Nong Bua Pictorial : ๕.แห่นาคและประเพณีบวชนาคหมู่ของชาวหนองบัว ๒๕๕๔


แห่นาคหมู่อำเภอหนองบัว นครสวรรค์

                        

นอกจากเป็นวันแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ หลวงปู่ฤาษีนารายณ์ อำเภอหนองบัว แล้ว  ในวันนี้ชาวหนองบัวก็มีการแห่นาคเพื่อเตรียมอุปสมบทหมู่ในวันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔

                         

                         

                         

                         

                         

                         

                         

หลังจากแห่นาคในวันนี้แล้ว วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔ ก็จะเป็นขบวนแห่นำนาคไปอุปสมบทหมู่ที่วัดหนองกลับ หรือวัดหลวงพ่อเดิมและวัดหลวงพ่ออ๋อย ในช่วงสัปดาห์นี้ หนองบัวจึงเต็มไปด้วยสีสัน

หมายเลขบันทึก: 432890เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2011 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เทศกาลงานประจำปี
ไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ และหลวงปู่ฤาษีนารายณ์
หนองบัว ๒๕๕๔

นอกจากแห่นาคและบวชนาคหมู่แล้ว ในช่วงนี้ชาวหนองบัวก็มีงานงิ้ว หรืองานไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ และหลวงปู่ฤาษีนารายณ์ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔

                          

                        

                        

และวันนี้ ก็เป็นวันแห่เจ้าไปทั่วตลาดหนองบัว

เห็นภาพนี้แล้วนึกถึง งานประเพณีลากพระปากพะยูนเมื่อ ห้าสิบปีก่อน

                        

                        

                        

                        

                        

                        

                        

                        

สวัสดีครับเฒ่าวอญ่าครับ
มาชวนไปเที่ยวทางภาพถ่ายเลยนะครับ

ยิ้ม...ให้กับความสุขสงบที่สัมผัสได้ นะครับอาจารย์วิรัตน์ ครับ

สวัสดีค่ะ

มาเที่ยวชมจากภาพถ่ายและคำบรรยายค่ะ  ขอขอบพระคุณค่ะ

นำภาพการบวชนาคหมู่ในยุคอดีตมาประกบนาคหมู่ยุค๒๕๕๔
จะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เชิญชม



บรรยากาศการบวชนาคหมู่ในยุคอดีต
นาคหมู่ในภาพแรกกำลังทำพิธีกรรมโดยการขอขมาบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน (คนหนองบัวเรียกกิจกรรมวันนี้ว่า วันลา)

แห่นาคหมู่หนองบัว : ก่อนจะทำการบวชหนึ่งวัน จะนำนาคหมู่ทั้งหมดแห่รอบเมืองหนองบัวโดยการนำนาคขึ้นคานหาม(เสลี่ยง) คานหามละ ๒ องค์หรือ ๓ องค์ ในคานหามหนึ่งๆจะมีเด็กผู้ชายตัวเล็กๆนั่งประจำทุกคานหามด้วยจำนวน ๒ คน

นาคที่มีคู่ดอง ก็จะเรียกกันว่าสีกานาค เป็นผู้ถือหมอน ถ้านาคองค์ใดไม่มีคู่ดองก็จะให้ญาติผู้หญิงเป็นถือหมอน ส่วนแม่ถือผ้าไตร พ่อก็ถือตาลปัตรสะพายบาตร
ในภาพที่๕คือสีกานาค(คู่ดองนาค)

ภาพชุดนี้งามดีจังเลยครับ ช่างไปเสาะหามาได้นะครับ
ผมจะหาโอกาสแยกไว้เป็นหัวข้อต่างหาก
เพื่อจะได้ค้นหาและเข้ามาอ่านเข้ามาชมได้อย่างเป็นหัวข้อเฉพาะเลยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท