การลดความรุนแรงจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย


การลดความรุนแรงของชุมชนมุสลิม

บทความฉบับนี้ได้สืบสวนเพื่อให้เห็นถึงสาเหตุความเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อยว่า  เพราะเหตุใดจึงมีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ความเคลื่อนไหวจากความรุนแรงสู่สายกลาง  มีการตรวจสอบปัจจัยบางอย่างที่สามารถอธิบายให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในยุทธศาสตร์ความเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อย  โดยมองไปที่กรณีศึกษาของชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย  ข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมมาเพื่อการทดสอบปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นในบทความนี้  ได้มาจากการลงสนามสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนกลุ่มน้อยเชื้อสายมลายูจำนวน  30 ท่าน  และผู้นำส่วนใหญ่จากการสัมภาษณ์ยอมรับว่าปัจจัยต่างๆ  อย่างเช่น  การเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  การมีสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจที่ดีขึ้น  และการยอมรับในวัฒนธรรมที่หลากหลายมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ความเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อยเชื้อสายมลายูกลับสู่รูปแบบการเคลื่อนไหวทางสายกลาง  ฉะนั้น  ปัจจัยต่างๆ  ดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นปัจจัยด้าน จูงใจ  ที่ทำให้ลดยุทธศาสตร์ การเคลื่อนไหวในผู้นำมวลชนที่รุนแรงลงได้  แต่ในขณะเดียวกัน  เราก็พบว่าปัจจัยด้าน  ผลักดัน  ก็มีส่วนทำให้ความรุนแรงลดลงได้เหมือนกัน  ซึ่งปัจจัยผลักดันดังกล่าวนั้น อาจรวมถึงการใช้กฎเหล็กของอำนาจรัฐ  การสกัดกั้นด้วยกำลังอาวุธ  และการกำจัดผู้สนับสนุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ  อย่างไรก็ตาม  การศึกษาของเรานั้น  มีความเชื่อว่า  ความไม่รุนแรงหรือการเดินสายกลางดูเหมือนจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยหากปราศจากปัจจัยจูงใจ

โหลดอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี้ครับ  

หมายเลขบันทึก: 89940เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2007 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ตัวอักษรขนาดเล็กไปนิดนะคะ อ่านยากค่ะ เป็นการศึกษาที่น่าสนใจ ถ้าอาจารย์จะเขียนในแนวเล่าเรื่อง คงจะช่วยในการสื่อสารให้พวกเราในฐานะคนทั่วๆไป ที่อาจจะแขยงเอกสารวิชาการได้รู้แบบง่ายๆ คงจะเป็นประโยชน์มากนะคะ ขอบคุณค่ะ เราในฐานะประชาชนคนทั่วไปจะได้มีแนวทางว่า เราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อให้ภาคใต้สงบร่มเย็นเหมือนเดิมอีกครั้ง
เข้าใจว่าอันนี้เป็นบทความวิชาการครับ อ่านทั้งหมดคงต้องโหลดไปอ่านกับ word ครับอาจารย์
 P

เห็นด้วยกับอาจารย์เพราะรัฐไทยพยายามที่จะกลืนวัฒนธรรมของเขาทำให้เกิดชนวนของความขัดแย้งและนำไปสู่ความรุนแรงทีเกิดขึ้นในปัจจุบัน

....บทความนี้  ได้มาจากการลงสนามสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนกลุ่มน้อยเชื้อสายมลายูจำนวน  30 ท่าน..

    ผมอ่านข้อความข้างต้นแล้วรู้สึกไม่ค่อยสบายใจที่ผู้เขียนใช้คำว่า "ชุมชนกลุ่มน้อยเชื้อสายมลายู" ซึ่งผมเองก็เข้าใจว่าเชื่อสาบมลายูเป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศไทยทั้งหมด แต่คนเชื้อสายมลายูเป็นคนกลุ่มใหญ่ใน 3  จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา  และหากว่าจะเรียกย่างนั้นก็ควรเรียกว่า "กุล่มคนเชื้อสายมลายูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้"

ขอบคุณบทความของอาจารย์ครับ...มีประโยชน์มากสำหรับการค้นคว้าวิจัยของผม

หากมีโอกาสจอขอเข้าพบเพื่อขอคำแนะนำครับ..

เป็นการศึกษาที่น่าสนใจ และมีประโยชน์ต้องการศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท