เรื่องเล่าบทที่ 16 - ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา


อาจารย์ที่ปรึกษา supervisor, advisor, tutor ใครทำอะไร อย่างไร

นักเรียนนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาย่อมเป็นของคู่กัน แต่ละมหาวิทยาลัยมีระบบของอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกัน หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยเดียวกันแต่ต่างคณะ ก็ยังมีระบบที่ต่างกันออกไปอีก

 

สำหรับคณะที่เรากำลังเรียน นักศึกษาปริญญาเอกแต่ละคนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา (supervisor) ได้ 1 ท่าน ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รับผิดชอบเรื่องงานวิจัยของนักศึกษา เป็นคนที่นักศึกษาต้องพูดคุยและปรึกษาเรื่องงานมากที่สุด งานวิจัยจะดำเนินไปทางไหนก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนกันระหว่างนักศึกษาและ supervisor ถ้า supervisor มีการทำวิจัยในเรื่องนั้นร่วมกับอาจารย์ท่านอื่น (collaboration) นักศึกษาคนนั้นอาจจะมี co-supervisor เพิ่มมาอีกท่าน ซื่ง co-supervisor จะอยู่ในคณะเดียวกันหรือต่างคณะกันก็ได้ บางรายก็อาจจะต่างมหาวิทยาลัย

 

นอกจาก supervisor แล้ว นักศึกษาจะต้องมี advisor อีก 1 ท่าน ส่วนใหญ่แล้ว advisor จะเป็นอาจารย์ที่อยู่คณะเดียวกันกับนักศึกษา ถ้าว่ากันตามหลักเกณฑ์แล้ว advisor มีหน้าที่ให้คำปรึกษานักศึกษาในเรื่องทั่ว ๆ ไป ที่อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับงานวิจัย เช่น นักศึกษาคับอกคับใจกับ supervisor ก็สามารถมาปรึกษา advisor ได้ หรือนักศึกษาอาจจะเครียดจากงานวิจัย advisor อาจจะช่วยให้คำปรึกษาได้เช่นเดียวกัน

 

แต่ advisor บางท่านก็ล้ำเส้นจากที่ให้คำปรึกษาทั่วไป มาเป็นคอยตามเรื่องงานวิจัยแทน เช่น นักศึกษาต้องรายงานความก้าวหน้าจากงานวิจัยให้ advisor ทราบเป็นระยะ ๆ ถ้านักศึกษามีปัญหาเรื่องงานวิจัยและต้องการแนวทางใหม่ หรือความคิดเห็นที่แตกต่างไปจาก supervisor การพูดคุยกับ advisor เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ประโยชน์มากทีเดียว

 

สุดท้ายคือ tutor ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างไปจาก supervisor & advisor เกือบสิ้นเชิง นักศึกษาทุกคนต้องมี tutor ประจำตัว 1 ท่าน หน้าที่หลักของ tutor คือให้คำปรึกษาเรื่องทั่ว ๆ ไปจริง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนเลย เช่น มีปัญหาเรื่องที่พัก ค่าใช้จ่าย ความเครียดจากการเรียน กิจกรรม เพื่อน คนรอบข้าง supervisor advisor สุขภาพ นอกจากนี้ tutor ยังค่อยช่วยส่งข้อมูลเมื่อมีหลักสูตรนอกเหนืองานวิจัย เช่น presentation skill, thesis writing แต่ถ้าไม่สบายใจหรือท้อแท้กับงานวิจัยก็มาหา tutor ได้เช่นกัน tutor จะไม่รู้เกี่ยวกับงานวิจัยของเราโดยตรง เพราะมาจากต่างคณะ แต่ tutor จะรับฟังและช่วยหาวิธีแก้ไขได้เช่นกัน

 

สำหรับระบบการเรียนปริญญาเอกที่นี่ เช่น วิธีการประเมินผลว่านักศึกษาจะผ่านแต่ละขั้นไปได้หรือไม่นั้น ไว้โอกาสหน้าจะมาเล่าค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 187433เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 05:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ระบบที่อังกฤษของมีระบบสนับสนุนจัดไว้ได้ดีทีเดียวนะคะ

ตอนที่พี่เรียนที่อเมริกา มี advisor คนเดียวเลยค่ะ ทำหน้าที่ supervisor แบบของน้องน่ะค่ะ สำหรับเมืองไทย พี่คิดว่าก็เป็นระบบแบบอเมริกานี่แหละค่ะ

อ่านแล้วชอบค่ะ ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์กมลวัลย์

แต่ละมหาวิทยาลัยในอังกฤษใช้ระบบต่างกันค่ะ สำหรับที่นี่ ระบบที่บอกไปนี้เป็นแบบหลัก ๆ ค่ะ แต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละคณะออกไปอีก

ส่วนระบบ tutor (ชื่อเต็มคือ college tutor) น่าจะมีเฉพาะที่ Cambridge กับ Oxford เพราะสองมหาวิทยาลัยนี้ใช้ระบบ College & Department เหมือนกัน ส่วนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เท่าที่ทราบ ไม่มีระบบ college จึงไม่น่าจะมี college tutor แต่อาจจะมีระบบ School & Faculty แทนค่ะ

สวัสดีครับ

  • ถ้ามหาวิทยาลัยเมืองไทยทำอย่างนี้ก็ดีสิครับ ดีมาก ๆ มีอาจารย์มาคอยให้คำปรึกษา และสนับสนุนเราด้วย
  • แต่ไม่ใช่เลย .. ขนาดอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย จะขอเข้าพบปรึกษางาน หายากยิ่งกว่าไปหาคณบดีด้วยซ้ำ
  • น้องโชคดีมากครับ ขอให้เรียนประสบความสำเร็จ จบไว ๆ จะได้มาพัฒนาประเทศไทยของเราครับ

สวัสดีค่ะ ครูสุ

อาจารย์ที่ปรึกษาหลายท่านที่เมืองไทยทำหน้าที่ได้ดีถึงดีมากนะคะ (อันนี้จากประสบการณ์ตัวเอง)

ที่เขียนเล่าไปคือว่ากันตามระบบค่ะ ขึ้นอยู่กับว่านักศึกษาได้ supervisor, advisor, tutor แบบไหน บางท่านก็ตามตัวยากเหลือเกิน กว่าจะได้พบได้ปรึกษา ปัญหาไปไกลแล้ว แต่บางท่านอาจจะตามตัวไม่เจอแต่ถ้าเมลไปก็จะติดต่อกลับมาเร็วมาก ยังถือว่าโชคดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ อยากจบแล้วเหมือนกัน ^__^

เรียนจบแล้วอย่างแรกที่จะทำคือ อะไรคะ....

หนีเพื่อนไปเที่ยวเกาะรึป่าว

หาตัวยากจริงๆแม่คุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท