัจจุบัน แล้วต่อไปก็จะดูทีวีได้ สดๆ คุยไปมองหน้ากันได้ เป็นต้น

การพัฒนาก็ง่ายๆ ในความคิดพี่อ่ะนะ คือ มองของหนึ่งสิ่งให้ใช้สอยได้มากกว่าที่ตัวมันเองเป็น เช่น ถ้าพี่จะมองหวี ประโยชน์หลักของมันก็คือแปรงใช่มะ แปรงผม มันเกี่ยวกับผม แล้วพี่จะแปรงผมเวลาอะไร แล้วแปรงแล้วอยากให้ผมเป็นอย่างไร แล้วหลังแปรงผมเราป็นอย่างไร แล้วก็หาคำตอบให้กับผม บางที สักวันี่อาจได้หวีที่รวมตัวกับเครื่องเก็บกวาดเส้นผมที่ล่วง หรือหวีที่มีครีมนวดชนิดไม่ต้องล้างไปในตัว หรือหวีที่รวมกับไดเป่าผม ที่พี่ก็ซื้อไว้ใช้อยู่ตอนนี้ เพียงเราลองหัดตั้งคำถามกับสิ่งของรอบกาย มันก็เป็นการฝึกสร้างนวัตกรรมใหม่แล้วล่ะ

อ้อ มาบ้านพี่ก็ได้นะ มีนวัตกรรมใหม่ที่ไม่ออกขายตามตลาดเต็มเลย อิอิ พี่รับรองว่าน้องนันท์จะสนุกหรรษาแน่ๆ เหอๆๆๆ

สวัสดีจ้าน้องนัน

พี่อยากจะแชร์นิดนึง พี่ว่า innovative thinking น่าจะเหมาะกับบ.ใหญ่ๆ ที่ต้องแข่งขันสูงๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แต่อย่างพี่ ที่ทำงานระบบราชการ เป็นไปได้ยากที่จะนำไปใช้ เพราะขั้นตอนการทำงานที่เป็นลำดับขั้น

น้องนันพอมีข้อเสนอแนะอะไรมั้ยจ๊ะ

อื้ม เจ๋งไปเลย ขอคารวะในความพยายามนะนันทน์

เรื่องนี้น่าสนใจดีอะ รูปแบบก็ทำออกมาแบบเป็นกันเอง ผู้ใหญ่อ่านง่ายวัยรุ่นอ่านดี :) ขอเพิ่มเติมนิดนึงตรงที่ว่าน่าจะมีหัวข้อแบ่งให้ชัด ๆ กว่านี้หน่อย แล้วก็อยากรู้ว่าInnovative thinkingเนี่ย ส่วนใหญ่บริษัทต่างๆ เขาให้ความสำคัญเข้าไปอยู่ในหลักสูตรฝึกอบรมมากน้อยแค่ไหน

นอกนั้นก็ไม่มีอะไรและ สู้ ๆ ละกันนะจ๊ะ ^_^

อ่อ มีอีกนิดหนึ่ง ว่า ชอบที่บริษัทบ้านปูเขากำหนดเรื่องInnovation ไว้อย่างชัดเจน กระชับ เข้าใจง่ายดีจัง ไม่เวิ่นเว้อดี

ขอบคุณสำหรับทุความคิดเห็นนะคะ

ตอบพี่อาฟคับ 

         ใช่แน่นอนค่ะต้องมีคนคิดว่าคิดแบบinnoไปทำไม  แต่คนที่มัวแต่คิดอย่างนี้ก็มักจะสร้างความคิดแบบinnoไม่สำเร็จอ่ะนะคะ    ส่วนเรื่องจะทำไงให้เค้าคิดก็เดิมๆอ่ะค่ะ  ต้องชี้แจงกันให้เข้าใจว่าทำไปแล้วตัวเค้าได้อะไร  องค์กรได้อะไร  คนเราก็ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนตนกันบ้างอยู่แล้วถ้าทำไปตัวเองไม่ได้อะไรเลยก็คงไม่มีใครอยากทำ  บางทีก็เลยต้องจูงใจกันด้วยเงิน  หน้าที่การงาน  ความก้าวหน้าอะไรประมาณนี้    ส่วนตัวอย่างองค์กรเล็กๆก็ยังไม่เจอนะคะ  แต่มีคนกำลังทำอยู่  ED-TECH ของพี่pinkงาย  จะประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร  อันนี้ต้องใช้เวลา  เห็นกันจะๆเลยอย่างงี้  แต่จารอดูผลไหวรึป่าวอ่ะคะ555

ตอบพี่pinkค่ะ

            อยากลงไปช่วยดูเวลาเค้าทำกันจริงๆเหมือนกันนะคะ  ไอ้เราก็ได้แต่ขีดๆเขียน  ทำจริงคงไม่เป็น555   ถ้าช่วยไรได้ก็อยากช่วยนะคะ  จะได้เป็นประสบการณ์  แต่คงจะประหลาดน่าดูอยู่ทีเดียวที่คนที่ไม่เคยทำงานเลย  แต่อยู่ดีๆลงมาทำinnoเลย ^v^

นันทน์

         จามีใครเข้ามาอ่านมั้ยน้อ  ตอนนี้ทุกคนก้อคงเขียนเรื่องการใช้จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กรอยู่ ช่ายหมาย  ถ้าใครอยากเอามาshare  ก้อมาเล่นกันในblock อีกดีมั้ยคะ  ส่วนนันทน์กะว่าจาเอาไปใส่ในblockส่วนตัวอ่ะค่ะ  ยังไงถ้าเสดแว้วว  จามาบอกอีกทีเน้อออออ

นันทน์

ดีมากเลยค่ะ นันทน์

พี่ขอหนับหนุน  อย่าลืมมาเผยแพร่ blog ของตัวเองนะคะ

จากผู้เรียน 35 คน ขอให้มีคนมาเปิด blog แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัก 3-4 คน และยังคงทำให้ blog มีชีวิตชีวา พี่ก็ดีใจแล้วค่ะ ที่ได้มีส่วนช่วยสังคมแห่งการเรียนรู้

 

หวัดดีค่ะ  นันทน์เอาเรื่องที่ว่า...

ไปลงไว้ที่block ส่วนตัวแล้วนะคะ

แต่ยังจัดไม่เสร็จ  มานขาดๆหายๆด้วย

สงสัยจายาวเกิน

อาจจาต้องตัดเป็น 2 ตอน 555

เดี๊ยวจาปรับปรุงหลังจากกลับมาจาก ตจว.ค่า.......

 

เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะ ถ้ามีอะไรดีๆๆส่งมาให้อ่านบ้างนะ ตามเมล์นี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

Thank you so much krub for reference my book on innovation management. I actually would like you to continue to use my book for any other reference topics regarding innovation matter. There are mostly people who are still influenced by all fake marketing strategy which try to sell somehting only the shell or by the cover the book without honest or governance. Please feel to contact me by visiting my web site at www.1clickidea.com or email : [email protected]

Thank you

Best Regards,

Aj Phanu Limmanont

ขอบคุณมากนะคะที่ให้ความรู้ได้มากมาย เป็นประโยชน์ต่อ สังคมแห่งการเรียนรู้(Social Learnning)มาก ๆๆคะ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ

ขอขอบพระคุณที่นำมาเผยแพร่ครับ

ชึ่นชมอาจารย์ ภานุ มากๆค่ะ อ่านหนังสึออาจารย์แล้ว ใด้ความรู้มากเลยค่ะ

แก้ไขลิ้งให้หน่อยคร้าบบบบบ

ขอบคุณมาก สำหรับบทความดีๆๆ

กำลังหาความรู้เรื่อง Innovative thinking ชอบมากค่ะ

กำลังหา Model เชิงคุณภาพ โดยใช้ Model เชิงปริมาณ พิสูจน์ เพราะไม่เคยเห็นเป็น Real World Implementation สักที ที่พิสูจน์ได้ แต่ก็ทำเพื่อ การศึกษา ตีพิมพ์ต่างประเทศ ก็แค่งานวิทยาศาสตร์ เพราะอยู่สาย I.T ......ยังไงก็ขอบคุณ เจ้าของ Model ด้วยนะคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท